วงจรควบค มอ ตโนม ต แผนกช างไฟฟ า วท.ช ยภ ม

ศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนและผังเมือง การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร การจัดการสิ่งแวดล้อมและการแก้ปัญหาเมืองด้านต่างๆ เน้นการประยุกต์วิชาการพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และวิทยาการจัดการ เพื่อให้เกิดกระบวนการสร้างสรรค์งานด้านการผังเมืองที่มีความทันสมัยสอดคล้องกับสังคมยุคใหม่

เมื่อเรียนจบสามารถทำงานที่สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เทศบาลเมือง เทศบาลนคร เทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัดและองค์การบริหารส่วนตำบล การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การเคหะแห่งชาติ การนิคมอุตสาหกรรม โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัท ที่ปรึกษา โดยเป็นนักวางแผนและวางผังเมือง ที่ปรึกษาการวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tds.tu.ac.th/programs-up/

การออกแบบพัฒนาชุมชนเมืองบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบชุมชนเมือง ซึ่งเป็นบูรณาการศาสตร์อันประกอบไปด้วยศาสตร์ด้านการออกแบบ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรม วิทยาการจัดการ และการพัฒนา เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของสังคมยุคใหม่ และการเจริญเติบโตของเมืองและชุมชน และเพื่อสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับมวลมนุษย์

เมื่อเรียนจบสามารถประกอบวิชาชีพอิสระหรือทำงานในหน่วยงานราชการ องค์กรไม่แสวงหากำไร บริษัทที่ปรึกษาโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนเมืองได้หลายประเภท ทั้งในและต่างประเทศ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.tds.tu.ac.th/programs-uddi/

การแพทย์แผนจีนบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพแบบองค์รวมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย โดยเน้นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการตรวจวินิจฉัยอาการ และให้การรักษาโรคด้วยการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ครอบคลุมทั้งด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย หัตถเวชกรรมไทย และผดุงครรภ์ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักการและความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์รองรับ รวมทั้งสามารถส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ แพทย์แผนไทยประยุกต์ แพทย์แผนไทย นักการแพทย์แผนไทยในสถานพยาบาลทุกระดับ อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย หรือประกอบอาชีพอิสระด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์โดยการเปิดคลินิก

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.med.tu.ac.th/attmedtu

ควบบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจแบบบูรณาการ

เป็นหลักสูตรควบตรี–โท ทางการบริหารธุรกิจ ซึ่งออกแบบมาเพื่อการเรียนรู้ในลักษณะบูรณาการ โดยจะเน้นให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนในห้องเรียนควบคู่ไปกับการเรียนรู้ภาคปฏิบัติในโลกการทำงานจริงของทั้งภาคธุรกิจสังคมและชุมชน นักศึกษาจะได้รับการปลูกฝังเรื่องจริยธรรมและสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมที่ประสานไว้ในหลักสูตรผ่านหลายวิชาทั้งธุรกิจกับสังคมธรรมาภิบาล ตลอดจนโครงการรณรงค์ทางธุรกิจเพื่อสังคมและประเทศชาติ

ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพนักบริหาร นักวิชาการ นักวิจัย และทำงานในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในด้านดังต่อไปนี้ ด้านการเงิน ด้านการตลาด ด้านการบริหารองค์การและการประกอบการ และที่ปรึกษาทางธุรกิจ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.ibmp.tbs.tu.ac.th

ควบบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีธุรกิจแบบบูรณาการ

ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญและบทบาทของการบัญชี โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้ถึงแนวความคิดในการรวบรวม วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลทางการเงิน ซึ่งสะท้อนกิจกรรมทางธุรกิจที่เกิดขึ้นในองค์กร หลักสูตรมีการออกแบบการเรียนการสอนในลักษณะบูรณาการ โดยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการบูรณาการและประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการบัญชีเข้ากับการบริหาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านการบัญชีและการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับองค์กร

ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพนักบริหาร นักวิชาการ นักวิจัย และทำงานในองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในด้านการทำบัญชี การสอบบัญชี การบัญชีบริหาร การวางระบบบัญชี การบัญชีภาษีอากร การศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี และการตรวจสอบภายใน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://accounting.bus.tu.ac.th

ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต

ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก การตรวจ วินิจฉัย การวางแผนการรักษา เวชบำบัดหรือการผ่าตัดรักษาโรคและภยันตรายของช่องปากกระดูกขากรรไกรและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการฟื้นฟูสภาพของอวัยวะในช่องปากและอวัยวะข้างเคียง ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพเป็นแพทย์ในสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน อาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์หรือคณะสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ นักวิจัย หรือศึกษาต่อระดับวุฒิบัตรเป็นแพทย์เฉพาะทาง ศึกษาต่อปริญญาโท-เอกในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

เผยแพร่: 4 ม.ค. 2560 09:49 ปรับปรุง: 4 ม.ค. 2560 15:23 โดย: MGR Online

กสท โทรคมนาคม และทีโอที เตรียมเสนอแผนควบรวมธุรกิจ โครงข่ายระหว่างประเทศ และไอดีซี รวมเป็นบริษัทเดียวกันในชื่อ NGDC เตรียมเสนอ คนร.วันที่ 9 ม.ค.นี้ จากเดิมที่ คนร.สั่งให้แยกออกเป็นแต่ละธุรกิจ เหตุธุรกิจโครงข่ายระหว่างประเทศลงทุนสูง แต่กำไรลดลง ขณะที่ธุรกิจไอดีซี เติบโตทุกปี

พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการควบรวมธุรกิจระหว่าง กสท กับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ตามมติของคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ว่า กสท โทรคมนาคม และบริษัทที่ปรึกษา คือ บริษัท ดีลอยท์ จำกัด และ ทีโอที พร้อมที่ปรึกษาทีโอที คือ บริษัท ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์แอนด์คูเปอร์ มีความเห็นร่วมกันที่จะควบรวมธุรกิจโครงข่ายระหว่างประเทศ หรือบริษัท NGN และดาต้าเซ็นเตอร์ (IDC) เป็นบริษัทเดียวกันในชื่อ NGDC

ทั้งนี้ เป็นการปรับเปลี่ยนจากเดิมที่ คนร.มีมติให้ตั้ง 3 บริษัทย่อย คือ NGN, NBN และ IDC โดยจะทำแผนเสนอ คนร.พิจารณาอนุมัติในวันที่ 9 มกราคม 2560 เนื่องจากธุรกิจ NGN โดยเฉพาะเคเบิลใต้น้ำลงทุนสูง แต่กำไรมีแนวโน้มลดลงจากการแข่งขันด้านราคา ขณะที่ IDC มีการเติบโตทุกปีประมาณปีละ 25% ซึ่งจะถึงจุดคืนทุนได้เร็ว และสามารถทำกำไรต่อไป ดังนั้น การรวมทั้ง 2 บริษัทจึงเป็นแนวทางที่ตอบโจทย์ คนร.ให้เกิดประสิทธิผลได้ โดยลดความซ้ำซ้อน เพิ่มมูลค่า และยังช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจที่มีอยู่ได้อย่างยั่งยืน เช่น โอกาสทำตลาดในกลุ่มคอนเทนต์ โพรวายเดอร์ต่างชาติที่รัฐบาลมีเป้าหมายส่งเสริมให้เข้ามาตั้งฐานในไทย

อย่างไรก็ตาม การเข้ามาของบริษัทเหล่านี้นอกเหนือจากมองว่า ลูกค้าในไทยมีจำนวนมากรวมทั้งปริมาณการจราจรจากประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ยังต้องการปัจจัยสำคัญ คือ โอเปอเรเตอร์ที่จะให้บริการโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยราคาสมเหตุผลเพื่อเชื่อมไปยังฐานข้อมูลหลักที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในมาเลเซีย และสิงคโปร์ ควบคู่กับบริการ Cloud/Data Center ซึ่งการรวม 2 ธุรกิจนี้ให้สามารถให้บริการรองรับครบทั้งโครงข่าย และ IDC จะสร้างโอกาสที่ดีให้กับบริษัทใหม่ที่จะเกิดขึ้น

ส่วนการเคลียร์ข้อพิพาทกับคู่สัญญาสัมปทานตามแนวทางของ คนร.ที่ให้มีการเจรจาเพื่อระงับข้อพิพาทกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค, บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ในเครือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส นั้น คาดว่า ภายในปี 2560 ต้องสามารถสรุป และได้ข้อยุติเพื่อนำทรัพย์สินในสัมปทานทั้งเครื่อง และอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทสถานีฐาน เสาโทรคมนาคม และสายใยแก้วนำแสง (ไฟเบอร์ออปติก) มาสร้างรายได้ต่อไป ขณะที่ปัญหาการทำสัญญาบริการ FTTX 12 สัญญาที่ยืดเยื้อมานานน่าจะสรุปได้ในปี 2560 จำนวน 2 สัญญา

ส่วนทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2560 นั้น พ.อ.สรรพชัย กล่าวว่า ได้เตรียมจัดตั้งหน่วยธุรกิจด้าน IoT เพื่อให้บริการแพลตฟอร์มกลางสำหรับหน่วยงานกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ในการพัฒนาบริการอัจฉริยะ เช่น Smart Health, Smart Logistics, Smart meter, Smart tourism, Smart farm เพื่อรองรับคอนเซ็ปต์สมาร์ทซิตี้ และไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างครบวงจร เนื่องจากการใช้ IoT จะเริ่มจากภาครัฐในการให้บริการกับประชาชน กสท โทรคมนาคม จึงมุ่งนำเสนอโซลูชั่นที่ลดต้นทุน และมีประสิทธิภาพให้กับหน่วยงานภาครัฐที่จะเป็นผู้นำไปใช้เป็นหลัก ซึ่งเป็นการแตกธุรกิจใหม่ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยนำร่องโครงการที่ภูเก็ต ซึ่งปัจจุบันได้เปิดให้บริการฟรีไว-ไฟ โดย กสท โทรคมนาคม

ขณะที่ธุรกิจโมบายนั้น กสท โทรคมนาคม มีแผน เพิ่มพาร์ตเนอร์ MVNO และสนับสนุน MVNO ในปัจจุบันให้สามารถแข่งขันในธุรกิจ 4G และเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังเตรียมสร้างรายได้จากสินทรัพย์อื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้งาน โดยมีแนวคิดที่จะให้เอกชนที่สนใจนำเสนอ proposal ในการบริหารจัดการสินทรัพย์ เช่น พื้นที่อาคาร CAT Tower ทั้งในอาคาร และท่าเรือ ที่สามารถพัฒนารองรับธุรกิจท่องเที่ยว โดยพื้นที่ศรีราชา เหมาะที่จะทำเป็น Innovation Park

สำหรับการขยายตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้แบรนด์ (my) ในปี 2560 กสท โทรคมนาคมเตรียมกลยุทธ์การตลาดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G ตอกย้ำจุดเด่นความคุ้มค่า ด้วยโปรโมชั่นครอบคลุมไลฟ์สไตล์การใช้งานที่คุ้มค่าสำหรับผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม โดยใช้งบการตลาด 280 ล้านบาทในการออกสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้แบรนด์ และโปรโมชั่นให้มากขึ้น พร้อมจัดงบส่งเสริมการขายอีก 100 ล้านบาท จัดหาเครื่องมือถือแบรนด์ยอดนิยมราคาพิเศษจำหน่ายพร้อมแพกเกจโปรโมชั่นสำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กรที่ใช้บริการต่างๆ ของ กสท โทรคมนาคม รวมถึงลูกค้าทั่วไป โดยในปี 2560 ตั้งเป้ามีจะมีผู้ใช้บริการเพิ่มเป็น 2 ล้านเลขหมาย และมีรายได้เพิ่ม 2.6 พันล้านบาท จากปี 2559 ที่คาดว่าจะมีลูกค้ารวมทั้งสิ้น 1.7 ล้านเลขหมาย มีรายได้รวม 1.6 พันล้านบาท

พ.อ.สรรพชัย คาดว่า ในปี 2560 จะมีรายได้เติบโตประมาณ 5% จากปี 2559 และคาดว่า จะมีกำไรประมาณ 800 ล้านบาท โดยผลประกอบการปี 2559 ในช่วง 11 เดือน กสท โทรคมนาคม มีรายได้รวม 4.6 หมื่นล้านบาท มีกำไรสุทธิ 2.8 พันล้านบาท คาดว่า ภายในสิ้นปี 2559 จะมีรายได้รวม 5 หมื่นล้านบาท กำไรสุทธิ 3.1 พันล้านบาท โดยรายได้ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (โมบาย) 50% ของรายได้รวม และธุรกิจบรอดแบนด์ และบริการอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ รวมทั้ง ไอดีดี 16% และธุรกิจอื่นๆ อีก 14% ส่วนอีก 20% มาจากรายได้สัมปทาน