ต วอย างโครงการภ ม ป ญญาท องถ น

อิงฟ้า : สวัสดีค่ะ ชื่อ อิงค์ฟ้า อันนพพร ชื่อเล่น อิงฟ้า อายุ 17 ปี โรงเรียนป่าตาลบ้านธิพิทยา อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ถาม : ก่อนอื่นอยากรู้เกี่ยวกับชื่อโครงการ เล่าให้ฟังหน่อยว่าทำโครงการอะไร

มินนี่ : ชื่อโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น น้ำถุ้งไทลื้อ

ถาม : ออกเสียงว่าน้ำถุ้งใช่ไหม

มินนี่ : ใช่ค่ะ น้ำถุ้ง

ถาม : น้ำถุ้ง แปลว่าอะไร

มินนี่ : น้ำถุ้งคล้ายชะลอม จักรสาน

อิงฟ้า : คล้ายตะกร้า สานด้วยไม้ไผ่ ทาด้วยขี้ยา เวลาตักน้ำขึ้นมาน้ำจะไม่รั่ว เราสามารถตักน้ำไปใส่ตุ่มเพื่อกักเก็บน้ำค่ะ

ถาม : คือเป็นอุปกรณ์ตักน้ำของคนไทลื้อ ใช่ไหม

อิงฟ้า : ใช่ค่ะ

ถาม : ทำไมถึงสนใจเรื่องทำโครงการนี้

มินนี่: เพราะว่าตอนนี้มีแค่ 1-2 ครอบครัวในหมู่บ้านเท่านั้นที่สานน้ำถุ้งไทลื้อบ้านธิได้ พวกหนูคิดว่า น้ำถุ้งจะหายไปแล้วนะถ้าไม่มีใครสืบสานต่อ เลยตกลงกันว่าจะทำโครงการน้ำถุ้งไทลื้อ เพราะว่าเด็ก ๆ ในชุมชนในพื้นที่ ไม่ให้ความสนใจค่ะ ออกไปเรียนในเมือง และเล่นเกมเสียเป็นส่วนมาก

ถาม : บ้านธิเป็นชุมชนใหญ่ไหม

อิงฟ้า : บ้านธิ เป็นชุมชนเล็กๆ 20 หมู่บ้าน

ถาม : แล้วน้ำถุ้งจริงๆ เราใช้กันอยู่ในบ้านเรือนไหมหรือไม่ค่อยได้ใช้กันแล้ว

มินนี่ : ส่วนน้อยค่ะ

ถาม : บ้านมินนี่มีไหม ก่อนที่จะทำโครงการมีน้ำถุ้งใช้อยู่ที่บ้านไหม

มินนี่ : ไม่มีเลย

ถาม : บ้านอิงฟ้ามีไหม

อิงฟ้า : มีค่ะ

ถาม : มีใช้ประจำหรือมีตั้งไว้ขึ้นฝุ่น

อิงฟ้า : มีใช้ เวลาไปตักบาตรทำบุญค่ะ

ถาม : น้ำถุ้งที่บ้านอิงฟ้ามีเยอะไหม

อิงฟ้า : มีอยู่ 2 อันค่ะ

ถาม : เท่าที่พวกเราเห็นกัน ปกติแต่ละบ้านแถวนั้น เขามีน้ำถุ้งกันอยู่บ้างไหม

มินนี่ : มีหมู่บ้านที่สานไว้ เพื่อเอาไว้ประดับตกแต่งบ้าน เช่น กระถางดอกไม้

ถาม : ก็คือ ต่อให้มีก็อาจเอาไปใช้ทำอย่างอื่นแทน

มินนี่ : ใช่ค่ะ

ถาม : หมู่บ้านที่สานกัน ชื่อหมู่บ้านอะไร

มินนี่ : หมู่บ้านป่าเปา

ถาม : สมาชิกในกลุ่มหรือมีใครอยู่ในหมู่บ้านนี้บ้างไหม

มินนี่ : ไม่มีเลยค่ะ เป็นหมู่บ้านรอบ ๆ ค่ะ

ถาม : เราไปจุดประกายตรงไหนที่มองเห็นว่าเอาน้ำถุ้งมาทำเป็นโครงการดีกว่า

อิงฟ้า : เพราะว่าน้ำถุ้งสมัยนี้ บ้านธิมีแหล่งเศรษฐกิจ มีความเจริญใหม่ๆ เข้ามาเรื่อย ๆ เช่น เซเว่นอีเลฟเว่น แจ่มฟ้าชอปปิ้งมอลล์ ยิ่งทำให้คนในชุมชนไม่สนใจและไม่รู้จักน้ำถุ้ง เพราะสามารถหาซื้อข้าวของเครื่องใช้ได้สะดวก หลากหลาย จากการสืบค้นข้อมูลของพวกเรา ผู้ใหญ่ในชุมชนที่ทำน้ำถุ้งได้มีแค่ 2 ครอบครัวเท่านั้น พวกเราคิดว่าจะทำอย่างไรดี ถึงจะสานต่อภูมิปัญญาการทำน้ำถุ้งไม่ให้สูญหายไปจากหมู่บ้านไทลื้อของเรา

ถาม : ตอนที่พวกหนูชวนกันตั้งโจทย์โครงการนี้ มีโครงการหรืออย่างอื่นไหมที่อยากจะทำ ก่อนที่จะมาตัดสินใจทำโครงการน้ำถุ้งนี้

อิงฟ้า : มีค่ะ ตอนแรกตกลงกันว่าจะทำอาหารไทลื้อ แต่มองว่าอาหารมีรายละเอียดยิบย่อยเกินไปค่ะ ก็เลยตกลงกันใหม่ ได้มาเป็นน้ำถุ้ง

ถาม : เรื่องน้ำถุ้ง เป็นเรื่องที่พวกเราสนใจและอยากทำกันจริงๆ ใช่ไหม

มินนี่ : ใช่ค่ะ

ถาม : นอกจากเรื่องที่ไม่ค่อยมีคนทำกัน พี่อยากเห็นภาพเหตุการณ์ ณ เวลานั้น เช่น ประชุมด้วยกันเพื่อตั้งแกนนำ ตั้งโจทย์ มีพี่เลี้ยงหรือว่ามีใครมาชวนคิด ในการที่ตั้งโจทย์โครงการ

อิงฟ้า : กลุ่มเยาวชน เราคิดกันเองค่ะ แล้วก็ไปปรึกษาพี่เลี้ยงว่าทำโครงการนี้ดีไหม ทำโครงการนี้เราจะได้อะไร เรามีจุดประสงค์ตั้งไว้แล้วเราทำขึ้นมาได้ไหม

ถาม : ไอเดีย เรื่องน้ำถุ้งเป็นไอเดียของใคร ที่คิดมาตอนแรกจำได้ไหม

อิงฟ้า : จำไม่ได้ค่ะ

ถาม : เรานั่งประชุมกันที่ไหน

มินนี่ : ที่ศาลากลางบ้าน หมู่ที่ 20

ถาม : อยากให้เล่าขั้นตอนตั้งแต่เริ่มทำโครงการว่า ในขั้นแรกเริ่มทำอย่างไร

อิงฟ้า : ขั้นตอนแรก เราไปถามเพื่อนๆ ค่ะ ว่าสนใจมาทำโครงการกันไหม โครงการนี้เป็นปีที่ 2 มินนี่ทำโครงการมาตั้งแต่ปีแรก ก็ชวนหนูเข้ามา หนูมีความสนใจ หลังจากนั้นเรามาระดมความคิดกันว่าจะทำโครงการอะไร

ถาม : มินนี่ทำมาตั้งแต่ปีที่ 1 ส่วนอิงฟ้าเพิ่งเข้ามาปีที่ 2 ใช่ไหม

อิงฟ้า : ใช่ค่ะ

ถาม : ตอนเโครงการปีที่1 อิงฟ้า เห็นเพื่อนๆ ทำกิจกรรมกันบ้างไหมคะ

อิงฟ้า : เห็นค่ะ ไปช่วยตลอดค่ะ

ถาม : เราเข้าไปช่วยตอนปี 1 หนูช่วยทำอะไรบ้าง

อิงฟ้า : หนูเข้าไปช่วยช่วงหลังๆ ค่ะ ช่วงงานมหกรรม ไปช่วยจัดบูธ ช่วยพูดนำเสนอ

ถาม : แล้วทำไมถึงสนใจเข้ามาร่วมทำโครงการ

อิงฟ้า : หนูชอบงานด้านการพัฒนาชุมชนอยู่แล้ว เคยทำโครงการเกี่ยวกับสภาเด็กและเยาวชนของอำเภอบ้านธิ และทำโครงการเกี่ยวกับปลูกสำนึกรักวัฒนธรรมไทลื้อท้องถิ่น เลยเข้ามาร่วมกับเพื่อน อยากพัฒนาตนเองด้วยว่าเราสามารถทำอะไรเกี่ยวกับชุมชนได้บ้าง

ถาม : ที่อิงฟ้าบอกว่าชอบพัฒนาชุมชน แสดงว่าตัวเองก็เคยทำอะไรมาบ้างแล้ว ในแนวนี้ใช่รึเปล่า

อิงฟ้า : ใช่ค่ะ

ถาม : ทั้งมินนี่และอิงฟ้า ทั้งสองคน อยู่ในกลุ่มสภาเด็กและเยาวชนใช่ไหมคะ

มินนี่ : ใช่ค่ะ

ถาม : อิงฟ้า ใครเป็นคนชวนเข้ามา

อิงฟ้า : มินนี่

ถาม : มินนี่ทำไมถึงชวนอิงฟ้าเข้ามาคะ

มินนี่ : เห็นศักยภาพในตัวอิงค์ฟ้าว่าเขาเข้ามาช่วยโครงการได้ อิงค์ฟ้าเป็นประธาน สภาเด็กและเยาวชนซึ่งเราเคยทำงานด้วยกัน ตอนโครงการปีแรกเขาก็มาช่วยจัดบูธ พูดนำเสนอในงานมหกรรมเยาวชน ลำพูน ซึ่งเป็นช่วงท้ายๆ ของโครงการ คิดว่าชวนอิงฟ้าเข้ามาดีกว่า ให้เข้ามาเต็มตัวเลยในปีที่สอง

ถาม : เห็นศักยภาพเขาด้านไหนบ้างคะ ยิ้มเก่งหรือว่าอย่างไร

มินนี่ : เป็นคนพูดเก่ง นำเสนองานได้ยอดเยี่ยมมาก

ถาม นอกจากพูดเก่งแล้ว มีด้านอีกไหมที่เราคิดว่าน่าจะมาช่วยเสริมทีมให้กับโครงการปีที่ 2 ของเราได้

มินนี่ : กล้าแสดงออก

ถาม : กล้าแสดงออก พูดเก่ง อิงฟ้าเห็นด้วยไหม

อิงฟ้า : เห็นด้วยค่ะ เพราะทำอยู่เป็นประจำ

ถาม : คนอื่นที่เป็นทีมแกนนำมีใครอีกบ้างคะ

มินนี่ : แบม บิว หญิง

ถาม : เป็นกลุ่มสภาเด็กทั้งหมดไหมคะ

มินนี่ : ไม่ใช่ค่ะ

อิงฟ้า : ไม่ใช่ค่ะ

ถาม : ในอีก 3 คนที่เหลือ เราไปรู้จักไปดึงเพื่อนมาได้อย่างไร

มินนี่ : แบมอยู่ในปีแรกอยู่แล้ว ส่วนบิว หนูเห็นว่าเขาสานน้ำถุ้งเก่งอยู่แล้ว ก็เลยชวนเข้ามา บวกกับตัวเขาก็สนใจด้วย ส่วนหญิง แบมก็เป็นคนชวนหญิงเข้ามา

ถาม : แบมเป็นคนชวนหญิงเข้ามา ด้วยเหตุผลอะไรพอรู้ไหมคะ

มินนี่ : ไม่ทราบค่ะ หนูเห็นว่าหญิงเป็นคนไม่กล้าแสดงออก แต่เขาเข้ามาได้อย่างไรก็ไม่ทราบเหมือนกัน

ถาม : แต่เราก็รู้จักอยู่ว่าคนนี้ชื่อหญิงใช่ไหม แล้วที่มินนี่เห็นบิวสานเก่งนี้ คือ หนูเห็นเขาสานที่ไหนอย่างไร

อิงฟ้า : เขาชอบสานกระเป๋าด้วยซองกาแฟ เวลามีกิจกรรม เช่น สานโก๋ย ภาษาเหนือเรียกว่า โก๋ย สวยดีมีความละเอียด

ถาม : เราเห็นเขาทำที่โรงเรียน หรือเขาสานกระเป๋ามาใช้ในชีวิตประจำวัน

มินนี่ : ทำที่โรงเรียนค่ะ จะเป็นวิชาไอเอส

ถาม : ดูแล้วเป็นคนมีฝีมือ

มินนี่ : ใช่ค่ะ

ถาม : ก็รวมทีมกันได้ 5 คนใช่ไหมคะ

มินนี่ : ใช่ค่ะ

ถาม : เราต้องการจะทำไปถึงจุดหมายว่าอย่างไร

อิงฟ้า : เป้าหมายตอนแรกหลักๆ คือ อยากรักษาน้ำถุ้งให้คงอยู่ไว้นานๆ การทำโครงการไม่ว่าจะเป็นเด็ก เยาวชนหรือคนในชุมชนก็สามารถเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกับเราได้ เราไม่ได้จำกัด แต่เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามาร่วมกันอนุรักษ์ไว้ค่ะ

ถาม : คือเราเน้นไปที่เด็กและเยาวชนไหม หรือว่าได้ทั้งหมด

อิงฟ้า : ได้ทั้งหมด เพราะว่ามันเป็นการพัฒนาชุมชนไปด้วย

ถาม : คือชุมชนเท่าที่พี่รู้ ชุมชนแถวบ้านเราเป็นชุมชนท่องเที่ยวอยู่แล้วใช่ไหมคะ

อิงฟ้า : ใช่ค่ะ

ถาม: เรียกว่าคึกคักไหมหรือว่า มีนักท่องเที่ยวมาเป็นฤดูกาลอย่างไรบ้าง

อิงฟ้า : มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวตลอด แต่ว่าเป็นช่วงๆ

ถาม : เป็นในรูปแบบไหน คือเขามาเองหรือว่าต้องผ่านศูนย์กลางชุมชน

มินนี่ : ผ่านผู้ใหญ่บ้าน

อิงฟ้า : ในเพจเฟสบุ๊ค ที่แชร์เยอะๆ คิดว่าน่าจะมาซึมซับบรรยากาศที่บ้านธิด้วยค่ะ

ถาม : มันมีเพจส่วนกลางของชุมชนไหม

มินนี่ : เมื่อก่อนจะเป็นเพจ เที่ยวสบายๆ สไตล์ไทลื้อ แล้วตอนนี้เป็นหมู่บ้านนวัตวิถี แล้วเราก็ต้องผ่านตรงนี้ด้วย ตอนนี้ชุมชนก็เข้ามาช่วยค่ะ

ถาม : ตอนพวกหนูคิดโจทย์โครงการ พวกหนูคิดถึงจุดเด่นของชุมชนเราที่เป็นชุมชนท่องเที่ยวนี้ด้วยไหมคะ ถึงได้เลือกทำโครงการอันนี้

อิงฟ้า : น้ำถุ้งก็มีส่วนอยู่ในชุมชน OTOP นวัตวิถี มีศูนย์การเรียนรู้การทำน้ำถุ้ง แล้วก็มีศูนย์การทำเรียนรู้ข้าวแคบ ก็แบ่งเป็นส่วนๆ ไปค่ะ

ถาม : ซึ่งคนที่ดูแลศูนย์เป็นใครคะ

อิงฟ้า : ผู้ใหญ่บ้านค่ะ

ถาม : ก็คือ มีผู้รู้ในหมู่บ้าน ชุมชน ที่เราเห็นตัวตนอยู่ใช่ไหม

มินนี่ : ใช่ค่ะ

ถาม : พี่จะให้เล่ากิจกรรมแต่ละขั้นตอน ที่ชวนกันมาทำและรวมกลุ่มกัน ได้โจทย์โครงการ แล้วทำอะไรต่อคะ

อิงฟ้า : เราก็มาประชุมกับกลุ่มเยาวชนและพี่เลี้ยง ว่าเราได้ชื่อโครงการนี้มาแล้ว วัตถุประสงค์ของเราจะทำอย่างไรกันดี เราจะคิดอย่างไรให้มันสำเร็จ จึงปรึกษาพี่เลี้ยง ต่อมาก็จะเป็นการประชุมกับผู้นำชุมชน พ่อหลวงบ้าน แม่หลวงบ้าน ว่ากิจกรรมของเราดีต่อชุมชนไหม เป็นการให้ผู้นำชุมชนเข้ามาสนับสนุนพวกเราด้วยค่ะ จากนั้นก็ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ส่วนตัวเยาวชนเข้าไปประสานงานที่แม่หลวงบ้าน บ้านป่าเปาก่อนว่า เราจะมาทำน้ำถุ้งนะ ฝากแม่หลวงบ้านประสานศูนย์การเรียนรู้ทำน้ำถุ้งให้หน่อยค่ะ

ถาม : รายละเอียดตั้งแต่อันแรก ก็คือประชุมกันเอง ประชุมกับผู้นำชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง แล้วลงเก็บข้อมูลใช่ไหม

อิงฟ้า : เริ่มกระจายข่าวให้คนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงว่า เราจะทำโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นทุ่งไทลื้อ คนไหนสนใจก็สามารถเข้ามาร่วมทำกิจกรรมกับพวกเราได้ ในกิจกรรมของเรามีการพูดเกี่ยวกับประวัติของน้ำถุ้งไทลื้อ วิธีการทำ และอุปกรณ์การทำ เช่น ไม้ไผ่ ไม้ซาง มาจากไหน ขี้ยาคืออะไร แล้วมาร่วมกันสานน้ำถุ้ง ต่อมาก็จะเป็นการทำสื่อเกี่ยวกับน้ำถุ้งไทลื้อค่ะ และทำเป็นสมุดเล่มเล็กๆ ที่เล่าเรื่องเกี่ยวกับน้ำถุ้ง ไม่ได้มีแค่ข้อมูลของน้ำถุ้ง จะมีข้อมูลเกี่ยวกับหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านทั้ง 20 หมู่บ้านในอำเภอบ้านธิ และได้เรียบเรียงเป็นกลอน ตำนานที่เล่นขานกันของหมู่บ้านนั้นๆ ด้วยค่ะ ต่อมาเราก็มาสรุปผลการดำเนินงาน เป็นการประชุมแกนนำเยาวชน พี่เลี้ยงและโค้ชในสถาบันหริภุญชัย ว่าที่ผ่านมาเราทำโครงการนี้ ได้อะไรมาบ้าง สำเร็จทางด้านไหนบ้าง สุดท้ายเราจัดทำคืนข้อมูลสู่ชุมชน แล้วก็นำข้อมูลของน้ำถุ้งจากโครงการที่ผ่านมา มาสรุปว่าระหว่างการทำกิจกรรมนี้ เราทำอะไรไปบ้างมีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง มีข้อดีข้อเสียในการทำน้ำถุ้งยังไงบ้าง แล้วแจกสมุดเล่มเล็กตอนที่เราทำสื่อด้วยค่ะ

ถาม : เราทำกัน ประมาณ 7 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกหนูเริ่มจากประชุมกันเองในกลุ่มก่อนใช่ไหม เล่าบรรยากาศให้ฟังหน่อยว่าชวนกันคิดวางแผนอย่างไรบ้าง

อิงฟ้า : ชวนกันคิดว่าโครงการน้ำถุ้ง เราสามารถทำกันได้ไหม มันยากเกินไปสำหรับเราไหม แล้วก็เถียงกันว่ามันได้นะ อะไรแบบนี้ค่ะ เพราะว่าเราก็เป็นเด็กในชุมชนอยู่แล้ว เราสามารถทำได้นะ ผู้ใหญ่เขาก็สนับสนุนค่ะ

ถาม : มินนี่มีเพิ่มเติมไหม

มินนี่ : ตอนนั้นก็เถียงกันไปเถียงกันมา บางคนก็จะทำอาหาร บางคนจะทำน้ำถุ้งเพราะยังไม่มีใครทำ เถียงไปเถียงมาก็ได้น้ำถุ้งมาค่ะ

ถาม : อะไรเป็นตัวชี้ขาดที่ทำให้น้ำถุ้งชนะเลิศมาได้

อิงฟ้า : อาหารใครจะทำ! ลองดูน้ำถุ้งซิ แบบนี้มันไม่มีแล้วนะ ! มันก็อยู่บ้านธิมานานแล้วนะ ! อธิบายให้เพื่อนๆ ในกลุ่มฟัง แล้วก็ได้น้ำถุ้งมา

ถาม : ก็คือโหวตกันใน 5 คนนี้เหรอ

อิงฟ้า : ใช่คะ พี่เลี้ยงก็นั่งฟังพวกหนูเถียงกันไปเถียงกันมา

ถาม : บรรยากาศเรียกว่าเถียงเลยใช่ไหม

อิงฟ้า : ใช่ค่ะ เถียงกันสนุก

ถาม : ใช้เวลานานไหม ถึงได้ผลสรุปออกมา เถียงกันนานไหม

อิงฟ้า : ไม่นานค่ะ ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงด้วยซ้ำ

ถาม : วันนั้นเราสรุปกันได้น้ำถุ้ง เราได้วางแผนกันเลยไหม ลำดับต่อไปเราจะทำอะไรต่อ

อิงฟ้า : หลังจากที่คุยกันเสร็จแล้ว กลุ่มเยาวชนก็กลับมาวางแผนกันอีกรอบค่ะ เขียนโครงการแล้วก็ไปปรึกษาทีมโค้ชจากสถาบันค่ะ

ถาม : ตอนเราประชุมกันเองเสร็จแล้ว เราคิดอย่างไรที่เราจะประชุมกับผู้นำชุมชนด้วยดีกว่า ทำไมไม่ไปเก็บข้อมูลเลย

อิงฟ้า : เราอยากให้ผู้นำชุมชนเป็นแกนหลักในการประสานงานเรื่องการทำน้ำถุ้งค่ะ และเป็นการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับน้ำถุ้งด้วย เพราะว่าเยาวชนเองก็ไม่สามารถเข้าถึงแต่ละบ้านได้โดยตรงค่ะ

ถาม : แต่ละบ้านในที่นี้ หมายถึงแต่ละครัวเรือนใช่ไหม

อิงฟ้า : ใช่ค่ะ แต่ละครัวเรือนในหมู่บ้าน

ถาม : มีผู้นำชุมชน และมีผู้ใหญ่คนอื่นๆ ด้วยใช่ไหมคะ

อิงฟ้า : ใช่ค่ะ เข้ามาช่วย

ถาม : เราชวนประสานงานกันอย่างไร เรานัดผู้นำชุมชนมาประชุมให้มากับเราได้อย่างไร

อิงฟ้า : ไปบอกกับผู้ใหญ่บ้านค่ะ เราทำโครงการสืบสานภูมิปัญญาน้ำถุ้งไทลื้อท้องถิ่น แล้วอยากให้แม่หลวงช่วยประสานงานเกี่ยวกับน้ำถุ้งไทลื้อ ช่วยประสานงานกับคนในหมู่บ้าน และให้แม่หลวงบ้านเป็นแกนนำหลักในการประสานงานกับคนในชุมชน แล้วพวกหนูก็เข้าไป support พยายามนำเสนอว่าโครงการสนุกและน่าสนใจนะ ชี้ให้เห็นว่าการทำน้ำถุ้งในแต่ละครั้งได้ประโยชน์อะไรบ้าง แล้วก็ได้ของติดไม้ติดมือมาด้วยค่ะ เป็นผลงานที่เราสาน

ถาม : แล้ว Feedback ของคนที่มาเข้าร่วมฟังเราในวันนั้นเป็นอย่างไรบ้าง

อิงฟ้า : เขาบอกว่า สนุกดี

มินนี่ : เขาบอกว่า ดีแล้ว

ถาม : เป็นภาษาไทลื้อ

มินนี่ : แปลว่า ดีแล้ว

ถาม : วันนั้นคนมาร่วมกี่คน

อิงฟ้า : 20 กว่าคนค่ะ

ถาม : เพราะว่ามี 20 หมู่บ้าน มากันครบไหม

มินนี่ : ครบค่ะ ส่วนใหญ่ป่าเปามากันเยอะกว่า

ถาม : Feedback เป็นบวกมีอะไรที่ทำให้เรารู้สึกว่าเขาไม่มั่นใจในตัวเราบ้างไหม

อิงฟ้า : ไม่มีค่ะ ก็จะเป็นการชมมากกว่า “เด็กๆ บ้านนี้ที่มาทำโครงการ มันเจ๋งดีนะ เด็กสมัยนี้คิดได้ขนาดนี้ เพราะเด็กสมัยนี้ไม่ได้คิดแบบนี้กันแล้ว “

ถาม : อิงฟ้าเล่ามาพูดเหมือนผู้ใหญ่เขาตื่นเต้นนะ

มินนี่ : ประมาณพวกหนูอยู่ ม.1 มีคนทำเรื่องนี้อยู่แล้วแต่เขาก็หายไปนาน จนพวกหนูกลับมาทำอีกรอบค่ะ

ถาม : เหตุผลที่เขาตื่นเต้น เป็นเพราะน้ำถุ้งไหมหรือเพราะอะไร

อิงฟ้า : เป็นเรื่องกิจกรรมที่เราทำกันมา เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน คนในชุมชนไม่เคยทำแบบนี้มาก่อน

ถาม : หนูประเมินไปก่อนแล้วใช่ไหมว่าผู้ใหญ่สนับสนุน

อิงฟ้า : ดูจากสีหน้า เขาโอเคมีความสนุกกับเรา

ถาม : ก่อนจะประชุมกับเขา เราประเมินไปแล้วไหม ว่าไม่น่าจะพลาด

อิงฟ้า : ครั้งแรกก็คิดว่าคงไม่มีใครสนใจหรอก ก็แค่เรื่องสานน้ำถุ้ง เราจะหาคนสนใจมาจากไหน

ถาม : กลับกลายเป็นว่าเขาสนใจมาก

อิงฟ้า : ใช่ค่ะ จากการที่เราไปเชิญชวน เช่น “บอกกับเขาว่าจะทำแบบนั้น แบบนี้นะคะ” เราไปพูดก่อนแล้วเราก็มาทำค่ะ

ถาม : สรุปวันนั้นกิจกรรมจบแบบไหน

อิงฟ้า : จบด้วยการที่ยังทำไม่เสร็จ เพราะว่าการสานน้ำถุ้งมันต้องใช้เวลาค่ะ

ถาม : วันที่ไปประชุม เราไปสานตัวอย่างกันเลยไหม

อิงฟ้า : วันที่ไปประชุมเราก็แค่พูดกันเฉยๆ ค่ะ

ถาม : ผู้ใหญ่ตกลงรับรู้และในขั้นตอนลงเก็บข้อมูลเริ่มต้นอย่างไรคะ

อิงฟ้า : เราก็ไปประสานที่แม่หลวงบ้าน บ้านป่าเปา ขอเบอร์ติดต่อแม่อุ้ยเงิน แล้วก็โทรไปหา “แม่อุ้ยเงินขา เราจะเข้าไปคุยเรื่องทำน้ำถุ้งนะตอนเย็นนะคะ ”เย็นวันนั้นก็ไปหาเลย และเช้าอีกวันเราก็มาลงพื้นที่เลยค่ะ

ถาม : ในทีมงานเรามีหน้าที่กันชัดเจนไหมว่า ใครอยู่ฝ่ายอะไร

อิงฟ้า : ส่วนใหญ่ช่วยๆ กันทำมากกว่า เพราะว่าบางคนไม่ถนัดด้านนั้นแต่ถนัดด้านนี้ บางคนก็มาช่วย support

ถาม : ตอนที่ไปหาแม่อุ้ยเงินขา เราแบ่งงานกันอย่างไร

อิงฟ้า : ก็แบ่งว่าใครเป็นคนจดเก็บข้อมูล เช่น หนูเป็นคนจดข้อมูล ส่วนมินนี่จะเป็นคนถาม

ถาม : คนอื่นมีหน้าที่ทำอะไรอีก

อิงฟ้า : ที่เหลือก็เป็นคนทำหน้าที่เรียนรู้และสานน้ำถุ้งค่ะ เราพูดไปด้วยและสานไปด้วยค่ะ

ถาม : เราตั้งใจไปเก็บข้อมูลอะไรบ้างวันนั้นที่ไปหาแม่อุ้ยเงินขา

อิงฟ้า : เก็บวัสดุอุปกรณ์ เช่น ไม้ไผ่ ไม้ซาง และขี้ยา แล้วถามวิธีการทำน้ำถุ้งคร่าวๆ ค่ะ

ถาม : ก่อนที่จะไปหาแม่อุ้ยเงินขา พวกหนูเคยเห็นเขาสานกันมาก่อนไหมน้ำถุ้ง

อิงฟ้า : เคยเห็นค่ะ

มินนี่ : เคยเห็นมาก่อนค่ะ

ถาม : ตอนนั้นได้เข้าไปถาม ได้สนใจอะไรไหม

อิงฟ้า : ที่ผ่านมาเวลามีงานสืบสานงานไทลื้อ มีการสาธิตทำให้ดู เราเข้าไปนั่งข้างๆ ดูเขาสานเฉยๆค่ะ

ถาม : แล้วพอรอบนี้เราไปได้ถาม ก็เหมือนได้ไปเจาะลึกอยากรู้ว่า น้ำถุ้งทำอย่างไง มีถามประวัติด้วยไหมรอบนี้

อิงฟ้า : เราไม่ได้ถามประวัติ แต่เราถามว่าน้ำถุ้งนี้มีคนสาน ในหมู่บ้านมีกี่ครัวเรือน มีความรู้สึกอย่างไรบ้าง ถ้าน้ำถุ้งหายไปมันจะเกิดอะไรขึ้นประมาณนี้ค่ะ

ถาม : แล้วก็ได้ลองฝึกสานใช่ไหม

อิงฟ้า : ใช่ค่ะ

ถาม : อะไรที่ทำให้เรารู้สึกประทับใจ รู้สึกอึ้ง ที่เราได้รู้เกี่ยวกับน้ำถุ้งมีไหม ไม่เคยรู้มาก่อนว่ามันเป็นแบบนี้เหรอ

อิงฟ้า: ขี้ยาเป็นส่วนผสม ขี้ยาหรือชัน ในการทาหรือเคลือบน้ำถุ้งค่ะ ขี้ยามาจากต้นไม้ในป่าที่มีแมลงชื่อว่าแม่แดงมาสร้างรัง “ ขี้ยามีเป็น 2 ชนิด ขี้ยาช่อ มันก็สวย ๆ เรียงอย่างงามๆ มีสีสวยและเงา ชนิดที่สองคือ ขี้ยาแบบกลมๆ เหมือนหินก้อนใหญ่ๆ ผิวขรุขระ สีคล้ำและดำกว่า” แล็วก็อึ้ง ! แมลงตัวเล็กๆ แค่นี้ ทำขี้ยาเป็นก้อนใหญ่ๆ ได้ไง

ถาม : ขี้ยาเห็นได้ทั่วไปในชุมชนไหม หรือว่ามันต้องขึ้นอยู่ตรงไหนเป็นพิเศษรึเปล่า

อิงฟ้า : ช่วงนี้มันก็หายากค่ะ เนื่องจากแมลงตัวนี้มันอยู่ในป่าในดอย และมันก็หายไปไหนไม่รู้ มีผลมาจากสิ่งแวดล้อมของเราด้วย บางทีเกิดจากการเผาป่า ตัดไม้ทำลายป่า และก็มลพิษต่างๆ ค่ะ

ถาม : พวกเราไปเรียนรู้กี่วันคะ

อิงฟ้า : 1 วันค่ะ

อิงฟ้า : ไปหลายครั้ง แต่ว่าฝึกทำจริงจังวันเดียวค่ะ

ถาม : ไปหลายครั้ง ไปทำอะไรคะ ไปถามข้อมูลหลายครั้ง แต่ทำครั้งเดียวแบบนั้นเหรอ

อิงฟ้า : ใช่ค่ะ

อิงฟ้า : เราต้องทำน้ำถุ้งให้เสร็จภายในวันเดียวนะ เป็นการวัดศักยภาพของเราด้วย ว่าเราทำน้ำถุ้งคันนี้ใช้เวลากี่ชั่วโมง

ถาม : ตอนแรกจริงๆ เราอยากจะไปสานด้วยไหมหรือแค่ไปถามข้อมูลเฉยๆ

มินนี่ : ตั้งใจที่จะไปสานเลยค่ะ

ถาม : สรุปว่าบรรลุเป้าหมายไหม สำหรับแต่ละคน ทำเสร็จไหม

อิงฟ้า : จะมีแบม บิว ค่ะ ที่ได้

ถาม : การทำน้ำถุ้งมันยากอย่างไร

มินนี่ : มันยากค่ะ มันต้องก่อ จากการเหลาไม้เป็นซี่เล็กๆ แล้วเรียงให้สวย ดัดให้มันตรง พวกหนูทำออกมาเป็นรูบ้าง เบี้ยวบ้างค่ะ ไม่มีฝีมือในด้านนี้ด้วย

ถาม : กลายเป็นน้ำถุ้งรูปทรงใหม่ที่มีอันเดียวในโลก

อิงฟ้า : ใช่ค่ะ

ถาม : เราไปคุยไปเรียนรู้กับผู้รู้กี่คนคะ มีใครบ้าง

มินนี่ อิงฟ้า: 2 คนค่ะ แม่อุ้ยเงินขา กับพ่ออุ้ยสม

ถาม : พ่ออุ้ยสม เราไปรู้จักอย่างไร

อิงฟ้า : เขาเป็นสามี ภรรยากันค่ะ

ถาม : ขั้นตอนไหนในการทำน้ำถุ้ง ที่หนูคิดว่ามันยากที่สุดสำหรับหนู

มินนี่ : จะเป็นขั้นตอนการสานตัวมันขึ้นมา ที่หนูบอกมันว่าจะเบี้ยว

ถาม : แล้วอิงฟ้า

อิงฟ้า : เป็นขั้นตอนการทาชัน การเคลือบค่ะ เพราะว่ากว่าเราจะตำให้ละเอียดแล้วเอาไปเคี่ยว เอาไปคนกับน้ำมันก๊าด มันเหม็นมาก ไม่ค่อยมีความอดทนด้วย และมันอันตรายต่อตัวเราด้วย

ถาม : การสานขึ้นรูปได้แล้ว การทาชันคือขั้นตอนสุดใช่ไหม

มินนี่ : ใช่ค่ะ ทาชันเป็นขั้นตอนสุดท้าย

ถาม : ก็คือต้องเอาตัวขี้ยาไปผสมกับน้ำมันก๊าดถูกไหม

มินนี่ : ใช่ค่ะ

ถาม : ตอนที่ทำแล้วมันยากเรารู้สึกท้อแท้ไหมหรือว่ารู้สึกอย่างไร ว่าทำโครงการนี้จะสำเร็จได้จริงไหมเคยตั้งคำถามกับตัวเองไหม

อิงฟ้า : รู้สึกว่าเราต้องทำให้มันสำเร็จนะ เป็นการผลักดันตัวเอง เพราะเป็นการทำงานกับกลุ่มด้วย ถ้าเราท้อไปหนึ่งคนเพื่อนอีกคนก็จะท้อเหมือนกันเป็นการสร้างกำลังใจให้ฮึกเหิม

มินนี่ : ก็จะมีการแซวกันเล่นเฉยๆ ว่า ”โอ๊ยไม่ทำแล้วนะ”

ถาม : บรรยากาศที่ตอนที่ทำด้วยกันในกลุ่มมันเครียดไหม หรือว่าก็สร้างบรรยากาศให้มันไม่เครียด

มินนี่ : ไม่เครียดเลยค่ะ พวกหนูหาเรื่องอื่นคุยกัน สานไปก็คุยเรื่องอื่นไป

ถาม : พ่ออุ้ย แม่อุ้ย ที่สอนเขาให้กำลังใจไหมหรือเขามีสีหน้าท่าทางว่าอย่างไร

อิงฟ้า: เขาก็ให้กำลังใจ เขาก็เห็นพวกหนูคุยเล่นๆ กัน พ่ออุ้ย แม่อุ้ย ก็จะยิ้มไปด้วยค่ะ ตลกไปด้วยค่ะ

ถาม : ผ่านไปได้ ถึงแม้ว่าจะมีคนทำสำเร็จอย่างสวยงามกันแค่ 2 คน

อิงฟ้า: ค่ะ

มินนี่ : ค่ะ

ถาม : หลังจากนั้นเราทำเสร็จในส่วนที่เป็นข้อมูลที่เป็นทฤษฎี แล้วข้อมูลที่เราหามาเอามาบันทึกอย่างไร

อิงฟ้า : หนูเป็นคนบันทึกในสมุดโน้ตเล่มเล็กๆ แล้วก็มาสรุปในคอมพิวเตอร์อีกที และเอามาเรียบเรียงให้เป็นเรื่องราวด้วยภาษาเมืองของเรา

ถาม : ตอนที่เราฝึกทำแล้วได้ถ่ายวิดีโอไว้บ้างไหม

มินนี่ : เป็นรูปภาพ แต่วิดีโอไม่ได้ถ่ายค่ะ

ถาม : หลังจากเรียนรู้เก็บข้อมูล ที่อิงฟ้าบอกมาก็เราได้กระจายข่าวให้กับคนในชุมชน กับชุมชนใกล้เคียง ทำไมเราต้องทำขั้นตอนนี้ด้วยคะ มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร

มินนี่ : เพื่อที่จะให้เขาได้หันมาสนใจในน้ำถุ้งบ้างค่ะ

ถาม : คนในชุมชนเรา คือเวลาเราพูดว่าชุมชนเรามีเฉพาะเจาะจงไหมว่าเราจะชุมชนไหนเป็นพิเศษหรือว่าอย่างไร เพราะว่ามันมี 20 หมู่บ้านถูกไหม

อิงฟ้า : ส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านใกล้เคียงมากกว่า บ้านป่าเปา บ้านใหม่กาดเหนือ บ้านป่าปี้ค่ะ

ถาม : ตอนกระจายข่าวนี้เราทำอย่างไรคะ ใช้วิธีการไหน โทรหาอย่างไรคะ

อิงฟ้า : โทรหาค่ะ เราก็ไปถามเบอร์จากคนที่รู้จัก มีเบอร์ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 20 ไหม “พ่อหลวงเราจะมาทำกิจกรรมนี้ ช่วยประสานงานคนในชุมชนให้หน่อย ช่วยพูดเสียงตามสายได้ไหม”

ถาม : ใครเป็นคนโทร อิงฟ้าเป็นคนโทรเหรอ

อิงฟ้า : แบ่งกันโทรค่ะ เพราะมีทั้ง 20 หมู่บ้าน หนูโทรคนเดียวก็คงไม่ไหว

ถาม : เท่ากับทุกคนใน 5 คน ก็ได้โทรทุกคนใช่ไหม มากน้อยก็แล้วแต่

อิงฟ้า : ใช่ค่ะ

ถาม: หลังจากที่โทรแล้ว ผลตอบรับกลับมาเป็นอย่างไรบ้าง

อิงฟ้า : เขาก็เข้ามาเข้าร่วมกิจกรรมของเรา

ถาม : ได้ตามเป้าหมายไหมคะ

อิงฟ้า : เกินเป้าหมายค่ะ

ถาม : เรากะว่าเขาจะมากันสักกี่คน

อิงฟ้า : มาไม่ถึง 20 ค่ะ ประมาณไว้ 20 ก็มาประมาณ 25-26 คน เราก็ต้องแบ่งเงินบางส่วนในกิจกรรมมาสมทบด้วยค่ะ

ถาม : วันนั้นที่เขามาเกินปุ๊บ ทีมเราจัดการกันอย่างไร

อิงฟ้า : ก็แบ่งกันเลยว่าใครจะรับหน้างาน และใครจะออกไปซื้อของ ส่วนหนูกับมินนี่จะเป็นส่วนของหน้างาน ออกไปพูดถ่วงเวลาไว้ก่อน ส่วนแบมกับบิวก็จะขับรถไปซื้อก่อนค่ะ

ถาม : ถือว่าแก้ปัญหาไปได้ด้วยดีไหม ผลออกมาเป็นอย่างไร

มินนี่ : ผลตอบรับดีค่ะ

ถาม : เวลาฟังเล่าพวกหนูเหมือนชิล ไม่มีอารมณ์หงุดหงิดกังวล จริงๆ มันมีบ้างไหม

อิงฟ้า : มันก็มีช่วงก่อนจัดงาน “กังวลว่าจะมีใครมาไหม” เราจะพูดไปอย่างที่เราวางไว้ไหม, เขาจะสนใจเราอยู่ไหม”

ถาม : แสดงว่าเราก็ต้องเตรียมคำพูดในเรื่องที่เราอยากจะนำเสนอถูกไหม

อิงฟ้า : ใช่ค่ะ

ถาม : ตรงนี้พวกเรามาช่วยกันสรุปกันอย่างไร

อิงฟ้า : ช่วยกันค่ะ “เราจะพูดหัวข้ออะไร ,จะพูดอย่างไรให้เขามาสนใจเรา, จะทำกิจกรรมอะไรที่จะไม่ทำให้เขาเครียดและสนุกสนานไปกับเรา”

ถาม : เราคุยกันออกมาอย่างไร เพื่อไม่ให้เค้าเครียด ทำอย่างไรให้เค้าสนุกสนาน

อิงฟ้า : พูดปนตลกค่ะ เป็นการตบมุข เพื่อให้เขาต่อมุขกับเรากลับมา

ถาม : ดูแล้วไม่เครียดเลย มีอะไรน่าสนุกอีกไหม

อิงฟ้า : สนุกตอนรอข้าวเที่ยงค่ะ

ถาม : ตอนรอข้าวเที่ยงมันสนุกอย่างไร

อิงฟ้า : เราก็พูดคั้นเวลา ทุกคนมากันเยอะข้าวไม่พอก็รีบออกไปซื้อกินไม่ครบทุกคน ก็แบ่งกันคนละครึ่งกล่องล่ะกัน ก็พูดแบบสนุกๆ กันไป

ถาม : หนูเป็นคนแบบนี้อยู่แล้ว ตลกๆ พี่เห็นมินนี่พยักหน้า

อิงฟ้า : ก็สร้างบรรยากาศให้มันสนุก ให้เขาแบบอยากเข้าร่วมเราต่อไม่ใช่ว่าเข้าร่วมแค่ครั้งเดียวก็ไม่มาเลย

ถาม : ก็ได้ผลอยู่ใช่ไหม

อิงฟ้า : ได้ค่ะ เพราะว่าคนในชุมชนก็เป็นกันเองอยู่แล้วค่ะ

ถาม : หลังจากจัดกิจกรรมเสร็จ วันนั้นเราได้มาถอดบทเรียนสรุปการทำกิจกรรมไหม

อิงฟ้า : มีเกี่ยวกับการเขียนรายงานสรุปสิ้นสุดการจัดกิจกรรม เขียนเรื่องเอกสารการเงิน ส่วนเรื่องนี้จะเครียดๆหน่อย

ถาม : ต้องเคลียร์เอกสาร ใครเป็นคนเคลียร์

อิงฟ้า : หนูเป็นคนเคลียรกับมินนี่ช่วยกันคิด

ถาม : เพราะว่าต้องมีการแบ่งเงินไปซื้อข้าวเพิ่มถูกไหม

อิงฟ้า : ใช่ค่ะ ในโครงการเราเขียนแค่นั้น แต่เราต้องเขียนเพิ่ม มีการบวกลบเงินเข้ามาด้วยมันก็สับสนนิดหน่อย

ถาม : ในกลุ่ม 5 คนไม่ได้เป็นเพื่อนสนิทกันมาก่อนถูกไหม

อิงฟ้า : เป็นเพื่อนในโรงเรียนอยู่แล้วค่ะ

ถาม : ห้องเดียวกัน พี่แค่อยากรู้ว่า มีทะเลาะกันไหมหรือการทำงานกันเป็นอย่างไร

อิงฟ้า : มินนี่เล่าเลย

ถาม : มินนี่เล่าแสดงว่ามี

มินนี่ : มีค่ะ ทะเลาะกัน ไม่เชิงทะเลาะมากกว่า เรานัดกันมาทำงาน ะแต่คน 2 คนไม่มาเก็บเอามาฝัน ว่าทำไมไม่มาทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำอะไรเลยทำไมไม่มา

ถาม : ไหนๆ ก็เล่าแล้วก็เล่ามาให้หมด แล้วสรุปทำไมเขาไม่มา

อิงฟ้า : เพราะว่าเขาไปเที่ยวค่ะ ไปเที่ยวกับเพื่อนๆ ข้างนอก แบบว่าถามว่าวันนี้ว่างไหม แต่ละคนก็ไม่ตอบกัน แล้วเราก็ต้องจิกเข้าไปส่วนตัวเลยว่า พรุ่งนี้ว่างไหมคะ ไม่ว่างเพราะอะไรไปไหน แล้วเราก็เป็นคนนัดมาก่อนแล้ว แล้วทำไมมาเบี้ยวนัด เขาบอกว่าไปเที่ยว

ถาม : ปรับความเข้าใจกันอย่างไร ใช้เวลานานไหม

มินนี่ : ไม่นานค่ะ พอเจอหน้ากันก็ปกติเลยค่ะ

ถาม : พอเจอหน้ากันก็หาย

มินนี่ : ใช่คะ

อิงฟ้า : ถ้าเราโกรธวันนั้น เราก็หายในวันนั้นค่ะ

ถาม : แต่พอนำกลับเล่าก็มีความรู้สึกโกรธอยู่นะใช่ไหม

อิงฟ้า : มันก็เป็นประสบการณ์เล็กๆ น้อยๆค่ะ ในการทำงานเป็นทีม

ถาม : เป้าหมายของการทำสมุดเล่มเล็ก เราตั้งใจทำเพื่อทำอะไร

อิงฟ้า : เพื่อเอาไปแจกให้ผู้นำชุมชน ส่งต่อไปแจกให้คนในชุมชนแต่ละครัวเรือน บางส่วนก็เก็บไว้สำหรับอ่านเป็นความรู้ เช่น ห้องสมุด

ถาม : เราทำเยอะไหม

อิงฟ้า: กี่เล่มจำไม่ได้ค่ะ

มินนี่ : 50

ถาม : อันนี้ก็แบ่งงานกันทำ

อิงฟ้า : ค่ะ , แบ่งงานกันไปหาข้อมูล หนูกับมินนี่ก็ช่วยกันมาเรียบเรียงให้มันเป็นสัดส่วน

ถาม : แต่ข้อมูลมันก็มีส่วนหนึ่งมาแล้วใช่ไหม หรือว่าหนูต้องไปสัมภาษณ์คนอื่นเพิ่มอีกหรือว่าอย่างไร

อิงฟ้า : หาจากอินเตอร์เน็ต และสมุดเล่มเล็กที่เกี่ยวกับหมู่บ้าน และบางส่วนที่เราไปลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล

ถาม : ลงพื้นที่เก็บข้อมูลนี้เก็บจากใคร

อิงฟ้า: แม่อุ้ยเงินขา

ถาม : ตั้งแต่ตอนแรก แต่ถามคำถามเพิ่ม

อิงฟ้า : เอาข้อมูลบางส่วนมาใส่ แล้วก็เรายังไม่พอใจเราก็ไปถามเพิ่ม

ถาม : ก็ยังที่บอกพี่มาว่าเป็นเรื่องเล่าขาน ตำนาน ประวัติของชุมชนด้วยใช่ไหมแล้วก็มีเรื่องน้ำถุ้งด้วยใช่ไหม

อิงฟ้า : ใช่ค่ะ

ถาม : แล้วมีเรื่องอะไรอีกที่อยู่ในหนังสือ

อิงฟ้า : ประวัติเก่าแก่ของอำเภอบ้านธิ สถานที่สำคัญในอำเภอบ้านธิ เช่น วัดหรือกู๋ เล็กๆ ในสมัยก่อน เสริมด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ทำน้ำพริกตาแดง คิดว่าถ้าเราเอาแค่เรื่องน้ำถุ้งอย่างเดียว เวลาอ่านคงไม่น่าสนใจ จึงได้เสริมเรื่องอื่นเข้ามาด้วย

ถาม : สำหรับสมุดเล่มเล็ก ใช้เวลาทำนานไหม

อิงฟ้า : 1 เดือนค่ะ เก็บข้อมูลไปเรื่อย ๆ พอถึงเวลาทำสื่อก็เอามาเรียบเรียงกันเท่าที่ได้

ถาม : แล้วเราได้ติดตามไหม ว่าตอนนี้สมุดเล็มเล็กไปอยู่แต่ละทีได้ไปใช้ประโยชน์ตามที่เราตั้งใจไว้ไหม

อิงฟ้า : ไม่ได้ติดตามเลยค่ะ ช่วงนั้นก็เป็นช่วงโควิด แล้วช่วงการเรียนออนไลน์ของพวกหนูด้วยค่ะ มันก็ยุ่งๆ

ถาม : แต่เราก็ได้แจกไปตามที่เราตั้งใจใช่ไหม

อิงฟ้า : ใช่ค่ะเรื่องอื่นๆ ก็ได้ผลลัพธ์ดีค่ะ แต่ว่าก็เครียดนิดหน่อย ในการเขียนรายงานอย่างเป็นทางการ

ถาม : ถ้าให้เราประเมินตอนนี้ เท่าที่เราจำได้ พอจำได้ไหมเราเห็นจุดแข็งจุดอ่อนของตัวเองในการทำโครงการครั้งนี้ตรงไหนบ้าง มินนี่ตอบบ้างเลย

มินนี่ : จุดอ่อนของโครงการ หนูว่ามองข้อมูลยังไม่แน่นพอ ทั้งที่เราเก็บข้อมูลมานานแล้ว ในการเขียนรายงานก็ยังไม่สวยงามค่ะ

อิงฟ้า : ไม่เรียบร้อย

ถาม : ไม่เรียบร้อยคือเขียนรีบๆ รีบเขียนรีบส่งหรือว่าอย่างไร คำว่าไม่เรียบร้อยคือ ขยายความให้พี่หน่อย เพราะว่าถ้าเป็นลายมือก็คือลายมือไม่เรียบร้อยไง แต่อันนี้มันพิมพ์ใช่ไหมเป็นรายงาน

มินนี่ : บรรทัดหลังไม่เท่ากัน เวลาทำมันมีน้อย เราทำแบบรีบๆ ตัวหนังสือตกหล่นบ้าง

ถาม: มีอีกไหมจุดอ่อน

มินนี่ : เยาวชนค่ะ

ถาม : หมายถึงพวกเราเหรอ ทำไมเป็นอย่างไร

มินนี่ : เยาวชนทุกคน ก็คือส่วนใหญ่ไม่กล้าแสดงออกกันสักคนเลย

ถาม : อิงฟ้าจะมีจุดอ่อนอีกไหม หรือว่าจะจุดแข็งเลย

อิงฟ้า : จุดแข็งเลยดีกว่าค่ะ

ถาม : จุดแข็งต้องอวดสักหน่อย เป็นกันเองในระดับไหน

อิงฟ้า : จุดแข็งเลยคือเรามีแกนนำเยาวชนกับพี่เลี้ยงที่เป็นกันเอง เป็นกันเองในระดับที่แซวกันได้ พูดกันได้

ถาม : ซึ่งมันดีอย่างไร มันทำการให้ทำงานของเราง่ายขึ้นไหมหรือว่าอย่างไร

อิงฟ้า : ง่ายค่ะ เพราะว่าถ้าเราทำกันเอง ก็คงไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ถ้ามีพี่เลี้ยงเข้ามาให้คำแนะนำคำปรึกษา สนิทกันทำให้เรากล้าถาม พี่เลี้ยงก็จะให้คำแนะนำที่ปฏิบัติได้จริงกลับมา เป็นการสร้างกำลังใจให้กันด้วย ไม่ตึงเครียด พวกเราไม่อยากทำให้เครียด อยากทำงานให้สนุกสนาน จุดแข็งในชุมชนเกี่ยวกับแกนนำชุมชนก่อนเลย สามารถประสานได้ง่ายและทั่วถึง และคนในชุมที่เข้ามาสนใจเกินเป้าหมายอีกด้วย ,ผู้รู้แม้ว่าจะข้อมูลไม่แน่นพอ เพราะอายุมากแล้ว อาจมีหลงลืมบ้าง แต่เราก็สามารถเข้าใจได้และก็เป็นกันเองค่ะ

ถาม : เราก็ไปหาข้อมูลเพิ่มเอา

อิงฟ้า : ใช่ค่ะ หาในอินเตอร์เน็ตบ้าง

ถาม : มันมีไหมข้อมูลพวกนี้ หายากไหม

อิงฟ้า : ยากค่ะ เพราะว่าไม่มีใครเขียนเว็บ ส่วนมากเป็นประปรายค่ะ ส่วนมากจะเป็นรูปภาพ

ถาม : แล้วพอเห็นแบบนี้ พอเราทำข้อมูลออกมาแล้วเรารู้สึกว่าเราอยากจะเอานำเสนอผ่านเว็บผ่านอะไรบ้างรึเปล่า

อิงฟ้า : ยังค่ะ ฝีมือยังไม่แน่นยังไม่พร้อมค่ะ กลัวเป็นคำตกหล่น หรือว่าเป็นคลิปวิดีโอก็กลัวผิดพลาด ในการตัดต่อ หรือว่าการเขียนภาษาไทย เพราะว่าเราพูดเป็นภาษาท้องถิ่นค่ะ

ถาม : แต่ขั้นตอนสุดท้ายเราคืนข้อมูลให้ชุมชนเลยนะ เพราะฉะนั้น ข้อมูลที่เรามีก็ต้องแม่นยำในระดับหนึ่งไหมคะ เมื่อคือถ้าเทียบกับในเน็ตเวลาเราไปหาข้อมูลก็แทบจะไม่มีเลยแต่กลุ่มเรามาทำโครงการไปสัมภาษณ์อะไรมาได้ข้อมูลมา ได้คืนข้อมูลชุมชนด้วยพี่ว่ามันน่าจะแม่นยำ

อิงฟ้า : มันก็ไม่ได้แม่นยำขนาดนั้นค่ะ แต่เราก็เอาข้อมูลที่เราได้มาไปเสนอ

ถาม : ตอนคืนข้อมูลชุมชนมีขั้นตอนอย่างไร ต้องนัดผู้ใหญ่มาอีกไหม

อิงฟ้า : ค่ะ ช่วงคืนข้อมูลสู่ชุมชนเป็นช่วงโควิดด้วยค่ะ

มินนี่ : ช่วงนั้นมาไม่เยอะ

ถาม : เราตั้งใจหรือรู้อยู่แล้วว่าเขามาไม่เยอะ หรือเรากำหนดไว้ว่าเราจะเอาสักกี่คน

อิงฟ้า : เราก็กำหนดไว้ตามกฎหมาย พรก.ฉุกเฉิน ที่เขากำหนดไว้

ถาม : แล้วได้มากกว่าหรือต่ำกว่า พรก.ฉุกเฉิน ไม่งั้นผิดกฎหมายนะ

อิงฟ้า : ได้ต่ำกว่าค่ะ เพราะว่าผู้ใหญ่ก็หวาดกลัว ตื่นตระหนกไปบ้างค่ะ

ถาม : แล้วเราคิดว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาไหม สำหรับเราไหม

อิงฟ้า : มันเป็นปัญหาในการคืนข้อมูล เพราะว่าเราก็ตั้งจุดประสงค์ อยากให้คนมารู้ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำถุ้งเยอะๆ แต่ว่ามาอยู่ในช่วงโควิด การประสานงานเราก็เบาลง ช่วงนั้นโควิดกำลังเข้ามาคนติดในประเทศไทยเยอะๆ

ถาม : ถ้าให้ 2 คนประเมิน นึกถึงเป้าหมายตอนแรกคะแนนเต็ม 10 เราให้เท่าไหร่ เพราะอะไร ผลลัพธ์ภาพรวมของโครงการ คิดว่าเป็นอย่างไรบ้าง

มินนี่ : คิดว่าดีขึ้นมาระดับหนึ่ง

ถาม : ดีอย่างไร เกิดผลลัพธ์อย่างไรที่เรามองว่าดี

มินนี่ : คือทุกคนก็ให้ความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคนในชุมชน พี่ๆ ทางสถาบันให้ความสนใจว่ามันดีนะ ผลมันออกมากดีค่ะ ถ้าให้คะแนนเต็ม 10 ให้ 8 ก็ได้ค่ะ

ถาม : อีก 2 แต้มที่ขาดไปหัก หักให้กับอะไร

มินนี่ : เยาวชนค่ะหักไปเลย แล้วก็การทำงานในทีมค่ะ

ถาม : ก็ตอนแรกบอกว่าการทำงานในทีมมันชิลล์ดี

มินนี่ : มันชิลล์ตอนแรกๆ ค่ะ หลังๆ มาก็มีคนทำงานแค่ 2-3 คน เช่น วันนี้เลยค่ะ ทำกันแค่ 2 คน

ถาม: แล้วที่มินนี่บอกว่าเรื่องเยาวชน หมายถึงเยาวชนในพื้นที่หรือว่าอย่างไง

มินนี่ : เยาวชนในพื้นที่ค่ะ ไม่มีเลยค่ะ มีแต่พวกหนู 5 คน นอกนั้นก็เป็นผู้ใหญ่ทั้งหมดค่ะ เขาไม่ให้ความสนใจด้วย

ถาม : อิงฟ้า โครงการทำให้เกิดผลอย่างไรบ้าง แล้วหนูให้คะแนนโครงการเท่าไร เพราะอะไร

อิงฟ้า : เกิดผลดี เพราะว่าเป็นการสืบสานภูมิปัญญาน้ำถุ้ง และเป็นผลดีที่เราสามารถสานน้ำถุ้งเองได้ และเราได้ทำกิจกรรมดีๆ เกี่ยวกับชุมชน

ถาม : แล้วให้คะแนนเท่าไหร่

อิงฟ้า: ให้ 7 ค่ะ

ถาม : 3 แต้มหักอะไรไป

อิงฟ้า : หักเรื่องข้อมูลที่ยังไม่แน่นพอหรือว่าขาดอะไรไปบางส่วน หักตรงที่เยาวชนเหมือนกันค่ะ เยาวชนไม่ค่อยเห็นความสนใจในด้านนี้มากเท่าไหร่ และก็อีกคะแนนหนึ่งก็คือ ช่วงโควิดค่ะมันทำให้การทำงานของเรามันยุ่งยากและวุ่นวาย มันต้องมีจุดคัดกรองนะ แล้วต้องมี social distancing นะ เราต้องทำตาม พรก . ฉุกเฉิน ที่รัฐบาลกำหนดไว้ มันลำบากตรงนี้ค่ะ เป็นการคืนข้อมูลที่ยังไม่แน่นเพราะว่าโควิดค่ะ ในช่วงโควิด กลุ่มเยาวชนของเราก็ช่วยการทำเฟสชิล ไปแจกในแต่ละหน่วยงานชุมชนและคนในชุมชน

ถาม: พวกหนูประหลาดใจไหมว่าเยาวชนไม่สนใจเลยแต่ผู้ใหญ่ครึกครื้นกันมาก โดยให้ความสนใจร่วมมือกันเยอะหรือว่าอย่างไร

อิงฟ้า :เพราะเยาวชนส่วนใหญ่เป็นเด็กในเมืองค่ะ เขาไปเรียนในเมืองไปเรียนเชียงใหม่กันหมด

ถาม : หมายถึงว่าเขาไม่อยู่ในชุมชน หรือว่าเขาไม่รู้ หรือเพราะว่าเขากลายเป็นคนในเมืองเลยทำให้เขาไม่สนใจ

มินนี่ : กลายเป็นเด็กในเมืองมากกว่า

อิงฟ้า : กลายเป็นเด็กในเมืองกันมากกว่า บ้านๆ อย่างเราค่ะ

ถาม : แต่ในทางกลับกัน เราเห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรในกลุ่ม ในชุมชนเราไหม ที่แบบว่าผู้ใหญ่เขาก็อยู่ในกลุ่มเราอยู่แล้ว หลังจากเราทำโครงการนี้เราเห็นความเข้มแข็งมากขึ้นหรือเราเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่องการสืบต่อน้ำถุ้งนี้ไหม

อิงฟ้า : ทางแม่ๆ ในกลุ่ม OTOP นวัตวิถี เขาเข้มแข็งกันอยู่แล้วค่ะ แล้วก็ถ้าโครงการเราเข้าไปสานต่อก็จะเป็นการเผยแพร่ผลงานบางส่วนให้กับกลุ่มค่ะ

ถาม : แต่เหมือนเราไปเติมกำลังใจให้เขาด้วยไหมเพราะเราก็เป็นกลุ่มเด็กของเยาวชน แล้วสนใจในเรื่องที่เขาทำ

อิงฟ้า : ก็เติมไปมากเลยค่ะ

ถาม : วัดจากอะไร

อิงฟ้า : วัดจากที่เด็กและเยาวชนไม่ค่อยสนใจวัฒนธรรมบ้านเขา

ถาม : ถ้าเป็นไปได้หนูอยากให้ใครเข้ามาสนับสนุนเราไหม หรือว่าอย่างไร เพื่อจะทำให้มันเกิดความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น

อิงฟ้า : อยากให้ทางอำเภอ และทางเทศบาล เข้ามาช่วย support เป็นการประสานงานก็ได้ค่ะ เป็นการให้ข้อมูลในเว็บของเทศบาลหรืออำเภอค่ะ

ถาม : ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีใช่ไหม

อิงฟ้า : มันก็มี แต่ว่าคนข้างนอกยังไม่สามารถเข้าถึงได้แบบง่ายๆ

ถาม : ก็คือหนูอยากให้มี พื้นที่ ได้เผยแพร่เรื่องราวเหล่านี้ ให้คนข้างนอกได้รับรู้มากขึ้นใช่ไหม

อิงฟ้า : ใช่ค่ะ

ถาม : แล้วหนูอยากจะต่อยอดโครงการหรือมีอะไรในใจที่อยากจะทำอีกไหม

มินนี่ : ตอนนี้ในใจก็ยังไม่มีค่ะ

ถาม : ในระหว่างที่ทำโครงการนี้ เราได้ค้นพบศักยภาพอะไรในตัวเองบ้างไหม ที่แบบว่าก่อนหน้านี้เราไม่เคยคิดมาเลยว่าเรามีสิ่งนี้อยู่ในตัวเอง แต่เราเพิ่งได้มาเห็นว่าเราทำได้นะ จากการทำโครงการนี้

มินนี่ : ตอนแรกๆ หนูเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงออก พูดไม่เก่ง แต่พอมาทำโครงการนี้ก็ได้เห็นว่าตัวเองกล้าแสดงออกมากขึ้น พูดดีขึ้นมาในระดับหนึ่ง ยังไม่ถึงเก่งเหมือนกับอิงฟ้า

อิงฟ้า : ส่วนหนู เกี่ยวกับเรื่องการทำเอกสารการเงิน เพราะว่าตอนที่อยู่สภาเด็กเป็นประธาน ก็ได้แต่เซ็นต์รับรอง แต่ว่าพอได้เข้ามาทำของโครงการนี้ เราต้องรับผิดชอบ การจัดการเรื่องการเงินตกหล่นไปบ้างแต่ก็รีบแก้ไข อีกอย่างมันเป็นงานที่ท้าทาย แล้วเราสามารถทำได้ จนถึงทุกวันนี้

ถาม :พวกหนูได้ทำแผนที่ชุมชน หรือว่าปฏิทินชุมชน อะไรมีกันบ้างไหม

อิงฟ้า: ทำแผนที่ชุมชนค่ะ

ถาม : ตอนทำแผนที่ชุมชนเราตั้งใจทำขึ้นมาเพื่ออะไร

มินนี่: เพื่อที่จะดูว่าในบ้านธิของเรามีของดีมีอะไรตรงไหน เช่น สถานที่ โบราณสถาน มีการทำข้าวแคบ น้ำถุ้งตรงไหนบ้าง ก็ไล่เส้นทางไป

ถาม : หลังจากทำเสร็จเราได้เอามาทำประโยชน์อะไรบ้างไหมสำหรับแผนที่ หรือว่ามีอาจจะเอาไปใช้ประโยชน์เรื่องอะไรบ้างไหม

อิงฟ้า : ก็เก็บเอาไว้ในหมู่บ้านค่ะ

ถาม : ตอนนี้แผนที่อยู่ที่ไหน อยู่ที่ชั้นรึเปล่า แต่ถ่ายรูปไว้ใช่ไหม

อิงฟ้า : ใช่ค่ะถ่ายรูปไว้

ถาม : มีอะไรอีกไหมที่มีความเปลี่ยนแปลงในตัวเราที่ได้รับจากการทำโครงการนี้

อิงฟ้า : เป็นคนพูดไม่ชัดค่ะ

ถาม : แล้วตอนนี้พูดชัดขึ้นเหรอ

อิงฟ้า : ก็บางครั้งค่ะ ช เป็น ซ แบบนี้ค่ะ แล้วเป็นการเรียบเรียงคำพูดที่จะให้ทุกคนเข้าใจก็พัฒนามาเรื่อยๆ

ถาม : มันก็ธรรมดานะ บางทีก็ติดคำเมือง

อิงฟ้า : ใช่ค่ะ

ถาม : แต่ตอนหนูรู้สึกว่าตัวเองพูดรู้เรื่องมากขึ้น สื่อสารให้คนอื่นเข้าใจมากขึ้น ได้ดีขึ้น

อิงฟ้า : ใช่ค่ะ

ถาม : สิ่งที่เราได้เรียนรู้ทักษะต่างๆ ในโครงการเอาไปใช้การเรียนหรือในชีวิตประจำวันมันมีประโยชน์กับเราบ้างไหม

มินนี่ : มีค่ะ เช่น การนำเสนอหน้าชั้น จากเป็นคนที่พูดติดๆ ขัดๆ ตอนนี้พูดลื่นเลย

ถาม : แล้วก็เขินอายน้อยลงอย่างนี้ด้วยไหม

มินนี่ : ประมาณนั้นค่ะ ไม่ตื่นเต้นมาก จากที่เมื่อก่อนออกไปเขิน มือสั่น แต่ตอนนี้ก็สบายๆ ชิล ๆ

ถาม : โครงการสืบสานปัญญาท้องถิ่นน้ำถุ้งไทลื้อ พอทำโครงการเสร็จ เรามีความรู้สึกกับชุมชนหรือภูมิปัญญาของความเป็นไทยหรือของเราอย่างไรบ้าง

อิงฟ้า: รู้สึกภูมิใจในตัวเองว่าเราสามารถทำกิจกรรมดีๆ ให้กับชุมชน กลับมาฟื้นฟู สืบสานภูมิปัญญาการทำน้ำถุ้ง และช่วยการสร้างกำลังใจให้กับพ่ออุ้ยแม่อุ้ยที่ยังสานน้ำถุ้ง ให้มีความสุขในการทำต่อไป

ถาม : มินนี่ หลังจากทำโครงการนี้ เรามีความรู้สึกต่อชุมชนและอัตลักษณ์ความเป็นไทยหรือความเป็นเราอย่างไรบ้าง

มินนี่ : ภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นคนไทลื้อ เพราะว่าคนไทลื้อมีอะไรที่น่าสนใจเยอะแยะ พอได้มาทำตรงนี้ก็ดีใจค่ะ

ถาม : พวกเรายังพูดภาษาไทลื้อกันอยู่ไหม

มินนี่ : พูดได้ค่ะ

ถาม : ตอนที่น้องบอกว่าจุดอ่อนที่ตัวเองยังเก็บข้อมูลได้ไม่ดี อยากรู้ว่าตอนนี้เรารู้วิธีการเก็บข้อมูลที่ดีหรือยัง ถ้าเก็บข้อมูลที่ดีมันต้องทำอย่างไร สำหรับเรา ถ้าแก้ใหม่ ถ้าได้ทำใหม่กันอีกครั้งคะ

อิงฟ้า : ก็จะเก็บข้อมูลเป็นอย่างแรกเลยค่ะ ต้องไปค้นหาข้อมูลมาให้ได้ หรือไปถามผู้รู้คนอื่นเพิ่มอีก แล้วนำมาเรียบเรียงให้มันเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ เพราะว่าถ้าเราถามแค่คนเดียวเราก็จะได้ข้อมูลไม่แน่นค่ะ

ถาม : คิดว่าอะไรเป็นบทเรียนสำหรับเรา เป็นบทเรียนของการเก็บข้อมูล ในปีนี้ที่จะเอาไปใช้ในครั้งหน้า

อิงฟ้า : บทเรียนคือเราต้องอัดเสียงไว้ค่ะ

ถาม : ตอนเก็บไม่ได้อัดใช่ไหม

อิงฟ้า : ใช่คะ

ถาม : มีอะไรอีกไหมคะ เหมือนจะพูดต่อ

อิงฟ้า : ไม่มีแล้วค่ะ

ถาม : ปกติแล้วที่เราปรึกษาพี่เลี้ยงเรื่องอะไร หรือปรึกษาช่วงไหนคะ

อิงฟ้า : ตอนที่เราจะเริ่มทำโครงการค่ะ เราจะทำกิจกรรมแบบนี้ให้มันเหมาะสมกับคนชุมชนไหม ทำให้มันสมบูรณ์แบบมากที่สุด และก็คำแนะนำต่างๆ หลังจากการทำกิจกรรมที่เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข บางส่วน

ถาม : การที่ปรึกษาพี่เลี้ยง ช่วยให้พวกหนูทำงานได้ง่ายขึ้นไหม

อิงฟ้า : ช่วยได้มากเลยค่ะ

ถาม : ตอนแรกไปไม่เป็นใช่ไหม

อิงฟ้า : ไปสอบถามบางส่วนที่เรายังไม่เข้าใจแล้วก็ได้รับคำแนะนำวิธีการทำมาค่ะ

ถาม : ทำโครงการมาปีหนึ่งแล้ว อยากรู้ว่า น้ำถุ้งมีความหมายกับชุมชนเราอย่างไร สำหรับความเข้าใจของแต่ละคน

อิงฟ้า: น้ำถุ้งเป็นภูมิปัญญาของคนไทลื้อมาแต่ดั้งเดิมเป็นสิ่งที่ทำให้รู้ว่ามีน้ำถุ้งอยู่ตรงไหน ตรงนั้นมีคนไทลื้อ และภูมิใจว่าน้ำถุ้งไทลื้อก็ยังมีคนส่วนใหญ่ให้ความสนใจไม่มากก็น้อยค่ะ ในชุมชนได้ไปออกบูธเพื่อนำเสนอผลงานต่างๆ ในต่างจังหวัดด้วย และสร้างความสนใจคนต่างจังหวัดด้วย

ถาม : เหมือนเป็นตัวแทนของชาวไทลื้อใช่ไหม

อิงฟ้า : ใช่ค่ะ เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้รู้ว่าเป็นคนไทลื้อคะ

ถาม : ขั้นตอนทำกิจกรรมเราเลือกให้ผู้นำชุมชนมาเป็นแกนนำร่วมกับเราด้วย คืออยากรู้ว่าถ้าเป็นโครงการอื่น เด็กเขาก็ทำกับเด็กด้วยกัน ตอนนั้นอยากรู้เราคิดอะไรต้องดึงพวกแกนหรือผู้ใหญ่มาร่วมทำงานกับเราด้วย

อิงฟ้า: เราไม่ได้ตั้งเป้าหมายแค่เราเป็นคนทำ แต่ว่าเราอยากเห็นทุกคนช่วยกันทำมากกว่า เป็นความสามัคคีด้วย ทำให้เรารู้ด้วยว่าแกนนำชุมชนก็ช่วย support สามารถประสานงานต่อ

ถาม : อยากให้คนในพื้นที่อื่นๆ อีก 20 หมู่บ้านให้เขามาเข้าร่วมกิจกรรม โดยใช้วิธีการโดยการต่อสายหาพ่อหลวงแม่หลวงแต่ละชุมชน เราไว้ใจและเชื่อมั่นพ่อหลวงแม่หลวงมากขนาดไหน ที่เขาจะสามารถพาคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมกับเราได้

อิงฟ้า : เราไม่ได้ให้ความหวังว่าคนต้องมาร่วมกิจกรรมเยอะ เราอยากให้คนในชุมชนรู้ว่า พวกเราทำกิจกรรมนี้เพื่อพัฒนาชุมชนนะ ให้เขาเล็งเห็นถึงความสำคัญตรงนี้มากกว่า เพราะเด็กส่วนใหญ่ไม่มีใครพัฒนาชุมชนกับเราแบบนี้ นานๆ จะมาครั้งก็อยากให้เขาให้ความสนใจ แต่เราไม่ได้บังคับเป็นความสมัครใจมากกว่า ว่าจะมาหรือไม่มา

ถาม : โดยปกติเราสนิทกับพ่อหลวงแม่หลวงในชุมชนอยู่แล้วหรือเปล่าคะ

อิงฟ้า: ก็ไม่เชิงว่าสนิทค่ะ แต่ตอนทำกิจกรรมเป็นสร้างความสนิทสนมกันให้มากขึ้น เป็นการประสานงานในปีต่อๆ ไปด้วยไม่ให้มันติดขัด