ใบ งานที่ 2 องค์ประกอบ ของระบบคอมพิวเตอร์

ใบ งานที่ 2 องค์ประกอบ ของระบบคอมพิวเตอร์

หลักการทำงาน และองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

เมื่อพิจารณาศัพท์คำว่า Computer ถ้าแปลกันตรงตัวตามคำภาษาอังกฤษ
จะหมายถึง เครื่องคำนวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้าง   เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัด คำนวณ
(slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุคยี่สิบปีก่อน
หรือเครื่องคิดเลข ล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด

ใน
ปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง
หมายถึง
เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำ
สั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ
แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.
2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล
ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์"

คุณลักษณะสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์
มี
4 ประการ คือ
          1.
ทำงานโดยอัตโนมัติ ถ้าสังเกตการทำงานของคอมพิวเตอร์ จะพบว่า อุปกรณ์ทุกอย่างของคอมพิวเตอร์ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ
โดยที่คนไม่ได้เข้าไปควบคุม ไม่ว่าจะเป็นการอ่านข้อมูล การคำนวณ
หรือการพิมพ์ผลลัพธ์

          2. ทำงานได้อเนกประสงค์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้อเนกประสงค์ เพราะทำงานได้หลายชนิดขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้
เช่น โปรแกรมเงินเดือน โปรแกรมคิดคะแนนสอบของนักเรียน เป็นต้น

          3. เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันเข้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นอุปกรณ์ทางด้าน
อิเล็คทรอนิคส์ทั้งสิ้น เช่น ทรานซิสเตอร์ วงจรไอซี
ดังนั้นจึงทำงานด้วยความเร็วสูงมาก

          4. เป็นระบบดิจิตอล คำว่า ดิจิตอล (Digital) มาจากคำว่า Digit หมายถึง ตัวเลข
เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ ทำงานโดยใช้ระบบตัวเลข ข้อมูลทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นตัวเลข
ตัวหนังสือ หรือเครื่องหมายในทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
เมื่อส่งเข้าเครื่องรับข้อมูลของคอมพิวเตอร์แล้ว

จะถูกเปลี่ยนเป็นตัวเลขหมด

การทำงานของคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์มีขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอน คือ
1.
รับโปรแกรมและข้อมูล โปรแกรมในที่นี้
หมายถึง ชุดของคำสั่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ส่วนข้อมูล
อาจเป็นตัวเลขหรือตัวหนังสือก็ได้ ที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล

 2. การประมวลผล หมายถึง การจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ

เปรียบเทียบ วิเคราะห์โดยใช้สูตรทางวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์
โดยอาศัยคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น

3. แสดงผลลัพธ์  คือ การนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเสร็จเรียบร้อย แสดงออกในรูปแบบต่าง
ๆ ที่ผู้ใช้เข้าใจ และนำไปใช้ประโยชน์ได้

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ


ใบ งานที่ 2 องค์ประกอบ ของระบบคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

                ฮาร์ดแวร์
(
Hardware)  คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
และ อุปกรณ์รอบข้าง
(peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น
ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย


ใบ งานที่ 2 องค์ประกอบ ของระบบคอมพิวเตอร์

1 หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)
             หน่วยรับข้อมูลเข้า เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่รับข้อมูล
หรือคําสั่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์นําข้อมูล หรือคําสั่งดังกล่าวไปประมวลผลกลางต่อไป
ตัวอย่างของอุปกรณ์ที่จัดอยู่ในหน่วยรับข้อมูลเข้าได้แก่

-แป้นพิมพ์ (Keyboard)

-เมาส์ (Mouse)

-ไมโครโฟน (Microphone)

-แสกนเนอร์ (Scanner)

-กล้องดิจิตอล

-ตัวอย่างของหน่วยรับข้อมูลเข้าแสดงในรูป

 2 หน่วยประมวลผล (Central
Process Unit)

             หน่วยประมวลผลกลาง เป็นหน่วยที่สําคัญที่สุด เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ประมวลผลของมูล
หรือคําสั่งต่าง ๆ และมีหน้าที่ควบคุมระบบต่าง ๆ
ของคอมพิวเตอร์ ให้ทุกหน่วยทํางานสอดคล้องกัน ซึ่งหน่วยประมวลผลการจะประกอบด้วยหน่วยย่อย
ๆ ดังต่อไปนี้

หน่วยความจํา (Memory Unit)

รีจิสเตอร์ (Register) คือ หน่วยความจําที่อยู่ภายใน CPU ทําหน้าที่เก็บข้อมูลที่ส่งมาจากหน่วยความจําหลัก และจะนําข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผล

รอม (Read Only Memory: ROM) คือ หน่วยความจําหลักชนิดถาวรของคอมพิวเตอร์ทําหน้าที่เก็บคําสั่งต่าง ๆ ไม่สามารถแก้ไข้ข้อมูลในรอมได้
เปรียบได้กับหนังสือที่จะเก็บความรู้ต่าง ๆ เอาไว้

แรม (Random Access Memory: RAM) คือ หน่วยความจําหลักชนิดหนึ่งของคอมพิวเตอร์ทําหน้าที่เก็บข้อมูล
หรือคําสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการประมวลผล
สามารถแก้ไขข้อมูลในแรมได้ และข้อมูลจะหายไปเมื่อปิดเครื่อง

คอมพิวเตอร์ เปรียบได้กับกระดาษทดหน่วยคํานวณ และ    ตรรกะ (Arithmetic
and Login Unit: ALU) เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่คํานวณทางด้านคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร หรือคํานวณทางตรรกะศาสตร์ เช่น เปรียบเทียบข้อเท็จ เป็นต้น

หน่วยควบคุม (Control Unit)  เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานทุกๆ หน่วยในCPU และอุปกรณ์ต่อพ่วงให้ทํางานได้อย่างสัมพันธ์กัน

3 หน่วยแสดงผล (Output Unit)
             หน่วยแสดงผลเป็นหน่วยที่ทําหน้าที่นําผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลกลางไปแสดง
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่จัดเป็นชนิดหน่วยแสดงผลได้แก่

-จอภาพ

-เครื่องพิมพ์

-ลําโพง

4 หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง (Secondary
Storage)

             หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง คือ
สื่อในการเก็บบันทึกข้อมูล เช่น
Hard disk, CD-ROM,Tape, Floppy disk เป็นต้น


ใบ งานที่ 2 องค์ประกอบ ของระบบคอมพิวเตอร์

2. ซอฟต์แวร์ (Software)

                คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ
เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (
Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง
ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (
Programming
Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง
ๆ ขึ้นมา

ชนิดของซอฟต์แวร์

เราสามารถแบ่งซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท
คือ

ซอฟต์แวร์ระบบ
(
system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์
(
application software)

ซอฟต์แวร์ระบบ(system software)  คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง
ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ
นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์

ซอฟต์แวร์ประยุกต์(application software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง
ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง
ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ
ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย
เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ


ใบ งานที่ 2 องค์ประกอบ ของระบบคอมพิวเตอร์

ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software : โปรแกรมระบบปฏิบัติการ)

คอมพิวเตอร์
ประกอบด้วย หน่วยรับเข้า
หน่วยส่งออก หน่วยความจำ และหน่วยประมวลผล
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำ
เป็น
ดังนั้นจึงต้องมีซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดการระบบ
หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย

  ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น
รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า
และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง

  ใช้ในการจัดการหน่วยความจำเพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก

  ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น
การขอดูรายการสารในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล


เราสามารถแยกซอฟท์แวร์ระบบ ออกเป็น สองส่วน ดังนี้

ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ
หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า โอเอส (
Operating System
:
OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้
ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดี คือ

1) ดอส เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว
การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์

2) วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส
เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ

3) โอเอสทู เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส แต่บริษัทผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกัน
และการใช้งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์

4) ยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์
ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน
และทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่อปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน

 ตัวแปลภาษา

ใน
การพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง
เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา
ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้
ง่าย
เข้าใจได้
ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้

ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษา
สำหรับแปลภาษา

ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบัน
คือ

1) ภาษาปาสคาล เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้าง
เขียนสั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนความ ผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ
แล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้

2) ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก
สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้

3) ภาษา
ซี เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ
ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้างคล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้
คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง

4) ภาษาโลโก เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรมภาษาโลโกได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก

นอกจากภาษาที่กล่าวถึงแล้ว
ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากมายหลายภาษา เช่น ภาษาฟอร์แทรน

ซอฟท์แวร์สำเร็จรูป(Package Software : โปรแกรมสำเร็จรูป)

ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
(Package Software) ซึ่ง
เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาสำหรับงานทั่ว
ๆ ไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานทั่ว ๆ
ไปขององค์กรหรืองานส่วนตัวได้อย่างหลากหลาย
แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลงหรือแก้ไขโปรแกรมได้
ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมขึ้นมาเอง จึงประหยัดเวลา
แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม
นอกจากนี้ ยังไม่ต้องใช้เวลามากในการฝึกและปฏิบัติอีกด้วย
ซึ่งซอฟต์แวร์สำเร็จรูปนี้มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานที่ขาดบุคลากรที่มี
ความชำนาญในการเขียนโปรแกรม

  ซอฟต์แวร์สำเร็จ

ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ
(
package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก
ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง
ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป
และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี
5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

  1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ - เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร
สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล
เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้

2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน - เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน
ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา
ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด
ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง

3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล - ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ
การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้
เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส

4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ
ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ
กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก

5) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล
โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร

ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
               การ
ประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป
แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้
เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี
หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า
การออกใบเสร็จรับเงิน
การควบคุมสินค้าคงคลัง
ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรง
กับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย

              ซอฟต์แวร์
ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือ
ความต้องการของธุรกิจนั้น
ๆ แล้วจัดทำขึ้น
โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ
เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย
ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม
บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ

3. บุคลากร (Peopleware)

เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน
เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (
user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม
อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ

              ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น
แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง
ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (
power
user)

              ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์
ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน
และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม
(programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่
ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป

             บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์
ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้

การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น
การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล
หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (
Data Entry Operator) เป็นต้น

              การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น

การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล
เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (
System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ
(
System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น

การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์
(
Computer
Operator) เป็นต้น

การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
(
EDP Manager) เป็นต้น


4. ข้อมูลและสารสนเทศ
(
Data / Information)


             ใน
การทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล
เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้
ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง
ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ

               ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน

               สารสนเทศ คือ สิ่งที่ผู้บริหารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ
โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังนี้

- มีความสัมพันธ์กัน (relevant) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

- มีความทันสมัย (timely) ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate) เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
           - มีความกระชับรัดกุม (concise) ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
            -  มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete) ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน


5. กระบวนการทำงาน (Procedure)

กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์  หมาย
ถึง
ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม
เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้
การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น
การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ
ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้

- จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน

- สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้

- เลือกรายการ

- ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ

- บเงิน

- รับใบบันทึกรายการ และบัตร

แหล่งอ้างอิง: 

http://school.ratchathani.ac.th/e_learning/Computer/Education/Computer%20services/Unit2.htm