รายงานศึกษาค้นคว้าวิจัย ตัวอย่าง

บทที่ 4 การค้นคว้าเอกสารและรายงานวิจัยที่เกีย่ วข้อง เมื่อได้สภาพปัญหาวิจัยที่สนใจหรือน่าสนใจจะทําวิจัย ผู้วิจัยจําต้องศึกษาในรายละเอียดของ ปัญหา เพื่อให้มีความกระจ่างชัด ทําให้มองเห็นภาพรวมของปัญหาวิจัยได้กว้างและลึกมากขึ้น ทํา ให้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ช่วยในการตัดสินใจว่าจะดําเนินการต่อไป หรือจะเปลี่ยนแปลงแนวคิดใหม่ แต่หากมีความเข้าใจประกอบกับผู้วิจัยมีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในเรื่องที่เกี่ยวกับ สภาพปัญหานั้นอยู่ ก็คงดําเนินการต่อไป โดยจะต้องค้นหาเพื่อที่จะสรุปปัญหาวิจัยให้มีขอบเขตที่ ชัดเจนและตรงเป้าหมาย ซึ่งจะต้องให้ได้ทั้งหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและหรือผลงานวิจัย ตลอก กระทั่งภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องโดยตรง หรือเกี่ยวข้องบางส่วนกับปัญหาที่สนใจ เพื่อจะได้เห็นแนวทาง ในการกําหนดชื่อเรื่องหรือปัญหาที่ตัดสินใจทําวิจัย การกําหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขตของการวิจัย ตัวแปรที่จะทําการศึกษา การกําหนดกรอบแนวคิด ตลอดทั้งทําให้มองเห็นแนวทางการวิจัยได้อย่าง มีความมั่นใจขึ้น

4.1 วัตถุประสงค์ในการค้นคว้าเอกสาร 4.1.1 เพื่อหาความจริง การค้นคว้าเอกสารเพื่อหาความจริง ความจริงในที่นี้เป็นความจริงระดับสูงที่ผ่าน การพิสูจน์ม าแล้ว นั่นก็คื อ ผู้วิจัยจะต้องค้นคว้าหาสิ่งที่ผู้ อื่นพิสู จน์ม าแล้ว ทํามาแล้ วได้ผลเป็น อย่างไร

4.1.2 เพื่อช่วยในการนิยามปัญหา เพื่อช่วยในการนิยามปัญหา เป็นความจริงที่ว่าเมื่อพบสภาพปัญหาแล้วทิศทางที่จะ ดําเนินการเพื่อค้นหาความจริงยังคลุมเครือ จําเป็นจะต้องศึกษาค้นคว้าเอกสารผลการวิจัยทั้งหลาย เพื่อให้เกิดความกระจ่างแจ้งในปัญหาที่จะทําวิจัย มิฉะนั้นแล้วจะดําเนินการไปไม่ได้เลย

4.1.3 เพื่อให้เลือกสรรปัญหาได้ถูกต้อง เพื่อให้เลือกสรรปัญหาได้ถูกต้อง การเลือกปัญหาให้ตรงจุดไม่ใช่ง่ายนัก การศึกษา ปัญหาในรูปแบบต่างๆ ที่มีผู้ทํามาแล้วจึงเป็นสิ่งจําเป็น ทําให้ได้แนวความคิดในการจําแนกลักษณะ ปัญหา และสามารถเลือกปัญหามาทําการวิจัยได้ตรงจุดมากขึ้น

4.1.4 เพื่อไม่ให้ทําซ้ํากับผู้อื่นโดยไม่จําเป็น เพื่อไม่ให้ทําซ้ํากับผู้อื่นโดยไม่จําเป็น การทําวิจัยซ้ํานั้นจะทําได้ก็ต่อเมื่อผลการวิจัย เป็นปัญหา เช่น เพราะการสุ่มตัวอย่างไม่ดี กระบวนการทําบกพร่อง เทคนิคตลอดจนการควบคุม ตัวแปรเกิดความคลาดเคลื่อนโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผู้วิจัยอาจจะทําปัญหาเก่าอีกทีก็ได้ เพื่อดูผลว่า แตกต่างกันเพียงใด เรียกว่าเป็นการวิจัยเพื่อพิสูจน์ของเดิม แต่ถ้าเป็นการวิจัยที่ถูกต้องทุกประการ แล้ว ปัญหาที่ตรงกันไม่นิยมทําซ้ํา เพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ําซ้อน ผู้วิจัยจึงต้องรู้ว่าในสาขาที่ตนสนใจ นั้นมีปัญหาใดบ้างที่เขาทํากันแล้ว และทํากันเมื่อไร ผลเป็นอย่างไร การค้นคว้าเอกสารอ้างอิงจึง เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง และสามารถต่อยอดความคิดได้ การวิจัยตลาด (Marketing Research)

หน้า 31

4.1.5 เพื่อหาเทคนิคในการวิจัย เพื่ อ หาเทคนิ ค ในการวิ จัย เทคนิ ค ในการวิ จั ย นั้ นมีม าก เช่ น เทคนิ ค ในการสุ่ ม ตัวอย่าง เทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูล เทคนิคในการสร้างเครื่องมือ การวัดค่าตัวแปร ดังนั้น การศึกษางานวิจัยที่ผ่านมาทําให้เกิดการเรียนรู้ในเทคนิคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ผู้วิจัยจะต้อง ศึกษาเอกสารดังกล่าวมาอย่างละเอียด และจะต้องติดตามดูด้วยว่า ทําไมจึงต้องใช้เทคนิคอย่างนั้น ถ้างานวิจัยของเราจะใช้แบบนั้นได้หรือไม่ ดังนี้เป็นต้น

4.1.6 เพื่อช่วยในการแปลความของข้อมูล เพื่ อ ช่ ว ยในการแปลความของข้ อ มู ล ในการแปลความหมายข้ อ มู ล นั้ น ถ้ า นํ า หลักการ แนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ มาสนับสนุนด้วยจะเป็นการดีมาก เพราะ ทําให้น้ําหนัก การแปลผลแบบอภิปรายผลจึงจําเป็นต้องอ้างอิงอย่างมาก ไม่ว่าจะยอมรับสมมติฐาน หรือไม่ก็ตาม

4.1.7 เพื่อเตรียมการเขียนรายงาน เพื่ อ เตรี ย มการเขี ย นรายงาน การเขี ย นรายงานวิ จั ย นั้ น แตกต่ า งจากการเขี ย น รายงานธรรมดา เพราะงานวิจัยมีกระบวนการแบบวิธีการวิทยาศาสตร์ การเขียนรายงานจึงมีระบบ แบบแผน การจะเขียนได้ถูกต้องเป็นที่ยอมรับทั่วไปจึงจําเป็นต้องศึกษางานเขียนของผู้อื่นมาแล้ว จุด ดีจุดเด่นของแต่ละงานวิจัยมีแตกต่างกัน การอ่านงานวิจัยเพื่อเปรียบเทียบจึงเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยจะต้องทํา มิฉะนั้นแบบการเขียนรายงานจะไม่มีทางพัฒนาดีขึ้นได้เลย

4.2 ประโยชน์ของการค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้อง การค้นคว้าเอกสารเป็นการทําให้ผู้วิจัยเกิดความคิดต่อเนื่อง มองเห็นลู่ทางในการวิจัยดีขึ้น ประโยชน์ทั้งหลายที่ได้รับจึงมีมากมาย เช่น 1. ทําให้สามารถหาเรื่องทําการวิจัยได้เหมาะสมและเชื่อถือได้ 2. ทําให้สามารถหาเครื่องมือที่ดีที่สุดมาใช้ในการวิจัยได้ 3. ทําให้รู้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างว่า ควรเลือกอย่างไร จํานวนเท่าไร และควรศึกษา ตัวแปรอะไรบ้าง 4. ทําให้รู้วิธีการทางสถิติที่จะใช้วิเคราะห์สมมติฐานที่ตั้งไว้ได้อย่างถูกต้อง 5. ทําให้รู้ว่าวิธีการดําเนินการวิจัยแบบใดที่ลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้ผลดี 6. ทําให้ได้อ่านบทวิเคราะห์วิจารณ์อย่างมีเหตุผลของคนอื่นในสาขาวิชาเดียวกัน 7. ทําให้ได้กรอบแนวคิดในการวิจัยที่มีความชัดเจนขึ้น ที่กล่าวมานี้เป็นประโยชน์ใหญ่ ๆ เท่านั้น ส่วนประโยชน์ที่ได้รับจากการค้นคว้าเอกสารที่ เกี่ยวข้องด้านอื่น ๆ ยังมีอีกมาก การวิจัยจะต้องใช้สมรรถภาพสมองทั้งด้านวิเคราะห์และสังเคราะห์ อาจจะได้สูตร กฎ ทฤษฎี และกระบวนการแบบใหม่ การที่คนจะมีหัวสมองด้านสังเคราะห์มาก ๆ นั้น จะนั่งคิดเฉย ๆ คงไม่เกิดแน่ จําเป็นจะต้องค้นคว้าแนวความคิดต่างๆ มาปรุงแต่งใหม่ให้มีรูปใหม่ โครงสร้างใหม่ หรือหน้าที่ใหม่ สิ่งเหล่านี้ย่อมเกิดจากการค้นการอ่านผลงานที่ผ่านมาทั้งนั้น หน้า 32

การวิจัยตลาด (Marketing Research)

ในการทําวิจัยจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยผลงานที่เกี่ยวข้อง จะไปนึกว่าเราคิดเป็นคนแรก ไม่ได้ ถึงแม้ว่าปัญหานั้นจะเป็นปัญหาที่ไม่ซ้ําซ้อนกับของผู้ใดทํามาเลย แต่การจะนิยามปัญหานั้นให้ ชัดเจนจนสามารถทําวิจัยได้ดี จําเป็นจะต้องหาเอกสารที่เกี่ยวข้องด้านใดด้านหนึ่งจนได้ ปัญหาทุก อย่างเป็นของมีอยู่เดิมแล้วทั้งสิ้น ที่เรามองเห็นว่าใหม่ก็เพราะแตกแขนงแปลงรูปเท่านั้นเอง

4.3 วิธีเลือกผลงานจากเอกสาร ผลงานการค้นคว้าและวิจัยนั้นมีจํานวนมากในแต่ละสาขาวิชา ทั้งภายในประเทศก็มีมาก แต่การวิจัยไม่ใช่จะศึกษาผลงานเพียงในประเทศอย่างเดียว จําเป็นจะต้องศึกษาของต่างประเทศด้วย ยิ่งกว้างเท่าไรยิ่งจะทําให้ผลงานมีความหมายมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ดังนั้นเอกสารที่ต้องค้นคว้าย่อมมีมาก เป็นธรรมดา ที่กล่าวมากแล้วมองในแง่ส่วนรวม แต่มีเหมือนกันบางสาขาวิชา การศึกษาวิจัยยังไม่เป็น การแพร่หลายกว้างขวางนัก เอกสารที่เกี่ยวข้องย่อมมีจํานวนน้อยแต่ถึงขนาดไม่มีเลยคงเป็นไปได้ ยาก เพราะมองในแง่ของความเกี่ยวข้อง เหตุการณ์ในโลกนี้เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันเว้นแต่ว่าจะหนัก ไปทางใดเท่านั้นเอง การศึกษาค้นคว้าที่เกี่ยวข้องควรคํานึงถึงหลักในการเลือกผลงานดังนี้ เอกสารนั้นทันสมัยพอใช้กับงานวิจัยของเราหรือไม่ เอกสารนั้นเป็นเครื่องชี้นําในการศึกษาข้อมูลของเราหรือไม่ เอกสารนั้นมีหนังสืออ้างอิงพอช่วยแนวทางให้เราได้ไปค้นคว้าเพิ่มเติมให้กว้างขวางขึ้นอีก หรือไม่ เอกสารนั้นชี้แนวคิดและทําให้เกิดการเรียนรู้ในการทําวิจัยเรื่องนั้นบางประการให้เรา หรือไม่

4.4 วิธีการค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้อง ขั้นแรกในการค้นคว้าเอกสารก็คื อ ต้องพยายามพิจารณาอย่างดี ว่าเอกสารนั้นควรอ่าน หรือไม่ โดยดูจากรายการชื่อหนังสือตามห้องสมุด ประเภทเอกสารที่ควรศึกษา ได้แก่ 1. วารสารการวิจัยทางด้านธุรกิจ 2. วารสารการวิจัยเฉพาะสาขาวิชา 3. งานวิจัยในสาขาวิชาโดยตรงที่สมบูรณ์แบบ เช่น ปริญญานิพนธ์ระดับต่างๆ 4. บทคัดย่อวิจัยทุกระดับในสาขาที่เกี่ยวข้อง 5. สารานุกรมทางการวิจัยธุรกิจ หรือแขนงวิชาที่เกี่ยวข้อง 6. ตําราและแหล่งอื่นๆ ที่เชื่อถือได้ เอกสารเหล่านี้แต่ละหัวข้อแยกแยะอีกเป็นจํานวนมาก และขอให้เข้าใจด้วยว่าถ้าพยายามจะ ค้นคว้าเป็นภาษาไทยอย่างเดียว คงมีไม่พออ้างอิง เพราะงานวิจัยในบ้านเรายังมีน้อย จึงจําเป็นต้อง ค้นคว้าเอกสารของต่างประเทศเป็นหลักด้วยเพราะเขาทําวิจัยไว้มาก

การวิจัยตลาด (Marketing Research)

หน้า 33

การค้นคว้าเอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้องควรจะค้นคว้าปริญญานิพนธ์ก่อน เพราะปริญญานิพนธ์ มีรายละเอียดทุกแง่ทุกมุมให้ศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการทําปริญญานิพนธ์ของนิสิตนักศึกษาด้วย แต่ถ้ามีงานวิจัยระดับมืออาชีพที่เป็นฉบับสมบูรณ์ศึกษาด้วยยิ่งดี ขอให้ได้ดูงานวิจัยที่มีอะไรอยู่ครบ สมบูรณ์แบบเพื่อเป็นตัวอย่างในการสัมผัสเริ่มแรก ภาพที่ฝังใจจะเป็นภาพที่ถูกที่ควร เมื่อได้เห็นรูปแบบที่สมบูรณ์ของการวิจัยแล้ว ขั้นต่อไปควรจะค้นคว้าจากวารสารประเภทที่ ย่อการวิจัยลงมา แต่ยังรักษารูปแบบการทําวิจัยไว้ด้วย วารสารเหล่านั้นมักจะมีชื่อเรื่องของการวิจัย จุดมุ่งหมาย สมมติฐาน วิธีเก็บข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ สรุปผล และเอกสารอ้างอิง เมื่อได้อ่าน และศึกษาหลายๆ เรื่องก็จะทําให้ได้แนวคิดในการทําวิจัยและมโนภาพในการวิจัยที่ถูกต้องด้วย เมื่อได้ศึกษาเอกสารสองประการมาแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการอ่านแบบรวบรัดเอาแต่ผลสั้นๆ เอกสารประเภทนี้เป็นประเภทบทคัดย่อเป็นส่วนใหญ่ แม้ไม่ใช่เอกสารประเภทคัดย่อ แต่เวลาอ่าน ให้เจาะจงอ่านแต่ผลของการวิจัยนั้นๆ การอ่านแบบนี้สามารถทําเวลาได้รวดเร็วกว่าสองวิธีแรกมาก อ่านแล้วต้องรู้จักการจะโน้ตเป็นด้วย การจดโน้ตต้องขึ้นอยู่กับวิธีการอ่านอีกเหมือนกัน เช่น 1. การจะจดรูปแบบ สาระเนื้อหาของเขาทั้งหมดโดยไม่เปลี่ยนแปลงข้อความที่เขา เขียนไว้เลย แบบนี้เรียกว่า โค้ต (Quotation) 2. บางกรณีไม่จําเป็นจะต้องโค๊ตข้อความจากเอกสารนั้นโดยตรง ผู้อ่านอาจจะเขียน แนวคิดของผู้เขียนเอกสารนั้นๆ ใหม่เป็นภาพเขียนของตนเองได้ แต่ต้องรักษาความคิดของผู้เขียน เดิมไว้ให้ครบถ้วน อย่างนี้เรียกว่า เรียบเรียง (Paraphrase) 3. ผู้อ่านอาจจะสรุปย่อความคิดในเนื้อเรื่องนั้นๆ ได้ เรียกว่าสรุปย่อ (Summary) 4. ผู้อ่านอาจจะใส่ความคิดเห็นของตนเองเพื่อชี้ให้เห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย หรือ ตีความหมายทัศนะของผู้เขียน อย่างนี้เรียกว่า ประเมิน (Evaluation) ดังนั้น การจดโน้ตจะมากหรือน้อยจึ งขึ้นอยู่กับผู้อ่านต้ องการประเภทใด วิธีการจดโน้ ต เพื่อให้สะดวกแก่ผู้อ่านหรือผู้ศึกษาเอกสารมีการแนะนําอยู่หลายวิธี เช่น 1. ควรมีสมุดเฉพาะสําหรับจดเอกสารที่ค้นคว้า โดยเฉพาะสมุดแบบนี้ควรมีสันสําหรับ ถอดได้เป็นแผ่นๆ เพื่อความสะดวกในการจัดกลุ่มทีหลัง หรือ 2. ควรทําบัตรขนาด 4 x 6 นิ้ว หรือ 5 x 8 นิ้วหรือขนาดไม่จํากัดเพื่อเอาไว้บันทึก ผลการอ่าน ผู้ทําจะทําขนาดไหนก็ได้ เพียงแต่ว่าให้สะดวกในการเก็บหรือถือติดตัว ทําเป็นบัตร เวลาจัดเรียงลําดับหมวดหมู่จะทําได้ง่ายขึ้น แต่ต้องระวังเรื่องการสูญหายเพราะเป็นแผ่นย่อยๆ ส่วนข้อความที่ผู้อ่านควรโน้ตลงในสมุด หรือบัตรที่เตรียมไว้แล้วมักจะเป็นสิ่งเหล่านี้ - ชื่อของผู้แต่ง รวมถึงชื่อและนามสกุล หรือชื่อองค์การ สถาบันต่างๆที่เป็น เจ้าของหรือผู้เขียน - ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ หรือชื่อวารสาร - สถานที่พิมพ์ - ปีที่พิมพ์ - เล่าที่เท่าไร หน้าไหน หมายถึงตั้งแต่หน้าที่เท่าไรถึงเท่าไร หน้า 34

การวิจัยตลาด (Marketing Research)

- เพื่ อ สะดวกในการค้ น ใหม่ ควรจดเลขรหั ส ห้ อ งสมุ ด ของหนั ง สื อ หรื อ แหล่งข้อมูลนั้นด้วย อีกส่วนหนึ่งที่เป็นเนื้อหา แล้วแต่ผู้อ่านเอกสารจะบันทึกลงไป ถ้าต้องการายละเอียด สามารถบันทึกได้ เช่น - ชื่อปัญหา - จุดมุ่งหมาย - สมมติฐาน - วิธีการ - การวิเคราะห์ - ผลของการวิจัย การใช้บัตรแผ่นหนึ่งควรจะออกแบบให้คุ้มค่า ไม่จําเป็นจะต้องแยกบัตรเป็นประเภท ต่าง ๆ มากนัก ในกรณีที่ใช้สมุดแทน พยายามให้เป็นเรื่องละหนึ่งหน้าหรือหนึ่งแผ่น เพื่อความ สะดวกและความเหมาะสมในการนําไปใช้

4.5 วิธีเขียนอ้างอิงเอกสาร การเขียนเอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้องในการวิจัยเรื่องนั้น จะต้องสังเคราะห์ข้อความให้ดี นั่น คือ การนําข้อความแต่ละเรื่องมาเขียนด้วยกันจะต้องเรียบเรียงให้ได้ความสมบูรณ์และต่อเนื่องกัน อย่างราบรื่นตลอดเนื้อหา ไม่ใช่จับมาเรียงต่อๆ กัน โดยไม่มีความเชื่อมโยงหรือเขียนแบบบูรณาการ ได้จะดีมาก การจัดลําดับมักนิยมเริ่มต้นจากการวิจัยหรือผลงานค้นคว้าในประเทศก่อนแล้วตามด้วย การศึกษาค้นคว้าของต่างประเทศ การแยกประเภทตัวแปรสําคัญที่จะศึกษาเป็นเรื่องสําคัญอันหนึ่ง เช่น เกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน แยกเรียบเรียงตอนหนึ่ง เกี่ยวกับยินดีกับผลของงานอีก กลุ่ ม หนึ่ ง ควรเรี ย บเรี ย งแต่ ล ะกลุ่ ม อย่ า ใช้ วิ ธี ย กมาเขี ย นเป็ น คนๆ ถ้ า ค้ น มาได้ 5 คน ต้ อ งมา สังเคราะห์เข้าด้วยกันให้เป้าอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วเขียนเป็นแบบบูรณาการ การอ้างอิงเอกสารนิยมทํากัน 2 แบบ แบบหนึ่งทําเป็นเชิงอรรถ อีกแบบหนึ่งอ้างอิงใน เนื้อหา เมื่อเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งแล้วต้องใช้แบบนั้นตลอดทั้งเล่มการวิจัยนั้น

4.5.1 การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ การอ้ า งอิ ง แบบเชิ ง อรรถ การเขี ย นเอกสารอ้ า งอิ ง แบบนี้ นํ า เอาผลจาก เอกสารอ้างอิงมาสังเคราะห์เข้าด้วยกัน ส่วนใดที่เป็นผลมาจากงานของใครหรือแหล่งใดทําตัวเลข เอาไว้ แล้วนําแหล่งที่อ้างอิงไปเขียนไว้ตอนล่างของหน้าเรียงตามลําดับ พอถึงหน้าใหม่ให้ใช้เลข เรียงลําดับใหม่คือ ขึ้นต้น 1 ใหม่อีกที ข้อความในเชิงอรรถแต่ละตอนควรจบในหน้าเดียว คําชี้แจง ในเชิงอรรถต้องอยู่หน้าเดียวกับข้อความในเนื้อเรื่องที่คําชี้แจงในเชิงอรรถกล่าวถึง

การวิจัยตลาด (Marketing Research)

หน้า 35

สิ่งที่ควรยึดเป็นหลักในการเขียนและพิมพ์เชิงอรรถ คือ 4.5.1.1 รายละเอียดทั้งหมดที่จะเขียนในเชิงอรรถ แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ เกี่ยวกับผู้แต่ง ส่วนชื่อหนังสือ และส่วนที่บอกหน้าหนังสือที่อ้างอิง 4.5.1.2 เครื่องหมายคั่นระหว่างส่วนทั้งสาม ถ้าภาษาอังกฤษให้มหัพภาค ส่วน เครื่องหมายคั่นระหว่างภายในของแต่ละส่วนใช้เครื่องหมายจุลภาค ส่วนภาษาไทยไม่จําเป็นต้องใช้คั่น ด้วยเครื่องหมายใด ๆ ใช้เว้นระยะแทน 4.5.1.3 ในการลงชื่อผู้แต่ง ทั้งในเชิงอรรถภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ลงชื่อตัว ก่อน และตามด้วยชื่อสกุล ถ้ามีหลายคนใช้และ... หรือใช้ และคนอื่น ๆ ผู้แต่งบางทีอาจจะเป็นสถาบัน ต่าง ๆ เช่นกระทรวง องค์การ สํานักงาน เป็นต้น 4.5.1.4 ต่อจากเรื่องผู้แต่งใส่ชื่อหนังสือที่อ้างอิงพร้อมทั้งขีดเส้นใต้ หลังชื่อหนังสือ เรื่องให้ใส่เลขหน้าหนังสือที่ใช้อ้างอิง ภาษาอังกฤษใช้ p. เช่น p.13 ถ้าหลายหน้าใช้ p. 13 – 18 ภาษาไทยใช้แบบเดียว แต่เขียนหน้า เช่น หน้า 16 หรือหน้า 20 – 23 เป็นต้น โดยไม่นําเสนอตัวอย่าง ในที่นี้

4.5.2 การอ้างอิงในเนื้อหา การอ้างอิงในเนื้อหา การเขียนบทนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ โดยการใช้เชิงอรรถลําบากใน การพิมพ์ และการจัดหน้าเป็นอันมาก ดังนั้น จึงมีวิธีการเขียนอีกแบบหนึ่งใช้วิธีอ้างอิงแหล่งนั้น ๆ เข้าไปในเนื้อหา แต่วิธีนี้ไม่สามารถอ้างอิงแหล่งเนื้อหาได้รายละเอียดมากนัก การอ้างอิงโดยวงเล็บ แทรกอยู่กับเนื้อหา สิ่งที่อ้างอิงในวงเล็บมีอยู่ 3 ส่วน คือ ชื่อผู้แต่งและชื่อสกุล ปีที่พิมพ์และหน้าที่ใช้ อ้างอิง ถ้าเป็นภาษาอังกฤษชื่อผู้แต่งใช้เฉพาะชื่อสกุล ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหา เมื่อผู้วิจัยได้กําหนดประเด็นที่ที่วิจัยและได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้ว ต่อไปจะเป็นการสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual of framework) กรอบแนวคิดใน การวิจัย หมายถึงแนวคิดหรือแบบจําลองที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยใช้ ทฤษฎี ข้อสรุปเชิงประจักษ์ ข้อมูลจากสมมติฐาน และผลงานวิจัยในอดีต เรื่องนั้น (พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2547, หน้า 62 – 63) และจะนําไปตรวจสอบว่ามีความสัมพันธ์สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ หรือไม่เพียงใด ในรายงานนักวิจัยนิยมเสนอกรอบแนวคิดในรูปของโมเดล หรือแผนภาพ แสดง โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมดที่ใช้ในการวิจัย กรอบแนวคิดในการวิจัยนี้จะลดรูปมา จากกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีในเชิงทฤษฎีจะรวมตัวแปรไว้ทุกตัว แต่ในการวิจัยผู้วิจัยอาจพิจารณาตาม ลักษณะของตัวแปรบางตัวหรือจํากัดขอบเขตไม่ศึกษาทั้งหมด (สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศ ไทย, 2538 : หน้า 22 – 23) มีปัญหาที่มักถกเถียงกันคือ การวิจัยจําเป็นหรือไม่ที่ต้องมีกรอบแนวคิด เพราะจะมุ่งเพียงพรรณนาคุณสมบัติของสิ่งที่ศึกษา มีแต่ระบุว่ามีตัวแปรอะไรบ้างที่จะนํามาศึกษา หากมองในภาพรวมจะสะท้อนให้เห็นถึงแนวความคิดของผู้วิจัย ที่จะใช้ศึกษาแต่กรอบแนวคิดกับการ วิจัยเชิงอธิบายมีความจําเป็นมา (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 2546 : หน้า 76 – 77) วิธีการเขียนเชิงอรรถและวิธีการอ้างอิงถ้าเป็นวิทยานิพนธ์ ให้เขียนตามคําแนะนําในคู่มือ หรือหนังสือแนะนําของแต่ละสถาบัน ซึ่งอาจมีระเบียบแตกต่างกันไปบ้าง จึงต้องศึกษาคู่มือให้อย่าง ละเอียดก่อน ลงมือเขียนจะได้ไม่ต้องแก้ไขมากภายหลัง หน้า 36

การวิจัยตลาด (Marketing Research)

4.6 เทคนิคการค้นคว้าที่สําคัญจากประสบการณ์ การค้นคว้าเอกสารและแหล่งภูมิปัญญาต่าง ๆ ซึ่งส่วนมากนั้นมีเทคนิคเพื่อจะได้ตรงประเด็น ที่ต้องการ ดังนี้ 1. ผู้วิจัยต้องได้คําหลักหรือคําสําคัญ (keywords) ในงานวิจัยนั้น ซึ่งดูได้จากชื่อเรื่อง อาจมี สองสามคําทั้งที่เป็นภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ 2. นําคําหลักเหล่านี้ไปค้นหาเอกสารจากแหล่งต่าง ๆ รวมทั้งการค้นจาก internet ย่อม กระทําได้สะดวก 3. เอกสารผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทําวิจัย คือ คําหลัก ความเป็นมา ความสําคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ ตัวแปรทุกประเภทที่ศึกษา คํานิยามต่างๆ สมมติฐาน ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และการวัดค่าตัวแปรที่ศึกษา รวมทั้งสถิติที่ใช้ จะทําให้ ผู้วิจัยเห็นภาพรวมได้ทั้งหมด สามารถจัดทําเค้าโครงการวิจัยได้ง่ายและรวมทั้งสะดวกในการเขียน รายงานการวิจัย 4. การสั ม ภาษณ์ ผู้ เชี่ ย วชาญหรื อภู มิ ปั ญ ญาในสาขาที่ ทํา วิ จัย ซึ่ ง อาจจํ า เป็ น ในบางสาขา เพื่อให้ได้สาระที่ตรงหรือเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทําวิจัย

4.7 รูปแบบการเขียนรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้อง การเขียนรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย มีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. เสนอหลักการแนวคิด ทฤษฎี แล้วจึงเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อาจเรียงลําดับตาม คําหลักของงานวิจัยและตัวแปรที่ศึกษาและอาจแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยลงไปไม่ควรนําเรื่อง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัยมาเขียนไว้ 2. แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของเรื่องที่จะวิจัยนั้น กับผลการศึกษาค้นคว้าของคนอื่นใน หัวข้อเดียวกัน 3. อธิบายปัญหาหรือสถานการณ์ที่ยังมีข้อสงสัย และมีความรู้ที่เป็นปัจจุบันในหัวข้อที่วิจัย 4. ไม่ควรใช้วิธีนําเอาผลวิจัยของแต่ละคนมาเรียงต่อ ๆ กัน ผู้วิจัยจะต้องมีเค้าโครงการเขียน ของตนเองโดยใช้หลักตามข้อ 1 5. กรณีที่มีผลการศึกษาขัดแย้งกัน ผู้วิจัยควรบรรยายทฤษฎีแต่ละทฤษฎีแล้วเสนอการอ้างอิง วิจัยที่สนับสนุนแต่ละทฤษฎี 6. ใช้การวิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัย การวิเคราะห์คือการแยกแยะจัดเข้าหมวดหมู่ ชี้ความสัมพันธ์และจุดเด่นหรือจุดที่สําคัญ ส่วนการสังเคราะห์เป็นการนําเอาตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไปมา ประกอบกันเป็นสิ่งใหม่เนื้อหาใหม่อาจสังเคราะห์เชิงคุณลักษณะ (qualitative) หรือสังเคราะห์เชิง ปริมาณ (quantitative) ดังเช่นเทคนิคของ Meta Analysis

การวิจัยตลาด (Marketing Research)

หน้า 37

4.8 บทสรุป การศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีความสําคัญและจําเป็นยิ่ง เพราะจะช่วย ให้พบความจริงได้ความกระจ่างในเรื่องที่จะทําการวิจัย ซึ่งเป็นการนิยามปัญหา ไม่ซ้ําซ้อนกับวิจัยที่ ผู้อื่นทําไว้แล้ว และช่วยให้เห็นแนวทางในการดําเนินการวิจัยตลอดทั้งการเขียนรายงานวิจัย โดยผู้วิจัย ต้องเลือกเอกสารที่ทันสมัย และตรงหรือเกี่ยวข้องกับงานวิจัย แหล่งสําคัญได้แก่ ห้องสมุดต่าง ๆ หรือ สถาบันเฉพาะทาง หรือสถาบันการศึกษา การค้นคว้าควรจดบันทึกให้เป็นระบบเพื่อจะนํามาใช้อ้างอิง ได้ เขียนบรรณานุกรมได้ การเขียเอกสารที่เกี่ยวข้อง ควรสังเคราะห์ข้อความให้ดีก่อนเขียน เรียบเรียง ให้ได้ความอย่างสมบูรณ์ ไม่ควรนํามาต่อ ๆ กัน โดยไม่มีความเชื่อมโยง และมีการอ้างอิงอาจใช้อ้างอิง แทรกในเนื้อหา ซึ่งอาจทําให้สะดวกในการจัดพิมพ์

หน้า 38

การวิจัยตลาด (Marketing Research)

คําถามท้ายบท 1. วัตถุประสงค์ในการค้นคว้าเอกสารมีอะไรบ้าง 2. จงบอกประโยชน์ที่ได้รับจากการค้นคว้าเอกสาร 3. หลักในการเลือกสรรเพื่อการค้นคว้ามีอะไรบ้าง 4. วิธีการค้นคว้ามีรูปแบบอย่างไรบ้าง 5. จงอธิบายวิธีการเขียนเอกสารที่เกี่ยวข้องมาพอสังเขป 6. จงอธิบายและยกตัวอย่างการเขียนอ้างอิงในเนื้อหา 7. ท่านควรมีหลักในการค้นคว้าให้ตรงกับประเด็นที่จะทําวิจัยอย่างไรบ้าง 8. การเขียนแบบเชิงอรรถต่างจากการเขียนอ้างอิง ในเนื้อหาที่สําคัญจากประสบการณ์ 9. การค้นคว้าเอกสารที่สําคัญจากประสบการณ์ มีเทคนิคอย่างไร 10. การเขียนรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยมีข้อเสนอแนะอะไรบ้าง