ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

1.1 การเคลื่อนไหวโดยอาศัยการไหลของไซโทพลาซึม

 ภายในไซโทพลาซึมมีไมโครฟิลาเมนต์ เป็นเส้นใยโปรตีนแอกทินและไมโอซิน ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ทำให้เอนโดพลาซึมไหลไปมาภายในเซลล์ได้และดันเยื่อหุ้มเซลล์ให้โป่งออกมาเป็นขาเทียม ทำให้อะมีบาเคลื่อนไหวได้ เรียกว่า การเคลื่อนไหวแบบอะมีบา ไซโทพลาซึมในเซลล์อะมีบาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ      - ชั้นนอก  (ectoplasm)  มีลักษณะค่อนข้างแข็งและไหลไม่ได้      - ชั้นใน  (endoplasm)  มีลักษณะเป็นของเหลวและไหลได้

ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

1.2  การเคลื่อนไหวโดยอาศัยแฟลเจลลัมหรือซิเลีย
การเคลื่อนไหวโดยอาศัยแฟลเจลลัมหรือซิเลียซึ่งเป็นโครงสร้างเล็กๆ ที่ยื่นออกมาจากเซลล์สามารถโบกพัดไปมาได้ ทำให้สิ่งมีชีวิตเคลื่อนที่ไปได้

แฟลเจลลัม  (flagellum)
       -  มีลักษณะเป็นเส้นยาว ๆ คล้ายหนวดยาวกว่าซิเลีย  แฟลเจลลัม
  เป็นโครงสร้างที่พบในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
  บางชนิด  เช่น ยูกลีน่า  วอลวอกซ์

ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

ซิเลีย  (cilia)
    -  มีลักษณะเป็นเส้นเล็ก ๆ  ยื่นยาวออกจากเซลล์ของพืช หรือสัตว์เซลล์เดียว หรือเซลล์สืบพันธุ์ใช้โบกพัดเพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่ภายในน้ำหรือของเหลว  พบในพารามีเซียม  พลานาเรีย

ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต Part 1
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต
 ID: 2169575
Language: Thai
School subject: ชีววิทยา
Grade/level: ุ6
Age: 10-18
Main content: การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต
Other contents: สิ่งมีชีวิตเซลล์ดียว,สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
 Add to my workbooks (6)
ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
 Embed in my website or blog
ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
 Add to Google Classroom
ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
 Add to Microsoft Teams
ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
 Share through Whatsapp

Link to this worksheet:  Copy
ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

fatherantharry_Nee


ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

What do you want to do?

ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
Check my answersEmail my answers to my teacher

Enter your full name:

Group/level:

School subject:

Enter your teacher's email or key code:

Cancel

Please allow access to the microphone
Look at the top of your web browser. If you see a message asking for permission to access the microphone, please allow.

Close

การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
ให้เลือกคำตอบที่ถูกต้อง
 ID: 2185201
Language: Thai
School subject: ชีววิทยา
Grade/level: ม.6
Age: 18-18
Main content: การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต
Other contents: การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
 Add to my workbooks (3)
ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
 Download file pdf
ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
 Embed in my website or blog
ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
 Add to Google Classroom
ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
 Add to Microsoft Teams
ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
 Share through Whatsapp

Link to this worksheet:  Copy
ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

Jutarat0427


ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

What do you want to do?

ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
Check my answersEmail my answers to my teacher

Enter your full name:

Group/level:

School subject:

Enter your teacher's email or key code:

Cancel

Please allow access to the microphone
Look at the top of your web browser. If you see a message asking for permission to access the microphone, please allow.

Close

การแบ่งเซลล์ เป็นพื้นฐานของการมีชีวิตรอดของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจนถึงมนุษย์

การแบ่งเซลล์ (Cell Division) คือ การเพิ่มจำนวนของเซลล์ (cell) ในสิ่งมีชีวิต เพื่อการเจริญเติบโตและรักษา ซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ รวมถึงสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่คงไว้ซึ่งสารพันธุกรรม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมลักษณะ และการแสดงออกที่เป็นเอกลักษณ์ของชนิดพันธุ์

กระบวนการแบ่งเซลล์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่

การแบ่งนิวเคลียส (Karyokinesis) ประกอบด้วย 2 ลักษณะ คือ

การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (Mitosis)

คือการแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนของเซลล์ร่างกาย (Somatic Cell) ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (Multicellular Organism) เช่น พืช สัตว์ และมนุษย์ และเป็นการแบ่งเซลล์เพื่อการสืบพันธุ์ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (Unicellular Organism) และการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในพืช

การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเป็นการเพิ่มจำนวนเซลล์จาก 1 เซลล์ดั้งเดิมเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 2 เซลล์ โดยที่เซลล์เกิดใหม่ยังคงมีคุณสมบัติเหมือนเซลล์ต้นแบบทุกประการ ทั้งชนิดและจำนวนของโครโมโซม (Chromosome)

การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสสามารถจำแนกออกเป็น 5 ระยะหรือที่เรียกกันว่า “วัฏจักรเซลล์” (Cell Cycle) ดังนี้

ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
ภาพเปรียบเทียบระหว่างเซลล์พืชและเซล์สัตว์
  1. ระยะอินเตอร์เฟส (Interphase) เป็นระยะพักและเตรียมการแบ่งเซลล์ กิจกรรมของเซลล์ในระยะนี้มีการเจริญเติบโตเต็มที่ มีกระบวนการเมทาบอลิซึม (Metabolism) สูง เซลล์สะสมวัตถุดิบสำหรับการสังเคราะห์สารต่าง ๆ และที่สำคัญคือ การสังเคราะห์สารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) เพิ่มขึ้น ทำให้มีการจำลองตัวของโครโมโซมเพิ่มขึ้น 1 ชุด เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแบ่งตัวของนิวเคลียสและไซโทพลาซึมในขั้นตอนต่อไป
  2. ระยะโพรเฟส (Prophase) : โครงสร้างของโครโมโซมจะปรากฏให้เห็นเป็นรูปตัวเอกซ์ (X) ชัดเจนขึ้น โดยในเซลล์ของสัตว์มีการเคลื่อนที่ของเซนทริโอล (Centriole) ซึ่งเคลื่อนตัวไปอยู่บริเวณขั้วตรงข้ามทั้ง 2 ด้านของเซลล์ ก่อนสร้างเส้นใยโปรตีนที่เรียกว่า “ไมโทติกสปินเดิล” (Mitotic Spindle) หรือ “สปินเดิลไฟเบอร์” (Spindle Fiber) ไปยึดเกาะเซนโทรเมียร์ (Centromere) หรือบริเวณจุดกึ่งกลางของโครโมโซม ซึ่งในเซลล์พืชจะมีขั้วตรงกันข้าม (Polar Cap) ทำหน้าที่แทนเซนทริโอล โดยในปลายระยะนี้ เยื่อหุ้มนิวเคลียส (Nuclear Membrane) และนิวคลีโอลัส (Nucleolus) ภายในเซลล์จะค่อย ๆ สลายตัวไป
  3. ระยะเมทาเฟส (Metaphase) : เป็นระยะที่เส้นใยสปินเดิลหดตัวและดึงให้โครโมโซมมาเรียงตัวอยู่ร่วมกันในแนวกึ่งกลางของเซลล์ และเป็นช่วงเวลาที่โครโมโซมมีการหดตัวลงสั้นที่สุด เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแบ่งตัวและการเคลื่อนที่ ส่งผลให้ระยะเมทาเฟสเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมแก่การนับจำนวน ศึกษารูปร่าง และความผิดปกติของโครโมโซม (Karyotype) โดยโครโมโซมเริ่มมีการเคลื่อนที่แยกออกจากกันในช่วงปลายของระยะนี้
  4. ระยะแอนาเฟส (Anaphase) : เป็นระยะที่เส้นใยสปินเดิลหดสั้นลงจนทำให้โครมาทิด (Chromatid) หรือ แท่งแต่ละแท่งในคู่โครโมโซมถูกดึงแยกออกจากกันไปอยู่บริเวณขั้วในทิศทางตรงกันข้าม โครโมโซมภายในเซลล์จะเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 2 เท่า ซึ่งถือเป็นกระบวนการแบ่งตัว เพื่อสร้างเซลล์ใหม่ขึ้น 2 เซลล์ ซึ่งระยะแอนาเฟสเป็นระยะที่ใช้เวลาสั้นที่สุดในขั้นตอนทั้งหมด
  5. ระยะเทโลเฟส (Telophase) : เป็นระยะที่โครมาทิดซึ่งแยกออกจากกันหรือที่เรียกว่า “โครโมโซมลูก” (Daughter Chromosome) เกิดการรวมกลุ่มกันบริเวณขั้วตรงข้ามของเซลล์ จากนั้นโครโมโซมลูกแต่ละแท่งจะคลายตัวออกเป็นเส้นใยโครมาทิน (Chromatin) ขณะเดียวกันเส้นใยสปินเดิลจะละลายตัวไป เกิดนิวคลีโอลัสและเยื่อหุ้มนิวเคลียสขึ้นอีกครั้งล้อมรอบเส้นใยดังกล่าว ดังนั้นตอนปลายของระยะนี้ จะเห็นเซลล์มีนิวเคลียสเพิ่มขึ้นเป็น 2 ส่วน

ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง :เซลล์พืช และเซลล์สัตว์

การแบ่งเซลล์ แบบไมโอซิส (Meiosis)

คือการเพิ่มจำนวนเซลล์ในสิ่งมีชีวิตที่มีความซับซ้อนและมีขั้นตอนมากขึ้น เพื่อการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ เป็นการเพิ่มจำนวนเซลล์จากเซลล์ดั้งเดิม 1 เซลล์ ก่อกำเนิดเซลล์ใหม่ 4 เซลล์ โดยภายในเซลล์เหลือจำนวนโครโมโซมเพียงครึ่งเดียว และจะกลับมารวมกันมีโครโมโซมเท่าเดิมเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการปฏิสนธิระหว่างเซลล์สืบพันธุ์

เมื่อเกิดการปฏิสนธิหรือเข้ากระบวนการผสมพันธุ์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในสารพันธุกรรม หรือการแปรผันทางพันธุกรรม (Gene Variation) ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพ และวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

ขั้นตอนของการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสสามารถจำแนกออกเป็น 2 ขั้นตอน โดยในแต่ละขั้นตอนมีด้วยกัน 5 ระยะเช่นเดียวกับการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส คือ ระยะอินเตอร์เฟส (Interphase) โพรเฟส (Prophase) เมทาเฟส (Metaphase) แอนนาเฟส (Anaphase) และเทโลเฟส (Telophase) ดังนี้

การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสขั้นที่ 1 (Meiosis I) : ปรากฏการณ์ที่แตกต่างไปจากการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส คือ ในระยะโพรเฟส หลังการจำลองตัวของดีเอ็นเอ โครโมโซมที่เป็นคู่เหมือน (Homologous Chromosome) จะเคลื่อนที่เข้าหากัน หรือที่เรียกว่า “การเกิดไซแนปซิส” (Synapsis)

โครโมโซมคู่เหมือนที่แนบชิดติดกันจะมีช่วงบริเวณปลายไขว้สลับกัน เป็นปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนของโครมาทิด (Crossing Over) ระหว่างโครโมโซมคู่เหมือนในบริเวณดังกล่าว ซึ่งทำให้เกิดการผันแปรของยีนในสิ่งมีชีวิตรุ่นต่อไป

การแบ่งเซลล์จะดำเนินต่อไป โดยไม่สิ้นสุดลงเมื่อเสร็จการให้กำเนิดเซลล์ใหม่ 2 เซลล์เหมือนการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส แต่จะเริ่มการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสในขั้นที่ 2 ต่อไปเลยทันที

การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสขั้นที่ 2 (Meiosis II) : ก่อนจะเริ่มการแบ่งเซลล์ในขั้นที่ 2  เซลล์บางชนิดจะเกิดระยะอินเตอร์เฟสขึ้นเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ แต่จะไม่มีการจำลองตัวของดีเอ็นเอขึ้นอีก ส่งผลให้การแบ่งเซลล์ในขั้นตอนนี้ มีความคล้ายคลึงกับการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเป็นอย่างมาก ดังนั้น จากการแบ่งเซลล์ทั้งหมด 2 ครั้ง ทำให้เมื่อสิ้นสุดกระบวนการทั้งหมด จะได้เซลล์ใหม่จำนวน 4 เซลล์ ซึ่งแต่ละเซลล์จะมีจำนวนโครโมโซมลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของเซลล์ดั้งเดิม

ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

การแบ่งตัวของไซโทพลาซึม (Cytokinesis) ประกอบด้วย 2 ลักษณะ คือ

การเกิดร่องแบ่ง (Furrow Type) ในเซลล์สัตว์ โดยเยื่อหุ้มเซลล์จะคอดกิ่วจากทั้ง 2 ด้านเข้าสู่ใจกลางเซลล์ จากการเคลื่อนตัวของไมโครฟิลาเมนท์ (Microfilament) หรือเส้นใยโปรตีนที่อยู่ใต้เยื่อหุ้มเซลล์ ทำการแบ่งไซโทพลาซึมของเซลล์สัตว์ออกเป็น 2 ส่วน สุดท้ายเกิดเป็นเซลล์ใหม่ขึ้นจำนวน 2 เซลล์

การสร้างผนังกั้น (Cell Plate Type) ในเซลล์พืช เกิดเซลล์เพลท (cell plate) ขึ้นตรงบริเวณกึ่งกลางเซลล์ ก่อนขยายตัวออกไปทั้ง 2 ด้านของเซลล์ กลายเป็นผนังเซลล์ (Cell Wall) ซึ่งแยกนิวเคลียสออกจากกัน หลังจากการแบ่งตัวของนิวเคลียส การก่อตัวขึ้นของผนังเซลล์ทำให้การแบ่งไซโทพลาซึมในขั้นตอนสุดท้ายเสร็จสมบูรณ์

ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
ใบงาน การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

สืบค้นและเรียบเรียง คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ และณภัทรดนัย


ข้อมูลอ้างอิง

https://biology.mwit.ac.th/Resource/GeneticsPDF/GeneticsCellCycle.pdf

https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/65617/-scibio-sci-

https://il.mahidol.ac.th/e-media/ap-biology2/chapter1/Picture_Chapter1/part3.html

http://www.elfit.ssru.ac.th/kittisak_ja/pluginfile.php/98/block_html/content/วัฏจักรของเซลล์และการแบ่งเซลล์-2559.pdf