ก น ยา ค ม ประจำเด อน มาก อนกำหนด

รอบประจำเดือน ที่ถือว่าปกติอยู่ คือเคลื่อนเข้าหรือออกไม่เกิน 7วัน หรืออยู่ในช่วง 21-35วัน ในแต่ละช่วงอายุ ลักษณะประจำเดือนอาจแตกต่างกันได้ เพราะฉะนั้น ถ้าเมื่อ 3 ปีก่อน ประจำเดือนมาทุก 25 วัน แต่ตอนนี้มาช้าลง เป็นทุก 35วัน ถ้ายังมาสม่ำเสมอ ไม่มีเลือดออกระหว่างรอบเดือน “ถือว่าปกติ”อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอย่างแรกเมื่อประจำเดือนไม่มาตามปกติ ก็คือ “เรามีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์รึเปล่า” ในวัยที่มีประจำเดือน หากมีเพศสัมพันธ์ก็อาจตั้งครรภ์ได้ (ต้องอย่าลืมว่าการคุมกำเนิด ไม่ว่าวิธีใดก็ไม่ได้คุมได้ 100%) ดังนั้นจึงควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อน หากไม่ตั้งครรภ์ ถึงจะไปพิจารณาสาเหตุอื่น ๆ

  • สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของประจำเดือนไม่มาก็คือภาวะฮอร์โมนที่ไม่ปกติ เป็นได้ตั้งแต่สาเหตุง่ายๆ เช่น มีภาวะเครียด ออกกำลังกายหักโหม น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว พักผ่อนไม่เพียงพอ มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือการได้รับฮอร์โมนมาก่อนหน้านี้ เช่น การใช้ยาคุมฉุกเฉิน หรือการกินยาคุมต่อเนื่องนานๆประจำเดือนอาจมาน้อยลงได้ การฉีดยาคุม ก็จะทำให้ไม่มีประจำเดือนได้
  • ภาวะหนึ่งที่พบได้บ่อยก็คือ ภาวะการไม่ตกไข่เรื้อรัง (Anovulation) ซึ่งพบได้ใน PCOS หรือ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ มักจะมาด้วยอาการประจำเดือนไม่มา สิวขึ้น หน้ามัน ขนดก

ดังนั้น หากประจำเดือนมาไม่ตรงรอบหรือมีอาการสงสัยอื่น ๆ เช่น ประจำเดือนมากระปริบกระปรอย ปวดท้องประจำเดือนมากผิดปกติ แนะนำมาพบแพทย์สูตินรีแพทย์ เพื่อตรวจวินิฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัดจะดีที่สุดค่ะ

ประจำเดือนผิดปกติ น่าจะเป็นปัญหาระดับท็อปของผู้หญิง ไม่ว่าจะประจำเดือนมามาก ประจำเดือนขาด ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หลายๆ คนก็เลือกรักษาด้วยการกินยาปรับฮอร์โมนเพื่อให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ซึ่งจริงๆ แล้ว สาเหตุของประจำเดือนมาไม่ปกติอาจเกิดได้จากหลายอย่าง และบางครั้ง... แค่ปรับพฤติกรรมก็ลดปัญหาเหล่านี้ได้แล้ว

ประจำเดือนแบบไหน..ที่เรียกว่า “ประจำเดือนไม่ปกติ”

  • * ประจำเดือนมามาก

ประจำเดือนมามากที่เข้าข่ายว่า “ผิดปกติ” คือประจำเดือนที่มามากจนในระหว่างวันต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยครั้ง หรือเกือบแทบทุกชั่วโมง ประจำเดือนที่มาติดต่อกันนานมากกว่า 7 วัน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมามากนั้น อาจเกิดจากการติดเชื้อ มีก้อนเนื้องอก อุ้งเชิงกรานอักเสบ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่สมดุล

  • * ประจำเดือนมาน้อย

โดยปกติ ระยะเวลาในการมีประจำเดือนแต่ละครั้งจะอยู่ที่ประมาณ 3-5 วัน แต่เมื่อไหร่ที่ประจำเดือนมาน้อยกว่า 2 วัน การไหลของเลือดประจำเดือนเป็นหยดเพียงเล็กน้อย และมีลักษณะประจำเดือนแบบนี้บ่อยๆ ก็สันนิษฐานได้ว่า “ประจำเดือนมาน้อยผิดปกติ” ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การคุมกำเนิดที่มีผลต่อการตกไข่ ภาวะถุงน้ำ PCOS เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคไทรอยด์ น้ำหนักตัวน้อยเกินไป หรือการมีภาวะเครียดสะสม

  • * ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ

ช่วงระยะห่างของการมีประจำเดือนในแต่ละครั้ง มักอยู่ที่ 21-35 วัน แต่เมื่อไหร่ที่ระยะห่างรอบเดือนน้อยกว่า 21 วัน หรือประจำเดือนขาด คือ 2-3 เดือนมาสักครั้ง มาแบบกะปริดกะปรอย อาจเกิดจากความผิดปกติของมดลูก โรคเกี่ยวกับถุงน้ำรังไข่ ระดับฮอร์โมนขาดความสมดุล ซึ่งมักพบในคนที่มีภาวะเครียดหรืออ้วนมากๆ

ประจำเดือนมาไม่ปกติ ต้องกินยาปรับฮอร์โมนไหมนะ

ด้วยสาเหตุของประจำเดือนมาไม่ปกตินั้นมีได้หลายอย่าง โดยแบ่งออกเป็นสาเหตุใหญ่ๆ คือ จากฮอร์โมนผิดปกติ กับมีรอยโรคแอบแฝง เพราะฉะนั้น... ถ้าสังเกตเห็นว่าประจำเดือนมีสัญญาณเตือนที่ไม่ปกติเหล่านี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับตรวจวินิจฉัย เพราะหากตรวจพบรอยโรคจะได้เริ่มขั้นตอนการรักษาก่อนลุกลาม หรือหากตรวจพบว่าเกิดจากระดับฮอร์โมนไม่สมดุล ในบางรายแพทย์อาจรักษาโดยการใช้ยาปรับฮอร์โมน แต่ในบางราย... เพียงแค่ปรับพฤติกรรมก็สามารถแก้ไขปัญหาประจำเดือนไม่ปกติได้แล้ว

อย่างไรก็ตาม ภาวะกินยาคุมแล้วประจำเดือนไม่มายังอาจมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน รวมถึงยาคุมกำเนิดที่กิน หรือวิธีคุมกำเนิดที่ใช้ แถมการที่ประจำเดือนไม่มา ก็อาจเป็นเพราะไลฟ์สไตล์ของเราเองด้วย ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

ยาเลื่อนประจำเดือน เป็นทางออกของสาว ๆ ที่ไม่อยากให้การมีประจำเดือนมาเป็นเรื่องกวนใจเพราะหลายครั้งที่ขอเลื่อนแผนเที่ยว ขยับแล้วขยับอีกก็ไม่ลงตัว การหันไป “เลื่อนประจำเดือน” จึงเป็นทางออกที่ดีกว่า

วิธีใช้ยาเลื่อนประจำเดือน

ด้วยธรรมชาติของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนประจำเดือนจะมา ดังนั้นวิธีดีที่สุดต้องเริ่มกินยาก่อนวันที่คาดว่ามีประจำเดือนประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนให้ทัน หากกินยาเพื่อเลื่อนในวันที่มีประจำเดือนแล้ว หรือก่อนมีประจำเดือนเพียง 2-3 วัน อาจจะไม่ได้ผล เนื่องจากธรรมชาติรู้ว่าไม่มีการฝังตัวอ่อน ร่างกายจึงเริ่มกระบวนการสร้างประจำเดือนไปตามปกติ โดยการกินยาต้องกินทุกวันจนกว่าต้องการให้มีประจำเดือนอีกครั้งจึงหยุดกินยา

ยาเลื่อนประจำเดือนทำงานอย่างไร?

ผู้หญิงทุกๆ คนที่ถึงวัยเจริญพันธุ์จะมีเลือดออกจากช่องคลอดหรือประจำเดือน ในทุกๆ 28-30 วัน โดยหลังจากมีประจำเดือนแล้วกระบวนการในร่างกายจะทำการคัดไข่เตรียมไว้จนไปถึงกลางรอบเดือน สำหรับผู้ที่มีรอบเดือนสม่ำเสมอ 28-30 วัน ประมาณวันที่ 14-15 นับจากการมีประจำเดือนวันแรก จะเป็นวันตกไข่ ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) ขึ้นมา ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้นเพื่อรองรับตัวอ่อน ประมาณ 2 สัปดาห์ หากไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น สมองจะสั่งให้หยุดสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาก็จะหลุดออกมาเป็นประจำเดือน

ยาเลื่อนประจำเดือน คืออะไร

ยาเลื่อนประจำเดือน หรือ ยาเลื่อนเมนส์ เป็นฮอร์โมนกลุ่มโปรเจสเตอโรน จึงช่วยทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาตัวนั้นไม่หลุดออกมา สำหรับผู้ที่ต้องการเลื่อนประจำเดือน ต้องรู้วันที่มีประจำเดือนของตนเองที่แน่นอน เช่น ประจำเดือนมาทุกๆ วันที่ 29 และมาเป็นประจำ 2-3 วัน แสดงว่าไข่ตกประมาณวันที่ 14-15 ดังนั้นหากอยากเลื่อนประจำเดือนออกไปก็ต้องทำให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนยังคงอยู่ โดยการบังคับธรรมชาติให้สร้างฮอร์โมนมาในช่วงกลางรอบเดือน ซึ่งทำได้ด้วยการกินฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเข้าไป ตามจำนวนวันที่ต้องการเลื่อน จากนั้นจึงค่อยหยุดกินยา ซึ่งทันทีที่หยุดยา เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะหลุดออกมาเป็นประจำเดือน

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการใช้ ยาเลื่อนประจำเดือน

  • สำหรับผู้ที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือไม่สามารถคาดเดาวันที่จะมีประจำเดือน การรับประทายาเลื่อนประจำเดือนมักไม่ได้ผล เนื่องจากไม่ทราบวันตกไข่ที่แน่ชัด
  • ข้อควรระวังในการกินยาเลื่อนประจำเดือน เนื่องจากยาเลื่อนประจำเดือนเป็นกลุ่มฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน แม้ว่าที่ผ่านมายังไม่พบว่ามีผลต่อการเกิดมะเร็งหรือเนื้องอกในมดลูกแต่อย่างใด ทำให้สามารถกินยาเลื่อนประจำเดือนได้หลายวันและหลายๆ ครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม หากใช้ยานานเกินไประบบร่างกายอาจเกิดความสับสน ส่งผลให้อาจต้องใช้เวลานานเพื่อปรับตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยาเกิน 1 สัปดาห์และควรใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
  • ในผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติ และยังไม่ทราบว่าเลือดนั้นเป็นประจำเดือนหรือไม่ หรือมีสาเหตุจากอะไร ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาก้อนเนื้อหรือมะเร็งและสาเหตุที่แน่ชัด เนื่องจากการกินยาเลื่อนประจำเดือนอาจบดบังอาการของโรคได้
  • กรณีที่ไม่ทราบว่าตั้งครรภ์ การกินยาเพื่อเลื่อนประจำเดือนยังถือว่าปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ เนื่องจากขณะท้องร่างกายจะสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อรองรับตัวอ่อน พอมีการฝังตัวฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นยาเลื่อนเมนส์จึงไม่มีผลต่อการตั้งครรภ์
  • ผู้ที่กินยาคุมเป็นประจำสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องกินยาเพื่อเลื่อนประจำเดือน แต่สามารถเลื่อนประจำเดือนได้โดยกินยาคุมกำเนิดที่กินเป็นประจำต่อไป หากหมดแผงก็สามารถเริ่มกินแผงใหม่ได้ต่อเนื่อง ไปจนกว่าต้องการให้มีประจำเดือนจึงหยุดกินยาคุมนั้น ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้ได้กับยาเม็ดคุมกำเนิดมาตรฐานที่มี 21 เม็ด แต่หากเป็นแบบ 28 เม็ด จะมีตัวฮอร์โมนเพียง 21 เม็ด และเป็นเม็ดแป้ง 7 เม็ด วิธีกินคือทิ้งเม็ดแป้งและนำยาแผงใหม่มากินต่อจาก 21 เม็ด ทั้งนี้ผู้ที่กินยาคุมกำเนิดอยู่แล้วไม่ควรกินยาเลื่อนประจำเดือน ในทางกลับกันยาเลื่อนประจำเดือนนั้นไม่ใช้ทดแทนยาคุมกำเนิด เนื่องจากไม่มีฤทธิ์ในการป้องกันการตั้งครรภ์เช่นกัน

แม้ยาเลื่อนประจำเดือนจะไม่มีผลร้ายต่อร่างกาย แต่การใช้ยานาน ๆ หรือบ่อยมากเกินไป อาจทำให้ระบบการมีประจำเดือนเกิดความสับสน และต้องใช้เวลาเพื่อปรับสภาพร่างกายสู่ภาวะปกติ ดังนั้นจึงควรใช้ยาเพื่อเลื่อนประจำเดือนเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

หากมีอาการผิดปกติ หรือไม่แน่ใจเกี่ยวกับการมีประจำเดือนให้ปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อหาสาเหตุ รับคำแนะนำและการรักษาอย่างถูกต้อง