กรมหลวงช มพร จ งหว ดช มพร ม ท ไหนบ าง

กรมหลวงชุมพร หรือเสด็จเตี่ย มีประวัติอย่างไร และเพราะเหตุใดจึงเป็นที่เคารพศรัทธาในหมู่ทหารเรือไทย เรารวมคำตอบไว้ให้ที่นี่

ประวัติ กรมหลวงชุมพร

กรมหลวงชุมพร มีชื่อเต็มว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 มีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

กรมหลวงชุมพร ทรงเข้าเป็นนักเรียนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อมีพระชันษาได้ 13 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ พร้อมกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยศักดิ์เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ในปี พ.ศ. 2436 ทรงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายเรืออังกฤษ ในปี พ.ศ. 2439 ต่อจากนั้นทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยทหารเรือ โรงเรียนปืนใหญ่ และโรงเรียนตอร์ปิโด จนได้เลื่อนยศเป็นเรือเอก รวมเวลาที่ทรงศึกษาอยู่ในราชนาวีอังกฤษ 6 ปีเศษ

ต่อมา กรมหลวงชุมพร ได้เสด็จกลับประเทศไทย ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2443 จึงได้รับพระราชทานยศเป็น นายเรือโท (ปัจจุบันเทียบเท่า นาวาตรี) ทรงได้รับการเฉลิมพระอิสริยยศเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่ "กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์" ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการกรมทหารเรือ และทรงดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือในปี พ.ศ. 2449 พระองค์ได้ทรงแก้ไขปรับปรุงระเบียบการในโรงเรียนนายเรือ ทรงเป็นครูสอนนักเรียนนายเรือ ทรงจัดเพิ่มเติมวิชาสำคัญสำหรับชาวเรือ คือ วิชาดาราศาสตร์ ตรีโกณมิติ พีชคณิต อุทกศาสตร์ การเดินเรือเรขาคณิต เพื่อประสงค์ให้นักเรียนนายเรือสามารถเดินเรือทางไกลในทะเลน้ำลึกได้

เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว กรมหลวงชุมพร ทรงเป็นกำลังสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญและโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชวังเดิม ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 ทำให้กิจการทหารเรือมีรากฐานมั่นคง และกองทัพเรือจึงยึดถือวันดังกล่าวของทุกปีเป็น "วันกองทัพเรือ"

กรมหลวงช มพร จ งหว ดช มพร ม ท ไหนบ าง
ด้วยคุณูปการที่กรมหลวงชุมพร มอบให้กับทหารเรือไทย จึงทำให้เหล่าทหารเรือยกย่องให้ท่านเป็น "องค์บิดาแห่งกองทัพเรือ”

นอกจากคุณูปการอเนกอนันต์แก่กองทัพเรือแล้ว กรมหลวงชุมพร ยังมีพระปรีชาสามารถในด้านการแพทย์แผนโบราณของไทย โดยในปี พ.ศ. 2454 ทรงออกจากราชการเป็นเวลา 6 ปีเศษ เพื่อทรงศึกษาตำราหมอยาไทยอย่างจริงจัง จนมีความรู้แตกฉาน ทรงเป็นหมอยาไทย และเสด็จไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ให้กับประชาชนด้วยพระองค์เอง ไม่ว่าเป็นคนไทยหรือคนจีน จนกระทั่งชาวจีนย่านสำเพ็ง มีความซาบซึ้ง ในพระกรุณาธิคุณ และได้เรียกพระองค์ท่านว่า "เตี่ย" ซึ่งหมายถึงพ่อ ทำให้ในเวลาต่อมาทหารเรือได้เรียกพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" สำหรับในหมู่คนไข้ชาวไทย ที่พระองค์รักษานั้น มักจะเรียกขานนามพระองค์ว่า "หมอพร"

ในปี พ.ศ. 2460 ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เข้ารับราชการทหารเรืออีกครั้ง และในปี พ.ศ. 2462 ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าหลวงพิเศษให้ดำเนินการจัดซื้อเรือหลวงพระร่วงจากประเทศอังกฤษ และทรงเป็นผู้บังคับการเรือนำเรือหลวงพระร่วงเดินทางจากประเทศอังกฤษกลับมายังประเทศไทย นับเป็นครั้งแรกที่นายทหารเรือไทยเดินเรือได้ไกลข้ามทวีป ต่อมาในปี พ.ศ. 2465 พระองค์ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานที่ดินพื้นที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เพื่อใช้เป็นที่ตั้งฐานทัพเรือและหน่วยกำลังรบต่างๆ ของกองทัพเรือ ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งมาจนถึงปัจจุบัน

กรมหลวงชุมพร กับความศรัทธาของทหารเรือไทย

ด้วยคุณูปการที่กรมหลวงชุมพรมอบให้กับทหารเรือไทย จึงทำให้เหล่าทหารเรือยกย่องให้กรมหลวงชุมพรเป็น "องค์บิดาแห่งกองทัพเรือ" เนื่องจากพระองค์ทรงนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่กองทัพเรือและประเทศชาติ โดยทรงวางรากฐานการบริหารงานของกองทัพเรือ ระเบียบวิธีปฏิบัติต่างๆ ภายในกองทัพเรือ จนทำให้ทัพเรือไทยมีความทันสมัย มีมาตรฐาน และเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศมาจวบจนทุกวันนี้

กรมหลวงช มพร จ งหว ดช มพร ม ท ไหนบ าง
อนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพร ตั้งอยู่ที่หาดทรายรี จังหวัดชุมพร ให้ประชาชนทั่วไปที่ศรัทธามากราบไหว้

ขณะเดียวกัน ยังมีความเชื่อศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับ กรมหลวงชุมพร หรือเสด็จเตี่ย ในหมู่ทหารเรือไทยและคนทั่วไปว่า ถ้ามาขอพรจากท่านเเล้วจะได้รับความเมตตาทุกเรื่อง เพราะตอนที่ท่านมีชีวิตอยู่ท่านทรงช่วยเหลือประชาชนในทุกด้าน โดยเฉพาะในเรื่องสุขภาพท่านทรงรักษาประชาชนโดยไม่ต้องเสียเงินรักษา และท่านทรงปฏิบัติราชการในราชนาวีไทย การตั้งศาลองค์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ก็เชื่อกันว่าท่านจะปกปักรักษาลูกหลานเวลาออกเรือประมงให้ปลอดภัยจากอันตราย

เรียกพระองค์ว่า เสด็จในกรมฯ หรือยกย่อง เป็นเจ้านาย แต่ทรง เรียก พระองค์เองว่า "หมอพร" และประชาชนมักจะเรียกพระนามพระองค์ท่าน อีกพระนามว่า “เสด็จเตี่ย” และเมื่อมีประชาชน มาหาพระองค์ให้รักษา ก็ ทรงต้อนรับด้วยไมตรีจิตและรักษาให้เป็นการฟรี ไม่คิดค่ารักษา แต่ประการ ใด นอกจากจะเชิญไปรักษาตามบ้านซึ่งเจ ้าของไข้จะต้องหารถราให้พระองค์ เสด็จไปและน าเสด็จกลับ โดยมากเป็นรถม้าเท่านั้น ทรงศึกษาคาถาอาคมศร ัทธานับถือหลวงปู่ศุข หลวงปู่ศุข ว ัดมะขามเฒ่า กรมหลวงชุมพรฯ ทรงมีความเชื่อถือในพลังอ านาจศ ักด ิ์สิทธ ิ์ของ ไสยศาสตร ์และพุทธานุภาพ พระองค์ได้เริ่มเสาะแสวงหาอาจารย์ดีเพื่อ ศึกษาวิชาไสยศาสตร์จากผู้ทรง คุณต่าง ๆ ครั้นช ื่อเสียงก ิตติค ุณของหลวงปู ่ศ ุขม ีมากขึ้น ก ็ม ีความสนพระท ัย ความค ิดใคร่จะไปทดลองดูให้เป็นที่ประจักษ์แก่ตาว่าเป็นอย่างไร หากมี

โอกาสเมื่อใดก็จะไปพบหลวงปู่ศุขให้จงได้ในครั้งนั้น กรมหลวงชุมพรฯ เสด็จ ไปตากอากาศภาคเหนือและเสด็จกลับด ้วยเร ือทหารล ่องลงมาทางแม ่น้ า เจ ้าพระยา แต ่แทนที่จะล ่องกล ับถ ึงกร ุงเทพฯ พระองค ์ทรงรับสั่งให้เรือกล ไฟที่จูงเรือประเทียบล่องลงมาตามล าน้ าท่าจีน อันแม่น้ าท่าจีนนั้นแยกจาก แม ่น้ าเจ ้าพระยาที ่ช ัยนาท ไหลลงสู ่อ ่าวไทยที ่เม ืองสม ุทรสาคร ม ีความยาว ถ ึง 200 กม. และเส ้นทางสายแม ่น้ าท ่าจ ีนนี้ได ้ไหลผ ่านว ัดปากคลองมะขาม เฒ ่าด ้วย ว ัดปากคลองมะขามเฒ ่า เมื่อเร ือพระที่นั่งล่องมาถึงวัด ก็บังเอิญให้เรือมีอันขัดข้องโดยไม่ทราบ สาเหตุ แม้จะพยายามแก้ไขเครื่องยนต ์อย ่างไรก ็ไม ่สำเร ็จ (ภายหล ังหลาย คนเชื่อว ่าคงเป ็นการสำแดงอ ิทธ ิฤทธิ์ของหลวงป ู่ศ ุข) ในที่สุดก ็เลยต้อง ชะลอเร ือทั้งหมดเข้าไปจอดที่ศาลาวัดปากคลองมะขามเฒ ่า

กรมหลวงช ุมพรและหลวงปู่ศุข ขณะที่เรือประเทียบและเรือกลไฟเข้ามาเทียบอยู่ที่ศาลาท่าน้ า พระองค์ทรงแลเห็น เด็กลูกศิษย์วัดก าลังชุลมุนอยู่กับการตัดหัวปลีเอามา กองที่ข้างศาลาทีละหัวสองหัว จนเรือเข้าเทียบศาลาท่าน้ านั่นแหละจึงเห็น หัวปลีกองโตขึ้น ขณะเสด็จในกรมทรงยืนบนเรือมองดูการกระท าของเด็กวัด เหล่านั้นด้วยความฉงนพระทัย ได้มีพระภิกษุชรารูปหนึ่งเดินตรงเข้า มาที่ กองหัวปลี ท่าทางเคร่งขรึม ท่านมองรอบ ๆ กองหัวปลีอยู่ 2-3 อึดใจ แล้ว จึงหย่อนร่าง นั่งบนกองหัวปลีนั้น พระภิกษุรูปนั้นนั่งหลับตาภาวนาอยู่ครู่ หนึ่ง จากนั้นท่านก็หยิบหัวปลี ขึ้นมาเป่าลูบไล้ไปมา จากนั้นท่านเหวี่ยงหัว ปลีลงพื้น แล้วเสด็จในกรมตลอดจนทหารข้าราชบริพารต้องตกตะลึงเพราะ หัวปลีนั้นเมื่อตกถึงพื้นกลายเป็นกระต่ายสีขาวนวล กระโดด โลดเต้นอยู่ไป มา ภิกษุรูปเดิมหาได้หยุดเสกเป่าหัวหลี ท่านท าอย่างต่อเนื่อง หัวปลี กลายเป็นกระต่ายขาวหลายตัววิ่งอยู่บนศาลาและพื้นดินเต็มไปหมด

เมื่อเห็นเหตุอัศจรรย์เช่นนี้ กรมหลวงชุมพรฯ พร้อมด้วยนายทหารและข้า ราชบริพารทั้งปวงในที่นั้นก็เข้าไปแสดงอาการคารวะต่อพระภิกษุรูปนั้นโดย ทั่วหน้ากัน ครั้นกระต่ายวิ่งมาหาท่านทีละตัว ท่านก็เอามือลูบคล าไปมา สักครู่ แล้วปล่อยวางลงกับพื้น กระต่ายก็กลับเป็นหัวปลีอย่างเดิม และท าอยู่ อย่างนั้นทุกตัว จนกลายเป็นหัวปลีกองโตเหมือนเดิม หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า กรมหลวงชุมพรฯ ได้สอบถามพูดค ุยกับหลวงพ ่อองค ์นั้น (ขณะนั้น เสด ็จในกรมเร ียก หลวงพ่อ) จึงทราบว่าพระภิกษุที่อยู่เบื้องหน้าท่านก็คือ “หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า” ที่พระองค์ได้ยินชื่อเสียงมาช ้านาน นั่นเองและหลวงปู ่ศ ุขก ็รู ้ว ่าผู ้ที่อยู ่เบื้องหน ้าค ือพระราชโอรสแห ่ง พระพ ุทธเจ ้าหลวง “กรมหลวงช ุมพรฯ” นั่นเอง การพ ูดค ุยก ันว ันนั้นเป ็นที่

ถ ูก อัธยาศัยกันทั้ง 2 ฝ่าย เสด็จในกรมจึงอยากพักอาศัยอยู่ที่วัดปากคลอง มะขามเฒ่าสักหลาย วัน หลวงปู่ศุขก็มิได้ว่ากระไร ยกศาลาท่าน้ าให้เป็นที่ จอดเรือ ความสัมพันธ์ระหว่าง พระภิกษุชราและโอรสของเจ ้าเหนือห ัวได ้ เร ิ่มขึ้นแล้ว ผ้ายันต์รูปหลวงป ู่ศุขและกรมหลวงช ุมพร ตลอดชีวิตของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า นั้น มีลูกศิษย์มาก หลาย แต่ผู้ที่ นับเนื่องได้ว่าเป็น “ศิษย์เอก” มีเพียงท่านเดียวเท่านั้น คือ “กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์”ที่นับเป็น “ศิษย์เอก” มิใช่เพราะกรมหลวง ชุมพรฯ มีเชื้อเจ้าหรือเป็นโอรสของ รัชกาลที่ 5 แต่ที่นับเป็นศิษย์เอกก็ เพราะศิษย์คนนี้รักและเคารพอาจารย์อย่างยอมตายถวายช ีว ิตก ับอาจารย ์ จะสั่งอย ่างไรก ็ทำตาม ได้ร ับถ ่ายทอดว ิชาจากอาจารย ์ไว ้ได ้มากที่ส ุด และ ทำตามอาจารย ์ได ้ในการแสดงอ ิทธ ิฤทธิ์และอภ ิน ิหารม ีบ ันท ึกจากคนเฒ ่า

คนแก่ ยืนยันว่า “เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ” ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคม จากหลวงปู่ศุขไว้มากที่สุดเหนือกว ่าศ ิษย์คนใด และมีความผูกพันกันอย่าง ลึกซึ้งดุจบิดากับบุตร กาลต่อมาเมื่อกรมหลวงชุมพรฯ สิ้นพระชนม์ (19 พฤษภาคม พ.ศ.2466) เมื่อหลวงปู ่ศ ุขท ่านทราบถ ึงก ับนั่งนิ่งซ ึม ท ่านอยู ่ในอาก ัปก ิร ิยา เช ่นนั้นนานมากด ุจท ่านปลงอย ่างหนักกับกฎแห่งวัฏสงสาร หรือสังสารวัฏ ในโลกนี้ ในที่สุดปลายปี พ.ศ.2466 หลวงปู่ศ ุขได้มรณภาพลงด ้วยโรคชราอ ัน เป็นปีเดียวก ับท ี่กรมหลวงชุมพรฯ สิ้นพระชนม์

กีฬาที่ทรงโปรด มวยคาดเชือก กีฬาที่ทรงโปรดเป็นงานอดิเรก ก็คือการเล่นกีฬาแล่นเรือใบ ยามใดที่ พอจะมีเวลาว่าง จากราชการแล้ว พระองค์ทรงโปรด ที่จะใช้เวลากับการ แล่นเรือใบ โดยทรงถือท้ายเรือด้วย พระองค์เอง และยังทรงฝึกหัดให้ชายา และพระโอรสพระธิดา ได้หัดแล่นเรือใบในทะเล เพื่อให้มีความกล้าหาญ นอกจากความเพลิดเพลิน แล้วจะได้คุ้นเคย และถือทะเลเป็นเสมือนบ้าน ได้ อีกความรู้สึกหนึ่งด้วย นอกจากก ีฬาแล ่นเร ือใบแล ้ว ก ีฬาอ ีกประเภทที ่ทรงโปรดก ็ค ือ "มวย" และ "กระบี่ กระบอง" ทรงฝึกหัดทั้งมวย และกระบี่กระบองอย่าง เชี่ยวชาญ จนยากที่จะหาใครเทียบเคียง ได้และพระองค ์ย ังได้ ทรง สน ับสน ุนทหารเร ือที่ช่ าชอง ม ีความสามารถในการชกมวยไทยอ ีกด้วย ทรง ส่งนายยัง หาญทะเล เข้าชกชิงถ้วยชนะเลิศ ในการชกมวยไทย ซึ ่งสม ัยนั้น น ักมวยย ัง ใช้เชือกคาดมือชก พระองค์ทรงชุบเลี้ยงนายทหารเรือที่มี

ความสามารถในการชกมวย และ กระบี่กระบอง ไว ้มากมายหลายคน เนื่อง เพราะทรงเห ็นความสำค ัญของศ ิลปะการต ่อสู ้แบบไทยแท้และเป็นวิชา ส าคัญในการป้องกันตัวอีกด้วย พระอัจฉริยะด้านการดนตรี กรมหลวงช ุมพรฯ ทรงม ีอ ัจฉริยะทางด้านการดนตรี ทรงพระราชน ิพนธ์ เพลงไว้หลาย เพลงดังนี้ เพลงดอกประดู่ (เพลงสัญลักษณ์ของกองทัพเรือไทย) หะเบสสมอพลัน ออกสันดอนไป ลัดไปเกาะสีชัง จนกระทั่งกระโจมไฟ เที่ยวหาข้าศึก มิได้นึกจะกลับมาใน ถึงตายตายไป ตายให้แก่ชาติของเรา

พวกเราดูรู้ เจ็บแล้วต้องจ า ลับดาบไว้พลาง ช้างบนยอดกาฟฟ์จะน า สยามเป็นชาติของเรา ธงทุกเสาชักขึ้นทุกล า ถึงเรือจะจมในน้ า ธงไม่ต่ าลงมา เกิดมาเป็นไทย ใจร่วมกันแหละดี รักเหมือนพี่เหมือนน้อง ช่วยกันป้องปฐพี สยามเป็นชาติของเรา อย่าให้เขามาย่ ามายี ถึงตายตายดี ตายในหน้าที่ของเรา พวกเราทุกล า จ าเช่นดอกประดู่ วันไหนวันดี บานคลี่พร้อมอยู่ วันไหนร่วงโรย ดอกโปรยตกพรู ทหารเรือเราจงดู ตายเป็นหมู่เพื่อชาติไท เพลงเดินหน้า (เดิมแบ่งเป็น 2 เพลง ชื่อ "เกิดมาทั้งทีมันก็ดีอยู่แต่เมื่อ เป็น" และ "เกิดมา ทั้งทีมันก็มีอยู่แต่ทุกข์ภัย") สันนิษฐานว่าทรงพระนิพนธ์ ขึ้นในช่วงที่ทรงออกจากราชการใน สมัยต้นรัชกาลที่ 6 เพลงดาบของชาติ ทรงพระนิพนธ์ไว้เป็นโคลงส ี่สุภาพ เพลงสรรเสริญ พระบารมี ส านวนขับร้องของทหารเรือ

พระปรีชาสามารถด้านศิลปะ ภาพเขียนฝีพระหัตถ์กรมหลวงชุมพรฯ ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า การศิลปะหรือเชิงวิจิตรศิลป์ ก็ยังเป็นอีกงานอดิเรกหนึ่ง ซึ่งกรมหลวง ชุมพรฯ ทรงมี พระปรีชาสามารถเป็นพิเศษ พระองค์ทรงเขียนภาพพุทธ ประวัติ พระพุทธองค์กับปัญจวัคคีย์ไว้ท ี่ผนังโบสถ ์วัดปากคลองมะขามเฒ ่า อ าเภอว ัดส ิงห์ จ ังหว ัดช ัยนาท ซึ่งก ็ย ังคงปรากฏอยู ่มาตราบจนทุกวันนี้ ภาพฝีพระหัตถ์อันงามวิจิตรที่ผนังโบสถ์นั้น ก็บ่งบอกได้เป็นอย่างดี ถึง พระปรีชาสามารถ ในเชิงศิลปะและยังแสดงถึงพระทัย ที่ละเอียดอื่นลึกซึ้ง อีกด้วย

กรมหลวงชุมพรฯสิ้นพระชนม์ พระต าหนัก พลเรือเอกพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรฯ สถานที่สวรรคตของ กรมหลวงช ุมพรฯ สิ้นพระชนม ์ที่บ ้านหาดทรายรี จ ังหว ัดชุมพร เสด็จในกรมฯ ทรงมีสุขภาพไม่สมบูรณ์และประชวร พระโรค ภายใน และเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2466 ทางกระทรวงทหารเรือ ได้สั่งให้ กระบวนเรือที่ 2 จัด ร.ล.เจนทะเล ถวายเป็นพาหนะ และกรมแพทย์ ทหารเรือ ได้จัดนายแพทย์ประจำพระองค ์ 1 นาย พร ้อมด ้วย พยาบาลตาม เสด็จไปด้วย เสด็จในกรมฯได้เสด็จออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2466 เสด็จในกรมฯได้เสด็จไปประทับ อยู่ที่ด้านใต้ปากน้ า เมืองชุมพร ซึ่งเป็นที่เสด็จในกรมฯ ทรงจองไว ้จะทำสวน ขณะที่เสด ็จใน กรมฯ ประท ับอยู ่ที ่จ ังหว ัดช ุมพรนี้ก ็เก ิดเป ็นพระโรคหวัดใหญ่ เนื่องจาก ถูกฝน ทรงประชวรอยู่เพียง 3 วัน ก็สิ้นพระชนม์ที่ ต าบลทรายรี ใน วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 สิริพระชนมายุได้ 44 พรรษา

กรมหลวงชุมพรและเจ้าจอมมารดาโหมดพระมารดา วันสิ้นพระชนม์ของกรมหลวงชุมพรเป็นบทความหนึ่งที่เขียนไว้ใน หนังสือ “คิดถึงพ่อ” ซึ่งเป็นหนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพของ นาวาเอก สมารมภ์ บุนนาค ได้บรรยาย โดยอ้างอิงท่านหญิงน้อย หรือ หม่อมเจ้าหญิงสุริยนันทนา สุริยง ว่า ได้ทรงเล่าถึงเหตุการณ์ เกี่ยวก ับการ สิ้นพระชนม์ของกรมหลวงชุมพรซึ่งท่านเป็นองค์หนึ่งที่เคยประท ับอยู ่ที่หาด ทรายรี ตอนที ่กรมหลวงช ุมพรสิ้นพระชนม์ โดยสร ุปใจความได ้ว ่า ช ่วงนั้น พระมารดาของกรมหลวงชุมพร (เจ ้าจอมมารดาโหมด) ได ้เสด ็จมาเยี่ยม พระองค ์โดยเร ือเจนทะเล ซึ่งได ้จอดเร ือที ่ช ุมพร ประมาณ 1 อาทิตย์ ท่าน กะว่าจะออกเรือไปสงขลาแล้วจะกลับมาชุมพรอีกที และมีเหตุการณ์ ที่คาด ว่าน่าจะท าให้สิ้นพระชนม์ เขียนไว้ดังนี้

กรมหลวงชุมพรฯ “…ก่อนที่จะออกเรือไปสงขลาเพียงวันเดียว ตกกลางคืนชาวบ้านเอา หนังตะลุงมาเล่นถวายเสด็จในกรมฯ อากาศตอนนั้นก็เยือกเย็น เสด็จลง ประทับบนเก้าอี้ มีผ้าคลุมพระชงฆ์ทั้งๆ ที่ท ่านไม่ค่อยทรงสบายประชวรหว ัด อยู ่บ ้างแล ้ว ตอนนั้นทรงฉลองพระองค ์เสื้อก ุยเฮง กางเกง แพรป ังลิ้ม ม ักจะ ประท ับบนเก ้าอี้ ค ุยเล ่นก ับเด ็กๆ ทำของเล ่นก ับเด ็กๆ ไม ่เห ็นท ่านดำเน ินไป ไหนมาไหนเลย ในค ืนว ันนั้นด ้วยความที่ท ่านเกรงใจในความหว ังด ีของ ชาวบ ้าน จ ึงต ้องแข ็งพระท ัยทอดพระเนตรอยู ่ทั้งๆ ที ่ต ้องตากน้ าค ้างด ้วย ตกด ึกม ีอาการมากขึ้น ต ้องให ้คนขี่ม ้าไปซื้อยาในตลาด กว่าจะไปถึง กว่าจะ กลับมาอาการก็ทรุดหนัก ต ่อมาม ีหมอจากกร ุงเทพมาตรวจ บอกว่าท่านเป็น

ปอดบวม หาซื้อยาที่ต้องการก็ไม่ได้ ตามที่ท่านเสด็จไปหาดทรายรีคราวนั้นก็ ไม่ได้เตรียมการอะไรมากมายเลย เพราะกะไว้ว่าจะต้องกลับไปอีกครั้ง ตอน ดึกได้ยินเสียงคุณย่าร้องไห้จึงทราบว่าเสด็จลุงกรมหลวงชุมพรสิ้นพระชนม์ เสียแล้ว พระต าหนักกรมหลวงชุมพร ที่ต าบลหาดทรายรี จังหวัดชุมพร มหัศจรรย์ในคืนวันกรมหลวงชุมพรฯ สิ้นพระชนม์ ในคืนวันที่พระองค์ท่านสิ้นพระชนม์ ชาวบ้านต าบลหาดทรายรี ได้ เห็นลูกไฟเท่ากระด้ง ขนาดเล็ก ลอยขึ้นจากที่ประทับของพระองค์ ไป วนเวียนอยู่เหนือเรือรบเจนทะเลราชพาหนะ ซึ่งพระองค์ใช้เสด็จมาจาก พระนคร แล้วแตกกระจายหายไปในท้องทะเล เป็นเครื่องแสดงให้ เห็นว่า ดวงพระวิญญาณของพระองค์ท่านได้จากโลกนี้ไปแล้ว แต่ชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวจังหวัดชุมพร ยังเช ื่อมั่นอยู่ว ่า ดวงพระวิญญาณ ของพระองค์ยังคงคุ้มภัยชาต ิไทยและคนไทยตลอดไป

งานพระศพกรมหลวงชุมพรฯ ณ ท้องสนามหลวง พระศพกรมหลวงชุมพร ณ วังนางเลิ้ง

เรือหลวงเจนทะเล วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ร.ล.เจนทะเล ได้เชิญพระศพ จาก จังหวัดชุมพรมายัง กร ุงเทพฯ และมาพ ักถ ่ายพระศพสู่ ร.ล. พระร ่วง ที ่บาง นา ต ่อจากนั ้น ร.ล.พระร ่วงได ้นำพระ ศพ เข ้ามาย ังกร ุงเทพฯ นำพระศพ ประด ิษฐาน ไว ้ที ่ว ังของพระองค ์ท ่าน พระบาทสมเด ็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงบ าเพ็ญพระราชกุศล พระราชทาน จนถึงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2466 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศพ ไป พระราชทานเพลิง ณ พระเมรุท้อง สนามหลวงแม้ว่าดวงพระวิญญาณ ของ พระองค์จะทรงสถิตย์อยู่ ณ แดนสุขาวดี บนสรวงสวรรค ์แล้ว พระบารมีของ พระองค ์ ยังคงแผ่ไพศาลไปทั่วทุกสารทิศ คอยปกป้องค ุ้มครองพสกนิกรผู้ จงรักภ ักด ีที่เคารพเทิดท ูนพระองค์ โดยเฉพาะทหารเร ือท ุกคนซึ ่งเปร ียบ ประด ุจล ูกหลาน ของพระองค์ และดลบันดาล ให้ประสบความส าเร็จในสิ่ง อันพึงปรารถนาอยู่เป็นนิจ

พระราชบันทึกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวการสิ้นพระชนม์ กรมหลวงชุมพรเฃตอุดมศักดิ์ รัชกาลที่ 6 และกรมหลวงชุมพรฯ มีความสลดใจเปนอันมากที่จ าเปนต้องจดลงในรายวันนี้ว่า พระเจ้าพี่ ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเฃตอุดมศักดิ์ได้สิ้นพระชนม์เสียที่ต าบลหาดรี, ปากน้ าชุมพร, เมื่อเวลา 11 นาฬิกาก่อนเที่ยงวันนี้. ฃ่าวนี้ได้รับในเวลาดึก. เมื่อเดือนเมษายน กรมชุมพรได้ขอลาพักรักษาพระองค์ 1 เดือน โดย ค าแนะน าของหม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์นายแพทย์ใหญ่กระทรวงทหารเรือ, ผู้ที่ได้กล่าวในใบตรวจพระอาการว่า กรมชุมพรประชวรเปนพระโรค เส้นประสาทไม่ปรกติ. ตั้งแต่เมื่อท าบุญอายุเจ้าจอมมารดาโหมดได้ สังเกตเห็นกรมชุมพรเดินง่องแง่งไม่ใคร่ถนัดอย่างไรอยู่. เมื่อได้รับอนุญาต

แล้วก็ได้ขอยืมเรือพวก ‘ทเล’ ล า 1 ลงเดินทางออกไปว่าจะไปประพาศทาง มณฑลสุราษฎร์. แรกที่จะได้ฃ่าวว่าประชวรครั้งสุดท้ายนี้ คือเจ้าพระยาราม ราฆพได้น าโทรเลขของเจ้าจอมมารดาโหมดมีมาถึงเธอนั้นมาให้เราดู, มี ความว่ากรมหลวงชุมพรประชวรเป็นไข้พิษ พระอาการหนัก. ครั้นเวลาค่ า ได้รับโทรเลขพระองค์เจ้าธานี บอกฃ่าวมาว่า กระทรวงทหารเรือได้จัดส่ง หม่อมเจ้าถาวรออกไปทางรถไฟยังชุมพร, และส่งเรือ ‘พระร่วง’ ออกไป โดยค าขอร้องของเจ้าจอมมารดาโหมด, เพื่อจะได้รับกรมชุมพรกลับเฃ้าไป กรุงเทพ. ครั้นเวลาดึกจึ่งได้ฃ่าวว่ากรมชุมพรได้สิ้นพระชนม์เสียแล้วที่หาดรี เมื่อ 11 นาฬิกาเช้า. ต าบลหาดรีนี้, ได้ทราบจากพระยาเวียงใน (ซึ่งเคยเป็น ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร) ว่า เปนที่มีไข้ป่าชุกชุม, และในฤดูเดือน 6 เดือน 7 ไม่มีใครอยู่ได้โดยปลอดไข้. กรมชุมพรประสูติวันที่ 19 ธันวาคม, (ปีมะโรง) พ.ศ. 2423, ฉะนั้นมี พระชนม์ได้ 42 ปี กับ 5 เดือน; และเพราะได้เปนเพื่อนกันมาแต่เด็กเราจึ่ง รู้สึกเสียดายและใจหายมาก”ความในพระราชบันทึกที่อัญเชิญมาข้างต้น ย่อมเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้ ทรงขัดแย้งกับพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์เลยแม้แต่น้อย ทั้งยังทรงแสดงให้เห็นถึงความผูกพันกันมาแต่ทรงพระเยาว์ตราบจนพระเจ้า พี่ยาเธอพระองค์นั้นสิ้นพระชนม์ไปเมื่อวันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 แล้ว ก็ยังได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทหารเรือไว้ทุกข์ด้วยการลด ธงครึ่งเสามีก าหนด 3 วัน นับแต่วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ซึ่งเป็น วันที่เรือเชิญพระศพกลับถึงกรุงเทพฯ

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน นอกจากนั้นยังเล่ากันต่อมาว่า เมื่อเวลาที่ นายพลเรือเอก พระเจ้าพี่ยา เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์สิ้นพระชนม์นั้น พระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก าลังทรงพระอักษรอยู่ที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน แล้วก็ทรงเหลียวมามีพระราชด ารัสอะไรสั้นๆ ซึ่งมหาดเล็กเวรที่เฝ้าฯ อยู่ ณ ที่นั้นก็ไม่ทราบว่ามีพระราชประสงค์อะไร ถึงวันรุ่งขึ้นเมื่อพระทายาทของ พระเจ้าพี่ยาเธอพระองค์นั้นน าดอกไม้ธูปเทียนไปกราบถวายบังคมลา สิ้นพระชนม์แทนพระบิดา ก็มีรับสั่งว่า “รู้แล้ว”

อนุสรณ์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่ปรากฏอยู่อย่างมากมาย ทั่ว ประเทศ มีทั้งพระอนุสาวรีย์ พระรูป ศาลกรมหลวงชุมพร พระฉายาลักษณ์ พระสาทิศลักษณ์ เหรียญที่ระลึก ตลอดจนพระนามที่ปรากฏ เป็นชื่อของ สถานที่ ต่างๆ เป็นประจักษ์พยานได้ เป็นอย่างดี พระองค์ทรงเป็นปูชนีย บุคคลของทหารเรือ ชั่วนิรันดร ดั่งเพลงปลุกใจอันไพเราะ และม ีความหมาย ล ึกซึ้ง ที่ทรงน ิพนธ์ ให ้ทหารเร ือท ุกคนได้ขับร้องสืบต่อกันมาจนกระทั่งทุก วันนี้และกองทัพเรือไทยถือเอาวันที่ 19 พฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวัน คล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เป็น "วันอาภากร" เพื่อเป็นการน้อมระลึก ถึงพระ มหากรุณาธิคุณของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ที่มีต่อกองทัพเรือ และประเทศชาติเป็นอเนกอนันต์ ...................................................

เอกสารอ้างอิง กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตใน พระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี,ฃพ.ศ. 2551. เจนจบ ยิ่งสุมล. (ตุลาคม 2553). 130 ปี ไม ่ม ีวันตาย พลเรือเอกพระบรมวงศ์ เธอ กรมหลวงช ุมพรเขตอุดมศ ักด ิ์. ส˚านักพิมพ์ DK พับลิชิ่ง. พิมล สุวรรณสุภา.เรื่องเล่าจากชมรมหนุ่มอาวุโส.ต่วย,ตูน ปี่ที่ 40 เล่มที่ 2.2554. ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือเอก ประพัฒน์ จันทวิรัช เรื่องย่อย พระนาม ของเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ, พ.ศ. 2546 วนิสา เสนีวงศ์ฯ. พิมพ์ครั้งที่ 2 (2545). กรมหลวงชุมพรฯ พระบิดา ทหารเรือไทย. สมบัติ สวางควัฒน์. (2554). ย้อนต˚านานแวดวงมวยไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน ส านักพิมพ์ ก้าวแรก. https://th.wikipedia.org/ https://www.thairath.co.th http://www2.nmd.go.th http://irrigation.rid.go.th https://www.ejan.co › General News https://www.facebook.com https://www.tnews.co.th/variety https://www.bangkokbiznews.com

www.paiduaykan.com www.youtube.com/watch www.amuletcenter.com www.seal2thai.org www.sattahipbeach.com/sheet4 www.silpa-mag.com www.navy.mi.thDorgprado.htm guru.sanook.com ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและภาพจากเว็บไซต์ต่างๆ .............................................................................

ขอพรกรมหลวงชุมพร ที่ไหน

ศาลกรมหลวงชุมพร หรือชื่อเต็มๆ คือ ศาลกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ตั้งอยู่ในบริเวณหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร เป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานของ พลเรือเอก พระบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตร อุดมศักดิ์ผู้ทรงสถาปนากองทัพเรือสมัยใหม่ให้กับประเทศไทย เป็นเสด็จเตี่ยของชาวเรือทั้งหมดนั่นเองค่ะ รวมถึงมีรูปเรือจำลองจักรีนฤเบศร ...

กรมหลวงชุมพรขอพรอะไรได้บ้าง

"องค์บิดาแห่งทหารเรือไทย" คนนิยมไหว้สักการะขอพรตั้งแต่เรื่อง การค้า การงาน การเงิน โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและเรื่องการเรียน วิธีการปฏิบัติบูชา

ร.5กับกรมหลวงชุมพรเป็นอะไรกัน

กรมหลวงชุมพร มีชื่อเต็มว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 มีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ไหว้กรมหลวงชุมพรมีที่ไหนบ้าง

1.ค่ายจุฬาภรณ์ กรมทหารราบที่ ๓ กองพลนาวิกโยธิน ต.บ้านทอน อ.เมือง จ.นราธิวาส 2.ปากน้ำตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี 3.เกาะเนรมิต ต.กันตัง อ.กันตัง จ.ตรัง