More สมรภ ม เกมซ อนเกม ready player one

Uploaded by

Palika Kittiladdaporn

100% found this document useful (5 votes)

5K views

445 pages

Copyright

© © All Rights Reserved

Share this document

Did you find this document useful?

Is this content inappropriate?

100% found this document useful (5 votes)

5K views445 pages

Ready Player One สมรภูมิเกมซ้อนเกม

Uploaded by

Palika Kittiladdaporn

Jump to Page

You are on page 1of 445

Search inside document

More สมรภ ม เกมซ อนเกม ready player one

More สมรภ ม เกมซ อนเกม ready player one

More สมรภ ม เกมซ อนเกม ready player one

Reward Your Curiosity

Everything you want to read.

Anytime. Anywhere. Any device.

No Commitment. Cancel anytime.

More สมรภ ม เกมซ อนเกม ready player one

สมรภูมิเกมซ้อนเกม หรือ Ready Player One นวนิยายที่นำเอาอนาคตมาถ่ายทอดด้วยวัฒนธรรมอดีต จนกลายเป็นนิยายที่เป็นสวรรค์ของเด็กเนิร์ดยุค 80 และกลายมาเป็นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์

เรื่องย่อ ๆ คือ เวด วัตต์ส เด็กหนุ่มวัย 18 และผู้คนนับล้าน ๆ ทั่วโลกต่างเข้าร่วมสึกชิงเงินรางวัลที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์อย่าง ‘เดอะฮันต์’ ในโลกเสมือนอย่าง ‘โอเอซิส’ โลกที่ถูกสร้างโดยชายที่ชื่อ ‘เจมส์ โดโนแวน ฮัลลิเดย์’

หลังการเสียชีวิตของผู้สร้างโอเอซิส ก็มีเทียบเชิญเหล่าผู้เล่นในโอเอซิสทุกคนให้เข้าร่วมค้นหากุญแจทั้งสามดอกและแก้ปริศนาทั้งสามหลังประตู ผู้ชนะจะได้ครอบครองทรัพย์สินทั้งหมด รวมถึงโอเอซิส ที่มีมูลค่าหลายแสนล้าน

เป็นที่รู้กันว่า ฮัลลิเดย์ นั้นคลั่งไคล้วัฒนธรรมป๊อปยุค 80 มาก จึงไม่แปลกที่ปริศนาทั้งหมดจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเหล่านั้น ทั้งเพลง หนัง เกม เทคโนโลยี รวมถึงเหล่าคนดังในยุคนั้นต่างถูกรวบรวมเป็นข้อมูลโดยเหล่าผู้เล่นที่ออกไล่ล่ารางวัล (ซึ่งเรียกกันว่า กันเตอร์) นำไปสืบหาเพื่อไขความลับของเกม

2

หลังจากอ่านผ่านสามบทแรกไป ผมไม่แปลกใจเลยว่าทำไมหนังสือเล่มนี้ถึงขายดี เพราะเรื่องนี้เป็นศูนย์รวมทุกอย่างของความฝันวัยเด็กนั้นเอง คุณจะเจอเหล่าตัวละครจากหนังสือ การ์ตูน เพลง ทั้งฝั่งอเมริกา ยุโรป หรือแม้กระทั่งญี่ปุ่น ออกมาโลดล่นในหนังสือ ทั้งหนังอย่าง ET, โกสท์บัสเตอร์, เกมกระดานอย่างดันเจี้ยนแอนด์ดราก้อน เกมตู้อย่าง Pong, Galaga, Pac Man การ์ตูนอย่างอุลตร้าแมน ขบวนการห้าสีต่าง ๆ กันดั้ม X-Men เป็นต้น

หนังสือเล่าเรื่องให้ขับเคลื่อนด้วยพล็อต ผลักตัวละครไปข้างหน้าแบบไม่หยุด ปล่อยของแบบไม่ยั้งทั้งปริศนาและความรู้ ตัวละครและไอเท็มของยุค 80

จุดเด่น ๆ ของเรื่องอีกอย่างคือการบรรยายสภาพของยุคนั้นได้อย่างเห็นภาพ สภาพของเมือง อาชญากรรม ความเป็นอยู่ และมีการเสียดสีโลกทุนนิยมอยู่ตลอดเวลา

แม้พล็อตการใช้ VR จะไม่ใช่เรื่องใหม่ การให้ตัวละครหลบหนีโลกความจริงจะเป็นเรื่องซ้ำซาก แต่ความฉลาดในการหยิบยกสิ่งที่ผู้อ่านคุ้นเคยมาใส่ในเรื่องทำให้ผู้อ่านสนุกและอินไปกับเรื่องได้ง่ายกว่าการสร้างสรรค์ตัวละครหรือองค์ประกอบใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะต้องเสียเวลาในการสร้างสถานการณ์เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในไอเท็ม บรรยากาศ หรือสิ่งของประกอบฉากนั้น ๆ แต่เมื่อสิ่งต่าง ๆ เป็นของเก่า เรื่องก็มีเวลาเล่าและผลักสถานการณ์ไปได้ตลอด

ปริศนาทั้งสามข้อถูกคิดขึ้นมาเป็นอย่างดี แถมด้วยลูกเล่นนำของเก่ามาพัฒนา ทำให้ผู้อ่านติดตามว่าปริศนาแต่ละอันนั้นจะเป็นอะไรและมีรูปแบบการแก้อย่างไง

ช่วงตอนที่ 1-7 เป็นการปูเรื่อง รายละเอียดของโลกยุคนั้น ตัวละคร ปมต่าง ๆ ซึ่งส่วนตัวคิดว่าเยอะเกินไปเหมือนพูดวนไปมาซ้ำๆ แต่พอเข้าบทที่ 8 ก็ไหลลื่นดีจนหยุดไม่ได้ คือคิดว่าหากเราอินกับวัฒนธรรมมากกว่านี้คงสนุก สุข ฟินไปกับองค์ประกอบเหล่านั้น แต่เราโตมากับวัฒนธรรมญี่ปุ่นมากกว่าอเมริกา ทำให้ความสนุกของเรื่องมากองอยู่ท้าย ๆ ที่ตัวละครอย่าง กันดั้ม ก็อตซิลล่า หรือ อุลตร้าแมน ปรากฏตัวออกมา

ฉากสงครามตอนท้ายทำได้ดี รู้สึกสะใจดี แต่ปริศนาหลังบานประตูทั้งสามดูง่ายไปหน่อย ไม่รู้สึกท้าทายเท่าการตีความโจทย์ซึ่งดูแล้วยากมาก

หนังสือพยายามใส่ความหลากหลายทางเพศเข้ามา แต่ก็เหมือนไม้ประดับมากกว่า รวมทั้งเรื่องรัก ๆ ขอตัวเอกซึ่งไม่มีอะไรแปลกใหม่ ส่วนตัวมองว่าการเฉลยตัวจริงของ ‘เอช’ น่าจะเซอร์ไพรซ์ได้มากกว่านี้ แต่ก็ไม่ได้หวือหวาเท่าที่คาดการณ์

สิ่งที่ไม่ชอบของเรื่องคือการยัดชื่อสิ่งของ เกม ตัวละคร ไอเท็ม หรืออะไรต่าง ๆ มากมายของยุค 80 มาในบางตอนแบบมากเกินไป และมีการเล่าราวกับอ่านวิกิพีเดีย มากกว่าอ่านนิยาย ทำให้รู้สึกว่าถูกยัดเยียดองค์ประกอบมากเกินไป รวมถึงการบรรยายบางอย่างละเอียดเกินไปจนรู้สึกว่าย้วยและอ่านผ่าน ๆ ได้โดยที่ไม่มีสาระสำคัญอะไรมากมาย เหตุการณ์บางอย่างกระโดดไปมาไม่เรียบ เช่นเหตุการณ์ที่มีการสังเวยชีวิต ซึ่งดูแล้วไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนตาย อาจเพราะเรื่องเป็นแบบเด็ก ๆ องค์ประกอบเป็นเพลง เกม และวัฒนธรรมป็อป การโยนเรื่องการฆาตกรรมเข้ามาจึงคิดว่ามันเกินไป และตัวละรวมถึงอารมณ์ของเรื่องก็ไม่ได้รู้สึกโศกเศร้ากับเรื่องที่มีคนตายมากนัก (พูดง่าย ๆ ว่ามีคนตายแต่กลับมานั่งเล่นเกมกันต่อเฉยเลย อะไรแบบนี้) บางฉากโอเว่อร์เกินไปเช่นช่วงที่มีการบุกทำลายห้องเพื่อไปจับพระเอก แต่คดีที่ตัวเอกก่อไม่น่าจะรุนแรงขนาดใช้อาวุธหรืออุปกรณ์ที่ดูเหมือนจะมาฆ่ามากกว่า และการแก้ไขเหตุการณ์ไคลแมกซ์ของเรื่องทุกอย่างดูง่ายไปหน่อย พระเอกฉายเดี่ยวเกินไป สเกลของโลกแบบนี้ เราไม่เชื่อว่าพระเอกที่เป็นเด็กเกรด 12 จะเก่งขนาดนี้ และสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผลอย่างหนึ่งคือการที่พระเอกยัดข้อมูลของยุค 80 ใส่ในตัวเองเยอะมาก ทั้งการดูหนังหลายร้อยเรื่อง ฟังเพลงหลายพันเพลง และการเล่นเกมของยุค 80 ได้ครบทุกเกมที่ถูกเอ่ยถึง ส่วนตัวคิดว่าการจะทำอย่างนั้นได้อาจต้องใช้เวลาหลายสิบปีทีเดียว…

More สมรภ ม เกมซ อนเกม ready player one

3

อยากคุยเล่น ๆ เรื่องการหลบหนีความจริงที่ผมคิดว่าเป็นแก่นของเรื่องนี้

จากการอ่านนิยายหลายเรื่อง พบว่าประเด็นการหลบหนีความจริงของตัวละครนั้นถูกนำมาฉายซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นไปได้ไหมว่า มนุษย์เราทุกคนไม่พอใจในสิ่งที่ตนมี ความปรารถนาที่จะหนีจากสภาพแวดล้อม หนีไปสู่พื้นที่อุดมคติที่คิดว่าเหมาะกับตัวเอง หลาย ๆ ครั้งก็พบว่าไม่ว่าการหนีไปอยู่ที่ใด ปัญหา หรือปมต่าง ๆ ก็มักจะตามไป หรือมีมาให้แก้อยู่ดี ไม่เว้นแม้แต่สถานที่ที่สร้างขึ้นมาเองเช่นโลกเสมือนเฉกเช่นเดียวกับโอเอซิสในเรื่องนี้

แต่การต่อสู้ในชีวิต บางครั้งก็สร้างความยากลำบากและความเบื่อหน่ายให้เรา การหลบหนีจึงเกิดขึ้นตามมา วนเวียนกันไปอยู่แบบนี้ไม่สิ้นสุด ก่อให้เกิดวิทยาการมาเพื่อทุบทำลายความเบื่อหน่าย หนัง เพลง เกม สังคมเสมือน ไม่เว้นแม้แต่หนังสือที่เราอ่าน ๆ กันอยู่ นั่นก็เป็นการพยายามหลบหนีความจริงอย่างหนึ่งเหมือนกัน แม้มันจะไม่จีรังก็ช่างเถอะ เพราะการหลบหนี ถอยห่างนั้น อาจเป็นการสงบจิตใจ ความคิด และได้ทบทวนอะไรบางอย่าง และเมื่อต้องกลับไปเผชิญหน้ากับปัญหานั้น ๆ อีกครั้ง กุญแจวิเศษก็คงโผล่ออกมาและทำหน้าที่ผลักดันเราไปข้างหน้านั่นเอง

ชีวิตก็สนุกเพราะการมีปัญหานี่แหละ เราเติบโต เรียนรู้จาการแก้ปัญหามากกว่าการนั่งฟังบทบรรยาย และสุดท้ายการได้เผชิญปัญหาท้าทายนั้น ทำให้เราเห็นและรู้ถึงคุณค่าของตัวเราเองมากกว่าที่เราคิดว่าเราทำอะไรได้เสียอีก

4

สรุปแล้ว Ready Player One หรือ สมรภูมิ เกมซ้อนเกม ก็เป็นหนึ่งในนิยายที่ไม่ควรพลาด เหมือนการได้ย้อนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ได้รำลึก ได้คิดถึง ได้ค้นหา และสนุกกับจินตนาการที่เราลืมไปแล้วนั้น รู้สึกดีเป็นบ้า และการจะกล่าวว่านี่เป็น แฮรี่ พ็อตเตอร์ ฉบับโลกอนาคตนั้นก็ไม่เกินเลย ที่ดีกว่าก็เป็นการเดินเรื่องด้วยความรวดเร็ว

แม้จะมีความไม่สมเหตุสมผลบ้างก็ไม่แปลก เพราะความสนุกในจักวาลแห่งอนาคตนั้นมันยากเกินจะจินตนาการอยู่แล้วนิครับ