ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์ ข้าพระพุทธเจ้า ร้านพวงหรีด หรีด ณ วัด ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมระลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของชาวไทย ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นแก่ราษฎรทุกหมู่เหล่า และทรงเปี่ยมด้วยพระปรีชาสามารถรอบด้าน  ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ทางเราขอเรียบเรียงพระปรีชาสามารถแขนงต่างๆ ของพระองค์ เพื่อถวายราชสดุดีอัครมหากษัตริย์ ผู้ทรงสถิตในหัวใจของพวกเราตลอดมา และตลอดกาล

พระปรีชาสามารถ ด้านศิลปกรรม

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระราชสมัญญาว่า “อัครศิลปิน” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงสนพระราชหฤทัยในด้านศิลปะเป็นอย่างยิ่ง โดยได้ทรงฝึกเขียนภาพจากตำราด้วยพระองค์เอง ทั้งยังเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมศิลปินผู้สร้างผลงานที่พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย เพื่อทอดพระเนตรการทำงาน และมีพระราชปฏิสันถารกับศิลปินเหล่านั้น และเมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เชิญศิลปินไทยหลายคนเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อร่วมปฏิสันถาร และถวายคำปรึกษาด้านศิลปกรรม

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

จิตรกรรมฝีพระหัตถ์ของพระองค์ในช่วงแรกเป็นรูปแบบเหมือนจริง ในตอนต้น พระองค์ทรงฝึกหัดวาดภาพในรูปแบบเหมือนจริง ตัวอย่างเช่น ภาพพระสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, สมเด็จพระบรมราชชนก รวมถึงผู้ใกล้ชิดเบื้องยุคลบาท ต่อมา พระองค์ยังทรงฝึกหัดวาดภาพรูปแบบตัดทอนรูปทรง รูปแบบนามธรรม และรูปแบบ Expressionism

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

เทคนิค สีน้ำมันบนผ้าใบ

ทรงลงพระปรมาภิไธยย่อและข้อความ ภอ 4-2503

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

Portrait of Her Majesty the Queen

เทคนิค สีน้ำมันบนผ้าใบ

ภาพฝีพระหัตถ์ภาพนี้ ผสมผสานระหว่างรูปแบบเหมือนจริง ความสร้างสรรค์ลดทอนรูปทรง และทรงแสดงฝีแปรงอันกล้าหาญ ได้อย่างงดงามยิ่ง

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

ไม่ปรากฏชื่อ

เทคนิคสีน้ำมัน

นอกจากศิลปะแขนงจิตรกรรมแล้วนั้น พระองค์ยังทรงเชี่ยวชาญงานประติมากรรม โดยประติมากรรมฝีพระหัตถ์ที่สำคัญ คือ ประติมากรรม สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ครึ่งพระองค์ สูง 12 นิ้ว และประติมากรรมหญิงเปลือยนั่งคุกเข่า สูง 9 นิ้ว มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาจิตรกรรม แด่พระองค์ ในปี พ.ศ. 2508 หลังจากนั้นยังมีสถาบันอุดมศึกษาอีกหลายแห่งทั้งในและต่างประเทศ ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านศิลปะแด่พระองค์เช่นกัน ประชาชนได้รับพระมหากรุณา ชื่นชมภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ของพระองค์เป็นครั้งแรก ณ งานศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 14 ปีพุทธศักราช 2506 และในปัจจุบัน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ได้รับพระมหากรุณาให้เป็นพื้นที่จัดแสดงภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ของพระองค์ จำนวน 47 ภาพ ท่านใดที่ปรารถนาจะชื่นชมภาพฝีพระหัตถ์ของพระองค์ ก็สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ เปิดทำการในวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.  (ปิดวันจันทร์-อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

ไม่ปรากฏชื่อ 2504

เทคนิค สีน้ำมันบนผ้าใบ

ทรงลงพระปรมาภิไธยย่อและข้อความ 04-1 ร9

พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านเทคนิคการวาดภาพ และจินตนาการอันสร้างสรรค์ ดังปรากฏบนภาพจิตรกรรมแนวนามธรรม (Abstract) ฝีพระหัตถ์ของพระองค์

พระปรีชาสามารถ ด้านการถ่ายภาพ

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

อันเป็นที่ประจักษ์จากพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ขณะทรงงานและเสด็จเยี่ยมราษฎร พระองค์ทรงสะพายกล้องถ่ายรูปอยู่เสมอ พระองค์ทรงเชี่ยวชาญทั้งการถ่ายภาพด้วยกล้องธรรมดาและกล้องภาพยนตร์ จนถึงการล้างฟิล์ม และการอัดขยายภาพ นอกจากนั้นแล้ว ในอดีตที่กล้องถ่ายรูปยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก ไม่มีเครื่องวัดแสงใดๆ พระองค์ก็ทรงคำนวณความเร็วของแสงได้อย่างแม่นยำ และยังทรงประดิษฐ์แผ่นกรองแสง ที่เรียกว่า Bi-color Filter ขึ้นด้วยพระองค์เองก่อนที่จะมีวางจำหน่ายในประเทศไทย

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

พระองค์ทรงฉายพระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไว้จำนวนมาก ซึ่งถ่ายทอดพระสิริโฉมและพระราชอิริยาบถของสมเด็จพระนางเจ้าฯ ได้อย่างงดงามยิ่ง

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระองค์ ไม่ได้มีแต่ภาพสวยงามเท่านั้น แต่ยังเป็นบันทึกสำคัญเมื่อพระองค์เสด็จทรงงานในท้องถิ่นต่างๆ จึงมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสถึงการถ่ายภาพไว้ว่า

“การถ่ายภาพเป็นงานศิลปะ เป็นของดีมีประโยชน์ ขออย่าได้ถ่ายภาพกันเพื่อความสนุกสนานหรือความสวยงามเท่านั้น จงใช้ภาพให้เกิดคุณค่าแก่สังคมให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม งานศิลปะจะได้ช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้อีกแรงหนึ่ง”

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ที่ได้ถูกนำมาถ่ายทอดผ่านหนังสือ ‘มองผ่านเลนส์พ่อ’ หนังสือที่รวบรวมภาพที่ทรงฉายขณะทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ ซึ่งถือเป็นบันทึกประวัติศาสตร์การพัฒนาประเทศที่สำคัญยิ่ง อีกหนึ่งพระราชดำรัสที่อ่านกี่ครั้งก็สร้างรอยยิ้ม คือครั้งที่ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระองค์ได้ปรากฏอยู่ในนิตยสารสแตนดาร์ดของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสด้วยพระราชอารมณ์ขันแก่ผู้ใกล้ชิดผู้หนึ่งว่า

“ฉันเป็นกษัตริย์ก็จริง แต่ฉันก็ยังมีอาชีพเป็นช่างภาพของหนังสือพิมพ์สแตนดาร์ด ได้เงินเดือนเดือนละ 100 บาท ตั้งหลายปีมาแล้ว จนบัดนี้ก็ยังไม่เห็นเขาขึ้นเงินเดือนให้สักที เขาก็คงถวายเดือนละ 100 บาท อยู่เรื่อยมา”

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

สมเด็จพระบรมราชชนนีได้พระราชทานกล้องถ่ายรูป Coronet Midget สีเขียวปะดำ ของฝรั่งเศส แก่พระองค์ เมื่อทรงมีพระชมมายุ 8 พรรษา กล้องนี้ราคาเพียง 2 ฟรังก์สวิส และใช้ฟิล์มราคา 25 เซนต์เท่านั้น

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

กล้อง Contax II ผลิตออกมาในปี พ.ศ.2493 เป็นกล้องที่พระองค์ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก เพราะเป็นกล้องที่นำสมัย ณ ตอนนั้น พระองค์ทรงใช้กล้องถ่ายรูปนี้เมื่อเสด็จไปในที่ต่างๆ เป็นประจำ ปัจจุบัน พระองค์พระราชทานกล้องนี้ให้กับสวนหลวง ร.9 เป็นผู้จัดแสดง

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

กล้องที่พระองค์ทรงใช้ในระยะหลัง คือกล้อง Canon EOS 30

พระปรีชาสามารถ ด้านดุริยางคศิลป์

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

พระองค์โปรดดนตรีตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ โดยทรงซื้อคลาริเน็ตด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ที่สะสมไว้มาทรงฝึกหัด ทรงอ่านหนังสือศึกษาดนตรีด้วยพระองค์เอง และยังทรงได้รับการฝึกฝนเข้มงวด มีพระอาจารย์ถวายคำแนะนำทั้งในด้านการบรรเลงเครื่องดนตรีและการเขียนโน้ตเป็นเวลากว่า 2 ปี โดยเครื่องดนตรีที่พระองค์โปรด ได้แก่ แซกโซโฟน คลาริเน็ต และทรัมเป็ต นอกจากนั้นก็ยังทรงกีตาร์ และเปียโนอีกด้วย

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยในดนตรีแนวแจ๊สเป็นพิเศษ ครั้งฝึกหัดก็ทรงบรรเลงเครื่องดนตรีไปพร้อมกับแผ่นเสียงของนักดนตรีแจ๊สที่พระองค์โปรด เมื่อทรงฝึกหัดจนคล่องแคล่วแล้วนั้น พระองค์ก็ทรงดนตรีได้ทั้งชนิดมีโน้ตและไม่มีโน้ต ทรงพระปรีชาสามารถใช้ปฏิภาณบรรเลงเดี่ยวได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งบรรดานักดนตรีต่างทราบดีว่าเป็นสิ่งที่ยากมาก เพราะจะต้องแต่งโน้ตขึ้นมาโดยฉับพลัน และก็ต้องยังคงอยู่ในกรอบจังหวะของเพลงนั้น พระปรีชาสามารถนี้เป็นที่ประจักษ์ในการบรรเลงตอบโต้ได้อย่างครื้นเครงกับนักดนตรีที่มีชื่อเสียงของโลก เช่น เบนนี่ กู๊ดแมน (Benny Goodman) แจ๊ก ทีการ์เด้น (Jack Teagarden) ไลออเนล แฮมพ์ตัน (Lionel Hampton) และ สแตน เก็ตส์ (Stan Getz)

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

นอกจากพระปรีชาสามารถในการทรงเครื่องดนตรีแล้ว ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าพระองค์พระราชนิพนธ์บทเพลงได้ไพเราะยิ่ง พระองค์ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เพลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 โดยบทเพลงแรกคือเพลง ‘แสงเทียน’ และมีบทเพลงในพระราชนิพนธ์จำนวนทั้งหมดถึง 43 เพลง ในปี พ.ศ. 2507 วงดุริยางค์เอ็นคิวโทนคุนสเลอร์ (N.Q.Tonkunstler Orchestra) แห่งกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ก็ได้คัดเลือกบทเพลงในพระราชนิพนธ์ไปบรรเลง ถ่ายทอดสดทั่วประเทศออสเตรีย บทเพลงในพระราชนิพนธ์ได้รับความนิยม เป็นที่กล่าวขานถึง จนทำให้สองวันหลังจากการถ่ายทอดสดนั้น สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา  (Institute of Music and Arts of City of Vienna) ได้ทูลเกล้าฯ ถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์ลำดับที่ 23 ของสถาบัน และมีการจารึกพระนามลงบนแผ่นหินสลัก โดยไม่เคยมีชาวเอเชียผู้ใดได้รับเกียรตินี้มาก่อน

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

พระปรีชาสามารถ ด้านกีฬา

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

ทรงสเก็ตน้ำแข็งกับพระเชษฐาครั้งยังทรงพระเยาว์

พระองค์โปรดการเล่นกีฬามาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ โดยทรงกีฬาได้ทั้ง เรือใบ แบดมินตัน เทนนิส สกีน้ำแข็ง สกีน้ำ ยิงปืน กอล์ฟ การแข่งขันรถเล็ก และเครื่องร่อน

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

สังเกตได้ว่ากีฬาที่พระองค์โปรดนั้น มักเป็นกีฬาที่ต้องอาศัยปฏิภาณไหวพริบ ร่วมกับความรู้รอบตัว ไม่ได้ใช้แต่พละกำลังเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะการทรงเรือใบ อันเป็นกีฬาที่พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถเป็นที่ประจักษ์ทั้งในและต่างประเทศ โดยในปี พ.ศ. 2510 พระองค์ทรงเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเรือใบระหว่างประเทศ ในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง (ปัจจุบันคือ กีฬาซีเกมส์) ทรงลงแข่งขันกีฬาเรือใบประเภท โอ เค โดยทรงเรือใบที่พระองค์ทรงต่อเอง ร่วมกับ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (พระนามปัจจุบัน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี) และทรงชนะเลิศการแข่งขันในครั้งนั้น โดยทรงขึ้นรับเหรียญทองบนแท่นเหมือนนักกีฬาทั่วไป

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสถึงการเล่นเรือใบไว้อย่างเฉียบคมยิ่งว่า

“การแล่นเรือใบ สอนให้คนคิดเอง ทำเอง เพราะเมื่อเราลงไปเล่นเรือใบแล้วเรือไม่วิ่ง จะไม่มีใครมาคอยสอน เราต้องคิดเอง ทำเอง ว่าลมมาทางไหน ลมแรงขนาดนี้ เราสู้ไหวไหม ถ้าไหวเราก็สู้ แต่ถ้าไม่ไหวแล้วเรายังสู้ เรือก็จะคว่ำ ถ้าลมเบา เราจะต้องทำอย่างไรเรือจึงจะวิ่ง แล้วถ้าไม่มีลมเราจะทำอย่างไร เราก็ควรจะนั่งรอสักครู่ให้ลมมา ถ้าเราเล่นเรือเป็น ดูทิศทางลมเป็น ถ้าเราเป็นตัวนี้ เด็กไทยเป็นตัวนี้แล้วนำมาใช้ในชีวิต นำมาใช้ในกิจการงานได้ ไม่มีทางขาดทุน เพราะรู้เทคนิคการใช้ชีวิต เด็กไทยจะรู้จักและเข้าใจในการคิดเอง ทำเอง”

พระปรีชาสามารถทางการกีฬาของพระองค์เป็นที่เลื่องลือในระดับสากล คณะกรรมการโอลิมปิกสากลจึงได้มีมติเป็นเอกฉันท์ พระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทองดุษฏีกิตติมศักดิ์ของ โอลิมปิก คือ “อิสริยาภรณ์โอลิมปิกสูงสุด (ทอง)” แด่พระองค์ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2530 นอกจากนั้น ในพิธีเปิดการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 18 ที่ประเทศเยอรมนี ซึ่งตรงกับพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี นายฟรานซ์ เบคเคนบาวร์ (Franz Beckenbauer) ประธานจัดการแข่งขันก็ได้กล่าวสดุดีพระเกียรติยศในด้านการกีฬาของพระองค์อีกด้วย

พระปรีชาสามารถ ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

พระองค์ทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษร (Font) ไทย ที่มีลักษณะงดงาม ทั้งยังทรงประดิษฐ์ ส.ค.ส. ด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อพระราชทานพรแก่ประชาชนของพระองค์เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 – 2558 (ยกเว้นในปี พ.ศ. 2548 เท่านั้น เพราะเป็นช่วงที่เกิดภัยพิบัติสึนามิ) ในตอนต้น พระองค์ทรงใช้คอมพิวเตอร์ในงานด้านดนตรี เช่นการป้อนโน้ตเพลงและเนื้อร้อง ต่อมาพระองค์ก็ทรงสนพระราชหฤทัยในการประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษร จึงได้ทรงศึกษา ฝึกหัด และประดิษฐ์ตัวอักษรไทยหลายแบบ เช่น แบบจิตรลดา และแบบภูพิงค์ ฯลฯ ไม่เพียงแต่ฟอนท์ตัวอักษรไทยเท่านั้น พระองค์ยังทรงประดิษฐ์ฟอนท์ตัวอักษรเทวนาครี หรือที่ทรงเรียกว่า ภาษาแขก ซึ่งจัดทำได้ยากมากเพราะมีรูปแบบไม่คงที่ มีการผนวกตัวอักษร 2 ตัวเกิดเป็นตัวอักษรใหม่ด้วย เช่นนี้จึงเป็นงานที่ต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมาก โดยพระองค์ทรงศึกษาตัวอักษรนี้จากพจนานุกรมและตำราภาษาสันสกฤต และทรงสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญภาษาสันสกฤตโดยตรง คือ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และท่านองคมนตรี ม.ล. จิรายุ นพวงศ์ ในส่วนของ ส.ค.ส. พระราชทานนั้น เดิมทีพระองค์ทรงปลีกเวลาจากพระราชกรณียกิจมาปรุแถบโทรพิมพ์ (เทเล็กซ์) เพื่อพระราชทานพรปีใหม่แก่เจ้าหน้าที่ผู้ถวายงาน โดยทรงใช้รหัสแทนพระองค์ว่า ‘กส. 9’ เช่นเดียวกับรหัสที่ทรงใช้ติดต่อวิทยุสื่อสาร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2530 ส.ค.ส. ก็ได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณชน และในปี พ.ศ. 2531 พระองค์ก็ทรงเปลี่ยนมาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประดิษฐ์ ส.ค.ส. แทน เนื่องจากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น จากนั้นก็จะโปรดให้แฟกซ์ไปยังหน่วยงานต่างๆ สารที่พระราชทานผ่าน ส.ค.ส. นั้นล้วนแต่มีความเฉียบคม เปี่ยมด้วยพระราชอารมณ์ขัน เข้ากับสถานการณ์บ้านเมือง ณ ตอนนั้น และสะท้อนว่าพระองค์ทรงห่วงใยในประชาชนของพระองค์อย่างแท้จริง เป็นอีกหนึ่งความอบอุ่นที่ลูกๆ ชาวไทยได้รับพระกรุณาจากพ่อหลวงกันอย่างถ้วนหน้า

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2538

ทรงออกแบบกราฟฟิกประกอบข้อความได้อย่างหลักแหลม พวกเราเห็นแล้วเป็นต้องยิ้มกันทุกคน

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2543

เป็นอีกปีที่เราอ่านแล้วแอบยิ้มจากแง่มุมการเปลี่ยนผ่านสู่ ค.ศ. 2000 ของพระองค์

ข้อ ใด แสดง ถึง พระปรีชาสามารถด้านการทหารของ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2545

พระบรมราโชวาทอันเฉียบคม สอดแทรกพระราชอารมณ์ขัน และประกอบด้วยภาพกราฟฟิกน่ารักๆ

พระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ยังมีอีกมากมายหลายประการนอกเหนือจากที่เราได้กล่าวถึงมา ทั้งในด้านวรรณกรรม ที่ทรงแปลหนังสือ อย่างเช่น ‘นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ’ (A Man Called Intrepid) ของวิลเลียม สตีเวนสัน  (William Stevenson)  หรือเรื่อง ‘พระมหาชนก’ ที่พระองค์ทรงแปลจากมหาชนกชาดก และทรงดัดแปลงเล็กน้อยเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น และยังมีหนังสือที่พระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เอง เช่น ‘ทองแดง’ เป็นเรื่องราวของคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยงที่พระองค์โปรด เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว ในด้านงานช่างไม่ว่าจะงานไม้ งานโลหะ งานช่างกล พระองค์ก็ทรงพระปรีชาสามารถไม่น้อยกว่าด้านอื่นๆ เลย โดยเฉพาะงานต่อเรือใบ ที่ทรงประกอบเรือใบหลากหลายประเภทด้วยพระองค์เองทุกขั้นตอน เราจึงไม่สงสัยเลยว่า เหตุใดพระองค์จึงทรงเป็นต้นแบบแก่ลูกๆ ทั้งประเทศ ในทุกสาขาอาชีพ เพราะพระองค์ทรงเป็นต้นแบบของความเพียรพยายาม ทรงศึกษา ฝึกฝน ในสิ่งที่พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยอย่างถ่องแท้ และทรงไม่จำกัด ไม่เลือกศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงอย่างเดียว เราขอน้อมนำหนึ่งในพระบรมราโชวาทของพระองค์มาปิดท้ายบทความนี้ว่า

“เมื่อมีโอกาสและมีงานทำ ควรเต็มใจทำโดยไม่จำเป็นต้องตั้งข้อแม้ หรือเงื่อนไขอันใดไว้ให้เป็นเครื่องกีดขวาง คนที่ทำงานได้จริงๆ นั้น ไม่ว่าจะจับงานสิ่งใด ย่อมทำได้เสมอ ถ้ายิ่งมีความเอาใจใส่ มีความขยัน และความซื่อสัตย์สุจริต ก็ยิ่งจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในงานที่ทำสูงขึ้น”

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา 8 กรกฎาคม 2530 ถวายราชสดุดีแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร  ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ข้าพระพุทธเจ้า ร้านพวงหรีด หรีด ณ วัด อ้างอิงข้อมูลจากhttp://kingofthailand.weebly.com/ http://positioningmag.com/10506 Facebook Page: รวมใจภักดิ์-รักสามัคคี-ทำความดีถวายในหลวง http://pantip.com/topic/31350716 https://glorytheking.wordpress.com/ในหลวง-อัครศิลปิน/ https://th.wikipedia.org/wiki/การเล่นกีฬาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช https://www3.navy.mi.th/ https://th.wikipedia.org/wiki/ส.ค.ส._พระราชทาน