1000 ม ลล เมตร เท าก บ เซนต เมตร

ปริมาตร หมายถึง ปริมาณของปริภูมิหรือรูปทรงสามมิติ ซึ่งยึดถือหรือบรรจุอยู่ในภาชนะไม่ว่าจะสถานะใด ๆ ก็ตาม บ่อยครั้งที่ปริมาตรระบุปริมาณเป็นตัวเลขโดยใช้หน่วยกำกับ เช่นลูกบาศก์เมตรซึ่งเป็นหน่วยอนุพันธ์เอสไอ นอกจากนี้ยังเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า ปริมาตรของภาชนะคือ ความจุ ของภาชนะ เช่นปริมาณของของไหล (ของเหลวหรือแก๊ส) ที่ภาชนะนั้นสามารถบรรจุได้ มากกว่าจะหมายถึงปริมาณเนื้อวัสดุของภาชนะ

Show

รูปทรงสามมิติทางคณิตศาสตร์มักถูกกำหนดปริมาตรขึ้นด้วยพร้อมกัน ปริมาตรของรูปทรงอย่างง่ายบางชนิด เช่นมีด้านยาวเท่ากัน สันขอบตรง และรูปร่างกลมเป็นต้น สามารถคำนวณได้ง่ายโดยใช้สูตรต่าง ๆ ทางเรขาคณิต ส่วนปริมาตรของรูปทรงที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นสามารถคำนวณได้ด้วยแคลคูลัสเชิงปริพันธ์ถ้าทราบสูตรสำหรับขอบเขตของรูปทรงนั้น รูปร่างหนึ่งมิติ (เช่นเส้นตรง) และรูปร่างสองมิติ (เช่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส) ถูกกำหนดให้มีปริมาตรเป็นศูนย์ในปริภูมิสามมิติ

ปริมาตรของของแข็ง (ไม่ว่าจะมีรูปทรงปกติหรือไม่ปกติ) สามารถตรวจวัดได้ด้วยการแทนที่ของไหล และการแทนที่ของเหลวสามารถใช้ตรวจวัดปริมาตรของแก๊สได้อีกด้วย ปริมาตรรวมของวัสดุสองชนิดโดยปกติจะมากกว่าปริมาตรของวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่ง เว้นแต่เมื่อวัสดุหนึ่งละลายในอีกวัสดุหนึ่งแล้ว ปริมาตรรวมจะไม่เป็นไปตามหลักการบวก

ในเรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ ปริมาตรถูกอธิบายด้วยความหมายของรูปแบบปริมาตร (volume form) และเป็นตัวยืนยงแบบไรมันน์ (Riemann invariant) ที่สำคัญโดยรวม ในอุณหพลศาสตร์ ปริมาตรคือตัวแปรเสริม (parameter) ชนิดพื้นฐาน และเป็นตัวแปรควบคู่ (conjugate variable) กับความดัน

หน่วยวัด[แก้]

1000 ม ลล เมตร เท าก บ เซนต เมตร
หน่วยวัดปริมาตรตามตำรา The New Student's Reference Work การแปลงหน่วยเป็นมิลลิลิตรโดยประมาณ อังกฤษ สหรัฐฯ ของเหลว สหรัฐฯ ของแห้ง กิลล์ 142 มล. 118 มล. 138 มล. ไพนต์ 568 มล. 473 มล. 551 มล. ควอร์ต 1137 มล. 946 มล. 1101 มล. แกลลอน 4546 มล. 3785 มล. 4405 มล.

หน่วยวัดปริมาตรใช้แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับหน่วยวัดความยาว โดยเติมคำว่า ลูกบาศก์ นำหน้าหน่วยความยาวที่ใช้วัดขนาดในสามมิติทั้งความกว้าง ความยาว ความสูง ในหน่วยเดียวกัน เมื่อเขียนเป็นอักษรย่อจะเติม ลบ. นำหน้าหรือกำกับด้วย ยกกำลังสาม อย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น วัตถุทรงลูกบาศก์ชิ้นหนึ่งมีทุกด้านยาวหนึ่งเซนติเมตร (ซม., cm) จะมีปริมาตรเท่ากับหนึ่งลูกบาศก์เซนติเมตร (ลบ.ซม., ซม.3, cm3)

ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศกำหนดให้หน่วยวัดปริมาตรมาตรฐานคือหน่วยลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม., ม.3, m3) ระบบเมตริกก็มีหน่วยลิตร (ล., L) เป็นหน่วยวัดปริมาตรอีกด้วย ซึ่งเท่ากับปริมาตรของทรงลูกบาศก์ขนาดสิบเซนติเมตร จึงสัมพันธ์กับหน่วยลูกบาศก์เมตรเช่นกัน นั่นคือ

1 ลิตร = (10 เซนติเมตร)3 = 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 0.001 ลูกบาศก์เมตร

ดังนั้น

1 ลูกบาศก์เมตร = 1000 ลิตร

บ่อยครั้งที่ปริมาณของเหลวจำนวนเล็กน้อยถูกวัดในหน่วยมิลลิลิตร นั่นคือ

1 มิลลิลิตร = 0.001 ลิตร = 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร

หน่วยวัดปริมาตรแบบดั้งเดิมอื่น ๆ ที่มีหลากหลายก็เป็นที่นิยมเช่นกัน เช่น ลูกบาศก์นิ้ว ลูกบาศก์ฟุต ลูกบาศก์ไมล์ ช้อนชา ช้อนโต๊ะ ถ้วยตวง ออนซ์ แดรม กิลล์ ไพนต์ ควอร์ต แกลลอน มินิม บาร์เรล คอร์ด เพก บุเชิล ฮอกสเฮด ฯลฯ ส่วนหน่วยวัดไทยดั้งเดิมก็มีอย่างเช่น ถัง 20 ลิตร บั้น เกวียน เป็นต้น

คำที่เกี่ยวข้อง[แก้]

ความหนาแน่นของวัตถุนิยามจากมวลต่อปริมาตรหนึ่งหน่วย ส่วนกลับของความหนาแน่นคือปริมาตรจำเพาะซึ่งนิยามจากปริมาตรหารด้วยมวล

ปริมาตรกับความจุบางครั้งมีความหมายแตกต่างกัน ความจุใช้อธิบายความมากน้อยที่ภาชนะสามารถบรรจุวัตถุอื่นได้ ส่วนปริมาตรใช้อธิบายความมากน้อยในปริภูมิสามมิติที่วัตถุนั้นยึดถืออยู่

ปริมาตรกับความจุก็ยังมีความหมายแตกต่างกันในเรื่องการจัดการความจุ ซึ่งความจุนิยามจากปริมาตรที่มีอยู่ในช่วงเวลาที่ระบุ

การเรียนเรื่องการวัดนั้นจะช่วยให้เราสามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างดี น้อง ๆ จะสามารถนำเรื่องการวัดไปใช้การหาพื้นที่และพื้นที่ผิวได้

ความเป็นมาของการวัด คือ

การวัด คือ กระบวนการเปรียบเทียบระหว่างปริมาณของค่าที่ต้องการวัด (measure value) และค่าอ้างอิง (reference value) ที่กำหนดไว้ ผลลัพธ์ (result value) ที่ได้จากการเปรียบเทียบ (comparison) คือ ปริมาณของตัวแปร ที่แท้จริง

วิวัฒนาการการวัด และ เครื่องมือในการวัด

ในอดีตที่ผ่านมานั้น การวัดสิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์ตั้งแต่ยุคกรีกโบราณนั้นยังไม่มีหน่วยการวัดที่ชัดเจน ทำให้มนุษย์ต้องบอกกล่าวระยะต่าง ๆ เป็นการกะประมาณเอาจากสิ่งในธรรมชาติ เช่น ประมาณคุ้งน้ำ ต่อมาเริ่มใช้การบอกปริมาณผ่านร่างกายของมนุษย์ เช่น ใช้การบอกเป็นคืบ เป็นศอก เป็นวา เป็นนิ้ว แต่แน่นอนว่าร่างกายมนุษย์แต่ละคนก็ไม่ได้เท่ากันทุกคน ดังนั้นจึงมีการพัฒนาการวัดและเครื่องมือการวัดต่อมา

โดยมีเป็นระบบการวัด ได้แก่

ระบบอังกฤษ ตัวอย่าง เช่น นิ้ว ไมล์ หลา เป็นต้น ระบบเมตริก ตัวอย่าง เช่น เซนติเมตร เมตร กิโลเมตร เป็นต้น

หน่วยการวัดความยาว

หน่วยวัดความยาวในระบบเมตริก 1 เซนติเมตร เท่ากับ 10 มิลลิเมตร 1 เมตร เท่ากับ 100 เซนติเมตร 1 กิโลเมตร เท่ากับ 1000 เมตร หน่วยวัดความยาวในระบบอังกฤษ 1 ฟุต เท่ากับ 12 นิ้ว 1 หลา เท่ากับ 3 ฟุต 1 ไมล์ เท่ากับ 1760 หลา หน่วยวัดความยาวในมาตราไทย 1 คืบ เท่ากับ 12 นิ้ว 1 ศอก เท่ากับ 2 คืบ 1 เมตร เท่ากับ 2 ศอก 1 วา เท่ากับ 2 เมตร 1 วา เท่ากับ 4 ศอก 1 เส้น เท่ากับ 20 วา 1 โยชน์ เท่ากับ 400 เส้น

หน่วยการวัดพื้นที่

หน่วยวัดพื้นที่ในระบบเมตริก 1 ตารางเซนติเมตร เท่ากับ 100 ตารางมิลลิเมตร 1 ตารางเมตร เท่ากับ 10000 ตารางเซนติเมตร 1 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ 1000000 ตารางเมตร หน่วยวัดพื้นที่ในระบบอังกฤษ 1 ตารางฟุต เท่ากับ 144 ตารางนิ้ว 1 ตารางหลา เท่ากับ 9 ตารางฟุต 1 เอเคอร์ เท่ากับ 4840 ตารางหลา 1 ตารางไมล์ เท่ากับ 640 เอเคอร์ หน่วยการวัดพื้นที่ในมาตราไทย 1 งาน เท่ากับ 100 ตารางวา 1 ไร่ เท่ากับ 4 งาน 1 ไร่ เท่ากับ 400 ตารางวา 1 ไร่ เท่ากับ 1600 ตารางเมตร

หน่วยการวัดปริมาตรน้ำหนัก

หน่วยการวัดปริมาตรในระบบเมตริก 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร เท่ากับ 1000 ลูกบาศก์มิลลิเมตร 1 ลูกบาศก์เมตร เท่ากับ 1 ล้านลูกบาศก์เซนติเมตร 1 ลิตร เท่ากับ 1000 ลูกบาศก์มิลลิเมตร 1 ลูกบาศก์เมตร เท่ากับ 1000 ลิตร หน่วยการวัดปริมาตรในระบบอังกฤษ 1 ช้อนชา เท่ากับ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร 1 ช้อนโต๊ะ เท่ากับ 3 ช้อนชา 1 ถ้วยตวง เท่ากับ 16 ช้อนโต๊ะ 1 ถ้วยตวง เท่ากับ 8 ออนซ์ หน่วยการวัดน้ำหนักในระบบเมตริก 1 กรัม เท่ากับ 1000 มิลลิกรัม 1 กิโลกรัม เท่ากับ 1000 กรัม 1 ตัน เท่ากับ 1000 กิโลกรัม 1 กิโลกรัม เท่ากับ 2.2 046 ปอนด์ หน่วยเปรียบเทียบ 1 ถัง เท่ากับ 15 กิโลกรัมเท่ากับ 20 ลิตร 1 เกวียน เท่ากับ 100 ถัง 1 กระสอบ เท่ากับ 100 กิโลกรัม

การวัดเวลา

1 วัน เท่ากับ 24 ชั่วโมง 1 ชั่วโมง เท่ากับ 60 นาที 1 นาที เท่ากับ 60 วินาที

หน่วยการวัดสากลมีอะไรบ้าง

ในปี พ.ศ. 2503 องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ได้กำหนดระบบการวัดขึ้นมาใหม่ เรียกว่า ระบบหน่วยระหว่างประเทศหรือเรียกย่อ ๆ ว่าหน่วย SI เพื่อใช้ในการวัดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหน่วย SI ได้กำหนดหน่วยรากฐานที่ใช้วัดปริมาณมูลฐาน 7 หน่วยคือ

  • เมตร (m) เป็นหน่วยที่ใช้วัดความยาว
  • กิโลกรัม (kg) เป็นหน่วยที่ใช้วัดมวล
  • วินาที (s) เป็นหน่วยที่ใช้วัดเวลา
  • แอมแปร์ (A) เป็นหน่วยที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้า
  • เคลวิน (K) เป็นหน่วยที่ใช้วัดอุณหภูมิ
  • แคนเดลา (d) เป็นหน่วยที่ใช้วัดความเข้มของการส่องสว่าง
  • โมล (mol) เป็นหน่วยที่ใช้วัดปริมาตรของสาร

หน่วยการวัดของไทยมีอะไรบ้าง

มาตรไทยระบบเมตริก1 ตารางวา4 ตารางเมตร1 งาน (100 ตารางวา)400 ตารางเมตร1 ไร่ (4 งาน)1600 ตารางเมตร1 บาท15.16 กรัม1 ตำลึง (4 บาท)60 กรัม1 ชั่ง (20 ตำลึง)1.2 กิโลกรัม1 หาบ (50 ชั่ง)60 กิโลกรัม1 นิ้ว2 เซ็นติเมตร1 คืบ (12 นิ้ว)25 เซ็นติเมตร1 ศอก (2 คืบ)50 เซ็นติเมตร1 วา (4 ศอก)2 เมตร1 เส้น (20 วา)40 เมตร1 โยชน์ (400 เส้น)16 กิโลเมตร1 เกวียน2,000 ลิตร1 บั้น1,000 ลิตร (2 บั้น=1 เกวียน)1 ถัง20 ลิตร (50 ถัง=1 บั้น)1 ทะนาน1 ลิตร (20 ทะนาน=1 ถัง)

ค่าประมาณจากการวัด

สัญลักษณ์ “( รอใส่สัญลักษณ์ค่าประมาณ) ” แทนคำว่า มีค่าประมาณ

  1. การวัดโดยประมาณเป็นจำนวนเต็มที่ใกล้เคียงที่สุด

<รูปประกอบ รูปที่ 1 >

AB = 3.5 จะได้ว่า AB = 4

3.5 < CD < 4 จะได้ว่า CD = 4

4 < EF < 4.5 จะได้ว่า EF = 4

ข้อสังเกต แต่ถ้า AB = 3.4 จะได้ AB = 3

และถ้า AB = 4.5 หรือ AB = 4.6 เป็นต้น จะได้ AB = 5


  1. การวัดโดยประมาณให้ถึงทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่ง
    1000 ม ลล เมตร เท าก บ เซนต เมตร

การปัดเศษ

การปัดเศษถือว่าเป็นการประมาณปริมาณที่กำหนดให้

  1. การปัดเศษเมื่อประมาณเป็นจำนวนเต็ม

มีหลักการดังนี้

1.ปัดเศษเป็นจํานวนเต็มสิบต้องดูที่หลักหน่วยตัวเลขโดดหลักหน่วยตั้งแต่ 5 ขึ้นไปปัดเศษขึ้นอีก 10 แต่ถ้าไม่ถึงห้าตัดทิ้งให้ถือว่าตัวเลขโดดหลักหน่วยเป็น 0

2.ปัดเศษเป็นจํานวนเต็มร้อยต้องดูที่หลักสิบตัวเลขโดดในหลักสิบตั้งแต่ 5 ขึ้นไปปัดเศษขึ้นอีก 100 แต่ถ้าไม่ถึงห้าตัดทิ้งให้ถือว่าตัวเลขโดดหลักสิบและหลักหน่วยเป็นศูนย์

3.ปัดเศษเป็นจํานวนเต็มพันต้องดูที่หลักร้อยตัวเลขโดดในหลักร้อยตั้งแต่ 5 ขึ้นไปประสิทธิ์ขึ้นเป็นอีก 1,000 บาทแต่ถ้าไม่ถึง 5 ตัดทิ้งให้ถือว่าตัวเลขโดดหลักร้อยหลักสิบหลักหน่วยเป็น 0 ทั้งหมดเป็นต้น

ข้อสังเกต การปัดเศษเมื่อประมาณเป็นจำนวนเต็มต้องการปัดเศษเป็นจํานวนเต็มใดต้องดูตัวเลขโดดก่อนหน้าของหลักที่ติดกันถ้าเป็นเลขโดดตั้งแต่ 5 ขึ้นไปจะต้องปัดขึ้นแต่ถ้าไม่ถึง 5 จะปัดทิ้ง

ตัวอย่าง จงปัดเศษ 3 5467 เป็นจํานวนเต็มสิบจำนวนเต็มร้อยจำนวนเต็มพันและจำนวนเต็มหมื่น

วิธีทำ 3 5 4 6 7 ปัดเศษเป็นจํานวนเต็มสิบคือ 3 5 4 7 0 3 5 4 6 7 ปัดเศษเป็นจํานวนเต็มร้อยคือ 35500 3 5 4 6 7 ปัดเศษเป็นจํานวนเต็มพัน คือ 35000 3 5 4 6 7 ปัดเศษเป็นจํานวนเต็มหมื่น คือ 40000

2. การปัดเศษเมื่อปริมาณเป็นทศนิยม

ก็ใช้หลักการเดียวกันกับการปัดเศษเมื่อปริมาณเป็นจำนวนเต็ม

ตัวอย่าง จงปัดเศษ 16.435 , 16.534 , 16.555 , 16.454 , 16.465 ให้เป็นจำนวนเต็ม ทศนิยม 1 ตำแหน่ง และทศนิยม 2 ตำแหน่ง

ปัดเศษให้เป็นจำนวนเต็มปัดเศษให้เป็นทศนิยม 1 ตำแหน่งปัดเศษให้เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง16.4351616.416.4416.5431716.516.53 16.5551716.616.5616.4541616.516.4516.4651616.516.47

การประมาณค่า

การประมาณค่าเป็นการนำค่าที่ได้จากการประมาณมาคำนวณต่อไปเพื่อให้การคำนวณได้รวดเร็วเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวอย่างที่ 1 วิทยุเครื่องหนึ่งติดราคาไว้ 3,120 บาท ลดให้ 10% คิดส่วนลดได้ประมาณเท่าไร

วิธีทำ วิทยุเครื่องหนึ่งติดราคาไว้ 3120 บาท ประมาณ 3000 บาท ลดให้ 10% ดังนั้น ลดให้ประมาณ 10/100 x 3000 = 300 บาท ดังนั้น ลดให้ประมาณ 300 บาท


สูตรการหาพื้นที่

พื้นที่วงกลม = r2 เส้นรอบรูป = 2rพื้นที่สามเหลี่ยมใด ๆ = ½ x ฐาน x สูงพื้นที่สามเหลี่ยมด้านเท่า = 34 x (ด้าน)2พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า = กว้าง x ยาวพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัส = ด้าน x ด้านพื้นที่สี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความยาวรอบฐาน x สูงพื้นที่สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความยาวรอบฐาน x สูงพื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมู = ½ x ผลบวกของด้านคู่ขนาน x สูง

( รอเปลี่ยนพายอาร์ root )

โจทย์แบบฝึกหัดการวัด

  1. เอกกลิ้งถังน้ำมันซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 140 cm ไปตามถนนจำนวน 100 รอบจงหาระยะทางที่กลิ้งไปได้ไกลที่สุดกี่เมตร
  2. 1.4 เมตร
  3. 2.6 เมตร
  4. 3.2 เมตร
  5. 4.4 เมตร

เฉลย (4) 4.4 เมตร


2. พีระมิดฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีฐานยาวด้านละ 6 cm สันยาว 5 เซนติเมตรจะมีพื้นที่ผิวเท่าใด

  1. 30 ตารางเซนติเมตร
  2. 64 ตารางเซนติเมตร
  3. 84 ตารางเซนติเมตร
  4. 108 ตารางเซนติเมตร

เฉลย (3) 84 ตารางเซนติเมตร


3. พื้นที่ผิวของทรงกระบอกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 14 เซนติเมตรและมีความสูง 10 เซนติเมตรมีค่าเป็นเท่าใด

  1. 2112 ตารางเซนติเมตร
  2. 880 ตารางเซนติเมตร
  3. 748 ตารางเซนติเมตร
  4. 440 ตารางเซนติเมตร

เฉลย (3) 748 ตารางเซนติเมตร


4. ลูกบอลพลาสติกลูกหนึ่งเมื่อเป่าลมแล้วมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 42 cm ผิวโค้งพลาสติกมี 4 สีสลับกันรวมทั้งหมด 12 แถบคิดเป็นพื้นที่เท่าๆกันอยากทราบว่าแต่ละแถบมีพื้นที่กี่ตารางเซนติเมตร

  1. 1848
  2. 1223
  3. 924
  4. 462

เฉลย (4) 462


5. ต้องการทาสีวงกลมลงบนแผ่นป้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาว 16 นิ้วโดยวงกลมที่ระบายรัศมีนอก 5 นิ้วและหนา 3 นิ้วบริเวณที่ไม่ระบายสีมณีมีเนื้อที่เท่าใด

  1. 256 ตารางนิ้ว
  2. 190 ตารางนิ้ว
  3. 66 ตารางนิ้ว
  4. 33 ตารางนิ้ว

เฉลย (2) 190 ตารางนิ้ว


6. วงกลมวงหนึ่งมีรัศมียาว 3 นิ้วสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ใหญ่ที่สุดที่บรรจุอยู่ในวงกลมวงนี้จะมีพื้นที่เท่าใด

  1. 12 ตารางนิ้ว
  2. 14 ตารางนิ้ว
  3. 16 ตารางนิ้ว
  4. 18 ตารางนิ้ว

เฉลย (4) 18 ตารางนิ้ว


7. พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปหนึ่งมีค่าเท่ากับ 30 ตารางนิ้วและมีความยาวรอบรูปเท่ากับ 22 นิ้วสี่เหลี่ยมรูปนี้กว้างและยาวเท่าใด

  1. 5 และ 6
  2. 6 และ 7
  3. 7 และ 8
  4. 8 และ 9

เฉลย (1) 5 และ 6


8. รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีด้านยาวเท่ากับ 63 เมตรมีเส้นทแยงมุมยาว 87 เมตรอยากทราบว่าพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปนี้มีกี่ตารางเมตร

  1. 3700
  2. 3720
  3. 3740
  4. 3780

เฉลย (4) 3780


9. ลวดทองแดงมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.1 เซนติเมตรรอบกระป๋องซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 เซนติเมตรสูง 15 เซนติเมตรโดยรอบจะต้องใช้ลวดยาวเท่าไหร่

  1. 150 เซนติเมตร
  2. 1500 เซนติเมตร
  3. 750 เซนติเมตร
  4. 7500 เซนติเมตร

เฉลย (2) 1500 เซนติเมตร

( รอเปลี่ยนพายอาร์ )


10. วงกลมวงหนึ่งมีพื้นที่ 18 ตารางหน่วยถ้านำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบรรจุอยู่ในวงกลมนี้ได้พอดีผลรวมของเส้นรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสนี้มีค่าเท่ากับเท่าใด

  1. 3 หน่วย
  2. 6 หน่วย
  3. 12 หน่วย
  4. 24 หน่วย

เฉลย (4) 24 หน่วย


คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

หน่วยการวัดมีอะไรบ้าง

เซนติเมตร / คืบ / วา / ศอก / เมตร / หลา / ไมล์ / ฟุต เป็นต้น

ทำไมเราต้องประมาณการวัด

เพื่อให้สะดวกต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

หลังจากเรื่องการวัดแล้วนั้น น้อง ๆ สามารถนำเอาองค์ความรู้นี้ไปปรับใช้กับการวัดในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้การประมาณค่าตัวเลขยังมีประโยชน์มาก ไม่ว่าจะเรื่องราคาสินค้า เรื่องเกรด หรือแม้กระทั่งการแก้โจทย์ปัญหาที่ตัวเลขไม่ลงตัว การที่รู้จักกับการประมาณค่าสามารถทำให้การคำนวณนั้นเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น