Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

กวาดเรียบ 9 รางวัล Oscar รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี สูงเป็นสถิติแต่ตกต่ำสุดด้านศีลธรรมมโนธรรม, Leslie Caron รับบทลูกสาวโสเภณี ได้รับการเสี้ยมสั่งสอนวิธีเกาะกินผู้ชาย ทีแรกพยายามดิ้นรนขัดขืนแต่สุดท้ายข้ออ้างเพราะรัก อยากทำอะไรกับฉันก็ยินยอม

Gigi (1958) ได้รับการยกย่อง ‘หนังเพลงเรื่องสุดท้ายแห่งยุคคลาสสิก’ แต่ไม่ใช่กระแสนิยมต่อแนว Musical หลังจากนี้จะลดลงนะครับ แค่ว่าการสร้างภาพยนตร์ลักษณะ ‘คลาสสิก’ ที่มักหมกตัวในสตูดิโอ สร้างฉากอลังการใหญ่โต จักเปลี่ยนแปรสภาพไปเป็นอย่างอื่น เรื่องราวมีเนื้อหาจับต้องได้มากขึ้น ถ่ายทำยังสถานที่จริง ทิวทัศนียภาพพื้นหลังสวยๆแบบ South Pacific (1958), The Sound of Music (1965)

ผมเกิดความตกตะลึงคาดไม่ถึง ว่าผู้กำกับระดับ Vincente Minnelli จะหาญกล้าสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้โดยไม่คำนึงถึงศีลธรรมมโนธรรม ไร้ข้อคิดสาระประโยชน์ เผชิญหน้ากับ Hays Code แบบไม่หวาดกลัวเกรง! นั่นอาจเป็นเหตุผลหนึ่งกระมังให้หนังประสบความสำเร็จล้นหลาม กวาดเรียบรางวัลทั้งๆคุณภาพโดยรวมห่างชั้นกับ Meet Me in St. Louis (1944), An American in Paris (1951) หรือแม้แต่ The Band Wagon (1953) อยู่ไกลโข

กาลเวลาแบ่งฝักฝ่ายผู้ชมออกเป็นสองขั้วชัดเจน ชื่นชอบมากๆ-รังเกียจแบบสุดๆ, ผมเป็นแบบหลัง อนาจต่อทิศทางการตัดสินใจ แรกเริ่มตัวละครอยากจะเอาชนะกฎกรอบเกณฑ์บางอย่าง แต่สุดท้ายกลับก้มหัวยินยอมรับได้ แบบนี้มันดีแต่พูด เพ้อเจ้อ “It’s a bore!”


ต้นฉบับ Gigi (1944) คือนวนิยายแต่งโดย Colette ชื่อจริง Sidonie-Gabrielle Colette(1873 – 1954) นักเขียนหญิงชื่อดังสัญชาติฝรั่งเศส เรื่องราวได้แรงบันดาลใจจาก Yola Henriquet ลูกสาวโสเภณีชั้นสูง ตกถังข้าวสารแต่งงานกับ Louis Eugène Henri Letellier (1868 – 1960) ทายาทมหาเศรษฐี พ่อเป็นเจ้าของบริษัทก่อสร้าง Jacob Delafon, ตัวเขาโตขึ้นร่วมทุนกับน้องชายทำหนังสือพิมพ์ Le Journal (1892 – 1944) และเคยเป็นนายกเทศมนตรีเมือง Deauville ระหว่างปี 1925–28

ก่อนหน้านี้ได้รับการดัดแปลงเป็น – ภาพยนตร์ฝรั่งเศส (1949) นำแสดงโดย Danièle Delorme และ Gaby Morlay – ฉบับละครเวที Broadway นำแสดงโดย Audrey Hepburn (ตอนนั้นยังไม่เป็นที่รู้จักในวงการ) รอบปฐมทัศน์ยัง Fulton Theatre วันที่ 24 พฤศจิกายน 1951 จำนวน 219 รอบการแสดง (ถือว่าประสบความสำเร็จ)

โปรดิวเซอร์ Arthur Freed ติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลงภาพยนตร์จาก Anita Loos เจ้าของฉบับละครเวทีมูลค่า $87,000 เหรียญ มอบหมายดัดแปลงบทโดย Alan Jay Lerner จากความประทับใจร่วมงาน An American in Paris (1951), Brigadoon (1954) และคาดหวัง Vincente Minnelli กำกับโปรเจคนี้

Vincente Minnelli ชื่อเกิด Lester Anthony Minnelli (1903 – 1986) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน (เชื้อสายอิตาเลี่ยน) เกิดที่ Chicago พ่อเป็น Musical Conductor อยู่ที่ Minnelli Brothers’ Tent Theater ตั้งแต่เด็กเลยมีความชื่นชอบหลงใหลในเสียงเพลง หลังเรียนจบทำงานเป็นผู้ช่วยตากล้อง Paul Stone เชี่ยวชาญถ่ายภาพนักแสดง ต่อมาทำงานออกแบบฉาก/ตัดเย็บเสื้อผ้าให้ Chicago Theatre กลายเป็นผู้กำกับละครเวที ประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงจนได้รับการชักชวนจาก Arthur Freed เข้าร่วม MGM เมื่อปี 1940 ภาพยนตร์เรื่องแรก Cabin in the Sky (1943), โด่งดังกับ Meet Me in St. Louis (1944), Ziegfeld Follies (1945), An American in Paris (1951), Brigadoon (1954), Kismet (1955) ฯ

พื้นหลังปี 1900 ณ กรุงปารีส, ด้วยข้ออ้างประเพณีของครอบครัว Madame Alvarez (รับบทโดย Hermione Gingold) ส่งตัวหลานสาว Gilberte ‘Gigi’ (รับบทโดย Leslie Caron) ไปร่ำเรียนวิชาเข้าสังคมจากน้าทวด Liane d’Exelmans (รับบทโดย Eva Gabor) คาดหวังให้เมื่อเติบโตขึ้นจะสามารถหาเกาะผู้ชายกิน แต่ด้วยความทะเล้นซุกซนจึงไม่ใคร่สนใจอะไรจริงจัง นอกเสียจาก Gaston Lachaille (รับบทโดย Louis Jourdan) แรกๆก็ครุ่นคิดแค่พี่ชาย สนุกสนานครื้นเครงไปวันๆ กระทั่งพบเห็นโดยน้าทวดบอกไม่ได้ไม่เหมาะสม เกินเลยกว่านี้ตั้งหมั้นหมายแต่งงานเท่านั้น!


Leslie Claire Margaret Caron (เกิดปี 1931) นักเต้น/นักแสดงหญิง สัญชาตฝรั่งเศส เกิดที่ Boulogne-sur-Seine, Seine แม่เป็นอดีตนักเต้น Broadway โตขึ้นเลยมีความสนใจด้านนี้ ร่ำเรียนบัลเล่ต์ ได้รับการค้นพบโดย Gene Kelly ระหว่างอยู่ในคณะ Ballet des Champs Elysées แจ้งเกิดโด่งดังกับภาพยนตร์ An American in Paris (1951) เลยได้เซ็นสัญญาระยะยาวกับ MGM ตามด้วย The Glass Slipper (1955), Lili (1953), Daddy Long Legs (1955), Gigi (1958), ผลงานเด่นอื่นๆที่ไม่ใช่หนังเพลง อาทิ Fanny (1961), The L-Shaped Room (1962), Chocolat (2000) ฯ

รับบท Gilberte ‘Gigi’ เด็กหญิงสาวยังเต็มไปด้วยความร่าเริงสดใส ไม่ใคร่สนใจอะไรนอกจากหาความสุขใส่ตัวไปวันๆ ชื่นชอบเล่นหัวสนุกสนานกับ Gaston Lachaille ไม่เคยครุ่นคิดมากกว่าสัมพันธ์พี่น้อง จนกระทั่งถูกย่า/น้าทวด ครอบงำเป่าหู เสี้ยมสอนสั่งพยายามทำทุกอย่างให้เธอเติบโตสมวัย เริดเชิดหยิ่งยโสโอหัง มีความสามารถปรนปรนิบัติผู้ชาย อนาคตข้างหน้าจักได้สุขสบาย หนูตกถังข้าวสาร

แม้ว่า Audrey Hepburn จะเป็นนักแสดงนำฉบับละครเวที และตอนนั้นเริ่มมีชื่อเสียงในวงการภาพยนตร์แล้ว แต่เธอก็ไม่ใช่นักร้องนักเต้น ซึ่งโปรดิวเซอร์ Freed มีความสนใจในตัว Caron มากกว่า ต้องการสานต่อความสำเร็จของ An American in Paris (1951) แม้อายุขณะนั้น 25 เล่นเป็นเด็ก 14-15 คงไม่น่ามีปัญหา

ผมค่อนข้างประทับใจการแสดงครึ่งแรกของ Caron เด็กสาวจอมแก่น ขี้เล่นสนุกสนาน เต็มไปด้วยความร่าเริงสดใส แต่พอมาครึ่งหลังแปรสภาพสู่หญิงสาว เปลี่ยนไปราวกับคนละคน! แม้ยังพอพบเห็นความบริสุทธิ์เดียงสา แต่มีความหยาบกร้านโลก นี่มันโสเภณีชัดๆ ต้องทำกันขนาดนี้เลยหรือ!

สังเกต: ลวดลายเก้าอี้เปรียบเทียบตรงๆถึงนกน้อย และเสื้อผ้าลายสก็อต สี่เหลี่ยมเหมือนซี่กรงขังล้อมรอบตัวตน/จิตวิญญาณ

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

Louis Jourdan ชื่อเกิด Louis Robert Gendre (1921 – 2015) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Marselle โตขึ้นเข้าเรียนการแสดงยัง École Dramatique จบออกมามีผลงานละครเวที เข้าตาผู้กำกับ Marc Allégret ชักชวนมาเป็นผู้ช่วยตากล้อง แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก Le Corsaire (1939) แต่สร้างไม่เสร็จเพราะการมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง, ข้ามน้ำข้ามทะเลเซ็นสัญญาในสังกัด David O. Selznick ผลงาน Hollywood เรื่องแรก The Paradine Case (1947), ผลงานเด่นๆ Letter from an Unknown Woman (1948), Madame Bovary (1949), Gigi (1958) ฯ

รับบท Gaston Lachaille หนุ่มหน้าใส หล่อรวย ทำธุรกิจหนังสือพิมพ์ การเลิกราหญิงสาวที่ตนจีบอยู่ กลายเป็นข่าวใหญ่หน้าหนึ่งโด่งดังระดับโลก ตกเป็นที่สนใจของใครต่อใคร, ความสนิทสนมกับ Madame Alvarez เรียกเธอว่า Mamita จึงพบเจอเล่นหัว Gigi บ่อยครั้ง โดยไม่รู้ตัวถูกบีบให้แสดงความประสงค์แท้จริง ค่อยๆรับรู้ตนเองว่าตกหลุมรัก แต่จะถึงขั้นแต่งงานไหม นั่นไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะตัดสินใจ

นอกจากความหล่อเหลาของ Jourdan ผมไม่เห็นด้านการแสดงจะมีฝีมือโดดเด่นอะไร ยังคงสไตล์คลาสสิก ลีลาด้วยคำพูด ท่าทาง พยายามกลั่นอารมณ์แต่สัมผัสไม่ได้ถึงความสับสนปนเป เคมีกับ Caron เข้าขาเพียงตอนเล่นหัวสนุกสนาน ไม่สามารถแปรสภาพสู่รักโรแมนติก อินเลิฟได้เลยสักนิด


Maurice Auguste Chevalier (1888 – 1972) นักร้อง/นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris พ่อเป็นช่างทาสี โตขึ้นรับงานหลากหลาย กระทั่งมีโอกาสขับร้องเพลงยัง Café แห่งหนึ่ง แม้ไม่ได้เงินแต่เกิดความสนใจ กระทั่งมีโอกาสขึ้นเวทียัง l’Alcazar, Marseille ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งระหว่างเป็นทหาร ทำให้เรียนรู้จัก Jazz และ Ragtime จากทหารอังกฤษและอเมริกัน หลังจากนั้นเลยมุ่งหน้าสู่ Hollywood กลายเป็นนักแสดงหนังเงียบ A Woman of Paris (1923), เซ็นสัญญา Paramount Pictures โด่งดังกับ The Love Parade (1929), The Big Pond (1930), Monkey Business (1931), The Merry Widow (1934), Love in the Afternoon (1957), Gigi (1958) ฯ

รับบท Honoré Lachaille มีศักดิ์เป็นลุงของ Gaston Lachaille เรียกว่าเพลย์บอยคงไม่ผิดอะไร มากความรู้ประสบการณ์ ฝีปากวิวาทะเป็นเลิศ วันๆเห็นเอาแต่หลีสาว อดีตเคยมีความหลังกับ Liane d’Exelmans แต่ชีวิตขอเป็นโสดดีกว่า และคอยให้ความช่วยเหลือหลานชายผู้ทึ่มทื่อซื่อบื้อในรัก เปิดโลกทัศน์ตนเอง ผู้หญิงไม่ได้มีคนเดียวในโลกนี้!

การวางตัวของ Chevalier แม้สูงวัยกลับยังดูดีมีสไตล์ เรียกว่าเพลย์บอยชั้นสูงก็ยังได้ รอยยิ้มกลั่นออกมาจากใคร ไม่เคยบึ้งตึงโกรธเกลียดเคียดแค้นใคร แถมตัวละครนี้ยังเป็นผู้นำร่องดำเนินเรื่อง ขับร้องเพลงนุ่มๆแต่ลุ่มด้วยความหื่นกระหาย


ถ่ายภาพโดย Joseph Ruttenberg (1899 – 1983) ตากล้องสัญชาติ Russian เชื้อสาย Jews อพยพมุ่งสู่อเมริกัน เริ่มจากเป็นนักข่าวถ่ายภาพ ก่อนได้งานตากล้องถ่ายทำหนังเงียบ สู่ยุค Talkie สามารถคว้า Oscar: Best Cinematography ถึง 4 ครั้ง จาก The Great Waltz (1938), Mrs. Miniver (1942), Somebody Up There Likes Me (1956) และ Gigi (1958)

สตูดิโอ MGM ร้องขอให้ Minnelli เดินทางไปถ่ายทำยังสถานที่จริง Paris, France แล้วค่อยหวนกลับมาถ่ายฉากภายในยัง Hollywood เพื่อประหยัดงบประมาณใช้จ่าย (แต่ก็ไม่รู้ลดต้นทุนได้มากน้อยแค่ไหนนะ)

Opening Credit ร้อยเรียงภาพวาดการ์ตูนของ Sem หรือ Georges Goursat (1863–1934) เลือกจากช่วงเวลา La Belle Époque (1900-14)

หนังจะไม่มีการพูดคำว่าโสเภณีออกมาตรงๆ แต่ซ่อนเร้นไว้ในภาษาภาพยนตร์ อย่างในห้องของ Madame Alvarez ผนัง/เฟอร์นิเจอร์สีแดง หมายถึงเลือด Passion ความบริสุทธิ์ของหญิงสาว และการที่ Gigi เดินตรงเข้าไปโอบกอดด้านหลังนี้ สื่อถึงการพึ่งพิงยังไม่สามารถดูแลเอาตัวรอดเองได้

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ถ้าเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับ Paris เรื่องอื่นๆ จะพบเห็นหอไอเฟลแบบเต็มๆ แต่เรื่องนี้พบเห็นเพียงโครงสร้างเหล็กด้านล่างมุมเงยขึ้นช็อตนี้ ฉายจาก Rear Projection เท่านั้น นี่คงต้องการสะท้อนความตกต่ำทางศีลธรรมของเรื่องราว แม้ตัวละครจะชนชั้นสูง แต่ก็หมกมุ่นวุ่ยวายกับเรื่องรักๆใคร่ๆ ใต้กางเกงเพียงอย่างเดียว

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ชุดของ Gigi มีความหลากลายพอสมควร เริ่มต้นด้วยลายสก็อต โค้ทคลุม หมวกใบใหญ่ๆ สะท้อนการถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว (ดั่งนกในกรงขัง) กระทั่งเมื่อเวลามาถึงได้รับการแต่งแต้มเปลี่ยนแปลงเป็นสุภาพสตรี มีความสวยสง่า เจิดจรัส (นกโผลบินออกจากรัง)

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ไดเรคชั่นที่ผมชื่นชอบสุดในหนัง คือบรรดาผู้ชม/ตัวประกอบ ต่างหยุดนิ่ง อึ้งทึ่ง คาดไม่ถึง จับจ้องมองพร้อมเพรียงต่อบุคคลกำลังเดินเข้ามาในร้าน … นี่อาจเป็นแรงบันดาลใจให้ Angst essen Seele auf (1974) ของผู้กำกับ Rainer Werner Fassbinder ก็ได้นะ

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ในบรรดาชุดของ Gigi ส่วนตัวชื่นชอบดอกไม้ปิดปากนี้ที่สุด บอกเป็นนัยๆให้เธอจงเงียบไป ไม่ใช่เวลาแสดงสิทธิ์เสียงความต้องการแท้จริง จำต้องกระทำตามคำสั่งย่า/น้าทวด ห้ามขัดขืน!

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ชุดคอสูงของ Gigi แม้มีสีขาวดูสง่างาม แต่สะท้อนความเย่อหยิ่งจองหอง ไฮโซ ชนชั้นสูง นั่นคือสิ่งที่เธอถูกครอบงำบีบบังคับให้กลายเป็น หมดสิ้นแล้วความบริสุทธิ์ใสซื่อไร้เดียงสาแบบเด็กๆ

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

สุดท้ายแล้ว Gigi ก็ไม่แตกต่างจากหญิงอื่น แม้สวมชุดมีปีกโบยบิน แต่กลับเติบโตขึ้นด้วยการถูกครอบงำจากกฎเกณฑ์ แบบแผนทางสังคม นั่นเป็นสิ่งที่เราต้องยินยอมรับเข้าใจ หรือปฏิเสธขัดขืนกันแน่!

การจุดบุหรี่/สูบซิการ์ ระหว่างชาย-หญิง แฝงนัยยะถึงการมี Sex แบบตรงไปตรงมาเลยนะ!

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ตัดต่อโดย Adrienne Fazan (1909 – 1986) สัญชาตอเมริกัน ขาประจำผู้กำกับ Minnelli สังกัดสตูดิโอ MGM ผลงานเด่นๆ อาทิ The Tell-Tale Heart (1941), Anchors Aweigh (1945), An American in Paris (1951), Singin’ in the Rain (1952), Kismet (1955), Gigi (1958) ฯ

แม้หนังชื่อ Gigi แต่เรื่องราวไม่ได้เวียนวนในมุมมองเธอ แต่คือ Honoré Lachaille ผู้บรรยายที่มักสนทนากับผู้ชม จับจ้องมองกล้อง (Break the Fourth Wall) ดำเนินเรื่องผ่านหลานชาย Gaston Lachaille ระหว่างเลิกราแฟนสาวคนแรก ตกหลุมรัก Gigi จนกระทั่งขอเธอแต่งงาน


เพลงประกอบโดย Frederick Loewe (1901 – 1988) สัญชาติ German เชื้อสาย Jews อพยพสู่ New York ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, Loewe มีชื่อเสียงโด่งดังกับผลงานละครเพลงอย่าง My Fair Lady, Camelot แต่คว้า Oscar จาก Gigi (1958)

Main Theme คลุกเคล้ากลิ่นอายฝรั่งเศส (ด้วยเครื่องดนตรี Accordion) แล้วสะท้อนถึงความเพ้อฝันของเด็กหญิงสาว Gigi แม้รายล้อมด้วยชีวิตอันเลิศหรูหราสุขสบาย กลับยังคงโหยหาในอิสรภาพเสรี ต้องการโบยบินออกจากพันธนาการกรงขัง เฝ้ารอคอยวันนั้นไม่รู้จะมาถึงเมื่อไหร่กัน

Thank Heaven for Little Girls ขับร้องโดย Maurice Chevalier เสียงร้องแห้งๆของปู่ ฟังดูเซ็กซี่แบบหื่นๆ แถมเนื้อคำร้องแอบเสื่อม โดยเฉพาะตอนพูดคำว่า Gigi สื่อถึงอะไรไปจินตนาการต่อเองแล้วกันนะ

เกร็ด: Thank Heaven for Little Girls ติดอันดับ 56 ชาร์ท AFI’s 100 Years…100 Songs

The Night They Invented Champagne อาจไม่ใช่บทเพลงที่มีความไพเราะโดดเด่นอะไร แต่ไดเรคชั่น Long Take อาจทำให้ใครๆอ้าปากค้าง ต้องซักซ้อมสักเท่าไหร่ถึงออกมาได้อย่างเปะๆแบบนี้

I Remember It Well ขับร้องโดย Maurice Chevalier & Hermione Gingold, แม้บทเพลงนี้จะไม่ใช่ Long Take แต่แสงสีส้มพื้นหลังที่ค่อยๆปรับไปเรื่อยๆ แทนพระอาทิตย์ตกดิน มีความสวยสดงดงามไม่น้อย

นี่เป็นบทเพลงที่ผมชื่นชอบสุดในหนัง เพราะเนื้อคำร้องสะท้อนความจริงที่ว่า ผู้หญิงจดจำได้ทุกสิ่ง ขณะที่ผู้ชายหลงลืมทุกอย่าง!

บทเพลงรางวัลของหนังคือ Gigi ขับร้องโดย Louis Jourdan, เนื้อคำร้องเป็นการครุ่นคิดทบทวนความสัมพันธ์ต่อ Gigi จากเคยเล่นหัวสนุกสนาน เติบโตวิวัฒนาการ กาลเวลาผ่านไปไม่รู้ตัวตกหลุมรักใคร่

ส่วนตัวไม่ได้ชื่นชอบบทเพลงนี้สักเท่าไหร่ แต่ประทับใจภาพพื้นหลังร้อยเรียงฝูงหงส์ รูปปั้น น้ำพุ สวยๆงามๆทั้งนั้น

I’m Glad I’m Not Young Anymore ขับร้องโดย Maurice Chevalier เป็นบทเพลงที่มีความไพเราะมากๆเลยนะ แต่ไดเรคชั่นฉากนี้ไม่มีอะไรเลยนอกจาก Long Take ตั้งกล้องแช่ทิ้งไว้เฉยๆ ขายความมีสไตล์ลีลาของ Chevalier อย่างเดียวเท่านั้นหรือไร!

Gigi คือเรื่องราวของเด็กหญิงสาว เปรียบดั่งนกในกรงพยายามดิ้นรนโหยหาอิสรภาพ แต่เมื่อถึงจุดๆหนึ่งเติบโตขึ้น รับเรียนรู้ว่าไม่มีทางที่ตนจะโบยบินหนีไปไหนได้ไกล ยินยอมรับเพียงพอใจต่อสิ่งที่มี ได้แต่งงานกับชายคนนี้ชีวิตคงเป็นสุขมากโขแล้ว!

จะว่าไปหลายๆผลงานของผู้กำกับ Vincente Minnelli มักมีลักษณะชี้ชักนำให้เกิดความเพียงพอใจในชีวิต อะไรที่มันเกินตัวก็มักผิดพลาดพลั้งหรือกระทำไม่สำเร็จ ทำไมเราถึงไม่ก้มหัวยินยอมรับระเบียบแบบแผนของสังคม มันไม่น่าเบื่อหน่ายขนาดนั้นหรอกนะ!

ส่วนตัวมองว่าหนังมีความขัดย้อนแย้งกันเองทุกสิ่งอย่าง – หญิงสาวโหยหาอิสรภาพ แต่สุดท้ายเลือกจมปลักในทิศทางที่ผู้ใหญ่กำหนดไว้ให้ – พระเอกไม่ชอบความเบื่อหน่ายจำเจ สุดท้ายกลับยินยอมรับความซ้ำๆซากๆนั้นได้ – ผู้กำกับ Minnelli เหมือนต้องการท้าทาย Hays Code แต่สุดท้ายก็ยินยอมก้มหัวให้ ไม่มีอะไรเกินเลยนอกจากภาษาภาพยนตร์ ฯลฯ

การที่ตัวละครชื่อ Gigi ก็ด้วยเหตุผลนี้กระมัง ออกเสียงซ้ำสองครั้งหมายถึงเน้นย้ำ ซ้ำๆ ไม่อยากฝืนแต่กลับทำ ภายนอกเหมือนบริสุทธิ์ไร้เดียงสา เบื้องลึกกลับร่านราคะ ปากว่าตาขยิบ ว่าแต่เขาอีเหนาเป็นเอง

ด้วยเหตุผลข้ออ้าง ‘ความรักชนะทุกสิ่ง’ คือมโนทัศนคติอันเลิศหรูหราของชาวตะวันตก แท้จริงไม่ต่างอะไรกับลูกอมอาบยาพิษ ชักชวนให้หมกมุ่นลุ่มหลงใหลยึดติด เวลาหมดสิ้นความรักมันคงกลับตารปัตรพ่ายแพ้ทุกสิ่งอย่าง

เพราะเหตุใดผู้กำกับ Minnelli ถึงสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้? แม้ขึ้นชื่อว่าเป็นเกย์ แต่ชายคนนี้แต่งงานกับผู้หญิงถึงสี่ครั้ง อื้อฉาวสุดก็ Judy Garland ว่าไปอาจไม่แตกต่างจาก Gigi สักเท่าไหร่! [Judy กับ Gigi ออกเสียงคล้ายคลึงกันด้วยนะ]


ด้วยทุนสร้าง $3.3 ล้านเหรียญ ทำเงินในอเมริกา $6.5 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $9.7 ล้านเหรียญ ได้กำไรประมาณ $1.983 ล้านเหรียญ และเมื่อฉายซ้ำ Re-Release ปี 1966 รวมรายรับ $13.2 ล้านเหรียญ

เข้าชิง Oscar 9 สาขากวาดเรียบ – Best Picture – Best Director – Best Adapted Screenplay – Best Cinematography, Color – Best Film Editing – Best Art Direction, Set Decoration – Best Costume Design – Best Musical Score – Best Original Song บทเพลง Gigi

แม้กลายเป็นสถิติใหม่ ภาพยนตร์คว้ารางวัล Oscar สูงสุด แต่ก็ได้เพียงปีเดียวเพราะการมาถึงของ Ben-Hur (1959) เข้าชิง 12 สาขา กวาดไป 11 รางวัล

เกร็ดน่ารักๆ: หลังจากหนังคว้าไป 9 รางวัล Oscar ผู้บริหาร MGM สั่งให้พนักงานรับโทรศัพท์ เวลาสายเข้าให้พูดว่า “Hello, M-Gigi-M”

มิใช่แค่ความกลวงๆที่ทำให้ผมไม่ชื่นชอบหนัง แต่ยังไดเรคชั่นของ Vincente Minnelli ดูเร่งๆรีบร้อนไปที ขาดลีลาอันโดดเด่นเป็นสไตล์ และบทเพลงไร้ท่วงทำนองน่าสนใจ ดูไปเลยรู้สึกเพียงเสียเวร่ำเวลา

แนะนำคอหนัง Musical ชื่นชอบผลงานของ Colette, นักออกแบบเสื้อผ้าหน้าผม แฟชั่นดีไซเนอร์, หลงใหลฝรั่งเศส ถ่ายภาพพื้นหลังสวยๆ, แฟนๆผู้กำกับ Vincente Minnelli และนักแสดงนำ Leslie Caron, Louis Jourdan ลองหามารับชมดู

จัดเรต 15+ กับความล่อแหลม ไร้ศีลธรรมมโนธรรมของเรื่องราว

คำโปรย | แม้ว่า Gigi คือภาพยนตร์โด่งดัง/ประสบความสำเร็จสูงสุดของ Vincente Minnelli แต่คือความอัปยศหักหลังต่อจิตสำนึกตนเอง

คุณภาพ | ปอกลอก ส่วนตัว | เสียเวลา

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

Around the World in 80 Days (1956) : Michael Anderson ♥♥♡

ตื่นตระการตาไปกับการผจญภัยรอบโลก 80 วัน พร้อมนักแสดงรับเชิญร่วมสร้างสีสันมากมาย ถ่ายทำด้วยกล้อง Todd-AO 70mm เพลงประกอบโคตรไพเราะโดย Victor Young พบเห็นกระบวนพยุหยาตราชลมารคประมาณ 10 วินาที และ Closing Credit อนิเมชั่นโดย Saul Bass เพียงเท่านี้ก็สามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Picture

การมาถึงของเทคโนโลยีภาพสี และฟีล์มขนาด 70mm ในช่วงกลางทศวรรษ 50s [เริ่มต้นที่ Oklahoma! (1955)] ยกระดับประสบการณ์รับชมภาพยนตร์ให้เพิ่มสูงขึ้นอย่างล้นหลาม จนสามารถเรียกได้ว่ายุคสมัยแห่งความ ‘Epic’ อลังการ มีถึง 4 เรื่องคว้ารางวัล Oscar: Best Picture – Around the World in 80 Days (1956) – The Bridge on the River Kwai (1957) – Ben-Hur (1959) – Lawrence of Arabia (1962)

ประสบการณ์ใหม่ที่ว่านี้ได้เปิดโลกทัศน์ผู้ชม ถูกความยิ่งใหญ่ของภาพยนตร์ถาโถมเข้าใส่ เกิดความอิ่มหนำสุขสำเริงราญ ปัจจุบันมีคำเรียกขาน ‘ฟิน’ พึงพอใจอย่างถึงที่สูงสุด! แต่เมื่อกาลเวลาเคลื่อนผ่าน เปิดซิงเสร็จสิ้นไปนาน อารมณ์เฉื่อยชาเฉิ่มเชยทั่วไป นั่นทำให้หลายๆเรื่องที่อดีตเคยยิ่งใหญ่ ปัจจุบันเสื่อมคลายมนต์ขลังความชื่นชอบนิยม

Around the World in 80 Days รับชมในยุคสมัยนี้ถูกผู้ชมตีตราหน้า คว้า Oscar: Best Picture มาครอบครองได้อย่างไร! เพราะแทบไม่มีเนื้อหาอะไรจับต้องได้ นอกเสียจากความอลังการงานภาพสี 70mm แต่ดูในจอโทรทัศน์ แท็บเล็ต มือถือ จะไปเข้าถึงประสบการณ์สุดยิ่งใหญ่ได้เช่นไร

แต่หนังก็มีข้อเสียอื่นด้วยนะครับ คือความมากเกินไปของผู้กำกับ Michael Anderson ไม่รู้เสียดายฟุตเทจที่ถ่ายทำมาหรืออย่างไร ตัดต่อได้ความยาวกว่าสามชั่วโมง ให้ตายเถอะ! ต้อนกระทิงอย่างเดียวก็เบื่อแทบแย่แล้ว


Le tour du monde en quatre-vingts jours (1873) หรือ Around the World in Eighty Days คือนวนิยายผจญภัย แต่งโดยนักเขียนชื่อก้องโลก Jules Gabriel Verne (1828 – 1905) สัญชาติฝรั่งเศส เจ้าของฉายา ‘Father of Science Fiction’ ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Journey to the Center of the Earth (1864), From the Earth to the Moon (1865), Twenty Thousand Leagues Under the Sea (1870) ฯ

Verne ประพันธ์ Around the World in Eighty Days ในช่วงระหว่าง Franco-Prussian War (1870–71) แม้ชีวิตเต็มไปด้วยความยากลำบาก แต่เกิดแรงบันดาลใจระหว่างอ่านหนังสือพิมพ์ยามบ่าย ณ Paris Café แห่งหนึ่ง พบเห็นข่าวความสำเร็จการเชื่อมทางรถไฟสองฟากฝั่งตะวันออก-ตก (First Transcontinental Railroad) ของสหรัฐอเมริกา นี่ทำให้การเดินทางรอบโลกมีแนวโน้มความเป็นไปได้ด้วยระยะเวลาสั้นสลงมาก

“I have a great number of scientific odds and ends in my head. It was thus that, when, one day in a Paris café, I read in the Siècle that a man could travel around the world in 80 days, it immediately struck me that I could profit by a difference of meridian and make my traveller gain or lose a day in his journey. There was a dénouement ready found. The story was not written until long after. I carry ideas about in my head for years – ten, or 15 years, sometimes – before giving them form”. – Jules Verne

แม้สไตล์ถนัดของ Verne จะคือ Sci-Fi โลกอนาคต แต่นวนิยายเรื่องนี้ดำเนินเรื่องยุคสมัยปัจจุบัน การเดินทางเกินครึ่งค่อนเวียนวนอยู่ใน British Empire ศตวรรษนั้นครอบครองอาณานิคมครึ่งค่อนโลก (จนได้รับฉายา ‘sun never sets’) และวันสิ้นสุดการเดินทาง 21 ธันวาคม 1872 คือวันที่ตีพิมพ์นวนิยายเรื่องนี้ตอนแรก

การเดินทางในนวนิยายประกอบด้วย – ระยะเวลา 7 วัน, เริ่มจาก London นั่งรถไฟมา Brindisi, Italy แล้วขึ้นเรือ Mongolia ข้ามทะเล Mediterranean ถึงช่องแคบ Suez – ระยะเวลา 13 วัน, จากช่องแคบ Suez เดินทางด้วยเรือ Mongolia ผ่านทะเลแดงสู่มหาสมุทรอินเดียจนถึง Bombay, India – ระยะเวลา 3 วัน, จาก Bombay เดินทางด้วยรถไฟถึง Calcutta – ระยะเวลา 13 วัน, จาก Calcutta เดินทางด้วยเรือ Rangoon ข้ามช่องแคบมะละกา สู่ทะเลจีนใต้จนถึง Victoria, Hong Kong – ระยะเวลา 6 วัน, จาก Hong Kong ขึ้นเรือ Carnatic ผ่านทะเลจีนใต้ ทะเลจีนตะวันออก และมหาสมุทร Pacific จนถึง Yokohama, Japan – ระยะเวลา 22 วัน, จาก Yokohama ขึ้นเรือ General Grant ข้ามมหาสมุทร Pacific จนถึง San Francisco, United States – ระยะเวลา 7 วัน, จาก San Francisco นั่งรถไฟถึง New York City – ระยะเวลา 9 วัน, จาก New York ขึ้นเรือ China ผ่านมหาสมุทร Atlantic มาถึง London และขึ้นรถไฟสิ้นสุดปลายทาง Liverpool

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ความสำเร็จล้นหลามของ Around the World in Eighty Days ไม่แปลกที่จะได้รับการดัดแปลงสื่ออื่น ก่อนหน้านี้ประกอบด้วย – ละครเวที ปี 1874, สร้างโดย Verne และ Adolphe d’Ennery เปิดการแสดงที่ Théâtre de la Porte Saint-Martin, Paris จำนวน 415 รอบการแสดง ก่อนย้ายไป Théâtre du Châtelet ต่อเนื่องอีก 2,195 รอบ ยาวนานถึง 64 ปี – หนังเงียบ Around the World in Eighty Days (1919) นำแสดงโดย Conrad Veidt – ละครวิทยุ ปี 1946, สร้างโดย Orson Welles ออกอากาศรายการ The Mercury Theatre on the Air และตนเองให้เสียง Phileas Fogg – ละครเวที ปี 1946, สร้าง/นำแสดงโดย Orson Welles ตั้งชื่อว่า Around the World แต่ประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

Michael ‘Mike’ Todd (1909 – 1958) โปรดิวเซอร์ละครเวที/ภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Minneapolis, Minnesota ครอบครัวเป็นผู้อพยพชาว Polish เชื้อสาย Jews ฐานะยากจน มีพี่น้องถึง 9 คน แม้มีความสามารถทางการแสดงตั้งแต่เด็ก จำต้องออกจากโรงเรียนรับจ้างทำโน่นนี่นั่นเพื่อช่วยเหลือครอบครัว เปิดบริษัทก่อสร้างจนมีโอกาสทำงานในโรงถ่ายหนัง Hollywood แต่การมาถึงของ Great Depression ขาดทุนล้มละลาย เลยผันตัวสู่ธุรกิจโรงละคร กลายเป็นเจ้าของ Federal Theatre Project, Chicago ประสบความสำเร็จพอสมควร กระทั่งทศวรรษ 50s ร่วมก่อตั้ง Cinerama เพื่อนำเทคโนโลยี Widescreen มาใช้ในภาพยนตร์ แต่พบเห็นจุดข้อจำกัด/จุดบกพร่อง เลยลาออกมาควบกิจการ American Optical Company ตั้งชื่อเทคโนโลยีฟีล์มว่า Todd-AO ทดลองกับ Oklahoma! (1955) และผลักดันโปรเจค Around the World in 80 Days ให้เป็นรูปเป็นร่าง

มอบหมายให้ James Poe (Cat on a Hot Tin Roof, Summer and Smoke, Lilies of the Field), S. J. Perelman (Monkey Business, Horse Feathers) ดัดแปลงบทภาพยนตร์ และ John Farrow เป็นผู้กำกับ แต่เมื่อเริ่มถ่ายทำเพียงสัปดาห์เดียวกลับถูกไล่ออก (Farrow ได้ขึ้นเครดิตเขียนบทแทน) ส้มหล่นใส่ Michael Anderson

Michael Joseph Anderson (1920 – 2018) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ London ทั้งตระกูลเป็นนักแสดงตั้งแต่รุ่นทวด เข้าสู่วงการจากบทสมทบ Housemaster (1938), In Which We Serve (1942), ต่อด้วยกลายเป็นผู้ช่วย และกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Private Angelo (1949), ผลงานเด่นๆ อาทิ The Dam Busters (1955), Around the World in 80 Days (1956), Logan’s Run (1976) ฯ

พื้นหลังปี 1872 กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร, Phileas Fogg (รับบทโดย David Niven) ได้รับคำท้าทายจากสี่เกลอสมาชิก Reform Club ด้วยเงินพนัน £20,000 ปอนด์ (เทียบปี 2015 เท่ากับ £1.8 ล้านปอนด์) ต่อการเดินทางรอบโลกระยะเวลา 80 วัน ร่วมกับคนรับใช้ใหม่ Passepartout (รับบทโดย Cantinflas) ขึ้นบอลลูนมุ่งสู่ฝรั่งเศส แต่กลับไปโผล่ประเทศสเปน ต่อด้วย อิตาลี, อินเดีย, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา สุดท้ายจะสามารถเดินทางทันกำหนดระยะเวลาหรือไม่!


James David Graham Niven (1910 – 1983) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Belgravia, London โตขึ้นเข้าเรียนโรงเรียนทหาร Royal Military College, Sandhurst จบออกมาได้ยศรองผู้พัน สังกัดทหารบก ได้รับมอบหมายสังกัด Highland Light Infantry ประจำอยู่ Malta, Dover เบื่อหน่ายในความสงบลาออกมาเป็นอาจารย์ เซลล์แมนขายวิสกี้ มุ่งสู่อเมริกากลายเป็นตัวประกอบ เข้าตาเซ็นสัญญา MGM เริ่มมีชื่อเสียงกับ Dodsworth (1936), The Prisoner of Zenda (1937), The Dawn Patrol (1938), Wuthering Heights (1939) ฯ พอสงครามโลกครั้งที่สองหวนกลับไปรับใช้ชาติ ขึ้นฝั่งร่วมกับพันธมิตรในวัน D-Day จนได้ยศพันโท ก่อนกลับอเมริกามีผลงานสร้างชื่อคือ A Matter of Life and Death (1946), จากนั้นกลายเป็นตำนานกับ Around the World in 80 Days (1956), Separate Tables (1958) ** คว้า Oscar: Best Actor, The Guns of Navarone (1961), The Pink Panther (1963), รับบท James Bond เรื่อง Casino Royale (1967) ฯ

รับบท Phileas Fogg ผู้ดีชาวอังกฤษที่มีความตรงต่อทุกสิ่งอย่าง เวลาทำอะไรต้องเปะๆ ไม่ยินยอมรับการเปลี่ยนแปลงแม้แต่เล็กน้อย ยินยอมรับคำท้าพนันเดินทางรอบโลกไม่ใช่แค่เรื่องเงินทองแต่ด้วยเกียรติศักดิ์ศรีลูกผู้ชาย ระหว่างทางพานพบเจอเหตุการณ์โน่นนี่นั่น จิตใจค่อยๆโอนอ่อนผ่อนตาม ให้ความช่วยเหลือตกหลุมรักหญิงสาว เธออาจเป็นคนเดียวในโลกเข้าใจตัวตนแท้จริงของเขา

ความตั้งใจแรกของโปรดิวเซอร์ Mike Todd อยากได้ Cary Grant แต่พอไม่สามารถเกลี้ยกล่อมได้ในระยะเวลาหกเดือนเลยขอยอมแพ้ และแค่พบเจอพูดคุยซักถาม Niven อยากรับบท Phileas Fogg ไหม? เจ้าตัวตอบทันควัน ‘I’d do it for nothing!’

ความเนี๊ยบของ Niven มาดสุภาพบุรุษไม่มีหลุด ดูเป็นผู้ดีอังกฤษโดยแท้ แม้การแสดงอาจดูแข็งทึ่มทื่อไปสักหน่อย แต่ผู้ชมพบเห็นแล้วจักจดจำภาพลักษณ์ รับล่วงรู้บุคลิกนิสัยตัวละครได้โดยทันที … ไม่มีอะไรมากกว่านี้

เกร็ด: ในบรรดาตัวละครทั้งหมด Niven ให้สัมภาษณ์บอกว่า ชื่นชอบประทับใจ Phileas Fogg ที่สุดแล้ว


Mario Fortino Alfonso Moreno Reyes หรือ Cantinflas (1911 – 1993) นักแสดง/ตลก สัญชาติเม็กซิกัน เกิดที่ Santa María la Redonda, Mexico พี่น้องแปดคน ตั้งแต่เด็กมีความเฉลียวฉลาดปราดเปรี่ยว ขี้เล่นสนุกสนานเลยเคยทำงานคณะละครสัตว์ ร้องเล่นเต้นออกทัวร์จนมีชื่อเสียงโด่งดัง ได้รับชักชวนแสดงภาพยนตร์ No te engañes corazón (1939), ผลงานสร้างชื่อ Ahí está el detalle (1940), El supersabio (1948), แจ้งเกิดระดับนานาชาติกับ Around the World in 80 Days (1956), Pepe (1960) ฯ

รับบท Passepartout คนรับใช้ใหม่ของ Phileas Fogg นิสัยร่าเริงสนุกสนาน ไม่ชอบยึดติดอยู่กับกฎกรอบเกณฑ์ วันๆต้องหยอกล้อหลีสาว เป็นเหตุให้ไขว้เขว้หลงลืมสิ่งที่กำลังจะทำได้โดยง่าย และด้วยความใสซื่อบริสุทธิ์ จึงตกอยู่ในสถานการณ์เป็นตายบ่อยครั้ง เอาตัวรอดมาได้ด้วยโชคช่วยแบบสุดๆ

เกร็ด: Passepartout สามารถแปลได้ว่า ‘Goes Everywhere’ สะท้อนตัวละครที่สามารถทำได้ทุกสิ่งอย่าง

ดั้งเดิมบทบาทนี้ในนวนิยายแทบไม่มีอะไรโดดเด่น แต่การได้ Cantinflas ถือเป็นนักแสดงชื่อดังฝั่งละตินอเมริกา จะมาแค่สมทบตัวประกอบก็กระไรอยู่ ผู้สร้างเลยเพิ่มเติมส่วน Comedy และความสามารถเฉพาะตัวต้อนวัวกระทิง ไม่ต้องใช้สแตนอินเล่นโลดโผนเองได้ทุกช็อตฉาก

เกร็ด: Cantinflas เคยให้สัมภาษณ์บอกสิ่งอยากสุดของหนัง คือการขี่จักรยานล้อสูง Penny-Farthing นั่นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสักนิด!

สำหรับนักแสดงรับเชิญมีประมาณ 40 คน (น่าจะเยอะสุดที่ปรากฎในหนังเรื่องหนึ่งแล้วกระมัง) ยกดังๆที่ผมรู้จักมาก็แล้วกันนะ – Shirley MacLaine รับบท Princess Aouda (นางเอกที่ถูกตัดบท เพราะเธอท้องระหว่างถ่ายทำ เลยไม่สามารถทำอะไรได้มาก) – Robert Newton รับบท Inspector Fix (โดยไม่รู้ตัว หมอนี่เป็นคนที่สามเดินทางรอบโลกสำเร็จ 80 วัน) – Noël Coward – Sir John Gielgud รับบท Foster คนรับใช้เก่าของ Fogg ที่กำลังขอลาออก – Charles Coburn – Peter Lorre รับบทสจ๊วตบนเรือ SS Carnatic – Marlene Dietrich โฮสเทจที่ San Francisco – John Carradine รับบท Col. Stamp Proctor – Frank Sinatra นักเปียโน – George Raft – Ronald Colman – Buster Keaton ผู้ควบคุมรถไฟ (จาก San Francisco ถึง Fort Kearney) – Victor McLaglen ต้นหน SS Henrietta


ถ่ายภาพโดย Lionel Lindon (1905 – 1971) สัญชาติอเมริกัน ผลงานเด่นๆ อาทิ Going My Way (1944), The Blue Dahlia (1946), Around the World in 80 Days (1956), I Want to Live! (1958), The Manchurian Candidate (1962) ฯ

ความที่เทคโนโลยี Todd-AO มีความเร็วขับเคลื่อน 30fps ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้กับเครื่องฉายฟีล์มทั่วไป 35mm ความเร็ว 24fps วิธีการของหนังคือถ่ายทำสองครั้ง สิ้นเปลืองงบประมาณไม่น้อย

หนังเดินทางไปรอบโลก 13 ประเทศ สร้างฉาก 140 เซ็ตที่ Hollywood (หยิบยืมโรงถ่ายของสตูดิโอ RKO-Pathe, RKO, Universal-International, Warner Brothers, Columbia Pictures และ Twentieth Century Fox) ตัวประกอบ 68,894 คน สัตว์อีก 8,552 ตัว (แกะ 3,800 ตัว, ควาย 2,448 ตัว, ลา 950 ตัว, ม้า 800 ตัว, ลิง 512 ตัว, วัวกระทิง 17 ตัว, ช้าง 15 ตัว, Skunks 6 ตัว และนกกระจอกเทศ 4 ตัว) แต่ใช้เวลาถ่ายทำเพียง 75 วัน ถือว่ามีความรวดเร็วสูงมากๆ

งบประมาณเกือบครึ่งล้าน หมดไปกับค่าตัดเย็บเสื้อผ้า 74,685 ตัว ถือเป็นสถิติปริมาณเครื่องแต่งกายสูงสุดขณะนั้น (ไม่รู้ถูกทำลายไปหรือยังนะ!)

ฉากใหญ่สุดของหนังคือต้อนกระทิง นี่ไม่มีในนวนิยายของ Jules Verne ใส่เข้ามาเพราะต้องการขายความสามารถพิเศษของ Cantinflas โดยเฉพาะ! ตอนแรกเรียกรวมพลเมืองยัง Chinchón, Spain มาได้กว่า 6,500 คน แต่ยังไม่พึงพอใจโปรดิวเซอร์ต้องการหลักหมื่น ที่เหลือได้จาก Madird อยู่ห่างไป 45 กิโลเมตร

กลัวว่าภาพที่ออกมาจะดูหลอกๆ (เพราะใช้กล้องถ่ายทำขนาดใหญ่) โปรดิวเซอร์เลยทุ่มทุนซื้อรถไฟ สร้างทางให้สามารถถล่มพังทลายได้จริงๆ [นี่ล้อกับหนังเรื่อง The General (1926) ที่ Buster Keaton กำกับ/นำแสดง], เช่นกันกับเรือเดินสมุทร สำหรับข้าม Atalantic Ocean สามารถถอดชิ้นส่วนประกอบกันกลางทะเลเลยละ

ฉากผจญภัยได้รับการพูดถึงกล่าวขวัญมากที่สุด คือล่องบอลลูน นี่ไม่มีในนวนิยายของ Jules Verne อีกเช่นกัน โปรดิวเซอร์ใส่เพิ่มเข้ามาเพื่อโชว์อ๊อฟกล้อง Todd-AO เพื่อถ่ายทำภาพสวยๆจากมุมสูงโดยเฉพาะ! แซวว่า David Niven เป็นโรคกลัวความสูง ช็อตถ่ายทำสองนักแสดงบนบอลลูนลอยขึ้นจากพื้นเพียงระยะ 49 เมตรเท่านั้น

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ทิ้งท้าย 10 วินาที กับภาพกระบวนพยุหยาตราชลมารคจากเมืองไทย ได้รับพระบรมราชานุญาตเป็นกรณีพิเศษจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ล่องแม่น้ำเจ้าพระยา ติดพื้นหลังพระบรมหาราชวัง, ฟุตเทจจากเมืองไทยมีอีกช็อตหนึ่งนะ แต่เป็นตอนพลบค่ำเลยมองไม่ค่อยเห็นเท่าไหร่

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ด้วยปริมาณฟุตเทจ 680,000 ฟุต (=210,000 เมตร) ใช้ระยะเวลา 9 เดือนเต็ม ตัดต่อโดย Gene Ruggiero และ Howard Epstein ให้หลงเหลือเพียง 25,734 ฟุต (=7,844 เมตร) ความยาว 179 – 183 นาที**

เกร็ด: สาเหตุที่หนังมีความยาวไม่เท่ากัน เกิดจากความเร็วของเครื่องเล่น คือถ้าต้นฉบับจากฟีล์ม 35mm (25fps) จะได้ความยาว 179 นาที แต่ถ้านำจากฟีล์ม 70mm (30fps) เล่นในเครื่องเล่น 25fps ผลลัพท์เลยยาวนานขึ้นกว่าปกติเล็กน้อย

ดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองหลักๆของสองนักผจญภัย Phileas Fogg และ Passepartout ซึ่งพอพวกเขาเดินทางถึงแห่งหนใด ก็มักตัดสลับกลับมายัง Reform Club เพื่อแจ้งข่าวสารต่อสี่เกลอนักพนันขันต่อ พูดคุยสนทนาแสดงปฏิกิริยาต่อสิ่งได้ยินมา

หนังเริ่มต้นแนะนำตัวละครแบบหยาบๆ สร้างความสัมพันธ์ระว่าง Fogg กับ Passepartout อย่างหลวมๆ แล้วให้เวลากับการผจญภัยแต่ละประเทศ ร้อยเรียงมอนเทจภาพทิวทัศน์สวยๆสองข้างทาง ตัดสลับปฏิกิริยาอึ้งทึ่งไม่เคยเห็นของตัวละคร ดำเนินไปเช่นนี้เวียนวนมาหลายครั้งจนกลายเป็นสูตรสำเร็จ ผู้ชมที่จินตนาการแผนที่โลกไม่ออกคงรำพัน เมื่อไหร่จะถึงจุดสิ้นสุดเส้นชัยสักที!

ตรงกันข้ามกับคนล่วงรู้จักภูมิทัศน์ของโลกเป็นอย่างดี คงโคตรหงุดหงิดหัวเสีย ล่องเรือผ่านพม่า/ช่องแคบมะละกา ไฉนกลับมีภาพพระราชวัง แม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร, หรือฉากที่ญี่ปุ่น Great Buddha แห่ง Kamakura อยู่ห่างจาก Yokohama พอสมควรเลยนะ!


เพลงประกอบโดย Victor Young (1900 – 1956) นักแต่งเพลงสัญชาติอเมริกา ผู้มีหลายผลงานคลาสสิกมากมาย อาทิ Reap the Wild Wind (1942), For Whom the Bell Tolls (1943), So Evil My Love (1948), The Greatest Show on Earth (1952), The Quiet Man (1952), Shane (1953) และผลงานสุดท้ายก่อนเสียชีวิตคือ Around the World in 80 Days (1957)

จัดเต็มด้วย Symphoney Orchestra มอบสัมผัสที่คือจิตวิญญาณเหมือนดั่งลูกโป่ง/บอลลูน ล่องลอยตามแรงลมอยู่บนฟากฟ้า เคลื่อนไหลไปตามโชคชะตา ชีวาก็เฉกกัน!

น่าเสียดายผมหาอนิเมชั่นความยาว 7 นาที สรรค์สร้างโดย Saul Bass มาให้รับชมไม่ได้ (หาดูในหนังเอาเองแล้วกันนะครับ) ด้วยระยะเวลาดังกล่าวสมัยนั้นถือว่านานมากๆ จนกลายเป็นสถิติ Closing Credit เยิ่นยาวที่สุด ก่อนถูกแซงโดย Superman (1978)

แซว: ปัจจุบันยาวสุดน่าจะ Lord of the Rings มั้งนะ!

จริงๆหนังมีบทเพลงขับร้อง Around the World แต่งเนื้อโดย Harold Adamson แต่ไม่ได้ถูกนำใส่ในหนัง บันทึกเสียงครั้งแรกโดย Bing Crosby ต่อมาได้รับการ Re-Record นับครั้งไม่ถ้วนทีเดียว (โด่งดังกว่า Soundtrack ของหนังอีกมั้งนะ!)

เกร็ด: ฉบับขับร้องโดย Crosby ติดสูงสุดอันดับ 25 ชาร์ท Billboard Hot 100

จากความเชื่อว่าโลกแบน ได้รับการพิสูจน์เปลี่ยนเป็นโลกกลม ต่อมา Christopher Columbus แล่นเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกค้นพบทวีปอเมริกา (เป็นการยืนยันว่าโลกกลม) เทคโนโลยีค่อยๆวิวัฒนาการขึ้นเรื่อยๆ รถต่อเรือต่อรถไฟต่อเครื่องบิน จนในที่สุดสามารถเดินทางรอบโลกในระยะเวลาเพียง 80 วัน

เกร็ด: ตั้งแต่ปี 1993 จะมีการแข่งขันเดินทางรอบโลก เลียนแบบ Around the World in 80 Days ตั้งชื่อรางวัลว่า Jules Verne Trophy สถิติเมื่อปี 2017 โดย Francis Joyon ชาวฝรั่งเศส ใช้เวลา 40 วัน 23 ชั่วโมง 30 นาที 30 วินาที

สูตรสำเร็จเรื่องราวแนว Travelogue ผู้เดินทางจะได้เปิดโลกทัศน์ พบเห็นสิ่งใหม่ๆ เรียนรู้จักวัฒนธรรมแตกต่าง ค่อยๆแปรสภาพภายใน อาจจากเคยตึงเครียดซึมเศร้าหมองหม่น สู่ความโอนอ่อนผ่อนคลายยิ้มแย้มสุขสบาย, ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เฉกเช่นเดียวกัน – Phileas Fogg จากเคยเป็นคนตรงกว่าไม้บรรทัด ระหว่างทางพบเจอตกหลุมรักหญิงสาว เริ่มแสดงออกน้ำใจไมตรี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ภายในอันโอนอ่อนโยนค่อยๆผ่อนคลายออกมา – สำหรับ Passepartout แม้ดูไม่แตกต่างตั้งแต่ต้นจนจบ แต่บทเรียนชีวิตมากมายระหว่างเดินทาง รอดมาได้หลายครา คงเกิดความจดจำฝังใจบ้าง … ไม่มากก็น้อย

ข้อคิดดีสุดที่ผมหาได้จากหนัง, การออกเดินทางสู่โลกกว้างจะทำให้เราค้นพบมุมมองใหม่ๆ ไม่จมปลักอยู่กับความคร่ำครึโบราณ เพราะชีวิตคืออิสรภาพ! เปิดออกแล้วโบยบิน จักพบเห็นได้ยินว่ามีอะไรอีกมากที่เรามิเคยล่วงรับรู้

และมิตรภาพระหว่างการเดินทาง คือสิ่งสวยงามมากๆถ้าใครได้พบเจอ!


ด้วยทุนสร้าง $6 ล้านเหรียญ ทำเงินในอเมริกา $33 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $42 ล้านเหรียญ สูงสุดอันดับสองของปีรองจาก The Ten Commandments (1956)

เข้าชิง Oscar 8 สาขา คว้ามา 5 รางวัล – Best Picture **คว้ารางวัล – Best Director – Best Writing, Adapted Screenplay **คว้ารางวัล – Best Cinematography, Color **คว้ารางวัล – Best Film Editing **คว้ารางวัล – Best Art Direction-Set Decoration, Color – Best Costume Design, Color – Best Music, Scoring of a Dramatic or Comedy Picture **คว้ารางวัล

ถ้ามองเมื่อตอนหนังออกฉาย Around the World in 80 Days ถือว่าคือเต็งหนึ่ง เพราะเพิ่งคว้ารางวัล Golden Globe: Best Motion Picture – Drama แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปย้อมมองคู่แข่งเรื่องอื่น The Ten Commandments, Giant, The King and I และ Friendly Persuasion ดูดีมีภาษีกว่าทั้งนั้น จากเคยยิ่งใหญ่กลายเป็นปีอัปยศของ Academy เทียบแล้วอาจเป็นรองแค่ The Greatest Show on Earth (1952)

เกร็ด: – Around the World in 80 Days กลายเป็นชื่อภาพยนตร์ยาวสุดคว้า Oscar: Best Picture ถูกเทียบเคียงโดย One Flew Over the Cuckoo’s Nest (1975) และแซงได้เรื่อง The Lord of the Rings: The Return of the King (2003) – Victor Young หลังจากเข้าชิง Oscar มาทั้งหมด 22 ครั้ง เสียชีวิตก่อนได้รับรางวัลจากหนังเรื่องสุดท้ายนี้ – หนึ่งในนักเขียนบท S. J. Perelman ไม่ได้เข้าร่วมรับรางวัล แต่ได้ส่ง Hermione Gingold อ่านโน๊ตที่เขียนไว้ เธอพูดว่า

“I’m very proud to receive this object d’art on behalf of Mr. Perelman, who writes … he cannot be here for a variety of reasons, all of them spicy. He’s dumbfounded, absolutely flummoxed. He never expected any recognition for writing ‘Around the World in Eighty Days’. And, in fact, only did so on the expressed understanding that the film would never be shown”.

เมื่อก่อนผมเคยชื่นชอบภาพยนตร์เรื่องนี้ เริ่มรู้จักหลังรับชม Around the World in 80 Days (2004) ฉบับนำแสดงโดยเฉินหลง แต่ครานี้หวนกลับมาดูรู้สึกผิดหวังโดยสิ้นเชิง ‘รูปสวยใจทราม’ นอกจากภาพสวย เพลงเพราะ อย่างอื่นเละตุ้มเปะพอๆกับหนังของ Michael Bay เลยก็ว่าได้

แนะนำคอหนังผจญภัยรอบโลก หลงใหลวัฒนธรรมหลากหลาย ชื่นชอบผลงาน Jules Vern, งานภาพสวยๆอลังการ (เหมาะรับชมในโรงภาพยนตร์จอใหญ่ๆ) เพลงประกอบไพเราะ, และแฟนๆนักแสดงอย่าง David Niven, Cantinflas, Shirley MacLaine ฯลฯ

จัดเรตทั่วไป ไม่มีพิษมีภัย

คำโปรย | Around the World in 80 Days เรียกได้ว่า ‘รูปสวยใจทราม’ เหมาะสำหรับรับชมในโรงภาพยนตร์เท่านั้น

คุณภาพ | รูปสวยใจทราม ส่วนตัว | ค่อนข้างผิดหวัง

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

From Here to Eternity (1953) : Fred Zinnemann ♥♥♥♥

ไม่ว่าประเทศไหนๆก็คงเหมือนกัน! เพราะสิ่งที่เรียกว่า ‘อำนาจ’ มักทำให้มนุษย์เกิดความอหังการ อ้างอวดดี เย่อหยิ่งจองหอง ผยองไปกับโลกทัศนคติผิดๆ เดินหลงจากเส้นทางเป้าหมาย ตราบจนชั่วนิรันดร์ไม่อาจหวนกลับคืน, คว้า Oscar 8 สาขา รวมทั้งภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

“Power tends to corrupt, and absolute power corrupts absolutely. Great men are almost always bad men”. – John Emerich Edward Dalberg-Acton, 1st Baron Acton

“อำนาจฉ้อฉลฉันใด อำนาจเบ็ดเสร็จฉ้อฉลเบ็ดเสร็จฉันนั้น” คำกล่าวนี้ของ Lord Acton (1834–1902) นักประวัติศาสตร์ นักการเมือง นักเขียนชาวอังกฤษ ได้รับการถกเถียง/อ้างอิงจากนักวิชาการทั้งไทย-เทศ พบเห็นแทบทุกบทความที่เอ่ยกล่าวถึง ‘อำนาจ’ คือสิ่งทำให้สภาวะทางจิตวิทยาของมนุษย์ปรับเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งไม่จำเป็นว่าบุคคลนั้นจะมีอำนาจจริงๆ เพียงแค่การครุ่นคิดถึง (Think of Power) ก็สามารถกระตุ้นต่อมบางอย่างให้รู้สึกถึงพลังอันยิ่งใหญ่

แต่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับ “ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายจึงมักเป็นคนเลว” เพราะบุคคลที่ใช้อำนาจเป็น จักสามารถมองเห็น ‘ขอบเขต’ ล่วงรับรู้ว่าแท้จริงแล้วนั้นคือสิ่งลวงตา มีเหมือนไม่มี จึงไม่นำพาให้ลุ่มหลงใหล เกิดความฉ้อฉล คอรัปชั่น … ผู้ยิ่งใหญ่ที่ดีแท้ มีมากมายถมไป!

From Here to Eternity คือภาพยนตร์ที่นำเสนอความคอรัปชั่นภายในกองทัพทหาร เมื่อผู้บังคับบัญชาพยายามครอบงำ กดขี่ข่มเหงนายทหารใต้สังกัดให้ปฏิบัติตามคำสั่ง หลงระเริงไปกับ ‘อำนาจ’ จนลืมเลือนหน้าที่รับผิดชอบ สะท้อนภาพใหญ่ๆกับการเมืองของสหรัฐอเมริกา กว่าจะยินยอมเข้าร่วมสมรภูมิสงครามโลกครั้งที่สอง ต้องรอให้เกิดความสูญเสียหายที่ Pearl Harbour ขึ้นเสียก่อน!


Alfred ‘Fred’ Zinnemann (1907 – 1997) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์สัญชาติ Austrian เกิดที่ Rzeszów (ปัจจุบันคือประเทศ Poland) ในครอบครัวชาว Jews ตอนเด็กมีความฝันต้องการเป็นนักดนตรี กลับเรียนจบกฎหมายที่ University of Vienna แล้วเกิดความหลงใหลคลั่งไคล้ในภาพยนตร์ เข้าเรียนต่อ Ecole Technique de Photographie et Cinématographie ที่ Paris จบมาทำงานเป็นตากล้องทำงานใน Berlin และขอครอบครัวอพยพย้ายสู่ Hollywood ครั้งหนึ่งเป็นตัวประกอบใน All Quiet on the Western Front (1930) กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก The Wave (1935) ถ่ายทำใน Mexico ใช้นักแสดงสมัครเล่น ถือเป็นหนังแนว Social Realism เรื่องแรกๆของโลก

พ่อ-แม่ ครอบครัวของ Zinnemann ถูกฆ่าล้างชาติพันธุ์โดย Nazi ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างความเจ็บปวดชอกช้ำให้กับเขาเป็นอย่างมาก แต่เพราะติดสัญญาทาสกับสตูดิโอ MGM ทำให้สร้างหนังทิ้งๆขว้างๆอยู่ 2-3 เรื่อง จนกระทั่งได้รับอิสรภาพ มีโอกาสสร้างหนังเรื่อง Act of Violence (1949) ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่สะท้อนปัญหาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และตั้งคำถามเกี่ยวกับจริยธรรมของสงคราม (Ethics of Wars) ตามด้วย High Noon (1952), From Here to Eternity (1953), The Nun’s Story (1959), The Sundowners (1960), A Man for All Seasons (1966), Julia (1977) ฯ

ดัดแปลงจากนวนิยาย From Here to Eternity (1951) แต่งโดย James Ramon Jones (1921 – 1977) อดีตทหารผ่านศึกสังกัด 25th Infantry Division, 27th Infantry Regiment ประจำอยู่ Schofield Barracks, Oahu, Hawaii ตั้งแต่ก่อนการมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง เข้าร่วบรบในยุทธการ Battle of Mount Austen, The Galloping House และ Sea Horse ได้รับบาดเจ็บที่เข่า ปลดประจำการ กรกฎาคม 1944

หลังจากได้งานเป็นนักข่าว เริ่มเขียนนวนิยายเล่มแรก From Here to Eternity เรียบเรียงจากความทรงจำ ประสบการณ์ตรงพบเห็นเครื่องบินทหารญี่ปุ่นบุกโจมตี Pearl Harbour วันที่ 7 ธันวาคม 1941, เสร็จสิ้นวางขายเดือนกุมภาพันธ์ 1951 กลายเป็นหนังสือขายดี Best-Selling คว้ารางวัล National Book Award และต่อมาติดอันดับ 100 Best Novels แห่งศตวรรษ 20 จัดโดย Modern Library Board

เกร็ด: ความสำเร็จของหนังสือเล่มนี้ ทำให้ Jones เขียนภาคต่อออกมาอีกสองเล่มคือ The Thin Red Line (1962) และ Whistle (1978) แต่เรื่องหลังเหมือนยังไม่เสร็จดี ฝากฝังก่อนตายให้ Willie Morris สานต่อที่เหลือจนจบ

ด้วยความยาวของหนังสือกว่า 800 หน้า แม้ขายดีแค่ไหนก็สร้างความหนักใจให้กับสตูดิโอสร้างภาพยนตร์ แถมเรื่องราวเต็มไปด้วยประเด็นละเอียดอ่อนมากมาย จนถูกมองว่า ‘unfilmable’ นั่นทำให้ Columbia Pictures จ่ายค่าลิขสิทธิ์ดัดแปลงเพียง $82,000 เหรียญ (เพราะไร้ซึ่งคู่แข่งต่อรองราคา)

ความท้าทายของ Daniel Taradash (1913 – 2003) ผู้ดัดแปลงบทภาพยนตร์เรื่องนี้ คือทำอย่างไรให้ผ่านทั้ง Hays Code และสร้างความพึงพอใจต่อกองทัพ เพื่อสามารถถ่ายทำยังสถานที่จริง Schofield Barracks, Hawaii – ในนิยาย ตัวละคร Lorene คือโสเภณีขายตัว แต่ในหนังเปลี่ยนเป็น Hostess ในคลับส่วนตัวแห่งหนึ่ง – เหตุผลการมีลูกไม่ได้ของ Karen ในนิยายเพราะสามีติดโรคหนองในจากความสำส่อน, ส่วนภาพยนตร์ ท้องแล้วแท้ง ตัดประเด็นโรคติดต่อทิ้งไปเลย – มีทหารนายหนึ่งเป็นคนลักร่วมเพศ (Homosexual) ถูกล้อเลียนจนตัดสินใจฆ่าตัวตาย … แม้หนังจะตัดประเด็นนี้ทิ้งไป แต่การแสดงออกของ Fatso ต่อ Maggio ก็ยังสามารถตีความในลักษณะ รังเกียจพวกรักร่วมเพศ – เรื่องราวของ Maggio ในคุกถูกกระทำร้ายโดย Fatso ถูกตัดทิ้งออกไป และการเสียชีวิตของเขาเพิ่มเติมตกจากหลังรถ ไม่ใช่แค่ถูกซ้อมหนักเพียงอย่างเดียว (ประมาณว่า กองทัพไม่ยินยอมรับการใช้ความรุนแรงแบบป่าเถื่อนต่อนักโทษ) – กัปตัน Holmes ในนิยายได้รับการเลื่อนขั้นสมปรารถนา และถูกย้ายเพื่อไปรับตำแหน่งใหม่ที่อื่น, ภาพยนตร์ส่งเสริมคนผิดไม่ได้ เลยถูกไต่สวน ขึ้นศาลทหาร เอาตัวรอดด้วยการยื่นใบลาออก [เห็นว่ากองทัพแนะนำให้ออกมาแบบนี้เลย เป็นสิ่งที่พวกเขากระทำกันจริง! นี่สร้างความรวดร้าวฉานยิ่งยวดต่อผู้กำกับ Zinnemann เรียกฉากนั้นว่า “the worst moment in the film”] ฯลฯ

เรื่องราวมีพื้นหลังปี 1941 เมื่อนายทหาร Robert E. Lee Prewitt (รับบทโดย Montgomery Clift) ได้รับคำสั่งโยกย้ายมาประจำการยัง Schofield Barracks, Hawaii ด้วยสาเหตุผลว่า Captain Dana Holmes (รับบทโดย Philip Ober) เคยพบเห็นความสามารถต่อยมวยเก่งกาจ ต้องการให้มาเข้าร่วมแข่งขันชิงแชมป์ในสังกัดของตน แต่เจ้าตัวกลับบอกปัดปฏิเสธเพราะเลิกชกอย่างเด็ดขาด นั่นสร้างความคับข้องขุ่นเคืองใจอย่างรุนแรง สั่งการให้จ่า Milton Warden (รับบท Burt Lancaster) ใช้อำนาจในทางมิชอบ กลั่นแกล้ง ลงโทษ ตัดเวลาพักผ่อน บีบบังคับให้ยินยอมจำนน แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่คิดยอมความเสียที


นำแสดงโดย Edward Montgomery Clift (1920 – 1966) นักแสดงสัญชาติอเมริกา เกิดที่ Omaha, Nebraska, ด้วยความไม่ชื่นชอบโรงเรียน ตัดสินใจเลือกการแสดง เข้าสู่วงการ Broadway ตั้งแต่อายุ 15 ปี สิบปีต่อมาแม้ไม่ได้มีความสนใจมุ่งสู่ Hollywood แต่ก็ไม่ให้เสียโอกาสเข้าเรียน Actors Studio แจ้งเกิดกับ Red River (1948), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ The Heiress (1949), A Place in the Sun (1951), I Confess (1952), From Here to Eternity (1953), The Young Lions (1958), Judgment at Nuremberg (1961) ฯ

รับบท Private Robert E. Lee ‘Prew’ Prewitt จากเคยยศสิบโท เป็นนักเป่าแตร แต่ไม่พึงพอใจที่ผู้บัญชาการยกตำแหน่งของตนให้ผู้อื่น เลยขอย้าย ลดตำแหน่ง มาประจำการยัง Schofield Barracks, Hawaii แต่ไม่วายพบเจอปัญหาซ้ำๆ เพราะ Captain Holmes ต้องการให้เขาเป็นนักมวยในสังกัด แต่เจ้าตัวบอกปัด เลยถูกกลั่นแกล้งสารพัด

Prewitt สนิทสนมกับ Private Angelo Maggio (รับบทโดย Frank Sinatra) วันพักผ่อนนำพาไปท่องเที่ยวยัง New Congress Club พบเจอตกหลุมรัก Lorene (รับบทโดย Donna Reed) แต่ไม่ค่อยมีเวลาขายขนมจีบ เกี้ยวพาเธอสักเท่าไหร่ ความซวยเกิดขึ้นเมื่อ Maggio ถูกทำร้ายจนเสียชีวิตโดย James R. ‘Fatso’ Judson (รับบทโดย Ernest Borgnine) จัดการฆ่าล้างแค้นได้รับบาดเจ็บสาหัส ต้องหลบหนีอาศัยยังบ้านพักของ Lorene และการมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง โศกนาฎกรรมจึงบังเกิดขึ้น

Clift เป็นนักแสดง Method Acting ที่ทุ่มเทกายใจให้กับบทบาทอย่างมาก ร่ำเรียนเป่าแตร หัดชกมวย ฝึกซ้อมเดินแถวทหาร แถมเลียนแบบน้ำเสียงพูดของ Jamie Jones (ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้จากประสบการณ์ตนเอง คงไม่ผิดอะไรจะถือว่าตัวละครนี้คือตัวแทนของเขา) ใบหน้าอันตึงเข้มเครียด แสดงความมุ่งมั่นต่ออุดมการณ์ ทุ่มเทนตนเองเพื่ออาชีพทหาร แต่กลับไร้เดียงสาต่อชีวิตและความรัก มองไม่เห็นคุณค่าของสิ่งอื่นนอกจาก เพื่อตัวตนเอง

“Clift forced the other actors to be much better than they really were. That’s the only way I can put it. He got performances from the other actors, he got reactions from the other actors that were totally genuine”. – Fred Zinnemann

ฉากที่ได้รับการกล่าวขวัญสุดของหนัง คือตอนเมา เศร้าเสียใจต่อการจากไปของเพื่อนรัก Maggio ว่ากันว่า Clift เมาจริงจัง (ขณะที่ Lancaster ไม่ดื่มแอลกอฮอล์เลยสักหยด) สติแม้เลือนลาง แต่ยังสามารถถ่ายทอดการแสดงอันสมจริง

แซว: แม้ Clift จะไปร่ำเรียนการต่อยมวยอย่างหนัก แต่เขาไม่สามารถเลียนแบบท่วงท่าทางอย่างมืออาชีพได้ ด้วยเหตุนี้เฉพาะฉากต่อสู้ สังเกตให้ดีจะมีการใช้นักแสดงแทน


Burt Lancaster (1913 – 1994) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน ชายผู้ขึ้นชื่อเรื่องรับบทตัวละคร ‘Tough Guys’ เกิดที่ Manhattan, New York สมัยเด็กมีความสนใจยิมนาสติกและบาสเกตบอล เข้าเรียน New York University ด้วยทุนกีฬาแต่ลาออกกลางคันมาเป็นนักแสดงละครสัตว์เล่นกระโดดผาดโพน สมัครเป็นทหารช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปลดประจำการมาเป็นนักแสดง Broadway ภาพยนตร์เรื่องแรก Desert Fury (1947) แต่กลับออกฉายหลังภาพยนตร์เรื่องที่สอง The Killers (1946), โด่งดังกับ From Here to Ethernity (1953), Trapeze (1956) คว้า Silver Bear for Actor จากเทศกาลหนังเมือง Berlin, Elmer Gantry (1960) คว้า Oscar: Best Actor, Judgment at Nuremberg (1961), Birdman of Alcatraz (1962) คว้า Volpi Cup for Best Actor จากเทศกาลหนังเมือง Venice, Atlantic City (1980) ฯ

รับบท First Sergeant Milton Warden ลูกน้องคนสนิทของ Captain Holmes เป็นผู้ควบคุมดูแลกิจการงานทุกสิ่งอย่างในกองพัน ให้ดำเนินเดินไปอย่างสงบราบรื่น ถือว่าเป็นคนมีความสามารถด้านการบังคับบัญชา แต่ไม่ใคร่สนใจตำแหน่งก้าวหน้า นอกเสียจากเมียของหัวหน้า ใช้หน้าที่การงานบุกไปที่บ้านของ Karen Holmes (รับบทโดย Deborah Kerr) ไม่สนถูกผิดศีลธรรม แค่ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของเธอเท่านั้น

ก่อนหน้านี้ Lancaster เคยเล่นแต่บทเบาๆ ไม่ใช่ดราม่าตึงเครียดขนาดนี้ แถมพอพบเห็นความจริงจังของ Clift เลยเกิดความประหม่า เกร็งๆ ทำผิดพลาดบ่อยครั้ง (Monty เรียกเขาว่า ‘a big bag of wind’ นี่เป็นคำตำหนิต่อว่านะครับ) ภาพลักษณ์เหมือนจะเป็นคนดีมีศีลธรรม ชอบช่วยเหลือปกป้องลูกน้องในสังกัดไม่ให้ถูกกลั่นแกล้งทำร้าย แต่ตนเองกลับลักลอบมีชู้กับเมียหัวหน้า พรอดรักริมชายหาดไม่อายฟ้าดิน แบบนี้เรียกว่ากลับกลอก ‘หน้าไหว้หลังหลอก’

แซว: เพราะต้องมีฉากเปลือยอก Lancaster เลยชักชวนให้ Clift โกนขนหน้าอก (ประมาณว่า ถ้าโกนคนเดียวมันจะเขินๆหน่อย)


Deborah Kerr ชื่อจริง Deborah Jane Trimmer (1921 – 2007) นักแสดงหญิงสัญชาติ Scottish เจ้าของสถิติเข้าชิง Oscar: Best Actress ถึง 6 ครั้งแต่กลับไม่เคยได้, เกิดที่ Glasgow, Lanarkshire, วัยเด็กฝึกหัดเป็นนักเต้นบัลเล่ต์ แต่ต่อมาหันเอาดีด้านการแสดงมากกว่า เข้าเรียน Hicks-Smale Drama School จบออกมาเป็นมีผลงานละครเวที West End, ภาพยนตร์เรื่องแรกคือ Contraband (1940) แต่ฉากของเธอถูกตัดออก, เริ่มมีชื่อเสียงจาก The Life and Death of Colonel Blimp (1943) ตามด้วย Black Narcissus (1947), Quo Vadis (1951), From Here to Eternity (1953), The King and I (1956), An Affair to Remember (1957), The Innocents (1961) ฯ

รับบท Karen Holmes สามีของ Captain Dynamite Holmes ความสัมพันธ์ของทั้งคู่อยู่ในช่วงแตกหัก เพราะต่างเห็นตีนงูนมไก่ รับรู้ธาตุแท้ของกันและกัน ด้วยเหตุนี้เธอจึงพยายามมองหาชู้รักคนใหม่ หว่านโปรยเสน่ห์ไปเรื่อยให้กับทหารผู้อาจมีอนาคตเติบใหญ่ ใกล้เคียงสุดคือ Milton Warden เลยขอให้เขาสมัครเป็นผู้บังคับบัญชาการ แต่เจ้าตัวกลับบอกปัดนั่นไม่ใช่สิ่งที่ฉันต้องการ สุดท้ายเลยจำต้องเลิกราเดินจาก หวนกลับไปหาสามีที่แม้เกลียดชังก็มิอาจดิ้นหลบหนีไปไหนได้พ้น

แรกสุดในความสนใจของสตูดิโอคือ Joan Crawford แต่เธอยื่นข้อเสมอต้องให้ตากล้องประจำตัวของตนถ่ายทำเท่านั้น เลยถูกบอกปัดปฏิเสธไป, สำหรับ Deborah Kerr ทีแรกใครๆคาดคิดว่าเธอคงบอกปัด แต่เจ้าตัวกลับแสดงควาามสนใจยิ่งยวด กำลังต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ไม่ให้กลายเป็น Typecast อยู่พอดี

ปกติแล้ว Kerr จะรับบทหญิงสาวที่ ‘Lady-like’ เรียบร้อยดั่งผ้าพับไว้ ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าพลิกบทบาทสุดขั้ว สวมใส่ชุดว่ายน้ำบิกินี่สุดเซ็กซี่ สายตาแสดงความระร่าน โหยหาต้องการ ถูกผิดศีลธรรมช่างแม้ง ขอแค่สนองตัณหาราคะของตนเองก็เพียงพอแล้ว ถึงกระนั้นความบ้าในตำแหน่งชนชั้น ฉันไม่มีวันลดตัวลงไปแต่งงานกับคนยศศักดิ์ต้อยต่ำกว่า นั่งคงคือสาเหตุให้ตัวละครเลิกร้างรากับจ่า Warden หวนกลับไปหาสามีจอมกะล่อน แล้วค่อยแอบไปร่อนหาชู้รักใหม่รายต่อไป

แซว: ด้วยบทบาทที่โรแมนติกซาบซ่านขนาดนี้ คงไม่แปลกถ้า Kerr กับ Lancaster จะมีความสนิทสนมลึกซึ้งล่วงเกินเลย แต่พวกเขาก็ไม่ได้มากเกินกว่าหนังเรื่องนี้ เพราะต่างก็แต่งงานมีสามี-ภรรยา กันอยู่แล้ว


Donna Reed ชื่อเดิม Donna Belle Mullenger (1921 – 1986) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Denison, Iowa ในครอบครัว Methodist สมัยเรียนได้รับหนังสือ How to Win Friends and Influence People ที่สร้างอิทธิพลให้อย่างยิ่ง ทำให้มีความสนใจด้านการแสดง ได้รับการโหวตให้เป็น Campus Queen จบออกมาทดสอบหน้ากล้องเซ็นสัญญากับสตูดิโอ MGM มีผลงานเล็กๆน้อยๆมากมายในช่วงสงครามโลก ก่อนได้รับบทนำครั้งแรก It’s a Wonderful Life (1946), คว้า Oscar: Best Supporting Actress เรื่อง From Here to Ethernity (1953) ฯ

รับบทโฮสเตสสาว Lorene ชื่อจริงคือ Alma Burke สาวสู้ชีวิตที่พยายามทำงานเก็บเงิน แล้วหาบ้านปักหลักตั้งถิ่นฐาน ใช้ชีวิตสุขสำราญอย่างตามใจปรารถนา เมื่อได้พบเจอ Prewitt ลุ่มหลงใหลในนิสัยซื่อตรงไปตรงมาของเขา แปลกแตกต่างจากใครอื่น เลยยินยอมให้สนิทสนมตกหลุมรักใคร่ แต่แล้วก็ผิดหวังเพราะเขาแต่งงานกับกองทัพไปเรียบร้อยแล้ว ไม่สามารถแบ่งปันเสี้ยวส่วนหนึ่งของหัวใจให้กับเธอได้เลย

Zinnemann ได้เล็ง Julie Harris ให้รับบทบาทนี้ แต่สตูดิโอยืนกรานต้อง Reed เท่านั้น! ทำให้ผู้กำกับไม่หวังอะไรเท่าไหร่แต่สุดท้ายกลับผิดคาด! เพราะเธอตีบทแตกกระจุยกระจาย

ก็เหมือนกับ Kerr ใครเคยรับชมผลงานก่อนหน้านี้ของ Reed ยกตัวอย่าง It’s a Wonderful Life เต็มไปด้วยความน่ารัก หวานแหวว ใสซื่อบริสุทธิ์ไร้เดียงสา เรื่องนี้เป็นการพลิกบทบาทที่ไม่มีใครคาดคิดถึง กร้านโลก เยือกเย็นชา ถึงขนาดได้รับฉายา ‘เจ้าหญิง’ เย่อหยิ่งไม่แยแสใยดีต่อใครจริงจัง แต่หลังจากตกหลุมรักเปิดใจให้ Prewitt พยายามทำทุกสิ่งเพื่อฉุดเหนี่ยวรั้ง เกลี้ยกล่อมสุดแรงเกิดจนหมดพลัง เพราะรับรู้ว่าคือการร่ำลาจากชั่วนิรันดร์

แซว: ทั้งๆมีเวลาปรากฎตัวในหนังมากกว่า Deborah Kerr แต่กลับได้รับโอกาสเข้าชิงแค่ Best Supporting Actress ถึงกระนั้นก็ไร้คู่แข่งเทียมทาน คว้ารางวัลครั้งแรกครั้งเดียวในชีวิต


Francis Albert Sinatra (1915 – 1998) นักร้อง/นักแสดง ศิลปินผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20 เกิดที่ Hoboken, New Jersey ตั้งแต่เด็กมีความสนใจด้านดนตรี แจ๊ส Big Band หลงใหลใน Gene Austin, Rudy Vallée, Russ Colombo, Bob Eberly, และไอดอลคือ Bing Crosby ด้วยนิสัยเกเรทำให้ถูกไล่ออกจากโรงเรียน ทำงานเป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์ เริ่มต้นร้องเพลงตามคลับต่างๆ ต่อด้วยรายการวิทยุ จนกระทั่งได้รับการค้นพบโดย John Quinlan เป็นผู้สอนร้องเพลงให้, เซ็นสัญญากับค่าย Columbia ปี 1943 ออกอัลบั้มแรกในชื่อ The Voice of Frank Sinatra (1946) แล้วห่างหายไปช่วงหนึ่งก่อนหวนกลับมาในนามวง Rat Pat ประกอบก้บคว้า Oscar: Best Supporting Actor เรื่อง From Here to Eternity (1953) กรุยทางสู่ความเป็นอมตะ

รับบท Private Angelo Maggio เพื่อนสนิทขี้เล่นของ Prewitt เป็นคนร่างเล็กผอมบาง จึงมักถูกกลั่นแกล้ง ลงโทษให้ทำโน่นนี่นั่น ครั้งหนึ่งไม่พึงพอใจ James R. ‘Fatso’ Judson (รับบทโดย Ernest Borgnine) มีเรื่องทะเลาะใช้ความรุนแรง จองเวรอาฆาตพยาบาท กระทั่งว่าครั้งหนึ่งหลบหนีหน้าที่การงาน ถูกตัดสินจำคุก 6 เดือน กักขังในเรือนจำของ Fatso คราวนี้เลยโดนหนักจนต้องหลบหนี แต่แล้วชีวีก็ถึงกาลดับสิ้นสูญ

ตำนานเล่าว่า เหตุผลที่ Sinatra ได้รับบทนี้ เพราะเขามีเส้นสายกับมาเฟียทำการล็อบบี้เจ้าของ Columbia Pictures (นี่เป็นแรงบันดาลใจ Sub-Plot ของ The Godfather ด้วยนะ!) แต่ข้อเท็จจริงบ้างว่าภรรยาขณะนั้น Ava Gardner เป็นคนโน้มน้าวเจ้าของสตูดิโอให้เลือก Sinatra แสดงภาพยนตร์เรื่องนี้

ช่วงปีดังกล่าวถือเป็นจุดตกต่ำของ Sinatra ชีวิตคู่กำลังร้าวฉานกับภรรยา Gardner (แต่ง-หย่าร้าง 1951-57) ขณะนั้นแยกกันอยู่ สภาพจิตใจหดหู่ ขนาดว่าเคยประกาศจะฆ่าตัวตายกับ Clift และ Lancaster แต่ก็ถูกโน้มน้าว หว่านล้อม ช่วยเหลือกอดคอเอาตัวรอดกันไปได้ กลายเป็นหนี้บุญคุณทั้งชีวิต

แต่จะว่าไปบทบาทนี้ของ Sinatra ตรงกันข้ามกับอารมณ์เจ้าตัวขณะนั้นเลยนะ ขี้เล่น ร่าเริงสนุกสนาน แต่ไฮไลท์คือตอนเมามาย (ก็ไม่รู้เมาจริงหรือแสร้งเล่น) ความกระเปียกเทียบไม่ได้กับ Borgnine สมฉายาลูกลิง เอาตัวรอดไปได้อย่างหวุดหวิดจริงๆ กระนั้นเมื่อถึงคราชีวิตหาไม่ มันช่างรวดร้าวระทมใจ คนแบบนี้ทำไมถูกกลั่นแกล้งรุนแรงถึงขนาดนี้!

แซว: Sinatra คาดไม่ถึงเหมือนกันว่าตนเองจะกวาดรางวัลนักแสดงสมทบยอดเยี่ยมแห่งปี ภายหลังครุ่นคิดว่าผลงาน The Man with the Golden Arm (1955) โดดเด่นกว่าเป็นไหนๆ กลับไม่ได้ลุ้นรางวัลอะไรอย่างมึนๆ


ถ่ายภาพโดย Burnett Guffey (1905 – 1983) สัญชาติอเมริกัน เจ้าของสองผลงาน Oscar: Best Cinematography เรื่อง From Here to Eternity (1953) และ Bonnie and Clyde (1967) ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ All the King’s Men (1949), In a Lonely Place (1950), Birdman of Alcatraz (1962) ฯ

หนังเดินทางไปปักหลักถ่ายทำยังสถานที่จริง ค่ายทหาร Schofield Barracks, Hawaii ฉากในเมืองก็ Honolulu, Diamon Head, Waikiki Beach และซีนจูบสะท้านโลกที่ Halona Cove

งานภาพของหนังอาจไม่มีเทคนิคตื่นตระการตาให้รู้สึกหวือหวาอะไร แต่มีความลื่นไหลต่อเนื่องอย่างเป็นธรรมชาติ ส่วนใหญ่ถ่ายระยะ Medium Shot ขยับเคลื่อนไหลไปตามตัวละครให้อยู่กึ่งกลางช็อต

สำหรับฉากกลางคืน ดูแล้วคงเป็นการถ่ายทำตอนกลางวันด้วยฟิลเลอร์ Day-for-Night เพราะข้อจำกัดรูรับแสงของกล้องสมัยก่อน แสงสว่างยามค่ำคืนคงไม่เพียงพอแน่ๆ, สังเกตจากเบื้องหลังซีนจูบสะท้านโลก ชัดเจนเลยว่าพระอาทิตย์ยังคงสาดส่องแสง

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ฉากนี้ได้รับการยกย่องเป็น Iconic เกิดการเลียนแบบ ทำซ้ำ พบเห็นได้มากมายเกลื่อนกลาด, ในนิยายเห็นว่ามีการบรรยายเลิฟซีนอย่างโจ่งครึ่ม! แต่ภาพยนตร์ยังมิอาจนำเสนอเช่นนั้นได้ กระนั้นจังหวะที่คลื่นซัดเข้ามากระทบชายฝั่ง นัยยะคือการโล้สำเภา ร่วมรัก มี Sex ที่มีความสวยงาม ลุ่มลึกล้ำ โรแมนติกที่สุดแล้วในภาษาภาพยนตร์

“Nobody ever kissed me the way you do”.

คือผมก็ไม่รู้มันยังไงนะ แต่คาดว่าคงสร้างความเซ็กซี่เร้าอารมณ์ ผู้ชายเกิดความกระหยิ่มยิ้มพึงพอใจ ที่สามารถมอบความสุขสำราญให้หญิงสาวในลีลาไม่เคยสัมผัสถึงมาก่อน

เพราะความเร่าร้อนรุนแรงของฉากนี้ ทำให้กองเซนเซอร์สั่งให้หั่นออกบางจุด และห้ามนำเสนอ Lancaster-Kerr กอดจูบบนโปสเตอร์หนัง แต่เพราะพิมพ์ฟีล์มทั้งม้วนส่งออกฉายไปแล้ว บรรดาโรงหนังทั้งหลายเลยต่างเก็บเศษฟีล์มที่ตัดออกส่วนนี้ไว้เป็นของที่ระลึก แล้วคงแอบส่องดูยามดึกๆ

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ตัดต่อโดย William A. Lyon (1903 – 1974) ยอดฝีมือสัญชาติอเมริกัน คว้ารางวัล Oscar: Best Film Edited สองครั้งจาก From Here to Eternity (1953) และ Picnic (1955)

เราสามารถแบ่งหนังออกเป็น 2 เรื่องราวคู่ขนาน ที่มักตัดสลับกันไปมา – เรื่องราวของนายทหาร Robert E. Lee Prewitt ย้ายมาประจำการยัง Schofield Barracks ถูกกลั่นแกล้งสารพัด ตกหลุมรัก Lorene/Alma Burke แต่สุดท้ายชีวิตดับดิ้นอยู่ยัง Hawaii แห่งนี้ – อีกฝั่งของจ่า Milton Warden มือขวาของ Captain Holmes คอยควบคุมดูแลลูกน้องในสังกัด ลักลอบเป็นชู้รักเมียนาย Karen Holmes สุดท้ายไม่ขอก้าวหน้า จมปลักอยู่กับการเป็นนายทหารยังค่ายฝึกแห่งนี้

นี่ก็เท่ากับว่า หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองสองตัวละครที่เป็น ‘นายทหาร’ ชนชั้นต่ำสุดในพิระมิดกองทัพ โดยคนหนึ่งขันแข็งว่าจะทำตามอุดมการณ์เป้าหมายของตนเอง อีกคนหนึ่งแสร้งทำเป็นก้มหัวแต่คิดคนทรยศไม่สนอะไรใคร

การมาถึงของ Pearl Habour นำจาก Archive Footage หยิบยืมจากคลังเก็บของกองทัพอากาศสหรัฐฯ นี่ช่วยลดต้นทุนและระยะเวลาการสร้างได้มากมหาศาลทีเดียว


เพลงประกอบโดย George Duning (1908 – 2000) สัญชาติอเมริกัน เข้าชิง Oscar 5 ครั้งไม่เคยคว้ารางวัล ผลงานเด่นๆ อาทิ All the King’s Men (1949), From Here to Eternity (1953), Picnic (1955), 3:10 to Yuma (1957) ฯ

Soundtrack ของหนังมีสัมผัส Jazz อยู่เล็กๆ เริ่มต้นแทรกจังหวะมาร์ชทหาร, ฉากจูบสะท้านโลกก็มีความโรแมนติกหวานแหวว, ช่วงท้ายมุ่งสู่ความตายก็สั่นสะท้านถึงทรวง, ตอนจบก็ล่องลอยไปพร้อมสายน้ำ

บทเพลงที่ได้รับการจดจำสูงสุด แทบเรียกได้ว่าคือ Main Theme ของหนัง Re-enlistment Blues (1953) แต่งโดย James Jones, Fred Karger, Robert Wells เพราะเสียงเป่าทรัมเป็ตนั่นแหละ ระบายความอึดอัดคับข้องของตัวละครออกมาได้อย่างทรงพลัง ทำเอาทุกคนต้องปรบมือยกย่อง

ส่วนอีกเพลงที่ Prewitt เป่าไว้อาลัยให้กับเพื่อนสนิท Maggio ชื่อ Taps (1862) แต่งโดย Daniel Butterfield [เรียกได้ว่า เพลงชาติประจำงานศพ]

ชื่อหนังสือ/ชื่อหนัง นำจากบทกวี Gentlemen-Rankers (1892) แต่งโดย Rudyard Kipling เกี่ยวกับทหารในสังกัด British Empire ผู้ซึ่งกำลังหลงทาง(ผิด) และไม่สามารถหาทางกลับ(มาเป็นคนดี)ได้ชั่วนิรันดร์

We’re poor little lambs who’ve lost our way, Baa! Baa! Baa! We’re little black sheep who’ve gone astray, Baa—aa—aa! Gentlemen-rankers out on the spree, Damned from here to Eternity, God ha’ mercy on such as we, Baa! Yah! Bah!

อ่านบทกวีเต็มๆได้ที่: https://www.bartleby.com/364/224.html

From Here to Eternity นำเสนอสิ่งที่คือความหลงผิดเป็นชอบ เห็นกงจักรคือดอกบัว ผู้มีอำนาจใช้มันเพื่อสนองความต้องการส่วนตน, ผมคิดว่านี่เป็นสิ่งใครๆย่อมสามารถเข้าใจได้ แต่แปลกเมื่อตนเองกลับกลายเป็นบุคคลประเภทนั้น ไม่รู้ทำไมเหมือนกันถึงได้มืดบอดสนิท ติดอยู่ในกะลาครอบของตนเอง

ชัยชนะสงครามโลกครั้งที่สองของสหรัฐอเมริกา ทำให้ปวงประชาเกิดความอหังการ อ้างอวดดี เย่อหยิ่งจองหอง ผยองไปกับโลกทัศนคติผิดๆ ความที่ผู้กำกับ Fred Zinnemann ไม่ใช่อเมริกันชนแท้ๆ จึงอยากสะกิดย้ำเตือน ความเป็นจริงหาได้สวยเลิศหรูหราดั่งภาพมายาขนาดนั้น!

สงครามโลกครั้งที่สอง ปะทุเริ่มต้นขึ้นในยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 1939 ทุกวันยิ่งทวีความรุนแรงเป็นวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ สองปีกว่าๆที่สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมหลังจากเหตุการณ์โจมตี Pearl Harbour วันที่ 7 ธันวาคม 1941 พวกคุณมัวแต่กินขี้ปี้นอน หรี่สาว ลอบมีชู้ นอกใจเมีย ชะล่าใจกันอยู่หรือไงว่าฉันไม่เกี่ยวข้องอะไรด้วย ถึงได้เคลื่อนไหวเชื่องชักช้ายิ่งกว่าเต่าคลานขนาดนี้

ความเป็นจริงคงไม่ต่างจากภาพยนตร์เรื่องนี้สักเท่าไหร่ ในฐานทัพเต็มไปด้วยทหารที่มีความขี้เกียจคร้าน ผู้บัญชาการมัวแต่เอาเวลาไปหลีสาวนอกใจเมีย มอบหมายหน้าที่การงานให้ลูกน้องคนสนิท ซึ่งก็เอาเวลาว่างไปตีซี้เมียนาย กดขี่ข่มเหงเอารัดเอาเปรียบนายทหารผู้ไม่ยินยอมก้มหัวให้ หาเรื่องชกต่อยตี เข้าแข่งขันทัวร์นาเมนต์เพื่อพิสูจน์ว่ากองพันฉันเจ๋งเป้งที่สุดในปฐพี

“อำนาจทำให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงไป” แล้วถ้าเปลี่ยน ‘มนุษย์’ เป็น ‘ประเทศชาติ’ จะมีความแตกต่างกันไหม?

นี่คงไม่ถึงขั้น Anti-American หรือ Anti-Military แต่คือการสะท้อนข้อเท็จริงที่ว่า ความยิ่งใหญ่มหาอำนาจของสหรัฐอเมริกา นั่นเป็นเพียงภาพมายาเพ้อฝัน เพื่อเมื่อไหร่ถูกเปิดโปง ค้นพบสิ่งชั่วร้าย คอรัปชั่นภายใน ไม่เพียงใครๆย่อมรู้สึกอับอาย แต่ยังจะสูญเสียหน้าตาเชื่อมั่นศรัทธา ทุกสิ่งอย่างสร้างมาพังทลายป่นปี้ย่อยยับเยินโดยไม่รู้ตัว

เอาจริงๆหลายปีถัดมา ช่วงทศวรรษ 70s เหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวได้ถือกำเนิดขึ้น เริ่มต้นจาก Pentagon Papers ตามด้วย Watergate Scandal เมื่อความฟ่อนเฟะภายในของประธานาธิบดี Richard Nixon ได้ถูกเปิดโปงออกสู่สาธารณะ จนที่สุดต้องประกาศลาออกจากตำแหน่ง ครั้งแรกครั้งเดียวในประวัติศาสตร์! ใครมีชีวิตผ่านช่วงเวลานั้น คงสูญเสียความมั่นเชื่อมั่นศรัทธาในประเทศชาติโดยสิ้นเชิง … แต่ไม่กี่ปีหลังจากนั้น ผู้คนกลับหลงลืมเลือน ช่างแม้ง!

โลกยุคสมัยปัจจุบันนี้ ทุกหย่อมหญ้าล้วนเต็มไปด้วยความคอรัปชั่นคดโกงกิน แถมเป็นสิ่งใครๆยินยอมรับกันได้ด้วยนะ ก้มหัวให้กับอำนาจรูปแบบใหม่ มีชื่อเรียกว่า ‘อำนาจแห่งทุนนิยม’ นี่แปลว่าพวกเราได้หลงทาง ‘From Here to Eternity’ ชั่วนิจนิรันดร์แล้วสินะ T_T


ด้วยทุนสร้างประมาณ $1.7–2.5 ล้านเหรียญ ทำเงินล้นหลามถล่มทลาย $30.5 ล้านเหรียญ สูงสุดแห่งปี และเมื่อเทียบค่าเงินปี 2017 เท่ากับ $277 ล้านเหรียญ

เข้าชิง Oscar 13 จาก 12 สาขา คว้ามา 8 รางวัล – Best Picture ** คว้ารางวัล – Best Director ** คว้ารางวัล – Best Actor (Montgomery Clift) – Best Actor (Burt Lancaster) – Best Actress (Deborah Kerr) – Best Supporting Actor (Frank Sinatra) ** คว้ารางวัล – Best Supporting Actress (Donna Reed) ** คว้ารางวัล – Best Writing, Screenplay ** คว้ารางวัล – Best Cinematography Black-and-White ** คว้ารางวัล – Best Film Editing ** คว้ารางวัล – Best Costume Design Black-and-White – Best Sound, Recording ** คว้ารางวัล – Best Score of a Dramatic or Comedy Picture

เกร็ด: – จำนวนรางวัลที่ได้รับ ครองสถิติสูงสุดสมัยนั้น และเทียบเท่า Gone With the Wind (1939) – ถือเป็นเรื่องที่สองถัดจาก Mrs. Miniver (1942) เข้าชิงสาขาการแสดงครบถ้วน Best Actor, Best Actress, Best Supporting Actor, Best Supporting Actress แถมยัง +1 รวมเป็น 5 คน – นับเป็นเรื่องที่สองถัดจาก Mutiny on the Bounty (1935) ที่สองนักแสดงนำชายเข้าชิง Oscar: Best Actor พร้อมกัน ด้วยเหตุนี้เลยดูเหมือนพวกเขาถูกแบ่งผลโหวต ผลลัพท์เลยส้มหล่นใส่ William Holden จาก Stalag 17 (1953) คว้ารางวัลปีนี้ไปครอง

ส่วนตัวชื่นชอบหนังเรื่องนี้อย่างมาก ประทับใจในไดเรคชั่นของผู้กำกับ Fred Zinnemann ดูคล้ายๆการต่อยมวย ค่อยๆออกหมัดสะสมแต้มไปเรื่อยๆ เน้นลำตัวซ้ำๆให้เกิดความชอกช้ำจุกเสียด จนกระทั่งถึงยกสุดท้ายไคลน์แม็กซ์ ฮุคท่าไม้ตายจนผู้ชมน็อกสลบคาเวที!

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” เรียนรู้จักธาตุแท้ของสิ่งที่เรียกว่า ‘อำนาจ’ อย่าปล่อยให้ตนเองกลายเป็นผู้ลุ่มหลงใหลยึดติด ถูกจับผิดเมื่อไหร่ก็เสียหมา อย่าเพ้อคิดว่าตอนนี้ฉันยังเอาตัวรอดได้อยู่ แต่สักวันเดี๋ยวก็ย่อมรู้ ผลเวรกรรมมันจักตามสนองอย่างเท่าทัน

แนะนำโดยเฉพาะอย่างยิ่งทหาร ตำรวจ ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ไม่ใช่ให้ลอกเลียนแบบทำตาม พยายามอย่าให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นอีกในชีวิตจริงเลย

จัดเรต 15+ กับความคอรัปชั่น วางอำนาจบาดใหญ่ ใช้กำลังเข้าห่ำหั่นแก้ปัญหา

คำโปรย | From Here to Eternity หมัดเด็ดของผู้กำกับ Fred Zinnemann ตราตรึงชั่วนิรันดร์

คุณภาพ | คลาสสิก–ตราตรึง ส่วนตัว | ชอบมาก

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

A Place in the Sun (1951) : George Stevens ♥♥♥♥

Montgomery Clift ต้องการไต่เต้าจากความมืดมิดสู่แสงสว่าง ค้นพบวิธีการเดียวเท่านั้นคือทอดทิ้งทำลายอดีต Shelly Winters แล้วครองรักแต่งงานกับ Elizabeth Taylor นั่นเป็นสิ่งถูกต้องเหมาะสมควรแล้วหรือ?, คว้า Oscar 6 สาขา แต่พลาดภาพยนตร์ยอดเยี่ยมให้ An American in Paris อย่างน่าหงุดหงิดใจ! “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

“The greatest movie ever made about America”. – Charlie Chaplin

คำยกย่องของ Charlie Chaplin อาจฟังดูเว่อเกินตัวไปสักนิด แต่ถ้าสังเกตให้ดี คำว่า ‘about America’ อันนี้ผมเกือบๆเห็นด้วยเลยนะ

A Place in the Sun นำเสนอเรื่องราวของบุคคลที่พยายามทำทุกวิธีทาง ยกระดับตนเองจากความเป็นชนชั้นล่าง ฐานะยากจน ไร้ชื่อเสียงเรียงนาม ตะเกียกตะกายไต่เต้ามุ่งสู่หนทางความสำเร็จ โด่งดัง ร่ำรวยเงินทอง และกลายเป็นชนชั้นสูงในสังคม … นี่คืออุดมคติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือที่ใครๆเรียกกันว่า ‘American Dream’

วิธีการนำเสนอของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือใช้หญิงสาวสองคนเป็นตัวแทนชนชั้นฐานะ – Shelly Winters รับบทหญิงสาวโรงงานจนๆ หน้าตาบ้านๆ หาอะไรดีแทบไม่ได้นอกจากความจริงใจ – Elizabeth Taylor รับบทหญิงสาวไฮโซ ชนชั้นสูง ครอบครัวฐานะร่ำรวย วันๆเที่ยวเล่นสนุกสนานไม่เห็นทำการงานอะไร

หน้าหนังคือเรื่องราวความรักที่ต้องเลือกของ Montgomery Clift แปรสภาพเป็นโศกนาฎกรรม แต่เราสามารถเปรียบเทียบกับอุดมคติอเมริกันชน สิ่งที่ฉันโหยหาแสดงออกมามันผิดตรงไหน? นี่ไม่ถึงขั้น Anti-American แต่ชักชวนให้ผู้ชมตั้งคำถามเกี่ยวกับความเพ้อฝัน การกระทำ มนุษยธรรม และศาสนาที่ถูกทอดทิ้งขว้างไว้เบื้องหลัง

เอาจริงๆผมว่าหนังเรื่องนี้ยังคงทรงพลังเหนือกาลเวลา โดดเด่นล้ำกับพลังของสามนักแสดง ถ่ายภาพติสต์ๆ ตัดต่อแนวๆ เพลงประกอบไพเราะ น่าจะคือ Masterpiece ของผู้กำกับ George Steves แต่นักวิจารณ์สมัยนี้โดยเฉพาะจากฝั่งอเมริกา คาดว่าคงค้นพบเนื้อในใจความดังกล่าว เลยถีบส่งไสหัวสับปะรด ไม่ค่อยพึงพอใจกันสักเท่าไหร่


ต้นฉบับของ A Place in the Sun คือนวนิยายขายดี An American Tragedy (1925) แต่งโดย Theodore Dreiser (1871 – 1945) นักข่าว/นักเขียน สัญชาติอเมริกัน, นิตยสาร Time ยกให้ติดอันดับ 100 Best Novels ตั้งแต่ปี 1923 – 2005

Dreiser ได้แรงบันดาลใจจากคดีอาญชากรรมเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1906 เจ้าของรีสอร์ทแห่งหนึ่ง พบเจอร่างของหญิงสาว Grace Brown จมน้ำเสียชีวิตที่ Big Moose Lake, Upstate New York สืบสวนสอบสวนผู้ต้องหาแฟนหนุ่ม Chester Gillette อ้างว่าเกิดอุบัติเหตุฆ่าตัวตาย แต่เขาได้รับคำตัดสินโทษประหารชีวิต เก้าอี้ไฟฟ้า วันที่ 30 มีนาคม 1908

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ทั้งๆเรื่องราวดูไม่มีอะไรมาก แต่นวนิยายเล่มนี้ความยาวเกินกว่า 800 หน้า เห็นว่าผู้เขียนพยายามบอกเล่ารายละเอียด บรรยายความรู้สึกตัวละคร เต็มไปด้วยสัญลักษณ์สะท้อน ‘ภาพลวงตา’ ของชีวิต และที่สุดคือให้คำนิยามแฟนสาวไฮโซว่ามีความ ‘Electrifying’ พยากรณ์ตอนจบที่ถูกประหารชีวิตด้วยเก้าอี้ไฟฟ้า

ถัดจากนวนิยาย กลายมาเป็นละครเวที Broadway ดัดแปลงโดย Patrick Kearney เปิดการแสดงยัง Longacre Theatre วันที่ 11 ตุลาคม 1926 ประสบความสำเร็จพอสมควร และได้รับการ Revival ปี 1931 ณ Waldorf Theatre

ต่อมาสตูดิโอ Paramount Picture ขอซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลงมูลค่าสูงถึง $150,000 เหรียญ ว่ากันว่าตอนแรกติดต่อ Sergei Eisenstein ปรมาจารย์ผู้กำกับสัญชาติรัสเซีย ซึ่งก็ให้ความสนใจอย่างมาก แต่ภายหลังถอนตัวออกไปเพราะความเห็นไม่ลงรอย ด้วยเหตุนี้เลยส่งต่อให้ Josef von Sternbberg ออกฉายปี 1931 ประสบความล้มเหลวทั้งรายรับและเสียงวิจารณ์ ขนาดว่า Dreiser หลังจากรับชมยื่นฟ้องศาลเพื่อขอห้ามนำออกฉาย สุดท้ายพ่ายแพ้ย่อยยับอับอายขายขี้หน้า

แซว: ผมว่าไม่แปลกเลยนะที่หนังจะขาดทุนย่อยยับ แค่ชื่อ An American Tragedy ชาวอเมริกันที่ไหนจะให้ความสนใจ

หลายปีถัดไป George Stevens ให้ความสนใจสร้างใหม่ Remake ภาพยนตร์เรื่องนี้ ทีแรกสตูดิโอ Paramount จะไม่เอาด้วย แต่ถูกข่มขู่และฟ้องร้องขึ้นศาล ข้อหากีดกัน/ละเมิดข้อตกลงในสัญญา (ที่ว่าจะสร้างภาพยนตร์เรื่องอะไรก็ได้ให้กับสตูดิโอ) ด้วยเหตุนี้เลยต้องจำยอมคลอยตาม กระนั้นก็ขอให้หาชื่อใหม่แทน An American Tragedy กลายมาเป็น A Place in the Sun ครุ่นคิดโดย Ivan Moffat เพื่อนร่วมงานของ Stevens

George Cooper Stevens (1904 – 1975) ผู้กำกับ โปรดิวเซอร์ นักเขียนบท และตากล้องสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Oakland, California พ่อ-แม่เป็นนักแสดงละครเวที ทำให้เรียนรู้จักการแสดงตั้งแต่เด็ก เติบโตขึ้นตัดสินใจเข้าสู่วงการภาพยนตร์ เริ่มจากเป็นตากล้องถ่ายทำหนังสั้นหลายเรื่อง กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Kentucky Kernels (1934), มีชื่อเสียงจาก Alice Adams (1935) นำแสดงโดย Katharine Hepburn, ตามด้วย Swing Time (1936) ของ Fred Astaire กับ Ginger Rogers, ผลงานเด่นๆ อาทิ Gunga Din (1939), A Place in the Sun (1951), Shane (1953), Giant (1956), The Diary of Anne Frank (1959) ฯ

มอบหมายดัดแปลงบทให้ Harry Brown และ Michael Wilson รายหลังขณะนั้นกำลังถูกเพ่งเล็งไต่สวน แต่เหมือนจะโดน Blacklist เพราะยุ่งเกี่ยวกับพรรคคอมมิวนิสต์ ภายหลังภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉาย (เลยยังได้รับเครดิต และสามารถขึ้นรับรางวัล Oscar)

เรื่องราวของ George Eastman (รับบทโดย Montgomery Clift) หลานชายของนักธุรกิจมหาเศรษฐี Charles Eastman (รับบทโดย Herbert Heyes) โบกรถเดินทางมาถึงเมือง California ตามคำชักชวนของลุง เริ่มต้นทำงานเป็นเด็กจัดเรียงของปลายสายพาน ตกหลุมรัก Alice Tripp (รับบทโดย Shelley Winters) แต่ต้องปกปิดบังความสัมพันธ์ไว้ เพราะไม่อยากถูกไล่ออกจากบริษัท

วันหนึ่ง George ได้รับอภิสิทธิ์เลื่อนขั้นเป็นหัวหน้าแผนก ถูกเชิญมาร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ของลุง พบเจอตกหลุมรัก Angela Vickers (Elizabeth Taylor) หญิงสาวที่เขาเฝ้าใฝ่ฝันถึงมานมนาน ขณะเดียวกัน Alice กลับตั้งครรภ์ ทำให้เขาต้องครุ่นคิดตัดสินใจ จะหาทางออกยังไงให้กับชีวิตสองโลก


Edward Montgomery Clift (1920 – 1966) นักแสดงสัญชาติอเมริกา เกิดที่ Omaha, Nebraska, ด้วยความไม่ชื่นชอบโรงเรียน ตัดสินใจเลือกการแสดง เข้าสู่วงการ Broadway ตั้งแต่อายุ 15 ปี สิบปีต่อมาแม้ไม่ได้มีความสนใจมุ่งสู่ Hollywood แต่ก็ไม่ให้เสียโอกาสเข้าเรียน Actors Studio แจ้งเกิดกับ Red River (1948), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ The Heiress (1949), A Place in the Sun (1951), I Confess (1952), From Here to Eternity (1953), The Young Lions (1958), Judgment at Nuremberg (1961) ฯ

รับบท George Eastman แม้ด้อยการศึกษาแต่ไม่สิ้นความทะเยอทะยาน เป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูง ต้องการมีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จ ร่ำรวยเงินทอง จักได้พบเจอแต่งงานกับหญิงสาวที่ตนเพ้อใฝ่ฝัน, สาเหตุทำให้ George กลายเป็นคนแบบนี้ เพราะครอบครัวโดยเฉพาะแม่ของเขา มีความหมกมุ่นอยู่ยึดถือมั่นต่อศาสนา เสี้ยมสั่งสอนครอบงำความคิด พอเติบโตขึ้นเริ่มรู้สึกว่านั่นไม่ใช่โลกเหมาะสมกับตนเองเลยหลบหนีออกมา

เริ่มต้นน่าจะเพราะความเหงา สันชาตญาณ เลยทำให้ George ปล่อยตัวตกหลุมร่วมรักกับ Alice Tripp ไม่ได้ครุ่นคิดตระหนักว่าชีวิตจะเติบโตก้าวหน้าไปกว่านี้ นั่นทำให้เมื่อเขาพบเจอสาวงามในฝัน Angela Vickers มิอาจหักห้ามใจตนเองให้กลายเป็นคนสองโลก โป้ปดหลอกลวงพยายามปัดความรับผิดชอบ จนแล้วจนรอดจนปัญญาเลยหันเข้าหาอาชญากรรม เสี้ยววินาทีหนึ่งเหมือนจะรู้สำนึกขึ้นมาได้ แต่การปล่อยให้จมน้ำตาย มนุษย์ทั้งโลกย่อมเล็งเห็นว่านั่นคือการฆาตกรรม

Clift เป็นนักแสดงที่ตึงเครียด จริงจังกับชีวิตมากๆ สีหน้า ดวงตา ท่วงท่าเดิน ผู้ชมสามารถสัมผัสได้เลยว่ามีความหวาดหวั่นสั่นกลัวเกรง ตื่นเต้นตื่นตระหนก ราวกับล่วงรู้สถานะ ชนชั้น สถานที่ของตนเอง ถึงกระนั้นก็ยังมีความเพ้อใฝ่ฝัน ทะเยอทะยาน มักใหญ่ใฝ่สูง ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของไม่ว่าต้องแลกมาด้วยอะไร แต่เมื่อถึงเวลาต้องตัดสินใจเด็ดขาด หน้านิ่วคิ้วขมวด ขบกัดฟัน เหงื่อไหลพรักๆ -ราวกับพี่แกสามารถควบคุมอณูขุมขนในร่างกายให้แสดงออกมาได้- ก็ไม่อาจล่วงเกินความมีมนุษยธรรมถูกปลูกฝังจากแม่มาตั้งแต่เด็ก

แซว: ว่ากันว่า Monty กับ Liz ตกหลุมรักคลั่งในกองถ่าย วางแผนจะแต่งงาน แต่เมื่อเธอขอให้เขาเกลี้ยกล่มสามีให้หย่า ทันใดนั้นบอกปัดเลิกรา นั่นไม่ใช่เรื่องของฉัน!

แซว2: โบกรถท่า American Standard เลียนแบบจาก It Happened One Night (1934)

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

Shelley Winters ชื่อเกิด Shirley Schrift (1920 – 2006) นักแสดงหญิงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ St. Louis, Missouri ครอบครัวเชื้อสาย Jews อพยพจาก Austria เติบโตได้งานถ่ายแบบ ย้ายสู่ New York ร่ำเรียนการแสดงที่ The New School ไต่เต้าจากตัวประกอบภาพยนตร์ จนเริ่มมีชื่อเสียงจาก A Double Life (1947), The Great Gatsby (1949), Winchester 73 (1950), เข้าชิง Oscar ครั้งแรกเรื่อง A Place in the Sun (1951) แม้บทบาทนี้จะทำให้กลายเป็น Typecast แต่ก็โด่งดังจนกลายเป็นอมตะ ผลงานเด่นๆ อาทิ The Night of the Hunter (1955), Lolita (1962), Alfie (1966), The Poseidon Adventure (1972), Pete’s Dragon (1977), และคว้า Oscar: Best Supporting Actress สองครั้งจาก The Diary of Anne Frank (1959) และ A Patch of Blue (1965)

รับบท Alice Tripp (ชื่อก็บอกว่า Trip ท่องเที่ยว/ทางผ่าน) หญิงสาวอวบๆ หน้าตาบ้านๆ ทำงานโรงงาน ไร้ซึ่งอนาคตเป้าหมายชีวิต นอกจากต่อสู้ดิ้นรนไปวันๆ กระทั่งเคลิบเคลิ้มตกหลุมรัก George Eastman เผลอพลาดพลั้งตั้งครรภ์ ทีแรกต้องการไปทำแท้งแต่ไม่สามารถหาหมอได้ เลยบีบคั้นให้เขาจดทะเบียนสมรสแต่งงานถูกต้องตามกฎหมาย นั่นเองก่อให้เกิดความตึงเครียดวุ่นวาย เพราะชายผู้นี้มองเธอก็แค่ทางผ่านเท่านั้นเอง

ก่อนหน้านี้ Winters เป็น Sex Symbol ประเภท ‘Blonde Bombshell’ เพราะต้องการแหวกตัวเองให้ออกจากภาพลักษณ์นั้น ทำการย้อมผมน้ำตาล แล้วแสร้งทำเป็นสาวโรงงาน แต่งตัวธรรมดาซอมซ่อ เฝ้ารอคอยผู้กำกับ Stevens เดินผ่านมา แวบแรกจดจำไม่ได้ พอสังเกตดีๆถึงกับตะลึงตกใจ

‘ฉันทำผิดอะไร?’ คือคำนิยามที่ผมมอบให้กับตัวละครนี้ โชคชะตากรรมของเธอเกิดขึ้นเพราะความอ่อนแอ เยาว์วัยต่อโลก ไร้เรี่ยวแรวขัดขืนปฏิเสธต่อต้าน จำยินยอมคล้อยตามน้ำตกหลุมรักใคร่ แต่ไม่นานเมื่อสันดานธาตุแท้ของเขาเริ่มเปิดเผย พยายามบอกปัดความรักผิดชอบ หญิงสาวกลายสภาพเป็นยัยเซิ้งผู้พยายามโวยวาย ตะเกียกตะกาย เรียกร้องสิทธิผลประโยชน์

แซว: ภาพถ่ายชุดว่ายน้ำด้านหลัง นั่นใช่ Shelley Winters (ตอนผมบลอน) หรือเปล่านะ?

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

Dame Elizabeth Rosemond Taylor (1932 – 2011) นักแสดงหญิง สัญชาติ British-American เกิดที่ London ในครอบครัวฐานะร่ำรวย พ่อเป็นนักขายงานศิลปะ แม่คืออดีตนักแสดงละครเวที ผลักดันให้ลูกไปคัดเลือกนักแสดงตั้งแต่เด็ก อายุ 9 ขวบ เซ็นสัญญากับ Universal Pictures ภาพยนตร์เรื่องแรก There’s One Born Every Minute (1942) แต่ขณะนั้นยังหาความโดดเด่นอะไรไม่ได้ กระทั่งค่อยๆเริ่มมีชื่อเสียงจาก National Velvet (1944), Little Women (1949), รับบทผู้ใหญ่ Conspirator (1949), Father of the Bride (1950), A Place in the Sun (1951) ฯ

รับบท Angela Vickers สาวไฮโซผู้ไร้เดียงสา อ่อนเยาว์วัยต่อโลก พบเห็นความแปลกแตกต่างของ George โดยไม่รู้ตัวตกหลุมรักใคร่ ต้องการทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบ พาไปพบครอบครัวจนพ่อ-แม่ ยินยอมรับได้ แต่เมื่อตัวตนธาตุแท้ได้รับการเปิดเผย เป็นลมล้มพับหมดสติ นี่ฉันทำผิดอะไรตรงไหน?

Taylor เคยให้สัมภาษณ์ว่า นี่เป็นครั้งแรกที่ตนถูกขอให้ทำการแสดง ไม่ใช่เป็นตัวของตนเองอย่างที่เคยตั้งแต่เด็กจนโต ค่อยๆเรียนรู้ปรับตัว ลองผิดลองถูก ความนงเยาว์ สง่างาม ค่อยๆฉายแววเจิดจรัสแสง ดวงตาสะท้อนความบริสุทธิ์ คำพูดออกมาจากใจ รอยยิ้มทำให้โลกทั้งใบละลาย … สดใสน่ารักแบบนี้ ทำไมพอแก่ตัวถึงได้กร้านโลกขนาดนั่นก็ไม่รู้นะ

แซว: แทบทุกช็อต Close-Up ใบหน้าของ Liz มันถูกทำให้เจิดจรัส ฟุ้งเฟ้อ พื้นหลังเบลอๆ ดูเป็นประกายแบบช็อตเปิดตัวนี้ ราวกับแสงสว่าง ตรงกันข้ามกับ Winters ที่เอาแต่อยู่ในเงามืดโดยสิ้นเชิง

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ในหนังสืออัตชีวประวัติของ Shelley Winters เล่าถึงการทำงานของผู้กำกับ George Stevens ชอบที่จะหารือเรื่องราวของซีนนั้นๆ แต่จะไม่พูดถึงบทสนทนา หรือการแสดง (ให้เป็นหน้าที่ของนักแสดงเอง) จากนั้นซักซ้อมแล้วเริ่มถ่ายทำเทคแรก ส่งฟีล์มเข้าห้องแลปโดยทันที ระหว่างรอคอยการล้างเสร็จสิ้นก็จะมีการพูดคุยซักซ้อมฉากนั้นต่อ เมื่อฟีล์มพร้อมก็ฉายให้นักแสดงดู เพื่อชี้ให้เห็นอะไรเหมาะสม-ไม่เหมาะสม เพื่อปรับแก้และถ่ายทำเทคถัดไป

“He would discuss the scene, but not the lines, and would photograph the second or third rehearsal so the scene had an almost improvisatory quality.

Stevens would print the first take, then spend the next three hours minutely rehearsing the scene, then film it again. He explained to me that in this way he often got actors’ unplanned reactions that were spontaneous and human and often exactly right. And often when actors over intellectualize or plan their reactions, they aren’t as good”.

– Shelley Winters

ด้วยไดเรคชั่นดังกล่าว ค่อนข้างได้ผลอย่างสูงกับนักแสดงประเภทลองผิดลองถูก ยังขาดความมั่นใจ กำลังเรียนรู้ปรับปรุงตนเอง ซึ่งทั้ง Winters และ Taylor ต่างประทับใจการทำงานนี้มาก ผิดกับ Clift เรียกผู้กำกับว่าเป็นแค่ ‘craftsman’ ห่างชั้น ‘Professional’ อยู่มากโข


ถ่ายภาพโดย William C. Mellor (1903 – 1963) ตากล้องขอประจำของผู้กำกับ Stevens คว้า Oscar: Best Cinematography จากเรื่อง A Place in the Sun (1951), The Diary of Anne Frank (1959)

สถานที่ถ่ายทำของหนังคือ คือ Paramount Studios ส่วนฉากภายนอกก็ Lake Tahoe, Echo Lake, Cascade Lake อยู่แถวๆ California ไม่ห่างไกลจาก Hollywood สักเท่าไหร่

งานภาพของหนัง มีลักษณะสะท้อนจิตวิทยา/สภาพทางจิตใจของ George Eastman หลักๆพบเห็นสองไดเรคชั่น – เมื่ออาศัยร่วมฉากกับ Alice Tripp มักอาบด้วยความมืด มีสัมผัสของหนังนัวร์ – ตรงกันข้ามกับ Angela Vickers เอ่อล้นด้วยแสงสว่าง ระยิบระยับเป็นประกาย

George เดินทางมายังคฤหาสถ์/บ้านของลุง Charles Eastman ด้วยท่าทางสั่นๆ ลุกรี้ลุกรน กล้องถ่ายภาพห่างๆ ระดับต่ำกว่าสายตา นี่เป็นการสร้างระยะความสัมพันธ์ของตัวละคร รู้สึกเหมือนคนนอก แปลกแยก ที่นี่ยังไม่ใช่สถานที่ของเขา

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

รักแรกของ George เริ่มต้นขึ้นที่ทำงาน ผลิบานในโรงหนัง และออกดอกผลท่ามกลางความมืดมิด การจัดแสงฉากนี้งดงามทรงพลังมากๆ คอหนังรุ่นใหม่คงเกาหัว แม้งมองไม่เห็นอะไรสักกะนิด แต่ให้ลองครุ่นคิดว่าสมัยนั้นการกอดจูบนานเกิน 3 วินาที มันไม่มีทางผ่านกองเซนเซอร์ Hays Code ด้วยวิธีการไม่ให้พบเห็นว่าริมฝีปากทั้งคู่ประกบกัน ผมละหัวเราะลั่น แม้เจ้าโว้ยครุ่นคิดได้ยังไง!

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ช็อตนี้ถือว่างดงามที่สุดของหนังแล้ว เริ่มตั้งแต่ George บุกรุกเข้ามาในห้องของ Alice กล้องค่อยๆเคลื่อนมายังวิทยุตรงหน้าต่าง ขณะพวกเขาโถมทะยานเข้ากอดจูบร่วมรัก (แบบมืดมิด มองไม่เห็นอะไรนัก) แล้วอยู่ดีๆจากฝนตกฟ้ามืด กลายเป็นรุ่งเช้าสว่างไสว มันช่าง Fade In-Out ได้อย่างแนบเนียนเสียกระไร

สังเกตว่าฉากส่วนใหญ่ของ George กับ Alice มักปกคลุมด้วยความมืด Low Key เพื่อเป็นการสะท้อนความสัมพันธ์ที่ต้องปกปิดหลบซ่อนเร้นของทั้งคู่ ไม่สามารถเปิดเผยบอกต่อใคร

เกร็ด: บทเพลงที่ดังขึ้นในวิทยุคือ Out of Nowhere (1931) แต่งโดย Edward Heyman และ Johnny Green

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

การสนทนาครั้งแรกระหว่าง George กับ Angela เกิดขึ้นในห้องสนุกเกอร์ รายล้อมด้วยภาพวาดเกี่ยวกับการแข่งม้า นี่เป็นการสื่อความหมายถึงชีวิตที่ต้องต่อสู้ แข่งขัน หากต้องการคว้าชัย ครอบครองเป็นเจ้าของหญิงสาว ต้องพยายามทำทุกวิถีทางให้ชนะเลิศอันดับหนึ่งเท่านั้น

สนุกเกอร์ เป็นกีฬาที่สื่อนัยยะถึง Sex ได้อย่างตรงไปตรงมามากๆเลยนะ ซึ่งวินาทีที่ Angela ให้ความสนใจ George คือขณะที่เขาโชว์ลีลา แทงลูกขาวกระดอนรอบโต๊ะแล้วตบลูกสีลงหลุมพอดิบพอดี (เสื่อมๆก็ประมาณว่า ลีลาบนเตียงของหมอนี่ ระดับจ้าวโลกเลยละ!)

เกือบลืมว่านี่คือวันเกิดของ George เสียด้วย พอดิบพอดีพูดคุยกับ Angela ครั้งแรกแถมได้เลื่อนขั้น ราวกับการถือกำเนิดใหม่ โทรบอกแม่แท้ๆ ไม่ต้องวิตกกังวล ลูกกำลังอยู่ดีมีสุขในโลกใบใหม่แห่งความเพ้อฝัน

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

คู่ขนานกับการแทงสนุ๊ก Angela ฝั่งตรงข้าม Alice รับล่วงรู้ว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ ทั้ง Sequence นี้เป็น Long Take จับจ้องแต่ใบหน้าของ George รับฟังบางสิ่งอย่างที่แฟนสาว พยายามพูดบอกสื่อเป็นนัยๆ (บอกตรงๆไม่ได้ เพราะเดี๋ยวจะไม่ผ่าน Hays Code)

การที่หนังไม่ถ่ายให้เห็นสีหน้า Alice คือความอาร์ทอย่างหนึ่งของผู้กำกับ เพื่อผู้ชมจะได้ไม่เกิดอารมณ์อ่อนไหว ผันแปร หดหู่ขึ้นทันทีในขณะนี้ เพราะลึกๆย่อมตระหนักขึ้นได้ว่า หมอนี่อาจไม่รับผิดชอบลูกในครรภ์ ทอดทิ้งเธอไว้เบื้องหลังแน่ๆ

อุปกรณ์ประกอบฉาก มีสองสิ่งที่เตะตาผมมากๆ – กรอบสตั๊ฟผีเสื้อติดอยู่บนฝาผนัง นี่คงเป็นการสะท้อนตัวตนของ George พยายามเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อก้าวไปข้างหน้า ได้ใหม่ลืมเก่า ทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างไว้เบื้องหลัง – อีกสิ่งหนึ่งช็อตนี้อยู่ข้างๆ George แต่เมื่อเขาลุกขึ้นเดินมาปลอมประโลม Alice จะพบเห็นชัดเจน นั่นคือรูปปั้นพระเยซูคริสต์ ตำแหน่งอยู่ต่ำกว่ารูปปั้นสุนัข สื่อนัยยะถึง ศีลธรรม/มโนธรรม อันต่ำต้อยของหมอนี่ ไม่ได้ใครสนใจคิดจะรับผิดชอบเด็กในครรภ์ของแฟนสาวแม้แต่น้อย

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

น่าสงสารแทน Winters กอดจูบกับ Clift แต่มองอะไรไม่เห็นสักนิด ตรงกันข้ามกับ Taylor จัดเต็มไปเลยกับระยะ Extreme Close-Up (แต่ตอนพวกเขาจูบกัน เหมือนว่าจะมีอะไรมาบดบังไม่ให้เห็นชัดๆอยู่ดีนะ)

การเลือกช็อต Extreme Close-Up สำหรับฉากบอกรักของทั้งคู่ เพื่อเป็นการเน้นย้ำ สร้างความสำคัญ นี่คือเป้าหมาย ความเพ้อใฝ่ฝัน สุดที่รัก ต้องการจริงๆของพวกเขาทั้งสอง

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ภาพวาดด้านซ้ายมือ แม้เห็นไม่ชัดนักแต่ชื่อเขียนไว้ด้านใต้ Ophelia (1852) ผลงานชิ้นเอกของ Sir John Everett Millais (1829 – 1896) จิตรกรสัญชาติอังกฤษ สังกัด Royal Academy of Art ได้แรงบันดาลใจจากบทละคร Hamlet ของ William Shakespeare

ใครเคยอ่าน/รับชม Hamlet น่าจะคุ้นเคยกับฉากนี้ที่ Ophelia จมน้ำฆ่าตัวตาย นี่ถือเป็นการพยากรณ์สิ่งเกิดขึ้นในฉากไคลน์แม็กซ์ของหนัง

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ฉากนี้ก็เลื่องลือชามากๆ เพราะ Hays Code ไม่อนุญาตให้มีการพูดถึงเรื่องทำแท้ง แต่ผู้ชมส่วนใหญ่น่าจะสามารถรับรู้ถึงความตั้งใจของ Alice ที่มาหาหมอคนนี้ และที่น่าทึ่งก็คือพวกเขาต่างไม่พูดเอ่ยถึงมันแบบตรงๆ เบี่ยงเบน คดเคี้ยวเลี้ยงลดไปโน่นนี่นั่น แต่กลับมีความทรงพลังเอ่อล้นอย่างสุดๆเลย

“Every time I’ve seen that scene in a theater, every man in the audience groans and every woman weeps. George had taught me another lifelong acting lesson: don’t indulge yourself ? make the audience weep”. – Shelley Winters

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ฉากที่ทะเลสาป ถ่ายทำตอนเดือนตุลาคม ถ้าใครสังเกตดีๆจะพบเห็นหิมะปกคลุมอยู่ลิบๆไกลๆ น้ำหนาวเย็นยะเยือก ไม่ใช่ข้ออ้างของตัวละคร แต่เป็นนักแสดงบ่นหนาวชิบหาย แหวกว่ายอยู่ไม่ถึงนาทีก็ต้องรีบแจ้นกลับขึ้นมาเช็ดตัว

นอกจากแผ่นหลังสวยๆของ Liz เสียงนกน้ำลายดำ (Loon) หลอกหลอนได้ใจ!

เกร็ด: นกน้ำลายดำ พบได้มากในทวีปอเมริกาเหนือ ตัวขนาดใหญ่กว่าเป็ดเล็กกว่าหงส์เล็กน้อย ขณะบินมีการตีปีกคล้ายกับนกนางนวล มีเท้าเป็นพังผืดสำหรับการว่ายน้ำ มีท่าทางการว่ายน้ำเหมือนกับเป็ดและหงส์ กินปลาเป็นอาหารหลัก

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ผมชื่นชอบการมีตัวตนของกระจกบานนี้มากเลยนะ เพราะมันสะท้อนสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจของตัวละครออกมา ขณะที่ภายนอกทุกคนต่างสนุกหรรษา สวมเสื้อฮาวาย ห้อยคอด้วยดอกไม้ แต่กลับมีเพียง George ได้รับโทรศัพท์จากขุมนรก ทำให้เขาต้องหาข้ออ้างหลบหนีออกจากสรวงสวรรค์แห่งนี้

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ในบรรดาภาพซ้อน/Cross-Cutting นี่เป็นช็อตที่ผมชื่นชอบสุดของหนัง หลังจากเหตุการณ์เรือล่มในหนอง George ว่ายน้ำตะเกียกตะกายมาถึงฝั่ง ซ้อนกับต้นไม้ที่น่าจะตายแล้ว หลงเหลือเพียงกิ่งก้านไร้ใบ นี่สื่อความหมายถึงตัวเขาแบบตรงๆ ว่างเปล่า ไม่หลงเหลืออะไร ไร้ที่พึ่งพิง … ตายทั้งเป็น!

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

หลังจาก George ได้เข่นฆาตกรรม Alice สภาพของเขาเต็มไปด้วยความหวาดหวั่นกลัว สั่นสะท้าน ครุ่นคิดยึดติดจนไม่สามารถระบายออกได้ ต่อให้อะไรๆเคลื่อนดำเนินไปก็ไร้ซึ่งความหมายสำหรับเขา แม้แต่เมื่อ Angelica ขับรถพาหนีไปไกล แต่ตำรวจกลับยังติดตามมาจ่ายใบสั่งจนพบ (บอกเป็นนัยว่าไม่มีทางหลบลี้หนีพ้น) สำหรับช็อตนี้ กระจกหน้ารถยนต์แบ่งพวกเขาออกเป็นสองฝั่งอย่างชัดเจน นี่แปลว่าสุดท้ายแล้วย่อมมิอาจครองคู่สมหวังอย่างแน่นอน

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

นี่เป็นฉากได้รับการยกย่องว่า เป็นลมล้มพับได้อย่างสมจริงที่สุด! เพราะการเลือกมุมสะท้อนภาพกระจก หมายความได้ถึง หมดเรี่ยวแรงทั้งร่างกายและจิตใจ

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ฉากในชั้นศาลของ George เมื่อเขาขึ้นให้การ สังเกตว่าหลายๆช็อตมีลักษณะใกล้-ไกล (Deep-Focus) และมักหันตำแหน่งทิศทางแตกต่างจากผู้อื่น

อย่างช็อตนี้ใบหน้าของเขาระยะประชิดครึ่งจอ ขณะที่ลูกขุนห่างไกลพบเห็นได้ 4-5 คน นี่ราวกับน้ำหนักของการให้การ ฟังไม่ขึ้น! และทิศทางใบหน้าหันตั้งฉาก ไอ้จอร์จตายแน่ตายแน่ไอ้จอร์จ

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ตัดต่อโดย William Hornbeck (1901 – 1983) สัญชาติอเมริกัน ผลงานเด่นๆ อาทิ It’s a Wonderful Life (1946), A Place in the Sun (1951), Shane (1953), The Barefoot Contessa (1954), Giant (1956) ฯ

หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของ George Eastman ตั้งแต่โบกรถมุ่งสู่ California พบเจอตกหลุมรักสองสาว ซึ่งมักตัดสลับกันไปมา ไม่มีฉากไหนรถไฟชนกัน/พบเจอเผชิญหน้าแม้แต่ครั้งเดียว

พบเห็นบ่อยครั้งกับการซ้อนภาพ/Cross Cutting เพื่อรวบเร่งรัดการดำเนินเรื่องให้มีความกระชับ ต่อเนื่อง สื่อนัยยะความหมายบางอย่าง อาทิ – การเดินทางมุ่งสู่ California ซ้อนภาพบนรถ+ท้องถนน – ระหว่างการทำงานในโรงงาน ร้อยเรียง/ซ้อนภาพของ George->ปฏิทิน->สายพาน->Alice – หลังจากโทรศัพท์หาแม่ George ยืนยันว่าไม่ได้เถลไถล แต่หลังจากนั้นภาพของเธอปรากฎซ้อนทับลูกชายกำลังเต้นรำกับ Angela (เป็นชู้นอกใจ Alice) – ช่วงท้ายเมื่อกำลังจะถูกนำตัวไปนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า พบเห็นภาพซ้อนกับนาฬิกา (เวลาชีวิตกำลังหมดลง) – และขณะกำลังเดินสู่ที่ประหาร ใบหน้าของ George ซ้อนกับ Angela เธอคือคนสุดท้ายในชีวิตที่ครุ่นคิดถึง ฯลฯ

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

เพลงประกอบโดย Franz Waxman สัญชาติเยอรมัน ผลงานเด่นอาทิ Rebecca (1940), Sunset Boulevard (1950), A Place in the Sun (1951), Taras Bulba (1962) ฯ

บทเพลงของหนังมีความไพเราะ ทรงพลังมากๆ ได้ยินคลอประกอบแทบทั้งเรื่อง ช่วยสร้างบรรยากาศ ขับเน้นอารมณ์ตัวละคร เทียบแทนบทสนทนา ‘Expression’ ที่ออกมาจากภายใน

Main Theme เริ่มต้นด้วยสัมผัสอันน่าหวาดหวั่นสะพรึงกลัว แต่ตามมาด้วยอารมณ์หวานแหววโรแมนติก เพ้อใฝ่ฝัน โหยหาต้องการครอบครองบางสิ่ง แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ชีวิตจัดได้มีความสุขชั่วนิรันดร์

ผมมีความหลงใหลบทเพลง Blue Hawai’i แต่งโดย Leo Robin และ Ralph Rainger เป็นอย่างยิ่ง! ดังขึ้นในช่วงเวลาที่ George ไปพักร้อนบ้าน Angela พวกเขามีความสุขราวกับอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นเจ็ด ก่อนได้รับโทรศัพท์จากขุมนรก ฉุดคร่าตกลงมาจากฟากฟ้านภาลัย

An American Tragedy คือเรื่องราวโศกนาฎกรรมของบุคคลผู้มีความเพ้อใฝ่ฝันทะเยอทะยาน เรียนรู้ว่าชีวิตมิอาจตกหลุมรักหญิงสองคนพร้อมกัน ‘เหยียบเรือสองแคม’ อาศัยอยู่ได้สองโลก จำต้องเลือกข้างฝ่ายหนึ่งใด เป็นเหตุให้อีกฝั่งถูกทอดทิ้ง สูญเสียสละชีพ อันเนื่องจากความเห็นแก่ตัวของตนแท้ๆ

การเปลี่ยนมาใช้ชื่อหนัง A Place in the Sun ราวกับเป็นการตั้งคำถาม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้มันควรมี ‘ที่ยืน’ ในสังคมหรือเปล่า? ในบริบทของชายหนุ่ม George เพื่อให้ได้ครองคู่ Angela เลยเข่นฆาตกรรม Alice คำตอบไม่ต้องถึงขั้นขึ้นโรงศาล ใครๆย่อมบอกได้ว่า เก้าอี้ไฟฟ้าเท่านั้นแหละ! แต่เมื่อเปรียบเทียบกับนัยยะแฝงซ่อนเร้น บุคคลผู้ทอดทิ้งอดีต ครอบครัว ทุกสิ่งอย่างในชีวิตไว้เบื้องหลัง แล้วดิ้นรนตะเกียกตะกายไขว่คว้าหาความสำเร็จ ประสบพบจนราวกับได้แต่งงานกับลูกคุณหนูไฮโซ ร่ำรวย มั่งมี ชนชั้นสูง คนเหล่านี้กลับไม่เคยถูกลงโทษทัณฑ์อันใด … มันจะสองมาตรฐานเกินไปไหม?

ผมว่าการเปรียบเทียบของหนังมัน ‘High Art’ เข้าใจยากไปเสียหน่อย รักสามเส้า = ความเพ้อใฝ่ฝันทะเยอทะยาน ใครคนหนึ่งต้องการยกระดับฐานะชนชั้น จากต่ำเป็นสูง ยากจนสู่มั่งมี ไร้ชื่อเสียงเรียงนาม-ได้รับยกย่องกล่าวขาน ถึงกระนั้นเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า แนวคิดดังกล่าวนี้วิพากย์สังคม สะท้อนข้อเท็จจริงอันน่าสะพรึงกลัว ‘American Dream’ คืออุดมคติแห่งมนุษยชาติจริงๆนะหรือ?

ตัวละคร George (Washington) เป็นคนประเภทไม่ยินยอมรับความจริง ‘โกหกตัวเอง’ จมปลักกับภาพมายา ฉันไม่ได้ฆ่า Alice ปากอ้างว่าเป็นอุบัติเหตุ แต่สิ่งที่เขาครุ่นคิดถึงในใจกลับมีเพียง Angela ขนาดว่ากำลังเผชิญหน้าความตาย เวลาชีวิตกำลังหมดไป ห้วงสุดท้ายกลับยังคำนึงถึงแต่หน้าเธอ ไม่ขอเผชิญโลกความจริงอันโหดร้าย

แปลแบบโฉดๆหน่อย, ชาวอเมริกัน/บุคคลผู้จมปลักอยู่ในความเพ้อใฝ่ฝัน ไม่ต่างอะไรกับพวกโกหกตนเอง ปฏิเสธชาติกำเนิดอันต่ำต้อย โหยแสวงหาความสำเร็จ ร่ำรวยเงินทอง ชื่อเสียงโด่งดัง ขนาดว่าใกล้ถึงวันลงโลง ยังปฏิเสธการเผชิญหน้า ยินยอมรับความจริงอันโหดร้าย

รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ผมหวนระลึกถึง Death of a Salesman (1951) นัยยะใจความเกี่ยวกับ การล่มสลายทางอุดมคติของสหรัฐอเมริกา เพิ่งเห็นว่าออกฉายปีเดียวกันเสียด้วย นี่แปลว่าตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศนี้ได้มีบางสิ่งอย่างเน่าเฟะเกิดขึ้นภายใน

เอาจริงๆผมไม่รู้เบื้องลึกหรอกนะว่าอะไรคือหนอนบ่อนไส้ภายในสหรัฐอเมริกา แต่สำหรับวงการภาพยนตร์ช่วงทศวรรษนั้น มันมีการเกิดขึ้นของลัทธิล่าแม่มด McCarthyism ขับไล่ต้อน Blacklist บรรดาผู้ฝักใฝ่ในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งบุคลากรเก่งๆของหนังเรื่องนี้ก็โดนจัดหนักทีเดียว – หนึ่งในนักเขียนบท Michael Wilson ตอนหนังออกฉายยังรอดตัว แต่หลังจากนั้นพอถูกขึ้นบัญชีดำ ก็อพยพหนีภัยสู่ยุโรป – Anne Revere ผู้รับบทแม่ของ George Eastman ชื่อของเธอถูกตัดจากเครดิตเพราะโดน Blacklist ไปก่อนหน้า ทั้งๆเคยคว้า Oscar: Best Supporting Actress ถือว่าเป็นยอดฝีมือ กลับทำให้เธอต้องรีไทร์ออกจากวงการไปเลย ฯลฯ

ความเพ้อใฝ่ฝัน มันก็เป็นเพียงภาพลวงตาหนึ่งที่มนุษย์ปรุงปั้นแต่งสร้างขึ้น เพื่อให้ตนเองมีเป้าหมายชีวิต เลิกครุ่นคิดคำถามปรัชญา ฉันเกิดมาทำไม? เพื่ออะไร? ตายแล้วไปไหน? โลกทัศนคติของชาวตะวันตก ที่ปัจจุบันแพร่ขยายครอบงำไปทั่วทั้งโลกแล้วด้วยแนวคิดทุนนิยม/วัตถุนิยม เงินทอง ชื่อเสียง ความสำเร็จ คือบทพิสูจน์คุณค่าการเกิดมามีชีวิต … จริงๆนะหรือ?


หนังถ่ายทำเสร็จสิ้นตั้งแต่ปี 1949 วางโปรแกรมฉายปี 1950 แต่ความสำเร็จอันล้นหลามของ Sunset Boulevard (1950) ทำให้สตูดิโอ Paramount Pictures ไม่อยากให้ทั้งสองเรื่องในสังกัดชนกันเอง กลายเป็นคู่แข่งชิงรางวัล Oscar เลยเลื่อนฉาย 1 ปีเต็ม และเพิ่มเติมเวลาตัดต่อให้ผู้กำกับ Stevens

ด้วยทุนสร้าง $2.3 ล้านเหรียญ ทำเงินในอเมริกาได้ $3.5 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $7 ล้านเหรียญ ถือว่าประสบความสำเร็จพอตัวทีเดียว

เข้าชิง Oscar 9 สาขา คว้ามา 6 รางวัล – Best Picture – Best Director ** คว้ารางวัล – Best Actor (Montgomery Clift) – Best Actress (Shelley Winters) – Best Writing, Screenplay ** คว้ารางวัล – Best Cinematography, Black-and-White ** คว้ารางวัล – Best Film Editing ** คว้ารางวัล – Best Costume Design, Black-and-White ** คว้ารางวัล – Best Original Score ** คว้ารางวัล

รางวัล Best Picture ปีนี้ มีสองเรื่องที่ถูกจับตามองตัวเต็งคือ A Place in the Sun (1951) และ A Streetcar Named Desire (1951) แต่ผลลัพท์กลับพลิกล็อกถล่มทลายกลายเป็น An American in Paris (1951) นั่นสร้างความรวดร้าวฉานให้กับผู้สร้างทั้งสองเรื่อง สั่นคลอนความน่าเชื่อถือของสถาบันนี้ไม่น้อย [แถมปีถัดมามอบรางวัลใหญ่ให้ The Greatest Show on Earth (1952)]

ส่วนตัวชื่นชอบหนังเรื่องนี้มากๆ หลงใหลแทบทุกสิ่งอย่าง ไดเรคชั่น, ถ่ายภาพ, ตัดต่อ, เพลงประกอบ แต่ที่สุดคือการแสดงของ Shelly Winters ทำเอาผมน้ำตาซึมเลยละ ถ้าคู่แข่งปีนี้ไม่ใช่ Vivien Leigh จาก A Streetcar Named Desire (1951) เชื่อว่าต้องคว้า Oscar: Best Actress ได้แน่ๆ

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” ไม่ต้องถึงขั้นลงลึกไปถึงอุดมคติอเมริกันชน แค่เรื่องความรักของหนุ่ม-สองสาว เป็นคุณจะครุ่นคิดตัดสินใจเลือกกระทำเช่นไร? รู้ตัวไหมว่าคำตอบนั้นถูกต้องเหมาะสมประการใด?

จัดเรต 15+ กับบรรยากาศ ความตึงเครียด จิตสังหาร/ฆาตกรรม

คำโปรย | A Place in the Sun ทำให้ผู้กำกับ George Stevens ส่องสว่างเจิดจรัสอยู่ท่ามกลางสุริยัน

คุณภาพ | สุริยัน ส่วนตัว | ชอบมากๆ

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

Mrs. Miniver (1942) : William Wyler ♥♥♥♡

ขนาดว่า Joseph Goebbels ยังต้องเอ่ยปากชื่นชมและหวาดสะพรึงกลัว! เรื่องราวของครอบครัว Miniver ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่สอง ไร้ซึ่งถ้อยคำตำหนิด่าทอทหารเยอรมัน แต่สามารถชักชวนเชื่อให้ต่อต้านนาซีอย่างทรงพลัง, คว้า Oscar ถึง 6 สาขา รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี

“[Mrs. Miniver] shows the destiny of a family during the current war, and its refined powerful propagandistic tendency has up to now only been dreamed of. There is not a single angry word spoken against Germany; nevertheless the anti-German tendency is perfectly accomplished”. – Joseph Goebbels รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโฆษณาแถลงข่าวและโฆษณาชวนเชื่อ

ปกติแล้วภาพยนตร์แนวชวนเชื่อ ‘Propaganda’ มักเสื่อมสิ้นคุณค่าราคาเมื่อกาลเวลาผ่านไป แต่สำหรับ Mrs. Miniver ยังคงเอ่อล้นด้วยมนต์ขลังความยิ่งใหญ่ เพราะสาสน์สาระที่ผู้กำกับ William Wyler นำเสนอออกมานั้น ไม่จำเพาะเจาะจงว่าศัตรูต้องเป็นฝ่ายอักษะ Nazi, Germany อะไรใครก็ตามที่คือชนวนเหตุก่อสงคราม ต่อให้เป็นสามัญชนไม่เกี่ยวข้องใดๆ ย่อมได้รับผลกระทบทั้งร่างกาย-จิตใจ ชีวิต-ทรัพย์สิน ไม่แตกต่างกัน

ถึงกระนั้น Mrs. Miniver ก็ไม่ใช่ภาพยนตร์คุณภาพระดับสมบูรณ์แบบ ไดเรคชั่นของ Wyler แม้ค่อนข้างน่าสนใจ แต่ความรวดเร็วเกินไปทำให้ขาดมนต์เสน่ห์คลาสสิก เทียบผลงานอื่นๆยังถือว่าห่างชั้นอยู่มาก


William Wyler ชื่อจริง Willi Wyler (1902 – 1981) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์สัญชาติอเมริกา เชื้อสาย Jews เกิดที่ Mülhausen, German Empire (ปัจจุบันคือ France) พ่อเชื้อสาย Swiss ส่วนแม่ German มีศักดิ์เป็นหลานของ Carl Laemmle (หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Universal Studios) เมื่ออพยพสู่อเมริกาปี 1921 ได้รับชักชวนมาทำงานยัง Universal Studios เริ่มจากพนักงานทำความสะอาด ไต่เต้าขึ้นมาผู้ช่วย และผู้กำกับ ภาพยนตร์เรื่องแรก The Crook Buster (1925), มีชื่อเสียงจาก Dodsworth (1936), Jezebel (1938), Wuthering Heights (1939), The Westerner (1940), The Little Foxes (1941), Roman Holiday (1953), Friendly Persuasion (1956) คว้า Oscar: Best Director ถึงสามครั้ง เรื่อง Mrs. Miniver (1942), The Best Years of Our Lives (1946), Ben-Hur (1959) [ทั้งสามเรื่องนี้คว้า Oscar: Best Picture ได้อีกด้วย!]

การมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง ค.ศ. 1939 เริ่มต้นจากยุโรป ลุกลามมาถึงสหราชอาณาจักร ขณะที่สหรัฐอเมริกาเพราะดินแดนอยู่ห่างไกล เลยพยายามเพิกเฉยวางตัวเป็นกลาง สอดส่องสังเกตสถานการณ์ความขัดแย้งอย่างใกล้ชิด แต่กระนั้นประชาชนในประเทศกลับยังคงโอ้ลัลล้า ครุ่นคิดว่าคงไม่มีอะไรเท่าไหร่ นั่นสร้างความหงุดหงิดหัวใจให้ผู้กำกับ Wyler ต้องการทำบางสิ่งอย่างเพื่อปลุกตื่น ย้ำเตือนสนิท อย่าหลงเพ้อว่านั่นไม่ใช่สงครามของตนเอง

“I was a warmonger. I was concerned about Americans being isolationists. Mrs. Miniver obviously was a propaganda film”. – William Wyler

เรื่องราวได้แรงบันดาลใจจากหนังสือ Mrs. Miniver (1940) แต่งโดย Jan Struther (1901 – 1953) นักข่าว/นักเขียนหญิง สัญชาติอังกฤษ ขณะนั้นทำงานเป็น Columnist ตีพิมพ์บทความลงหนังสือพิมพ์ The Times

Mrs. Miniver คือตัวละครที่ Struther สร้างสรรค์ขึ้นโดยได้แรงบันดาลใจจากตนเองและครอบครัว เริ่มตีพิมพ์ลง The Times ตั้งแต่ปี 1937 กระทั่งการมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สองปี 1939 เพิ่มเติมในส่วนประสบการณ์สงคราม สะท้อนเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นช่วงขณะนั้น ค่อยๆได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆจนรวบรวมตีพิมพ์วางขายเป็นเล่ม

เกร็ด: นายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษขณะนั้น Winston Churchill กล่าวยกย่องสรรเสริญหนังสือเล่มนี้

“It had done more for the Allied cause than a flotilla of battleships”. – Winston Churchill

หลังจาก MGM ได้ลิขสิทธิ์ดัดแปลงภาพยนตร์ ผู้กำกับ Wyler ต้องใช้บริการนักเขียนถึง 4 คน ประกอบด้วย Arthur Wimperis, George Froeschel, James Hilton, Claudine West โดยทุกเช้ามีการสุมหัวระดมสมอง จะปรับแก้ไขอะไรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ประจำวันได้บ้าง ซึ่งเหตุการณ์ใหญ่สุดที่เกิดขึ้นคือการโจมตี Pearl Harbor วันที่ 7 ธันวาคม 1941 ฟางเส้นสุดท้ายของสหรัฐอเมริกา ตัดสินใจประกาศเข้าร่วมสงครามโลกสักที (เป็นประเทศสุดท้าย)

ณ เมืองสมมติ Belham, ประเทศอังกฤษ ครอบครัว Miniver ประกอบด้วย – พ่อ Clem (รับบทโดย Walter Pidgeon) อาชีพสถาปนิก ฐานะค่อนข้างดี ชื่นชอบการขับรถ/ขับเรือ ไปไหนมาไหนพร้อมหน้าทั้งครอบครัว – แม่ Kay Miniver (รับบทโดย Greer Garson) เป็นคนง่ายๆ ยิ้มแย้มร่าเริง มองโลกในแง่ดี รักสามีและลูกๆ – ลูกชายคนโต Vin (รับบทโดย Richard Ney) เป็นคนเฉลียวฉลาดหลักแหลม ขณะนั้นสอบติด Oxford University – น้องชาย Toby และน้องสาว Judy

ครั้งหนึ่งเมื่อ Vin กลับมาบ้าน ระหว่างนั่งจิบน้ำชามีโอกาสพบเจอตกหลุมรัก Carol Beldon (รับบทโดย Teresa Wright) หลานสาวของคุณหญิง Lady Beldon (รับบทโดย May Whitty) แต่การมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้พวกเขาต้องพลัดพรากจาก เพราะ Vin อาสาสมัครรับใช้ชาติเป็นทหารอากาศขับเครื่องบิน RAF ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสรอดชีวิตกลับมาไหม จึงรีบร้อนขอเธอแต่งงาน ไป Honeymoon ยังประเทศ Scotland แต่เมื่อหวนกลับมา …


นำแสดงโดย Eileen Evelyn Greer Garson (1904 – 1996) นักแสดงหญิงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Manor Park, Essex จบการศึกษาสาขาฝรั่งเศสและวรรณกรรมศตวรรษที่ 18 จาก University of Grenoble ทำงานเป็นเลขานุการในบริษัทโฆษณา สนิทสนมรู้จักกับ George Sanders ผันตัวมาเป็นนักแสดงร่วมกัน เริ่มต้นจากละครเวที รายการโทรทัศน์ ได้รับการค้นพบโดย Louis B. Mayer จับเซ็นสัญญาสตูดิโอ MGM ภาพยนตร์เรื่องแรก Goodbye, Mr. Chips (1939) ตามด้วย Pride and Prejudice (1940), Blossoms in the Dust (1941), Mrs. Miniver (1942), Madame Curie (1943), Mrs. Parkington (1944), The Valley of Decision (1945), Sunrise at Campobello (1960) ฯ

รับบท Kay Miniver หรือ Mrs. Miniver สาวใหญ่ลูกสาม แต่ยังชอบทำตัวเหมือนเด็กน้อยไร้เดียงสา เป็นคนมองโลกในแง่ดีมากๆ ต่อให้ตกอยู่ในสถานการณ์ขับขันอันตราย สีหน้าสะท้อนความรวดร้าวเจ็บปวดหวาดสะพรึงกลัวจากภายใน ก็ไม่ยอมแสดงออกให้ผู้อื่นต้องมาทุกข์ทรมานแทนตนเอง

ผมรู้สึกว่าใบหน้าของ Garson มีลักษณะคล้ายคลึง Setsuko Hara หญิงแกร่งผู้มีความอวบอิ่ม หนักแน่วแน่นในปฏิธานตั้งมั่น ไม่มีอะไรสั่นคลอนศรัธาความเชื่อของตนเองลงได้ และพร้อมเสียสละตนเองเพื่อครอบครัว ลูกหลาน (ว่าไปทั้งคู่ต่างได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ไล่เลี่ยกันเลยนะ)

Walter Davis Pidgeon (1897 – 1984) นักแสดงสัญชาติ Canadian เกิดที่ Saint John, New Brunswick โตขึ้นเข้าเรียนกฎหมายจาก University of New Brunswick แต่ถูกขัดด้วยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สมัครหน่วยกองปืนใหญ่ Royal Regiment of Canadian Artillery ไม่เคยได้เห็นการสู้รบแต่ประสบอุบัติเหตุพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 17 เดือน ปลดประจำการออกมามุ่งสู่ Boston ทำงานธนาคาร เมื่อเกิดความเบื่อหน่ายย้ายสู่ New York City กลายเป็นนักแสดงละครเวที ตามด้วยหนังเงียบ ประสบความสำเร็จอย่างสูงในช่วงแรกๆยุค Talkie อาทิ The Bride of the Regiment (1930), Sweet Kitty Bellairs (1930), Viennese Nights (1930), Kiss Me Again (1931), สำหรับผลงานอมตะ อาทิ How Green Was My Valley (1941), Blossoms in the Dust (1941), Mrs. Miniver (1942), Madame Curie (1943), The Bad and the Beautiful (1952), Forbidden Planet (1956) ฯ

รับบท Clem Miniver พ่อผู้มีความหลงใหลในรถ/เรือ ทำงานสถาปนิกออกแบบ ฐานะค่อนข้างดี มีจิตใจกว้างขวาง เป็นที่รักของลูกๆ ภรรยา และพรรคพวกเพื่อนในสังคม

เอาจริงๆบทบาทนี้แค่เพียงไม้ประดับ ไม่ได้มีความโดดเด่นสลักสำคัญเท่าไหร่ แต่ทุกการปรากฎตัวของพ่อให้ความรู้สึกพึงพาได้ ไม่มีอะไรต้องหวาดกลัวเกรง และเคมีระหว่าง Pidgeon กับ Garson ถือว่าโต้ตอบ หยอกล้อเล่น เข้าขากันสุดๆ เห็นว่าเป็นคู่ขวัญ มีผลงานร่วมกันถึง 8 เรื่อง!

Richard Maximilian Ney (1916 – 2004) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ New York City พ่อเป็นเซลล์แมนขายประกัน ส่งเรียนต่อเศรษฐศาสตร์ Columbia University ถูกแมวมองชักชวนให้แสดงใน Mrs. Miniver (1942) มีผลงานตามมาประปราย แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอดในวงการ ผันตัวสู่นักเล่นหุ้น

รับบท Vin Miniver ชายหนุ่มน้อยที่พอมีร่ำเรียนรู้วิชา ก็พูดพร่ำวาจา วางมาดโอ้อวด เย่อหยิ่งทะนงตน ยังคงอ่อยเยาว์ไร้เดียงสาต่อโลกความจริง ด้วยเหตุนี้การมาถึงสงครามจึงอาสาสมัครเป็นทหารอากาศ ขับเครื่องบินโชว์ความสามารถ เรียกร้องสร้างความสนใจให้ตนเอง

ก็ไม่รู้ไปไงมาไง สัมพันธ์สวาทระหว่าง Garson กับ Ney งอกงามเกินกว่าบทบาทแม่-ลูก (ชีวิตจริงทั้งสองอายุห่างกัน 12 ปี) พวกเขาแต่งงานกันปี 1943 และหย่าขาดปี 1947 ด้วยเหตุผลว่า ‘สามีชอบวิพากย์วิจารณ์การแสดงของเธอเสียๆหายๆ แถมขี้หงุดหงิดเอาใจยาก’

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

Muriel Teresa Wright (1918 – 2005) นักแสดงหญิงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Harlem, New York City หลังจากได้รับชม Helen Hayes ในการแสดงละครเวทีเรื่อง Victoria Regina ตัดสินใจเป็นนักแสดง โตขึ้นเป็น Understudy ของ Dorothy McGuire กับ Martha Scott ก่อนมีผลงานเรื่องแรก Life with Father (1939) ไปเข้าตา Samuel Goldwyn จับเซ็นสัญญานำมาแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก The Little Foxes (1941) เข้าชิง Oscar: Best Supporting Actress ปีถัดมากับ Mrs. Miniver (1942) คว้ารางวัลนี้ได้สำเร็จ และอีกปีถัดไปเข้าชิงอีกครั้งกับ The Pride of the Yankees (1943), ผลงานเด่นอื่นๆอาทิ Shadow of a Doubt (1943), The Best Years of Our Lives (1946) ฯ

รับบท Carol Beldon สาวน้อยร่างเล็ก แต่มีความเด็ดเดี่ยว ปราชญ์เปรี่ยว พูดจาหลักแหลมคมคาย ไม่วายให้ใครๆตกหลุมรัก แถมมักชอบครุ่นคิดแทนผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา งดงามบริสุทธิ์ทั้งหน้าตาและจิตใจ

ในบทบาทคว้ารางวัล Oscar ของ Wright นำเสนอตัวละครที่มีความเฉลียวฉลาด ร่าเริงสดใส เป็นที่รักใคร่ ตัวแทนหญิงสาวคนรุ่นใหม่ คิดเร็ว ตัดสินใจไว (ไปไหม!) พร้อมยืนเคียงข้างผู้ชาย ไม่ใช่ช้างเท้าหลังอย่างแต่เก่าก่อน

ตอนรับชมผมไม่ทันสังเกตเท่าไหร่ แต่พอมาจับจ้องมองถึงค่อยพบเห็นว่า Wright แต่งหน้าเขียนคิ้วค่อนข้างหนาทีเดียว แม้เธอจะอายุมากกว่าตัวละครแค่ไม่กี่ปี กลับมีริ้วรอยเหี่ยวย่นปรากฎขึ้นบ้างแล้ว (แก่ไวไปไหม!)

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ถ่ายภาพโดย Joseph Ruttenberg (1899 – 1983) ตากล้องสัญชาติ Russian เชื้อสาย Jews อพยพมุ่งสู่อเมริกัน เริ่มจากเป็นนักข่าวถ่ายภาพ ก่อนได้งานตากล้องหนังเงียบ สังกัดสตูดิโอ Fox Film Coperation คว้า Oscar: Best Cinematography ถึง 4 ครั้ง จาก The Great Waltz (1938), Mrs. Miniver (1942), Somebody Up There Likes Me (1956) และ Gigi (1958)

ถึงหนังจะมีพื้นหลังประเทศอังกฤษ แต่ก็ไม่ได้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปถ่ายทำ (เพราะติดสงครามโลกอยู่) ทั้งหมดสร้างฉากขึ้นในสตูดิโอ MGM, Hollywood

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ช็อตสวยสุดในหนัง, ก่อนหน้าที่ Mrs. Miniver จะบังเอิญพบเจอทหารเยอรมันถูกยิงตก ช็อตนี้แม้กำลังสนทนาอยู่กับ Mr. Ballard (รับบทโดย Henry Travers) แต่มิได้ใคร่สนใจฟังนัก เพราะจิตใจจดจ่อเฝ้ารอยคอยสามี เมื่อไหร่จะกลับมาจาก Dunkirk

ไม่รู้เป็นความบังเอิญหรือตั้งใจ เป็ดสามตัวที่กำลังว่ายน้ำ มองเป็นสัญลักษณ์ของ Mr. Miniver ที่กำลังเดินทางอยู่ก็ได้นะ

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ไดเรคชั่นของผู้กำกับ Wyler นำเสนอเรื่องราวต่างๆโดยมี Mrs. Miniver เป็นจุดหมุน ด้วยเหตุนี้งานภาพจึงถือว่าค่อนข้างติดดิน/ติดตามตัวละครไปไหนมาไหน ประสบพบเจออะไร ราวกับมุมมองบุคคลที่หนึ่ง (ที่ถ่ายทำด้วยตำแหน่งบุคคลที่สาม)

ค่ำคืนทิ้งระเบิด หนังไม่นำพาผู้ชมไปไกลมากกว่าแค่ภายในหลุมหลบภัย ในสายตาของ Mrs. Miniver เดี๋ยวมืดเดี๋ยวสว่าง รายล้อมรอบด้วยเสียง Sound Effect เครื่องบินโฉบเฉี่ยว ปืนกล ระเบิด ฯ โลกภายนอกช่างเต็มไปด้วยความว้าวุ่นวาย ส่งผลกระทบถึงภายใน(จิตใจคน)

ไดเรคชั่นลักษณะนี้ช่วยเพิ่มความสมจริงให้กับหนังอย่างมาก ผู้ชมราวกับเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ อาศัยอยู่ในหลุมหลบภัย ประสบภยันตราย/รอดตายจากเครื่องบินทิ้งระเบิด

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

Lady Beldon (รับบทโดย May Whitty) เป็นตัวแทนของคนชนชั้นสูงในสังคมอังกฤษ ยึดถือมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม ขณะเดียวกันก็มีหลานสาวน่ารัก ทีแรกไม่ยินยอมพร้อมใจให้เธอแต่งงาน แต่ก็มิอาจทัดทานความเปลี่ยนแปลงไปของโลก เฉกเช่นเดียวกับการประกวดดอกกุหลาบ ชนะมาตั้งแต่ริเริ่มไม่มีผู้ท้าชิง แต่ครั้งนี้ถือว่าเป็นเหตุการณ์สุดพิเศษ ยอมให้สักครั้งไม่เห็นจะเสียหายอะไร

บอกตามตรงว่า ผมเห็นตัวละครนี้ชวนให้นึกถึง Queen Elizabeth II แต่ยุคสมัยนั้นประมุขของสหราชอาณาจักรคือ King George VI (ครองราชย์ 1936 – 1952) นัยยะของการยินยอมพ่ายแพ้ หมายถึงการให้สิทธิ์ มอบโอกาส โลกไม่ได้อยู่ในกำมือของชนชั้นสูงอีกต่อไป ประชาชนต่างหากคือผู้กำหนดทิศทางดำเนินไป

กุหลาบ คือสัญลักษณ์แห่งความรัก ตั้งชื่อ Mrs. Miniver ย่อสื่อถึงบุคคลผู้มีจิตใจงดงาม เบิกบาน เผื่อแผ่รอยยิ้มสู่คนรอบข้าง, ความพ่ายแพ้ของ Lady Beldon ไม่ใช่แค่ประกวดดอกกุหลาบนี้เท่านั้นนะครับ แต่ยังต่อ Mrs. Miniver ที่ทำให้ Carol กับ Vin ได้เร่งรีบแต่งงานกัน

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

สุนทรพจน์ของบาทหลวง (รับบทโดย Henry Wilcoxon) ครุ่นคิดกันสดๆกับผู้กำกับ Wyler ค่ำคืนก่อนเริ่มต้นถ่ายทำฉากนี้ เพราะสถานการณ์สงครามเปลี่ยนแปลงไปมากจากเมื่อเริ่มต้นถ่ายทำ คำกล่าวมันจึงใช้ไม่ได้ต้องปรับเปลี่ยนแปลงให้มีความเหมาะสมที่สุด

คำกล่าวสุนทรพจน์นี้ ถูกใจปธน. Franklin D. Roosevelt เป็นอย่างมาก ได้ทำการพิมพ์ใบปลิว แปลภาษา โปรยแจกทุกประเทศศัตรู เพื่อชักชวนเชื่อให้พวกเขาเลิกก่อการสงคราม (แต่มันจะมีผลไหมเนี่ย!)

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ช็อตสุดท้ายของหนังเผื่อใครไม่ทันสังเกตเห็น เครื่องบินแปรขบวนรูปตัว V สัญลักษณ์ของ Victory

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ตัดต่อโดย Harold F. Kress (1913 – 1999) สัญชาติอเมริกัน เจ้าของ 2 รางวัล Oscar จากเรื่อง How the West Was Won (1962), The Towering Inferno (1974) ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Dr. Jekyll and Mr. Hyde (1941), Mrs. Miniver (1942), The Yearling (1947), King of Kings (1961), The Poseidon Adventure (1972) ฯ

เรื่องราวดำเนินไปโดยมี Mrs. Kay Miniver คือศูนย์ใจกลางพายุ แต่ละวันประสบพบเจอเรื่องราวต่างๆไม่ซ้ำหน้า ทั้งดี-ร้าย สมหวัง-เศร้าเสียใจ รายล้อมด้วยสมาชิกครอบครัว และสมัครพรรคเพื่อนในเมืองเล็กๆ Belham

เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิด ‘ยุคสมัยสงครามทำอะไรต้องรีบเร่ง ตัดสินใจเร็ว’ ไดเรคชั่นการตัดต่อจึงมีความกระชับฉับไว ไร้ซึ่ง Establish Shot ทดลองขับรถยังไม่ทันไรกลับถึงบ้านแล้ว (จะเร็วไปไหน!)

ความเร็วเป็นสิ่งที่ผมมองว่า ไม่ค่อยเหมาะกับหนังลักษณะนี้สักเท่าไหร่ แม้นัยยะความหมายจะพอเข้าใจได้ แต่การเร่งรีบเกินไป ทำให้หนังสูญเสียสัมผัสบรรยากาศโรแมนติก และความคลาสสิก ดู Modern มากเกินไปนิด (จริงๆนี่ไม่ใช่เทคนิคล้ำหน้าแปลกใหม่อะไร แค่ยังไม่ถึงจุดได้รับความนิยมเท่านั้นเอง)


เพลงประกอบโดย Herbert Stothart (1885 – 1949) สัญชาติอเมริกัน ผลงานเด่น อาทิ Mutiny on the Bounty (1935), A Night at the Opera (1935), The Wizard of Oz (1939), Blossoms in the Dust (1941), Kismet (1944) ฯ

บทเพลงมีสัมผัสโรแมนติก ศรัทธาความรักที่ไม่มีวันเจือจาง ตั้งมั่นคงอยู่ภายในจิตใจของ Mrs. Miniver ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์เลวร้ายอะไรขึ้น ก็สามารถต่อสู้ดิ้นรนฟันฝ่าสู่วันข้างหน้า จนกว่าจะถึงวันชีวิตหาไม่

นอกจาก Main Theme ยังมีหลายๆบทเพลงที่ตัวละครขับร้องเล่นในหนัง อาทิ – God Save the King! (1744) เพลงชาติอังกฤษ – Children of the Heavenly King (Pleyel’s Hymn) (1791) ได้ยินในโบสถ์ – Onward, Christian Soldiers (1871) ได้ยินในโบสถ์ – Wedding March (1843) – Midsummer’s Day แต่งโดย Gene Lockhart ขับร้องประสานเสียงในงานประกวดดอกไม้ – For He’s a Jolly Good Fellow ขับร้องประสานเสียงให้ผู้ชนะรางวัลประกวดดอกกุหลาบ

ช็อตสุดท้ายของหนัง เมื่อกล้องเคลื่อนขึ้นแล้วซูมสู่ท้องฟ้า บทเพลง Pomp and Circumstance March No.1 in D Major, Op.39 (1901) ของคีตกวีสัญชาติอังกฤษ Edward Elgar ช่างมีความทรงพลัง สั่นสะท้าน สร้างความฮึกเหิม เกิดพละพลังกล้าลุกขึ้นต่อสู้ เอาชนะคว้าชัยต่อศัตรู

แต่เก่าก่อน สงครามคือสิ่งที่มักเกิดขึ้นในสนามรบ สองฝั่งฝ่ายต่างจัดทัพ เตรียมพล ออกเดินทาง เผชิญต่อสู้กันซึ่งๆหน้ายังสถานที่นัดหมายกำหนดไว้ แต่กาลเวลากอปรอาวุธยุทโธปกรณ์ เมื่อได้รับการพัฒนารุดหน้าไปมาก ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ทุกสถานที่บนโลกสามารถกลายเป็นสนามรบราฆ่าฟันได้หมด แผ่นดิน ผืนน้ำ น่านฟ้า (และอวกาศ) ไม่อีกแล้วที่สามัญชนคนธรรมดา กินนอนอยู่บ้านจะมีความปลอดภัย ไร้ซึ่งการรุกรานบุกโจมตีจากศัตรูฝ่ายตรงข้าม

วิวัฒนาการของสงคราม สะท้อนสิ่งที่คือด้านมืดภายในจิตใจมนุษย์ ความเห็นแก่ตัว ละโมบโลภมักมาก ต้องการกอบโกย ครอบครองเป็นเจ้าของ พิสูจน์มุมมองทัศนคติ และศักยภาพเหนือชาติพันธุ์อื่น! ซึ่งเมื่อโลกก้าวมาถึงสงครามโลกครั้งที่สอง ใครๆต่างเรียกว่า ‘สงความแห่งความเกลียดชัง’ นั่นคือที่สุดแล้วของความชั่วช้าต่ำทราม ใช้ทุกวิธีทางเพื่อให้ชนฉันได้รับชัยชนะ กลายเป็นมหาอำนาจ จ้าวโลก

Mrs. Miniver นำเสนอเรื่องราวของครอบครัวเล็กๆ ชุมชนเล็กๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนแปลงไปของโลก จากสงบสุขก้าวสู่ยุคสมัยสงคราม ทั้งๆไม่เคยสร้างความขัดแย้งรวดร้าวฉานให้ใคร กลับประสบพบโศกนาฎกรรมที่ไม่มีใครคาดคิดถึง

หนังจะมี Death Flag ปรากฎพบเห็นประปรายตั้งแต่ต้นเรื่อง แต่ผมว่าน้อยคนจะคาดเดาออกว่าเป็นใคร ทั้งหมดล้วนเป็นตัวแทนของ ‘ผู้บริสุทธิ์’ ไม่ได้มีส่วนร่วมรู้เห็น เกี่ยวข้องอะไรกับสงครามด้วยเลย แต่กลับสูญเสียชีวิตไปแบบไร้สาระ เลวร้ายยิ่งกว่าหายนะภัยพิบัติจากธรรมชาติเป็นไหนๆ

ด้วยเหตุนี้ทำไมอเมริกายังคงเพิกเฉย เฉื่อยชา ไม่สนใจต่อสถานการณ์โลก มัวแต่ครุ่นคิดว่าตนเองคงไม่ได้รับผลกระทบ วันหนึ่งเลยถูกตอกหน้าอย่างสาสม ย่อยยับเยินจากถูกโจมตี Pearl Harbor ถ้าช่วงขณะนั้นไม่มัวแต่นั่งๆนอนๆ จับจ้องสังเกตการณ์อยู่เฉยๆ หายนะมันคงไม่รุนแรงเว่ออลังการขนาดนี้

ผู้กำกับ Wyler หลังเสร็จจากภาพยนตร์เรื่องนี้ อาสาสมัครเป็นทหารอากาศ สังกัด United States Army Air Forces ด้วยความตั้งใจสร้างภาพยนตร์สารคดี The Memphis Belle: A Story of a Flying Fortress (1944) และ Thunderbolt (1947) มีโอกาสร่วมออกเดินทางกับเครื่องบินทิ้งระเบิด พบเห็นความโหดร้ายแสนสาหัสของสงคราม หวนระลึกตระหนักถึง Mrs. Miniver ว่าช่างมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ‘Soft Light’ แสนธรรมดาเกินไป เทียบไม่ได้เลยสักนิดกับความเป็นจริง

กาลเวลาแปรสภาพ Mrs. Miniver จากภาพยนตร์ ‘Propaganda’ ชักชวนเชื่อชาวอเมริกันให้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง กลายเป็นหนังต่อต้านสงคราม Anti-Wars แบบเต็มตัว เพราะนำเสนอบุคคลผู้ได้รับผลกระทบเต็มๆคือ ประชาชนคนธรรมดาทั่วไป ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับความขัดแย้งด้วยเลย กลับประสบพบเจอหายนะ โศกนาฎกรรม มันใช่เรื่องเสียที่ไหน!

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าหวาดหวั่นวิตกกังวลไม่น้อย นั่นคือความเร็วของการครุ่นคิดตัดสินใจ ในบริบทสงครามของหนังยังพอเข้าใจได้ เพราะไม่รู้ว่าจะยังมีชีวิตยาวนานอีกสักเท่าไหร่ ถ้ามีโอกาสเลยจำต้องเร่งรีบร้อน ไฟรนก้นไว้ก่อน, แต่กระนั้นหลังสงครามสิ้นสุดลากยาวมาจนปัจจุบันนี้ ความรวดเร็วดังกล่าวกลับยังคงเดิมไม่เสื่อมคลาย หนำซ้ำร้ายเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเร่ง! ปืนจ่อหลังก็ไม่ใช่ เครื่องบินทิ้งระเบิดก็ไม่มี แต่โลกยุคนี้อะไรๆกับติดจรวดพุ่งไปข้างหน้า นี่ไม่ใช่แค่เทคนิคการตัดต่อภาพยนตร์เท่านั้นนะ เทคโนโลยี อินเตอร์เน็ต ความคิดอ่าน การตัดสินใจ … อายุไข 60 ปี มันสั้นขนาดนั้นเชียวหรือถึงต้องไวขนาดนี้

“ต่อให้ความเร็วแสง ก็ไม่อาจแซงความคิดของมนุษย์” ผมไปอ่านเจอที่ไหนจดจำไม่ได้แล้ว ทิ้งท้ายไว้ให้เป็นข้อคิดคำถาม จริงหรือเปล่ากับประโยคนี้ … ฟังดูเว่อมากกก แต่ก็เป็นไปได้นะครับ


ด้วยทุนสร้าง $1.34 ล้านเหรียญ ทำเงินในในอเมริกา $5.358 ล้านเหรียญ สูงสุดของปี และสตูดิโอ MGM รวมทั่วโลก $8.878 ล้านเหรียญ

เข้าชิง Oscar 11 จาก 12 สาขา คว้ามา 6 รางวัล – Outstanding Motion Picture ** คว้ารางวัล – Best Director ** คว้ารางวัล – Best Actor (Walter Pidgeon) – Best Actress (Greer Garson) ** คว้ารางวัล – Best Supporting Actor (Henry Travers) – Best Supporting Actress (Teresa Wright) ** คว้ารางวัล – Best Supporting Actress (May Whitty) – Best Writing, Screenplay ** คว้ารางวัล – Best Cinematography, Black-and-White ** คว้ารางวัล – Best Film Editing – Best Sound Recording – Best Effects, Special Effects

เกร็ดรางวัล: – ผู้กำกับ William Wyler ขณะนั้นติดภารกิจรับใช้ชาติอยู่ต่างแดน ศรีภรรยา Margaret Tallichet ขึ้นรับรางวัลแทน – เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกเข้าชิงสาขาการแสดงครบถ้วน Best Actor, Best Actress, Best Supporting Actor, Best Supporting Actress แถมยัง +1 รวมเป็น 5 คน – คำกล่าวสุนทรพจน์ของ Greer Garson ว่ากันว่ายาวประมาณ 5 นาทีครึ่ง กลายเป็นสถิติที่ทำให้ Academy ต้องพิจารณาออกกฎจำกัดเวลา (แต่ถ้านับปริมาณคำ เจ้าของสถิติคนปัจจุบันคือ Matthew McConaughey จาก Dallas Buyers Club)

น่าเสียดายฟุตเทจสุนทรพจน์เต็มๆของ Garson ได้กระจัดกระจายสูญหายไปแล้ว หลงเหลือเพียงเกริ่นเริ่มต้นไม่กี่วินาที แต่ถ้าใครอยากอ่านถ้อยแถลงเต็มๆ: http://aaspeechesdb.oscars.org/link/015-3/

หนังมีภาคต่อด้วยนะ The Miniver Story (1950) ยังคงนำแสดงโดย Greer Garson และ Walter Pidgeon แต่เปลี่ยนผู้กำกับมาเป็น H.C. Potter เนื้อเรื่องราวเห็นว่าคล้ายๆ The Best Years of Our Lives (1946) ส่วนคุณภาพไปลองวัดดวงเอาเองก็แล้วกัน

ส่วนตัวค่อนข้างชื่นชอบหนังอย่างมาก ประทับใจในสาสน์สาระที่ไม่ได้สักแต่จะชักชวนเชื่อผู้คน นำเสนอด้วยเหตุผล มนุษยธรรม แม้ไม่ถึงขั้นสมบูรณ์แบบ แต่เนื้อหาทรงคุณค่าเหนือกาลเวลา

แนะนำคอหนัง Wars Drama กลิ่นอายชวนเชื่อ บรรยากาศสงครามโลกครั้งที่สอง, แฟนๆผู้กำกับ William Wyler และนักแสดงนำ Greer Garson, Walter Pidgeon, Teresa Wright ไม่ควรพลาด

จัดเรต 13+ กับบรรยากาศสงคราม

คำโปรย | Mrs. Miniver ของผู้กำกับ William Wyler อาจไม่ถึงขั้นสมบูรณ์แบบ แต่เนื้อหาทรงคุณค่าเหนือกว่าแค่สงครามโลกครั้งที่สอง

คุณภาพ | ยอดเยี่ยม ส่วนตัว | ชอบมาก

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๔๕) : จิระ มะลิกุล ♥♥♥♡

เกิดเป็นคนยุคสมัยนี้แบบ อนุชิต สพันธุ์พงษ์ ช่างแสนลำบากยากเข็น ตกอยู่กึ่งกลางระหว่างถูก-ผิด ศรัทธา-ผลประโยชน์ ตำนานความเชื่อโบราณ-วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ แต่ถึงจะอึดอัดเครียดคลั่งแค่ไหน สุดท้ายก็ต้องปล่อยวางจากความหมกมุ่นยึดติด, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

“เชื่อในสิ่งที่เฮ็ด เฮ็ดในสิ่งที่เชื่อ”

เฮ็ด แปลว่า ทำ (ไม่ได้แปลว่า เห็น) แต่การทำในสิ่งที่เชื่อไม่ได้แปลว่าจะถูกต้องเสมอไป เพราะบางครั้งเราก็หลงเชื่อในสิ่งผิดๆโดยมิได้ผ่านการครุ่นคิด ไตร่ตรอง รับรู้พบเห็น สัมผัสได้ด้วยตนเอง

กาลามสูตร (หรือ เกสปุตตสูตร) พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล สอนหลักแห่งความเชื่อ ไม่ให้เชื่อสิ่งใดๆอย่างงมงายโดยมิได้ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ ๑๐ ประการ

  1. มา อนุสฺสวเนน – อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
  2. มา ปรมฺปราย – อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
  3. มา อิติกิราย – อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
  4. มา ปิฏกสมฺปทาเนน – อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
  5. มา ตกฺกเหตุ – อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ (การคิดเอาเอง)
  6. มา นยเหตุ – อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน (คาดคะเน)
  7. มา อาการปริวิตกฺเกน – อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
  8. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา – อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
  9. มา ภพฺพรูปตา – อย่าปลงใจเชื่อมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
  10. มา สมโณ โน ครูติ – อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา

เมื่อใดสอบสวนจนล่วงรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นพึงละเสีย และเมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลหรือไม่มีโทษเมื่อนั้นถึงพึงถือปฏิบัติ

ผมเองก็ไม่รู้หรอกนะว่า บั้งไฟพญานาค คือเหตุการณ์ตามความเชื่อจริง ปรากฎการณ์ธรรมชาติ หรือมีใครสักคนที่แสวงหาผลประโยชน์รายได้จากฝูงชนมากมายมหาศาลในช่วงเทศกาลออกพรรษา แต่นั่นหาใช่สารัตถะของชีวิตที่จะต้องมาเสียเวลาหมกมุ่น ครุ่นคิด ยึดติดแบบเอาเป็นเอาตาย ต้องพิสูจน์รู้ความจริงให้จงได้

ความน่าสนใจของภาพยนตร์ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ มองนอกเหนือประเด็นท้าพิสูจน์ คือการร้อยเรียงแทบทุกสิ่งอย่างในวิถีชาวไทยอีสาน อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ผมมีปัญหาอย่างเยอะในการอู้กำเมือง ไอ้ไหรก็ม้ายโระ เพราะบางคำใกล้เคียงภาษากลางแต่ความหมายอีกอย่างหนึ่งเลย (อย่างคำว่า เฮ็ด ทีแรกผมก็เข้าว่าคือ เห็น ค้นเจอทีหลังแปลว่า ทำ) ก็ไม่เป็นไร รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าน คือมนต์เสน่ห์อย่างหนึ่งของภาษาไทย ธำรงรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่นไว้ ให้ยั่งยืนยาวนานสืบต่อไป

จิระ มะลิกุล (เกิด พ.ศ. ๒๕๐๔) ชื่อเล่นเก้ง ผู้กำกับ ถ่ายภาพ โปรดิวเซอร์ชาวไทย จบการศึกษาโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ต่อคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มทำงานในวงการจากกำกับ Music Video หลังจากได้รับการยอมรับหันไปทำงานโฆษณา เปิดบริษัท หับ โห้ หิ้น บางกอก จากนั้นเริ่มสร้างภาพยนตร์ เขียนบท/ถ่ายภาพ สตรีเหล็ก (พ.ศ. ๒๕๔๓), กำกับเองเรื่องแรก ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๔๕) และ มหา’ลัยเหมืองแร่ (พ.ศ. ๒๕๔๘)

เรื่องราวของบั้งไฟพญานาค มหัศจรรย์แห่งลุ่มแม่น้ำโขง เกิดขึ้นกับคนไทยในอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย เกิดขึ้นตรงกันทุกปีในค่ำคืนวันออกพรรษา ปรากฏการณ์นี้กลายเป็นเรื่องโด่งดังไปทั่วโลก และยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบั้งไฟพญานาคที่เกิดขึ้น จากน้ำมือของมนุษย์ หรือผุดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือเป็นพุทธบูชาของพญานาคตามความเชื่อ/ศรัทธาของชาวอีสาน

คาน (อนุชิต สพันธุ์พงษ์) เด็กกำพร้ารับเลี้ยงโดยหลวงพ่อโล่ห์ (นพดล ดวงพร) จากฝั่งลาว ฝากฝังไว้กับป้าออง (บุญศรี ยินดี) ที่อยู่ฝั่งไทย สนิทสนมกับพี่สาวสุดสวย อลิศ (ธิดารัตน์ เจริญชัยชนะ) หลังเรียนจบจากกรุงเทพฯ หวนกลับมาบ้าน อะไรๆในมุมมองความคิดของเขาก็ได้เปลี่ยนแปลงไป

อย่างแรกเลยคือพี่อลิศที่ตนแอบชอบ กลายเป็นครูสอนหนังสือแล้วหมั้นหมายกับ หมอนรติ (บุญชัย ใจลิ่ม) ดูเป็นคนไม่เอาอ่าวสักเท่าไหร่, อีกอย่างหนึ่งคือต้องการเลิกหลอกลวงประชาชนเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของบั้งไฟพญานาค อันเกิดจากฝีมือของหลวงพ่อและลูกศิษย์วัดฝั่งลาว โดยเขาคือคนดำน้ำลงไปวาง ‘ไข่พญานาค’ ก่อนหน้าถึงวันออกพรรษา

หมายเหตุ: เรื่องราวดังกล่าวเป็นส่วนผสมระหว่างความจริง-แต่งเติมขึ้นตามจินตนาการของ จิระ มะลิกุล ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าพระที่ลาวเป็นผู้สร้างไข่/บั้งไฟพญานาค

อนุชิต สพันธุ์พงษ์ (เกิด ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒) ชื่อเล่นโอ นักร้อง-เต้น นักแสดงชาวไทย เกิดที่จังหวัดสมุทรปราการ จบจากโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ ต่อคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, เข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการชนะเลิศการประกวดเต้น เนสกาแฟเชกแดนซิงคอนเทสต์ และชนะเลิศการประกวด อาร์วีเอสบอร์นทูบีสตาร์ สาขาการเต้น ของวิทยุอาร์วีเอส พอคุ้นหน้ากับการเป็นนักเต้นของมอส-ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ และร่วมแสดงสื่อโฆษณาโค้กกับแคทรียา อิงลิช, แจ้งเกิดเต็มตัวจากภาพยนตร์เรื่องแรก ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๔๕), โหมโรง (พ.ศ. ๒๕๔๗), มะลิลา (พ.ศ. ๒๕๖๑) ฯ

รับบทคาน หลังเรียนจบจากกรุงเทพฯ ชีวิตอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ หวนกลับบ้านเพื่อค้นหาเป้าหมายของตนเอง อย่างหนึ่งที่เขาไม่อยากเป็นแน่ๆคือคนหลอกลวงตนเอง แต่ก็ยังตัดใจไม่ได้จากพี่สาวอลิศที่แอบชอบมากๆ ด้วยเหตุนี้เลยไปทำงานใช้แรงงานกรรมกร สำมะเลเทเมาเรื่อยเปื่อยอยู่สักพัก จนกระทั่งบางสิ่งอย่างเกิดขึ้นทางฝั่งลาว อนาคตจะเป็นยังไงไม่รู้ละ แหงนมองท้องฟ้า ตราบใดมีลมหายใจ เดี๋ยวก็หาหนทางไปต่อได้เอง

ผมคงต้องเรียก โอ อนุชิต ว่า ‘เด็กหนุ่มมหัศจรรย์’ เทียบสมัยนี้กับ Timothée Chalamet ได้อย่างสบายๆ ภาพลักษณ์เป็นผู้ชายแบบเบต้า อ่อนน้อมถ่อมตน ใครๆต่างรักใคร่เอ็นดู ทำให้ต้องแบกรับความคาดหวังของทุกคน ซึ่งพอเติบโตขึ้นมีความคิดอ่านของตนเอง ต้องการโบยบินเป็นอิสระก็มิอาจกระทำโดยง่าย ติดแหงกอยู่ระหว่างสองโลก ไทย-ลาว ความถูกต้อง-บุญคุณคน อึดอัดอั้นไร้หนทางระบาย ทรมานตัวเองกับงานกรรมกร ดื่มเหล้าเมามาย แต่มันก็ไม่ทำให้ปัญหาชีวิตเบาบางลงแม้แต่น้อย

นพดล ดวงพร ชื่อจริง ณรงค์ พงษ์ภาพ (เกิด พ.ศ. ๒๔๘๔) นักร้องลูกทุ่ง/หมอลำ นักแสดง เกิดที่อุบลราชธานี บิดาเป็นหมอลำกลอน มารดาเป็นนักร้องเพลงโคราช ตอนเด็กเคยทำงานในวงดนตรีคณะพิพัฒน์ บริบูรณ์ ต่อมากลายเป็นลูกศิษย์ร่วมวงดนตรีจุฬารัตน์ของครูมงคล อมาตยกุล ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อ นพดล ดวงพร พอปีกกล้าขาแข็งแยกไปก่อตั้งวงดนตรี เพชรพิณทอง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ รับงานแสดง อาทิ ครูบ้านนอก (พ.ศ. ๒๕๒๑), คนกลางแดด (พ.ศ. ๒๕๓๐) ฯ

รับบทหลวงพ่อโล่ห์ อาศัยอยู่วัดทางฝั่งพม่า ครั้งหนึ่งได้รับบิณฑบาตรจากพญานาคชื่อเข้ม ซึ่งคงสอนวิธีการสร้าง ‘ไข่พญานาค’ สืบสานประเพณีโบราณดั้งเดิมสืบต่อกันมา ต่อมารับเลี้ยงเด็กกำพร้าสามคนจนเติบใหญ่ แต่อุบัติเหตุคร่าชีวิตคนหนึ่งจมน้ำเสียชีวิต อีกคนหนึ่งเลยหนีหายตัวไป หลงเหลือแต่คาน ส่งไปร่ำเรียนถึงกรุงเทพฯ

สำหรับบั้งไฟพญานาคปีนี้ หลงเหลือเพียงคานกับหลวงพ่อโล่ห์เท่านั้นที่ล่วงรู้จักสถานที่วางไข่ใต้น้ำ แต่เมื่อชายหนุ่มยืนกรานว่าจะไม่ขอโกหกหลอกลวงผู้อื่นอีกแล้ว จึงหลงเหลือเพียงหลวงพ่อแก่ๆ เรี่ยวแรงไม่ค่อยมี หนำซ้ำยังเกิดอาการป่วยไข้ป่าต้องให้น้ำเกลือ แบบนี้มันจะ…

บอกตามตรงว่าผมไม่เห็นความเป็นพระของตัวละครนี้เลยนะ ชายผู้สวมใส่ห่มจีวร กลับไม่ได้มีสงบ สำรวม น่ายกย่องนับถือประการใด การกระทำก็แบบว่า … แต่มองในมุมของท่านก็ไม่ถือว่าเป็นการโกหกหลอกลวง ผิดศีลหรอกนะ คือกุโศบายเพื่อให้ชาวพุทธเกิดความเลื่อมใสในพุทธศาสนา กระนั้นยุคสมัยปัจจุบันนี้ ผู้คนพยายามค้นหาคำอธิบายจับต้องได้ ซึ่งถ้าการกระทำนี้ได้รับการเปิดโปงเบื้องหลังออกมา มันคงน่าผิดหวังสิ้นเสื่อมศรัทธาลงไปไม่น้อย การเปิดเผยข้อเท็จจริงอาจคนยังจะยินยอมรับได้มากกว่า

การแสดงของ นพดล น่าประทับใจระดับหนึ่ง พระบ้านๆที่ไม่ค่อยต่างจากสามัญชนสักเท่าไหร่ คงเพราะภาพลักษณ์เสียมากกว่าที่ดูเป็นผู้ใหญ่มีวัยวุฒิน่านับถืออยู่บ้าง

บุญชัย ใจลิ่ม ชื่อเล่น เปี๊ยก เรียนสถาปัตย์ จุฬาฯ ได้รับการติดต่อจากพี่เก้ง อ่านบทสนใจเลยรับเล่น เรื่องแรกเรื่องเดียวแล้วออกจากวงการ กลับมาช่วยงานธุรกิจที่บ้าน ไปเรียนต่อ MBA ประเทศจีน กลับมาเปิดบริษัทส่วนตัว

รับบทนรติ (นร แปลว่า คน, รติ แปลว่า ความยินดี ชอบใจ กำหนด รักใคร่) ดูเป็นคนไม่เอาอ่าวสักเท่าไหร่กลับได้หมั้นหมายกับครูอลิศ จบหมอทำให้ครุ่นคิดแบบวิทยาศาสตร์ ต้องการค้นหาคำตอบของสาเหตุผลการเกิดบั้งไฟพญานาค แต่ก็ถูกใครบางคนทำให้อับอายขายขี้หน้า สังคมรุมต่อต้าน แล้วยังไงละ!

ตัวละครนี้ถือเป็นตัวแทนของ ‘วิทยาศาสตร์’ ที่แม้มีความก้าวหน้าทันสมัย แต่ยังไขปริศนาความลับจักรวาลได้เพียงเสี้ยวส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง ซึ่งการแสดงออกลุกลี้ลุกรน เมาปลิ้นเละเทะ ดูเป็นคนพึงพาอะไรไม่ค่อยได้เท่าไหร่ ก็ชัดเจนว่ายังมีอีกมากอย่างที่ต้องครุ่นค้นหาความจริงต่อไป, นี่ไม่รู้ตัวจริงของบุญชัย (ตอนนั้น) เป็นคนแบบนี้เลยหรือเปล่านะ แต่ภาพลักษณ์ลูกคุณหนูบ้านรวยนี่ใช่เลยละ สำออย สำอาง จนสำลักอิสรภาพของตนเอง

ธิดารัตน์ เจริญชัยชนะ ชื่อเล่นตี้ เรียนสถาปัตย์ จุฬาฯ ได้รับการชักชวนจากพี่เก้งเช่นกัน เล่นหนังเรื่องแรกเรื่องเดียวออกมาเป็นดีเจจัดรายการวิทยุ ต่อด้วยนักแปลวรรณกรรมเยาวชน ปัจจุบันแต่งงานแล้ว สามีเป็นนักเขียนเจ้าของนามปากกา บัวไร

รับบทอลิศ (in Wonderland) รู้จักสนิทสนมกับคาน เติบโตมาด้วยกัน ล่วงรู้แม้กระทั่งความคิดว่าชื่นชอบตนเอง แต่ไม่รู้ทำไมถึงเลือกหมั้นหมายกับนรติ (ประชดรัก?)

อาชีพครูจำเป็นอย่างยิ่งต้องสั่งสอนนักเรียนตามตำรา ภายในกฎกรอบระเบียบสังคมที่มีมา นั่นสะท้อนถึงตัวละครเพศหญิง ต่อให้อยากเป็นโบยบินอิสระ แต่วิถีคนไทยสมัยนั้นเป็นไปได้ที่ไหน อย่างน้อยการเลือกแต่งงานกับชายสวมแว่น ดูเฉลียวฉลาด เป็นนักวิทยาศาสตร์ คงทำให้ชีวิตก้าวไปข้างหน้าได้สักหน่อย

แถมให้กับนักแสดงผู้สร้างสีสันสุดๆเลยคือ บุญศรี ยินดี (เกิด พ.ศ. ๒๔๘๔) หรือป้าแดง นักแสดงประกอบชาวไทย หลังจากหนังเรื่องนี้ ได้รับงานชุกเลยละ รับบทป้าออง … ผมขอเรียกว่า ‘Encyclopedia’ ผู้ล่วงรู้ขนบวิถี ความเชื่อโบราณของชาวไทย อาทิ เอาช้อนสแตเลสตักน้ำตาลแล้วมดมันจะหนี, มะเขือเทศหั่นถูกคราบสกปรก, ฝนตกตัดผมให้เอาไปเผา (อันนี้ฟังไม่รู้เรื่องว่าเพื่ออะไร), แมวฉี่เอามะกรูดบีบ (คงเพื่อให้มันไม่ฉี่ตรงนั้นอีก) ฯ

ถ่ายภาพโดย สมบูรณ์ พิริยะภักดีกุล ปัจจุบันเป็นอาจารย์ และเจ้าของบริษัท ไลท์เฮาส์ ฟิล์ม เซอร์วิส ซึ่งเป็นธุรกิจให้เช่าอุปกรณ์ถ่ายทำภาพยนตร์, ผลงานภาพยนตร์ก็มักร่วมกับพี่เก้ง อาทิ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๔๕), ห้าแพร่ง (พ.ศ. ๒๕๕๒), รถไฟฟ้า มาหานะเธอ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ฯ

ลักษณะของงานภาพ แต่ละช็อตความยาวไม่มาก (คงจะรับอิทธิพลจากการทำงาน Music Video, สป็อตโฆษณา) มุ่งเน้นเก็บรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ แล้วไปเล่นลีลากับการร้อยเรียงจังหวะตัดต่อ ให้มีความรวดเร็วฉับไว เร้าใจ หลายครั้งกวนประสาท!

ส่วนใหญ่ของหนังถ่ายระยะประชิดใกล้ตัว Medium Shot ไปถึง Close-Up (นี่อาจแฝงนัยยะถึงเรื่องราวใจความของหนัง มีความใกล้ตัวคนไทยมากๆก็เป็นได้นะ) ส่วนระยะภาพไกลๆก็มักตอน Establish Shot หรือริมฝั่งโขง รอคอยการมาถึงของบั้งไฟพญานาค

ผมชื่นชอบช็อตสุดท้ายของหนังมาก มุมเงยระยะ Close-Up ใบหน้าของโอ อนุชิต เชิดหน้าเหม่อมองขึ้นมองท้องฟ้า บั้งไฟพญานาคที่ใครก็ไม่รู้จุด นัยยะถึงอนาคตอะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ตัดต่อโดย ปาน บุษบรรณ เห็นร่วมงานกับพี่เก้งสองครั้ง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๔๕) กับ มหา’ลัยเหมืองแร่ (พ.ศ. ๒๕๔๘), ล่าสุดคือหนึ่งในผู้ถือหุ้น GDH 559

หนังไม่ได้เล่าเรื่องผ่านมุมมองตัวละครใดหนึ่ง แต่ใช้ระยะเวลาที่เข้าใกล้ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ร้อยเรียงเหตุการณ์ต่างๆของ ๓ – ๔ ตัวละครหลัก ประกอบด้วน – คาน กลับมาบ้าน ไปวัด ทำงาน เมาเหล้า ฯ – หลวงพ่อโล่ห์และลูกศิษย์วัด กำลังง่วงกับการทำไข่พญานาค และขณะหลวงพ่อป่วย มีการหวนระลึกอดีต Flashback สร้างความแตกต่างด้วยภาพขาว-ดำ อีกครั้งหนึ่งก็ก่อนจะดำน้ำลงไปวางไข่ – หมอนรติ ง่วงกับงานวิจัย รักษาคนป่วย – บางครั้งก็ ดร.สุรพล (สมชาย ศักดิกุล) ครุ่นคิดสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถกลายเป็นบั้งไฟพญานาคขึ้นมาได้

ความจัดจ้านของการตัดต่อ คือจังหวะที่มีความรวดเร็วฉับไว โดยเฉพาะช่วงอารัมภบท ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของปีที่แล้ว สร้างความตื่นตระการตาให้ผู้ชมอย่างมาก

แต่ที่ผมชื่นชอบสุดของการตัดต่อ คือ Dynamic Cut ขณะอธิบายทฤษฎีของหมอนรติ และดร.สุรพล ที่จะมีการแทรกร้านตัดผม (แคะขี้หู น้อมรับฟัง) ลุกขึ้นมาชี้นิ้วอธิบายเปรียบเทียบกับอ่างปลา และอีกครั้งคือแม่ค้าขายผลไม้ หวังว่าคนไม่จบปริญญาจะสามารถฟังรู้เรื่องเข้าใจได้

เพลงประกอบโดย อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ นักแต่งเพลงยอดฝีมือชาวไทย กรรมการผู้จัดการ/Music Direction บริษัท ไวด์แอทฮาร์ท จำกัด, ผลงานเด่น อาทิ ฟ้าทะลายโจร (พ.ศ. ๒๕๔๓), สตรีเหล็ก (พ.ศ. ๒๕๔๓), มนต์รักทรานซิสเตอร์ (พ.ศ. ๒๕๔๔), แฟนฉัน (พ.ศ. ๒๕๔๖) ฯ

งานเพลงมีลักษณะช่วยแต่งเติมเสริมบรรยากาศ สร้างสัมผัสทางอารมณ์ให้กับช่วงขณะนั้นๆ มีความหลากหลายตั้งแต่ สนุกสนานครื้นเครง (ตอนวันงาน), ลึกลับพิศวง, ขนลุกน่าอัศจรรย์ใจ, อดีตที่แสนงดงาม, และอนาคตแห่งความหวัง

ไคลน์แม็กซ์นาทีสุดท้ายของหนัง คือช่วงเวลาทรงพลังที่สุดของบทเพลง ส่วนผสมระหว่างดนตรีไทยกับสากล แต่ที่แย่งซีนไปเต็มๆคือเสียงซอ มอบสัมผัสอันลุ่มลึก สั่นสะท้าน น่าอัศจรรย์ใจเสียเหลือเกิน, นัยยะของการผสมผสานเครื่องดนตรีไทย-สากล มีความชัดเจนมากๆถึงจุดยืนของหนัง อยู่กึ่งกลางระหว่างสองสิ่ง

ศรัทธา ฤา เหตุผล แต่งเนื้อร้องโดย เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์, ทำนองโดย นิมิต พิพิธกุล, ขับร้องโดย สุภัทรา โกราษฎร์ (อินทรภักดี)

คนเรายุคสมัยนี้มักถูกบีบบังคับให้ต้องเลือกระหว่างซ้าย-ขวา ดี-ชั่ว ถูก-ผิด ศาสนา-วิทยาศาสตร์ ขั้วการเมืองหนึ่งใดเท่านั้น ซึ่งเมื่อตัดสินใจไปแล้วก็จะถูกกีดกันจากอีกฝ่ายโดยสิ้นเชิง หรือพอเปลี่ยนข้างมักถูกกล่าวหาว่ากลับกลอกปอกลอก ‘นกสองหัว’

ลักษณะเช่นนั้นมักสร้างความอึดอัด คับข้อง ทุกข์ทรมานใจให้กับบุคคลผู้ไม่สามารถครุ่นคิดหาหนทางออก เพราะหนึ่งก็สำคัญจำเป็นแต่สองนั้นถูกต้องสมควร เฉกเช่นนี้แล้วจะให้ทำอย่างไรละ!

พุทธศาสนา ได้ให้คำแนะนำสอนสั่งไว้อย่างถูกต้องดีงามแล้ว คือการปลดปล่อยวางความครุ่นคิดยึดติด เมื่อซ้ายไม่ได้ ขวาก็ไม่ได้ เฉกเช่นนั้นจงเลือกทางสายกลาง มิต้องไปสนคำหมูหมากาไก่ ‘เอ็งไม่ได้เลือกฝั่งข้า ก็ไม่ใช่พวกข้า’ พวกที่มีโลกทัศนคติเช่นนั้น ย่อมมิใช่คนดีอะไร สูญเสียพรรคเพื่อนแบบนั้นไปบ้างก็ได้ จักทำจิตใจเราสงบผ่อนคลายลง

ครานี้มันจะมีประเด็นอย่าง ถ้าผู้มีพระคุณล้นฟ้าอย่างบิดา/มารดา กระทำในสิ่งผิดชั่วร้าย แล้วพยายามโน้มน้าวชักจูงให้คล้อยตามทั้งๆที่จิตใจต่อต้าน ถ้าเราบอกปัดปฏิเสธไม่ยินยอม เฉกเช่นนั้นจักถือว่าคือผู้ ‘อกตัญญู’ หรือไม่? ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจความหมายของ กตัญญู-กตเวที เสียก่อน

กตัญญู คือ ความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว้ เป็นคุณธรรมคู่กับกตเวที คือ การตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่นทำไว้นั้น, บุญคุณที่ว่านี้มิใช่ว่าตอบแทนกันแล้วก็หายกัน แต่หมายถึงการรำลึกถึงพระคุณที่เคยให้ความอุปการะแก่เราด้วยความเคารพยิ่ง เมื่อรู้พระคุณแล้วก็ตอบแทนพระคุณท่าน มีความคิดเช่นนี้อยู่ภายในใจอย่างต่อเนื่อง และแสวงหาโอกาสทำหน้าที่ตอบแทนบุญคุณท่านอย่างไม่รู้ลืม

เฉกเช่นนั้นแล้วความหมายของการ อกตัญญู แท้จริงนั้นไม่ใช่ที่การกระทำแต่คือความรู้คุณ ถ้าจิตใจเรายังคงสำนึกในทุกสิ่งที่เคยได้รับมา แต่ขณะนั้นมิสามารถตอบแทน หรือการกระทำนั้นเป็นสิ่งชั่วร้ายเลวทราม ไม่ถูกต้องเหมาะสม จึงไม่ถือว่าเกิดความ อกตัญญู ขึ้นภายในจิตใจ

คนอีกประเภทหนึ่งที่พบเห็นได้บ่อย คือพวกชอบ ‘ทวงหนี้บุญคุณ’ นี่คือคำพูดแสดงความเห็นแก่ตัวมากๆ พยายามครอบงำ เรียกร้องอ้างสิทธิ ตักตวงผลประโยชน์คืนกลับสู่ตนเอง บุคคลประเภทนี้มักหมดสิ้นคุณความดีงามตั้งแต่เอ่ยปากขอแล้ว

“บุญคุณที่เขามีต่อเรา มันหมดสิ้นไปตั้งแต่เขาทวงบุญคุณจากเราแล้ว”

เรื่องของความกตัญญูกตเวที เป็นสิ่งเราไม่ควรคาดหวัง พูดบอก เรียกร้อง หรือทักทวงถาม ปล่อยให้เป็นเรื่องสามัญสำนึก/บุญกรรม คือถ้าเขาสามารถตระหนักรับรู้ครุ่นคิดได้ ก็จักแสดงออก ตอบแทนให้เห็นเอง นั่นถือว่าได้บุญบารมีทั้งขึ้นทั้งล่อง (ทั้งผู้มีพระคุณและตอบแทนคุณ)

ความที่สังคมไทยเรามักเสี้ยมสอนลูกหลานให้รู้จักการ ‘กตัญญูกตเวที’ แต่ก็มักมีความเข้าใจผิดๆ เรียกร้อง เอาเปรียบ บีบบังคับ นั่นจักสร้างความอึดอัด คับข้อง รำคาญใจ กลายเป็นหมกมุ่นเครียดคลั่ง ทำอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ชีวิตจมปลักไม่ก้าวหน้า แทนที่จะได้บุญกลับกลายเป็นเวรกรรมต่อกันเสียอีกนะ

คาน ชื่อตัวละครที่ภาษาไทยกลางหมายถึง – (นาม) ไม้สำหรับหาบ หรือหามสิ่งของทำด้วยไม้ไผ่ หรือไม้จริง มักเหลาให้ตรงกลางป่องหัวท้ายเรียวเล็ก. – (นาม) โครงสร้างส่วนล่างของอาคารสำหรับยึดเสา และรองตงทำด้วยไม้ เป็นต้น, ในเรือนไทยภาคกลางเรียกคานที่สอดผ่านทะลุเสาด้านสกัดว่า รอด, ไม้ทำอย่างรอดสำหรับรองรับของหนัก. – (กริยา) รองรับไว้. – (กริยา) ถ่วงน้ำหนัก. เช่น คานอำนาจ

แซว: ผมนึกถึงสำนวน ‘ขึ้นคาน’ มากกว่านะ

จากความหมายของคำว่าคาน มีนัยยะสะท้อนถึงตัวละคร บุคคลผู้อยู่กึ่งกลาง แบกรับทุกสิ่งอย่างไว้จนไม่สามารถปลดปล่อยวางอะไรๆลงได้ จนกว่าจะมีบางสิ่งอย่างเกิดขึ้นถึงค่อยได้รับอิสรภาพของตนเอง

๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นภาพยนตร์ที่ไม่เพียงสะท้อนวิถีชีวิตชาวไทย ประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อดั้งเดิม หรือการก้าวมาถึงของโลกทัศน์ยุคใหม่ วิทยาศาสตร์ทันสมัย เทคโนโลยีโลกาภิวัฒน์ แต่ยังคือการเรียนรู้ที่จะปรับตัวเอง ด้วยวิธีอ้างอิงจากหลักคำสอนพุทธศาสนา นั่นคือวางตัวเป็นกลาง ไม่สุดโต่งไปฝั่งใดฝั่งหนึ่ง มีประโยชน์อะไรที่จะพยายามค้นหาคำตอบ เพราะสุดท้ายจนวันตายก็อาจไม่ได้รับคืนสนอง หายใจเข้าลึกๆแล้วผ่อนคลายออกมา แค่นั้นแหละคือความสงบกายใจ สุขจริงแท้ชั่วนิรันดร์

หนังไม่มีรายงานทุนสร้าง แต่ได้ยินว่าทำเงินไปประมาณ ๕๕ ล้านบาท ถือว่าสูงใช้ได้ในยุคหลังผ่านพ้นวิกฤษต้มยำกุ้ง/ฟองสบู่แตก พ.ศ. ๒๕๔๐

เข้าชิง ๑๑ สาขา คว้ามา ๙ รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ – ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม – ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม – ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม (นพดล ดวงพร) – ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (บุญชัย ใจลิ่ม) **เข้าชิง – ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (บุญศรี ยินดี) **เข้าชิง – บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม – ถ่ายภาพยอดเยี่ยม – ลำดับภาพยอดเยี่ยม – บันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม – ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม – เทคนิคการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม

ส่วนตัวชื่นชอบหนังเรื่องนี้ ประทับใจมากๆกับการแสดงของ อนุชิต สพันธุ์พงษ์, ไดเรคชั่นของ จิระ มะลิกุล, ความบ้าระห่ำตัดต่อ และเพลงประกอบช่วงท้ายทรงพลังมากๆ หนังไทยน้ำดี … แต่ก็อยากให้ออกมาดีกว่านี้อีกนิด

ผมค่อนข้างมีปัญหากับการนำเสนอพฤติกรรมหลุดๆของบางตัวละคร (โดยเฉพาะ หมอ กับ ด็อกเตอร์) ถึงพอดูออกว่าต้องการแฝงนัยยะสุดโต่งบางอย่าง แต่มันทำให้ภาพรวมของหนังดูเหมือน ‘น็อตหลุด’ เต็มไปด้วยความบ้าๆบอๆ ทีจริง-ทีเล่น หาความสมดุลกึ่งกลางไม่ได้ซะอย่างงั้น

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” มันถึงเวลาสักพักใหญ่แล้วที่คนไทยควรเปิดโลกทัศน์ตนเอง ออกจากกะลาที่ครอบหัวไว้ นี่ไม่ใช่ภาพยนตร์ล้มล้างศรัทธาความเชื่อหรือพุทธศาสนา แต่ทำให้คุณครุ่นคิดถึงอะไรคือความจริง-เท็จ ถูกต้อง-เหมาะสม เข้าใจกาลามสูตร ๑๐ และปล่อยวางจากความยึดติด

จัดเรต ๑๓+ กับศรัทธา-ผลประโยชน์ ความเชื่อ-วิทยาศาสตร์

คำโปรย | “๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พิสูจน์ศรัทธา ท้าทายความเชื่อ รักษาวัฒนธรรมท้องถิ่น แจ้งเกิดจิระ มะลิกุล และอนุชิต สพันธุ์พงษ์”

คุณภาพ | ยอดเยี่ยม ส่วนตัว | ชื่นชอบ

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

Gravity (2013) : Alfonso Cuarón ♥♥♥♥

ผู้กำกับ Alfonso Cuarón หลังเสร็จจาก Children of Men (2006) ตั้งใจจะทำโปรเจคหนึ่งแต่ประสบความล้มเหลว แถมยังเลิกร้างรากับภรรยาคนที่สอง ทำให้เขาตกอยู่ในหายนะสิ้นหวังสุดเหวี่ยง ราวกับกำลังล่องลอยเคว้งคว้างบนห้วงอวกาศ ค่อยๆเรียนรู้ที่จะปลดปล่อยวางความทุกข์โศก เมื่อเริ่มครุ่นคิดปรับตัวเข้าใจราวกับการได้เกิดใหม่ แหวกว่าย คืบคลาน ชันเข่า ลุกยืนขึ้น และก้าวเดินสู่โลกทัศนคติใบใหม่

คนส่วนใหญ่คงไม่ครุ่นคิดอะไรมากกับ Gravity (2013) เข้าไปรับชมในโรง IMAX เพื่อสัมผัสประสบการณ์อันตื่นตราตะลึง! เมื่อพบเห็นความงดงามของโลกจากมุมมองสายตานักบินอวกาศ ล่องผ่านแหลมทองสยามประเทศด้วยช็อตหนึ่ง ถือเป็นอรรถรสภาพยนตร์สุดยิ่งใหญ่ ไม่ย่อหย่อนไปกว่าเมื่อครั้น 2001: A Space Odyssey (1968)

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

แต่ลึกๆแล้วภาพยนตร์เรื่องนี้ มีความเป็น ‘ส่วนตัว’ ของผู้กำกับ Alfonso Cuarón สูงมากๆ ทุกอย่างใน Gravity มีนัยยะสื่อความหมายในเชิงอุปมาอุปไมย ‘Metaphor’ ถึงสิ่งที่ตัวเขาประสบพบในช่วงเวลาก่อนหน้านั้นเพียงเล็กน้อย

“Gravity is also a very personal film for me because it was a film that was born out of necessity. The film came about after a project I had been preparing fell through and I was at a moment in my life in which I was experiencing one adversity after another. And that film is all about adversity. Everything that happens in the film is a metaphor for those adversities. During that time in my life, all I wanted was to put my feet on the ground; I needed an anchor”. – Alfonso Cuarón

ชีวิตเมื่อประสบคราวเคราะห์ พบเจอมรสุมอุปสรรค การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อที่จะก้าวข้ามผ่านเหตุการณ์/ช่วงเวลาดังกล่าว จำเป็นอย่างยิ่งต้องเรียนรู้ที่จะยินยอมรับ สามารถปรับทัศนคติความ’เข้าใจ’ ไม่ใช่ให้หลงลืม แต่เลือกที่จะอยู่อาศัยกับมัน เหมือนดั่งตัวละคร Dr. Ryan Stone (รับบทโดย Sandra Bullock) เมื่อเกิดหายนะพลัดหลุดจากกระสวยอวกาศ Explorer ตื่นตระหนกลุ่มร้อนรน หายใจถี่ๆจนเกือบหมดออกซิเจนหายใจ ล่องลองเคว้งคว้างอยู่ท่ามกลางอวกาศอันมืดมิด ได้รับการช่วยเหลือจาก Lieutenant Matt Kowalski (รับบทโดย George Clooney) ทั้งในเชิงรูปธรรม-นามธรรม ค่อยๆทำความเข้าใจในสัจธรรมของการปลดปล่อยวางสิ่งยึดติด และในที่สุดตั้งปฏิญาณถ้าสามารถเอาตัวรอดกลับสู่พื้นผิวแผ่นดินโลก

“I have one hell of a story to tell”.

Gravity ถือเป็นอีกหนึ่งหลักไมล์ระดับปฏิวัติวงการภาพยนตร์ ที่ถ้าคุณสามารถรับรู้เข้าใจเบื้องหลัง ความยุ่งยากซับซ้อนกว่าจะกลายมาเป็นภาพที่ปรากฎให้ได้พบเห็นรับชม ย่อมตระหนักถึงคุณค่าสำคัญ ความทุ่มเท สร้างสรรค์ของคนทำงานเบื้องหลัง ไม่ใช่แค่อัจฉริยภาพ/วิสัยทัศน์ของผู้กำกับ แต่ทุกๆฝ่ายงานไล่ตั้งแต่ นักแสดง, ตากล้อง, ออกแบบฉาก, Visual Effect, งานด้านเสียง และเพลงประกอบ มีความสมบูรณ์แบบเรียกได้ว่า Masterpiece

Alfonso Cuarón Orozco (เกิด 1961) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์สัญชาติ Mexican เกิดที่ Mexico City พ่อเป็นนักนิวเคลียร์ฟิสิกส์ ทำงานที่ International Atomic Energy Agency แห่งสหประชาชาติ ตอนอายุ 8 ขวบ โตพอได้ทันพบเห็น Neil Armstrong ก้าวย่างเหยียบบนดวงจันทร์ เกิดแรงผลักดันใฝ่ฝันอยากเป็นนักบินอวกาศ แต่ก็รู้ตัวเองศักยภาพสามารถไปไม่ถึงขั้นนั้น โตขึ้นเข้าเรียนสาขาปรัชญา National Autonomous University of Mexico ตามด้วยสร้างภาพยนตร์จาก Centro Universitario de Estudios Cinematográficos รุ่นเดียวกับผู้กำกับ Carlos Marcovich และตากล้องคู่ใจ Emmanuel Lubezki สร้างหนังสั้นเรื่องแรก Vengeance Is Mine

เริ่มต้นอาชีพในวงการด้วยฝ่ายเทคนิครายการโทรทัศน์ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้กำกับบางตอน ช่วยงานภาพยนตร์ ผลงานเรื่องแรก Sólo con Tu Pareja (1991) ได้รับความนิยมอย่างสูงใน Mexico จึงถูกรับการเรียกตัวจาก Sydney Pollack กำกับตอนหนึ่งของซีรีย์ Fallen Angels (1993-95), ต่อมาเลยได้โอกาสสร้างหนัง Hollywood เลือกดัดแปลงวรรณกรรมเยาวชนชิ้นเอกของโลก A Little Princess (1995) ได้รับเสียงตอบรับดีล้นหลามแต่กลับไม่ทำเงินเท่าไหร่ ผลงานถัดมาเลยหวนกลับบ้านสร้าง Y Tu Mamá También (2001) ทุบสถิติหนังทำเงินสูงสุดใน Mexico แถมยังได้เข้าชิง Oscar: Best Foreign Language Film เข้าตา J.K. Rowlings เรียกตัวให้มากำกับภาคสามของ Harry Potter and the Prisoner of Azkaban (2004) แม้จะทำเงินน้อยสุดแต่น่าจะถือว่าเป็นภาคดีที่สุด, และผลงานล่าสุดคือ Children of Men (2006) ได้เข้าชิง Oscar 3 สาขา (Best Cinematography, Best Edited, Best Adapted Screenplay)

สำหรับ Gravity ผู้กำกับ Alfonso ร่วมงานกับลูกชายคนแรก Jonás Cuarón (เกิดปี 1981) ที่ถูกพ่อปลุกปั้นให้เป็นนักแสดงตั้งแต่ Sólo con Tu Pareja (1991), A Little Princess (1995), ทีแรกก็ไม่ได้ใคร่สนใจตามรอยเท้าสักเท่าไหร่ ตั้งใจโตขึ้นจะกลายเป็นนักเขียน จนกระทั่งเมื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้รับแรงกระตุ้นจากแฟนสาว จบออกมากำกับหนังเรื่องแรก Año uña (2007) ได้แรงบันดาลใจจาก La Jetee (1962)

ขณะนั้น Jonás พัฒนาบทหนังเรื่อง Desierto นำไปให้พ่ออ่านเพื่อหวังจะได้รับคำวิจารณ์/แนะนำ แต่ไปๆมาๆกลายเป็นว่า

“I really like this concept. I’d like to do something like that”.

แต่ Alfonso ก็ไม่ได้จะขโมยบทหนังของลูกชาย พวกเขาร่วมกันพัฒนาเรื่องราวขึ้นใหม่ ในความสนใจเกี่ยวกับการสำรวจอวกาศ หายนะนอกโลก [รับอิทธิพลจากภาพยนตร์เรื่อง Marooned (1969)] คงไว้เพียงแนวคิดบางอย่างเท่านั้น, ซึ่งหลังเสร็จงานเรื่องนี้ Jonás ถึงมีเวลาไปสร้าง Desierto (2015) เข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Toronto คว้ารางวัล FIPRESCI Prize

กระสวยอวกาศ Explorer นำโดย Lieutenant Matt Kowalski (รับบทโดย George Clooney) ทะยานสู่วงโคจรนอกโลกเพื่อทำการปรับปรุง/ซ่อมแซมกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) โดยมี Dr. Ryan Stone (รับบทโดย Sandra Bullock) ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ ออกเดินทางไปด้วยในภารกิจแรกของชีวิต

แต่โดยไม่รู้ตัว พวกเขาได้รับแจ้งการใช้ขีปนาวุธ (Missile) ทำลายดาวเทียมที่หมดอายุใช้งานของรัสเซีย ก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่จากเศษซากขยะอวกาศ โคจรรอบโลกด้วยความเร็วสูงกว่ากระสุนปืน พุ่งเข้าหากระสวยอวกาศ Explorer ได้รับความเสียหายอย่างหนัก เป็นเหตุให้ Dr. Stone หมุนเหวี่ยงหลุดล่องลอยเคว้งคว้างในห้วงอวกาศ โชคยังดีได้รับการค้นพบเจอโดย Kowalski พากลับมาที่ยานแต่ไม่มีหลงเหลือใครรอดชีวิต จำเป็นต้องเสี่ยงเดินทางต่อไปยังสถานีอวกาศใกล้เคียง International Space Station (ISS) ขึ้นยานของรัสเซีย Soyuz และเดินทางต่อไปยังสถานีของจีน Tiangong ขึ้นกระสวย Shenzhou เพื่อหวนกลับคืนสู่ชั้นบรรรยากาศโลก

สำหรับบทนำ แรกสุดเลยที่สตูดิโอ Universal Pictures ติดต่อไว้คือ Angelina Jolie แต่โปรเจคถูกขึ้นหิ้งไว้นานจนเธอขอถอนตัวออกไป ตามด้วย Natalie Portman เห็นว่าได้ตอบตกลงแล้ว แต่พอรู้ตัวว่าครรภ์คิดว่าไม่เหมาะแน่ นักแสดงอื่นๆ อาทิ Rachel Weisz, Naomi Watts, Marion Cotillard, Abbie Cornish, Carey Mulligan, Sienna Miller, Scarlett Johansson, Blake Lively, Rebecca Hall, Olivia Wilde, ก่อนมาลงตัวที่ Sandra Bullock

Sandra Annette Bullock (เกิดปี 1964) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Arlington, Virginia แม่เป็นนักร้องโอเปร่าสัญชาติเยอรมัน วัยเด็กเลยมักติดตามไปออกทัวร์ เติบโตขึ้นที่ Nuremberg, Vienna, Salzburg พูดภาษาเยอรมันได้คล่องแคล่ว วัยรุ่นกลับมาอเมริกา เข้าเรียนสาขาการแสดงที่ East Carolina University จบออกมาเป็นนักแสดงละครเวที Off-Broadway เข้าตาผู้กำกับ Alan J. Levi ชักชวนมาแสดงภาพยนตร์โทรทัศน์ Bionic Showdown: The Six Million Dollar Man and the Bionic Woman (1989), เริ่มมีชื่อเสียงจาก Demolition Man (1993), Speed (1994), Miss Congeniality (2000), Crash (2004), คว้า Oscar: Best Actress เรื่อง The Blind Side (2009) ฯ

รับบท Dr. Ryan Stone วิศวกรรมการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเครื่องยนต์กลไก แต่กลับขับกระสวยยานอวกาศไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่, เธอเป็นคนติดอยู่ในโลกของตนเอง คงนับตั้งแต่ลูกสาวได้รับอุบัติเหตุเสียชีวิตก่อนวัย เลยท้อแท้หมดอาลัยอยู่ไปวันๆแบบไม่ค่อยสนอะไรอื่น ตัดสินใจเป็นนักบินอวกาศคงคิดหวังนำพาตนเองปลีกหลีกหนีทุกสิ่งอย่างไปให้ไกลแสนไกล แต่เธอกำลังจะได้รับบทเรียนครั้งสำคัญ เรียนรู้การปลดปล่อยวาง และคุณค่าความสำคัญของการยังคงมีชีวิตอยู่

Bullock ตบปากรับคำเล่นหนังเรื่องหนังหลังจากหย่าขาดสามี Jesse James เพียงไม่กี่เดือน (เรียกว่าพบเจอชะตากรรมเดียวกับ Cuarón) อ่านบทแล้วคงรู้สึกสะท้อนเข้ากับหายนะชีวิตของตนเองในช่วงขณะนั้น

“My situation was somewhat like the situation the character was in. There’s no one around, you’re frustrated, nothing works, you’re in pain, you’re lonely, you want someone to fix everything for you but they can’t – all those things I was feeling.”

ทีแรกคาดคิดว่าถ่ายทำไม่นานคงเสร็จสิ้น แต่ไปๆมาๆก็ลากยาวเกือบๆปีมั้งนะ แค่ตระเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับห้อยต่องแต่งบนสลิงก็ 6 เดือนเข้าไปแล้ว ถ่ายทำวันหนึ่งประมาณ 10 ชั่วโมง ไหนยังต้องจดจำทุกท่วงท่าการเคลื่อนไหวให้ได้อย่างแม่นยำ เพราะบางฉาก Long Take ยาวสิบๆนาที ผิดพลาดเพียงเล็กน้อยก็ต้องเริ่มต้นใหม่หมด

เกร็ด: Bullock ต้องเข้าหานักกายภาพบำบัดอยู่บ่อยครั้ง เพื่อปรับร่างกายให้คืนสภาพเดิม

สีหน้าอารมณ์ก็อย่างหนึ่ง แต่สิ่งที่ต้องยกย่องปรบมือให้ Bullock คือศักยภาพทางร่างกายของเธอ ก็ขนาด James Cameron เปรียบเทียบกับการแสดงของนักกายกรรม Cirque du Soleil

“She’s the one that had to take on this unbelievable challenge to perform it. (It was) probably no less demanding than a Cirque du Soleil performer, from what I can see. There’s an art to that, to creating moments that seem spontaneous but are very highly rehearsed and choreographed. Not too many people can do it. … I think it’s really important for people in Hollywood to understand what was accomplished here”.

เกร็ด: เนื่องด้วยความสำเร็จอันล้นหลามของหนัง The Hollywood Reporter ประเมินว่า Bullock น่าจะได้รับค่าตัว+โบนัส ไม่น่าน้อยกว่า $70 ล้านเหรียญ (ถือเป็นนักแสดงหญิงค่าตัวสูงสุดขณะนั้นเลยก็ว่าได้)

George Timothy Clooney (เกิดปี 1961) นักแสดง/ผู้กำกับ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Lexington, Kentucky พ่อของเขา Nick Clooney เป็นนักข่าวจัดรายการโทรทัศน์ประจำ AMC Network เลี้ยงดูนับถือ Roman Catholic อย่างเคร่งครัด วัยเด็กชื่นชอบเล่นเบสบอล บาสเกตบอล เข้าเรียน Northern Kentucky University สาขาสื่อสารมวลชน แต่เหมือนจะเรียนไม่จบออกมาทำงาน เป็นเซลล์แมน จับพลัดพลูกลายเป็นตัวประกอบมินิซีรีย์ Centennial (1978) เลยเลือกเอาดีทางด้านนี้, ผลงานสร้างชื่อคือซีรีย์ ER ระหว่างปี 1994-99, ภาพยนตร์สร้างชื่อ From Dusk till Dawn (1996), Batman & Robin (1997), The Perfect Storm (2000), O Brother, Where Art Thou? (2000), แฟนไชร์ Ocean’s, คว้า Oscar: Best Supporting Actor เรื่อง Syriana (2005) ฯ

รับบท Lieutenant Matt Kowalski กัปตันกระสวยอวกาศ Explorer ด้วยประสบการณ์บินสูงลิบลิ่วจนใกล้ทำลายสถิติ ตั้งใจจะรีไทร์หลังสิ้นสุดภารกิจนี้ เลยบินเที่ยวเล่น เล่าเรื่องตลกฮาเฮ สร้างบรรยากาศครึกครื้นเครงในการทำงาน แต่เมื่ออุบัติเหตุอันไม่คาดฝันเกิดขึ้น ออกติดตามให้ความช่วยเหลือ Dr. Ryan Stone และเสียสละตนเอง เพื่อให้เธอสามารถเริ่มต้นนับหนึ่งมีชีวิตใหม่

ก่อนมาลงเอยที่ Clooney มีนักแสดงชื่อดังมากมายที่พัวพันกับบท อาทิ Robert Downey Jr., Daniel Craig, Tom Cruise, Tom Hanks, Harrison Ford, John Travolta, Bruce Willis, Russell Crowe, Kevin Costner, Denzel Washington ฯ

ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม Clooney ถึงตบปากรับคำแสดงหนังเรื่องนี้ อาจเพราะความสนิทสนมรู้จักกับ Bullock มาตั้งแต่สมัยเรียน กลับยังไม่เคยมีโอกาสร่วมงานกันสักครั้งหนึ่ง แม้ว่าการห้อยโหนบนสลิงจะสร้างความเจ็บปวดรวดร้าวให้เขาอย่างมาก เพราะตอนถ่ายทำ Syriana (2005) เคยได้รับอุบัติเหตุเกี่ยวกับหลังอย่างรุนแรง (จนเคยครุ่นคิดอยากฆ่าตัวตาย) แม้เพียงระยะเวลาสามสัปดาห์ แต่เทียบกับ Bullock ที่ห้อยเป็นปีๆ แค่นี้สำหรับเขาคงเรื่องจิ๊บๆกระมัง

บทบาทของ Clooney แทบจะสะท้อนนิสัยของเขาเลยนะ มาแบบเล่นๆยียวนกวนประสาท แต่ถือว่าคือบุคคลผู้เป็นแรงกระตุ้นผลักดันให้นางเอก สามารถคืบคลานลุกขึ้นก้าวเดินต่อไปในชีวิตได้ และไม่ใช่แค่ทางกายภาพเท่านั้น ฉากที่เหมือนเป็นผี/จินตนาการเข้ามาในกระสวย พูดคำแนะนำปลุกให้ฟื้นตื่น นั่นเป็นข้อเสนอแนะของพี่แกเองเลย เพราะ Cuarón ยังขบคิดไม่ออกว่าจะสร้างแรงผลักดันอย่างไรให้ตัวละคร ผลลัพท์ฉากนั้นออกมาถือว่าเกินความคาดหมายจริงๆ

Ed Harris มารับเชิญด้วยเสียงปลายสาย Mission Control Station, Houston นี่ย่อมเป็นความจงใจล้วนๆ เพราะพี่แกเล่นหนังเกี่ยวกับอวกาศมาแล้วถึงสองเรื่อง The Right Stuff (1983) และ Apollo 13 (1995)

ถ่ายภาพโดย Emmanuel Lubezki หรือ Chivo ตากล้องยอดฝีมือสัญชาติ Mexican เพื่อนสนิทร่วมรุ่นเดียวกับ Cuarón เจ้าของสามรางวัลติด Oscar: Best Cinematography ประกอบด้วย Gravity (2013), Birdman or (The Unexpected Virtue of Ignorance) (2014), The Revenant (2015) ผลงานเด่นอื่นๆ Sleepy Hollow (1999), The New World (2005), Children of Men (2006), The Tree of Life (2011) ฯ

จริงๆแล้วสไตล์ถนัดของ Chivo คือการใช้แสงจากธรรมชาติ เลือกทิศทาง มุมกล้อง Long Take ถ่ายทอดออกมาได้อย่างสวยงาม ‘Groundbreaking’ แต่สำหรับ Gravity มีเพียงฉากสุดท้ายเท่านั้นที่ถ่ายยังสถานที่จริง นอกนั้นคุดคู้อุดอู้อยู่ในสตูดิโอ Shepperton Studios และ Pinewood Studio ประเทศอังกฤษ [คาดว่าเพราะ 2 เหตุผล 1) ค่าใช้จ่ายถูกกว่า Hollywood 2) Cuarón ย้ายบ้านไปอยู่ London]

คำถามคือ หนังแทบทั้งเรื่องอยู่บนอวกาศ เช่นนั้นแล้วจะถ่ายทำอะไร? ข้อสรุปของ Lubezki และ Tim Webber ผู้ควบคุมงานสร้าง Visual Effects ให้คำตอบง่ายๆว่า

“We decided to shoot (the actors’) faces and create everything else digitally”.

เริ่มต้นด้วยการสร้าง CG คร่าวๆของหนังทั้งเรื่อง เพื่อให้พบเห็นว่าจะถ่ายทำนักแสดงในมุมมองทิศทางเช่นไร แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอยู่ดี เพราะความต้องการของ Cuarón ประกอบด้วย – กล้องหรือนักแสดงต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา – ไร้ซึ่งทิศทาง บน/ล่าง พื้น/เพดาน เพราะในอวกาศวัตถุสามารถหมุนล่องลอย 360 องศา – และเพื่อให้เกิดสัมผัสความต่อเนื่อง ถ่ายทำแบบ Long Take โดยเฉลี่ย 45 วินาที นานสุดคือเกือบๆ 13 นาที! (รวมแล้วหนังทั้งเรื่อง 90 นาที มีเพียง 156 ช็อต)

เทคโนโลยีปัจจุบันนี้ ได้สร้างแขนหุ่นยนต์ที่สามารถขยับเคลื่อนไหว หมุนรอบ 360 องศา ควบคุมการทำงานจากแผง หรือเขียนโปรแกรมกำหนดทิศทาง-เวลา อย่างเปะๆเลยก็ยังได้, แต่ในมุมมองของ Lubezki สิ่งที่เขาสนใจมากสุดคือ แสงอาบลงบนใบหน้านักแสดง เหตุผลหลักๆคงเพื่อลดทอนงานของ Visual Effect (ถ้าใครเคยเรียนทำ 3 มิติ จะรู้ว่าการเรนเดอร์แสง เป็นอะไรที่ยุ่งยากวุ่นวาย และที่สำคัญคือช้ามากๆ ยิ่งแหล่งกำเนิดแสงเยอะๆวินาทีนึงอาจเป็นวัน-เดือนเลยกว่าจะเสร็จ)

ความยุ่งยากอยู่ที่ – เมื่ออยู่บนอวกาศ มันไม่ว่าจุดกำเนิดแสงมาจากดวงอาทิตย์เท่านั้น จากพื้นผิวบนโลกโดยเฉพาะยามค่ำคืน แสงไฟเมืองใหญ่ๆมองเห็นได้จากอวกาศ – เวลากล้องเคลื่อนไหล หรือนักแสดงลอยเคว้งคว้าง ทิศทางของแหล่งกำเนิดแสงจะเปลี่ยน – แถมด้วยหมวกของนักบินอวกาศ เป็นกระจกใสสะท้อนแสงเสียด้วยนะ

สิ่งประดิษฐ์ที่ Lubezki ครุ่นคิดสร้างขึ้น ตั้งชื่อว่า Light Box เป็นกล่องลูกบาศก์ กว้างยาว 10 ฟุต สูง 20 ฟุต รอบด้านรายล้อมด้วยจอภาพหลอด L.E.D. ปริมาณ 4,096 ชิ้น (จอภาพ 196 แผง) นักแสดงเข้าไปยืนข้างใน แล้วให้แสงจากจอเคลื่อนหมุนตามทิศทางเรื่องราวของมัน

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ในส่วนของการทำ 3D คงต้องถือว่าเป็น ‘หนังที่สามารถใช้ประโยชน์จากภาพสามมิติได้อย่างงดงามคุ้มค่าที่สุด’ เหนือชั้นกว่า Avatar (2009) อยู่หลายเท่าตัวนัก โดยเฉพาะการล่องลอยเคว้งขว้างของวัตถุ ตัวละคร หยาดน้ำตา หรือการกวัดแกว่งหมุน 360 องศา พบเห็นระยะใกล้-ไกล แบ่งชั้นเป็นมิติได้อย่างตื้นลึกหนาบาง (นี่ต้องโรงภาพยนตร์สามมิติเท่านั้น ถึงจะพบเห็นอรรถรสดังกล่าว)

ตัดต่อโดย Alfonso Cuarón กับ Mark Sanger, ใช้มุมมองการเล่าเรื่องของ Dr. Ryan Stone และมีเพียงครั้งเดียวที่แทรกภาพในความฝัน/จินตนาการเข้ามา แต่ก็ทำเป็น Long-Take ให้ผู้ชมฉงนเล่นๆว่า Lieutenant Matt Kowalski หายตัวไปได้อย่างไร

จริงๆผมไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่นะ หนังน้อยคัตแบบเรื่องนี้ กลับสามารถคว้า Oscar: Best Film Editing เอาชนะตัวเต็งอย่าง Captain Philips, American Hustle หรือเรื่องที่หลุดโผลไม่ได้เข้าชิงอย่าง The Wolf of Wall Street ไปได้เช่นไร?

เพลงประกอบโดย Steven Price สัญชาติอังกฤษ ก่อนหน้านี้ทำงานเป็น Music Editor ให้หนังอย่าง The Lord of the Rings Trilogy, Batman Begins (2005) ฯ ได้รับโอกาสแต่งเพลงประกอบ Attack the Block (2011), The World’s End (2013), Gravity (2013), Suicide Squad (2016), Baby Driver (2017) ฯ

อยู่ในห้องอวกาศ จริงๆแล้วควรจะไม่ได้ยินเสียงอะไร คือก็มีทั้งช่วงเวลาที่ทุกสิ่งอย่างเงียบสงัด และหลายครั้งแทรกใส่ Incidental Music (ผสม Sound Effect) ให้สัมผัสราวกับว่า มีบางสิ่งอย่างที่เป็น ‘เสียง’ ล่องลอยอยู่โดยรอบ

ไฮไลท์ของบทเพลงประกอบ ไม่ใช่แค่สัมผัสทางอารมณ์ สร้างความลุ้นระทึก บีบคั้น สั่นประสาท แต่คือการเล่นกับระยะ ทิศทาง เบา-ดังของเสียง (Sound Editing) คือถ้ารับชมในโรงภาพยนตร์จะรู้สึกแบบว่า บทเพลงมันจะล่องลอย วูบวาบ เดี๋ยวซ้าย-ขวา หน้า-หลัง บน-ล่าง สลับสับเปลี่ยนไปมาเหมือนการโลดแล่นเคว้งคว้างของตัวละครไร้ทิศทางแรงโน้มถ่วง นี่ต่อให้ลำโพงที่บ้าน Surround 5.1 6.1 7.1 ยังไงก็สู้ความสมจริงในโรงหนังไม่ได้อย่างแน่นอน

บทเพลงที่ผมชื่นชอบสุดของหนัง Aningaaq หลงใหลในความวูบวาบ สั่นพ้อง (เสียง Bullock กำลังเห่าหอน) ดั่งลมหายใจที่กำลังค่อยๆสูดเข้าลึกๆยาวๆ สัมผัสผ่อนคลาย ราวกับดวงอาทิตย์กำลังค่อยๆเคลื่อนขึ้นจากสุดปลายขอบฟ้า ทอแสงประกายส่องสว่าง มอบความอบอุ่นให้เกิดขึ้น(ภายในจิตใจ)ทีละเล็กละน้อย

แม้จะอยู่ภายในกระสวย ไม่ได้มีทิวทัศน์อันงดงามตราตะลึง แต่นี่คือช่วงเวลาที่ผมชื่นชอบสุดในหนัง เพราะ Dr. Stone กำลังค่อยๆสามารถปลดปล่อยวางทุกสิ่งอย่างหนักอึ้งภายในจิตใจลงได้ ฉันคงใกล้ถึงวาระสุดท้ายของชีวิตแล้วแน่ๆ การสื่อสารวิทยุขอความช่วยเหลือ กลับได้ยินเพียงเสียงหมาเห่าหอน จากมุมเล็กๆตรงไหนก็ไม่รู้บนโลก เต็มเปี่ยมด้วยชีวิตชีวารอยยิ้มสุขสันต์ เออเนอะ! ไม่เห็นจำเป็นต้องแบกความคิด/ความทรงจำให้วุ่นวายอะไรเลย หยาดน้ำตาไหลออกมาเป็นเม็ด ก็แค่นั้นเองสินะที่เกิดมา

จากนี้จะเป็นการวิเคราะห์ตีความหมายหลายๆของหนัง ดูสิว่ามันจะอุปมาอุปไมยเป็นอะไรได้บ้าง!

ซีนเล็กๆที่สะท้อนกับเรื่องราวของหนังได้อย่างกึกก้อง ระหว่างกำลังทำงานบ้านซ่อมแซมกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล** สองผัวเมียช่วยกันขันสกรู และมีขณะหนึ่งน็อตหลุดจากมือของ Dr. Stone (อาการน็อตหลุด คือสภาวะคลุ้มคลั่ง เสียสติแตก ควบคุมตนเองไม่อยู่) ได้รับการช่วยเหลือจาก Kowalski เอื้อมมือเก็บกลับมาได้ (นั่นแปลว่า เขาคือบุคคลผู้จะทำให้ สติสตางค์ของ Dr. Stone หวนกลับมาเป็นปกติ)

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล คืออุปกรณ์ที่สามารถถ่ายภาพระยะไกลๆให้สามารถมองเห็นชัดๆ ซึ่งการที่ Dr. Stone กำลังอัพเกรด/ซ่อมแซมอยู่ นั่นสะท้อนถึง’มุมมอง’ต่อชีวิตของเธอ ทีี่ยังคงพร่ามัว มองเห็นไม่ค่อยชัด … ซึ่งช็อตนี้มี Kowalski กำลังช่วยซ่อมอยู่ด้วยไง

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

นี่เป็นความจงใจของผู้กำกับ Cuarón สังเกตให้ดีจะพบนักบินอวกาศถือกล้องและไมโครโฟน สะท้อนอยู่ในหมวกของ Clooney เพื่อจะแซวเล่นว่า หนังถ่ายทำบนอวกาศ เลยต้องใช้นักบินอวกาศถ่ายทำ

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

กระสวยอวกาศ Explorer (แปลว่า การสำรวจ/ออกค้นหา/เอื้อมมือไขว่คว้า) ว่าไปมีลักษณะเหมือนลึงค์ (อวัยวะเพศชาย) แรกเริ่มค่อยๆเคลื่อนเข้ามาอย่างเชื่องช้า เมื่อถูกกระตุ้นด้วยขยะอวกาศ ทำให้เกิดการหมุนควงสว่าน ทุกสิ่งอย่างพุ่งกระจัดกระจายเหมือนน้ำอสุจิก็ไม่ปาน

เกร็ด: ทฤษฎี Kessler Syndrome ได้รับการเสนอแนะโดยนักวิทยาศาสตร์นาซา Donald J. Kessler เมื่อปี 1978 ถึงความเป็นไปได้ว่าอุบัติเหตุอันทำให้วัตถุขนาดเล็กบนชั้นอวกาศเคลื่อนไหวด้วยความเร็วสูง อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่จนมิอาจส่งกระสวยอวกาศออกนอกโลกได้เป็นทศวรรษ

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ในช่วงวินาทีวิกฤตคับขัน ลมหายใจเป็นสิ่งบ่งบอกสภาวะทางอารมณ์จิตใจ ถี่เร็วใช้ออกซิเจนมาก ก็แปลว่ามิสามารถควบคุมตนเองได้ ซึ่งอากาศในชุดถือว่ามีความสำคัญด้วยเพราะถือว่าปริมาณจำกัด แต่ก็น่าพิศวงที่ช่วงใกล้หมด กลับสามารถยืดเวลาขาดอากาศหายใจออกไปได้นานทีเดียว (ให้มองเป็นเชิงสัญลักษณ์ น่าจะเข้าใจง่ายกว่า)

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ทุกการผสมพันธุ์ของรังไข่+อสุจิ จำต้องมีชาย-หญิง เชื่อมโยงติดกัน (เหมือนดั่งโยโย่ กระแทกกระทั้นไปมา เปรียบได้กับการร่วมรัก/มี Sex) ซึ่งบุคคลอยู่หน้ามักคือผู้ชายเสมอคอยนำทางเสมอ

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ฉากนี้ถูกนักฟิสิกส์ตำหนิอย่างรุนแรง ว่าหาความสมจริงไม่ได้สักนิด! ประมาณว่า เชือกร่มไม่น่ารั้งแรงฉุดได้อยู่ หรือไม่ก็ถ้าพวกเขาสามารถหยุดอยู่นิ่งได้แล้ว ก็น่าจะสามารถชักรอกดึงกลับได้ แต่ในนัยยะความหมายของฉากนี้คือ ชาย-หญิงประกบร่วมรักกันไม่ได้ตลอดเวลา เมื่อเสพสมอารมณ์หมายบุรุษจำต้องถอน(อวัยวะเพศ)ออก เพื่อให้ต่างคนต่างไปใช้ชีวิตของตนเองต่อไปได้

สังเกตว่าฉากนี้ไม่ใช่ Dr. Stone ที่คนปล่อยปล่อย Kowalski เพราะเธอยังคงยึดติดแน่นอยู่กับความคิด โลกทัศนคติของตนเอง แถมยังพูดพร่ำต้องการให้ความช่วยเหลืออยู่อีกสักพักใหญ่ เป็นเขาเองที่เลือกปลดเชือกออกเสียสละตนเอง จนได้เติมเติมความฝันทำลายสถิติอยู่ในห้วงอวกาศยาวนานที่สุดของ Anatoly Solovyev

เกร็ด: สถิติของ Solovyev คือระยะเวลา’รวม’ที่อยู่นอกอวกาศยาวนานที่สุด 82 ชั่วโมง 21 นาที จากทั้งหมด 16 ครั้ง, ส่วนสถิติอยู่นอกอวกาศครั้งเดียวยาวนานที่สุด ถือร่วมโดย Susan Helms และ James Voss คือ 8 ชั่วโมง 56 นาที

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

เมื่อ Dr. Stone สามารถหาหนทางเข้ามาในสถานีอวกาศ ISS สิ่งแรกที่เธอทำคือถอดชุดอวกาศแล้วขดตัวเองให้มีลักษณะเหมือนทารกในครรภ์มารดา (สายระโยงระยาง ว่าไปก็เหมือนรกแม่อยู่นะ) นี่ก็แสดงว่าสถานีอวกาศแห่งนี้เปรียบดั่งมดลูก/ครรภ์แม่

จิตใจของ Dr. Stone ขณะนั้น เต็มไปด้วยความรวดร้าวทุกข์ทรมานแสนสาหัส ไหนจะความทรงจำจากอดีตที่สูญเสียลูกสาว หรือขณะนี้เหลือตัวคนเดียวในห้วงอวกาศอันเวิ้งว้างว่างเปล่า อยากเหลือเกินจะหวนกลับคืนสู่ครรภ์มารดา เป็นทารกน้อยบริสุทธิ์ไร้เดียงสา มิต้องรับรู้สนใจปัญหาใดๆในสากลจักรวาล

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

แต่ชีวิตยังคงต้องดิ้นรน หลังจากใช้เวลาเป็นทารกอยู่ชั่วครู่หนึ่ง รีบบึ่งทะยานมาห้องสื่อสารเพื่อติดต่อศูนย์บัญชาการ มองออกไปนอกหน้าต่างพบเห็นตาไต้ฝุ่นขนาดใหญ่ ภาพเงาลางๆของเธอปรากฎขึ้นบนกระจก สะท้อนถึงสภาวะทางจิตใจตอนนี้ ปั่นป่วนว้าวุ่นวายดั่งมรสุม มิได้มีความผิดแผกแปลก แตกต่างกันแม้แต่น้อย

ลึกๆแล้วฉากนี้ยังตีความได้ว่า ทารกน้อยในครรภ์มารดาถึงยังคงไม่รับรู้เรื่องประสีประสา แต่โลกภายนอก ปัญหาอุปสรรค มรสุมลูกใหญ่ ก็ยังคงมีอยู่มิเสื่อมคลาย การหมกตัวอยู่เฉยๆในโลกของตนเองย่อมไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้ … ซึ่งเธอเองก็กำลังจะถูกผลักไสให้ไปยังยาน Soyuz (เพราะอุบัติเหตุไฟลุกไหม้) บีบบังคับให้ต้องออกไปเผชิญหน้ากับปัญหาภายนอก (ก็เหมือนครรภ์มารดาอายุนานสุดแค่ 10 เดือน ยังไงทารกก็ต้องคลอดออกมา)

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ร่มชูชีพ มักถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของรก ที่พยายามฉุดดึงเหนี่ยวรั้งไม่ให้ยาน Soyuz หลุดออกจากมดลูก ซึ่งก็ต้องทำการตัดออกเสียก่อนถึงสามารถคลอดออกมาได้

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

จดจำคร่าวๆได้แค่ว่า หยาดน้ำตาหยดนี้ในโรง IMAX มันจะแบบว่าลอยล่องออกมานอกจอภาพยนตร์เลย แต่ผมลืมไปว่าพื้นหลังที่เห็นเบลอๆอยู่นี้ ในโรงเห็นมันชัดหรือเปล่า (หรือก็เบลอๆแบบภาพนี้)

การโฟกัสเฉพาะที่หยดน้ำตา สังเกตให้ดีๆจะพบเห็นภาพสะท้อนของตัวละครอยู่ภายใน นี่ราวกับว่าบางสิ่งอย่างในตัวเธอได้หลุดล่อยลอยออกมาด้วย หรือคือวินาทีแห่งการค่อยๆสามารถปลดปล่อยความทุกข์เศร้า อดีต/ความทรงจำอันหนักอึ้ง ให้มันล่องลอยหายลับไป

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

เรื่องราวของ Aningaaq (แปลว่า Full Moon) ชาวประมง Inuit อาศัยอยู่บนเกาะ Greenland ผู้สดับรับฟังการสื่อสารของ Dr. Stone ได้ถูกนำมาสร้างเป็นหนังสั้น กำกับโดย Jonás Cuarón แถมอยู่ใน DVD/Blu-ray

จริงๆมันก็ไม่มีอะไรเลยนะ –” เพิ่มเติมแค่คำบรรยายให้รู้เรื่องขึ้นว่าพวกเขาสนทนาอะไรกันเท่านั้นเอง

ถึงกายจะจากไป แต่ความทรงจำ จิตวิญญาณ ของคนที่เรารัก/รู้จัก ยังคงอยู่คู่กับเราไม่ห่างหาย และบางทีเวลาเราคิดถึงใครคนนั้น ก็มักจินตนาการตนเองถ้าเป็นเขาจะครุ่นคิด พูด แสดงออก กระทำเช่นไร?

เพิ่งนึกได้ว่าจำสลับกับ Interstellar ตัวละครของ Matt Damon พูดว่า ‘เวลาเรากำลังใกล้ตาย มักจินตนาการ เห็นภาพของคนที่เรารักที่สุด’ จะตีความฉากนี้ในลักษณะเช่นนั้นก็ได้ เพราะเมื่อ Dr. Stone ตั้งใจจะฆ่าตัวตาย ขณะกำลังค่อยๆเอนกาย ภาพของ Kowalski ปรากฎขึ้นในหัวสมองของตนเอง ซึ่งก็โดยไม่รู้ตัว เขากลายเป็นแรงผลักขับเคลื่อนให้เธอเกิดความตั้งใจ ‘มีชีวิต’ เป็นครั้งแรก

แซว: เป็นฉากเดียวที่เห็นใบหน้าของ Clooney แบบไม่ใส่หมวก

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

เมื่อ Dr. Stone เรียนรู้ที่จะปลดปล่อยบางสิ่งอย่างออกไปจากชีวิต/ความทรงจำ ของตนเองบ้าง เฉกเช่นเดียวกันกับกระสวยอวกาศ Soyuz ต้องกดปุ่มเพื่อแยกชิ้นส่วนออกจากกัน แล้วทำการหลอกเครื่องยนต์ว่าขณะนี้กำลังอยู่ในระยะ 3 เมตร กำลังจะแตะพื้น เพื่อให้พ่นพลังงานเฮือกสุดท้ายออกมา (นี่สื่อถึงพลังชีวิตเฮือกสุดท้ายตรงๆเลยนะเนี่ย ถ้าครั้งนี้ผิดพลาดก็ถึงคราตายได้เลย)

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

หนังได้รับการตีความถึงศาสนาเช่นกัน ตั้งแต่การพูดถึงแม่น้ำคงคา (แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู), รูปภาพนักบุญ St. Christopher (องค์อุปถัมภ์ของนักเดินทาง), รูปปั้น Budai (พระพุทธเจ้าในความเชื่อของ Zen), ชื่อสถานีอวกาศ Tiangong (แปลว่า Heavenly Palace) ฯ เหล่านี้คงเป็นการสื่อถึง เมื่อเทคโนโลยีไม่สามารถเป็นที่พึ่งพาให้แก่มนุษย์ได้ ความเชื่อศรัทธา สามารถสร้างพลังแห่งจิตวิญญาณ แรงผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย/ความสำเร็จ

เกร็ด: ตอนที่หนังออกฉาย Tiangong เป็นแค่ชื่อโมดูลเล็กๆ (ส่วนประกอบหนึ่งของสถานีอวกาศ) เพิ่งตกกลับมาชั้นบรรยากาศโลกวันที่ 2 เมษายน 2018, แต่ขณะนี้ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อโปรแกรม/สถานีอวกาศเต็มตัว คาดหวังให้กลายเป็นคล้ายๆแบบในหนังเมื่อถึงปี 2022

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ฉากนี้ถ่ายทำยัง Lake Powell, Arizona สถานที่เดียวกับนักบินอวกาศ Taylor ขับมาตกในโลกของ Planet of the Apes (1968) [โลกอนาคตที่ถูกวานรเข้ายึดครอง] และถ้าใครสังเกตหน่อยจะพบความลื่นไหลที่ดู Surreal เสียเหลือเกิน นั่นเพราะถ่ายทำด้วยกล้อง Arri 765 ฟีล์ม 65mm (ไม่ใช่ Digital นะครับ)

วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต แรกเริ่มจากใต้พื้นผิวน้ำ (พบเห็นกบแหวกว่ายขึ้นบก), เลื้อยคลานขึ้นมาเกยตื้นถึงริมหาด ไร้เรี่ยวแรงเพราะอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนักบนอวกาศเสียนาน, ค่อยๆลุกขึ้นชันเข่า, และสามารถยืนขึ้น กระดูกสันหลังตั้งฉากพื้นโลก (กลายเป็นมนุษย์/สัตว์ประเสริฐ), ก้าวย่างคือชีวิตที่สามารถเดินไปต่อ

(ชาวคริสต์จะมองฉากกระสวยตกลงในน้ำแล้วนางเอกตะเกียกตะกายว่ายขึ้นมา เทียบกับการจุ่มศีล Baptism ซึ่งหมายถึงการเกิดใหม่ได้เช่นกัน)

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

Gravity คือเรื่องราวของบุคคลผู้พานพบเจอหายนะ เต็มไปด้วยความรวดร้าวทุกข์ทรมานหนักอึ้ง จิตใจล่องลอยเคว้งคว้างไร้ที่ยึดเกาะเหนี่ยวพึงพิง ไม่สามารถปลดปล่อยวางทุกสิ่งอย่างเหล่านั้นลงได้ให้ผ่อนคลาย แต่หลังจากค่อยๆเรียนรู้จักมุมมองชีวิต คำแนะนำจากผู้อื่น ได้รับโอกาสแรงผลักดันจากใครก็ไม่รู้อยู่ เริ่มเข้าใจถึงคุณค่าความหมายการมีชีวิตอยู่ จากนั้นราวกับได้ถือกำเนิดขึ้นใหม่ วิวัฒนาการจนสามารถแหวกว่าย คืบคลาน ชันเข่า ลุกยืนขึ้น และก้าวเดินสู่โลกทัศนคติที่แตกต่าง

แต่หนังก็มีความย้อนแย้งกันอยู่ Kowalski เสี้ยมสอนให้ Dr. Stone เรียนรู้จักการปลดปล่อยวางจากบางสิ่ง เพื่อให้สามารถหวนกลับสู่แรงดึงดูดยึดติด ถึงกระนั้นเราสามารถตีความได้ว่า นี่คือการแปรสภาพของหนัง จากเรื่องราวนามธรรมบนห้วงอวกาศ กลายเป็นรูปธรรมจับต้องได้บนโลก เพราะในทัศนคติของ Alfonso Cuarón มนุษย์จำเป็นต้องมีสิ่งยึดเหนี่ยวเกาะ ‘Gravity’ ดึงดูดไว้ ไม่สามารถเคว้งคว้างเรื่องเปื่อยไร้แก่นสาน ทุกสิ่งล้วนมีเป้าหมายของมัน ถ้ามัวแต่ปล่อยตนเองล่องลอยไปวันๆ ก็เป็นเรื่องน่าเสียดายของการเกิดขึ้นมีชีวิตอยู่

นั่นถือเป็นโลกทัศนคติ ‘ความเชื่อ’ ของชาวตะวันตก ก็ตั้งแต่หลักคำสอนศาสนา พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก นั่นทำให้พวกเขาเกิดความลุ่มหลงใหล ยึดติดกับสิ่งจับต้องได้ไม่ว่าจะรูปธรรม-นามธรรม มีตัวตน-ไม่มีตัวตน พลอยสร้างอิทธิพลครอบงำ ชี้นำชักจูงชาวตะวันออกหัวอ่อนให้เห็นพ้องสอดคล้องตามไปด้วย

จริงอยู่มนุษย์จำเป็นต้องมีเป้าหมาย แต่สำหรับบุคคลผู้นับถือพุทธศาสนา ปลายทางของเราไม่ใช่การยึดเกาะติดอยู่กับอะไรบางสิ่งอย่าง แต่คือปลดปล่อยวางจากรูปกายและจิต ไร้แรงดึงดูดยึดเหนี่ยวมิได้แปลว่าเคว้งคว้างล่องลอย หมายถึงสามารถมีสติควบคุมตนเองแม้อยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก หายใจเข้าออกด้วยจังหวะหัวใจของเราเอง นั่นต่างหากคือความสุขจริงแท้และชั่วนิรันดร์

ด้วยทุนสร้าง $100 ล้านเหรียญ หลังได้รับเสียงตอบรับดีล้นหลามจากออกฉายเปิดเทศกาลหนังเมือง Venice สัปดาห์แรกในอเมริกาทำเงินได้ $55.8 ล้านเหรียญ ยึดครองเป็นเจ้าของสถิติทำเงินสูงสุดเดือนตุลาคมแทน Paranormal Activity 3 (2011) [เพิ่งถูกแซงได้โดย Venom (2018)] จบโปรแกรมในอเมริกาทำเงินได้ $274 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $723.2 ล้านเหรียญ นิตยสาร Deadline Hollywood ประเมินว่าได้กำไรกว่า $209.2 ล้านเหรียญ

แซว: ทุนสร้าง $100 ล้านเหรียญของหนัง แพงกว่าราคายานสำรวจดาวอังคาร Indian Mars Orbiter Mission ของประเทศอินเดีย ราคาเพียง $74 ล้านเหรียญ

เข้าชิง Oscar 10 สาขา คว้ามา 7 รางวัล ประกอบด้วย – Best Picture – Best Director ** คว้ารางวัล [Alfonso Cuarón กลายเป็นผู้กำกับสัญชาติ Mexican คนแรกที่คว้ารางวัลนี้] – Best Actress (Sandra Bullock) – Best Cinematography ** คว้ารางวัล [รางวัลแรกของ Emmanuel Lubezki ก่อนทำแฮตทริกอีก 2 ปีติด] – Best Film Editing ** คว้ารางวัล – Best Production Design – Best Sound Editing ** คว้ารางวัล – Best Sound Mixing ** คว้ารางวัล – Best Original Score ** คว้ารางวัล – Best Visual Effect ** คว้ารางวัล

รางวัลใหญ่ปีนั้นตกเป็นของ 12 Years a Slave (2013) คาดการณ์ด้วยสองเหตุผลใหญ่ๆ – เพราะจักกลายเป็นครั้งแรกที่นักเขียน และโปรดิวเซอร์ผิวสี ขึ้นรับรางวัล Oscar เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ – ต่อจาก Avatar (2009) คณะกรรมการ Oscar มองหนังที่ตระการตาด้วย Visual Effect หรือ Sci-Fi เทียบคุณค่าไม่ได้กับโปรเจคเล็กๆที่ใช้แรงงานคนบริหารจัดการได้ดีกว่า

เกร็ด: ในบรรดาภาพยนตร์กวาด Oscar มากสุดแต่ดันพลาดรางวัลใหญ่ Best Picture มีเพียง Cabaret (1972) คว้า 8 จาก 10 รางวัล ที่มากกว่าหนังเรื่องนี้

ส่วนตัวค่อนข้างชื่นชอบหนังเรื่องนี้อย่างมาก เพราะปีนั้นผมมีโอกาสรับชมบนจอใหญ่ IMAX ตื่นตระการตา คุ้มค่าตั๋ว ทึ่งในวิสัยทัศน์ ความทะเยอทะยานของผู้กำกับ Alfonso Cuarón และโคตรสงสารเห็นใจ Sandra Bullock กว่าจะได้การแสดงเคลื่อนไหวออกมาสมจริงขนาดนั้น คู่ควรคว้ารางวัล Oscar มากกว่าเรื่อง The Blind Side (2009) เสียอีกนะ

ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ถึงขนาดต้องดูให้ได้ก่อนตาย แต่ผมจะให้คำแนะนำว่า “ต้องดูให้ได้ในโรง IMAX” ถ้ามีโอกาสถูกนำกลับมาฉายใหม่ ใครเป็นแฟนพันธุ์แท้ที่ยังไร้โอกาส พลาดไปถือว่าโคตรน่าเสียดาย

แนะนำคอหนัง Thriller Sci-Fi แนวหายนะบนห้วงอวกาศ, ชื่นชอบดาราศาสตร์ เพ้อฝันอยากเป็นนักบินอวกาศ, ผู้สร้างภาพยนตร์ ทำงานเบื้องหลัง นักออกแบบ Visual Effect ทั้งหลาย, วิศวกร นักจิตวิทยา นักคิด นักปรัชญา, แฟนๆผู้กำกับ Alfonso Cuarón และสองนักแสดงนำ Sandra Bullock, George Clooney ไม่ควรพลาด

จัดเรต 13+ กับหายนะ คนตาย และความตื่นเต้นลุ้นระทึกขวัญ

TAGLINE | “Gravity คือแรงผลักดันให้ Alfonso Cuarón คงค้างฟ้า ส่องแสงระยิบระยับตระการตาเหนือกาลเวลา”

QUALITY | RARE-GENDARY MY SCORE | LIKE

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

โรงแรมนรก (พ.ศ. ๒๕๐๐) : รัตน์ เปสตันยี ♥♥♡

ดำเนินเรื่องภายในโรงแรมชื่อสวรรค์ ที่วันๆเต็มไปด้วยผู้คนมากมายผ่านมาสุงสิง แต่กลับเพียงห้องพักเดียวให้แก่งแย่งชิง ใครเป็นชาย-หญิง สุภาพบุรุษ-สตรี วัดด้วยหน้าตา คำพูด หรือการกระทำ

รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ผมเกือบๆอยู่ในสภาพ ‘ตกนรกทั้งเป็น’ เมื่อก่อนไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ เดี๋ยวนี้เริ่มรับรู้ได้ว่าจุดอ่อนของหนังไทยคือ ‘ความตั้งใจ’ อยากให้มันออกมาดี แต่ก็มีปัญญาทำได้แค่นี้ ไม่เป็นไรค่อยๆเติบโตไป … อวยอย่างนั้นก็ไม่ถูกเท่าไหร่นะครับ

แซวๆว่าคนไทยชื่นชอบ BNK48 กันเยอะ เพราะเป็นวงที่ใช้ความพยายามเป็นจุดขาย เลยไม่แปลกอะไรกับหนังไทยสมัยก่อนๆ คุณภาพไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ความตั้งใจของผู้กำกับ ทรงคุณค่ายิ่งใหญ่เหนือกาลเวลา

เชื่อว่าส่วนใหญ่คงมองชั่วโมงแรกของโรงแรมนรก (พ.ศ. ๒๕๐๐) อารัมบทอยากเล่าอะไรก็ใส่มา เป็นส่วนเกินที่หาคุณค่าความต่อเนื่องไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ ครึ่งหลังต่างหากคือไฮไลท์ ไม่มีใครสามารถคาดเดาตอนจบได้อย่างแน่แท้, แต่ผมกลับรู้สึกตรงกันข้ามตารปัตร ครึ่งแรกแนวคิดออกมาโคตรเจ๋งเป้ง แต่หลังๆพาลเกาหัวกุมขมับสับสนอลเวง อะไรของมันเยิ่นเย้อยืดยาดโตงเตง สลับซับซ้อนซ่อนเงื่อนเป็นพลันวัน

อีกหนึ่งปัญหาของหนังไทยยุคก่อน คือความด้อยประสบการณ์ในการบันทึกเสียงพูดสด Sound-on-Film เพราะตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศเรามีเทรนด์นิยมที่เรียกว่า ‘นักพากย์หน้าโรง’ เพื่อตัดตอน ลดต้นทุนการบันทึกเสียงหรือพากย์ทับ ก็จนกว่าสิ้นสุดยุคสมัยของ มิตร ชัยบัญชา (พ.ศ. ๒๕๑๓) ถูกโลกบีบบังคับให้ต้องก้าวสู่ยุคหนังอัดเสียง ฟีล์ม 35mm อย่างจริงจังเสียที ล่าช้าล้าหลังกว่า Hollywood ถึง ๔๓ ปี (นับที่ พ.ศ. ๒๔๗๐ เมื่อตอน The Jazz Singer หนัง Talkie เรื่องแรกของอเมริกันประสบความสำเร็จล้นหลาม)

เพราะนักแสดงหนังไทยเติบโตมากับฟีล์ม 16mm ไม่ค่อยมีประสบการณ์แสดง-พูดตามบท ไปพร้อมๆกัน เลยไม่แปลกที่ผู้ชมสมัยนี้เมื่อหวนกลับไปรับชมหนังเก่าๆ หลายครั้งจะจับใจความหนัง Sound-on-Film ไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะบางทีก็พูดแบบเถไถลไถออกนอกประเด็นไร้สาระ ไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องอะไรด้วยเลย ชักแม่น้ำทั้งสี่ห้าสายมารายล้อม นี่สะท้อนถึงการรับอิทธิพลเต็มๆจากบรรดานักพากย์หน้าโรง (ที่มากด้วยลีลา เวลาสนทนาบางครั้งนอกเรื่องเพ้อเจ้อไปไกลเรียกเสียงหัวเราะเฮฮา หนังไทยคลาสสิกหลายๆเรื่อง ฟังการพากย์เสียงสนุกกว่าตัวหนังที่ฉายเสียอีก!)

รัตน์ เปสตันยี (พ.ศ. ๒๔๕๑ – ๒๕๑๓) ผู้กำกับชาวไทย เกิดที่จังหวัดพระนคร บรรพบุรุษมาจากเตหะราน, Persia ซึ่งมาทำการค้าขายในประเทศไทยกว่าร้อยปีมาแล้ว, เข้าโรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ จบ ม.๓ ศึกษาต่อยังอินเดีย ตามด้วยอังกฤษ จบวิศวกรรมเครื่องกล, London University ด้วยความสนใจในภาพยนตร์ ทดลองกำกับหนังสั้น แตง (พ.ศ. ๒๔๘๑) คว้ารางวัลจากการประกวดภาพยนตร์สมัครเล่นเมือง Glasgow มอบให้โดยผู้กำกับดัง Alfred Hitchcock เลยคิดเอาจริงจังด้านนี้ กลับมาเมืองไทยก่อตั้ง บริษัทหนุมานภาพยนตร์ เริ่มจากเป็นตากล้อง พันท้ายนรสิงห์ (พ.ศ. ๒๔๙๒), เขียนบท-กำกับเองเรื่องแรก ตุ๊กตาจ๋า (พ.ศ. ๒๔๙๔), และโด่งดังทัวโลกกับ สันติ-วีณา (พ.ศ. ๒๔๙๗)

แม้ว่ากระแสนิยมหนังไทยสมัยนั้น ภาพยนตร์นิยมดัดแปลงจากบทละครเวที หรือนิยายดังที่มีชื่อเสียง เพราะจะการันตีฐานผู้ชมได้ปริมาณหนึ่ง แต่ความสนใจของคุณรัตน์ อยากทดลองทำอะไรใหม่ๆที่แตกต่าง และเพื่อจำกัดงบประมาณทุนสร้าง สร้างเพียงฉากเดียวให้ทุกสิ่งอย่างเกิดขึ้นดำเนินไปในโรงแรมแห่งนี้

เมื่อพูดถึงภาพยนตร์สมัยก่อนหน้านี้ที่มีโรงแรมเป็นสถานที่ดำเนินเรื่อง อาทิ The Lodger (1927), Grand Hotel (1932), ขณะที่หนังมีฉากเดียวดังๆก็ Dial M for Murder (1954) [คุณรัตน์ คงเป็นแฟนตัวยงของ Alfred Hitchcock แน่ๆเลยนะครับ เคยพบเจอ รับรางวัลจากมือ ไหนจะตอนมาไทยยังเห็นภาพจับมือกันเลย], ส่วน 12 Angry Man (1957) ไม่รู้มีโอกาสทันได้ดูก่อนเริ่มสร้างเรื่องนี้หรือเปล่า

ณ โรงแรมสวรรค์ มีลุงกับหลานร่วมกันดูแลกิจการ ประกอบด้วยบาร์ขายเหล้า ขายอาหาร และหนึ่งห้องพักสำหรับค้างแรม พนักงานต้อนรับชื่อ น้อย (ประจวบ ฤกษ์ยามดี) นักเลงงัดข้อแชมเปี้ยมโลก วันนี้ประสบพบความวุ่นวายเหลือทน – รับแขกขาประจำ ชนะ (ชนะ ศรีอุบล) ผู้ไม่เคยบอกวัตถุประสงค์เข้าพักโรงแรม – หญิงแปลกหน้า เรียม (ศรินทิพย์ ศิริวรรณ) อ้างว่าอายุหกสิบห้า มีลูกสิบสองคน สนแต่จะหลับนอนในห้องพัก แต่ถูก ชนะ ใช้สิทธิ์มาก่อนได้ก่อน มาหลังก็ทนนอนข้างนอกไป – มาจากไหนไม่รู้สามนักเลงหัวไม้ เสือสิทธิ์ (สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์), ไกร (ไกร ภูตโยธิน), เชียร (วิเชียร ภู่โชติ) ทั้งสามล่วงรู้ว่า ชนะ เป็นสมุห์บัญชีของบริษัทปรีดาไทย แวะพักโรงแรมแห่งนี้เพื่อรอรับเงิน ๖ แสนบาท แต่ไม่มีใครรับรู้ได้ว่า เงินจำนวนมหาศาลนั้นจะมาถึงตอนไหน และใครเป็นคนคุมมา – สุดท้ายคือ เสือดิน (ทัต เอกทัต) จอมโจรที่ได้รับการขนานนามถึงความโหดเหี้ยมทารุณ ต้องการได้ครอบครองเงินก้อนเดียวกัน

ชนะ ศรีอุบล (พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๕๓๙) นักแสดงชาวไทย เกิดที่กรุงเทพฯ เรียนจบ ม. ๘ จากโรงเรียนสีตบุตรบำรุง เข้าสู่วงการบันเทิงครั้งแรก เครือฟ้า (พ.ศ. ๒๔๙๔) จากการชักนำของ เฉลิม บุญยเกียรติ นอกจากกล้ามแกร่ง มาดแมน หน้าตาคมคาย แต่แท้จริงแล้วภายในอ่อนหวาน จัดเป็นสุภาพบุรุษ ที่รักยิ่งของเพื่อนฝูง, ได้รับการจดจำสูงสุด ชั่วฟ้าดินสลาย (พ.ศ. ๒๔๙๘), บ้านทรายทอง (พ.ศ. ๒๔๙๙), โรงแรมนรก (พ.ศ. ๒๕๐๐), ผู้ชนะสิบทิศ (พ.ศ. ๒๕๐๙-๑๐) ฯ

รับบท ชนะ วันนี้มันช่างซวยดีแท้! ตั้งใจมาทำงานแต่ถูกก่อกวนสร้างความรำคาญตั้งแต่หัววัน ซ้อม/ขับร้องดนตรียังไม่เท่าไหร่ พบเจอหญิงแปลกหน้า เรียม มาจากไหนไม่รู้ทรามยิ่งกว่านักเลงหัวไม้ ไม่ว่าอย่างไรก็เสียสละห้องนี้ให้ไม่ได้ เพราะจะใช้เป็นสถานที่เก็บเงินเมื่อถึงเวลาส่งมอบ, หลังอารัมภบทผ่านไป นรกแท้จริงจึงได้มาเยือน เริ่มจากสามเสือ สิทธิ์ ไกร เชียร์ โน้นน้าวล้วงเอาความจริง ระหว่างรอคอยฤกษ์ยามก็ตามมาอีกคน เสือดิน วันนี้คงต้องมีคนตาย-รอด อย่างแน่แท้

แซว: มันเป็นซ้อนมุกกันอยู่นะ เพราะช่วงแรกๆจะมีการกล่าวถึง ส่างหม่อง-ยุพดี ล่ามโซ่กันมาจากชั่วฟ้าดินสลาย (ผลงานก่อนหน้าที่คุณรัตน์ อำนวยการสร้างและกำกับภาพให้) ซึ่งเรื่องนั้น ชนะ รับบท ส่างหม่อง หนีเอาตัวรอดมาได้ยังไงก็ไม่รู้

ผมชื่นชอบบุคลิกนี้ของ ชนะ มากเลยนะ คมเข้ม บึกบึน ช่วงแรกๆชวนให้สงสัยว่าหมอนี่มันนักเลง ตุ๊ดหรือว่ะ! ทำตัวเลวทรามต่ำช้าขนาดนั้น จนกว่าจะครึ่งหลังเริ่มเข้าใจเหตุผลของการแสดงออก และเลือกผู้หญิง/ชีวิตคนสำคัญกว่าเงิน จากคู่กัดพ่อแง่-แม่งอน กลายเป็นตกหลุมรักคลั่งไคล้ ก็แน่ละย่อมได้ใจผู้ชมไปอย่างมาดแมน

ศรินทิพย์ ศิริวรรณ ชื่อจริง ไพลิน คอลลิน (เกิดปี พ.ศ. ๒๔๖๙) นักแสดงหญิงชาวไทย เกิดที่อำเภอนครชัยศี จังหวัดนครปฐม พ่อเป็นชาวเนเธอร์แลนด์ จบการศึกษาจากโรงเรียนผดุงดรุณี แล้วสมัครไปเป็นนักร้องวงดนตรีกรมสรรพสามิต ได้พบเจอตกหลุมรักแต่งงานกับ ชาลี อินทรวิจิตร ฝากฝังกับ อรรถ อรรถไกวัลวที ผู้จัดการคณะละครเทพศิลป์ ชักนำเข้าสู่วงการ ตั้งชื่อให้ และแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก โรงแรมนรก (พ.ศ. ๒๕๐๐), ผลงานเด่นๆ อาทิ ขบวนเสรีจีน (พ.ศ. ๒๕๐๒), ลูกอีสาน (พ.ศ. ๒๕๒๕), บ้านทรายทอง (พ.ศ. ๒๕๒๓), ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท (พ.ศ. ๒๕๒๙) ฯ

รับบท เรียม สาวลึกลับที่เริ่มต้นมาพูดจาโกหกหลอกลวงปลิ้นปล้อน แท้จริงแล้วเพื่อปกปิดตัวตนเอง จะได้ไม่ถูกโจรผู้ร้ายดักซุ่มโจมตีลักขโมยของ เหตุที่ต้องการห้องพักก็เช่นเดียวกัน เพราะตอนนั้นยังไม่รู้ว่าใครคือผู้ติดต่อของบริษัท แต่เมื่อถูกขับไล่ไสส่ง นอนข้างนอกตรงโซฟาซุกกระเป๋าไว้ใต้เตียง โอ้มายก็อด! มันรอดสายตาโจรไปได้อย่างไร หักมุมดีแท้

ฉากยิงปืนเป็นอะไรที่สะดีดสะดิ้งมาก มันฟลุ๊คหรืออย่างไร หลับตาปี๋แต่กลับยังโดนขวดแตก?, ผมมองว่าเป็นสะท้อนตัวตนของ เรียม ถึงภายนอกจะดูเข้มแข็งแกร่ง ก้าวร้าว แต่ภายในก็แค่ผู้หญิงคนหนึ่ง หวาดกลัวสั่นเกรงต่ออันตราย แค่เล็งให้ตรงๆแล้วหันมองทางอื่นขณะเหนี่ยวไก ผู้ชมจะมองเห็นตัวตนของฉันหรือเปล่าว่าเป็นคนอย่างไร

คงเพราะความที่พ่อเป็นต่างชาติ เลยไม่แปลกที่ ศรินทิพย์ จะมีภาพลักษณ์สาวหัวขบถ ทำตัวเหมือนนักเลงหัวไม้ แก่นแก้ว พูดจาตรงไปตรงมา หยาบคายเล็กๆ เรื่องอะไรจะต้องทำตัวเรียบร้อยดั่งผ้าพับไว้ตลอดเวลา คนสมัยก่อนพบเห็นแบบนี้คงแสดงความดัดจริตรับไม่ได้ แต่ลึกๆแล้วอาจลุ้นเชียร์อยากเป็นแบบนั้นเหลือเกิ้น

ประจวบ ฤกษ์ยามดี (พ.ศ. ๒๔๗๖ – ๒๕๕๙) นักแสดงชาวไทย ฉายาดาวร้ายผู้น่ารัก เกิดที่ กรุงเทพฯ เป็นน้องภรรยาของครูมารุต (ทวี ณ. บางช้าง) เลยต้วมเตี้ยมอยู่แถวโรงถ่ายหนุมานภาพยนตร์ เข้าสู่วงการเรื่อง ชั่วฟ้าดินสลาย (พ.ศ. ๒๔๙๘), โด่งดังสุดๆกับ รักริษยา (พ.ศ. ๒๕๐๑), มือโจร (พ.ศ. ๒๕๐๔), มนต์รักลูกทุ่ง (พ.ศ. ๒๕๑๓) ฯ

รับบท น้อย สงสัยทริคของการงัดข้อคือยาทากันศอกลื่น เหนียวหนึบจนไม่มีใครสามารถโค้งลง ชอบพูดอ้างปากดีว่าวางมาดนักเลง ‘ฉันไม่ใช่บ๋อย’ เอาเข้าจริงฝีไม้ลายมือก็ไม่เท่าไหร่ และคงเพราะเริ่มต้นวันนั้นโชคดีผิดปกติ ดวงซวยเลยตามมาติดๆตอนท้ายวัน

ก็สมฉายา ‘ผู้น่ารัก’ สร้างสีสันให้กับหนังได้อยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะฝีปากวาทะไม่เป็นสองรองใคร แถมใบหน้าทำตายียวนกวนประสาทโดยแท้ ภาพวาดสะท้อนทั้งตัวละคร นักแสดง ได้อย่างน่าประทับใจมากๆ

สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ (พ.ศ. ๒๔๖๖ – ๒๕๒๖) นักร้อง/นักแสดงชาวไทย เกิดที่พระนครศรีอยุธยา เข้าสู่วงการจากการชัดนำของหม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ ดิศกุล รับราชการเป็นนักร้องวงดุริยางค์กองทัพเรือ (รุ่นเดียวกับ สมยศ ทัศนพันธุ์, เสน่ห์ โกมารชุน) เรียนร้องเพลงกับครูล้วน ควันธรรม (รุ่นเดียวกับ ชาลี อินทรวิจิตร) จากนั้นเป็นนักร้องในวงดนตรีของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมากษัตริย์, เริ่มมีชื่อเสียงในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ รับบทพระเอกละครเวที พันท้ายนรสิงห์ ตามด้วยผันตัวสู่วงการแสดง โด่งดังประสบความสำเร็จล้นหลามกับ สุภาพบุรุษเสือไทย (พ.ศ. ๒๔๙๒), ผลงานเด่นอื่นๆ สุรนารี (พ.ศ. ๒๕๐๐), กตัญญูประกาศิต (พ.ศ. ๒๕๐๑), แม่นาคพระโขนง (พ.ศ. ๒๕๐๒), จอมโจรมเหศวร (พ.ศ. ๒๕๑๓), ฝนใต้ (พ.ศ. ๒๕๑๓) ฯ

รับบท เสือสิทธิ์ หัวหน้าสามโจรที่ก็ไม่รู้ไปล่วงความลับเงินหลายแสนของบริษัทปรีดาไทย มาได้อย่างไร เดินทางมายังโรงแรมสวรรค์เพื่อต่อรองกับนายชนะ สนเฉพาะการใหญ่ไม่ใช่แค่เงิน ๔-๕ พันบาทเล็กๆน้อยๆ แต่เพราะแค่นั้นก็ทำให้เกิดความขัดแย้งกับลูกน้องเสือไกร หมอนั่นมันเป็นโจรกระจอก โลภละโมบสนแต่ใช้กำลัง/ปืน เป็นเครื่องตัดสินเท่านั้น

ผู้ชมสมัยก่อนจะติดภาพลักษณ์ของ สุรสิทธิ์ คือสุภาพบุรุษเสือ(โจร)ไทย ต่อให้ก่ออาชญากรรมปล้น ชั่วร้ายแค่ไหน แต่ไม่เคยเข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์ หรือกระทำการลักเล็กขโมยน้อยให้เสียเกียรติ ‘สุภาพบุรุษ’ ก็ถือว่าหนังเรื่องนี้นำเอาภาพลักษณ์ติดตัวของนักแสดงมา อย่างอื่นคงไม่ต้องพูดถึงไม่มีอะไรมากให้กล่าวความ

น่าเสียดายที่ผมหารายละเอียดของ ไกร ภูตโยธิน ไม่ได้เลยสักนิดในอินเตอร์เน็ต, เสือไกร เป็นโจรกระจอก สมองน้อย มีแต่ความโลภละโมบ มืดบอด/สนแต่ความพึงพอใจส่วนตนเฉพาะหน้า ใช้กำลัง/ปืน เป็นเครื่องตัดสินเอาเปรียบผู้อื่น ขนาดว่าตอนเล่น Russian Roulette กับเสือดิน เมื่อถึงคราตนเองถือปืน คิดได้ไงว่ะเนี่ย! ร้ายกาจกว่าตอน Robert DeNiro ขอกระสุนสามนัดกับเวียดกงเรื่อง The Deer Hunter (1978) เสียอีกนะ

ทัต เอกทัต ชื่อจริง ประวัติ ผิวเผือก (พ.ศ. ๒๔๕๗ – ๒๕๒๒) เกิดที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีโอกาสเข้าเรียนยังกรุงเทพฯ สำเร็จการศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดบวรนิเวศน์ (ม.๘) ทำงานเป็นครูที่โรงเรียนหนองจอก ต่อด้วยกรมไปรษณีย์ แต่ด้วยใจรักในการแสดงและมีพรสวรรค์ด้านนี้ ได้รับการถวายตัวกับ พระนางลักษมีลาวัณย์ ขณะนั้นก่อตั้งคณะละครเวที ปรีดาลัย มีผลงานเรื่องแรก ถิ่นไทยงาม ค่อยๆประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นเรื่อยๆ จนตัดสินใจลาโรงสู่วงการภาพยนตร์ ผลงานเรื่องแรก พันท้ายนรสิงห์ (พ.ศ. ๒๔๙๒), คว้ารางวัลตุ๊กตาทองจากเรื่อง ชะโลมเลือด (พ.ศ. ๒๕๐๘), มักได้รับบทดาวร้าย แต่ตัวจริงเป็นสุภาพบุรุษ จริงใจ นิสัยโอบอ้อมอารีย์

รับบทเสือดิน เริ่มต้นมาโดยนาม ตามด้วยเงา ยามดึกดื่นหลังสามเสือยิงกันเสร็จสรรพโผล่หน้าเข้าร่วมวงทัก อ้างว่ารู้จัก ชนะ และบริษัทปรีดาไทยเป็นอย่างดี คาดหวังได้เงินหลายแสนในครอบครองเพียงผู้เดียว แต่ติดที่ต้องท้าดวลกับเสือไกร ใช้เกม Russian Roulette แต่โชคร้ายถูกหักเหลี่ยมจนเสียคม เพราะความโง่งมสุภาพบุรุษของตนเอง

เสียงลือเสียงเล่าอ้างของเสือดิน แบบว่าโคตรโหดโฉดชั่ว นักเลงเลวทรามต่ำช้าแบบสุดๆ ล่องลอยมากับสายลม แค่เงายังชวนให้ใครๆสยิวขนลุกทั่วกาย แต่พอปรากฎตัวเข้าจริงก็แค่คนปอดแหกหน้าไม่อาย ฉวยโอกาส อ้างความเป็นลูกผู้ชาย สุดท้ายกลับตายหยั่งเขียดทำเอาผมขำกลิ้ง

ถ่ายภาพโดย ประสาท สุขุม สมาชิกในสมาคมช่างถ่ายภาพยนตร์อเมริกัน (American Society of Cinematographer : A.S.C.) คนแรกของเมืองไทย ได้ไปร่ำเรียนและฝึกงานการถ่ายทำภาพยนตร์ในโรงถ่ายภาพยนตร์ที่ Hollywood ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ รุ่นเดียวกับ James Wong Howe ตากล้องชื่อดังชาวจีน กลับมาสามารถถ่ายทำกล้องฟีล์ม 35mm บันทึกเสียง Sound-on-Film แต่แทนที่เป็นภาพสี กลับใช้ขาว-ดำ สะท้อนความมืดคล้ำ เรื่องราวออกนัวร์ๆ เกี่ยวกับอาชญากรรม คนชั่วร้าย ฆ่ากันตาย

ด้วยข้อจำกัดของยุคสมัยนั้น กล้องมีขนาดใหญ่เทอะทะทำให้เคลื่อนย้ายลำบาก เราจึงพบเห็นเพียง ๒-๓ เทคนิคที่ใช้ในหนัง หลักๆคือจัดวางองค์ประกอบให้อยู่ในรัศมีที่กำหนด, แพนนิ่งหมุนกล้องไปรอบๆ, และบางครั้งจะเป็น Whip-Pan/Swish-Pan หมุนกล้องแบบรวดเร็ว เปลี่ยนทิศทางจากด้านหนึ่งสู่อีกด้านหนึ่ง

มันจะมีอยู่ ๓-๔ มุม ที่หนังถ่ายวนไปเรื่อยๆโดยรอบห้องโถงโรงแรม ประกอบด้วย – ทางเข้า พร้อมเคาน์เตอร์ต้อนรับ บาร์เหล้า ซึ่งจะมี ชนะ ประจำอยู่ – มุมโซฟา สำหรับนั่งพักผ่อน ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นที่นอนของ เรียม – โต๊ะอาหาร และประตูห้องพัก – มุมของเวที มีเปียโน และสถานที่ซ้อมดนตรี – และฉากที่อยู่นอกเหนือจากห้องโถง ก็คือ ภายในห้องพักโรงแรม

แซว: หลายคนคงชอบจับจ้องมองนาฬิกาติดผนัง ตรงเคาน์เตอร์ต้อนรับ มันก็ช่างหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆจริงๆนะ!

ช่วงขณะได้รับการพูดถึงมากสุดของหนัง คือยามค่ำคืนดึกดื่นใกล้ตีสี่ แสงเงาให้สัมผัสหนังนัวร์เล็กๆ ไฮไลท์คือตอนเสือไกรฟื้นคืนสติ เดินย่องหยิบปืนพร้อมจ่อยิงเสือสิทธิ์ คงเพื่อไม่ให้ดูเป็นการหักหลังรุนแรงเกินไป และมีความอาร์ทเทียบเท่า Nosferatu (1922) เลยพบเห็นเพียงเงาขณะยกปืนขึ้นจ่อยิงเท่านั้น

และเมื่อปืนของเสือไกรหมดลูกกระสุน กล้องทำการ Whip-Pan หมุน ๑๘๐ องศา จากมุมเก้าอี้โซหา ไปถึงประตูทางเข้าหน้าเคาน์เตอร์โรงแรม พบเห็นเสือดินยืนเก็กหล่อเท่ห์รอคอยจังหวะอยู่ (สังเกตเงาของเสือดินช็อตนี้ดูนะครับ ถึงปืนถือชี้ขึ้น แต่เงามันสาดลง ช่างดูเหมือนไอ้จ้อนของพี่แกเหลือเกิน!)

ตัดต่อโดย รัตน์ เปสตันยี, ใช้โรงแรมสวรรค์นรก เป็นจุดหมุนเล่าเรื่อง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นสามองก์ – ชั่วโมงแรก อารัมบทเรื่อยเปื่อย ร้อยเรียงสิ่งต่างๆอยากเล่าอะไรก็ใส่มา และมักตัดสลับไปมากับภาพปฏิกิริยาของ ชนะ ไม่พึงพอใจอย่างมาก จนต้องพูดจาเสียดสีประชดประชัน ‘ผมขอตั้งชื่อให้ใหม่ โรงแรมนรก!’ – สี่สิบถัดไป เริ่มต้นเรื่องราวจริงจัง การมาถึงของสามเสือเพื่อทำการปล้นเงิน – ยี่สิบนาทีสุดท้าย นับตั้งแต่เมื่อเริ่มหลับนอน และการมาถึงของเสือดิน

รูปภาพของ น้อย เพราะความที่นักเลงงัดข้อ ขุ่นข้องหมองมัวกับความพ่ายแพ้ เลยทำการชกต่อยภาพวาดของน้อย ทำให้หน้าบูดบี้ยวโดยทันที เจ้าตัวพบเห็นเข้านำเอาเครื่องไม้เครื่องมือมาทุบเปลี่ยนกลับรูปเดิม เป็นการการตัดต่อแบบตรงไปตรงมา แต่มีความกวนประสาทโดยแท้

เพลงประกอบจากวงลูกฟ้า ควบคุมวงโดย ปรีชา เมตไตรย์ มีทั้งไทยเทศ คลาสสิก งิ้วจีน โอเปร่าของ Georges Bizet: Carmen ฯ จัดเต็มในแง่ความเป็นสากล สร้างสีสันให้กับหนัง แต่ก็ไม่วายจิกกัดความอดอยากปากแห้งของศิลปิน ศาสตราจารย์สมพงษ์ (สมพงษ์ พงษ์มิตร) ‘ถ้าผ่านมา ผมจะนำเงินมาให้’ แต่ถ้าไม่ผ่านมาก็ไม่ให้

ขี้ตู่กลางนา ขี้ตาตุ๊กแก ขี้มูกยายแก่ ออละแร้ ออละซอน นี่ก็ล้อเลียนโอเปร่า Carmen บทเพลง Habanera

เผื่อคนนึกไม่ออก นำ Habanera มาให้รับฟังกันด้วย, ชื่อฝรั่งเศสของเพลงนี้คือ L’amour est un oiseau rebelle” แปลว่า Love is a rebellious bird ใช้นักร้องเสียง Mezzo-Soprano ใครอยากรู้คำแปลก็อ่านซับเอานะครับ

Dahil Sa Iyo แต่งโดย Mike Velarde, Jr. ประกอบภาพยนตร์ฟิลิปปินส์เรื่อง Bituing Marikit (1938) ขับร้องโดย Rogelio de la Rosa เจ้าของฉายา ‘King of the Philippine Movies’ ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่ชาวฟิลิปปินส์และอเมริกาแถบ Honolulu, American West Coast, Virginia มีการแต่งคำร้องภาษาอังกฤษชื่อว่า Because of You (1964) ขับร้องโดย Nat King Cole และ The Letter Men, ฉบับในหนังรับเชิญจากฟิลิปปินส์ Flor Oriente

โรงแรมนรก มีเรื่องราวของการงัดข้อ ต่อสู้ Russian Roulette ดวลกันระหว่างชาย-หญิง นักมวยฝ่ายแดง-น้ำเงิน คนดี-ชั่ว สวรรค์-นรก ทุกครั้งมันต้องมีผลลัพท์คนหนึ่งได้รับชัยชนะ และอีกฝ่ายพ่ายแพ้ปราชัย

อะไรๆก็เกิดขึ้นได้ในโรงแรมแห่งนี้ ความที่มีเพียงห้องพักเดียวทำให้เกิดการแก่งแย่งช่วงชิง เฉกเช่นเดียวกับเงินทอง ของล่อตาล่อใจของเสือทั้งหลาย ไม่ว่าปริมาณน้อยหรือมาก ต่างมีคุณค่าทางกาย ร่ำรวยแล้วจะสุขสบาย ทัศนคติโลกแคบของคนมองเห็นสิ่งสวยๆงามๆแค่รูปลักษณ์ภายนอก

โรงแรมบ้าอะไรมีห้องพักเดียว? นี่คงเป็นการเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์นามธรรมกระมัง เหมือนดั่งห้องหัวใจของชายหนุ่ม ชีวิตนี้ย่อมอยากครองคู่กับหญิงสาวแค่เพียงรักเดียวคนเดียว และเฉพาะผู้ที่มาถึงก่อนเท่านั้นจะได้รับโอกาสช่วงชิง

โรงแรมบ้าอะไร มีแต่คนผ่านไปผ่านมา ทั้งนักร้อง วงดนตรี เวทีมวย? ก็อย่างที่บอกว่ามันคือนามธรรม เปรียบดั่งชีวิตและการพบเจอ ใช่ว่าทุกคนจะมีสิทธิ์ข้องเกี่ยวแว้ง แวะเข้ามาถึงห้องหับในหัวใจ สิ่งไหนชื่นชอบรับได้ก็โอบรัดมันมา ขัดแย้งตรงข้ามสร้างความรำคาญ ก็หงุดหงิดหัวเสียส่ายหน้าถีบไสส่ง ซึ่งก็มีบางกลุ่มใช้พละกำลังถีบส่งพังกำแพงเข้าไป แต่เพราะมันมิได้สมยอมเต็มใจ ก็พยายามต่อสู้ขัดขืนจนสุดความสามารถ

ไม่มีการกระทำใดในโลกสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับทุกคน หลายครั้งเริ่มต้นด้วยความขัดแย้งภายนอก แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์บางอย่าง เรียนรู้จักตัวตนภายใน ก็เป็นเหตุให้คนสองมองตาเข้าใจ นี่ไม่ได้สื่อถึงแค่หนุ่ม-สาว ชนะ-เรียม เท่านั้น แต่ยัง ชนะ-น้อย, ชนะ-เสือสิทธิ์, ผิดก็กับ เสือสิทธิ์-เสือไกร ความโลภละโมบเห็นแก่ตัวของคน รังแต่จะสร้างความขัดแย้งร้าวฉาน เข่นฆ่าแกงกันเองให้ตายตกฟาก ดีชั่วถูกผิดไม่รู้ สุขส่วนตนเท่านั้นสำคัญสูงสุด

ใจความของโรงแรมนรก, สิ่งสำคัญที่สุดของชีวิต บางทีมันอาจหลบซ่อนอยู่ภายใต้เก้าอี้โซฟา นี่ไม่ได้หมายถึงธนบัตรเงินตรา แต่คือตัวตนแท้จริงของคน มิอาจมองเห็นรับรู้ด้วยตา เฉกเช่นเดียวกับสวรรค์-นรก วัดคุณค่าจากภายในจิตใจ

ทัศนคติของสังคมไทยยุคสมัยก่อน ราวกับถูกล่ามโซ่ไว้กับขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมตั้งแต่โบราณ สิ่งที่ รัตน์ เปสตันยี ถ่ายทอดนำเสนอออกมา (ในผลงานหลายๆเรื่อง) พยายามเสี้ยมสั่งสอน ชี้ชักนำ เปิดโลกทัศน์ชาวไทย ให้เรียนรู้จักรับอิทธิพลต่างชาติเข้ามาศึกษาดู แล้วจะพบเห็นความน่าตื่นเต้นแปลกตา อย่ามัวเป็นแต่กบในกะลา หมกตัวอยู่ในโรงแรมนรก เฉกเช่นนั้นแล้วจะพลิกตลบขึ้นสู่สรวงสวรรค์ได้เช่นไร

แต่มันก็ไม่ใช่ว่าคุณรัตน์ ปฏิเสธเสียงขันแข็งกับขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมไทยนะครับ คือเป็นคนที่เปิดรับ ปรับตัว และมองหาสิ่งถูกต้องเหมาะสมที่สุดในการใช้ชีวิต สันติ วีณา, แพรดำ นี่ชัดเจนมากๆถึงความเป็นไทย แทรกใส่แนวคิดพุทธศาสนา ยุคสมัยนั้นเรื่องราวแบบนี้ก็ไม่เคยมีใครคิดสร้าง หมกอยู่กับมาม่าราคาถูกสูตรสำเร็จ กินตอนไม่มีเงินก็พอเอาตัวรอดอยู่ แต่ถ้าแบงค์พันเต็มกระเป๋าเข้า MK, Fuji, ภัตตาคารหรูๆไม่ดีกว่าหรือ?

ต้นฉบับฟิล์มภาพยนตร์เรื่องนี้สูญหายไปจากประเทศไทยเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๓๘ หอภาพยนตร์แห่งชาติ ได้รับมอบฟิล์มภาพยนตร์ที่สร้างในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๘-๒๕๑๒ จากห้องแล็บของบริษัทแรงค์ แลบอราทอรี่ส์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเก็บรักษาในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ จำนวนประมาณ ๒๐ เรื่อง อาทิ ชั่วฟ้าดินสลาย (พ.ศ ๒๔๙๘), โรงแรมนรก (พ.ศ. ๒๕๐๐), สวรรค์มืด (พ.ศ. ๒๕๐๑), แพรดำ (พ.ศ. ๒๕๐๔), เงิน เงิน เงิน (พ.ศ. ๒๕๐๘), อีแตน (พ.ศ. ๒๕๑๑), เกาะสวาท หาดสวรรค์ (พ.ศ. ๒๕๑๑) ฯ

ในปีที่ออกฉาย ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากความล้ำสมัยของเรื่องราว และตัวละครที่ฉีกแนวพระ-นาง ตรงกันข้ามกับขนบธรรมเนียมความเป็นไทย แต่ก็ได้คว้าสามรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ ๓ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ประกอบด้วย – ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (รัตน์ เปสตันยี) – ถ่ายภาพยอดเยี่ยม ประเภท ๓๕ ม.ม. (ประสาท สุขุม) – บันทึกเสียงยอดเยี่ยม (ปง อัศวินิกุล)

เรื่องได้รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมปีนั้น คือ ไอ้แก่น (พ.ศ. ๒๕๐๒) กำกับการแสดงโดย น้อย กมลวาทิน นำแสดงโดย รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, ลือชัย นฤนาท, วิน วิษณุรักษ์

ส่วนตัวประทับใจแนวคิด ความตั้งใจ ไดเรคชั่นของคุณรัตน์ เปสตันยี ที่ได้สร้างสรรค์ความแตกต่างให้กับยุคสมัยได้สมคำล่ำลือ แต่ปัญหาของหนังคือจังหวะ การพูดของนักแสดง และเรื่องราวอันซับซ้อนซ่อนเงื่อน ไม่ค่อยกลมกล่อมลงตัวเสียเท่าไหร่

แนะนำคนรักหนังไทยรุ่นคลาสสิก บันทึกประวัติศาสตร์ภาพยนตร์สมัยก่อน, กลิ่นอายนัวร์ สุภาพบุรุษเสือไทย, แฟนๆนักแสดง รัตน์ ศรีอุบล, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, ประจวบ ฤกษ์ยามดี ไม่ควรพลาด

จัดเรต PG กับการทรยศหักหลัง ก่ออาชญากรรม บรรยากาศอันลึกลับน่าสะพรึงกลัว

TAGLINE | “รัตน์ เปสตันยี ได้สร้างโรงแรมสวรรค์นรก สมชื่อ!”

QUALITY | THUMB UP MY SCORE | SO-SO

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

Our Little Sister (2015) : Hirokazu Kore-eda ♥♥♥♡

‘ไม่มีผู้ชายเราก็อยู่ได้’ นี่คือโลกทัศนคติของผู้หญิงที่โหยหาอิสรภาพความเท่าเทียมมาหลายทศวรรษ แต่ที่ญี่ปุ่นยังถือว่าเป็นของใหม่เพราะวิถีสังคมบุรุษคือช้างเท้าหน้า การรับน้องสาวต่างมารดามาอาศัยอยู่ร่วมชายคาถือเป็นความกล้าบ้าบิ่น ถึงกระนั้นไม่ลองก็ไม่รู้ อาจพบเจอความสุขรูปแบบใหม่ๆที่แตกต่างจากเดิมก็เป็นได้

Umimachi Diary, เพราะเราเป็นพี่น้องกัน คือภาพยนตร์ที่จะทำให้คุณอิ่มสุขไปกับวิถีชีวิตประจำวัน Slice-of-Life ของสาวๆทั้งสี่ผู้มีโลกทัศน์อันแตกต่าง อาศัยอยู่ร่วมชายคาเพราะสายสัมพันธ์พี่น้องยึดเกี่ยว ช่วยเหลือเกื้อกูลพึ่งพาอย่างกลมเกลียว ขณะที่ผู้ชายของพวกเธอมีก็ได้ไม่มีก็ช่าง แค่นี้ชีวิตก็เป็นสุขสบายดี ‘Slow Life’ หาต้องดิ้นรนเหน็ดเหนื่อยไปตามวิถีสังคมโลกหมุน

ความตั้งใจของผู้กำกับ Hirokazu Kore-eda และ Akimi Yoshida ผู้เขียนมังงะ Umimachi Diary คงต้องการปลูกฝังแนวคิด เปิดโลกทัศนคติใหม่ๆให้กับเด็กหญิงสาว (Josei) เริ่มต้นมีความกล้าที่จะคิด-พูด-แสดงออก รู้จักความรับผิดชอบ เป็นตัวของตนเอง ไม่ใช่ก้มหน้าก้มหัวยึดถือมั่นในขนบวิถีสังคมดั้งเดิมที่เคยมีมา อะไรดีๆเรียนรู้แล้วว่าก่อประโยชน์ก็ธำรงรักษาไว้ ความผิดพลาดคือครูผู้สอนให้สามารถก้าวเดินข้ามผ่าน

สิ่งน่าทึ่งของภาพยนตร์เรื่องนี้คือการเคลื่อนไหลภาพที่แทบจะทุกช็อตฉาก น้อยครั้งจะแน่นิ่งตั้งวางทิ้งไว้เฉยๆ (สงสัยกลัวตากล้องทำงานไม่คุ้มค่าจ้าง!) เห็นว่าตอนแรก Kore-eda ตั้งใจหวนกลับไปใช้ ‘สไตล์ Ozu’ ตั้งกล้องวางมุม Tatami Shot แบบผลงานช่วงแรกๆ แต่ล้มเลิกความตั้งใจเพราะไดเรคชั่นนั้นมีความเป็น ‘ทางการ’ ดูเคร่งขรึมจริงจังเกินไปเสียหน่อย ขยับเคลื่อนทีละเล็กน้อยสร้างสัมผัสชีวิตดำเนินไปอย่างเชื่องช้า ‘Slow-Life’ แต่มีความมั่นคงอย่างที่สุด

แต่หนังมีปัญหาหนึ่งอันเกิดจากเส้นทิศทางของเรื่องราว เพราะผู้ชมถูกโน้มน้าวให้รู้สึกว่า Suzu ควรเป็นศูนย์กลางการปรับตัวสู่บ้านหลังใหม่ แต่เมื่อถึงจุดๆหนึ่งกลับเบี่ยนเบนไปมุ่งเน้นความสัมพันธ์ร่วมกับพี่ๆทั้งสาม ทำให้ประเด็นปัญหาดังกล่าวตกหล่นหมดความสำคัญไป (เมื่อเทียบความวุ่นวายกับชีวิตของพี่ๆ) นี่ก็เป็นสิ่งแตกต่างจากต้นฉบับมังงะ ที่มุ่งเน้นนำเสนอพัฒนาการเติบโต/ปรับตัว Coming-of-Age ของ Suzu เป็นหลัก

Hirokazu Kore-eda (เกิดปี 1962) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Tokyo ตอนเด็กอาศัยอยู่กับแม่ (ไม่มีพ่อ) มีพี่สาวสองคน ตอนหกขวบพบเห็นปู่เสียชีวิตด้วยอัลไซเมอร์เป็นอะไรที่ฝังใจมากๆ โตขึ้นวาดฝันเป็นนักเขียนนิยาย เข้าเรียนสาขาวรรณกรรมจาก Waseda University แต่ออกมาเลือกทำงานเป็นผู้ช่วยกำกับสารคดีโทรทัศน์อยู่ถึง 3 ปี ฉายเดี่ยวเรื่องแรก Lessons from a Calf (1991), แจ้งเกิดกับภาพยนตร์ Maborosi (1995) เข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Venice คว้ารางวัล Golden Osella ได้รับการจับตามองจากทั่วโลกโดยทันที

สไตล์ของ Kore-eda มีคำเรียก ‘Cine-Poems’ เรื่องราวสะท้อนความสัมพันธ์เข้ากับชุมชน/เมือง/ป่าเขาธรรมชาติ รับอิทธิพลจาก Yasujirō Ozu, Hou Hsiao-hsien ในความเชื่องช้า นุ่มนวล ลุ่มลึกซึ้ง ชอบสร้างสถานการณ์ข้อจำกัด ตั้งคำถามเกี่ยวกับชีวิต ครอบครัว การมีตัวตน/สูญหาย และมุ่งค้นหาหนทางออกดีสุดของปัญหาที่ไม่มีคำตอบ, ผลงานเด่นๆ อาทิ After Life (1998), Nobody Knows (2004), Still Walking (2008), Like Father, Like Son (2013), Our Little Sister (2015), The Third Murder (2017), Shoplifters (2018) ฯ

เมื่อ Kore-eda มีโอกาสได้อ่านมังงะ Umimachi Diary (2007 – 2018) ขณะตีพิมพ์ลงในนิตยสารรายเดือน Flowers สำหรับผู้หญิง (Josei) เกิดความสนใจดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์อย่างยิ่ง แต่เมื่อติดต่อผู้เขียน Yoshida พบว่าลิขสิทธิ์ดัดแปลงถูกซื้อไปแล้ว เลยหันไปสร้าง I Wish (2011) ตามด้วยระหว่างกำกับ Like Father, Like Son (2013) ได้รับติดต่อกลับมาว่าฝั่งนั้นล้มเลิกความตั้งใจ ยังมีความสนใจอยู่อีกหรือเปล่า?

ก่อนอื่นขอกล่าวถึงผู้แต่งมังงะ Akimi Yoshida (เกิดปี 1956) หลังเรียนจบ Musashino Art University ก็เริ่มอาชีพเขียนการ์ตูนที่เหมาะสำหรับผู้หญิง แม้แต่ Banana Fish (1985-94) เบื้องหน้าคืออาชญากรรม แต่ลึกๆแล้วคือแนว Y ชายรักชาย, เคยคว้ารางวัล Shogakukan Manga Awards ถึงสามครั้งกับ Kisshō Tennyo (1983 – 84), Yasha (1996 – 2002) และล่าสุดเมื่อปี 2016 กับ Umimachi Diary (อาจเพราะภาพยนตร์เรื่องนี้ส่งให้ด้วยกระมัง)

ฉบับมังงะของ Umimachi Diary (แปลว่า Seaside Town Diary, บันทึกหมู่บ้านริมทะเล) ชื่อไทยวันที่เสียงจักจั่นซา นำเสนอวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนในหมู่บ้านริมทะเล Kamakura โดยมีศูนย์กลางคือครอบครัว Kōda ที่เพิ่งรับน้องสาวต่างมารดามาอาศัยอยู่ด้วยกัน ซึ่งการตีพิมพ์รายเดือนทำให้เรื่องราวเกิดขึ้นจบสิ้นสุดลงในตอนของมันเอง

เพราะความเป็นแฟนของมังงะ Kore-eda พยายามจะเขียนบทดัดแปลงให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับต้นฉบับ แต่ก็พบว่าไม่สามารถร้อยเรียงแต่ละตอนให้กลายเป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งได้ เลยตัดสินใจโฟกัสเรื่องราวแค่สี่พี่น้องและบ้านไม้หลังเก่าของครอบครัวเป็นจุดหมุน ได้รับคำอำนวยอวยพรอย่างดีจากผู้เขียน มอบอิสระในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆอย่างเต็มที่

สามพี่น้อง Kōda อาศัยอยู่ในบ้านไม้หลังเก่าที่เมือง Kamakura หลังจากถูกพ่อ-แม่ ทอดทิ้งหนีหายหน้าไม่เคยหวนกลับมา วันหนึ่งได้รับจดหมายแจ้งให้เข้าร่วมงานศพพ่อ ออกเดินทางไปพบเจอน้องสาวต่างมารดา Suzu Asano ชักชวนให้มาอาศัยอยู่ร่วมกัน จะเลี้ยงดูแลปูเสื่อให้เป็นอย่างดี ซึ่งเธอก็ตอบตกลงแทบจะโดยทันที ชีวิตวุ่นๆของสี่พี่น้องใบเถาในบ้านชายคาหลังนี้จึงเริ่มต้นขึ้น

ด้วยสไตล์การทำงานของ Kore-eda เขียนบทคร่าวๆไว้ประมาณนี้แล้วเริ่มต้นคัดเลือกหานักแสดง โดยคาดหวังให้พวกเธอช่วยสร้างเรื่องราวที่มีความเฉพาะตัว แตกต่างจากต้นฉบับมังงะ และได้ภาพยนตร์ความขาว 2 ชั่วโมง –

“We decided on the casting from the second draft of the script. I imagined how these women would move around inside the house and started to think about scenes that weren’t in the original (manga) and how to change the dialogue, until I finally had a two-hour movie.”

Haruka Ayase (เกิดปี 1985) นักแสดงและนางแบบสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Hiroshima สมัยเด็กเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลตัวโรงเรียน ตอนอายุ 14 ได้รับการ Audition จาก Horipro Talent Scout Caravan เริ่มต้นจากเป็น Gravure Idol สมทบซีรีย์จนมีชื่อเสียงโด่งดังกับ Crying Out Love in the Center of the World (2001), JIN (2009) ฯ ขณะที่ภาพยนตร์เรื่องเด่นๆ อาทิ Cyborg She (2008), Oppai Volleyball (2009), Our Little Sister (2015) ฯ

รับบทพี่สาวคนโต Sachi Kōda อายุ 29 ปี หลังจากแม่หายตัวออกจากบ้าน ก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้าครอบครัว เลี้ยงดูแลพึ่งพิงพาให้กับน้องๆ ทำงานพยาบาลดูแลผู้ป่วย (พูดง่ายๆก็คือ ชอบให้การช่วยเหลือผู้อื่น) มากด้วยศักยภาพผู้นำจนได้เลื่อนขั้นเป็นผู้ดูแลวอร์ดใหม่ สามารถมองตาอ่านตัวตนจิตใจคนออกได้โดยง่าย แต่ทั้งนั้นกลับยังมืดบอดในความรัก ดูไม่ออกว่าแฟนที่จีบอยู่แต่งงานมีภรรยาแล้ว ซึ่งเมื่อเขาชักชวนไปอยู่อเมริกาจึงได้รับรู้ความจริง ปฏิเสธเสียงแข็งเพราะไม่อยากซ้ำรอยเหมือนพ่อแม่ตนเอง

ผู้ชายในสเปคเธอ ดูเป็นผู้ใหญ่สูงวัยกว่า อาชีพการงานมั่นคงอนาคตก้าวไกล พูดไม่เยอะแต่มองตาสื่อสารเข้าใจ ทั้งนี้ทั้งนั้นนั่นคือช่องว่างระหว่าง อะไรหลายๆอย่างไม่เคยรับรู้ สุดท้ายก็ต้องแยกจากเพราะคนแบบนี้ส่วนใหญ่แต่งงานมีครอบครัวอยู่แล้ว แต่ยังคงเพ้อฝันทะเยอทะยานไขว่คว้า อยากที่จะก้าวข้ามน้ำข้ามทะเลค้นหาเป้าหมายปลายทางของชีวิต (ได้ทุนไปร่ำเรียนต่อยังอเมริกา) ร่ำลาจากครั้งนี้ต่างนั่งอยู่ริมชายหาด เหม่อมองสุดขอบปลายฟ้าไปด้วยกัน

เมื่อได้พบเจอกับ Suzu สามารถรับรู้ได้ทันทีว่าเธอคือผู้ดูแลช่วยเหลือพ่ออย่างใกล้ชิดตอนอยู่โรงพยาบาล ตัดสินใจชักชวนมาอาศัยอยู่ร่วมกันที่บ้าน มอบความรักความอบอุ่นเป็นทั้งแม่ พี่สาว และที่ปรึกษา ค่อยๆให้เวลาเธอปรับตัวจนพร้อมระบายความรู้สึกอัดอั้นเต็มอกออกมา รับฟังและก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาร้ายๆไปด้วยกัน

ปมของ Sachi คือความผิดหวังในตัวแม่แท้ๆของตนเองอย่างรุนแรง เมื่อเธอหนีหายตัวจากไป สะสมความเก็บกดอัดอั้นไม่พึงพอใจ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำครอบครัวเพราะต้องการพิสูจน์ให้เห็นว่า ลูกผู้หญิงก็สามารถเป็นผู้นำครอบครัวที่ดีได้, การหวนกลับมาหาในรอบกว่าสิบปีของแม่ สร้างความร้าวฉานให้ทั้งคู่ในทีแรกจนมองหน้าแทบไม่ติด แต่เพราะนั่นคงทำให้เธอครุ่นคิดถึงตนเอง (ที่กับแฟนก็ดันกำลังจะซ้ำรอยเดิม ไปเป็นชู้ให้ครอบครัวอื่นแตกแยก) สุดท้ายเลยยอมลดทิฐิลงมา เพราะแม่ก็คือแม่เพียงคนเดียววันยังค่ำ

เห็นว่าปกติแล้ว Ayase มักแสดงเป็นตัวละครมีความร่าเริงสดใส ยิ้มแย้มเบิกบาน จนได้รับฉายา ‘นางฟ้าแห่งวงการบันเทิงญี่ปุ่น’ แต่เมื่อพบเจอ Kore-eda มองเห็นศักยภาพในการแสดงที่แตกต่าง เรียกเธอว่า ‘Woman of Showa Period (1926-89)’ คุณภาพเหมือน Setsuko Hara ภายนอกสง่างาม ภายในเข้มแข็งแกร่งด้วยศักดิ์ศรีความเป็นผู้หญิง รับบทบาทนี้ผู้ชมกว่าครึ่งจะหน้านิ่วคิ้วขมวด แต่รู้สึกเลยว่าเป็นคนหนักแน่นมั่นคงพึ่งพาอาศัยได้ อยู่ด้วยแล้วสุขกายสบายใจ แถมยังสามารถช่วยแบ่งเบาภาระอะไรๆได้มากมาย

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

Masami Nagasawa (เกิดปี 1987) นักแสด โมเดลลิ่งสัญชาติญี่ปุ่น เข้าสู่วงการจากชนะการประกวด Toho Cinderella เริ่มจากบทบาทสมทบ Crossfire (2000), Godzilla: Tokyo SOS (2003), Godzilla: Final Wars (2004), ดังพลุแตกกับ Crying Out Love in the Center of the World (2004) คว้ารางวัล Japan Academy Prize: Best Supporting Actress, ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Touch (2005), Rough (2006), Nada Sōsō (2006), Moteki (2011), Our Little Sister (2015), Before We Vanish (2017) ฯ

เกร็ด: อาจมีคนสงสัยเกี่ยวกับ Crying Out Love in the Center of the World คือมันมีสองฉบับ และทั้งคู่รับบทตัวละครเดียวกัน – ละครซีรีย์ปี 2001 นำแสดงโดย Haruka Ayase – ฉบับภาพยนตร์ 2004 นำแสดงโดย Masami Nagasawa

รับบทพี่สาวคนรอง Yoshino Kōda อายุ 22 ปี ทำงานพนักงานธนาคาร สเป็คผู้ชายทึ่มๆทื่อๆเด็กกว่าตนสามารถเป็นคนเลี้ยงดูแล (สายเปย์นะเนี่ย!) แต่ส่วนใหญ่ก็มักแค่หวังเงินฟันแล้วทิ้ง พบเจอความผิดหวังร่ำไปในชีวิต ร่ำสุราจนเมามายขาดสติ จนกระทั่งได้เลื่อนตำแหน่งงาน ให้ความช่วยเหลือหลายๆคนที่ประสบปัญหาการเงินด้วยการปล่อยกู้ ซึ่งนั่นได้ทำให้เธอพบเจอความจริงบางอย่าง ชีวิตไม่มีที่ไหนสวยงามเหมือนดั่งความฝัน

Yoshino เป็นผู้หญิงที่ค่อนข้างเรื่องมากเอาแต่ใจ ไม่ค่อยชอบรับฟังใคร มีเรื่องทะเลาะขัดแย้งไม่ลงรอยกับพี่สาว Sachi บ่อยครั้งร่ำไป แต่กับน้องๆทั้งสองถือว่ารักใคร่กลมเกลียวกันดี แทบไม่เคยเห็นมีปัญหาปากเสียง กับ Suzu ไม่ได้มีสัมพันธภาพอะไรมากเป็นพิเศษ

ถึงตอนจบของหนัง Yoshino จะยังเป็นโสดอยู่ แต่ก็มีแว่วแววกับเพื่อนร่วมงานคนนี้ ที่ตามติดไปไหนมาไหนด้วยกัน คงอีกสักพักถึงจะเริ่มเห็นอะไรๆตรงกัน นั่งอยู่ริมสะพานช็อตนี้เหม่อมมองไปยังเป้าหมายปลายฝน อยากจะทำอะไรบางอย่างเพื่อผู้อื่นบ้างไม่ใช่แค่เห็นแก่ตัวเอง

สิ่งน่าทึ่งในการแสดงของ Nagasawa คือความไม่หวาดกลัวเกรงจะเป็นตัวของตนเอง ‘สาวมั่น’ โลกต้องหมุนรอบฉัน ไม่หวั่นแม้วันมากมาย, ซึ่งตัวละครของเธอขณะนี้อยู่กึ่งกลางระหว่างพึ่งพาได้ไม่ได้ กำลังมองหาเป้าหมายชีวิตตนเอง (และแฟนใหม่) ชอบขัดแย้งกับพี่เพราะไม่อยากกลายเป็นแบบนั้น แต่สุดท้ายแล้วก็เดินตามรอยกันมาติดๆ

ถ้าบอกว่า Ayase คือเจ้าแม่แห่งวงการซีรีย์ญี่ปุ่น Nagasawa ก็คือเจ้าแม่แห่งวงการภาพยนตร์ในยุคปัจจุบัน อายุห่างกันไม่มากเท่าไหร่ โด่งดังก็ตามก้นมาติดๆ น่าจะเป็นเพื่อนสนิทกันมั้งด้วยนะ เรื่องนี้ร่วมงานครั้งแรกกลายเป็นพี่น้อง เข้าขากัดกันได้อย่างมัวเมามันสุดๆเลย

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

Kaho Indō (เกิดปี 1991) นักแสดง โมเดลลิ่งสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Tokyo ตั้งแต่ยังเรียนชั้นประถมก็ถูกค้นพบโดยแมวมองของ Omotesandō ชักชวนให้ถ่ายแบบลงนิตยสารวัยรุ่น สมทบในซีรีย์หลายเรื่อง ภาพยนตร์เรื่องแรก Gamera the Brave (2006), พลุแตกกับ A Gentle Breeze in the Village (2007), Tokyo Girl (2008), Sing, Salmon, Sing! (2008), Our Little Sister (2015) ฯ

รับบท Chika Kōda อายุ 19 ปี ไม่แน่ใจยังเรียนอยู่หรือเปล่า แต่เห็นทำงานในร้านขายอุปกรณ์กีฬา ร่วมกับแฟนหนุ่มเซอร์ๆหัวใจสป็อต ขณะนี้กำลังใคร่สนใจอยากทดลองตกปลา โยนคันเบ็ดถามทางเป้าหมายยังไม่พบเจอสักเท่าไหร่ ชีวิตยังเต็มไปด้วยความร่าเริงสดใส แต่เหมือนจะมากเกินไปจนดูป้ำๆเป๋อๆ โก๊ะๆ ยังเด็กอยู่พึ่งพาอะไรไม่ค่อยได้เท่าไหร่

คงเพราะวัยไม่ห่างกันมาก ทำให้ Chika สนิทสนมกับ Suzu พอสมควร พูดคุยสนุกสนานแกล้งเล่นอยู่บ่อยครั้ง ทั้งยังให้ความช่วยเหลือส่งเสริมสนับสนุนด้านกีฬา อยู่เป็นกองเชียร์ให้กำลังใจอยู่ข้างสนาม

ก็ไม่รู้ตัวตนจริงๆของ Kaho เป็นแบบในหนังหรือเปล่า แต่ต้องชมการแต่งหน้าทำผม สร้างเอกลักษณ์ให้กับตัวละครมีลักษณะเฉพาะตัวที่โดดเด่นชัด ย้ำคิดย้ำทำยังมีอะไรต้องเรียนรู้อีกเยอะในชีวิต ขณะที่เรื่องความรักสเป็คผู้ชายก็แบบว่า ยกให้เธอไปเถอะคนนี้ เกิดมาเข้าคู่เป็นของกันและกันเสียจริงๆ

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

Suzu Hirose (เกิดปี 1998) นักแสดง โมเดลลิ่งสัญชาติญี่ปุ่น น้องสาวของ Alice Hirose เกิดที่ Shimizu-ku, ก่อนหน้านี้มีบทสมทบเล็กๆใน The Apology King (2013), Crows Explode (2014), ซึ่งก็ได้แจ้งเกิดเต็มตัวกับ Our Little Sister (2015), ตามด้วยไตรภาค Chihayafuru,Your Lie in April (2016), The Third Murder (2018) ฯ

รับบท Suzu Asano ในมังงะอายุ 13 ปี ยังเรียนอยู่มัธยมต้น เพราะความที่แม่พึ่งพาอะไรไม่ได้เลยชอบอาศัยอยู่ติดพ่อ แต่เมื่อเขาเสียชีวิตจากไปก็หมดสิ้นที่หวังพึ่งพิงทางใจ ได้รับคำชักชวนจากพี่สาวต่างมารดา แม้เป็นคนแปลกหน้าแต่ก็รีบไขว่คว้าโอกาสนี้ไว้ คงเพราะรู้สึกอุ่นใจกว่าเมื่อได้อยู่ใกล้คนที่เข้าใจตนเองจริงๆ

Suzu เป็นนักกีฬาฟุตบอล มีความสามารถเลี้ยวล็อคหลบผู้เล่นได้ทั้งสองเท้า นั่นสะท้อนถึงวิธีการเอาตัวรอดของเธอขณะอาศัยอยู่กับแม่ แสดงออกให้เห็นว่ามีความรับผิดชอบเป็นที่พึ่งพิงพาได้ แต่นั่นถือว่าเกินเลยวัยไปเยอะ เด็กอายุ 13-14 สมควรต้องได้วิ่งเล่นเพลิดเพลินสนุกสนาน ยังไม่ใช่เวลาจะกลายเป็นผู้นำครอบครัวที่มีผู้ใหญ่เดินตามตูดข้างหลัง

โลกใบใหม่นี้ของ Suzu ทำให้เธอค่อยๆเรียนรู้จักความสนุกสนาน รอยยิ้มแป้น มิตรภาพอันงดงามของผองเพื่อน (ที่ก็ไม่รู้จะแปรสภาพกลายเป็นแฟน/คนรักหรือเปล่านะ), ความน่าสนใจของฉากนี้คือคำถามสงสัยของเด็กหญิง ไม่รู้ว่าตนเองเหมาะสมกับสถานที่แห่งนี้หรือเปล่า? กิ๊กหนุ่มของเธอดันตอบคำถามเชิงปรัชญา เล่าถึงฉันเป็นลูกชายคนเล็กที่พ่อแม่ไม่ค่อยอยากได้เท่าไหร่ พวกเขาเลยไม่ยอมถ่ายรูปตนตอนเด็กเก็บไว้เท่าไหร่ … คงเป็นการจะบอกว่า ฉันไม่ต่างจากเธอหรอก เป็นคนนอกคอกไม่มีใครต้องการเหมือนกัน แต่ชีวิตก็ยังมีสุขอยู่ได้ ไร้ซึ่งความวิตกกังวลใดๆ

Hirose ถือเป็นสาวน้อยมหัศจรรย์ สายตาอันเปล่งประกายมีทั้งสุข-ทุกข์ ปะปนเปหลบซ่อนอยู่ภายใน ตอนได้รับบทบาทนี้ผู้กำกับ Kore-eda สอบถามอยากท่องจำบทหรือแสดงอย่างเป็นธรรมชาติ เธอเลือกอย่างหลังเพราะคิดว่านี่อาจเป็นโอกาสเดียวในชีวิต ความเก้ๆกังๆขาดความมั่นใจในตนเองสะท้อนความรู้สึกสับสนว้าวุ่นวายใจของตัวละครได้เป็นอย่างดี และรอยยิ้มอันบริสุทธิ์ไร้เดียงสา ก็นึกว่าเด็กอายุ 13-14 จริงๆนะเนี่ย

เกร็ด: ตอนเรียนมัธยมต้น Hirose เป็นนักกีฬาบาสเกตบอลตัวโรงเรียน (เฉกเช่นเดียวกับ Ayase ไม่ผิดเพี้ยน) แต่เพราะตัวละครนี้ในมังงะเตะฟุตบอล เธอจึงไปเข้าคอร์สเรียนเล่นอยู่เกือบปี จนเชี่ยวชำนาญสามารถวิ่งล็อคหลบผู้ชายหัวทิ่ม ก็ไม่รู้กี่เทคกว่าจะยิงเข้าประตูมั่นเหมาะ (เพราะมันเป็น Long-Take ด้วยไง) จริงๆผู้กำกับพึงพอใจนานแล้ว แต่เจ้าตัวบอกยังไม่เต็มศักยภาพตนเองขอต่อ สงสัยจะได้กลายเป็น Perfectionist แล้วกระมัง

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ก่อนที่โปรดักชั่นหนังจะเริ่มต้นขึ้น สาวๆทั้งสี่ใช้เวลาหลายวันทีเดียวอาศัยหลับนอนค้างแรมอยู่บ้านเก่าหลังนี้ที่ Kamakura เพื่อสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยต่อกันและสถานที่ ปัดกวาดเช็ดถูทำความสะอาด ตัดถางหญ้าจนโล่งเตียน กลายเป็นว่าพอทีมงานมาถึงก็ไม่ต้องจัดแต่งอะไรเพิ่มเติม สามารถเริ่มต้นถ่ายทำดั้นสดกันได้เลยไม่มีการท่องบท (สไตล์กำกับของ Kore-eda มักแค่ให้คำแนะนำเบื้องต้น ที่เหลือปล่อยให้นักแสดงใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มศักยภาพ)

ถ่ายภาพโดย Mikiya Takimoto จากช่างภาพนิ่งในกองถ่ายของ Kore-eda เลื่อนขั้นมาเป็นผู้กำกับภาพ Like Father, Like Son (2013), Our Little Sister (2015), The Third Murder (2017) ฯ

นอกจากการเคลื่อนไหลของกล้องที่แทบทุกช็อตฉากแล้ว สิ่งโดดเด่นของหนังคือการใช้โทนสีออกไปทางขาว-ฟ้า-ชมพู (ซากูระ) ให้สัมผัสของเมืองริมทะเล (แบบชื่อหนัง Umimachi Diary) ได้บรรยากาศสบายๆผ่อนคลายเรื่อยเปื่อย และมีครบอรรถรสฤดู ร้อน-หนาว (หิมะ)-ใบไม้ร่วง-ฝนตก ใช้เวลาถ่ายทำยาวนานถึง 9 เดือนเต็ม (เมษายน – ธันวาคม)

ภาพแรงของหนัง พี่สาวคนรอง Yoshino หลับนอนกับกิ๊กหนุ่ม ตื่นเช้ามารีบเร่งแต่งตัวกลับบ้าน, มันมีนัยยะของการเคลื่อนไหลกล้องจากเท้า (จุดต่ำสุดของมนุษย์) ผ่านลำตัวไปถึงศีรษะใบหน้า (จุดสูงสุด) ถ้าเทียบแล้วย่อมแทนได้ด้วยชีวิตของน้องสาวคนเล็ก Suzu พบเจอครั้งแรกตอนพ่อตาย (จิตใจตกต่ำสุดขีด) ชักชวนมาอยู่ด้วยที่บ้านพี่ๆ ค่อยเรียนรู้จักปรับตัว อะไรๆตอนจบก็ดีขึ้นมาก (จิตใจโป่งพองเอ่อล้นด้วยความสุขสูงสุด)

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ลีลาของผู้กำกับ Kore-eda เมื่อสาวๆเดินขึ้นไปบนยอดเขา ก็จะถ่ายให้เห็นภาพใบหน้าทั้งสี่ พูดชื่นชมความสวยงามของทัศนียภาพ เรียกน้ำย่อยให้กับผู้ชมเกิดความใคร่อยากรู้เห็นเสียจริงว่าเป็นยังไง จนกว่าจะถึงสุดท้ายของฉากจึงจะมีโอกาสได้เห็น แต่ก็แค่เสี้ยววินาทีหนึ่งเท่านั้น เผลอกระพริบตาก็อดเลยละ!

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

นำสองช็อตนี้มาเปรียบเทียบให้เห็นกันไปเลยว่ามีความคล้ายคลึงกันแค่ไหน … แต่ก็ไม่เห็นมันจะคล้ายเท่าไหร่นะ บางทีอาจต้องมองด้วยใจไม่ใช่ตาเปล่า ถึงสามารถสัมผัสได้ถึงความคล้ายคลึง –

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

อดีตมันเคยเป็นแค่ภาพนิ่ง Tatami Shot ในสไตล์ผู้กำกับ Ozu แต่เมื่อกาลเวลาผันแปรเปลี่ยนไป Kore-eda ที่ได้ชื่อว่าเป็นทายาทรุ่นถัดมา ทำการปรับปรุงเทคนิคเล็กน้อยด้วยการให้กล้องเคลื่อนไหลไปด้านข้าง แต่ระยะระดับภาพยังคงต่ำกว่าสายตาเล็กน้อยคงเดิม นี่คงเรียกได้ประมาณว่า Slide-Tatami Shot (คือมันแค่ขยับเล็กน้อย ไม่ถึงขั้น Tracking-Tatami Shot)

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ใครมีโอกาสไปเที่ยว Kamakura อย่าลืมไปลิ้มลองอาหารกลางวันเลื่องชื่อของเมือง ข้าวราดปลาชิราสึ (Shirasu Donburi) หรือปลาข้าวสาร ตัวมันจะเล็กๆสีขาวนำไปต้มตากแห้งทานกับเครื่องเคียงแซลมอน ทูน่า ปลาย่าง ฯ บนข้าวสวยหอมฉุย

จริงๆผมก็ไม่รู้นะว่าปลาชิราสึจะสื่อได้ถึงอะไรหรือเปล่า แต่ดูจากลักษณะของมันที่เหมือนข้าว และความสำคัญต่อ Suzu ที่พ่อชอบทำให้กิน น่าจะสามารถหมายถึงสัญลักษณ์แทนการมีชีวิต อิ่มอกอิ่มใจทุกครั้งที่ได้รับประทาน

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ลายเซ็นต์ที่ขาดไม่ได้ของ Kore-eda คือรถไฟ แต่กับเรื่องนี้มันจะไม่มีซิ่งเร็วแบบชินคันเซ็น พบเห็นอยู่ 3-4 ครั้งคือรถรางเคลื่อนได้อย่าง Slow-Life เป็นอย่างยิ่ง ครั้งหนึ่งกับช็อตสวยงามมากๆของหนัง คือเด็กๆหลังจากช่วยงานบ้านเพื่อนได้ของฝากเป็นปลาชิราสึ ปั่นจักรยานกลับสวนทางกับรถไฟที่แล่นมาอย่างเชื่องช้าขบวนนี้

รถไฟคือสัญลักษณ์ของการเดินทางไปข้างหน้า แข็งขันเพื่อพุ่งสู่เป้าหมายชีวิต แต่คันนี้มันเชื่องช้าโหลยโท่ยที่โหล่ และเด็กๆต่างปั่นจักรยานสวนทางกลับ สื่อได้ถึงความเรื่อยเปื่อยไร้แก่นสาน ไม่ได้จำเป็นต้องรีบเร่งตามกระแสใครในโลกทุนนิยม ใช้ชีวิตอยู่ในจังหวะ ‘pace’ ของตนเอง ก็พบเจอความสุขได้ในชีวิต

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ใครมีโอกาสรับชม Drone Shot ในโรงภาพยนตร์ เชื่อว่าคงเป็นประสบการณ์เอ่อล้นทะลักด้วยความสุขล้นพ้นอย่างแน่นอน เปรียบเทียบดอกซากูระขึ้นเต็มสองฟากฝั่งราวกับอุโมงค์ ชีวิตไม่ได้มีแค่จะพุ่งไปข้างหน้าเพียงอย่างเดียว หันมองรอบข้างเสียบ้างก็จะพบเห็นความสวยงามที่ผ่านตาอยู่ทุกวี่วัน

ช็อตนี้มันโคตรเจ๋งตอน Close-Up ใบหน้าของ Suzu แล้วมีซากูระดอกหนึ่งร่วมหล่นลงมาแซมผมพอดี ดูแล้วน่าจะเป็นความบังเอิญมากกว่าตั้งใจ แต่นั่นสะท้อนถึงชีวิตก็ไม่มีใครรู้หรอกว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง ปัจจุบันกอบโกยตักตวงเอาความสุขสำราญที่มีอยู่ ใช้ให้เต็มที่คุ้มค่าสร้างสรรค์ แก่ตัวไปมองย้อนกลับมาจะได้ไม่เสียใจในสิ่งที่เคยทำไป

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ผมละอยากเห็นดอกไม้ไฟเหลือเกิน แต่ก็โดนต้มตุ๋นหลอกตากับ CG และช็อตนี้ที่ถ่ายมุมก้มมองเห็นแค่เงาแสงสะท้อนลงบนผืนน้ำ พูดกันตรงๆคือไม่มีงบประมาณที่จะเจียดมาทำพลุ ไม่ใช่ช่วงเทศกาลแถมต้องขออนุญาตทางการอีกวุ่นวาย อย่างเซ็งสุดๆ!

มโนความหมายให้กับการถ่ายทำฉากนี้ การมองเห็นภายนอกแค่ภาพสะท้อนผืนแผ่นน้ำ สะท้อนความสุขที่อยู่ภายในจิตใจเป็นสิ่งที่เราต้องครุ่นคิดจินตนาการขึ้นเอง

แซว: ผมเพิ่งมาเอะใจว่า ช็อตนี้อาจจะแค่โมเดลเรือจำลองถ่ายทำในแท้งค์น้ำแล้วใช้หลอดไฟสีๆเล่นหลอกตา ไม่น่าใช่ออกเรือจริงๆแล้วใช้โดรนบินขึ้นถ่ายทำ

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

มันคือธรรมเนียมปฏิบัติที่มังงะ/อนิเมะ แทบทุกเรื่องเกี่ยวกับวัยรุ่น มักต้องมีงานประจำปี สวมยูกาตะ และเล่นดอกไม้ไฟ นอกจากเป็นการรักษาขนบประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น ยังเสี้ยมสอนให้(ชาวญี่ปุ่น)เกิดความสุขพึงพอใจในสิ่งเล็กๆนี้ จับจ้องมองแสงสว่างที่เป็นประกาย ดูมันค่อยๆมอดไหม้จดหมดสิ้น รอยยิ้ม ชีวิตก็เช่นกัน

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ไอ้เด็กนี่กล้าแหะ! เปิดพัดลมเป่าหอย เผยเอาทุกสิ่งอย่างภายในของลับของหวงของตนเองปลดปล่อยออกสู่อิสรภาพธรรมชาติ, ณ จุดนี้ของหนัง ถือได้ว่า Suzu ปรับเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนละคนแล้ว ความกล้าบ้าบิ่นเกิดจากอิทธิพลเพี้ยนๆของพี่สาวทั้งหลาย อยู่บ้านหลังนี้ไม่มีอะไรต้องหวาดวิตกกังวลอีกต่อไป สามารถใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ให้สมวัยของตนเอง

อิจฉาพัดลม มันคือสัญลักษณ์ของการเผชิญหน้า ต่อสู้กับแรงลมที่โหมกระหน่ำใส่เรา ต่อสู้ต้านทานไว้แล้วก้าวเดินสวนไปข้าง ซึ่งฉากนี้ยังมีอีกนัยยะตรงเป่าหอย ผมว่ามันคือการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ของเพศหญิง ประจำเดือนมาถึงแล้วกระมัง (เกี่ยวรึเปล่าเนี่ย!)

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ภาพท้องทะเลในหนังของ Kore-eda มักสื่อถึงความเวิ้งว้างว่างเปล่า ไร้ซึ่งเป้าหมายปลายทางของชีวิต สายตาที่เหม่อลอยออกไปคือการเฝ้าจับจ้องค้นหา (เป้าหมายชีวิต) แต่ฉากนี้สาวๆทั้งสี่เดินลัดเลาะเรียบชายหาด คงประมาณว่าพวกฉันมิได้สนใจสิ่งอยู่ไกลเกินเอื้อมเหล่านั้น แค่ต้องการใช้ชีวิตไร้แก่นสานไปเรื่อยเปื่อยวันๆ ก็พบเจอความสุขได้ไม่ต้องดิ้นรนวุนวายอะไร

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

ตัดต่อโดย Hirokazu Kore-eda, ใช้บ้านหลังเก่าที่ Kamakura เป็นจุดหมุน นำเสนอ Slice-of-Life ชีวิตประจำของสาวๆสี่พี่น้อง พยายามไกล่เกลี่ยเรื่องราวให้ถัวเฉลี่ยใกล้เคียง แต่สุดท้ายแล้วพี่สาวคนโต Sachi และน้องสาวคนเล็ก Suzu ถือว่าเป็นตัวละครหลักของหนังอยู่ดี (ถ้าในมังงะ Suzu คือหัวใจหลักเลยละ)

การแบ่งหนังออกเป็นองก์ๆคงไม่ใช่สิ่งถูกต้องสักเท่าไหร่ ควรจะแยกเรื่องราวตามมุมมองของตัวละครยังพอทำความเข้าใจได้มากกว่า – เรื่องราวของ Sachi ทำงานพยาบาล, ขัดแย้งแม่, คบแฟนหมอ-เลิกรา – Yoshino ทำงานธนาคาร, แฟนหนุ่มกิ๊กก๊อก – Chika มักเห็นแต่เร่รอนไปกับ Suzu วันๆอยู่ติดบ้าน – Suzu ไปโรงเรียน เตะบอล เที่ยวเล่นกับเพื่อน

จริงๆหนังจบลงตั้งแต่ตอนที่ Sachi สวมกอด Suzu แล้วภาพ Fade-to-Black แต่กลับกลายเป็นว่าเทคนิคนี้ก่อให้เกิดการกระโดดข้ามเวลา (Time Skip) ไปเป็น Epilogue เพื่อสะท้อนจุดเริ่มต้นจากความตาย-สิ้นสุดลงด้วยความตาย(ของอีกคน)เช่นกัน

เพลงประกอบโดย Yoko Kanno ตำนานนักแต่งเพลงอนิเมะ อาทิ Macross Plus (1994), Cowboy Bebop (1998), Turn A Gundam (1999), Ghost in the Shell ฉบับอนิเมะซีรีย์ ฯ

Kanno จัดเต็มให้กับ Orchestra (ที่ยังหาฟังไม่ได้ใน Youtube) ด้วยสัมผัสที่คลุกเคล้าด้วยสุขทุกข์ หวานขม นุ่มนวล เพราะพริ้ง เต็มเปี่ยมด้วยประกายแสงแห่งความหวัง มักเพื่อเติมเต็มอารมณ์เริ่มต้น/ทิ้งท้ายของฉาก สัมผัสจากความรู้สึกแทนเสียงพูดสนทนา (นี่เป็นไดเรคชั่นที่ Kore-eda รับจาก Ozu มาเต็มๆเลย)

ไฮไลท์ของเพลงประกอบคงหนีไม่พ้นฉากปั่นจักรยานชมดอกซากูระ เริ่มจากเปียโนตามด้วยเสียงขลุ่ยและประสาน Orchestra ค่อยๆไต่เต้าสัมผัสทางอารมณ์เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ สะท้อนถึงความสุขเป็นสิ่งที่ค่อยๆสะสมเพิ่มพูน จับจ้องมองสิ่งรอบข้างย่อมสำคัญกว่าเป้าหมายปลายทางที่ก็ไม่รู้ว่ามีอยู่จริงหรือเปล่า

ปัญหาครอบครัวแทบทั้งนั้นเกิดจากความเบื่อหน่าย หมดสิ้นรัก ทำให้ฝ่ายใดหนึ่งคบชู้นอกใจ กล้าๆหน่อยก็บอกเลิกราแล้วย้ายไปอยู่กับคนใหม่ ทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างที่เคยสร้างร่วมมา ให้กลายเป็นปัญหาภาระของผู้ยังอยู่เบื้องหลัง

หนังไม่พยายามชี้เป้าปัญหาว่าเกิดจากผู้ชายเป็นหลักที่ทอดทิ้งภรรยาและลูกๆไว้เบื้องหลัง แต่ยังเหมารวมถึงผู้หญิงที่บางครั้งก็เสแสร้ง (แบบแม่ของ Suzu) หรือมิอาจอดกลั้นต่อความเงี่ยนเหงาต้องการ (แบบแม่ของสามพี่น้อง) พวกเธอมักครุ่นคิดว่า ฉันผิดอะไรที่อยากแสวงหาความสุขสำราญให้กับตนเอง?

สามพี่น้อง Kōda ถือว่าโชคดีมากๆที่หลังจากพ่อและแม่ทอดทิ้งไป มีพี่คนโต Sachi สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำครอบครัวแทน แม้นั่นจะทำให้เธอสูญเสียความเป็นเด็กไปโดยสิ้นเชิง แต่ก็ได้รับการตอบสนองอันดีจากน้องๆ ยอบรับนับถือเข้าใจหัวอก สุขทุกข์ก็ก้าวเดินพร้อมกันอย่างสมานฉันท์กลมเกลียว

การที่ Sachi ชักชวนน้อง Suzu ให้มาอยู่ด้วยกัน สามารถมองได้หลายเหตุผล – เพื่อเก็บตกสิ่งที่พ่อทอดทิ้งไว้แล้วไม่มีใครให้ความสนใจดูแล – ตอบแทนคุณที่น้องช่วยดูแลพ่อยามตกยาก – พบเห็นความคล้ายคลึงกับตนเองที่ต้องแบกรับภาระหน้าที่เป็นผู้นำครอบครัวก่อนวัยอันควร – สำคัญสุดคงเป็นความต้องการพิสูจน์ตนเองเหนือกว่าแม่ของตน (ที่ทอดทิ้งพวกเธอไป เพราะคิดว่าคงเลี้ยงดูลูกๆทั้งสามไม่ได้) ผู้หญิงอย่างฉันสามารถสร้างครอบครัวที่เอ่อล้นด้วยความสุขได้ (โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ชาย)

แนวคิดที่ว่า ‘ผู้ชายคือช้างเท้าหน้า ผู้หญิงคือช้างเท้าหลัง’ คงมีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล นั่นเพราะสรีระเรือนร่างกายมีความแตกต่างตรงกันข้าม ขณะที่บุรุษใช้พละกำลังแรงงานเลี้ยงชีพดูแลครอบครัว อิสตรีจึงคอยให้การช่วยเหลือสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง แต่เมื่อโลกยุคสมัยนี้ที่อะไรๆพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปมาก เส้นแบ่งบางๆระหว่างชาย-หญิง เริ่มเจือจางหายไปแล้ว (ทั้งร่างกายและจิตใจ) สำนวนเปรียบเทียบนี้จึงเริ่มตกยุคล้าสมัย กลายเป็น ‘ไม่ว่าชายหญิง ก็สามารถเป็นช้างเท้าหน้าได้เหมือนกัน’

ผมคิดว่าโลกเราเพิ่งเดินทางมาถึงศตวรรษเปลี่ยนผ่าน ที่ชาย-หญิงสามารถเป็นอะไรก็ได้ดั่งใจ ความเสมอภาคเท่าเทียมได้รับการยอมรับในสังคมวงกว้าง แต่ยังมีอีกมากที่มนุษย์ครุ่นคิดไปไม่ถึง จนกว่าได้รับการชี้ชักนำแนวคิดแบบมังงะ/ภาพยนตร์เรื่องนี้ ผู้หญิงหลายคนอาจยังคิดว่าไม่ใช่เรื่องหน้าที่ที่ตนจะต้องไปรับผิดชอบน้องสาวต่างมารดา หลังจากนี้ใครก็ตามที่บังเอิญตกอยู่ในสถานการณ์คล้ายๆกัน ย่อมกล้าที่จะแสดงความเป็นสุภาพบุรุษสุภาพสตรี นั่นคือสิ่งมีมนุษย์ธรรมน่าชื่นชมแท้จริง

ใครเคยรับชมผลงานก่อนหน้านี้ของผู้กำกับ Kore-eda อาจคิดเพ้อเจ้อไปเล่นๆแบบผมว่า นี่ราวกับภาคต่อของ Nobody Knows (2004) เพราะเด็กๆที่ถูกแม่ทอดทิ้งในหนังเรื่องนั้น คงค่อยๆเติบโตกลายเป็นผู้ใหญ่ในหนังเรื่องนี้ (ถ้านับปีก็แทบจะพอดิบพอดีเลยนะ) และยังได้สานต่อเรื่องราว พบเจอสถานการณ์ใหม่ที่คล้ายๆ Like Father, Like Son (2013) ใครที่ไหนก็ไม่รู้อยู่ดีๆปรากฎตัวขึ้นมา สัมพันธ์ด้วยเลือดเนื้อเชื้อไขเดียวกัน จะให้ทอดทิ้งปิดตาไม่รับรู้สนใจ คนมีจิตสำนึกอันดีย่อมมิอาจกระทำเช่นนั้นได้ลงคออย่างแน่นอน

หนังเข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes ได้รับการยืนปรบมือนานเกือบๆสิบนาที แต่กลับไม่คว้ารางวัลอะไรติดไม้ติดมือกลับมา ขณะที่ในญี่ปุ่นทำเงินได้ ¥1.55 พันล้านเยน (=$12.6 ล้านเหรียญ) เข้าชิง Japan Academy Prize 13 สาขา คว้ามา 5 รางวัล – Best Film ** คว้ารางวัล – Best Director ** คว้ารางวัล – Best Actress (Haruka Ayase) – Best Supporting Actress (Kaho) – Best Supporting Actress (Masami Nagasawa) – Newcomer of Year (Suzu Hirose) ** คว้ารางวัล – Best Screenplay – Best Cinematography ** คว้ารางวัล – Best Lighting ** คว้ารางวัล – Best Art Direction – Best Editing – Best Sound – Best Music Score

ตอนที่หนังได้หลายรางวัลใหญ่ของ JAP ถือว่าสร้างความประหลาดใจอย่างมากทีเดียว ไม่ใช่ตัวเต็งหนึ่ง แถมพลาดรางวัลใหญ่จากทุกสำนัก (Blue Ribbon, Kinema Junpo, Mainichi Award, Hochi Awardฯ) แต่เป็นปีที่คาดเดาอะไรไม่ได้เลยสักนิด

สิ่งที่ส่วนตัวชื่นชอบสุดในหนังเรื่องนี้ คือไดเรคชั่นถ่ายภาพที่ค่อยๆเคลื่อนไหลอย่างนุ่มนวลเชื่องช้า และความสัมพันธ์ของสี่พี่น้อง โดยเฉพาะพี่สาวคนโต Haruka Ayase ทั้งภาพลักษณ์และ Charisma มีความคล้ายคลึง Setsuko Hara อยู่พอสมควรเลยละ

แนะนำคอหนัง Slice-of-Life ดราม่าครอบครัว, วัยรุ่นสาวๆที่กำลังขาดกำลังใจในชีวิต, เคยอ่านมังงะ Umimachi Diary, หลงใหลถ่ายภาพสวยๆ เมือง Kamakura, แฟนๆผู้กำกับ Hirokazu Kore-eda และสี่นักแสดงนำ Haruka Ayase, Masami Nagasawa, Kaho, Suzu Hirose ไม่ควรพลาด

จัดเรต PG ในความเอาแต่ใจและเรื่องใต้กระโปรงของสาวๆ

TAGLINE | “Our Little Sister ของผู้กำกับ Hirokazu Kore-eda พยายามเปิดโลกทัศน์มุมมองใหม่ให้กับสาวๆ แต่เหมือนยังไปได้ไม่ถึงสุดขอบฟ้า”

QUALITY | SUPERB MY SCORE | LIKE

Eva air theam hello kitty ม ไหท ไหนบ าง

Tabu (1931) : F. W. Murnau ♥♥♥♥♡

ผลงานชิ้นสุดท้ายของผู้กำกับ F. W. Murnau แม้มิได้เต็มไปด้วยเทคนิคแพรวพราวเหมือน Sunrise (1927) แต่เรื่องราวความรักต้องห้าม แลกกับการแหกกฎความเชื่อ ‘Taboo’ ของชาวเกาะพื้นเมือง Tahiti มีความงดงามหวานขมไม่ย่อหย่อนยิ่งไปกว่า คว้ารางวัล Oscar: Best Cinematography, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

ต้นศตวรรษ 20 แม้อเมริกากับยุโรปจะมีการแข่งขันก้าวสู่ความเป็นโลกยุคสมัยใหม่ (Modern World) แต่ยังมีดินแดนอีกมากทั่วโลกที่ยังคงลึกลับ ป่าเถื่อน ห่างไกลความเจริญ (Old World) ซึ่งเมื่อการมาถึงของฟีล์มภาพยนตร์ ก็ได้มีนักสำรวจรักการผจญภัยแสวงโชคมากมาย ตั้งใจออกเดินทางไปบันทึกเก็บภาพเรื่องราววิถีชีวิตผู้คนแดนไกล นำกลับมาฉายกลายเป็นสิ่งน่าทึ่งตราตะลึง เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ที่น้อยคนจะมีโอกาสรู้จักพบเห็น

สำหรับใครใคร่สนใจภาพยนตร์แนวสำรวจบุกเบิกโลกลักษณะคล้ายๆกันนี้ เท่าที่พบเห็นในยุคหนังเงียบ อาทิ – Nanook of the North (1922) ** ถือกันว่าเป็นภาพยนตร์สารคดีเรื่องแรกของโลก (ที่แม้จะเป็นการจัดฉากก็เถอะ) – Grass (1925) – Moana (1926) – Chang: A Drama of the Wilderness (1927) **ถ่ายทำในประเทศไทย และเป็นแรงบันดาลใจหนังเรื่อง King Kong (1933) – White Shadows in the South Seas (1928)

หลังครบข้อตกลงสัญญาสร้างภาพยนตร์ 3 เรื่องของปรมาจารย์ผู้กำกับสัญชาติเยอรมัน Friedrich Wilhelm Murnau (1888-1931) ต่อสตูดิโอ Fox [ประกอบด้วย Sunrise (1927), Four Devils (1928), City Girl (1930)] เจ้าตัวคงเกิดความเบื่อหน่ายต่อ Hollywood เต็มแก่ (จริงๆคือสร้างหนังไม่ทำเงินสักเรื่อง เพราะการมาถึงของยุคสมัย Talkie ผู้ชมอเมริกันแทบจะเลิกดูหนังเงียบไปเลย) เลยต้องการออกไปเปิดหูเปิดตาพบเจอโลกภายนอกบ้าง ได้มีโอกาสรู้จัก Robert J. Flaherty โคตรผู้กำกับสารคดี Nanook of the North (1922), Moana (1926) ร่วมกันก่อตั้งสตูดิโอ Flaherty-Murnau Productions เป้าหมายเพื่อ Murnau จะได้มีโอกาสกลายเป็นนักสำรวจผจญภัยค้นหาอะไรใหม่ๆบ้าง

ก่อนหน้านี้ Flaherty เคยร่วมงานผู้กำกับ W.S. Van Dyke สร้างภาพยนตร์เรื่อง White Shadows in the South Seas (1928)** ให้กับสตูดิโอ MGM ปักหลักถ่ายทำอยู่ Tahiti ด้วยความคุ้นเคยและรู้จักคนท้องถิ่น Murnau เลยชักชวนขอให้ Flaherty เป็นเสมือนไกด์ เริ่มต้นร่วมงานสร้างผลงานใหม่ขึ้นที่นั่น

เกร็ด: White Shadows in the South Seas (1928) คือภาพยนตร์เรื่องแรกของ MGM ที่มีการใส่เสียง Soundtrack และจะได้ยินเสียงเจ้าราชสีห์ Leo the Lion (ชื่อ Jackie) คำรามดังขึ้นเป็นครั้งแรก

ทั้งสองร่วมพัฒนาบทหนังตั้งชื่อว่า Turia โดยอ้างจากเรื่องเล่าตำนานข้อห้าม Tabu ที่ Flaherty ได้ยินฟังจากคนท้องถิ่นขณะสร้างภาพยนตร์เรื่อง White Shadows in the South Seas เมื่อเค้าโครงร่างเสร็จสิ้น Murnau ออกเดินทางสู่ Tahiti ก่อนเลยเพื่อสำรวจหาสถานที่ถ่ายทำ Flaherty ตามไปหลังจากนั้นเดือนหนึ่ง ได้สถานที่คือเกาะ Bora Bora และนักแสดงนำหญิง Anne Chevalier ทำงานเป็นสาวเสิร์ฟประจำบาร์ Cocktail

ด้วยงบประมาณที่วางแผนไว้ $150,000 เหรียญ ตั้งใจจะใช้นักแสดง Hollywood สร้างกระแสดึงดูดผู้ชม ไปๆมาๆกลับได้เงินมาเพียง $5,000 เหรียญ หลังจากส่งโทรเลขติดตามนายทุนไปหลายสิบครั้งก็ช่างแม้ง Murnau ควักเงินส่วนตัวใช้เป็นทุนสำรองใช้จ่ายไปก่อน ด้วยเหตุนี้เลยต้องไล่ทีมงานอเมริกันส่วนเกินกลับบ้าน ว่าจ้างคนท้องถิ่นค่าแรงแสนถูก เคยคิดจะถ่ายทำด้วยฟีล์มสีเหลือเพียงขาวดำหนังเงียบ และบทภาพยนตร์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตั้งชื่อใหม่ Tabu: A Story of the South Seas เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาข้อกฎหมาย

เกร็ด: คำที่ถูกต้องจริงๆของชาว Polynesian ต้องเขียนว่า Tapu (เฉพาะภาษา Tongan เขียนผิดเป็น Tabu) ซึ่งมันจะพ้องกับภาษาอังกฤษ Taboo

บทหนังที่ Murnau ขัดเกลาปรับปรุงขึ้นใหม่นี้ ไม่ค่อยเป็นที่ถูกใจ Flaherty เสียเท่าไหร่ มองว่าเรื่องราวมีความเป็น ‘Westernized’ มากเกินไป (คงโดยเฉพาะครึ่งหลัง) แต่ก็ยังตามน้ำต่อไปอีกสักพัก

การถ่ายทำเริ่มต้นมกราคม 1930 โดย Flaherty เป็นผู้กำกับ Sequence แรกของหนัง ชายหนุ่มขว้างหอกจับปลา และวิ่งไล่จับสาวๆ แต่ระหว่างนั้นเกิดปัญหาทางเทคนิคบางอย่างจนกล้องไม่สามารถใช้งานได้ เลยติดต่อตากล้องที่เคยร่วมงาน Floyd Crosby บินตรงจากอเมริกาเพื่อช่วยเหลือแก้ไข และกลายเป็นทีมงานหลักของหนังไปเลย (ทีมงานหลักมีเพียง 3 คนคือ Murnau, Flaherty และ Crosby นอกนั้นจ้างลูกมือคนท้องถิ่น)

เพราะความคิดเห็นต่างในไดเรคชั่นการทำงาน ต่อมา Flaherty ขอถอยห่างจากหน้าที่กำกับ เป็นแค่ผู้ช่วยขัดเกลาบทหนัง และประจำอยู่แลปล้างฟีล์ม (คงเพราะ Murnau เป็นเจ้าของเงินทุน เลยแสดงความเห็นแก่ตัวออกมาเยอะ สร้างหนังในแนวทางของตนเองไม่ถนัดร่วมกำกับ)

สำหรับนักแสดงเลือกใช้ชาวพื้นเมืองท้องถิ่นทั้งหมด ก็ไม่รู้ Murnau เสี้ยมสอนฝึกหัดทำอย่างไรกับพวกเขานะ ไม่เพียงมีความเป็นธรรมชาติลื่นไหล แต่ยังสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก ภาษากายเคลื่อนไหวได้อย่างสากลสุดๆ โดยแทบไม่ต้องใช้ Title Card ระหว่างการพูดคุยสื่อสาร ก็สามารถดูรู้เรื่องมองตาเข้าใจ (Title Card จะปรากฎขึ้นเฉพาะข้อความที่เขียน/ในจดหมายเท่านั้น)

มี Sequence หนึ่งที่คือในความฝันของชายหนุ่ม ผมว่า Murnau คงอดไม่ได้ที่ต้องใช้ลายเซ็นต์ของตนเอง ด้วยการซ้อนภาพระหว่างใบหน้าของหญิงสาวกับไข่มุก ความหมายก็ตรงตัวเลย เธอคือสิ่งงดงาม มีคุณค่าที่สุดในสายตาของฉัน

การถ่ายทำเสร็จสิ้นตุลาคม 1930 พร้อมๆสถานะทางการเงินถังแตก เกือบจะไม่ได้บินกลับอเมริกา ซึ่ง Flaherty ตัดสินใจไม่เอาด้วยแล้ว ล้มบริษัทขายหุ้นส่วนแบ่งคืนให้ Murnau ด้วยสนราคา $25,000 เหรียญ ซึ่งกว่าจะหามาจ่ายได้ก็เมื่อหนังตัดต่อเสร็จ ใส่เพลงประกอบโดย Hugo Riesenfeld และ Paramount Pictures ซื้อสิทธิ์ในการจัดฉายระยะเวลา 5 ปี ด้วยเงิน $75,000 เหรียญ

การลำดับภาพแบ่งเรื่องราวออกเป็นสององก์ ที่มีความตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง – Paradise เรื่องราวบนเกาะ Bora Bora ราวกับสรวงสวรรค์ของคู่รักหนุ่มสาว วันๆใช้ชีวิตไม่ต้องคิดอะไร อยู่กินหาความสุขกับธรรมชาติ เฝ้ารอคอยที่จะได้แต่งงานอาศัยร่วมกันจนกระทั่ง… – Paradise Lost คู่รักหนุ่มสาวหลังจากร่วมกันหลบหนีมุ่งสู่เกาะใกล้เคียง (เกาะอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส) พวกเขายังคงใช้ชีวิตเรื่อยเปื่อยไปวันๆโดยไม่รู้ตัวว่าติดหนี้สินมหาศาล แม้ได้อาศัยอยู่ร่วมกันแต่เต็มไปด้วยความหวาดระแวงกลัวเกรงจะถูกติดตามพบเจอ ไร้ซึ่งความสุขสำราญแบบแต่ก่อนที่เคยมี

เพลงประกอบของ Hugo Riesenfeld ไม่ได้แต่งขึ้นใหม่ คงเพราะค่าตัวที่น้อยนิดเลยใช้การเรียบเรียงด้วยบทเพลงคลาสสิกชื่อดังคุ้นหู อาทิ – Chopin: Nocturnes, Op. 9 – Smetana: Má vlast [ภาษา Czech แปลว่า My homeland] (ถือได้ว่าเป็น Main Theme ของหนังเลยนะ )

Sequence ที่โดยส่วนตัวชื่นชอบสุด หลังจากภาพชายคนหนึ่งป้องปากตะโกนดังขึ้นด้วยเสียงทรัมเป็ต ชาวเกาะต่างแข่งขันกันพายเรือมุ่งสู่เรือยอร์ชแปลกหน้าที่กำลังค่อยๆล่องเข้ามาเยี่ยมเยือน คงเพราะการเลือกใช้บทเพลง Má vlast ท่อน Vltava ที่ถ้าใครเคยรับชม The Tree of Life (2011) น่าจะพอคุ้นหูอยู่บ้าง มันทำให้ผมเกิดรอยยิ้มอิ่มร่าน้ำตาปริมๆ ความสุขมาจากไหนก็ไม่รู้อย่างเหลือล้นขึ้นภายในจิตใจ

เรื่องราวของหนัง เริ่มต้นจากการตั้งคำถาม อะไรคือ Tabu/Taboo? สิ่งต้องห้าม คือบางอย่างที่มนุษย์กำหนดกฎเกณฑ์สร้างกรอบขึ้นเป็นข้อบังคับแนะนำให้ปฏิบัติทำตาม มันอาจเริ่มต้นง่ายๆอย่างบริเวณนั้นมีฉลามเลยขึ้นป้ายเตือนห้ามงมไข่มุก ไม่ต่างอะไรกับความเชื่อเรื่องพระเจ้าในครึ่งแรก อดีตคงมีบางสิ่งอย่างขึ้น ทำแบบนี้แล้วดีเลยสืบสานต่อกลายเป็นความเชื่อศรัทธา วัฒนธรรมประเพณีวีถีชีวิตปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน

กฎมีไว้แหก นับตั้งแต่ครั้งแรกที่อดัมกับอีฟขัดคำสั่งพระเจ้าผู้สร้างด้วยการกินแอปเปิ้ลจากสวนอีเดน แต่มันก็อยู่ที่จิตสำนึกของคนเราจะมองเห็นคุณค่าความสำคัญ กล้าแบกรับความเสี่ยงการกระทำของตนเองหรือเปล่า, – ชายหนุ่มเพื่อเติมเต็มความต้องการของคนรัก ตัดสินใจเสี่ยงอันตรายงมไข่มุกในบริเวณที่มีปลาฉลาม โชคดีชิบหายเอาตัวรอดมาได้ – ขณะที่หญิงสาวแม้ยินยอมหลบหนีตามเขามา แต่จิตใจของเธอกลับเต็มไปด้วยตราบาปความรู้สึกผิด คิดว่ามิอาจหลบหนีไปไหนได้สำเร็จ เลยจำต้องยินยอมรับโชคชะตากรรมของตนเอง

เรื่องกฎมีไว้แหกเนี่ย สงสัย Murnau กำลังต้องการสื่อถึงตัวเอง กว่าสองทศวรรษที่เริ่มสร้างภาพยนตร์มา หมกมุ่นขมุกตัวอยู่แต่ German Expressionism สร้างฉากขึ้นอลังการใหญ่โตในสตูดิโออันแสนคับแคบมืดมิด กระทั่งครั้งแรกกับหนังเรื่องนี้ ที่ได้ออกเดินทางเปิดโลกกว้างใหญ่ไพศาล พบเห็นอะไรอีกมากที่ยังไม่เคยรับรู้จักมาก่อน ซึ่งผมค่อนข้างเชื่ออย่างยิ่งเลยนะ ถ้าผู้กำกับไม่พลันด่วนเสียชีวิตจากไปก่อน เขาคงจะออกท่องทั่วโลก สร้างภาพยนตร์ลักษณะ Tabu ขึ้นอีกหลายเรื่องเลยละ ซึ่งคงสามารถฉายเดี่ยวได้แล้วด้วยกระมัง (ไม่ต้องมีไกด์นำทัวร์อย่าง Flaherty ให้วุ่นวายใจ)

และอดไม่ได้ที่จะต้องเปรียบเทียบ Sunrise (1927) กับ Tabu (1931) สองผลงานขั้วตรงข้ามของ Murnau – Sunrise (1927) สร้างฉากขึ้นอย่างยิ่งใหญ่อลังการในสตูดิโอ Fox เรื่องราวเกี่ยวกับคู่รักหนุ่มสาว เกิดความคับข้องขัดแย้งผิดใจ ตามง้อขอคืนดีจนสำเร็จ หวนกลับมารักกันอย่างเดิมชั่วนิรันดร์ – Tabu (1931) เดินทางไปถ่ายทำยังเกาะ Tahiti ป่าเขาท้องทะเลกว้างใหญ่ไพศาล เรื่องราวเกี่ยวกับคู่รักหนุ่มสาว ถูกกฎเกณฑ์ความเชื่อศักดิ์สิทธิ์ของชนเผ่า บีบบังคับกัดกันไม่ให้พวกเขาครองคู่รักกัน พยายามหลบหนีแต่สุดท้ายก็มิอาจเอาชนะตราบาปความรู้สึกผิดที่ฝังลึกอยู่ในใจ สุดท้ายลาจากกันชั่วนิรันดร์

หนึ่งสัปดาห์ก่อนหนังฉาย (ตัดต่อเสร็จแล้วกำลังรอใส่เพลงประกอบ) Murnau เช่ารถ Rolls-Royce พร้อมคนขับเด็กหนุ่มอายุ 14 ปี สัญชาติ Filipino ระหว่างทางบริเวณ Pacific Coast Highway คงหักหลบพุ่งเข้าชนเสาไฟฟ้าศีรษะฟาดรุนแรง เสียชีวิตในโรงพยาบาลวันถัดมา สิริอายุเพียง 42 ปี, ร่างของ Murnau ถูกส่งกลับไปฝังที่บ้านเกิดเยอรมัน ประกอบด้วยครอบครัวและเพื่อนสนิทเท่านั้น อาทิ Robert J. Flaherty, Emil Jannings, Greta Garbo และ Fritz Lang ร่วมไว้อาลัย

แม้หนังจะไม่ประสบความสำเร็จทำเงิน (เพราะหนังเงียบมันเลิกได้รับความนิยมแล้วนะ เว้นเสียแต่ของ Charlie Chaplin เท่านั้นกระมัง) แต่ในงานประกาศรางวัล Oscar ครั้งที่ 4 ก็ทำให้ Floyd Crosby คว้ารางวัล Best Cinematography สมควรค่าอย่างยิ่ง งดงามตราตรึงมากๆ

ระหว่างรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ จิตใจของผมมีความอิ่มเอิบสุขล้นมากเป็นพิเศษ เพราะความสดใสน่ารักน่าชังของคู่รักหนุ่มสาว ช่างบริสุทธิ์เดียงสา ไร้มลทินชั่วร้ายใดๆเจือปนเคลือบแคลงแฝงอยู่เลย แต่เมื่อพวกเขาประสบพบอุปสรรคขวากหนาม ในเรื่องความเชื่อสิ่งต้องห้ามศรัทธาของชนเผ่า แค่เพียงก้มหน้าก้มตาแน่นิ่งหมดอาลัยตายอยาก ก็ทำให้จิตใจรวดร้าวระทมทรมานสิ้นดี

นั่นน่าจะคือเหตุผลที่ทำให้หนังเรื่องนี้มีความทรงพลังมากๆเลยนะ เพราะผู้ชมอย่างเราๆที่มากด้วยกิเลสตัณหาราคะ เมื่อพบสิ่งมีชีวิตเหมือนเด็กน้อยสดใสบริสุทธิ์ จึงมักเกิดความรักสงสารเอ็นดูต้องการเป็นกำลังใจเชียร์ ซึ่งเมื่อเห็นพวกเขาถูกบางสิ่งอย่างชั่วร้ายลวงโลกที่มนุษย์ด้วยกันกำหนดสร้างขึ้น ดิ้นพร่านทรมานต่อความอยุติธรรมของโลกใบนี้

ครึ่งแรก Paradise ผมถือว่าคือ Masterpiece ที่มีความงดงามยิ่งใหญ่กว่า Sunrise (1927) แต่ครึ่งหลัง Paradise Lost มีบางสิ่งอย่างสูญหาย ‘Lost’ ไปกับหนังจริงๆ ซึ่งเมื่อต้องมองในภาพรวมจึงต้องหารสอง ความชื่นชอบส่วนตัวเลยน้อยกว่า Sunrise อยู่กระนิดนึง

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” โลกมนุษย์สมัยนี้แทบหาความบริสุทธิ์เดียงสา ไร้มลทินชั่วร้ายใดๆเจือปนแบบสองคู่รักในหนังเรื่องนี้ไม่ได้อีกแล้ว เทียบกับครึ่งหลังเมื่อพวกเขาต้องมีชีวิตในโลกที่เงินคือทุกสิ่ง ปัจจุบันนี้มันคือ Paradise Lost จริงๆนะแหละ เป็นคุณอยากอาศัยอยู่ในสวรรค์ไหนมากกว่ากันละ

แม้ว่า Paradise แบบหนังเรื่องนี้ในปัจจุบันจะแทบหมดสิ้นสูญไปจากโลกแล้ว แต่ก็ใช่ว่าหมายถึงสถานที่จับต้องได้เพียงอย่างเดียว ยังคงหลงเหลือสวรรค์ในอก ความสุขภายในที่ยังสามารถค้นพบเจอความบริสุทธิ์เดียงสาได้อยู่ อย่างน้อยก็พยายามอย่าให้มันได้เจือปนมลทินความชั่วร้ายใดๆ จิตใจก็ราวอาศัยอยู่ใน Paradise ไม่ต่างกัน

แนะนำคอหนังเงียบ รักโรแมนติก, ต้องการเปิดหูเปิดตาวิถีชีวิตชาวพื้นเมืองเกาะ Tahiti ในทศวรรษ 30s, ตากล้อง ศิลปิน ชื่นชอบภาพถ่ายสวยๆ, แฟนๆผู้กำกับ F. W. Murnau และ Robert J. Flaherty ไม่ควรพลาด

เคาน์เตอร์ EVA Air สุวรรณภูมิ เปิดกี่โมง

🕑เคาน์เตอร์จะเปิดให้บริการทุกวันเวลา 6.00-21.30 น. 🕑ผู้โดยสารจะต้องทำการเช็คอินและโหลดสัมภาระก่อนเวลา เดินทาง 3 ชั่วโมงภายในวันเดินทาง หลักจากเช็คอินกันแล้ว

Eva Air Gate ไหน

ข้อมูลที่นั่งตรงประตูทางออก

สายการบิน EVA Air ของประเทศอะไร

เป็นสายการบินสัญชาติไต้หวัน บริหารงานโดยเอเวอร์กรีนกรุ๊ป ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจขนส่งขนาดใหญ่ของไต้หวัน ให้บริการเที่ยวบินโดยสารและเที่ยวบินขนส่งสินค้าในชื่อ อีวีเอแอร์ คาร์โก จากท่าอากาศยานหลักที่ไต้หวันเถาหยวน นอกจากนี้ยังมีสายการบินลูก ยูนิแอร์ ให้บริการเส้นทางท้องถิ่น และมีสายการบินอย่างไชน่าแอร์ไลน์เป็นคู่แข่งสำคัญ ...

Eva Air เป็น Full Service ไหม

โปรโมชั่นตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจ (Business Class) อีวีเอ แอร์ สายการบินอีวีเอ แอร์ ให้บริการแบบ Full Service ให้บริการได้มาตรฐาน ราคารวมโหลดกระเป๋า อาหารเสิร์ฟ พร้อมเครื่องดื่มบนเครื่องบิน จึงไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ตั๋วโปรโมชั่นจำนวนจำกัดในทุกเที่ยวบิน