ใบงาน เรื่อง ปัญหาสังคมไทย เฉลย

        หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สังคมมนุษย์    

หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5                                                                        เวลาเรียน   5   ชั่วโมง

Œ   มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

         ส 2.1         ม.4-6/2      วิเคราะห์ความสำคัญของโครงสร้างทางสังคม การขัดเกลาทางสังคม และการ

                                                    เปลี่ยนแปลงทางสังคม

   สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

         โครงสร้างทางสังคมมีสถาบันทางสังคมเป็นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่ในการขัดเกลาทางสังคมและมีส่วนในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม

Ž   สาระการเรียนรู้

            3.1    สาระการเรียนรู้แกนกลาง

                        1.        โครงสร้างทางสังคม

                                -      การจัดระเบียบทางสังคม

                                -      สถาบันทางสังคม

                        2.        การขัดเกลาทางสังคม

                        3.        การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

                        4.        การแก้ปัญหาและแนวทางการพัฒนาทางสังคม

            3.2    สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

                        -

   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

4.1       ความสามารถในการสื่อสาร

4.2        ความสามารถในการคิด

            -      ทักษะการคิดวิเคราะห์

4.3    ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

            -      กระบวนการปฏิบัติ

            -      กระบวนการทำงานกลุ่ม

   คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1.     มีวินัย

2.     ใฝ่เรียนรู้

3.     มุ่งมั่นในการทำงาน

‘   ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

            แผนผังความคิด เรื่อง สังคมมนุษย์

’   การวัดและการประเมินผล

         7.1    การประเมินก่อนเรียน

                        -      แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สังคมมนุษย์

            7.2    การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

                        1.        ใบงานที่ 1.1 เรื่อง สถาบันครอบครัว

                        2.        ใบงานที่ 1.2 เรื่อง สถาบันเศรษฐกิจ

                        3.        ใบงานที่ 1.3 เรื่อง สถาบันการเมืองการปกครอง

                        4.        ใบงานที่ 1.4 เรื่อง สถาบันการศึกษา

                        5.        ใบงานที่ 1.5 เรื่อง สถาบันศาสนา

                   6.        ใบงานที่ 1.6 เรื่อง สถาบันนันทนาการ

                  7.        ใบงานที่ 1.7 เรื่อง การปฏิบัติตนเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสถาบันทางสังคม

                   8.        ใบงานที่ 1.8 เรื่อง ข่าวปัญหาเด็กและเยาวชนสมัยใหม่

                   9.        ใบงานที่ 2.1 เรื่อง สังคมยุคโลกาภิวัตน์

                  10.      ใบงานที่ 2.2 เรื่อง ปัญหาสังคมไทย

                   11.      สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

         7.3    การประเมินหลังเรียน

                  -          แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สังคมมนุษย์

         7.4    การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

                  -          ประเมินแผนผังความคิด เรื่อง สังคมมนุษย์

การประเมินชิ้นงาน / ภาระงาน (รวบยอด)

แบบประเมินแผนผังความคิด เรื่อง สังคมมนุษย์

รายการประเมิน

คำอธิบายระดับคุณภาพ / ระดับคะแนน

ดีมาก (4)

ดี (3)

พอใช้ (2)

ปรับปรุง (1)

1. ความสำคัญของ

    การอยู่ร่วมกัน

    เป็นสังคม

วิเคราะห์ความสำคัญของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมได้ถูกต้องชัดเจน

วิเคราะห์ความสำคัญของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมได้ถูกต้อง ชัดเจนเป็นส่วนใหญ่

วิเคราะห์ความสำคัญของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมได้ถูกต้องชัดเจนเป็นบางส่วน

วิเคราะห์ความสำคัญของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมได้ถูกต้องแต่ไม่ชัดเจน

2.  โครงสร้างทาง

     สังคม

อธิบายโครงสร้างทางสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางสังคมได้ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์

อธิบายโครงสร้างทางสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางสังคมได้ถูกต้อง

เกือบครบถ้วน

อธิบายโครงสร้างทางสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางสังคมได้ถูกต้อง

เป็นบางส่วน

อธิบายโครงสร้างทางสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางสังคมได้ถูกต้อง

เป็นส่วนน้อย

3.  การขัดเกลา

     ทางสังคม

วิเคราะห์ผลของการขัดเกลาทางสังคมได้อย่างมีเหตุผล ถูกต้อง ชัดเจน

วิเคราะห์ผลของการขัดเกลาทางสังคมได้อย่างมีเหตุผล ถูกต้อง ชัดเจนเป็นส่วนใหญ่

วิเคราะห์ผลของการขัดเกลาทางสังคมได้อย่างมีเหตุผล ถูกต้อง เป็นบางส่วน

วิเคราะห์ผลของการขัดเกลาทางสังคมได้อย่างมีเหตุผล ถูกต้อง เป็นส่วนน้อย

4. การเปลี่ยนแปลง

    ในสังคม

วิเคราะห์ผลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างมีเหตุผล ถูกต้อง ชัดเจน

วิเคราะห์ผลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างมีเหตุผล ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่

วิเคราะห์ผลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างมีเหตุผล ถูกต้องเป็นบางส่วน

วิเคราะห์ผลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างมีเหตุผล ถูกต้องเป็นส่วนน้อย

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน

ระดับคุณภาพ

13-16

ดีมาก

9-12

ดี

5-8

พอใช้

1-4

ปรับปรุง

“   กิจกรรมการเรียนรู้

            Ÿ     นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สังคมมนุษย์

โครงสร้างทางสังคมและการขัดเกลาทางสังคม

วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคคู่คิด 

วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา

เวลา  3  ชั่วโมง

1.           ครูให้นักเรียนดูภาพ พ่อแม่ และลูก (วัยแรกเกิด) แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับคำถาม          ที่กำหนด แล้วร่วมกันสรุปความหมาย และความสำคัญของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม จากนั้นครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์ประกอบของสังคมมนุษย์

            2.        ครูนำภาพบ้านที่สวยงามมาให้นักเรียนดู และสนทนาเชิงวิเคราะห์ในประเด็นที่กำหนด แล้วครู                            อธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจว่า บ้านเปรียบเหมือนสังคมหรือโลกที่มีสมาชิกอาศัยอยู่                                               โครงสร้างและองค์ประกอบของบ้านมีประโยชน์ งดงามน่าอยู่  ดังนั้นถ้าสมาชิกในครอบครัว

                    ต่างปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ก็ส่งผลต่อบ้าน ชุมชน สังคม และโลกให้น่าอยู่เช่นกัน

            3.        ครูให้นักเรียนดูแผนภูมิองค์ประกอบโครงสร้างทางสังคม และอธิบายให้นักเรียนเข้าใจลักษณะ

                    การจัดระเบียบทางสังคมและสถาบันทางสังคม

            4.        ให้นักเรียนรวมกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน และให้จับคู่กันเป็น 3 คู่ แต่ละคู่ศึกษาความรู้ จากหนังสือเรียน                          เรื่อง การจัดระเบียบทางสังคม คู่ละ 1 เรื่อง ดังนี้

                    -      คู่ที่ 1  ศึกษาเรื่อง  ระบบคุณค่าของสังคม                                                         

                    -      คู่ที่ 2  ศึกษาเรื่อง  บรรทัดฐานหรือปทัสถานทางสังคม

                    -      คู่ที่ 3  ศึกษาเรื่อง  สถานภาพและบทบาท

                    โดยให้แต่ละคู่ผลัดกันศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อที่กำหนดไว้ และผลัดกันเล่าเรื่องรอบวงในประเด็น

                    ที่สำคัญของหัวข้อที่ตนได้รับมอบหมายให้เพื่อนในกลุ่มฟังจนครบทุกเรื่อง จากนั้นครูสุ่มเรียก

                    นักเรียน 2 - 3 คู่ สนทนาซักถามเกี่ยวกับองค์ประกอบของการจัดระเบียบทางสังคม โดยครูคอย

                    อธิบายเพิ่มเติม

            5.        ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง การจัดระเบียบทางสังคม

            6.            ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับความจำเป็นที่ต้องมีสถาบันทางสังคม แล้วให้นักเรียนช่วยกันเขียน                                                ความรู้เดิมเกี่ยวกับสถาบันทางสังคม ลงในกระดาษ และนำมาติดที่กระดานหน้าชั้นเรียนให้ถูกต้อง

            7.            นักเรียนรวมกลุ่มกัน กลุ่มละ 6 คน และให้ทุกคนมีหมายเลขประจำตัว 1-6 ตามลำดับ แล้วให้

                    นักเรียนแต่ละคนที่มีหมายเลขเดียวกันไปรวมกันเป็นกลุ่มใหม่ และศึกษาความรู้จากหนังสือเรียน

                    และทำใบงานที่กำหนดให้ ดังนี้

-       กลุ่มหมายเลข  1  ทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง สถาบันครอบครัว

-       กลุ่มหมายเลข  2  ทำใบงานที่ 1.2 เรื่อง สถาบันเศรษฐกิจ

-       กลุ่มหมายเลข  3  ทำใบงานที่ 1.3 เรื่อง สถาบันการเมืองการปกครอง

-       กลุ่มหมายเลข  4  ทำใบงานที่ 1.4 เรื่อง สถาบันการศึกษา

-       กลุ่มหมายเลข  5  ทำใบงานที่ 1.5 เรื่อง สถาบันศาสนา

-       กลุ่มหมายเลข  6  ทำใบงานที่ 1.6 เรื่อง สถาบันนันทนาการ

            8.        นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้จากหนังสือเรียน และร่วมกันสรุปความรู้ จากการศึกษาค้นคว้า และช่วยกันตอบคำถามในใบงานที่แต่ละกลุ่มได้รับ ทำความเข้าใจเนื้อหาให้ชัดเจนในประเด็นที่สำคัญ    ที่เป็นความรู้ใหม่ แล้วให้นักเรียนกลุ่มใหม่กลับเข้าสู่กลุ่มเดิม และนำข้อมูลความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาและทำใบงานกลับไปขยายผลให้กลุ่มเดิมของตนฟัง แล้วร่วมกันสรุปและบันทึกลงในกระดาษแล้วออกมานำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง สถาบันทางสังคม

            9.        นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำใบงานที่ 1.7 เรื่อง การปฏิบัติตนเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสถาบันทางสังคม แล้วออกมานำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน

10.  ครูให้นักเรียนดูภาพการกระทำที่ไม่เหมาะสมของเยาวชน เช่น เล่นการพนัน เที่ยวสถานบันเทิง

        เสพสารเสพติด ฯลฯ แล้วร่วมกันอภิปรายถึงสาเหตุ-ผลของการกระทำ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของ

        องค์กรทางสังคมต่างๆ ในการขัดเกลา เพื่อให้เยาวชนได้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เหมาะสม

11.  ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่าจะมีกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคหมวกหกใบ และอธิบายถึง

        ลักษณะพื้นฐานของหมวกหกใบ ครูชี้แจงบทบาท หน้าที่ ขั้นตอน กติกา การอภิปรายให้นักเรียนเข้าใจ

        แล้วครูอธิบายรายละเอียดของประเด็นที่จะอภิปรายเกี่ยวกับการขัดเกลาทางสังคม

12.  ครูอธิบายขั้นการใช้หมวกหกใบ ให้นักเรียนฟัง ดังนี้

        1)        ครูขออาสาสมัครนักเรียน 6 คน สาธิตวิธีการใช้หมวกหกใบตามสีของหมวก พร้อมอธิบาย

                แนะนำตัวอย่างเพื่อสร้างความเข้าใจ

        2)        ครูสาธิตวิธีการใช้หมวก ดังนี้

                (1)  หมวกฟ้า           เริ่มต้นด้วยการนำอภิปรายและเป็นผู้สรุปภาพรวมขั้นตอนสุดท้ายด้วย                                                                   (2)    หมวกขาว          เสนอข้อมูล ข้อเท็จจริง (เช่น เรื่องนี้ได้ข้อมูลมาด้วยวิธีใด)

                            (3)  หมวกแดง         แสดงความรู้สึก อารมณ์ (เช่น รู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้)

                            (4)  หมวกดำ            บอกข้อบกพร่อง จุดอ่อน โทษหรือผลเสีย (เช่น เรื่องนี้จะเกิดผลเสียอะไรบ้าง)

                            (5)  หมวกเหลือง    เสนอข้อคิดที่เป็นประโยชน์ (เช่น เรื่องนี้มีข้อดีอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะเกิด

                                                    ประโยชน์)

                (6)  หมวกเขียว        เสนอแนวทางพัฒนา หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่อไป (เช่น มีวิธีการใดที่

                                                    จะทำให้มันดีขึ้น)

13.  ครูให้นักเรียนรวมกลุ่มกัน กลุ่มละ 6 คน ศึกษาความรู้เรื่องการขัดเกลาทางสังคม จากหนังสือเรียน                                          และทำใบงานที่ 1.8 เรื่อง ข่าวปัญหาเด็กและเยาวชนสมัยใหม่ โดยให้นักเรียนเลือกใช้หมวกคนละ

        1 ใบ และเริ่มต้นฝึกปฏิบัติแสดงข้อคิด เสนอข้อดีข้อเสีย และแนวทางการแก้ไขพัฒนา ตามประเด็น

        ในใบงาน

            14.  ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปผลการอภิปรายเกี่ยวกับ ปัญหาของเด็กและเยาวชนสมัยใหม่และการ

                    ขัดเกลาทางสังคม แล้วเสนอผลการอภิปรายต่อชั้นเรียน จากนั้นครูและนักเรียนช่วยกันเสนอแนะ

        เพิ่มเติม

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การแก้ปัญหาและแนวทางการพัฒนาสังคม

วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการกลุ่ม

เวลา  2  ชั่วโมง

            1.        ให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ภาพการเดินทางของคนไทยในอดีตและสนทนาซักถามในประเด็น

                    ที่กำหนด แล้วครูและนักเรียนช่วยกันสรุปความหมายและลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

            2.        นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-7 คน ตามความสมัครใจ ให้แต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลง

                    ในสังคม จากหนังสือเรียน และทำใบงานที่ 2.1 เรื่อง สังคมยุคโลกาภิวัตน์ โดยระดมพลังสมอง

                    วางแผนการทำงานและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามหัวข้อในใบงาน แล้วออกมานำเสนอ                                      ผลงานที่หน้าชั้นเรียน

            3.            ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียน และเพิ่มเติมในประเด็นสำคัญ ครูชื่นชมผลงานนักเรียน

            4.            ครูทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับผลเสียที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสังคม ทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมา

                    และให้นักเรียนช่วยกันอภิปรายปัญหาของสังคมไทยที่กำลังประสบอยู่ โดยเขียนชื่อปัญหาบนกระดาน

            5.            นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-7 คน ศึกษาค้นคว้า เรื่อง ปัญหาสังคมไทยและแนวทางการแก้ไขปัญหา จากหนังสือเรียน และทำใบงานที่ 2.2 เรื่อง ปัญหาสังคมไทย โดยให้นักเรียนร่วมกันคิดว่า เรื่องใดบ้างที่เป็นปัญหาสังคมอยู่ในขณะนั้น จากนั้นให้แต่ละกลุ่มร่วมกันตัดสินใจเลือกปัญหาสำคัญ               1 ปัญหา ที่สมาชิกในกลุ่มคิดว่าสามารถมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหาได้ และช่วยกันวิเคราะห์และตอบคำถามตามหัวข้อในใบงาน

            6.           นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน แล้วช่วยกันสรุปประเด็นปัญหาสำคัญที่ต้องร่วมมือกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน

            7.            ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันทำแผนผังความคิด เรื่อง สังคมมนุษย์ โดยวิเคราะห์ลักษณะสังคมมนุษย์ให้ครอบคลุมหัวข้อ ต่อไปนี้

                    1)    ความสำคัญ

                    2)    โครงสร้างทางสังคม

                    3)    การขัดเกลาทางสังคม

                    4)    การเปลี่ยนแปลงในสังคม

            8.            ครูเลือกผลงานที่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี แล้วนำมาจัดป้ายนิเทศแสดงผลงานของนักเรียน

            Ÿ     นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สังคมมนุษย์

”   สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

9.1       สื่อการเรียนรู้

1.     หนังสือเรียน หน้าที่พลเมือง ฯ ม.4-ม.6

2.    ใบงานที่ 1.1 เรื่อง สถาบันครอบครัว

3.    ใบงานที่ 1.2 เรื่อง สถาบันเศรษฐกิจ

4.    ใบงานที่ 1.3 เรื่อง สถาบันการเมืองการปกครอง

5.    ใบงานที่ 1.4 เรื่อง สถาบันการศึกษา

6.     ใบงานที่ 1.5 เรื่อง สถาบันศาสนา

7.     ใบงานที่ 1.6 เรื่อง สถาบันนันทนาการ

8.     ใบงานที่ 1.7 เรื่อง การปฏิบัติตนเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสถาบันทางสังคม

9.     ใบงานที่ 1.8 เรื่อง ข่าวปัญหาเด็กและเยาวชนสมัยใหม่

10.      ใบงานที่ 2.1 เรื่อง สังคมยุคโลกาภิวัตน์

11.      ใบงานที่ 2.2 เรื่อง ปัญหาสังคมไทย

9.2       แหล่งการเรียนรู้

1.    ห้องสมุด

2.    แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

      http://www.m-society.go.th

      http://www.thaisociety.go.th

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน ประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 1

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.        เพราะเหตุใด มนุษย์จึงต้องอยู่รวมกันเป็นสังคม

            ก.        เพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรม                                 

            ข.    เพื่อสร้างความเจริญให้กับสังคม

            ค.    เพื่อสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์

            ง.        เพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคม

2.        ข้อใดจัดเป็นสังคม

            ก.        สุพจน์นั่งอ่านหนังสือการ์ตูนริมน้ำ

            ข.    สุชาติยืนรอรถเมล์สาย 113 ที่ป้ายรถเมล์

            ค.    นารีหัวเราะเสียงดังเมื่อดูรายการชิงร้อยชิงล้าน

            ง.        วิชัยชวนแม่ไปเที่ยวที่สนามหลวงในงานสัปดาห์วิสาขบูชา

3.        ข้อใดสอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม”

            ก.        มนุษย์สามารถใช้สมองและร่วมมือกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ               

            ข.    มนุษย์ต้องดิ้นรนเพื่อต่อสู้กับความอยู่รอดของชีวิต

ค.มนุษย์ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเพื่อพึ่งพาอาศัยกัน               

ง.     มนุษย์สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี

4.        สถาบันศาสนาควรมีบทบาทร่วมกับรัฐบาล ในเรื่องใด

            ก.        ให้ความร่วมมือกับรัฐอบรมสมาชิกให้มีเจตคติที่ดีต่อการปกครองของรัฐ

            ข.    ปลูกฝังค่านิยม จริยธรรม ความเป็นพลเมืองดีแก่ประชาชน

            ค.    ท้วงติง วิจารณ์นโยบายที่ไม่เหมาะสมของรัฐ                                  

            ง.        ควบคุมและระงับข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น                                 

5.        สถาบันพื้นฐานแรกสุดของสังคมที่ทำหน้าที่อบรมและขัดเกลาให้สมาชิก คือ สถาบันใด

            ก.        สถาบันครอบครัว                                                   

            ข.    สถาบันเศรษฐกิจ

            ค.    สถาบันการศึกษา                                                

            ง.        สถาบันศาสนา

6.        “โครงสร้างของสังคม” คือข้อใด

            ก.        สิ่งที่เป็นองค์ประกอบค้ำจุนสังคม              

            ข.    อุดมการณ์ของสังคมเพื่อความมั่นคงถาวร                       

            ค.    วัตถุประสงค์ที่วางไว้เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย                

            ง.        ความสัมพันธ์อย่างมีแบบแผนที่เกื้อหนุนและโยงใยต่อกันและกัน

7.        นายนพพรปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด เขาปฏิบัติตามข้อใด

            ก.        ค่านิยมทางสังคม                                           

            ข.    บรรทัดฐานทางสังคม

            ค.    สถานภาพทางสังคม                                                         

            ง.        ศีลธรรมจรรยา

8.        ข้อใดไม่ใช่วิถีประชา

            ก.        วัยรุ่นชอบใส่เสื้อยืด กางเกงยีนส์                

            ข.    นักเรียนพูดจาไม่สุภาพจะถูกติเตียนเสมอ                

            ค.    ห้ามสูบบุหรี่บนรถประจำทาง ปรับ 2,000 บาท                  

            ง.        ชาวพุทธสวดมนต์ไหว้พระเพื่อทำจิตใจให้สงบ

9.        ข้อใดถือเป็นสถานภาพที่ได้มาด้วยความสามารถ

            ก.        หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล สร้างภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์                                                        

            ข.    พรทิพย์ นาคหิรัญกนก ได้รับคัดเลือกเป็นนางงามจักรวาล

            ค.    นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นคนจังหวัดสุพรรณบุรี                                                     

            ง.        สัญญาเป็นลูกคนโตพ่อจึงมอบกิจการให้เขาดูแล

10.      ข้อใดถือว่า เป็นการทำผิดจารีตหรือกฎศีลธรรม

            ก.        ลูกอกตัญญู

            ข.    การเขียนหนังสือด้วยมือซ้าย

            ค.    การหลีกเลี่ยงการเสียภาษี

            ง.        การไม่ทำพิธีเจิมร้านค้าที่เปิดใหม่

11.      องค์กรใดที่มีบทบาทสำคัญที่สุด ในกระบวนการขัดเกลาทางสังคม

            ก.        วัด

            ข.    โรงเรียน

            ค.    ครอบครัว

            ง.        สื่อมวลชน

12.      การกระทำใดถือว่าเป็นการขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อม

            ก.        ในขณะรับประทานอาหารร่วมกัน คุณแม่จะบอกให้เคี้ยวอาหารหมดปากก่อนที่จะพูด                                              ข.            ดวงใจและเพื่อนสามารถร้องเพลงตามจังหวะที่ฟังจากวิทยุได้ถูกต้อง

            ค.    คุณครูให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มเพื่อฝึกความเป็นประชาธิปไตย                              

            ง.        คุณยายสอนให้สวยรู้จักทำความเคารพผู้ใหญ่      

13.      ข้อใดกล่าวถึง “การจัดระเบียบทางสังคม” ได้อย่างชัดเจนที่สุด

            ก.        กฎระเบียบและกติกาของกลุ่มคนที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

            ข.    ความสัมพันธ์ของสมาชิกในแต่ละสังคมซึ่งมีความผูกพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น

            ค.    การอยู่ร่วมกันของกลุ่มคนในแต่ละสังคมซึ่งมีการดำเนินชีวิตไม่แตกต่างกัน

            ง.        วิธีการที่คนในสังคมกำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นระเบียบกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน

14.      ข้อใดอธิบายลักษณะของสังคมไทยได้ถูกต้องที่สุด

            ก.        ภาพยนตร์เกาหลีมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคนปัจจุบันมากขึ้น

            ข.    เป็นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป       

            ค.    ศูนย์รวมจิตใจของคนไทยคือสถาบันพระมหากษัตริย์                           

            ง.        โทรศัพท์มือถือทำให้ภาษาไทยวิบัติมากขึ้น

15.      สถาบันใดในสังคมไทยมีบทบาทสำคัญที่สุด ที่จะทำให้สมาชิกในสังคมเป็นพลเมืองดีตามที่สังคม

            คาดหวัง

            ก.        สถาบันครอบครัว       

            ข.    สถาบันการศึกษา        

            ค.    สถาบันการเมือง

            ง.        สถาบันศาสนา

16.      ปัญหาสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากมายในปัจจุบัน มีสาเหตุพื้นฐานมาจากข้อใด 

            ก.        วัฒนธรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้ามา

            ข.    ความบกพร่องของผู้บริหารประเทศ

            ค.    จำนวนการเพิ่มของจำนวนประชากร

            ง.        ความเสื่อมโทรมทางศีลธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดี

17.      ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาต่อสังคมหลายๆ ด้าน ข้อใดไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหายาเสพติด

            ก.        ปัญหาอาชญากรรม                                                   

            ข.    ปัญหาทำร้ายร่างกาย

            ค.    ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ                                        

            ง.        ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

18.      การกระทำในข้อใด ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ

            ในสังคมไทย

            ก.        การจราจรติดขัด                                                              

            ข.    การตัดไม้ทำลายป่า

            ค.    การสร้างโรงงานอุตสาหกรรมมาก                                        

            ง.        การใช้วัสดุอุปโภคบริโภคไม่เหมาะสม

19.      ปัญหาการทุจริตซึ่งถือเป็นปัญหาที่สำคัญระดับชาติ ข้อใดเป็นแนวทางการแก้ไขที่สำคัญ

            ก.        สอนให้ภูมิใจในศักดิ์ศรีของตนเอง                                                    

            ข.    รณรงค์ให้คนในสังคมรังเกียจการทุจริต

            ค.    รณรงค์ให้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

            ง.        ปลูกฝังค่านิยมให้เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน

20.      แนวโน้มของสังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์จะมีลักษณะดังต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด

            ก.        ครอบครัวเดี่ยวมีมากขึ้น            

            ข.    คุณธรรมและจริยธรรมเสื่อมลง                      

            ค.    ชายหญิงนิยมอยู่กันก่อนจะแต่งงาน              

            ง.        เชื่อในเรื่องโชคลางและไสยศาสตร์

ลูกศรขวา: เฉลย 

                                                1.        ค             2.        ง              3.        ค             4.        ข             5.        ก

                                                6.        ง              7.        ข             8.        ค             9.        ข             10.  ก

                                                11.  ค             12.  ข             13.  ง              14.  ค             15.  ก

                                                16.  ง              17.  ค             18.  ข             19.  ง              20.  ง    

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สังคมมนุษย์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4-6

เรื่อง  โครงสร้างทางสังคมและการขัดเกลาทางสังคม

เวลา 3  ชั่วโมง

u      สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

            การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างปกติสุขนั้น จะต้องมีการจัดระเบียบสังคมและมีสถาบันทางสังคม                  ช่วยทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคม

v      ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

            2.1    ตัวชี้วัด

                        ส 2.1         ม.4-6/2      วิเคราะห์ความสำคัญของโครงสร้างทางสังคม การขัดเกลาทางสังคม                

                                                                และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

            2.2    จุดประสงค์การเรียนรู้

                        1.        รู้และเข้าใจความหมาย องค์ประกอบและเห็นความสำคัญในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม

                        2.        วิเคราะห์โครงสร้างทางสังคมและเห็นความสำคัญของการจัดระเบียบทางสังคม

                        3.        วิเคราะห์ความสำคัญในการขัดเกลาทางสังคม

w      สาระการเรียนรู้

            3.1    สาระการเรียนรู้แกนกลาง

                        1.        โครงสร้างทางสังคม

                                -      การจัดระเบียบทางสังคม

                                -      สถาบันทางสังคม

                        2.        การขัดเกลาทางสังคม                                       

            3.2    สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

                        -     

      สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

4.1       ความสามารถในการสื่อสาร

4.2        ความสามารถในการคิด

            -      ทักษะการคิดวิเคราะห์

4.3    ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

         -      กระบวนการทำงานกลุ่ม

      คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1.     มีวินัย

2.    ใฝ่เรียนรู้

3.    มุ่งมั่นในการทำงาน

‘      กิจกรรมการเรียนรู้

            (วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคคู่คิด  วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา)

         Ÿ     นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สังคมมนุษย์

วงรี: ชั่วโมงที่ 1  

         1.        ให้นักเรียนดูภาพ พ่อแม่ และลูก (วัยแรกเกิด) แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับคำถาม ต่อไปนี้

                    1)        ทารกแรกเกิดในระยะเริ่มต้นของชีวิตจะต้องได้รับการเลี้ยงดูอย่างไรบ้าง และมีใครเป็นผู้ช่วยเหลือ

                            แนวคำตอบ       ต้องกินนม ต้องขับถ่าย ต้องอาบน้ำ สระผม เช็ดสะดือ ฉีดวัคซีน เปลี่ยนเสื้อผ้า                                                                          และมีบิดามารดา ญาติพี่น้อง แพทย์ พยาบาล พี่เลี้ยง เป็นผู้ช่วยเหลือ

                    2)        นักเรียนคิดว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่มนุษย์จะดำรงชีวิตตามลำพังโดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นเลย                                                 แนวคำตอบ       คงเป็นไปได้ยาก เพราะมนุษย์ต้องดำรงชีวิตด้วยปัจจัย 4 เพื่อตอบสนอง

                                                        ความต้องการพื้นฐานด้านชีวภาพ กายภาพ และการให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้

                                                        ต้องอาศัยพึ่งพาผู้อื่นเป็นส่วนใหญ่

            2.        ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปความหมาย และความสำคัญของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม

                    แล้วครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์ประกอบของสังคมมนุษย์

            3.        ครูนำภาพบ้านที่สวยงามมาให้นักเรียนดู และสนทนาเชิงวิเคราะห์ในประเด็นเหล่านี้ เช่น                                     -                  โครงสร้างบ้าน ประกอบด้วยอะไรบ้าง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร และมีประโยชน์ต่อสมาชิก                                                      ของบ้านอย่างไร

                    -      ในทัศนะของนักเรียนคำว่า บ้านสวยงาม กับบ้านน่าอยู่ ต่างกันอย่างไร

                    -      สมาชิกของบ้านควรมีพฤติกรรมอย่างไรต่อบ้านที่สวยงาม เพื่อให้เป็นบ้านที่น่าอยู่ และนักเรียน

                            กับคนในบ้านได้กระทำหรือไม่

                    -      พฤติกรรมที่ทำให้บ้านไร้ความงามและไม่น่าอยู่เป็นอย่างไร นักเรียนได้กระทำหรือไม่                                                            กระทำอย่างไร เป็นเพราะเหตุใด

                    ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจว่า บ้านเปรียบเหมือนสังคมหรือโลกที่มีสมาชิกอาศัยอยู่                                         โครงสร้างและองค์ประกอบของบ้านมีประโยชน์ งดงามน่าอยู่  ดังนั้น ถ้าสมาชิกในครอบครัว

                    ต่างปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ก็ส่งผลต่อบ้าน ชุมชน สังคม และโลกให้น่าอยู่เช่นกัน

            4.        ครูให้นักเรียนดูแผนภูมิองค์ประกอบโครงสร้างทางสังคม และอธิบายให้นักเรียนเข้าใจลักษณะ

                    การจัดระเบียบทางสังคมและสถาบันทางสังคม

                                                                                โครงสร้างทางสังคม

 

                    การจัดระเบียบทางสังคม                                                              สถาบันทางสังคม

                            ¬ ระบบคุณค่าของสังคม                                                               ¬ สถาบันครอบครัว

                            ¬ บรรทัดฐานหรือปทัสถานทางสังคม                                       ¬ สถาบันเศรษฐกิจ

                            ¬ สถานภาพและบทบาท                                                               ¬ สถาบันการเมืองการปกครอง

                                                                                                                                        ¬ สถาบันการศึกษา

                                                                                                                                        ¬ สถาบันศาสนา

                                                                                                                                        ¬ สถาบันนันทนาการ

                                                                                                                                        ¬ สถาบันสื่อสารมวลชน                                                                                                                                                                                                      

            5.        ให้นักเรียนรวมกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน และให้จับคู่กันเป็น 3 คู่ แต่ละคู่ศึกษาความรู้เรื่อง การจัด

                    ระเบียบทางสังคม จากหนังสือเรียน คู่ละ 1 เรื่อง ดังนี้

                    -      คู่ที่ 1  ศึกษาเรื่อง  ระบบคุณค่าทางสังคม

                    -      คู่ที่ 2  ศึกษาเรื่อง  บรรทัดฐานหรือปทัสถานทางสังคม

                    -      คู่ที่ 3  ศึกษาเรื่อง  สถานภาพและบทบาท

            6.        ให้แต่ละคู่ผลัดกันศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อที่กำหนดไว้ และผลัดกันเล่าเรื่องรอบวงในประเด็นที่สำคัญ

                    ของหัวข้อที่ตนได้รับมอบหมายให้เพื่อนในกลุ่มฟังจนครบทุกเรื่อง

            7.        ครูสุ่มเรียกนักเรียน 2 - 3 คู่ สนทนาซักถามเกี่ยวกับองค์ประกอบของการจัดระเบียบทางสังคม

                    โดยครูคอยอธิบายเพิ่มเติม

            8.        ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง การจัดระเบียบทางสังคม

วงรี: ชั่วโมงที่ 2                

            1.            ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับความจำเป็นที่ต้องมีสถาบันทางสังคม แล้วให้นักเรียนช่วยกันเขียนความรู้เดิมเกี่ยวกับสถาบันทางสังคม ลงในกระดาษ และนำมาติดที่กระดานหน้าชั้นเรียนให้ถูกต้อง

            2.            นักเรียนรวมกลุ่มกัน กลุ่มละ 6 คน และให้ทุกคนมีหมายเลขประจำตัว 1-6 ตามลำดับ แล้วให้

                    นักเรียนแต่ละคนที่มีหมายเลขเดียวกันไปรวมกันเป็นกลุ่มใหม่ และศึกษาความรู้จากหนังสือเรียน

                    และทำใบงานที่กำหนดให้ ดังนี้

-       กลุ่มหมายเลข  1  ทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง สถาบันครอบครัว

-       กลุ่มหมายเลข  2  ทำใบงานที่ 1.2 เรื่อง สถาบันเศรษฐกิจ

-       กลุ่มหมายเลข  3  ทำใบงานที่ 1.3 เรื่อง สถาบันการเมืองการปกครอง

-       กลุ่มหมายเลข  4  ทำใบงานที่ 1.4 เรื่อง สถาบันการศึกษา

-       กลุ่มหมายเลข  5  ทำใบงานที่ 1.5 เรื่อง สถาบันศาสนา

-       กลุ่มหมายเลข  6  ทำใบงานที่ 1.6 เรื่อง สถาบันนันทนาการ

            3.        นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้จากหนังสือเรียน และร่วมกันสรุปความรู้ จากการศึกษาค้นคว้า และช่วยกันตอบคำถามในใบงานที่แต่ละกลุ่มได้รับ ทำความเข้าใจเนื้อหาให้ชัดเจนในประเด็นที่สำคัญที่เป็นความรู้ใหม่

            4.        ให้นักเรียนกลุ่มใหม่กลับเข้าสู่กลุ่มเดิม และนำข้อมูลความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาและทำใบงานกลับไปขยายผลให้เพื่อนกลุ่มเดิมของตนฟัง

            5.        นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันจนครบทุกเรื่อง และย้ำเตือนให้ทุกคนตั้งใจฟังข้อมูล

            6.        นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน แล้วบันทึกข้อสรุปลงในกระดาษ

            7.        นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันคิดรูปแบบการนำเสนอผลงานให้น่าสนใจ ซึ่งสามารถนำเสนอได้หลากหลายรูปแบบ แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน จากนั้นครูและนักเรียนช่วยสรุปบทเรียน

            8.        นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำใบงานที่ 1.7 เรื่อง การปฏิบัติตนเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสถาบันทางสังคม แล้วออกมานำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน

วงรี: ชั่วโมงที่ 3  

1.        ครูให้นักเรียนดูภาพการกระทำที่ไม่เหมาะสมของเยาวชน เช่น เล่นการพนัน เที่ยวสถานบันเทิง

        เสพสารเสพติด ฯลฯ แล้วร่วมกันอภิปรายถึงสาเหตุ-ผลของการกระทำ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของ

        องค์กรทางสังคมต่างๆ ในการขัดเกลา เพื่อให้เยาวชนได้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เหมาะสม

2.        ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่าจะมีกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคหมวกหกใบ และอธิบายถึง

        ลักษณะพื้นฐานของหมวกหกใบ ครูชี้แจงบทบาท หน้าที่ ขั้นตอน กติกา การอภิปรายให้นักเรียนเข้าใจ

3.        ครูอธิบายรายละเอียดของประเด็นที่จะอภิปรายเกี่ยวกับการขัดเกลาทางสังคม

4.        ครูอธิบายขั้นการสาธิตการใช้หมวกหกใบ ดังนี้

        1)        ครูขออาสาสมัครนักเรียน 6 คน สาธิตวิธีการใช้หมวกหกใบตามสีของหมวก พร้อมอธิบาย

                แนะนำตัวอย่างเพื่อสร้างความเข้าใจ

        2)        ครูสาธิตวิธีการใช้หมวก ดังนี้

                (1)  หมวกฟ้า           เริ่มต้นด้วยการนำอภิปรายและเป็นผู้สรุปภาพรวมขั้นตอนสุดท้ายด้วย                                                                   (2)    หมวกขาว          เสนอข้อมูล ข้อเท็จจริง (เช่น เรื่องนี้ได้ข้อมูลมาด้วยวิธีใด)

                            (3)  หมวกแดง         แสดงความรู้สึก อารมณ์ (เช่น รู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้)

                            (4)  หมวกดำ            บอกข้อบกพร่อง จุดอ่อน โทษหรือผลเสีย (เช่น เรื่องนี้จะเกิดผลเสียอะไรบ้าง)

                            (5)  หมวกเหลือง    เสนอข้อคิดที่เป็นประโยชน์ (เช่น เรื่องนี้มีข้อดีอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะเกิด

                                                    ประโยชน์)

                (6)  หมวกเขียว        เสนอแนวทางพัฒนา หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่อไป (เช่น มีวิธีการใดที่

                                                    จะทำให้มันดีขึ้น)

5.        ขั้นการฝึกปฏิบัติ ครูให้นักเรียนรวมกลุ่มกัน กลุ่มละ 6 คน ศึกษาความรู้เรื่อง การขัดเกลาทางสังคม                      จากหนังสือเรียน และทำใบงานที่ 1.8 เรื่อง ข่าวปัญหาเด็กและเยาวชนสมัยใหม่

6.        ให้นักเรียนเลือกใช้หมวกคนละ 1 ใบ และเริ่มต้นฝึกปฏิบัติแสดงข้อคิด เสนอข้อดีข้อเสีย และแนวทาง                                   การแก้ไขพัฒนา ตามประเด็นในใบงาน

            7.        ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปผลการอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาของเด็กและเยาวชนสมัยใหม่ และการ          ขัดเกลาทางสังคม และเสนอผลการอภิปรายต่อชั้นเรียน จากนั้นครูและนักเรียนช่วยกันเสนอแนะ

        เพิ่มเติม

’      การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สังคมมนุษย์

แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สังคมมนุษย์

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.1

ใบงานที่ 1.1

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.2

ใบงานที่ 1.2

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.3

ใบงานที่ 1.3

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.4

ใบงานที่ 1.4

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.5

ใบงานที่ 1.5

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.6

ใบงานที่ 1.6

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.7

ใบงานที่ 1.7

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.8

ใบงานที่ 1.8

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

“   สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

         8.1 สื่อการเรียนรู้

                1.        หนังสือเรียน หน้าที่พลเมืองฯ  ม.4-ม.6

                    2.        ใบงานที่ 1.1 เรื่อง สถาบันครอบครัว

                    3.        ใบงานที่ 1.2 เรื่อง สถาบันเศรษฐกิจ

                    4.        ใบงานที่ 1.3 เรื่อง สถาบันการเมืองการปกครอง

                    5.        ใบงานที่ 1.4 เรื่อง สถาบันการศึกษา

                    6.    ใบงานที่ 1.5 เรื่อง สถาบันศาสนา

                    7.    ใบงานที่ 1.6 เรื่อง สถาบันนันทนาการ

                    8.        ใบงานที่ 1.7 เรื่อง การปฏิบัติตนเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสถาบันทางสังคม

                    9.        ใบงานที่ 1.8 เรื่อง ข่าวปัญหาเด็กและเยาวชนสมัยใหม่

            8.2 แหล่งการเรียนรู้

               1.        ห้องสมุด

               2.        แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

        http://www.m-society.go.th

ใบงานที่ 1.1  เรื่อง สถาบันครอบครัว

คำชี้แจง   ให้สมาชิกหมายเลข 1 ศึกษาความรู้ เรื่อง สถาบันครอบครัว จากหนังสือเรียน และร่วมกันอภิปราย

   ตามหัวข้อที่กำหนดให้

1.    จงอธิบายความสำคัญของสถาบันครอบครัว

2.    สมาชิกของสถาบันมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร

เฉลยใบงานที่ 1.1  เรื่อง สถาบันครอบครัว

คำชี้แจง   ให้สมาชิกหมายเลข 1 ศึกษาความรู้เรื่อง สถาบันครอบครัว จากหนังสือเรียน และร่วมกันอภิปราย

   ตามหัวข้อที่กำหนดให้

1.    จงอธิบายความสำคัญของสถาบันครอบครัว

เป็นสถาบันพื้นฐานแรกของสังคมมนุษย์ ทุกสังคมต้องมีสถาบันครอบครัว เพื่อผลิตสมาชิกใหม่อันเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมอยู่รอด เป็นที่ปลูกฝังและถ่ายทอดวัฒนธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่          ขัดเกลาทางสังคม สถาบันครอบครัวจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างครอบครัวให้มีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลให้สังคมมีความเข้มแข็งอีกด้วย                                                                                                      

2.    สมาชิกของสถาบันมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร

สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนมีบทบาทหน้าที่ต่างกัน ถ้าทุกคนรู้บทบาทหน้าที่ มีความรับผิดชอบ             ย่อมเป็นพลังที่เข้มแข็งที่จะช่วยกันพัฒนาสังคมและประเทศชาติ เช่น ช่วยกันใช้จ่ายอย่างประหยัด          มีเงินออมในการลงทุนทำกิจการต่างๆ ช่วยกันอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม                                            

ใบงานที่ 1.2 เรื่อง สถาบันเศรษฐกิจ

คำชี้แจง   ให้สมาชิกหมายเลข 2 ศึกษาความรู้ เรื่อง สถาบันเศรษฐกิจ จากหนังสือเรียน และร่วมกันอภิปราย

   ตามหัวข้อที่กำหนดให้

1.    จงอธิบายความสำคัญของสถาบันเศรษฐกิจ

2.    สมาชิกของสถาบันมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร

เฉลยใบงานที่ 1.2 เรื่อง สถาบันเศรษฐกิจ

คำชี้แจง   ให้สมาชิกหมายเลข 2 ศึกษาความรู้ เรื่อง สถาบันเศรษฐกิจ จากหนังสือเรียน และร่วมกันอภิปราย

   ตามหัวข้อที่กำหนดให้

1.    จงอธิบายความสำคัญของสถาบันเศรษฐกิจ

สถาบันเศรษฐกิจมีส่วนสำคัญที่ทำให้คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถนำเงินที่หามาได้จับจ่ายใช้สอย ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น นอกจากนี้สถาบันเศรษฐกิจได้สร้างงาน สร้างอาชีพให้กับผู้คนมากมาย มีการอพยพเคลื่อนย้ายของแรงงานทั้งภายในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งส่งผลทั้งในด้านการพัฒนา และปัญหาสังคมตามมา                                                                                                         

2.    สมาชิกของสถาบันมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร

สมาชิกของสถาบันทางเศรษฐกิจมีบทบาทด้านการผลิตสินค้าและการบริการ มีการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มีการแข่งขันกันในด้านคุณภาพและปริมาณ ก่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนาประเทศชาติ นอกจากนี้ เมื่อสังคมเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าอย่างไร้พรมแดน ทำให้ความเจริญกระจายไปยังประเทศต่างๆ อย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจให้ก้าวล้ำทันสมัย