การเล นคำซ ำในเร องร ายยาวมหาเวสส นดรชาดก ก ณฑ ม ทร

ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ผู้ทรงพรหมจารี เม่ือสมเด็จพระมัทรีทรงกาสรดแสนกัมปนาท เพียง พระสันดานจะขาดจะดับสูญ ปริเทวิตฺวา นางเสวยพระอาดูรพูนเทวษในพระอุรา น้าพระ อัสสุชลนาเธอไหลนองคลองพระเนตร ทรงพระกันแสงแสนเทวษพิไรร่า ต้ังแต่ประถมยามค่าไม่ หย่อนหยุดแต่สักโมงยาม นางเสด็จไต่เต้าติดตามทุกตาบล ละเมาะไม้ไพรสณฑ์ศิขริน ทุกห้วยธาร ละหานหินเหวหุบห้องคูหาวาส ทรงพระพิไรร้องก้องประกาศเกริ่นสาเนียง พระสุรเสียงเธอ เยือกเย็นระย่อทุกอกสัตว์ พระพายราเพยพัดทุกก่ิงก้าน บุษบงก็เบิกบานผกากร รัศมีพระจันทร ก็มัวหมองเหมือนหนึ่งจะเศร้าโศกแสนวิปโยคเมื่อยามปัจจุสมัย ทั้งรัศมีพระสุริโยทัยส่องอยู่รางๆ ขึ้นเรืองฟ้า เสียงชะนีเหนี่ยวไม้ไห้หาละห้อยโหย พระกาลังนางก็อิดโรยพิไรร่าร้อง พระสุรเสียง เธอกู่ก้องกังวานดง เทพเจ้าทุกพระองค์กอดพระหัตถ์เง่ียพระโสตสดับสาร พระเยาวมาลย์เธอ เที่ยวหาพระลูก พระนางเธอเสวยทุกข์แสนเข็ญ ตั้งแต่ยามเย็นจนรุ่งเช้าก็สุดส้ินท่ีจะเท่ียวค้น ทุกตาแหน่งแห่งละสามหนเธอเที่ยวหา ปณฺณรสโยชนมคฺคํ ถ้าจะคล่ีคลายขยายมรคาก็ได้ สิบห้าโยชน์โดยนิยม นางจ่ึงเซซังเข้าไปสู่พระอาศรมบังคมบาทพระภัสดา ประหนึ่งว่าชีวาจะ วางวายทาลายล่วง สองพระกรเธอข้อนทรวงทรงพระกันแสงครวญคร่าแล้วราพันว่า โอ้เจ้า ดวงสุริยันจันทรท้ังคู่ของแม่เอ่ย แม่ไม่รู้เลยว่าเจ้าจะหนีพระมารดาไปสู่พาราใดไม่รู้ที่ หรือจะ ข้ามนทีทะเลวนหิมเวศประเทศทิศแดนใด ถ้ารู้แจ้งประจักษ์ใจแม่ก็จะตามเจ้าไปจนสุดแรง นี่ก็เหลือท่ีแม่จะเท่ียวแสวงสืบเสาะหา เม่ือเช้าแม่จะเข้าไปสู่ป่า พ่อชาลีแม่กัณหายังทูลสั่ง แม่ยังกลับหลังมาโลมลูบจูบกระหม่อมจอมเกล้าทั้งสองรา กลิ่นยังจับนาสาอยู่รวยรื่น โอ้พระลูก ข้านี้จะไม่คืนเสียแล้วกระมังในคร้ังน้ี กัณหาชาลีลูกรักแม่นับวันแต่ว่าจะแลลับล่วงไปเสียแล้ว ละหนอ ใครจะกอดพระศอเสวยนมผทมด้วยแม่เล่า ยามเมื่อแม่จะเข้าที่บรรจถรณ์ เจ้าเคยเคียง เรียงหมอนนอนแนบข้างทุกราตรี แต่น้ีแม่จะกล่อมใครให้นิทรา โอ้แม่อุ้มท้องประคองเคียง เล้ียงเจ้ามาก็หมายม่ัน สาคัญว่าจะได้อยู่เป็นเพ่ือนยากจะฝากผีพึ่งลูกท้ังสองคน มิรู้ว่าจะกลับ วิบัติพลัดพรากไม่เป็นผลให้อาเพศผิดประมาณ เจ้าเอาแต่ห่วงสงสารนี่หรือมาสวมคล้องให้แม่นี้ ติดต้องข้องอยู่ด้วยอาลัย เจ้าท้ิงชื่อและโฉมไว้ให้เปล่าอกในวิญญาณ์ เมื่อเช้าแม่จะเข้าไปสู่ป่า ยังได้เห็นหน้าเจ้าอยู่หลัดๆ ควรละหรือมาสลัดแม่นี้ไว้ เหมือนจะเตือนให้แม่นี้บรรลัยเสียจริงแล้ว ควรจะสงสารเอ่ยด้วยนางแก้วกัลยาณี น้อมพระเกศีลงทูลถามหวังจะติดตามพระลูกรักท้ังสองรา กราบถวายบงัคมลาลกุเลอื่นเขยอื้นยกพระบาทเยอื้งยา่งพระกายนางใหเ้สยีวสนั่หวนั่ไหวไปทงั้องค์ ดุจชายธงอันต้องกาลังลมอยู่ลิ่วๆ สิ้นพระแรงโรยเธอโหยหิวระหวยทรวง พระศอเธอหงุบง่วงดวง พระพักตร์เธอผิดเผือดให้แปรผัน จะทูลสั่งก็ยังมิทันท่ีว่าจะทูลเลย แต่พอตรัสว่าพระคุณเจ้าเอ๋ย คา เดยี วเทา่ นนั้ กห็ ายเสยี งเอยี งพระกายบา่ ยศโิ รเพฐน์ พระเนตรหลบั หบั พระโอษฐล์ งทนั ที วสิ ฺ ญี หุตฺวา นางก็ถึงวิสัญญีสลบลงตรงหน้าฉาน ปานประหนึ่งว่าพุ่มฉัตรทองอันต้องสายอัสนีฟาด ขาดระเนนเอนแล้วก็ล้มลงตรงหน้าพระที่นั่งเจ้านั้นแล 27

อถ มหาสตฺโต ปางนั้นสมเด็จพระเวสสันดรอดุลดวงกษัตริย์ ตรัสทอดพระเนตรเห็น พระอคั เรศถงึ วสิ ญั ญภี าพสลบลงวนั นน้ั พระทยั ทา้ วเธอสาคญั วา่ พระนางเธอวางวาย สะดงุ้ พระทยั หายว่าโอ้อนิจจามัทรีเจ้าพ่ีเอ๋ย บุญพี่นี้น้อยแล้วนะเจ้าเพื่อนยาก เจ้ามาตายจากพี่ไปในวงวัด เจ้าจะเอาป่าชัฏนี่หรือมาเป็นป่าช้า จะเอาพระบรรณศาลานี่หรือเป็นบริเวณพระเมรุทอง จะเอา แต่เสียงสาลิกาอันร่าร้องนั่นหรือมาเป็นกลองประโคมใน จะเอาแต่เสียงจักจ่ันและเรไรอันร่าร้อง นั่นหรือมาต่างแตรสังข์และพิณพาทย์ จะเอาแต่เมฆหมอกในอากาศน่ันหรือมากั้นเป็นเพดาน จะ เอาแต่ยูงยางในป่าพระหิมพานต์มาต่างฉัตรเงินและฉัตรทอง จะเอาแต่แสงพระจันทร์อันผุดผ่อง มาต่างประทีปแก้วงามโอภาส อนิจจามัทรีเอ่ย มาตายอเนจอนาถไร้ญาติที่กลางดง ครั้นท้าวเธอ ค่อยคลายลงที่โศกศัลย์ จึ่งผันพระพักตร์มาพิจารณาก็รู้ว่ายังไม่อาสัญ จึ่งเข้าไปยังพระคันธกุฎี จับเอาคนทีอันเต็มไปด้วยน้ามาทันใด ตั้งแต่พระองค์ทรงพระผนวชไพรมาได้ถึงเจ็ดเดือนปลาย จะได้ต้องพระกายนางมัทรีหามิได้ เมื่อความทุกข์พ้นวิสัยมิอาจที่จะกาหนดว่าอาตมะนี้เป็น ดาบสฤๅษี ยกเศียรพระมัทรีขึ้นใส่ตักวักเอาวารีมาโสรจสรงลงที่อุระพระมัทรี หวังว่าจะให้ชุ่มชื่น ฟื้นสมปฤๅดีคืนมาแห่งนางพระยาน้ันแล 28 ตมตฺถ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห ตมชฺช ปตฺต ราชปุตฺตึ อสฺสตฺถ น วิทิตฺวาน อาทิเยเนว เต มทฺทิ ทลิทฺโท ยาจโก วุฑฺโฒ ตสฺส ทินฺนา มยา ปุตฺตา ม ปสฺส มทฺทิ มา ปุตฺเต ลจฺฉาม ปุตฺเต ชีวนฺตา ปุตฺเต ปสุฺ จ ธฺ ฺ จ ทชฺชา สปฺปุริโส ทาน อนุโมทาหิ เม มทฺทิ อนุโมทามิ เต เทว ทตฺวา จิตฺต ปสาเทหิ โย ตฺว มจฺเฉรภูเตสุ พฺราหฺมณสฺส อทา ทาน นินฺนาทิตา เต ปวี สมนฺตา วิชฺชุตา อาคู อุทเกนาภิสิฺจิถ อถ น เอตมพฺรวีติ ทุกฺข นกฺขาตุมิจฺฉิส พฺราหฺมโณ ฆรมาคโต มทฺทิ มา ภายิ อสฺสส มา พาฬฺห ปริเทวยิ อโรคา จ ภวามฺหเส ยฺ จ อฺ  ฆเร ธน ทิสฺวา ยาจกมาคเต ปุตฺตเก ทานมุตฺตมนฺติ ปุตฺตเก ทานมุตฺตม ภิยฺโย ทาน ทโท ภว มนุสฺเสสุ ชนาธิป สีวีน รฏฺวฑฺฒโนติ สทฺโท เต ติทิวงฺคโต คิรีนว ปฏิสฺสุตาติ

ตสฺส เต อนุโมทนฺติ อินฺโท จ พฺรหฺมา จ ปชาปตี จ สพฺเพ เทวานุโมทนฺติ อิติ มทฺที วราโรหา เวสฺสนฺตรสฺส อนุโมทิ อุโภ นารทปพฺพตา โสโม ยโม เวสฺสวณฺโณ จ ราชา ตาวตึสา สอินฺทกา ราชปุตฺตี ยสสฺสินี ปุตฺตเก ทานมุตฺตมนฺติ 29 ภิกฺขเว ดูกรภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีลวิสุทธิสิกขา เมื่อสมเด็จพระมัทรีเธอได้สมปฤๅดีคืนมา นางพระยาเจ้าละอายแก่เทพดานัก ด้วยตัวมานอนอยู่บนตักพระราชสามีมิบังควร อุฏฺาย จึง อุฏฐาการโดยด่วนเลื่อนพระองค์ลงจากตักพระราชสามี พระมัทรีจ่ึงทูลถามว่าพระพุทธเจ้าข้า พระลกู รกั ทงั้ สองราไปอยไู่ หนนะฝา่ พระบาท ทา้ วเธอจงึ่ ตรสั ประภาษวา่ ดกู รเจา้ มทั รี อนั สองกมุ ารน้ี พ่ีให้เป็นทานแก่พราหมณ์แต่วันวานนี้แล้ว พระน้องแก้วเจ้าอย่าโศกศัลย์ จงต้ังจิตของเจ้านั้นให้ โสมนสั ศรทั ธา ในทางอนั กอ่ กฤดาภนิ หิ ารทานบารมี ลจฉฺ าม ปตุ เฺ ต ชวี นตฺ า ถา้ เราทงั้ สองนย้ี งั มชี วี ติ สืบไป อันสองกุมารนี้ไซร้ก็คงจะได้พบกันเป็นมั่นแม่น ถึงแสนสัตพิธรัตน์เคร่ืองอลงการซึ่ง พระราชทานไปนั้นเราก็จะได้ด้วยพระทัยหวัง ทชฺชา สปฺปุริโส ทานํ มัทรีเอ่ย อันอริยสัตบุรุษ เห็นปานด่ังตัวพ่ีฉะน้ี ถึงจะมีข้าวของสักเท่าใดๆ ทิสฺวา ยาจกมาคเต ถ้าเห็นยาจกเข้ามาใกล้ ไหว้วอนขอไม่ย่อท้อในทางทาน จนแต่ชั้นลูกรักยอดสงสารพี่ยังยกให้เป็นทานได้ อันสองกุมารน้ี ไซรเ้ ปน็ แตท่ านพาหริ กะภายนอกไมอ่ มิ่ หนา พจี่ ะใครใ่ หอ้ ชั ฌตั กิ ทานอกี นะเจา้ มทั รี ถา้ แมน้ มบี คุ คล ผู้ใดปรารถนาเนื้อหนังมังสังโลหิตดวงหทัยนัยนเนตรทั้งซ้ายขวา พี่ก็จะแหวะผ่าให้เป็นทานไม่ ย่อท้อถึงเพียงนี้ มัทรีเอ่ย จงศรัทธาด้วยช่วยอนุโมทนาทานในกาลบัดนี้เถิด สมเด็จพระมัทรีทูลสนองพระโองการว่า พระพุทธเจ้าข้า แต่วันวานนี้เหตุไฉนจ่ึงไม่แจ้ง ยุบลสารให้ทราบเกล้า ท้าวเธอจึ่งตรัสเล่าว่าพระน้องเอ่ย พี่จะเล่าให้เจ้าฟังก็สุดใจ ด้วยเจ้ามา แต่ป่าไกลยังเหนื่อยนัก พี่เห็นว่าความร้อนความรักจะรุกอก ด้วยสองดรุณทารกเป็นเพื่อนไร้ เจา้ มทั รเี อย่ จงผอ่ งใสอยา่ สอดแคลว้ อนั สองพระลกู แกว้ ไปไกลเนตร พระนางจงึ่ ตรสั วา่ พระพทุ ธเจา้ ข้าอันสองกุมารนี้ เกล้ากระหม่อมฉานได้อุตสาหะถนอมย่อมพยาบาลบารุงมา ขออนุโมทนาด้วย ปิยบุตรทานบารมี ขอให้น้าพระหฤทัยพระองค์จงผ่องแผ้วอย่ามีมัจฉริยธรรมอกุศล อย่ามาปะปน ในน้าพระทัยของพระองค์เลย ท้าวเธอจ่ึงตรัสว่าพระน้องเอ่ย ถ้าพี่มิได้ให้ด้วยเล่ือมใสศรัทธา แท้แล้ว ท่ีไหนเลยแผ่นดินดานจะกัมปนาทหวาดหวั่นไหวจลาจล ท้าวเธอเล่านุสนธิ์มหัศจรรย์ อันมีอยู่ในกัณฑ์กุมารบรรพ กลับมาเล่าให้พระมัทรีฟังแต่ในกาลหนหลังน้ีแล้วแล สา มทฺที ส่วนสมเด็จพระมัทรีศรีสุนทรบวรราชธิดามหาสมมุติวงศ์วิสุทธิสืบสันดานมา วราโรหา ทรงพระพักตร์ผิวผ่องดุจเน้ือทองไม่เทียมสี ยสสฺสินี มีพระเกียรติยศอันโอฬารล้าเลิศ วิไลลักษณ์ยอดกษัตริย์ อันทรงพระศรัทธาโสมนัสนบน้ิวประนมน้อมพระเศียรเคารพทาน

ท้าวเธอก็ชื่นบานบริสุทธ์ิด้วยปิยบุตรมิ่งมกุฎทานอันพิเศษ ฝ่ายฝูงอมรเทเวศทุกวิมานมาศ มนเทียรทุกหมู่ไม้ก็ย้ิมแย้มพระโอษฐ์ตบพระหัตถ์อยู่ฉาดฉาน ร้องสาธุการสรรเสริญเจริญ ทานบารมี ทั้งสมเด็จอมรินทร์เจ้าฟ้าสุราลัย อันเป็นใหญ่ในดาวดึงส์สวรรค์ก็มาโปรยปรายทิพย บุปผากรอง ทั้งพวงแก้วและพวงทองก็โรยร่วงจากกลีบเมฆกระทาสักการบูชาแก่สมเด็จนาง พระยามัทรี ท้าวเธอทรงกระทาอนุโมทนาทาน เวสฺสนฺตรสฺส แห่งพระเวสสันดรราชฤๅษีผู้เป็น พระภัสดา อิติ เมาะ อิมินา ปกาเรน ด้วยประการดังนี้แล้วแล มทฺทิปพฺพํ นิฏฺิตํ ประดับด้วยพระคาถา ๙๐ พระคาถา สรรพส์ าระ ชําดกมี ๒ ประเภท คือ ๑. นิบําตชําดก เป็นชําดกที่มําจํากพุทธวจนะ มีปรํากฏในพระไตรปิฎก ๕๔๗ เรื่อง คนทั่วไปนิยม เรียกว่ํา พระเจ้ํา ๕๐๐ ชําติ พระพุทธเจ้ําจะทรงเล่ํา นิบําตชําดกก็ต่อเมื่อมีผู้อํารําธนํา คือ มีผู้มําขอร้องให้ ทรงเล่ําน่ันเอง ทศชําติหรือสิบพระชําติของพระโพธิสัตว์ กอ่ นจะประสตู เิ ปน็ พระพทุ ธเจํา้ ซงึ่ รวมถงึ มหําเวสสนั ดร ชําดกทน่ี บั เปน็ นบิ ําตชําดกดว้ ย เพรําะพระสําวกทงั้ หลําย เปน็ ผอู้ ํารําธนําใหพ้ ระพทุ ธเจํา้ ทรงเลํา่ ในเหตกุ ํารณเ์ มอื่ ครงั้ ฝนโบกขรพรรษตกดว้ ยพทุ ธบํารมที วี่ ดั นโิ ครธํารําม ประเภทของชาดก 30 ๒.ปัญญําสชําดก เป็นชําดกที่ไม่ได้ปรํากฏในพระไตรปิฎก ไม่ใช่ชําดกที่มําจํากพุทธวจนะ แต่เป็นชําดกท่ีแต่งขึ้นโดยภิกษุชําวเชียงใหม่ ซึ่งนําเรื่องมําจํากนิทํานสุภําษิตหรือนิทํานอิงธรรมะที่เล่ํา ต่อกันมํา รวบรวมแต่งไว้เพ่ือเป็นข้อคิดสอนใจผู้คน ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ในวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เรื่องมโหสถชาดก ซึ่งเป็นนิบาตชาดกเร่ืองหน่ึง

๖. คําศัพท์ คา ศพั ท์ ความหมาย กฤดาภินิหาร อภินิหาร บุญอันยิ่งที่ทาไว้ กเลวระ (กเฬวระ) ซากศพ กัมปนาท เสียงบันลือ เสียงสนั่นหวั่นไหว คนธรรพ์ ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง มีความชานาญในวิชาขับร้อง ดนตรี ชาติอาชาไนย ม้าตระกูลที่ดี กาเนิดดี ผู้มีความรู้รวดเร็ว ดรุณเรศ หญิงสาวรุ่น ดาวดึงส์สวรรค์ สวรรค์ชั้นที่ ๒ ซึ่งมีพระอินทร์เป็นใหญ่ ไตรภพ ภพทั้งสาม ได้แก่ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ ทานพาหิรกะ ทานที่เป็นสิ่งนอกกาย ได้แก่ เงินทอง สิ่งของเครื่องใช้ ทิพากร ดวงอาทิตย์ บรรณศาลา สานักของฤๅษีหรือผู้บาเพ็ญพรต โรงที่มุงด้วยใบไม้ เบญจางคจริต ลักษณะงาม ๕ ประการ คือ ผมงาม ผิวงาม เน้ืองาม ฟันงาม และวัยงาม ปรมัตถ ความจริงอันเป็นที่สุด ประโยชน์อย่างยิ่ง ชื่อพระอภิธรรมปิฎก ปัจฉิม ภายหลัง ที่หลัง ชื่อทิศ (ตะวันตก) ปาริชาต (ปาริชาตก์) ต้นไม้ในสวนของพระอินทร์ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พรหมเมศร์ พระพรหมผู้เป็นใหญ่ พาฬมฤคา สัตว์ร้าย สัตว์ที่กินสัตว์อ่ืนเป็นอาหาร พิลาป ร้องไห้ คร่าครวญ บ่นเพ้อ ร่าไร ราพัน 31

คา ศพั ท์ ความหมาย พูนเทวษ ความเศร้าโศกที่มากมาย โพธิสมภาร บุญบารมีของพระมหากษัตริย์ มหาบุรุษ บุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ในที่นี้หมายถึง พระพุทธเจ้า มัจฉริยะ ความตระหนี่ ลาวัณย์ ความงาม ความน่ารัก วายนม หย่านม อดนม หยุดกินนมแม่ (ใช้กับเด็ก) วิทยาธร ผู้มีวิชากายสิทธิ์ เทพบุตรพวกหนึ่งมีหน้าที่บรรเลงดนตรี วิสัญญีภาพ สลบ หมดความรู้สึก สิ้นสติ อาการที่ไม่รู้สึกตัว สมปฤๅดี (สม-ปะ-รือ-ดี) ความรู้สึกตัว สุราลัย ที่อยู่ของเทวดา สวรรค์ เสาวนีย์ คาสั่งของพระราชินี ในท่ีนี้หมายถึง คาพูดของพระนางมัทรี โสมนัส ความเบิกบาน ความสุขใจ ความปลาบปลื้ม อัชฌัติกทาน ทานที่เป็นสิ่งภายในตัว ได้แก่ เลือดเนื้อ อวัยวะ อัสนี สายฟ้า หมายถึง ฟ้าผ่า อาวาส วัด ผู้ครอบครอง อินทรีย์ ร่างกายและจิตใจ อุฏฐาการ ลุกขึ้น 32

๗. บทวิเคระห์ ๗.๑ คุณค่าด้านเน้ือหา ๑) รูปแบบ มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี แต่งด้วยคาประพันธ์ประเภทร่ายยาว นาด้วยคาถาบาลีท่อนหน่ึง แล้วแต่งเป็นร่ายยาวมีคาบาลีแทรก เป็นการใช้รูปแบบคาประพันธ์ได้ เหมาะสมกับเน้ือหาสาระสาคัญของเร่ืองท่ีจะช่วยให้นักเรียนมีความซาบซึ้งในความรักของผู้เป็น แม่ได้อย่างดีย่ิง ๒) องค์ประกอบของเร่ือง ๒.๑) สาระ เป็นการกล่าวถึงความรักของแม่ท่ีมีต่อลูกว่า เป็นความรักท่ีย่ิงใหญ่ การพลัดพรากจากลูกย่อมนาความทุกข์โศกมาสู่แม่อย่างยากจะหาส่ิงใดเปรียบได้ ๒.๒) โครงเร่ือง มีการวางโครงเร่ืองได้ดี โดยการผูกเรื่องให้เทพบุตร ๓ องค์ นริ มติ กายเปน็ สตั วร์ า้ ยมาขวางทางพระนางมทั รมี ใิ หเ้ สดจ็ กลบั อาศรมไดท้ นั เวลาทพี่ ระเวสสนั ดรจะทรง บา เพญ็ บตุ รทานบารมแี กพ่ ราหมณช์ ชู ก เมอื่ พระนางเสดจ็ กลบั มาแลว้ ไมพ่ บสองกมุ ารกท็ รงเศรา้ โศก เสียพระทัยจนสลบไป ต่อมาภายหลังได้ทรงทราบว่าพระเวสสันดรได้ประทานสองกุมารให้แก่ พราหมณช์ ชู ก พระนางมทั รกี ท็ รงคลายความเศรา้ โศกและเตม็ พระทยั อนโุ มทนาในบตุ รทานบารมที ี่ พระเวสสันดรทรงบาเพ็ญ ๒.๓) ตัวละคร มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี มีตัวละครที่สาคัญ ดังนี้ พระเวสสันดร (๑) มคี ณุ ธรรมสงู เหนอื มนษุ ย ์ ยากทมี่ นษุ ยท์ วั่ ไปจะทา ได้ ไดแ้ ก่ การบรจิ าค บุตรของตน คือ พระชาลีและพระกัณหา ซ่ึงเปรียบเสมือนแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ให้เป็นทาน แก่ชูชก นับเป็นการบาเพ็ญทานอันย่ิงใหญ่ประการหน่ึง ดังบทประพันธ์ ...ท้าวเธอจึ่งตรัสประภาษว่าดูกรเจ้ามัทรี อันสองกุมารนี้พี่ให้เป็นทานแก่พราหมณ์ แต่วันวานน้ีแล้ว พระน้องแก้วเจ้าอย่าโศกศัลย์ จงตั้งจิตของเจ้าน้ันให้โสมนัสศรัทธาในทาง อันก่อกฤดาภินิหารทานบารมี ลจฺฉาม ปุตฺเต ชีวนฺตา ถ้าเราท้ังสองนี้ยังมีชีวิตสืบไป อัน สองกุมารนี้ไซร้ก็คงจะได้พบกันเป็นม่ันแม่น ถึงแสนสัตพิธรัตน์เคร่ืองอลงการซึ่งพระราชทาน ไปน้ันเราก็จะได้ด้วยพระทัยหวัง ทชฺชา สปฺปุริโส ทานํ มัทรีเอ่ย อันอริยสัตบุรุษเห็นปานดั่ง ตัวพี่ฉะนี้ ถึงจะมีข้าวของสักเท่าใดๆ ทิสฺวา ยาจกมาคเต ถ้าเห็นยาจกเข้ามาใกล้ ไหว้วอน ขอไม่ย่อท้อในทางทาน จนแต่ชั้นลูกรักยอดสงสารพี่ยังยกให้เป็นทานได้... 33

(๒) มีความเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์ เช่น การทาให้พระนางมัทรี ทรงเจ็บพระทัย เพื่อจะได้คลายความโศกเศร้าที่พระกุมารทั้งสองหายไป เป็นการใช้จิตวิทยา เพอื่ ใหพ้ ระนางมทั รบี รรเทาความเศรา้ ลง มเิ ชน่ นนั้ พระนางมทั รจี ะทรงโศกเศรา้ จนอาจเปน็ อนั ตราย ต่อพระวรกายได้ ดังบทประพันธ์ ...ส่วนสมเด็จพระยอดมิ่งเยาวมาลย์มัทรี เมื่อได้สดับคาพระราชสามีบริภาษณานาง ที่ความโศกก็เสื่อมสร่างสงบจิตเพราะเจ็บใจ... พระนางมัทรี (๑) มีความจงรักภักดีต่อพระสวามี ดังบทประพันธ์ ...ว่ามัทรีนี้เป็นข้าเก่าแต่ก่อนมาด่ังเงาตามพระบาทาก็เหมือนกัน นอกกว่านั้นที่ แน่นอนคือนางไหนอันสนิทชิดใช้แต่ก่อนกาล ยังจะติดตามพระราชสมภารมาบ้างละหรือ ได้แต่มัทรีท่ีแสนดื้อผู้เดียวดอก ไม่รู้จักปล้ินปลอกพลิกไพล่เอาตัวหนี มัทรีสัตยาสวามิภักด์ิ รักผัวเพียงบิดาก็ว่าได้ ถึงจะยากเย็นเข็ญใจก็ตามกรรม... ดังบทประพันธ์ (๒) เปน็ ยอดกลุ สตรี ทรงปฏบิ ตั หิ นา้ ทภ่ี รรยาและมารดาไดส้ มบรู ณค์ รบถว้ น ...โอพระจอมขวัญของแม่เอ่ย เจ้ามิเคยได้ความยากย่างเท้าลงเหยียบดิน ร้ินก็ มิได้ไต่ไรก็มิได้ตอม เจ้าเคยฟังแต่เสียงพี่เล้ียงเขาขับกล่อมบาเรอด้วยดุริยางค์ ยามบรรทม ธลุ ีลมก็มไิ ดพ้ ัดมาแผว้ พาน แมส่ พู้ ยาบาลบารงุ เจ้าแตเ่ ยาวม์ า เจ้ามไิ ด้หา่ งพระมารดาสกั หายใจ โอความเข็ญใจในครั้งนี้นี่เหลือขนาด สิ้นสมบัติพลัดญาติยังแต่ตัวต้องไปหามาเลี้ยงลูกและ เลี้ยงผัวทุกเวลา... (๓) มีความอดทน ทรงไม่ย่อท้อต่อความยากลาบาก ดังบทประพันธ์ ...อุตสาหะตระตรากตระตราเตร็ดเตร่หาผลาผลไม้ ถึงท่ีไหนจะรกเร้ียวก็ซอกซอน อุตส่าห์เที่ยวไม่ถอยหลังจนเน้ือหนังข่วนขาดเป็นริ้วรอย โลหิตไหลย้อยทุกหย่อมหนาม อารามจะใคร่ได้ผลาผลไม้มาปฏิบัติลูกบารุงผัว ถึงกระไรจะคุ้มตัวก็ทั้งยากน่าหลากใจ... 34

(๔) มีจิตกุศล เช่นเดียวกับพระเวสสันดร จึงทรงอนุโมทนากับการบาเพ็ญ บุตรทานของพระเวสสันดร ดังบทประพันธ์ ...ส่วนสมเด็จพระมัทรีศรีสุนทรบวรราชธิดามหาสมมุติวงศ์วิสุทธิสืบสันดานมา วราโรหา ทรงพระพักตร์ผิวผ่องดุจเนื้อทองไม่เทียมสี ยสสฺสินี มีพระเกียรติยศอันโอฬาร ล้าเลิศวิไลลักษณ์ยอดกษัตริย์ อันทรงพระศรัทธาโสมนัสนบนิ้วประนมน้อมพระเศียร เคารพทาน ท้าวเธอก็ช่ืนบานบริสุทธิ์ด้วยปิยบุตรมิ่งมกุฎทานอันพิเศษ... ๒.๔)ฉากและบรรยากาศ ฉากเป็นป่าบริเวณที่ตั้งอาศรมของพระเวสสันดร โดยผู้แต่งบรรยายฉากและบรรยากาศได้สมจริงสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ดังบทประพันธ์ ...กระจ่างแจ้งด้วยแสงพระจันทร์ส่องสว่างพื้นอัมพรประเทศวิถี นางเสด็จจรลีไป หยุดยืนในภาคพื้นปริมณฑลใต้ต้นหว้า จึ่งตรัสว่า อิเม เต ชมฺพุกา รุกฺขา ควรจะสงสาร เอ่ยด้วยต้นหว้าใหญ่ใกล้อาราม งามด้วยกิ่งก้านประกวดกัน ใบชอุ่มประชุมช่อเป็นฉัตรช้ันด่ัง ฉัตรทอง แสงพระจันทร์ดั้นส่องต้องน้าค้างท่ีขังให้ไหลลงหยดย้อย เหมือนหน่ึงน้าพลอย พร้อยๆ อยู่พรายๆ ต้องกับแสงกรวดทรายที่ใต้ต้นอร่ามวามวาวดูเป็นวนวงแวว ดั่งบุคคลเอา แก้วมาระแนงแกล้งมาโปรยโรยรอบปริมณฑลก็เหมือนกัน งามด่ังไม้ปาริชาตในเมืองสวรรค์ มาปลูกไว้... ๒.๕) กลวธิ กี ารแตง่ มหาเวสสนั ดรชาดก กณั ฑม์ ทั รี แตง่ ดว้ ยคา ประพนั ธป์ ระเภท ร่ายยาวท่ีมีคาถาบาลีนา เป็นตอนท่ีว่าด้วยพระนางมัทรีเสด็จเข้าป่าหาผลไม้ เมื่อเสด็จกลับมา ไมพ่ บพระกมุ ารจงึ ออกตาม ซง่ึ ในกณั ฑม์ ทั รนี ี้ ผแู้ ตง่ เนน้ ใหผ้ อู้ า่ นเกดิ ความซาบซง้ึ ในการพรรณนา ความรักของแม่ที่มีต่อลูก ลีลาของคาประพันธ์ท่ีเด่นชัดท่ีสุด คือ สัลลาปังคพิสัย รองลงมา คือ พิโรธวาทัง ซ่ึงปรากฏในตอนที่พระเวสสันดรทรงเห็นพระนางมัทรีทรงเศร้าโศกเสียพระทัยมาก จึงทรงคิดหาวิธีตัดความเศร้าโศก ด้วยการตรัสบริภาษพระนางมัทรีว่า คิดนอกใจไปคบกับชายอ่ืน ทา ใหพ้ ระนางมทั รที รงเจบ็ พระทยั และตดั พอ้ ตอ่ วา่ พระเวสสนั ดรกอ่ นทพี่ ระนางจะเสดจ็ ออกตามหา พระโอรส พระธิดาด้วยพระวรกายท่ีอิดโรยจนสลบไป ตอนน้ีเป็นช่วงท่ีสะเทือนอารมณ์และ บบี คน้ั จติ ใจมาก สง่ ผลใหผ้ อู้ า่ นเกดิ ความรสู้ กึ สงสารและเหน็ ใจพระนางมทั รที ตี่ อ้ งสญู เสยี พระโอรส พระธิดาไป แต่เมื่อทรงทราบความจริง พระนางก็ทรงเข้าใจ คลายเศร้า และอนุโมทนาทานบารมี กบั พระเวสสนั ดรดว้ ย นบั วา่ ผแู้ ตง่ ใชก้ ลวธิ ใี นการนา เสนอไดน้ า่ สนใจและสรา้ งอารมณส์ ะเทอื นใจไดด้ ี 35

๗.๒ คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๑) การสรรคา ในบทประพันธ์น้ี ผู้แต่งได้เลือกใช้ถ้อยคาที่ส่ือความคิดได้ ดังน้ี ๑.๑) การใช้ถ้อยคาให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ การใช้ถ้อยคาให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึกในมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีน้ัน ผู้แต่งเลือกใช้ถ้อยคาได้เหมาะสมกับอารมณ์ที่ ต้องการจะถ่ายทอด ดังตัวอย่างต่อไปน้ี (๑) การใช้ถ้อยคาราพึงราพัน เป็นการราพัน บรรยายผ่านตัวละครที่ให้ อารมณ์ ความสะเทือนใจและตรงใจผู้เป็นแม่ในชีวิตจริงในทุกยุคทุกสมัย เป็นการเพิ่มความรัก ความผูกพันให้ผู้อ่านและผู้ฟังที่เป็นแม่และลูกได้อย่างดียิ่ง ดังบทประพันธ์ ...เมื่อเช้าแม่จะเข้าไปสู่ป่า พ่อชาลีแม่กัณหายังทูลสั่ง แม่ยังกลับหลังมาโลมลูบจูบ กระหม่อมจอมเกล้าทั้งสองรา กลิ่นยังจับนาสาอยู่รวยรื่น...ใครจะกอดพระศอเสวยนมผทม ด้วยแม่เล่า ยามเม่ือแม่จะเข้าท่ีบรรจถรณ์ เจ้าเคยเคียงเรียงหมอนนอนแนบข้างทุกราตรี แต่น้ี แม่จะกล่อมใครให้นิทรา... (๒) การใช้ถ้อยคาสานวนเชิงตัดพ้อ ทาให้เกิดอารมณ์สงสาร เวทนา และ บีบคั้นจิตใจผู้อ่าน ผู้ฟังอย่างยิ่ง ดังบทประพันธ์ ...อกของใครจะอาภัพยับพิกลเหมือนอกของมัทรีไม่มีเนตร น่าที่จะสงสารสังเวช โปรดปรานีว่ามัทรีนี้เป็นเพื่อนยากอยู่จริงๆ ช่างค่อนติงปริภาษณาได้ลงคอไม่คิดเลย พระคุณ เอ่ยถึงพระองค์จะสงสัย ก็น้าใจของมัทรีนี้กตเวทีเป็นไม้เท้าก้าวเข้าสู่ที่ทางทดแทน ราม สีตาวนุพฺพตา อุปมาแม้นเหมือนสีดาอันภักดีต่อสามีรามบัณฑิต ปานประหนึ่งว่าศิษย์กับ อ า จ า ร ย ์ พ ร ะ ค ณุ เ อ ย่ เ ก ล า้ ก ร ะ ห ม อ่ ม ฉ า น ท า ผ ดิ แ ต เ่ พ ยี ง น เี ้ พ ร า ะ ว า่ ล ว่ ง ร า ต ร จี งึ ่ ม โี ท ษ ข อ พ ร ะ อ ง ค ์ จงทรงพระกรุณาโปรดซ่ึงโทษานุโทษกระหม่อมฉันมัทรีแต่คร้ังเดียวนี้เถิด (๓) การใช้ถ้อยคาแสดงอารมณ์หึงหวงให้เจ็บแค้นเพื่อดับความโศกเศร้า ด้วยสานวนกระทบกระแทกอารมณ์ให้ปวดร้าวใจ ดังบทประพันธ์ ...จาจะเอาโวหารการหึงเข้ามาหักโศกให้เสื่อมลง จึ่งเอื้อนโองการตรัสประภาษว่า นนุ มทฺทิ ดูกรนางนาฏพระน้องรัก ภทฺเท เจ้าผู้มีพักตร์อันผุดผ่องเสมือนหนึ่งเอาน้าทอง เข้ามาทาบทับประเทืองผิว ราวกะว่าจะลอยลิ่วเลื่อนลงจากฟ้า ใครได้เห็นเป็นขวัญตา เต็มหลงละลายทุกข์ปลุกเปลื้องอารมณ์ชายให้เชยชื่น จะนั่งนอนเดินยืนก็ต้องอย่าง 36

วราโรหา พร้อมด้วยเบญจางคจริตรูปจําเริญโฉมประโลมโลกล่อแหลมวิไลลักษณ์ ราชปุตฺตี ประกอบไปดว้ ยเชอ้ื ศกั ดสิ์ มมตุ วิ งศพ์ งศก์ ษตั รา เออกเ็ มอ่ื เชา้ เจา้ จะเขา้ ปา่ นา่ สงสารปานประหนงึ่ ว่าจะไปมิได้ ทาร้องไห้ฝากลูกมิรู้แล้ว ครั้นคลาดแคล้วเคลื่อนคล้อยเข้าสู่ดง ปานประหนึ่งว่า จะหลงลืมลูกสละผัวต่อมืดมัวจ่ึงกลับมา ทาเป็นบีบน้าตาตีอกว่าลูกหาย ใครจะไม่รู้แยบคาย ความคิดหญิง ถ้าแม้นเจ้าอาลัยอยู่ด้วยลูกจริงๆ เหมือนวาจา ก็จะรีบกลับเข้ามาแต่ว่ีวันไม่ ทันรอน เออน่ีเจ้าเท่ียวพเนจรนอนตามสนุกใจ ชมนกชมไม้ในไพรวันสารพันที่จะมี ทั้งฤ ๅษี สิทธ์วิทยาธรคนธรรพ์เทพารักษ์ผู้มีพักตร์อันเจริญ เห็นแล้วก็น่าเพลิดเพลินไม่เมินได้... (๔) การใช้คาซ้าและกลุ่มคาท่ีมีพื้นเสียงเดียวกัน ดังบทประพันธ์ ...อกแม่น้ีให้อ่อนหิวสุดละห้อย ทั้งดาวเดือนก็เคลื่อนคล้อยลงลับไม้ สุดที่แม่จะ ติดตามเจ้าไปในยามนี้ ฝูงลิงค่างบ่างชะนีท่ีนอนหลับ ก็กล้ิงกลับเกลือกตัวอยู่ย้ัวเยี้ย ท้ังนก หกก็งัวเงียเหงาเงียบทุกรวงรัง แต่แม่เท่ียวเซซังเสาะแสวงทุกแห่งห้องหิมเวศทั่วประเทศ ทุกราวป่า สุดสายนัยนาที่แม่จะตามไปเล็งแล สุดโสตแล้วที่แม่จะซับทราบฟังสาเนียง สุด สรุ เสยี งทแ่ี มจ่ ะรา่ํ เรยี กพไิ รรอ้ ง สดุ ฝเี ทา้ ทแ่ี มจ่ ะเยอื้ งยอ่ งยกยา่ งลงเหยยี บดนิ กส็ ดุ สน้ิ สดุ ปญั ญา สุดหาสุดค้นเห็นสุดคิด จะได้พานพบประสบรอยพระลูกน้อยแต่สักนิดไม่มีเลย... ๒) การใชโ้ วหาร ในบทประพนั ธก์ วไี ดเ้ ลอื กใชส้ า นวนภาษากอ่ ใหเ้ กดิ จนิ ตภาพ ดงั นี้ ๒.๑) การใช้อุปมาโวหารท่ีแสดงความเศร้าโศกของพระนางมัทรีจนสลบไป เปน็ จดุ เดน่ ของกณั ฑม์ ทั รที ท่ี า ใหผ้ อู้ า่ นเกดิ อารมณส์ ะเทอื นใจดว้ ยความสงสาร การใชถ้ อ้ ยคา แสดง ความสามารถของกวีในด้านการประพันธ์ได้อย่างเด่นชัด ดังบทประพันธ์ ...ควรจะสงสารเอ่ยด้วยนางแก้วกัลยาณี น้อมพระเกศีลงทูลถามหวังจะติดตาม พระลูกท้ังสองรา กราบถวายบังคมลาลุกเลื่อนเขยื้อนยกพระบาทเยื้องย่าง พระกายนางให้ เสียวส่ันหวั่นไหวไปทั้งองค์ ดุจชายธงอันต้องกําลังลมอยู่ลิ่วๆ ส้ินพระแรงโรยเธอโหยหิว ระหวยทรวง พระศอเธอหงุบง่วงดวงพระพักตร์เธอผิดเผือดให้แปรผัน จะทูลส่ังก็ยังมิทันที่ ว่าจะทูลเลย แต่พอตรัสว่าพระคุณเจ้าเอ๋ยคาเดียวเท่านั้น ก็หายเสียงเอียงพระกายบ่าย ศิโรเพฐน์ พระเนตรหลับหับพระโอษฐ์ลงทันที วิสฺญี หุตฺวา นางก็ถึงวิสัญญีสลบลงตรง หน้าฉาน ปานประหน่ึงว่าพุ่มฉัตรทองอันต้องสายอัสนีฟาดขาดระเนนเอนแล้วก็ล้มลง ตรงหน้าพระที่นั่งเจ้านั้นแล 37

๒.๒) การใชค้ า องิ สา นวนสภุ าษติ เปน็ การทา ใหเ้ กดิ คตหิ รอื แงค่ ดิ กบั ผอู้ า่ นไดเ้ ปน็ อย่างดี ดังบทประพันธ์ ...โอพระจอมขวัญของแม่เอ่ย เจ้ามิเคยได้ความยากย่างเท้าลงเหยียบดิน ริ้นก็มิได้ไต่ ไรก็มิได้ตอม... ...อกเอ่ยจะอยู่ไปไยให้ทนเวทนา อุปมาเสมือนหนึ่งพฤกษาลดาวัลย์ ย่อมจะอาสัญลง เพราะลูกเป็นแท้เที่ยง... ...อุปมาเสมือนหน่ึงภุมรินบินวะว่อนเที่ยวซับซาบเอาเกสรสุคนธมาเลศ พบดอกไม้ อันวิเศษต้องประสงค์หลงเคล้าคลึงรสจนลืมรัง เข้าเถื่อนเจ้าลืมพร้าได้หน้าแล้วลืมหลัง ไม่แลเหลียว... ๗.๓ คุณค่าด้านสังคม ๑) สะทอ้ นคา่ นยิ มเกยี่ วกบั สงั คมไทย ในสมยั โบราณถอื วา่ ภรรยาเปน็ ทรพั ยส์ มบตั ิ ของสามี สามีมีสิทธิเหนือภรรยาทุกประการ ถ้าสามีเป็นกษัตริย์ อานาจน้ันก็จะมากย่ิงขึ้น ดังคาท่ี พระเวสสันดรทรงตรัสแก่พระนางมัทรีว่า ...เจา้ เปน็ แตเ่ พยี งเมยี ควรหรอื มาหมนิ่ ได้ ถา้ แมน้ พอี่ ยใู่ นกรงุ ไกรเหมอื นแตก่ อ่ นเกา่ หากวา่ เจ้าทาเช่นน้ี กายของมัทรีก็จะขาดสะบั้นลงทันตาด้วยพระกรเบื้องขวาของอาตมาน้ีแล้วแล นอกจากนี้ ผู้หญิงจะต้องดูแลปรนนิบัติสามี ซ่ือสัตย์ต่อสามี ส่วนลูกน้ันถือเป็น สมบัติของพ่อแม่ ต้องเคารพเช่ือฟัง และพ่อแม่สามารถยกลูกของตนให้ผู้อ่ืนได้ ดังเช่นท่ี พระเวสสันดรยกพระกัณหา พระชาลี ให้แก่ชูชก ๒) สะทอ้ นใหเ้ หน็ ธรรมชาตขิ องมนษุ ย์ ความรกั นา มาซงึ่ ความทกุ ข์ ความโศกเศรา้ เสียใจ เช่น เมื่อลูกพลัดพรากจากไปพ่อแม่ย่อมเกิดความทุกข์เพราะความรัก ความเป็นห่วง กังวล โศกเศร้า เมื่อคิดว่าลูกของตนล้มหายตายจากไป แต่ความโศกเศร้าเสียใจจะบรรเทาลง ได้เม่ือโกรธ เจ็บใจ หรือเม่ือเกิดความเข้าใจในส่ิงที่ผู้อ่ืนทา ตัวอย่างเช่น ตอนท่ีพระเวสสันดร ตรัสบริภาษพระนางมัทรี เพื่อให้พระนางมัทรีโกรธจนลืมความโศกเศร้า ดังบทประพันธ์ ...สมเด็จพระราชสมภารเมื่อได้สดับสารพระมัทรีเธอแสนวิโยคโศกศัลย์สุดกาลัง ถึงแม้นจะมิตรัสแก่นางม่ังจะมิเป็นการ จาจะเอาโวหารการหึงเข้ามาหักโศกให้เสื่อมลง จึ่งเอื้อนโองการตรัสประภาษว่า... 38

๓) สะท้อนความเชื่อของสังคมไทย จากบทประพันธ์ตอนที่พระนางมัทรีเสด็จ ออกสปู่ า่ เพอื่ เกบ็ ผลไมใ้ หพ้ ระกณั หา พระชาลี และพระเวสสนั ดรเสวยเปน็ ประจา ผลไมต้ า่ งๆ กเ็ พยี้ น ผิดปกติซึ่งถือเป็นลางร้าย ดังบทประพันธ์ ...เหตุไฉนไม้ท่ีมีผลเป็นพุ่มพวงก็กลายกลับเป็นดอกดวงเดียรดาษอนาถเนตร แถวโน้น ก็แก้วเกดพิกุลแกมกับกาหลง ถัดนั่นก็สายหยุดประยงค์และยมโดย พระพายพัดก็ร่วงโรย รายดอกลงมูนมอง แม่ยังได้เก็บเอาดอกมาร้อยกรองไปฝากลูกเม่ือวันวาน ก็เพี้ยนผิดพิสดาร เป็นพวงผล ผิดวิกลแต่ก่อนมา สพฺพา มุยฺหนฺติ เม ทิสา ทั้งแปดทิศก็มืดมิดมัวมนทุกหนแห่ง ท้ังขอบฟ้าก็ดาดแดงเป็นสายเลือดไม่เว้นวายหายเหือดเป็นลางร้ายไปรอบข้าง ทกฺขิณกุขิ พระนัยนเนตรก็พร่างๆ อยู่พรายพร้อย ในจิตใจของแม่ยังน้อยอยู่นิดเดียว ทั้งอินทรีย์ก็เสียวๆ สั่นระรัวริก แสรกคานบันดาลพลิกพลัดลงจากพระอังสา ท้ังขอน้อยในหัตถาที่เคยถือก็เลื่อน หลุดลงจากมือไม่เคยเป็นเห็นอนาถ... แปลความ เป็นลางร้าย ๙ ประการ ได้แก่ ๑. ไม้ผลกลับกลายเป็นไม้ดอก ๒. ไม้ดอกกลับกลายเป็นไม้ผล ๓. มืดมัวไปทั้ง ๘ ทิศ ๔. ขอบฟ้าแดงเป็นสายเลือด ๕. ตาพร่า ๖. ใจเหมือนจะขาด ๗. กายรู้สึกเสียวๆ สั่นๆ ๘. ไม้คานที่หาบสาแหรกพลัดตกจากบ่า ๙. ขอที่ใช้สอยผลไม้หลุดมือ ๔) สะท้อนเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี อันเป็นประเพณีท่ีเก่ียวเนื่องกับ พระพทุ ธศาสนา โดยเรอ่ื ง “มหาเวสสนั ดรชาดก” เปน็ ชาดกทพ่ี ทุ ธศาสนกิ ชนนยิ มนา มาเลา่ ขานจดั เปน็ เทศน์มหาชาติประจาทุกปีมาตั้งแต่ครั้งอดีต โดยจะจัดสถานที่ให้สอดคล้องกับเร่ืองราว ให้เป็นป่า ทอี่ ดุ มไปดว้ ยไมผ้ ล มกี ารบรรเลงดนตรไี ทยประกอบกณั ฑเ์ พอื่ ชว่ ยสรา้ งอารมณร์ ว่ มใหก้ บั ผฟู้ งั เทศน์ ท้ังนี้พระสงฆ์ที่มาเป็นผู้เทศน์ จะเป็นพระสงฆ์ท่ีเทศน์ได้อย่างไพเราะ ใช้ภาษาง่ายๆ เพ่ือให้เข้าถึง ผู้ฟังทุกเพศ ทุกวัย ปัจจุบันเทศน์มหาชาติจัดเป็นงานประจาปีของทุกท้องถ่ินท่ัวทุกภาค มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้รับการยกย่องว่า เป็นเลิศในเชิงพรรณนาโวหาร ลีลาการใช้ถ้อยคาของร่ายยาวทุกตอนแพรวพราวด้วยการเล่น คาสัมผัส เล่นเสียง และสานวนโวหารเปรียบเทียบ นอกจากจะมีความงดงามด้านวรรณศิลป์แล้ว เนอื้ หากณั ฑม์ ทั รยี งั กลา่ วถงึ ความรกั ความหว่ งใยของมารดาทมี่ ตี อ่ บตุ ร และเหน็ ถงึ การบรจิ าคทาน อันย่ิงใหญ่ของพระเวสสันดร ซึ่งนอกจากจะให้สาระความรู้แล้ว ยังให้คติสอนใจและแง่คิดแก่ ผู้ฟังและผู้อ่านอีกด้วย 39

ป ก ณิ ก ะ ¡ÒÃà·È1ÁËÒaÒμÔ จํากพระนิพนธ์เรื่องพระมําลัยคําหลวง ของเจ้ําฟําธรรมธิเบศร พระศรีอําริยเมตไตรยได้ให้ พระมําลัยมําบอกแก่ชําวโลกว่ํา “ให้ทํามหําชําติเนืองนันต์ เครื่องส่ิงละพัน จงบูชําให้จบทิวํานั้น ตั้งประทีปพันบูชําดอกปทุม ถ้วนพัน...” ทําให้เกิดควํามเช่ือว่ํา กํารฟังเทศน์มหําชําติให้จบในวันเดียวจะได้บุญมําก และจะได้ไปเกิด ในยุคของพระศรีอําริยเมตไตรย กํารเทศน์มหําชําตินิยมทํากันหลังออกพรรษํา เลยหน้ํากฐินไปแล้ว ระหว่ํางเดือน ๑๒ ถึง เดือนอ้ําย กํารเทศน์มหําชําติมีอยู่ทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ เป็นเรื่องรําวเกี่ยวกับพระเวสสันดร อันเป็น พระชําติสุดท้ํายของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะมําประสูติเป็นเจ้ําชํายสิทธัตถะ และตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้ํา ในกํารเทศน์มหําชําติจึงนิยมจัดตกแต่งสถํานที่บริเวณพิธีให้มีบรรยํากําศคล้ํายอยู่ในปําตํามท้องเรื่อง มหําเวสสนั ดรชําดก อบุ ําสกอบุ ําสกิ ํามกั จะรบั เปน็ เจํา้ ของกณั ฑเ์ ทศนค์ นละ ๑ กณั ฑ์ และจดั ชดุ เครอื่ งบชู ํา ตํามจํานวนพระคําถําในกัณฑ์นั้นๆ ดังนี้ ๑. กัณฑ์ทศพร ๑๙ พระคําถํา ๒. กัณฑ์หิมพํานต์ ๑๓๔ พระคําถํา ๓. ทํานกัณฑ์ ๒๐๙ พระคําถํา ๔. กัณฑ์วนประเวศ ๕๗ พระคําถํา ๕. กัณฑ์ชูชก ๗๙ พระคําถํา ๖. กัณฑ์จุลพน ๓๕ พระคําถํา ๗. กัณฑ์มหําพน ๘๐ พระคําถํา ๘. กัณฑ์กุมําร ๑๐๑ พระคําถํา ๙. กัณฑ์มัทรี ๙๐ พระคําถํา ๑๐. กัณฑ์สักกบรรพ ๔๓ พระคําถํา ๑๑. กัณฑ์มหํารําช ๖๙ พระคําถํา ๑๒. กัณฑ์ฉกษัตริย์ ๓๖ พระคําถํา ๑๓. นครกัณฑ์ ๔๘ พระคําถํา 40 พระสงฆ์รับประเคนจตุปจจัยจากพุทธศาสนิกชน การจัดบรรยากาศให้เหมือนปาในการเทศน์มหาชาติ

คาถามประจาหน่วยการเรียนรู้ ๑. เร่ืองมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี แสดงบุคลิกลักษณะของพระนางมัทรีอย่างไร ๒. “แมม่ าสละเจา้ ไวเ้ ปน็ กา พรา้ ทง้ั สององค์ เสมอื นหนง่ึ ลกู หงสเ์ หมราชปกั ษนิ ปราศจาก มุจลินท์ไปตกคลุกในโคลนหนองสิ้นสีทองอันผ่องแผ้ว” บทประพันธ์ข้างต้นมี ความหมายว่าอย่างไร และผู้พูดกล่าวด้วยอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร ๓. “กณั ฑม์ ทั รเี ปน็ กณั ฑท์ มี่ สี า นวนโวหารรา พนั ที่ไพเราะนา่ ฟงั มาก” นกั เรยี นเหน็ ดว้ ยกบั คากล่าวนี้หรือไม่ จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบให้เห็นจริง ๔. คุณธรรมที่ปรากฏในเนื้อเรื่องมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี มีอะไรบ้าง จงอธิบาย โดยยกตัวอย่างประกอบ ๕. นักเรียนคิดว่ามหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี ให้แนวคิดด้านใดบ้าง และนักเรียน สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร กิจกรรมสร้างสรรค์พัฒนาการเรียนรู้ ๑. ให้นักเรียนแต่งบทประพันธ์ประเภทร่ายเพื่อเทิดพระคุณแม่ กาหนดความยาวตาม ความเหมาะสม ๒. ใหน้ กั เรยี นแบง่ กลมุ่ แสดงบทบาทสมมตเิ รอื่ งมหาเวสสนั ดรชาดกตอนท่ีนักเรียนสนใจ แล้วนาเสนอหน้าชั้นเรียน ๓. ให้นักเรียนศึกษาเรื่องมหาเวสสันดรชาดกในกัณฑ์อื่นๆ แล้วอภิปรายหน้าชั้นเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนๆ 41