การ ออกแบบ ให้ มี การ รวม กลุ่ม สินค้า ต่อ หน่วย บรรจุ ภัณฑ์ คือ อะไร


1) คำจำกัดความ

ระเบียบบรรจุภัณฑ์ ฉบับใหม่ ได้ขยายความในความหมายของสิ่งที่ถือว่าเป็น “บรรจุภัณฑ์” มากขึ้น โดย

คำว่า “บรรจุภัณฑ์” หมายถึง

สินค้าทุกชนิดที่ทำจากวัสดุใดๆ ที่นำมาใช้สำหรับห่อหุ้ม ป้องกัน ลำเลียง จัดส่ง และนำเสนอสินค้า ตั้งแต่วัตถุดิบถึงสินค้าที่ผ่านการผลิต ตั้งแต่ผู้ผลิตถึงผู้ใช้หรือผู้บริโภค

 “บรรจุภัณฑ์” ประกอบด้วย:

  • บรรจุภัณฑ์สำหรับการขาย (Sales packaging) หรือบรรจุภัณฑ์ลำดับที่หนึ่ง ได้แก่บรรจุภัณฑ์ที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการขายของให้กับผู้ใช้รายสุดท้ายหรือผู้บริโภค ณ จุดซื้อ
  • บรรจุภัณฑ์กลุ่ม (Group packaging) หรือบรรจุภัณฑ์ลำดับที่สอง ได้แก่บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ที่จุดซื้อกลุ่มสินค้าที่มีจำนวนขายมากกว่าหนึ่ง ไม่ว่าสินค้านั้นจะถูกขายให้กับผู้ใช้รายสุดท้ายหรือผู้บริโภคหรือไม่ก็ตาม และไม่ว่าบรรจุภัณฑ์นี้จะถูกใช้เพื่อการดึงสินค้าจากชั้นวางของ ณ จุดขายก็ตาม บรรจุภัณฑ์นี้สามารถถูกดึงออกจากสินค้าโดยไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะเฉพาะตัวของสินค้า
  • บรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่ง หรือบรรจุภัณฑ์ลำดับที่สาม ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับช่วยในการลำเลียงและขนส่งสินค้า ที่ขายจำนวนมากหรือกลุ่มบรรจุภัณฑ์ เพื่อป้องกันความเสียหายทางกายภาพระหว่างการขนส่ง บรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งไม่รวมตู้คอนเทนเนอร์สำหรับการขนส่งทาง ถนน รางเลื่อน เรือหรือทางอากาศ

การตีความหมายของคำว่า “บรรจุภัณฑ์” ให้ถือตามเกณฑ์ต่อไปนี้:

  • จะถือว่าของสิ่งหนึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ เมื่อ ของสิ่งนั้นเป็นไปตามความหมายที่กล่าวข้างต้น โดยไม่พิจารณาคาบเกี่ยวกับหน้าที่อื่นที่บรรจุภัณฑ์อาจทำได้ เว้นแต่สิ่งสิ่งนั้นจะถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสินค้า และมีความจำเป็นเพื่อห่อหุ้ม พยุง หรือถนอมรักษาสินค้าตลอดอายุของสินค้านั้น และมีวัตถุประสงค์ให้ใช้ บริโภค หรือทิ้ง องค์ประกอบทุกชิ้นพร้อมกับสินค้า
    ตัวอย่างสิ่งที่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตามเกณฑ์นี้ ได้แก่:
    กล่องขนมหวาน แผ่นฟิล์มห่อรอบกล่องซีดี เป็นต้น
    ตัวอย่างสิ่งที่ไม่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตามเกณฑ์นี้ ได้แก่:
    กระถางดอกไม้ที่มุ่งหวังให้อยู่คู่กับต้นไม้ตลอดอายุของต้นไม้ กล่องใส่เครื่องมือช่าง ถุงชา ชั้นแว็กซ์ห่อหุ้มเนยแข็ง ผิวหุ้มไส้กรอก เป็นต้น
  • ให้ถือว่า สิ่งที่ถูกออกแบบและมีวัตถุประสงค์ให้เติมเต็ม ณ จุดขาย และขายสิ่งที่ทิ้งได้ ที่ถูกเติมเต็มหรือออกแบบและมีวัตถุประสงค์ให้เติมเต็ม ณ จุดขาย เป็นบรรจุภัณฑ์ หากสิ่งสิ่งนั้น ทำหน้าที่เป็นบรรจุภัณฑ์
    ตัวอย่างสิ่งที่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตามเกณฑ์นี้ ได้แก่:
    ถุงหิ้วทำจากกระดาษหรือพลาสติก จานหรือถ้วยที่ใช้แล้วทิ้ง พลาสติกใสปิดหน้าอาหาร (พลาสติกแรป) ถุงแซนวิช แผ่นฟอลย์อลูมิเนียม เป็นต้น
    ตัวอย่างสิ่งที่ไม่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตามเกณฑ์นี้ ได้แก่:
    ที่คน มีดแบบใช้แล้วทิ้ง เป็นต้น
  • ให้ถือว่า ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ หรือส่วนช่วยที่รวมอยู่ในบรรจุภัณฑ์ เป็นส่วนหนึ่งของบรรจุภัณฑ์ที่รวมองค์ประกอบเหล่านั้น ให้ถือว่า ส่วนช่วยที่แขวนโดยตรงกับหรือติดกับสินค้าที่ทำหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ เป็นบรรจุภัณฑ์ เว้นแต่ของเหล่านั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของสินค้า และมีวัตถุประสงค์ให้บริโภค และทิ้งองค์ประกอบทุกชิ้นพร้อมกับสินค้า
    ตัวอย่างสิ่งที่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตามเกณฑ์นี้ ได้แก่:
    แผ่นป้าย Label ที่แขวนโดยตรงหรือติดบนตัวสินค้า เป็นต้น
    ตัวอย่างสิ่งที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของบรรจุภัณฑ์ตามเกณฑ์นี้ ได้แก่:
    แปรงมาสคาร่า ที่เป็นส่วนหนึ่งของฝาปิดตลับมาสคาร่า Label ที่ติดกับบรรจุภัณฑ์ชิ้นอื่น ลวดเย็บกระดาษ ซองพลาสติก ถ้วยตวงผงซักฟอกที่เป็นส่วนหนึ่งของภาชนะใส่ผงซักฟอก เป็นต้น

2) ข้อกำหนดของระเบียบบรรจุภัณฑ์

ระเบียบบรรจุภัณฑ์ฯ มีข้อกำหนดหลัก 2 ด้านคือ 1)ข้อกำหนดด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และ 2) ข้อกำหนดด้านการจัดการซากบรรจุภัณฑ์

1) ข้อกำหนดด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์

1.1. บรรจุภัณฑ์ต้องปราศจากโลหะหนัก:

บรรจุภัณฑ์ต้องปราศจากโลหะหนัก 4 ชนิดได้แก่ ตะกั่ว (Pb) ปรอท (Hg) แคดเมียม (Cd) และโครเมียมเฮกซะวาเลนซ์ (Cr+6) โดยยอมให้มี Pb, Hg, Cd, Cr+6 รวมกัน ในบรรจุภัณฑ์หรือส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ต้องไม่เกิน 100ppm โดยน้ำหนัก ทั้งนี้ไม่รวมบรรจุภัณฑ์ที่วัสดุทั้งหมดทำจากแก้วคริสตัล-ตะกั่ว

ระวัง!!! 

รายการสารต้องห้าม ระดับความเข้มข้น และวิธีคิดปริมาณสารต้องห้าม ของระเบียบบรรจุภัณฑ์ ไม่เหมือนกับ RoHS!

1.2. ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์

  1. การผลิตและส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์:
    • ลดน้ำหนักและปริมาตรให้เหลือต่ำที่สุดเท่าที่จำเป็นต่อความปลอดภัยและการบรรจุสินค้า
    • บรรจุภัณฑ์ควรเหมาะแก่การใช้ซ้ำและการนำทรัพยากรกลับคืนที่รวมถึงการรีไซเคิล การเผาคืนพลังงาน หรือการหมักเป็นปุ๋ย และเมื่อบรรจุภัณฑ์ถูกนำมาทิ้ง บรรจุภัณฑ์นั้นควรมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
    • ผลิตในลักษณะที่ทำให้มีสารรบกวนที่ไม่พึงประสงค์ต่ำที่สุด
  2. การใช้ซ้ำบรรจุภัณฑ์ – ข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนครั้งในการใช้ สุขอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน และการดึงทรัพยากรกลับคืนเมื่อไม่สามารถใช้ต่อได้และกลายเป็นขยะ
  3. การดึงทรัพยากรกลับคืน – ข้อกำหนดเกี่ยวกับการดึงทรัพยากรกลับคืนในรูปการรีไซเคิลวัสดุ การคืนพลังงาน การหมักปุ๋ยและบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ (Biodegradable)

1.3. การทำเครื่องหมาย

ระเบียบบรรจุภัณฑ์ กำหนดให้ทำเครื่องหมายระบุชนิดของวัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ เพื่อช่วยในการจัดเก็บ-คัดแยก การใช้ซ้ำ และการรีไซเคิลขยะบรรจุภัณฑ์ โดยมีมติคณะกรรมาธิการที่ 97/129/EC กำหนดระบบการบ่งชี้วัสดุที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นระบบการชี้บ่งโดยใช้ตัวเลขชี้บ่งและชื่อย่อของวัสดุ  เช่น หมายเลข 1-19 สำหรับพลาสติก 20-39 สำหรับกระดาษ กระดาษลูกฟูก 40-49 สำหรับโลหะ (40 สำหรับเหล็ก 41 สำหรับอลูมิเนียม)  60-69 สำหรับสิ่งทอ 70-79 สำหรับแก้ว เป็นต้น

2) การจัดการขยะบรรจุภัณฑ์

2.1. การนำทรัพยากรกลับคืนและการรีไซเคิล:

ระเบียบบรรจุภัณฑ์กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องจัดระบบสำหรับการรับคืน และ/หรือ เก็บคืนซากบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว ในพรมแดนของตน โดยตั้งเป้าหมายขั้นต่ำ ในการนำทรัพยากรกลับคืน (Recovery) และการรีไซเคิลดังนี้:

เป้าหมาย*

ภายในปี ค.ศ. 2001

ภายในปี ค.ศ. 2008

การคืนทรัพยากร และการเผาคืนพลังงาน:

50-65%

ไม่ต่ำกว่า 60%

การรีไซเคิล:

25-45%

55-80%

แก้ว

อย่างต่ำ 15%

60%

กระดาษและบอร์ด

อย่างต่ำ 15%

60%

โลหะ

อย่างต่ำ 15%

50%

พลาสติก

อย่างต่ำ 15%

22.5%

ไม้

อย่างต่ำ 15%

15%

หมายเหตุ: เป้าหมายที่ระบุเป็นเป้าหมายโดยน้ำหนักของขยะบรรจุภัณฑ์

2.2 ความรับผิดชอบของผู้ผลิต:

แต่ละประเทศสามารถเลือกใช้ระบบใด ในการบริหารจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่กล่าวข้างต้นก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว เกือบทุกประเทศเลือกระบบที่ให้ผู้ผลิตเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือบางส่วน ผู้ประกอบการต้องทำให้มั่นใจได้ว่า ขยะบรรจุภัณฑ์ของตนจะถูกเก็บ คืนทรัพยากร และรีไซเคิล โดยส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการมีทางเลือกในการปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ 2 ทางคือ
1) จัดตั้งระบบการจัดเก็บและการรีไซเคิลของตนเอง หรือ
2) ถ่ายโอนความรับผิดชอบไปยังหน่วยงานภายนอก โดยการเข้าร่วมแผนการรีไซเคิลในแต่ละประเทศ ซึ่งทางเลือกนี้จะทำได้ง่ายกว่า  เพราะไม่ต้องคอยติดตาม และตามเก็บบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดที่เป็นของตนที่นำเข้าตลาด


3) แนวทางการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านการออกแบบ

บรรจุภัณฑ์ที่นำเข้าตลาดสหภาพยุโรป ต้องได้ตามข้อบังคับการออกแบบที่กล่าวข้างต้น โดยทั่วไปแล้ว ผู้ประกอบการมีทางเลือก 3 ทางในการแสดงการเป็นไปตามข้อกำหนด แต่ไม่ว่าจะเลือกใช้ทางเลือกใด ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมเอกสาร (Technical File) ไว้ให้พร้อม เพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ในกรณีถูกร้องขอ

ทางเลือกที่ 1: ใช้ Harmonized Standards ของสหภาพยุโรป (มาตรฐาน EN)

CEN (องค์กรการมาตรฐานของสหภาพยุโรป) ได้ออกมาตรฐานหลายฉบับ สำหรับประเมิน การเป็นไปตามข้อกำหนดของระเบียบบรรจุภัณฑ์ มาตรฐานเหล่านี้ได้ประกาศลงใน Official Journal of the European Union – Com 2005/C 44/13) ซึ่งมีผลทำให้ บรรจุภัณฑ์ที่ได้ตามมาตรฐานเหล่านี้ มีลักษณะสมบัติได้ตามข้อกำหนดของระเบียบบรรจุภัณฑ์ และประเทศสมาชิกไม่สามารถกีดกัน ไม่ให้นำเข้าบรรจุภัณฑ์ที่ได้ตามมาตรฐานที่กล่าวนี้ได้
จากข้อตกลงเรื่อง “Presumption of conformity” สินค้าที่ได้ตามมาตรฐาน EN จะถือว่าได้ตามข้อกำหนดของระเบียบบรรจุภัณฑ์ ทำให้ทางเลือกนี้จึงเป็นทางเลือกที่ปฏิบัติตามได้ง่ายที่สุด

ปัจจุบัน มาตรฐานยุโรปที่เกี่ยวข้องกับข้อบังคับของระเบียบบรรจุภัณฑ์ มี 6 รายการดังนี้

  1. EN 13427: 2004: Packaging - Requirements for the use of European Standards in the field of packaging and packaging waste
  2. EN 13428: 2004: Packaging - Requirements specific to manufacturing and composition - Prevention by source reduction
    หมายเหตุ: มาตรฐานนี้ ยกเลิก EN 13428:2000 มีผลตั้งแต่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005
  3. EN 13429: 2004: Packaging – Reuse
  4. EN 13430: 2004: Packaging - Requirements for packaging recoverable by material recycling
  5. EN 13431: 2004: Packaging - Requirements for packaging recoverable in the form of energy recovery, including specification of minimum inferior calorific value
  6. EN 13432: 2000: Packaging - Requirements for packaging recoverable through composting and biodegradation - Test scheme and evaluation criteria for the final acceptance of packaging

ทางเลือกที่ 2: ใช้ มาตรฐานระดับประเทศ

ผู้ประกอบการอาจเลือกใช้มาตรฐานระดับประเทศที่เกี่ยวข้องได้ แต่เนื่องจากมาตรฐานเหล่านี้ไม่ใช่ “Harmonized Standards” ในสหภาพยุโรป สินค้าที่เป็นไปตามมาตรฐานระดับประเทศจึงไม่ได้รับสิทธิในเรื่อง “Presumption of conformity”

ทางเลือกที่ 3: ใช้ การสำแดงตนเอง

ผู้ประกอบการสามารถเลือกสำแดงตนเองว่าบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตได้ตามข้อกำหนดของระเบียบ บรรจุภัณฑ์ ก็ได้ แต่จำเป็นต้องมีการประเมินตนเองตามขั้นตอนที่ได้มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ


หาข้อมูลเพิ่มเติม?

  • ดาวน์โหลดระเบียบบรรจุภัณฑ์ของ EU (ฉบับรวมเล่ม-อังกฤษ) คลิกที่นี่
  • ดาวน์โหลดเอกสารเผยแพร่ Packaging & Packaging Wastes ที่ Document Library
  • Link ที่น่าติดตาม
    • เว็บไซด์ของอียู: http://ec.europa.eu/environment/waste/packaging_index.htm
    • เว็บไซด์ Europen (The European Organization for Packaging and the Environment): http://www.europen.be/
    • บทความเกี่ยวกับระเบียบบรรจุภัณฑ์บนเว็บไซด์ IDS Packaging:
  • ตั้งกระทู้ ถาม-ถกประเด็นปัญหา/ข้อสงสัย ใน Forum