ความด นโลห ต 127 71 ม ลล เมตรปรอท

ข้อมูลสุขภาพเบื้องต้นสามารถเช็กได้จากระดับความโลหิต โดยนอกจากเราจะทราบระดับความดันโลหิตจากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาลแล้ว เรายังสามารถหซื้อเครื่องตรวจความดันโลหิจมาใช้เองที่บ้านได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยทำงานไปจนถึงวัยสูงอายุ หากวัดความดันโลหิตเพื่อเช็กร่างกายของตัวเองอยู่เรื่อยๆ ก็จะช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตในทุกๆ วันได้ง่ายขึ้น

ที่เราเคยจำกันได้คร่าวๆ คือ ความดันโลหิตที่ต่ำกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท (120 คือตัวเลขด้านบน 80 คือ) คือความดันในระดับปกติ

หากค่าความดันโลหิตของคุณนั้นมากกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่น้อยกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท คุณอาจจะยังไม่โดนพยาบาลเตือนหนักมาก เพราะปกติแล้วความดันโลหิตในระดับนี้หมายความว่าคุณมีภาวะความดันโลหิตสูงเบื้องต้น (pre-hypertension) แต่หากได้มาดูข้อมูลอัปเดตจากสมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) วิทยาลัยแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา และสถาบันทางการแพทย์เพื่อสุขภาพอีกกว่า 9 แห่งในสหรัฐอเมริกา เราจะเห็นตัวเลขระดับความดันโลหิตใหม่ที่เราควรระมัดระวัง และให้ความสนใจกับความดันโลหิตของเราให้มากขึ้น

ระดับความดันโลหิตสูง-ต่ำ จากสมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกา (American Heart Association)

  • ความดันโลหิต ต่ำกว่า หรือเท่ากับ 120/80 มิลลิเมตรปรอท = ปกติ
  • ความดันโลหิต 120-129/ต่ำกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท = ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย
  • ความดันโลหิต 130-139/80-89 มิลลิเมตรปรอท = ความดันโลหิตสูงระดับ 1
  • ความดันโลหิต มากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท = ความดันโลหิตสูงระดับ 2
  • ความดันโลหิต มากกว่า 180/120 มิลลิเมตรปรอท = ความดันลหิตในระดับอันตราย ควรพบแพทย์ทันที

จากข้อมูลตัวเลขตามด้านบนจะเห็นว่า มีการขยับระดับความดันโลหิตสูงระยะ 1 จาก 140/90 เป็น 130/80 มิลลิเมตรปรอท ดังนั้นใครก็ตามที่เคยวัดความดันโลหิตอยู่ที่ 130/80 หรือมากกว่านี้เล็กน้อยเป็นประจำ จะได้รับการพิจารณาว่าเป็นโรค “ความดันโลหิตสูง ระดับ 1” ทันที และและนี่จะทำให้ผู้สูงอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไปกว่า 70-79% ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงทันที

ทำไมถึงเปลี่ยนระดับอันตรายของโรคความดันโลหิตสูง?

ความดันโลหิตเป็นภัยเงียบที่หลายคนละเลย และอาจไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร หลังจากนักวิจัยและทีมแพทย์ทำการศึกษามาเป็นเวลาหลายปีก็พบว่า การระมัดระวังไม่ให้ความดันโลหิตสูงขึ้นตั้งแต่ยังอยู่ในระดับไม่สูงมาก จะช่วยป้องกันโรคอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากความดันโลหิตได้มากกว่า รวดเร็วกว่า

หากเป็นความดันโลหิตสูง ควรทำอย่างไร?

คนที่มีอาการความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่เป็นคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ดังนั้นจึงควรลดน้ำหนัก ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้ยังควรพักผ่อนให้เพียงพอ ลดการรับประทานอาหารรสจัด โดยเฉพาะเค็มจัด ของหมักของดอง ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอในแต่ละวัน และลดความเครียดลง

เกร็ดความรู้ : เราไม่มีโรค “ความดันโลหิตต่ำ” เพราะอันที่จริงแล้วถึงแม้ว่าคุณจะมีความดัน 90/60 มิลลิเมตรปรอท แต่หากคุณไม่ได้มีอาการผิดปกติ ไม่ได้หน้ามืดเวียนศีรษะ ท้องเสียอย่างรุนแรง หรืออยู่ในระหว่างอาการขาดน้ำ ขาดเลือด สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณมีความดันต่ำ อาการหน้ามือ เวียนศีรษะบ่อยๆ อาจเกิดมาจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือขาดการออกกำลังกายมากกว่า

ค่าความดันโลหิตที่ถูกต้องนั้นควรเป็นค่าเฉลี่ยจากการวัดหลาย ๆ ครั้ง ไม่ใช่จากการวัดเพียงครั้งเดียว จึงจะมีความถูกต้องแม่นยํา

ค่าความดันโลหิต

  • ค่าความดันโลหิตที่ปกติ คือ
    • ค่าซิสโตลิก (ค่าตัวบน) อยู่ระหว่าง 90-120 มม. ปรอท
    • ค่าไดแอสโตลิก (ค่าตัวล่าง) อยู่ระหว่าง 60-80 มม. ปรอท

การรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีประวัติความดันโลหิตสูง การรักษาน้ำหนักตัวตามเกณฑ์และการดูแลสุขภาพสามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้

  • ค่าความดันโลหิตสูงเล็กน้อย คือ
    • ค่าซิสโตลิก (ค่าตัวบน) อยู่ระหว่าง 120-129 มม. ปรอท
    • ค่าไดแอสโตลิก (ค่าตัวล่าง) อยู่ที่ 80 มม. ปรอท

โดยผู้ที่มีค่าความดันโลหิตค่อนข้างสูงยังไม่จําเป็นต้องรับประทานยา อย่างไรก็ตามนี่ถือสัญญาณเตือนว่าจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต และเริ่มสุขนิสัยที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ เช่น การรับประทานอาหารสุขภาพและออกกําลังกายอย่างเป็นประจํา

  • ค่าความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 คือ
    • ค่าซิสโตลิก (ค่าตัวบน) อยู่ระหว่าง 130 - 139 มม. ปรอท
    • ค่าไดแอสโตลิก (ค่าตัวล่าง) อยู่ระหว่าง 80 -89 มม. ปรอท

การวัดแล้วพบว่ามีค่าความดันโลหิตสูงระดับที่ 1 เพียงครั้งเดียว ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่าจะมีภาวะความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 เสมอไป โดยค่าที่ควรนำมาพิจารณานั้นควรเป็นค่าเฉลี่ยของการวัดความดันโลหิตและติดตามผลจากการวัดหลาย ๆ ครั้ง

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ แพทย์จะแนะนําให้เริ่มปรับเปลี่ยนสุขนิสัยและนัดติดตามผลภายใน 3-6 เดือน

ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป แพทย์จะทำการพูดคุยเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม โดยพบว่าภาวะสมองเสื่อมและปัญหาด้านความทรงจําในผู้สูงอายุมักดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาโรคความดันโลหิตสูง

  • ค่าความดันโลหิตสูงระดับที่ 2 ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่รุนแรง โดยจะมีค่าดังต่อไปนี้
    • ค่าซิสโตลิก (ค่าตัวบน) สูงกว่า 140 มม. ปรอท และ
    • ค่าไดแอสโตลิก (ค่าตัวล่าง) สูงกว่า 90 มม. ปรอทขึ้นไป

แพทย์จะให้รับประทานยาหนึ่งชนิดหรือมากกว่าเพื่อควบคุมความดันโลหิต อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตให้มีสุขนิสัยที่ดีก็ยังเป็นเรื่องจำเป็น

  • ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต

ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤตเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีค่าความดันโลหิตสูงกว่า 180/120 มม. ปรอท อาจเป็นไปได้ว่าค่าที่สูงนิ้อาจเป็นค่าเพียงชั่วคราวและความดันโลหิตอาจกลับเป็นปกติในภายหลัง จึงควรทำการวัดค่าความโลหิตอีกเป็นครั้งที่ 2 หลังผ่านไป 2-3 นาทีเพื่อยืนยันค่าที่แท้จริง ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤตเป็นข้อบ่งชี้ของภาวะสุขภาพที่ร้ายแรง ซึ่งต้องได้รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน

โดยผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหัว เจ็บหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย การมองเห็นเปลี่ยนไป มีเลือดปนในปัสสาวะ สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าหรือเป็นอัมพาต

การรักษา

แพทย์จะทำการพิจารณาค่าความดันโลหิต การใช้ชีวิต และดูว่าผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ด้วยหรือไม่ เพื่อทำการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

  • ภาวะค่าความดันโลหิตค่อนข้างสูง

    ผู้ป่วยยังไม่ต้องรับประทานยา เป้าหมายหลักของการรักษาคือการปรับเปลี่ยนกิจกรรมประจําวันเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยจะได้รับการแนะนําให้

    • รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะมากขึ้น
    • ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • ลดน้ำหนักหากน้ำหนักตัวเกินมาตราฐานหรือเป็นโรคอ้วน
  • ค่าความดันโลหิตสูงระดับที่ 1

    ผู้ป่วยควรจะ

    • บริโภคเกลือหรือโซเดียมให้น้อยลง
    • จัดการความเครียด
    • รับประทานยาหากค่าความดันโลหิตยังคงไม่ดีขึ้นหลังจากการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตเป็นเวลา 1 เดือน
  • ค่าความดันโลหิตสูงระดับที่ 2

    ผู้ป่วยจะต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตให้ถูกสุขลักษณะ พร้อมกับรับประทานยาอย่างน้อยหนึ่งชนิดเพื่อลดความดันโลหิต

    • ยา ACE inhibitors หรือยา ARB เพื่อยับยั้งสารที่ทําให้หลอดเลือดหดตัวแคบลง
    • ยาต้านอัลฟ่า (Alpha blockers) เพื่อขยายและคลายหลอดเลือดแดง
    • ยาต้านเบต้า (Beta-blockers) เพื่อชะลออัตราการเต้นของหัวใจ
    • ยา Calcium channel blockers เพื่อป้องกันไม่ให้แคลเซียมเข้าสู่หลอดเลือดหัวใจ ทำให้หลอดเลือดขยายตัว
    • ยาขับปัสสาวะเพื่อลดปริมาณน้ำในหลอดเลือดดําและหลอดเลือดแดง
  • ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต จําเป็นต้องได้รับการรักษาโดยทันที เช่น รับประทานยาหรือให้ยาทางหลอดเลือดดำ

การป้องกัน ภาวะความดันโลหิตที่ไม่ปกติ

การรักษาค่าความดันโลหิตให้เป็นปกติเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ของโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ ผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี ค่าความดันซิสโตลิกมักจะสูงขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ มากขึ้น

เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง สามารถปฏิบัติตามมาตรการป้องกันได้ดังนี้

  • ผู้ที่มีสุขภาพดีเป็นปกติควรบริโภคโซเดียมน้อยกว่า 2,300 มิลลิกรัม (มก.) ต่อวัน และผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงควรบริโภคโซเดียม น้อยกว่า 1,500 มก. ต่อวัน หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปที่มีโซเดียมสูงและอย่าเหยาะเกลือหรือน้ำปลาเพิ่ม
  • ออกกําลังกายเป็นเวลา 20-30 นาทีทุกวัน
  • รักษาน้ำหนักตัวตามเกณฑ์ การลดน้ำหนักตัวลง 2-5 กิโลกรัมสามารถช่วยทำให้ความดันโลหิตดีขึ้นได้
  • บริโภคคาเฟอีนให้น้อยลง เนื่องจากคาเฟอีนนั้นมีผลต่อความดันโลหิต
  • จัดการความเครียด โดยการเล่นโยคะ นั่งสมาธิ หรือฝึกการหายใจ
  • เลิกสูบบุหรี่
  • จํากัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ภาวะความดันเลือดต่ำ

ภาวะความดันโลหิตต่ำเกิดขึ้นเมื่อค่าความดันโลหิตอยู่ที่ 90/60 มม. ปรอทหรือน้อยกว่าและมีอาการของความดันโลหิตต่ำ นั่นหมายความว่าร่างกายและหัวใจอาจไม่ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะได้