Repair operation manual ค ม อ ซ อม

ผู้ขอใบรับรองครั้งแรกให้ส่งจดหมายแสดงเจตจำนงพร้อมทั้งกรอกรายละเอียดใน (CAAT-AIR-RI-101 – Prospective Applicant's Pre-Assessment Statement of Intent) เพื่อขอรับทราบแนวทางการได้รับใบรับรองหน่วยซ่อมและส่งมาที่:

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย 333/105 อาคารหลักสี่พลาซ่า ถนนกำแพงเพชร 6 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

1.1 หัวหน้ากองตรวจสอบมาตรฐานหน่วยซ่อมบำรุงกำหนดเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ

1.2 เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินการนัดหมายการเตรียมการในเบื้องต้นเพื่อทำความเข้าใจกระบวนการรับรองจัดเตรียมกฎหมายและคู่มือที่เกี่ยวข้อง (เฉพาะในราชอาณาจักรไทย)

2. ขั้นตอนการยื่นคําขออย่างเป็นทางการ (Formal Application)

ผู้ขอใบรับรองครั้งแรกหรือต่ออายุใบรับรองหน่วยซ่อมจะต้องกรอกรายละเอียดในคำขอใบรับรองหน่วยซ่อมพร้อม (CAAT Form 2 Application Form) จดหมายแสดงเจตจำนงเพื่อขอหรือต่ออายุใบรับรองหน่วยซ่อมและส่งมาที่

  • สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย 333/105 อาคารหลักสี่พลาซ่า ถนนกำแพงเพชร 6 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
  • ระบบ ออนไลน์ E-service system [CAAT E-service User Manual]
  • ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้

2.1 สำเนาหนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคล โดยมีคำรับรองของผู้มีอำนาจให้คำรับรอง ตามกฎหมายซึ่งออกไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ออกหนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคล

2.2 เอกสารรับรองฐานะทางการเงินของสถาบันการเงิน

2.3 คู่มือการบริหารจัดการการบำรุงรักษาอากาศยานและคู่มือระบบการควบคุมคุณภาพและระบบการประกันคุณภาพ (Repair Station and Quality Control Manual or Maintenance Organisation Exposition) ที่มีรายละเอียดตามข้อ๒๗ รายการในคู่มือหน่วยซ่อมประกาศกรมขนส่งทางอากาศเรื่องการรับรองหน่วยซ่อม ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 (เฉพาะผู้ขอใบรับรองครั้งแรก) พร้อมทั้งระบุรายการงานที่จะทำเองและรายการงานที่จ้างหน่วยซ่อมอื่นทำ

2.4 รายชื่อผู้ที่จะทำการลงนามรับรองผลิตภัณฑ์ให้นำกลับไปใช้งาน

2.5 แผนการฝึกอบรมพนักงานหรือนายช่างของหน่วยซ่อม Training Program Manual (TPM)

2.6 คู่มือระบบการจัดการด้านนิรภัย Safety Management System (SMS) Manual

2.7 จดหมายแสดงเจตจำนงจากลูกค้าไทย (Letter of Intention from Thai Customer)

2.8 รายชื่อผู้ดำเนินการหน่วยซ่อมและบัญชีรายชื่อผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการควบคุมงาน พร้อมทั้งเอกสารหรือหลักฐานแสดงความรู้ความสามารถและประวัติการทำงานของบุคคลดังกล่าว

3. ขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน (Document Evaluation)

3.1 สำหรับหน่วยซ่อมที่ขอใบรับรองครั้งแรกจะต้องส่งคู่มือหน่วยซ่อม (Maintenance Organisation Exposition) มาให้ตรวจสอบพร้อมกับคำขอใบรับรองหน่วยซ่อมในการตรวจสอบคู่มือหน่วยซ่อม (Maintenance Organisation Exposition) ให้ใช้หลักเกณฑ์ตามประกาศกรมการขนส่งทางอากาศเรื่องการรับรองหน่วยซ่อมลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 เป็นแนวทางในการตรวจสอบโดยจะต้องไม่มีข้อความที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายระเบียบข้อบังคับต่างๆของกพท. และจะต้องมีรายละเอียดตามภาคผนวกของประกาศดังกล่าว

3.2 เมื่อตรวจสอบเสร็จแล้วหากไม่พบข้อบกพร่องและไม่ต้องการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจทำการประทับตรายอมรับ (Accept) และลงชื่อในหน้าปกของคู่มือโดยไม่ต้องออกหนังสือรับรองแต่ถ้าการตรวจสอบพบข้อบกพร่องซึ่งต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมให้เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจทำหนังสือแจ้งผู้รับผิดชอบของหน่วยซ่อมนั้นพร้อมส่งคู่มือกลับไปให้ทำการแก้ไขจนกว่าจะเป็นที่ยอมรับได้ทั้งนี้ กพท. จะให้การยอมรับคู่มือหน่วยซ่อมที่ได้รับการรับรองจาก FAA/EASA หรือ Local Authority โดยหน่วยซ่อมจะต้องจัดทำคู่มือส่วนเพิ่มเติมเพื่อส่งให้ กพท. ยอมรับ (Accepted CAAT Supplemental) โดยเนื้อหาในส่วนเพิ่มเติมให้เป็นไปตามรายละเอียดที่ระบุใน CAAT-AIR-GM03 Guidance Material for Foreign Maintenance Organisation

3.3 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่แนบมาพร้อมกับคำขอใบรับรองหน่วยซ่อม ถ้าคำขอใบรับรองหน่วยซ่อมและเอกสารหลักฐานไม่สมบูรณ์ให้ติดต่อกลับไปยังหน่วยซ่อมเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องหรือขอเอกสารเพิ่มเติม

4. ขั้นตอนการตรวจสอบการปฏิบัติการ (Demonstration and Inspection)

4.1 เจ้าหน้าที่ติดต่อนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยซ่อมเพื่อกำหนดวันเวลาที่จะไปตรวจสอบและจัดทำกำหนดการตรวจสอบ (Audit Agenda) และแจ้งให้หน่วยซ่อมทราบ

4.2 เจ้าหน้าที่ใช้หลักเกณฑ์ในการตรวจหน่วยซ่อมฯ ดังนี้

  • ตรวจสอบว่าหน่วยซ่อมนั้นมีการปฏิบัติตามที่เขียนไว้ในคู่มือหน่วยซ่อม (Repair Station Manual)
  • ตรวจสอบการจัดแสดงใบรับรองหน่วยซ่อม (Repair Station Certificate) และข้อกำหนดรายละเอียดการปฏิบัติการหน่วยซ่อม (Repair Station Operation Specifications) (เฉพาะผู้ได้รับแล้ว)
  • ตรวจสอบขีดความสามารถและการจำกัดขีดความสามารถ
  • ตรวจสอบ Housing and Facility
  • ตรวจสอบเกี่ยวกับบุคลากร
  • ตรวจสอบการบันทึกประวัติของผู้ควบคุมงานและผู้ตรวจพินิจต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่ออายุประวัติการศึกษาประวัติการฝึกอบรมประสบการณ์ที่ผ่านมาและขอบเขตหน้าที่ที่รับผิดชอบในปัจจุบันบันทึกประวัติจะต้องทันสมัย
  • ตรวจสอบระบบการตรวจพินิจ
  • ตรวจสอบระบบตรวจสอบการควบคุมคุณภาพ
  • ระบบการจัดการความปลอดภัย (Safety Management System) ทางหน่วยซ่อมจะต้องจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมหรือจัดทำเอกสารประกอบ (Supplemental Document) คู่มือดังกล่าวด้วย
  • ตรวจสอบเครื่องมือและวัสดุ
  • ตรวจสอบเครื่องมือและวัสดุสำหรับทำบริการเฉพาะทาง
  • ตรวจสอบมาตรฐานผลงาน
  • ตรวจสอบการตรวจพินิจงานที่ได้กระทำ
  • ตรวจสอบการรายงานและการบันทึกการปฏิบัติงาน

5. ขั้นตอนการออกใบรับรอง (Certification)

5.1 เจ้าหน้าที่ทำการสรุปผลการตรวจสอบและจัดส่งรายงานการตรวจสอบ (Audit Report) แลัข้อบกพร่อง (ถ้ามี)ให้ผู้รับการตรวจดำเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด

5.2 CAAT ออกใบรับรองให้แก้ผู้ดำเนินการหน่วยซ่อม

_______________________________________________________________________________________________________________________________