ว ธ เพ ม template resume ใน word

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 30 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง

มีการอ้างอิง ที่อ้างอิงอยู่ในบทความ ซึ่งสามารถพบได้ทางด้านล่างของบทความ

บทความนี้ถูกเข้าชม 104,371 ครั้ง

เรซูเม่จะบอกรายละเอียดของประสบการณ์การทำงาน การศึกษา ทักษะความสามารถ และความสำเร็จที่ผ่านมาของคนๆ หนึ่ง เรซูเม่ที่ดีซึ่งต้องมีความชัดเจน รวบรัด และอ่านง่ายนั้นเป็นสิ่งสำคัญเวลาหางาน เรซูเม่ควรจะเป็นตัวพิมพ์ที่ประณีตและเป็นระเบียบเรียบร้อย โปรแกรม Microsoft Word มีตัวเลือกให้คุณสร้างเรซูเม่โดยใช้รูปแบบที่ทางโปรแกรมมีมาให้เลือก

  1. เริ่มด้วยการเปิดเอกสารใหม่ใน Word โดยการคลิกที่ “New” จากเมนู File พอคุณเปิดเปิดเมนูเอกสารใหม่ขึ้นมา คุณจะสามารถเลือกเทมเพลตจำนวนมากที่มีอยู่ในโปรแกรม Word คลิกที่ “Templates” แล้วเลือกเทมเพลตเรซูเม่แบบหนึ่งที่คุณเห็นในหน้านั้น
    • ใน Word 2007 คุณจะต้องคลิกที่ “installed templates”
    • ใน Word 2010 มันจะเป็น “sample templates”
    • ใน Word 2011 มันจะเป็น “new from template”
    • ใน Word 2013 เทมเพลตจะปรากฎเมื่อคุณคลิกไปที่ “New”
  2. Word มีเทมเพลตที่ติดตั้งในโปรแกรมให้คุณพร้อมใช้อยู่จำนวนหนึ่ง แต่ยังมีตัวเลือกมากกว่านั้นผ่านทาง Office Online ให้ทำการเสิร์ชหาข้อมูลเหล่านี้และดาวน์โหลดแบบที่คุณชอบมาใช้ได้โดยตรง ให้เปิดเอกสารใหม่และค้นหาด้วยคำว่า “resumes” ในส่วนของ Microsoft Office Online
    • ใน Word 2013 นั้น หลังจากคลิกที่ “New” คุณจะเห็นเทมเพลตจำนวนหนึ่งและเสิร์ชบาร์ที่บอกว่า “search for online templates.”
    • หลังจากค้นหาดู คุณจะเห็นเทมเพลตของเรซูเม่แบบต่างๆ ให้ลองเลือกใช้
  3. คุณสามารถเรียกดูและดาวน์โหลดเทมเพลตบน Office Online ได้โดยตรงไม่ต้องผ่านทาง Word แค่แวะไปที่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการที่ https://templates.office.com/ แล้วคลิกไปที่ส่วนเรซูเม่กับจดหมายปะหน้าใบสมัครงาน คุณจะเห็นส่วนนี้เป็นหนึ่งในต้นแบบในรายชื่อทางด้านซ้ายมือของจอที่บอกว่า “Browse by Category”
    • ตรงนี้คุณจะสามารถมองหาเทมเพลตสำหรับเรซูเม่และจดหมายปะหน้าใบสมัครงานจำนวนมากที่คุณสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีและนำมาจัดทำใน Word
    • คุณอาจจำเป็นต้องลงชื่อเข้าบัญชี Microsoft ของคุณเพื่อใช้เทมเพลตเหล่านี้
  4. จัดทำ เทมเพลตให้เรียบร้อย. พอตัดสินใจได้แล้วว่าเทมเพลตไหนดูเป็นมืออาชีพและเหมาะกับชนิดของงานที่คุณกำลังมองหาที่สุด คุณสามารถลบข้อความแม่แบบแล้วใส่ข้อมูลส่วนตัวของคุณเองลงไปแทน รูปแบบ เลย์เอาท์ และการนำเสนอเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเรซูเม่ที่ดี แต่มันก็ไม่อาจกลบเกลื่อนการเขียนที่แย่ มีตัวสะกดผิดหรือใช้คำผิดไวยากรณ์ได้
    • ให้แน่ใจว่าได้ตรวจทานรายละเอียดของเรซูเม่และแก้ไขมันให้ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว
    • Word ทุกเวอร์ชั่นจากปี 2003 ถึง 2013 ล้วนติดตั้งเทมเพลตสำหรับทำเรซูเม่มาให้จำนวนหนึ่ง
  5. หากคุณใช้โปรแกรม Word 2003 คุณมีทางเลือกในการใช้ wizard ที่รวมอยู่ในโปรแกรม wizard จะแนะนำคุณไปตามกระบวนการเขียนและฟอร์แม็ตเรซูเม่ของคุณ เริ่มด้วยการเลือก "New" จากไฟล์เมนู นี่จะแสดงแถบงานของ New Document จากนั้นควรเลือก “My Computer" จากส่วนเทมเพลตทางด้านซ้ายมือของแถบงาน
    • คลิกที่ “Other Documents” แล้วเลือก “Resume Wizard”
    • ทำตามคำแนะนำของ wizard มันจะพาคุณไปตามกระบวนการสร้างเรซูเม่ทีละขั้นทีละขั้น
    • หากคุณมองไม่เห็นตัวเลือกนี้ แสดงว่ามันไม่ได้ถูกติดตั้งในตอนที่คุณติดตั้งโปรแกรม Word และคุณจำเป็นต้องเปิดโปรแกรมติดตั้งเพื่อติดตั้งการใช้งานมันใหม่ โฆษณา
  1. เรซูเม่เทมเพลตนั้นมีประโยชน์ตรงที่หากคุณไม่แน่ใจว่าจะทำเรซูเม่แบบไหน หรือไม่มั่นใจการใช้เครื่องมือฟอร์แม็ตในโปรแกรม Word บนโปรแกรมพิมพ์งานอื่นๆ หากคุณเลือกจะทำรูปแบบนำเสนอของตนเองและไม่พึ่งเทมเพลต ให้เริ่มด้วยการวางแผนว่าคุณจะใส่ข้อมูลส่วนไหนบ้าง และมันจะจัดทำให้เป็นระเบียบได้อย่างไร เรซูเม่ควรประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้:
    • คุณวุฒิทางการศึกษา
    • ประสบการณ์การทำงานและการฝึกงาน
    • ทักษะและความสามารถพิเศษ
    • ควรจะรวมรายละเอียดสถานที่ติดต่อคุณและบอกไปด้วยว่าสามารถจัดส่งเอกสารอ้างอิงได้หากต้องการ
  2. พิจารณาการจัดทำเรซูเม่แบบเรียงตามลำดับเวลา. เรซูเม่มีแตกต่างกันหลายแบบ เช่น เรซูเม่แบบเรียงตามลำดับเวลา เรซูเม่แบบแสดงทักษะ เรซูเม่แบบผสมผสาน และ curriculum vitae (CV) เรซูเม่แบบเรียงตามลำดับเวลาจะไล่เรียงประสบการณ์การทำงานของคุณจากในปัจจุบันย้อนลงไปถึงตำแหน่งแรกเริ่ม โดยบอกรายละเอียดความรับผิดชอบของงานในแต่ละตำแหน่งใต้ชื่อตำแหน่งและวันที่คุณทำงานในตำแหน่งนั้นๆ เรซูเม่แบบนี้จะช่วยคุณแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในอาชีพการงาน
    • เรซูเม่แบบเรียงตามลำดับเวลาส่วนใหญ่จะครอบคลุมเฉพาะช่วงประวัติการทำงาน 5 ถึง 10 ปีหลังสุด
    • คุณอาจจะอยากรวมตำแหน่งงานในช่วงเริ่มต้นทำงานก็ได้หากมันเหมาะสมกับงานที่คุณมองหาอยู่
    • นี่เป็นรูปแบบที่บริษัทผู้จ้างงานในสหรัฐส่วนใหญ่ต้องการจะเห็นเป็นที่สุด
  3. เรซูเม่แบบเน้นทักษะจะเน้นทักษะความสามารถของคุณขึ้นมาก่อน แล้วค่อยตามด้วยตำแหน่งที่คุณเคยทำมา มันสามารถมีประโยชน์ในการเน้นทักษะความสามารถพิเศษเฉพาะด้านโดยซ่อนช่วงว่างในประวัติการทำงานของคุณได้ แต่ไม่ขอแนะนำสำหรับนักศึกษาหรือผู้ที่เพิ่งจบมาใหม่ในการใช้เรซูเม่รูปแบบนี้ มันจะเป็นรูปแบบที่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังจะเปลี่ยนทักษะความสามารถในการทำงานไปใช้ในวงการงานอื่น
  4. ทางเลือกที่สามคือเรซูเม่แบบผสมผสาน บางครั้งก็เรียกว่าเรซูเม่แบบยึดความสามารถเป็นหลัก รูปแบบนี้จะทำให้คุณสามารถเน้นทักษะพิเศษของคุณ แต่ยังผูกมันติดกับประสบการณ์การทำงาน มันจะมีประโยชน์หากทักษะที่คุณมีเกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่คุณกำลังมองหามากกว่าประสบการณ์การทำงานของคุณ แต่ผู้จ้างอาจไม่คุ้นเคยกับรูปแบบนี้และอาจเลือกพิจารณาเรซูเม่ที่เรียงตามลำดับเวลามากกว่า
    • เรซูเม่แบบผสมผสานมักบอกทักษะหลักของคุณก่อนจะให้รายละเอียดคร่าวๆ ของประสบการณ์การทำงาน
    • เรซูเม่รูปแบบนี้จะมีประโยชน์สำหรับคนที่กำลังเข้ามาในตลาดแรงงานโดยมีประสบการณ์การทำงานน้อย หรือเหมาะสำหรับคนที่อยากจะเปลี่ยนแนวอาชีพที่ทำ
  5. curriculum vitae นั้นมีจุดประสงค์เบื้องต้นเหมือนกับเรซูเม่ แต่จะมีวิธีการเขียนนำเสนอแตกต่างออกไป curriculum vitae นั้นเป็นการนำเสนอประสบการณ์การทำงานของคุณจากตำแหน่งในปัจจุบันย้อนกลับไปถึงตำแหน่งเริ่มต้น แต่ต่างจากเรซูเม่แบบเรียงตามลำดับเวลาที่มักจะยาวเพียง 1 ถึง 2 หน้า CV นั้นจะยาวเท่าที่จำเป็นต้องอธิบายประสบการณ์ทั้งหมดของคุณ
    • CV มักจะใช้ในการสมัครงานในยุโรป และมักใช้ในการสมัครตำแหน่งในแวดวงวิชาการระดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก
    • สามารถมอง CV ว่าเป็นเอกสารที่บันทึกการงานและความสำเร็จทั้งหมดที่คุณได้รับ ซึ่งมีเพิ่มขึ้นและพัฒนาขึ้นไปตามกาลเวลามากกว่าเรซูเม่ โฆษณา
  • พอคุณตัดสินใจได้ว่าจะใช้เรซูเม่แบบใด คุณก็ต้องเริ่มเขียนมันขึ้นมาจริงๆ แล้ว เริ่มด้วยการให้ข้อมูลการติดต่อคุณให้ละเอียดครบถ้วนทางด้านบนสุดของเรซูเม่หน้าแรก ข้อมูลการติดต่อคุณควรมีชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมลแอดเดรส
  • หากเรซูเม่ของคุณยาวเกินหนึ่งหน้า ให้แน่ใจว่าชื่อของคุณปรากฏอยู่บนหัวกระดาษของทุกๆ หน้า
  • อีเมลแอดเดรสของคุณควรตั้งชื่อที่เหมาะสมกับการสมัครงาน ใช้ชื่อของคุณเองหรือตัวย่อถ้าเป็นไปได้
  • อย่าใช้ชื่อที่เป็นมุกตลกชวนขำขันประเภท "sly-dude," "foxymama," หรือ "smokinhot"
  • หลังใส่ข้อมูลการติดต่อแล้ว คุณอาจต้องการใส่เป้าหมายหนึ่งบรรทัดที่ระบุเป้าหมายทางอาชีพการงานของคุณ ผู้จ้างงานมักมีความคิดเห็นแตกต่างกันไปในเรื่องการระบุเช่นนี้ ดังนั้นจงพิจารณาให้ดีว่าจะใส่ลงไปในเรซูเม่หรือไม่ หากตัดสินใจจะใส่ลงไป เขียนให้กระชับสั้นและเน้นให้ใกล้เคียงตำแหน่งงานที่คุณสมัครมากที่สุด
  • ตัวอย่าง คุณอาจเขียนว่า เป้าหมายของคุณคือ “การได้ร่วมออกแบบสำหรับโปรแกรมประมวลคำตัวใหม่”
  • อีกทางเลือกคือย้ำไปถึงตำแหน่งที่คุณคาดหวังจะได้รับ เช่น “ตำแหน่งงานในนโยบายการดูแลและการวิจัยทางสาธารณสุข”
  • การใส่เป้าหมายได้กลายเป็นที่นิยมน้อยลง คุณอาจเลือกใส่ข้อมูลส่วนนี้ไว้ในจดหมายปะหน้าใบสมัครงานแทน
  • ลำดับที่คุณใช้ในส่วนต่อไปนี้อาจแตกต่างกันไป แต่ในหลายตัวอย่างจะเริ่มด้วยการระบุคุณวุฒิทางการศึกษา ซึ่งคุณก็แค่ให้รายละเอียดคุณวุฒิทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยตามความเหมาะสม ใส่รายชื่อมหาวิทยาลัยที่คุณเข้าเรียนโดยเรียงตามลำดับเวลาย้อนกลับ ให้แน่ใจว่าได้บอกวันเวลาที่เรียนจบลงไป
  • คุณสามารถใส่สัญลักษณ์นำหัวข้อเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมในความเชี่ยวชาญพิเศษหรือวิชาเอกถ้ามันเหมาะกับตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร
  • ส่วนนี้ปกติมักจะตามหลังประวัติการทำงานเว้นแต่ว่าคุณเพิ่งจบมาใหม่หมาด
  • หากคุณได้รับเกียรตินิยมหรือใบประกาศเหียรติคุณหรือรางวัลใดๆ ในระหว่างเรียนหรือฝึกงานก็สามารถรวมไว้ที่นี่
  • ไล่ตำแหน่งงานที่คุณเคยทำเรียงตามลำดับย้อนกลับ พร้อมวันเริ่มต้นและสิ้นสุดการทำงาน (เดือนกับปี) ในเรซูเม่แบบเรียงตามลำดับเวลานั้น วันเวลาควรจะขึ้นก่อน ในขณะที่ในเรซูเม่แบบเน้นทักษะจะเอามันมาตามหลังตำแหน่ง เขียนตัวงานและความรับผิดชอบหลักที่คุณทำในแต่ละตำแหน่ง ความสำเร็จที่ได้รับ และทักษะที่คุณได้พัฒนาในระหว่างที่ทำงานในตำแหน่งนั้น
  • ใช้สัญลักษณ์หัวข้อเพื่อความแน่ใจว่ามันจะชัดเจนและอ่านง่าย หรือไล่สายตาหาคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่คุณจะสมัครได้ง่ายๆ
  • คุณสามารถใส่ตำแหน่งงานจิตอาสาเข้าไปด้วยก็ได้ถ้ามันเกี่ยวข้องกับงานที่คุณมองหาหรือหากคุณมีประสบการณ์การทำงานเพียงน้อยนิด
  • คุณอาจจะมองว่าทักษะส่วนใหญ่ของคุณบ่งบอกไว้ในคุณวุฒิการศึกษากับประสบการณ์การทำงานหมดแล้ว แต่มันก็เป็นความคิดที่ดีถ้าจะแยกส่วนของทักษะที่มีออกมาต่างหาก นี่เป็นโอกาสที่จะเน้นทักษะหรือความรู้ใดๆ ที่คุณมีและมีความเกี่ยวข้องกับตำแหน่งงาน แต่อาจไม่รู้จะไปใส่ตรงส่วนไหนในเรซูเม่
  • คุณสามารถตั้งชื่อให้ส่วนนี้ว่าเป็น “ทักษะความสามารถอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง” หรือแค่ “ทักษะ”
  • นั่นหมายถึงความสามารถในการพูดภาษาต่างประเทศ ความรู้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใดเป็นพิเศษ และความสามารถเฉพาะตัวที่ไม่ได้มีการเอ่ยถึงมาก่อน
  • ระวังอย่าเป็นการบอกอะไรซ้ำซาก คุณไม่จำเป็นต้องกล่าวว่าคุณมี “ทักษะในการสื่อสารอย่างเยี่ยมยอด” เกินหนึ่งครั้ง
  • โดยทั่วไปคุณควรรวมชื่อบุคคลอ้างอิงไปกับข้อมูลการติดต่อคุณหากมันจำเป็นต้องใช้ในกระบวนการสมัครงาน แต่ส่วนใหญ่แล้วการอ้างอิงบุคคลจะใช้ในภายหลัง หากคุณไม่ได้ถูกบอกให้ใส่ชื่อบุคคลอ้างอิงลงไปในใบสมัครแล้ว ก็เขียนไปแค่ว่า “สามารถให้รายชื่อบุคคลอ้างอิงได้หากต้องการ” ในตอนท้ายของเรซูเม่

พอคุณใส่ข้อมูลทั้งหมดลงไปในเรซูเม่แล้ว คุณสามารถปรับรูปแบบได้ตามความต้องการ เลือกฟอนต์ที่อ่านง่าย ไม่ว่าจะเป็นฟอนต์แบบมีปลายหาง (Times New Roman, Book Antiqua) หรือฟอนต์แบบไม่มีปลายหาง (Arial, Calibri, Century Gothic) ก็ได้ ขนาดของฟอนต์ควรเป็น 10 ถึง 12 พอยต์ เว้นแต่ชื่อของคุณบนหัวกระดาษ ซึ่งควรเป็น 14 ถึง 18 พอยต์ ทำชื่อคุณ หัวข้อแต่ละส่วน และตำแหน่งงานเป็นตัวเข้ม