Notebook ไม ม port lan ต อ wifi แทน

FAQ

ข้อมูลนี้มีประโยชน์หรือไม่?

Yes No

  • Above information might be partly or entirely quoted from exterior websites or sources. please refer to the information based on the source that we noted. Please directly contact or inquire the sources if there is any further question and note that ASUS is neither relevant nor responsible for its content/service
  • This information may not suitable for all the products from the same category/series. Some of the screen shots and operations could be different from the software versions.
  • ASUS provides the above information for reference only. If you have any questions about the content, please contact the above product vendor directly. Please note that ASUS is not responsible for the content or service provided by the above product vendor.

USB WiFi สักตัว ช่วยชุบชีวิตโน๊ตบุ๊คเครื่องเก่าเน็ตเต่าหรือพีซีที่ต้องต่อ LAN อย่างเดียวให้ต่อ WiFi ได้สบายๆ ด้วยงบประหยัดน่าคบ

Notebook ไม ม port lan ต อ wifi แทน

USB WiFi เป็นตัวรับสัญญาณ WiFi อีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กับตัวการ์ดแบบต่อเข้าพอร์ต PCIe อย่างที่หลายๆ คนคุ้นหน้าคุ้นตากันดี และเชื่อว่าเป็นตัวรับสัญญาณ WiFi ที่หลายคนเลือกใช้งานเพราะสะดวกไม่ต้องทำอะไรมาก แค่เสียบมันเข้าพอร์ต USB-A ของพีซีเครื่องนั้นๆ แล้วปล่อยตัว USB กับคอมพิวเตอร์คุยกันสักครู่ก็ใช้งานได้ทันทีและราคาก็ไม่แพงมากอีกด้วย

แล้วหลายๆ คนอาจจะสงสัยกัน ว่า USB WiFi ในยุคนี้ยังจำเป็นอยู่ไหม? เพราะว่าโน๊ตบุ๊คทุกเครื่องรวมทั้งพีซีสำเร็จรูปทุกตัวในปัจจุบันมี WiFi Card ติดตั้งมาให้เป็นอุปกรณ์พื้นฐานทุกเครื่องอยู่แล้วและรับส่งข้อมูลได้รวดเร็วด้วย ซึ่งจากมุมของผู้เขียนมองว่าตัว USB ประเภทนี้จะเหมาะกับโน๊ตบุ๊ครุ่นเก่าที่ยังใช้งานได้แต่ต่อเน็ตแล้วช้า, โน๊ตบุ๊คที่การ์ด WiFi ในตัวเกิดปัญหาแล้วพังใช้งานไม่ได้หรือพีซีประกอบเองที่ยังไม่มีตัว WiFi PCIe card ติดตั้งอยู่ในเครื่องแล้วอยากต่อเน็ตแบบง่ายๆ ก็ซื้ออุปกรณ์ชิ้นนี้ไปต่อใช้งานได้เช่นกัน

Notebook ไม ม port lan ต อ wifi แทน

และเพราะว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้เป็นพอร์ต USB ดังนั้นความเร็วในการเชื่อมต่อและรับส่งข้อมูลจะขึ้นอยู่กับอินเตอร์เฟสการรับส่งข้อมูลว่าผู้ผลิตเลือกใช้มาตรฐานระดับไหน ซึ่งความเร็วตามอินเตอร์เฟสของ USB แต่ละเวอร์ชั่นนั้นจะเป็นดังนี้

  • USB 2.0 – เปิดตัวปี 2001 มีความเร็วรับส่งข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 480 Mbit/s จะมีหัวพอร์ต Type A, Type B คละกันไปตามประเภทอุปกรณ์ที่ผู้ผลิตเลือกใช้งาน
  • USB 3.0 – เปิดตัวปี 2008 มีความเร็วรับส่งข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 5 Gbit/s
  • USB 3.1 – เปิดตัวปี 2014 มีความเร็วรับส่งข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 10 Gbit/s
  • USB 3.2 – เปิดตัวปี 2017 มีความเร็วรับส่งข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 20 Gbit/s
  • USB4 – เปิดตัวปี 2019 มีความเร็วรับส่งข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 40 Gbit/s ซึ่งอินเตอร์เฟสนี้มักเรียกว่า SuperSpeed+ หรือถูกนำมาประยุกต์เป็น Thunderbolt 3, Thunderbolt 4

โดยตั้งแต่ USB 3.0 เป็นต้นไปจะมีหัวพอร์ต 3 แบบ ได้แก่ Type A, Type B, Type C ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่าจะเลือกใช้หัวพอร์ตแบบไหนและใช้กับอุปกรณ์ประเภทใด ซึ่งหัวพอร์ตดีไซน์ยอดนิยมที่ผู้ใช้มักพบเห็นเป็นประจำและผู้ผลิตมักเลือกติดตั้งกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้ มักเป็น Type-C เสียเป็นส่วนใหญ่

แต่ตัวของ USB WiFi หลายๆ รุ่นยังคงใช้ USB-A เป็นหลักเนื่องจากเป็นพอร์ตมาตรฐานของพีซีหลายๆ รุ่นในปัจจุบัน รวมทั้งความเร็วการรับส่งข้อมูลผ่าน WiFi ในตอนนี้โดยทั่วไปแล้วก็รับส่งในระดับที่ USB 2.0 รับได้สบายๆ หรือถ้าใครเลือกแพ็คเกจอินเตอร์เน็ตแบบความเร็วสูงสักหน่อย ก็มีรุ่นที่ใช้ USB-A 3.0 ให้เลือกเพื่อรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นเช่นกัน

6 USB WiFi ต่อคอมแล้วเล่นเน็ตได้เลย สะดวกสุดๆ

สำหรับคนที่มีพีซีหรือโน๊ตบุ๊ครุ่นเก่าหน่อยแล้วคิดว่าต้องการหาตัวรับสัญญาณ WiFi ตัวใหม่มาใช้ แต่ติดว่าโน๊ตบุ๊คมันต่อ PCIe WiFi ไม่ได้ หรืออยากเน้นเอาความสะดวกเข้าว่า ปัจจุบันนี้ก็มีผู้ผลิตอุปกรณ์เน็ตเวิร์คชั้นนำหลากหลายบริษัทพากันเปิดตัว USB ต่อ WiFi ได้ ให้เลือกซื้อกันมากมาย แต่รุ่นที่น่าใช้ทั้งสเปคและราคาเป็นมิตรที่เลือกมาแนะนำกันจะมี 6 รุ่น ดังนี้

1. D-Link DWA-121 N150 (150 บาท)

Notebook ไม ม port lan ต อ wifi แทน

D-Link เป็นหนึ่งในบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์เน็ตเวิร์คออกมาเรื่อยๆ และเป็นแบรนด์ชั้นนำที่ผู้เขียนเชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะผ่านตากันมาบ้างอย่างแน่นอน โดยตัว USB ต่อเน็ตได้ที่ผู้เขียนเลือกมาแนะนำจากแบรนด์นี้จะเป็นรุ่น D-Link DWA-121 N150 รุ่นเริ่มต้นที่ทั้งตัวเล็กไม่เกะกะและเชื่อมต่อก็ง่าย ใช้กับพีซีหรือว่าเครื่องเกมคอนโซลก็สะดวกเช่นกัน โดยมาตรฐานการเชื่อมต่อเป็น 802.11 b/g/n รับคลื่น WiFi 2.4 GHz อินเตอร์เฟส USB 2.0 เมื่อต่อคอมแล้วก็เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ทันทีแบบ Plug & Play ไม่ต้องลงไดรเวอร์ให้เสียเวลา รองรับระบบปฏิบัติการ Windows 7 เป็นต้นไป ดังนั้นถ้าใครใช้พีซีหรือโน๊ตบุ๊คอยู่แล้วไม่มีการ์ด WiFi หรือการ์ดเกิดเสียใช้งานไม่ได้จะเลือกรุ่นนี้ไปใช้งานแก้ขัดก็ดีเช่นกัน

สเปคของ D-Link DWA-121 N150

  • มาตรฐานการเชื่อมต่อเป็น 802.11 b/g/n รับคลื่น WiFi 2.4 GHz
  • อินเตอร์เฟส USB 2.0 ใช้งานได้ง่ายแบบ Plug & Play
  • รองรับระบบปฏิบัติการ Windows 7 เป็นต้นไป
  • ราคา 150 บาท (Advice)
2. UGREEN AC650 Dual Band (242 บาท)

Notebook ไม ม port lan ต อ wifi แทน

ด้าน UGREEN แบรนด์ของดีคุ้มค่าตัวที่หลายๆ คนคิดถึงเมื่อเลือกซื้ออุปกรณ์เสริมด้านไอที ก็มี USB WiFi รุ่น UGREEN AC650 Dual Band ให้เลือกซื้อเช่นกัน และถึงค่าตัวจะสูงขึ้นมานิดหน่อยแต่สเปคที่ได้ก็ถือว่าคุ้มค่าเช่นกัน เพราะตัวนี้สามารถต่ออินเตอร์เน็ตได้ทั้งคลื่น 2.4 GHz มาตรฐาน 802.11 b/g/n ความเร็วสูงสุด 200 Mbps หรือ 5 GHz มาตรฐาน 802.11 a/ac ความเร็วสูงสุด 433 Mbps ก็ได้ อินเตอร์เฟส USB 2.0 แต่ถ้าต้องการใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพควรติดตั้งไดรเวอร์ที่ผู้ผลิตแถมแผ่นมาให้ในกล่องด้วย รองรับระบบปฏิบัติการตั้งแต่ Windows 7, macOS 10.11, Linux 2.6.18 เป็นต้นไป แต่ถ้าเป็น Windows 10 ไม่ต้องติดตั้งไดรเวอร์ เรียกว่าเป็นรุ่นที่เพิ่มเงินมาอีกนิดแต่รับ WiFi คลื่น 5 GHz ที่เหมาะกับการดูหนังความละเอียดสูงหรือเล่นเกมก็ได้ด้วย เรียกว่าเป็นรุ่นราคาไม่แพงแต่ก็ดีเกินตัวอยู่

สเปคของ UGREEN AC650 Dual Band

  • เชื่อมต่อคลื่น 2.4 GHz มาตรฐาน 802.11 b/g/n ความเร็วสูงสุด 200 Mbps หรือ 5 GHz มาตรฐาน 802.11 a/ac ความเร็วสูงสุด 433 Mbps
  • อินเตอร์เฟส USB 2.0 ถ้าต้องการใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพต้องติดตั้งไดรเวอร์ในแผ่นด้วย แต่ถ้าเป็น Windows 10 ไม่ต้องติดตั้งไดรเวอร์เพิ่ม
  • รองรับระบบปฏิบัติการ Windows 7, macOS 10.11, Linux 2.6.18 เป็นต้นไป
  • ราคา 242 บาท (UGREEN Official LazMall)
3. TP-Link TL-WN823NV3 (260 บาท)

Notebook ไม ม port lan ต อ wifi แทน

ส่วนของแบรนด์อุปกรณ์เน็ตเวิร์คชั้นนำอย่าง TP-Link ก็มีรุ่น TP-Link TL-WN823NV3 ให้เลือกซื้อกัน โดยจุดเด่นของ USB WiFi ตัวนี้คือเรื่องการสลับเปิดปิดการใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบเข้ารหัส (WPS หรือ Wi-Fi Protected Setup) ติดตั้งมาให้ สามารถกดเปิดหรือปิดได้ด้วยปุ่ม WPS บนตัว USB ได้เลย ส่วนการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรองรับเฉพาะคลื่น 2.4 GHz มาตรฐาน 802.11 b/g/n อินเตอร์เฟส USB 2.0 และต้องติดตั้งไดรเวอร์เพิ่มเติมให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ รองรับระบบปฏิบัติการตั้งแต่ Windows XP, Mac OS X 10.7 เป็นต้นไป ดังนั้นถ้าใครเป็นห่วงเรื่องข้อมูลตอนทำงานแล้วไม่ต้องการให้ถูกแฮ็คเข้ามาขโมยหรือดักจับข้อมูลด้วยล่ะก็ ผู้เขียนก็แนะนำให้ดู TP-Link ตัวนี้ไว้เลย

สเปคของ TP-Link TL-WN823NV3

  • มาตรฐานการเชื่อมต่อเป็น 802.11 b/g/n รับคลื่น WiFi 2.4 GHz มีปุ่ม WPS บนตัว USB
  • อินเตอร์เฟส USB 2.0 และต้องติดตั้งไดรเวอร์เพื่อให้ใช้งานได้เต็มที่
  • รองรับระบบปฏิบัติการ Windows XP, Mac OS X 10.7 เป็นต้นไป
  • ราคา 260 บาท (Advice)
4. TP-Link Archer T4U (888 บาท)

Notebook ไม ม port lan ต อ wifi แทน

ส่วน TP-Link อีกรุ่นที่เลือกมาแนะนำจะเป็นรุ่น TP-Link Archer T4U ซึ่งเป็นรุ่นอัพเกรดจากข้อที่แล้วให้ประสิทธิภาพดีขึ้นหลายอย่าง และถือว่าคุ้มค่าน่าเอามาใช้กับเกมมิ่งพีซีหรือเครื่องคอนโซลก็ได้ ซึ่ง USB WiFi ตัวนี้จะรองรับการเชื่อมต่อ WiFi 2.4 GHz มาตรฐาน 802.11 b/g/n ความเร็วสูงสุด 400 Mbps และ 5 GHz มาตรฐาน 802.11 a/ac ความเร็วสูงสุด 867 Mbps มีเสารับสัญญาณ 2 เสา รองรับ MU-MIMO ทำให้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ไหลลื่นไม่มีสะดุด มีปุ่ม WPS ไว้ใช้เข้ารหัส WiFi เพื่อความปลอดภัยแต่ต้องติดตั้งไดรเวอร์ให้ใช้งานได้เต็มที่ รองรับระบบปฏิบัติการตั้งแต่ Windows XP, Mac OS X 10.9 เป็นต้นไป ซึ่งถ้าใครหา USB WiFi ระดับที่เอาไว้เล่นเกมได้แต่ไม่อยากจ่ายแพง จะเริ่มต้นจากตัวนี้ก็น่าสนใจเช่นกัน

สเปคของ TP-Link Archer T4U

  • เชื่อมต่อคลื่น 2.4 GHz มาตรฐาน 802.11 b/g/n ความเร็วสูงสุด 400 Mbps หรือ 5 GHz มาตรฐาน 802.11 a/ac ความเร็วสูงสุด 867 Mbps
  • อินเตอร์เฟส USB 3.0 ถ้าต้องการใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพต้องติดตั้งไดรเวอร์ในแผ่นด้วย
  • มีปุ่ม WPS เข้ารหัส WiFi เพื่อความปลอดภัย รองรับ MU-MIMO ให้รับส่งสัญญาณได้เสถียรขึ้น
  • รองรับระบบปฏิบัติการ Windows XP, Mac OS X 10.9 เป็นต้นไป
  • ราคา 888 บาท (JEDI Cool Shopee Mall)
5. NETGEAR A6210 AC1200 (2,090 บาท)

Notebook ไม ม port lan ต อ wifi แทน

ชื่อ NETGEAR อาจจะไม่คุ้นหูผู้ใช้ชาวไทยเท่าไหร่ แต่จริงๆ แล้วแบรนด์นี้เรียกว่าเป็นหนึ่งในบริษัทด้านเน็ตเวิร์คชั้นนำของโลกเลยทีเดียว และถ้าใครหา USB WiFi เอาไว้ต่อเน็ตดูหนังฟังเพลงและเล่นเกมล่ะก็ มี NETGEAR A6210 AC1200 เป็นรุ่นน่าใช้งาน แม้ราคาจะสูงสักหน่อยแต่รองรับ WiFi 2.4 GHz มาตรฐาน 802.11 b/g/n ความเร็วสูงสุด 300 Mbps และ 5 GHz มาตรฐาน 802.11 a/n/ac ความเร็วสูงสุด 867 Mbps อินเตอร์เฟสเป็น USB 3.0 และมีแผ่นไดรเวอร์ให้ติดตั้งเพื่อใช้งาน USB WiFi ของ NETGEAR ให้เต็มประสิทธิภาพ รองรับระบบปฏิบัติการตั้งแต่ Windows XP เป็นต้นไป ซึ่งถ้าใครมองหา USB WiFi ดีๆ ไว้ใจได้ แนะนำให้ดูรุ่นนี้เอาไว้ได้เลย

สเปคของ NETGEAR A6210 AC1200

  • เชื่อมต่อคลื่น 2.4 GHz มาตรฐาน 802.11 b/g/n ความเร็วสูงสุด 300 Mbps หรือ 5 GHz มาตรฐาน 802.11 a/n/ac ความเร็วสูงสุด 867 Mbps
  • อินเตอร์เฟส USB 3.0 ถ้าต้องการใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพต้องติดตั้งไดรเวอร์ในแผ่นด้วย
  • รองรับระบบปฏิบัติการ Windows XP เป็นต้นไป
  • ราคา 2,090 บาท (King IT)
6. ASUS Dual-Band AC1900 (2,590 บาท)

Notebook ไม ม port lan ต อ wifi แทน

สุดท้ายแบรนด์ชั้นนำอย่าง ASUS เองก็มี USB WiFi ให้เลือกด้วย โดย ASUS Dual-Band AC1900 รุ่นนี้เรียกว่าออกแบบมาเพื่อเกมมิ่งโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะรองรับทั้ง WiFi 2.4 GHz มาตรฐาน 802.11 a/b/g/n ความเร็วสูงสุด 600 Mbps และ 5 GHz มาตรฐาน 802.11 ac ความเร็วสูงสุด 1300 Mbps ผ่านอินเตอร์เฟส USB 3.0 ทำให้รับส่งข้อมูลได้รวดเร็วและมีแท่นเชื่อมต่อให้ใช้เพื่อจัดพื้นที่รับสัญญาณได้ดีขึ้นด้วย ติดตั้งเสาอากาศไว้แบบ 3×4 MIMO ทำให้รับส่งสัญญาณได้เสถียรและไหลลื่นกว่ารุ่นธรรมดา แต่ก็ต้องติดตั้งไดรเวอร์เพิ่มเติมเพื่อให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพรวมทั้งอัพเดทเฟิร์มแวร์ให้เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดเสมอ ส่วนระบบปฏิบัติการรองรับตั้งแต่ Windows 7 หรือ Mac OS X 10.7 เป็นต้นไป ดังนั้นถ้าเกมเมอร์คนไหนอยากต่อ WiFi เล่นเกมแบบง่ายๆ ต่อ USB แล้วเล่นเลย ก็น่าลงทุนกับ USB WiFi รุ่นนี้มาก

สเปคของ ASUS Dual-Band AC1900

  • เชื่อมต่อคลื่น 2.4 GHz มาตรฐาน 802.11 a/b/g/n ความเร็วสูงสุด 600 Mbps หรือ 5 GHz มาตรฐาน 802.11 ac ความเร็วสูงสุด 1300 Mbps
  • อินเตอร์เฟส USB 3.0 ถ้าต้องการใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพต้องติดตั้งไดรเวอร์ในแผ่นด้วย
  • รองรับระบบปฏิบัติการ Windows 7 หรือ Mac OS X 10.7 เป็นต้นไป
  • ราคา 2,590 บาท (JIB)

สรุปสเปค USB WiFi ทั้ง 6 รุ่น ตัวไหนเจ๋ง ตัวไหนเด่นอย่างไรมาดู!

ถ้าใครต้องการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบง่ายๆ หรือจะทำให้โน๊ตบุ๊คเครื่องเก่าที่ WiFi ในตัวพังหรือช้าเกินไปสามารถเล่นเน็ตได้เร็วขึ้น รวมไปถึงเกมเมอร์ที่ไม่อยากเสียช่อง PCIe ในตัวเครื่องเพราะจะเอาไปใส่ M.2 NVMe SSD เพิ่มล่ะก็ USB WiFi ก็น่าจะตอบโจทย์การใช้งานไม่น้อยเลย ซึ่งสเปคของทั้ง 6 รุ่นที่เลือกมาแนะนำจะเป็นดังนี้

สเปคของ USB WiFi การเชื่อมต่อ อินเตอร์เฟส และไดรเวอร์ ระบบปฏิบัติการ ราคา D-Link DWA-121 N150 WiFi 2.4 GHz มาตรฐาน 802.11 b/g/n USB 2.0

ใช้งานแบบ Plug & Play

Windows 7 เป็นต้นไป 150 บาท UGREEN AC650 Dual Band WiFi 2.4 GHz มาตรฐาน 802.11 b/g/n ความเร็วสูงสุด 200 Mbps

WiFi 5 GHz มาตรฐาน 802.11 a/ac ความเร็วสูงสุด 433 Mbps

USB 2.0

ต้องติดตั้งไดรเวอร์

Windows 7

macOS 10.11

Linux 2.6.18

เป็นต้นไป

242 บาท TP-Link TL-WN823NV3 WiFi 2.4 GHz มาตรฐาน 802.11 b/g/n

มีปุ่ม WPS

USB 2.0

ต้องติดตั้งไดรเวอร์

Windows XP

macOS 10.7

เป็นต้นไป

260 บาท TP-Link Archer T4U WiFi 2.4 GHz มาตรฐาน 802.11 b/g/n ความเร็วสูงสุด 400 Mbps

WiFi 5 GHz มาตรฐาน 802.11 a/ac ความเร็วสูงสุด 867 Mbps

มีปุ่ม WPS, MU-MIMO

USB 3.0

ต้องติดตั้งไดรเวอร์

Windows XP

macOS 10.9

เป็นต้นไป

888 บาท NETGEAR A6210 AC1200 WiFi 2.4 GHz มาตรฐาน 802.11 b/g/n ความเร็วสูงสุด 300 Mbps

WiFi 5 GHz มาตรฐาน 802.11 a/n/ac ความเร็วสูงสุด 867 Mbps

USB 3.0

ต้องติดตั้งไดรเวอร์

Windows XP เป็นต้นไป 2,090 บาท ASUS Dual-Band AC1900 WiFi 2.4 GHz มาตรฐาน 802.11 b/g/n ความเร็วสูงสุด 600 Mbps

WiFi 5 GHz มาตรฐาน 802.11 a/n/ac ความเร็วสูงสุด 1300 Mbps

USB 3.0

ต้องติดตั้งไดรเวอร์

Windows 7

macOS 10.7

เป็นต้นไป

2,590 บาท

จะเห็นว่า USB WiFi นั้นก็มีให้เลือกหลากหลายเกรด ตั้งแต่รุ่นเริ่มต้นที่ราคาไม่แพงมากสำหรับทำงานอย่างเดียว ถ้าเพิ่มเม็ดเงินเข้ามาก็ได้ฟีเจอร์และความเร็วเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ตามที่จ่ายไปจนถึงรุ่นสำหรับเกมเมอร์ที่อัดฟีเจอร์และความเร็วมาให้เต็มที่ เป็นตัวเลือกสำหรับคนที่อยากต่อ WiFi ให้เร็วทันใจแต่ไม่อยากเปลืองช่อง PCIe บนเมนบอร์ดหรือจะทำให้ WiFi ของโน๊ตบุ๊คเครื่องเก่าของเราทำงานเร็วขึ้น ก็น่าซื้อมาต่อเครื่องเป็นมาก