ทานยาฆ าเช อ cephalexin 500 พร อมยาค ม

ยานี้เป็นยาปฏิชีวนะ โดยปกติแล้วจะทานต่อเนื่อง7-10วัน หรือระยะเวลาตามหน้าซองที่ระบุ แต่เพื่อความปลอดภัยแนะนำให้กลับไปปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรที่จ่ายยานี้ให้ดีกว่าค่ะ เพราะร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน


ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669

ผู้ที่แพ้ยา amoxicillin จะไม่ใช้ยาอื่นที่มีโครงสร้างคล้ายกัน (เช่น ยาในกลุ่ม penicillins, cephalosporins, carbapenems) โดยทั่วไปการใช้ยา amoxicillin 500 mg นั้นมักจะใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินหายใจ ในกรณีติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจสามารถใช้ยาตัวอื่นที่เป็นทางเลือกได้ ได้แก่ erythromicin, azithromycin แต่อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ยาด้วยตัวเองเป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ ขอแนะนำว่าให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งที่เข้ารับการรักษาว่าท่านแพ้ยานี้ เพื่อที่จะได้ปรับเปลี่ยนชนิดยาและการรักษาให้เหมาะสมกับท่าน Keywords: amoxicillin, allergy, penicillins, cephalosporins, carbapenems, erythromicin, azithromycin

Reference: 1. MICROMEDEX 2.0® [Database on the internet]: Truven Health Analytics; 2015. Micromedex®, Amoxicillin. Available from: http://www.micromedexsolutions.com 2. Medscape Pharmacists [Internet]. New York: WebMD; c1994-2015. Available from: http://emedicine.medscape.com/article/302460-medication.

Keywords: -

“ยาฆ่าเชื้อ” ในที่นี้ เป็นคำที่ประชาชนมักใช้เรียกยาต้านจุลชีพกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียซึ่งใช้กันมากในการรักษาอาการเจ็บคอและแผลติดเชื้อ ส่วนยาเม็ดคุมกำเนิดที่ใช้กันมากเป็นชนิดฮอร์โมนรวม ในแต่ละเม็ดมีตัวยาสำคัญเป็นฮอร์โมนในกลุ่มเอสโตรเจนผสมกับฮอร์โมนในกลุ่มโพรเจสติน บรรจุเป็นแผง รับประทานสม่ำเสมอต่อเนื่องทุกวันจนหมดแผง การเกิดปฏิกิริยาระหว่าง “ยาฆ่าเชื้อ” กับยาเม็ดคุมกำเนิดไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการกล่าวถึงกันมามานาน โดยเป็นที่กังวลว่าหากรับประทาน “ยาฆ่าเชื้อ” ร่วมกับยาเม็ดคุมกำเนิดอาจเกิดปฏิกิริยากัน ทำให้ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดลดลงจนเกิดการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามจากข้อมูลที่มีอยู่ขณะนี้มียาบางชนิดเท่านั้นที่ลดประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิด ในบทความนี้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงยาฮอร์โมนในร่างกาย เพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการเกิดปฏิกิริยาระหว่าง “ยาฆ่าเชื้อ” ที่เป็นยาต้านแบคทีเรียกับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม พร้อมทั้งยกตัวอย่าง “ยาฆ่าเชื้อ” ที่อาจมีผลหรือไม่มีผลลดประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิดตามข้อมูลทางวิชาการที่มีอยู่ และข้อแนะนำหากต้องรับประทาน “ยาฆ่าเชื้อ” ร่วมกับยาเม็ดคุมกำเนิด

ทานยาฆ าเช อ cephalexin 500 พร อมยาค ม

ภาพจาก : https://ichef.bbci.co.uk/news/720/cpsprodpb/E939/production/_102850795_gettyimages-629430743.jpg

ยาฮอร์โมนใน “ยาเม็ดคุมกำเนิด”

“ยาเม็ดคุมกำเนิด” ที่กล่าวถึงกันทั่วไปและใช้กันมากเป็นชนิดแผงที่รับประทานสม่ำเสมอวันละ 1 เม็ดต่อเนื่องทุกวันจนหมดแผง ในแต่ละเม็ดมีตัวยาสำคัญเป็นฮอร์โมนในกลุ่มเอสโตรเจน (estrogens) ผสมกับฮอร์โมนในกลุ่มโพรเจสติน (progestins) ซึ่งโพรเจสตินเป็นสารสังเคราะห์ที่มีฤทธิ์เลียนแบบฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน (progesterone) ในร่างกาย ฮอร์โมนในกลุ่มเอสโตรเจนที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นเอทินิลเอสทราไดออล (ethinylestradiol หรือ ethinyl estradiol) ส่วนเมสทรานอล (mestranol) และเอสทราไดออล (estradiol) ซึ่งอาจอยู่ในรูปเอสทราไดออลวาเลอเรต (estradiol valerate) นั้นมีใช้น้อยกว่า เมสทรานอลไม่มีฤทธิ์ในการคุมกำเนิดแต่ถูกเปลี่ยนเป็นเอทินิลเอสทราไดออลได้ที่ตับ ในอดีตปริมาณเอทินิลเอสทราไดออลในยาเม็ดคุมกำเนิดมีค่อนข้างสูง ทำให้มีผลไม่พึงประสงค์มาก ปัจจุบันมีไม่เกิน 35 ไมโครกรัม บางตำรับอาจมีเพียง 15-20 ไมโครกรัมเท่านั้น ส่วนฮอร์โมนในกลุ่มโพรเจสตินที่มีในยาเม็ดคุมกำเนิดมีหลายชนิด เช่น เลโวนอร์เจสเทรล (levonorgestrel), นอร์เอทิสเทอโรน (norethisterone), เจสโตดีน (gestodene), เดโซเจสเทรล (desogestrel), ไซโพรเทอโรนแอซีเทต (cyproterone acetate) ดูข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม

ยาฮอร์โมนใน “ยาเม็ดคุมกำเนิด” มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในร่างกาย

เมื่อรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ตัวยาฮอร์โมนจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ยาแสดงฤทธิ์หลายอย่างในการป้องกันการตั้งครรภ์ ที่สำคัญคือยับยั้งการตกไข่ ยาฮอร์โมนเปลี่ยนเป็นสารอื่นได้ที่ลำไส้และตับ กรณีที่เป็นเอทินิลเอสทราไดออล (เป็นเอสโตรเจนชนิดที่ใช้มากในยาเม็ดคุมกำเนิด) ส่วนใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ตับผ่านกระบวนการไฮดร็อกซีเลชัน (hydroxylation) โดยเอนไซม์ไซโทโครม P450 3A4 (หรือ CYP3A4) สารที่เกิดขึ้นถูกเปลี่ยนแปลงต่อไปด้วยกระบวนการคอนจูเกชัน (conjugation) เกิดเป็นเอทินิลเอสทราไดออลซัลเฟต (ethinylestradiol sulfate) และเอทินิลเอสทราไดออลกลูคูโรไนด์ (ethinylestradiol glucuronide) ซึ่งสารประกอบเหล่านี้ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งการตกไข่ ถูกขับถ่ายออกจากร่างกายทางปัสสาวะและทางน้ำดี (ฮอร์โมนพวกเอสโตรเจนชนิดอื่นเกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเช่นเดียวกัน) เหลือเอทินิลเอสทราไดออลในระบบไหลเวียนเลือดเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่ในเลือดพบในรูปเอทินิลเอสทราไดออลซัลเฟต สารประกอบที่ถูกขับออกทางน้ำดีจะเข้าสู่ลำไส้เล็ก จากนั้นเอนไซม์จากแบคทีเรียในลำไส้จะย่อยสารประกอบเหล่านั้นได้เป็นเอทินิลเอสทราไดออลรูปเดิม สารรูปเดิมนี้ถูกดูดซึมที่ลำใส้เล็กส่วนล่างกลับเข้าสู่กระแสเลือดอีกครั้งหนึ่ง (คือเกิด enterohepatic cycling หรือ enterohepatic recirculation) เพื่อร่วมออกฤทธิ์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นการรับประทาน “ยาฆ่าเชื้อ” ที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียอาจลดปริมาณเอทินิลเอสทราไดออลที่จะถูกดูดซึมกลับเข้ากระแสเลือดดังกล่าว

ส่วนยาฮอร์โมนกลุ่มโพรเจสตินถูกเปลี่ยนแปลงโดยกระบวนการคอนจูเกชันได้เช่นเดียวกันแต่ไม่ใช่เกิดกับตัวยาที่ออกฤทธิ์ ดังนั้นสารประกอบที่เกิดขึ้นเมื่อถูกขับออกทางน้ำดีและถูกเอนไซม์จากแบคทีเรียในลำไส้ย่อย สารที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่ตัวยาที่ออกฤทธิ์ ด้วยเหตุนี้การรับประทาน “ยาฆ่าเชื้อ” ที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียจึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงระดับยาฮอร์โมนกลุ่มโพรเจสตินในกระแสเลือดโดยผ่านกลไกที่กล่าวข้างต้น

“ยาฆ่าเชื้อ” ลดประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิดได้อย่างไร?

การรับประทาน “ยาฆ่าเชื้อ” ร่วมกับยาเม็ดคุมกำเนิด อาจลดประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิดด้วยกลไกหลายอย่างดังนี้

  1. เพิ่มการสร้างเอนไซม์ที่ใช้เปลี่ยนแปลงยาฮอร์โมน เนื่องจากยาฮอร์โมนในกลุ่มเอสโตรเจนและโพรเจสตินถูกเปลี่ยนแปลงได้โดยเอนไซม์ไซโทโครม P450 ดังนั้นการชักนำการสร้างเอนไซม์ให้มีมากขึ้นจึงเพิ่มการเปลี่ยนยาฮอร์โมนไปเป็นสารอื่นที่ไม่มีฤทธิ์ ทำให้ระดับยาฮอร์โมนในเลือดลดลง เช่น “ยาฆ่าเชื้อ” ในกลุ่มไรฟาไมซิน (rifamycins) โดยเฉพาะอย่างยิ่งไรแฟมพิซิน (rifampicin) หรือชื่ออื่นคือไรแฟมพิน (rifampin) ส่วนยาอื่นในกลุ่มนี้ไม่ว่าจะเป็นไรฟาบูติน (rifabutin) หรือไรฟาเพนทีน (rifapentine) มีฤทธิ์ชักนำการสร้างเอนไซม์ได้น้อยกว่า เชื่อว่าฤทธิ์ชักนำการสร้างเอนไซม์มีบทบาทสำคัญมากกว่ากลไกอื่นที่จะกล่าวต่อไป อย่างไรก็ตามการที่ “ยาฆ่าเชื้อ” รบกวนประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิดนั้นอาจไม่ได้เกิดขึ้นด้วยกลไกเดียว สำหรับ “ยาฆ่าเชื้อ” รุ่นใหม่ ๆ แม้ออกฤทธิ์กว้างขวางแต่มักไม่มีฤทธิ์ชักนำการสร้างเอนไซม์ที่ใช้เปลี่ยนแปลงยา
  2. กำจัดแบคทีเรียในลำไส้ เนื่องจากการย่อยสารประกอบซัลเฟตและสารประกอบกลูคูโรไนด์ในลำไส้เล็กเพื่อให้ได้เอทินิลเอสทราไดออลรูปเดิม (ไม่อยู่ในรูปสารประกอบที่กล่าวข้างต้น) นั้นอาศัยเอนไซม์จากแบคทีเรีย ดังนั้น “ยาฆ่าเชื้อ” ซึ่งมีฤทธิ์กำจัดแบคทีเรียจึงลดปริมาณเอทินิลเอสทราไดออลในลำไส้ ทำให้การดูดซึมกลับเข้าสู่กระแสเลือดเกิดน้อยลง ด้วยเหตุนี้หาก “ยาฆ่าเชื้อ” มีฤทธิ์กว้างขวางต่อแบคทีเรียหลายอย่างและเป็นยาที่ถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารได้ไม่ดี จะยิ่งส่งผลกระทบมากต่อระดับยาเอทินิลเอสทราไดออลในเลือด เช่น แอมพิซิลลิน (ampicillin), นีโอไมซิน (neomycin) ส่วนยาฮอร์โมนกลุ่มโพรเจสตินไม่ได้รับผลกระทบจากกลไกข้อนี้
  3. เพิ่มการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร หากทางเดินอาหารมีการเคลื่อนไหวมาก ยาจะเดินทางผ่านทางเดินอาหารเร็วเกินไป ทำให้การดูดซึมยาลดลงไม่ว่าจะเป็นเอสโตรเจนหรือโพรเจสติน นอกจากนี้ยังลดการดูดซึมกลับของยาเอทินิลเอสทราไดออลที่ลำไส้เล็กส่วนล่าง (ตอนเกิด enterohepatic cycling) ด้วยเหตุนี้ “ยาฆ่าเชื้อ” ที่เพิ่มการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร เช่น ยาในกลุ่มแมโครไลด์ (macrolides) ซึ่งตัวอย่างยามีกล่าวต่อไปในหัวข้ออื่น อาจมีส่วนในการลดการดูดซึมยาฮอร์โมนไม่ว่าชนิดใด อย่างไรก็ตามกลไกดังกล่าวมีผลกระทบน้อยต่อประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิด
  4. ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน “ยาฆ่าเชื้อ” บางชนิดมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้ หรืออาจเกิดร่วมกับอาการเจ็บป่วย (ที่ทำให้ต้องรับประทาน “ยาฆ่าเชื้อ”) หากเกิดการอาเจียนภายหลังรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดไปไม่นาน อาจมีผลกระทบต่อปริมาณยาในทางเดินอาหารที่จะถูกดูดซึม
  5. ทำให้เกิดอาการท้องเสีย “ยาฆ่าเชื้อ” บางชนิดมีผลข้างเคียงทำให้ท้องเสีย จึงอาจลดการดูดซึมกลับของยาเอทินิลเอสทราไดออล (ตอนเกิด enterohepatic cycling) อย่างไรก็ตามกลไกดังกล่าวมีผลกระทบน้อยต่อประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิด

ปัจจัยที่มีผลต่อ “ยาฆ่าเชื้อ” ในการรบกวนประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิด

การรับประทาน “ยาฆ่าเชื้อ” จะส่งผลรบกวนประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิดหรือไม่นั้น มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งด้าน “ยาฆ่าเชื้อ” ยาเม็ดคุมกำเนิด และผู้ที่ใช้ยาดังนี้

  1. “ยาฆ่าเชื้อ” ทั้งชนิดของยา ขนาดยาและระยะเวลาที่ใช้ยา ล้วนมีผลต่อการแสดงฤทธิ์ของยา เช่น ยาที่มีฤทธิ์ชักนำการสร้างเอนไซม์ที่ใช้เปลี่ยนยาฮอร์โมนไปเป็นสารอื่น ถ้ายิ่งใช้ในขนาดสูงหรือใช้เป็นเวลานานจะยิ่งเห็นผลมากขึ้น
  2. ยาเม็ดคุมกำเนิด หากเป็นตำรับที่มีเอทินิลเอสทราไดออล (ซึ่งเป็นเอสโตรเจน) ในปริมาณต่ำจะได้รับผลกระทบจาก “ยาฆ่าเชื้อ” มากกว่าตำรับที่มียาฮอร์โมนดังกล่าวในปริมาณสูง
  3. ผู้ที่ใช้ยา ภายหลังการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ระดับยาฮอร์โมนในกระแสเลือดมีความแปรปรวนได้มากในผู้หญิงแต่ละคน การรับประทาน “ยาฆ่าเชื้อ” ร่วมด้วยจึงส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดแตกต่างกันได้ นอกจากนี้แม้ว่าข้อมูลส่วนใหญ่ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนถึงผลกระทบเรื่องดัชนีมวลกายต่อประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม อย่างไรก็ตามบางการศึกษาพบว่าผู้หญิงอ้วนเกินที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมจะเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์มากกว่าผู้ที่ไม่อ้วน ดังนั้นผู้หญิงอ้วนเกินหากได้รับผลกระทบที่ทำให้ระดับยาฮอร์โมนในเลือดลดลงแม้เพียงเล็กน้อย อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ก็เป็นไปได้

“ยาฆ่าเชื้อ” ชนิดใดลดประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิด

ที่ผ่านมามีรายงานถึงการเกิดความผิดปกติซึ่งอาจแสดงถึงการเกิดปฏิกิริยาระหว่าง “ยาฆ่าเชื้อ” กับยาเม็ดคุมกำเนิด เช่น การมีเลือดคล้ายประจำเดือนออกกะปริบกะปรอย หรือมีความล้มเหลวในการคุมกำเนิดจนเกิดตั้งครรภ์ขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลส่วนใหญ่เป็นรายงานที่มาจากผู้ป่วยเฉพาะราย (case report) หลักฐานด้านวิชาการที่มาสนับสนุนยังมีความขัดแย้งกัน ทั้งนี้อาจเนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อ “ยาฆ่าเชื้อ” ในการรบกวนประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิดดังกล่าวแล้วข้างต้น อย่างไรก็ตามอาจแบ่ง “ยาฆ่าเชื้อ” ตามความเสี่ยงในการลดประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิดออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ตามข้อมูลทางวิชาการที่สนับสนุนได้ดังนี้

ยาที่น่าจะลดประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิด ข้อมูลจนถึงขณะนี้มีเพียงยาในกลุ่มไรฟาไมซิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไรแฟมพิซินที่มีหลักฐานว่าลดระดับยาฮอร์โมนพวกเอสโตรเจนและโพรเจสตินในเลือด ส่วนยาอื่นในกลุ่มนี้ไม่ว่าจะเป็นไรฟาบูตินหรือไรฟาเพนทีนมีผลน้อยกว่าหรือไม่ชัดเจน ยาเหล่านี้ใช้รักษาวัณโรค และบางชนิดใช้รักษาโรคที่เกิดจากแบคทีเรียชนิดอื่นด้วย ไรแฟมพิซินมีฤทธิ์แรงในการชักนำการสร้างเอนไซม์ที่ใช้เปลี่ยนแปลงยาฮอร์โมนไปเป็นสารที่ไม่มีฤทธิ์ นอกจากนี้หากมียาในลำไส้ (แม้ว่าไรแฟมพิซินถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดี แต่ยาถูกขับถ่ายออกทางน้ำดีสู่ลำไส้เล็กได้) ซึ่งยามีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย อาจทำให้มีปริมาณเอทินิลเอสทราไดออลที่จะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่กระแสเลือดลดลง (ตอนเกิด enterohepatic cycling) ดังนั้นการที่ไรแฟมพิซินรบกวนประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิดอาจไม่ได้มีเพียงกลไกเดียว

ส่วน “ยาฆ่าเชื้อ” ชนิดอื่นที่ไม่ใช่ยาในกลุ่มไรฟาไมซินซึ่งจะกล่าวถึงข้างล่างนี้ ข้อมูลทางวิชาการที่มีอยู่ยังไม่ชัดเจนที่จะสนับสนุนว่ายามีผลลดประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิดหรือไม่

ยาที่อาจลดประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิดได้บ้าง ยาที่จะกล่าวถึงนี้มีข้อมูลสนับสนุนน้อยหรือข้อมูลไม่ชัดเจน เช่น

– ยากลุ่มเพนนิซิลลิน (penicillins) ตัวอย่างเช่น แอมพิซิลิน (ampicillin), อะม็อกซิซิลลิน (amoxicillin), ไดคล็อกซาซิลลิน (dicloxacillin)

– ยากลุ่มเตตราไซคลีน (tetracyclines) ตัวอย่างเช่น เตตราไซคลีน (tetracycline), ด็อกซีไซคลีน (doxycycline), ออกซีเตตราไซคลีน (oxytetracycline)

– ยาอื่น ตัวอย่างเช่น เมโทรนิดาโซล (metronidazole)

ยาที่ไม่น่าจะรบกวนประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิด ยาเหล่านี้มีข้อมูลสนับสนุนน้อยมากหรือมีข้อมูลระบุว่ายาไม่รบกวนประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิด เช่น

– กลุ่มเซฟาโลสปอริน (cephalosporins) ตัวอย่างเช่น เซฟาเลกซิน (cephalexin)

– กลุ่มแมโครไลด์ (macrolides) ตัวอย่างเช่น อิริโทรไมซิน (erythromycin), คลาริโทรไมซิน (clarithromycin), เทลีโทรไมซิน (telethromycin) ยาเหล่านี้เพิ่มการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารได้ จึงอาจรบกวนการดูดซึมทั้งยาฮอร์โมนกลุ่มเอสโตรเจนและกลุ่มโพรเจสติน แต่ยาเหล่านี้มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงยาฮอร์โมนไปเป็นสารที่ไม่มีฤทธิ์ ดังนั้นในกรณีหลังจะทำให้ยาฮอร์โมนออกฤทธิ์ได้นานขึ้น ด้วยเหตุนี้ยาในกลุ่มนี้จึงไม่น่าที่จะลดประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิด

– กลุ่มฟลูออโรควิโนโลน (fluoroquinolones) ตัวอย่างเช่น ซิโพรฟล็อกซาซิน (ciprofloxacin), โอฟล็อกซาซิน (ofloxacin)

– ยาอื่น ตัวอย่างเช่น คลินดาไมซิน (clindamycin), แดปโซน (dapsone), ไอโซไนอะซิด (isoniazid), ไทรเมโทพริม/ซัลฟาเมท็อกซาโซล (trimethoprim/sulfamethoxazole), ไนโตรฟูแรนโทอิน (nitrofurantoin)

ข้อแนะนำหากต้องรับประทาน “ยาฆ่าเชื้อ” ร่วมกับยาเม็ดคุมกำเนิด

ภายหลังการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ระดับยาฮอร์โมนในกระแสเลือดมีความแปรปรวนได้มากในผู้หญิงแต่ละคน ประกอบกับมีปัจจัยอื่นที่มีผลต่อ “ยาฆ่าเชื้อ” ในการรบกวนประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิดดังกล่าวข้างต้น ด้วยเหตุนี้หากมีการใช้ “ยาฆ่าเชื้อ” ร่วมกับยาเม็ดคุมกำเนิดมีข้อแนะนำดังนี้