ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing

หากคุณไม่แน่ใจว่า Cloud Computing คืออะไรคุณอาจเป็นหนึ่งใน 95% ของผู้คนที่ใช้บริการระบบคลาวด์อยู่แล้วเช่นธนาคารออนไลน์และเครือข่ายโซเชียล แต่ไม่รู้ตัว

Show

"คลาวด์" คือชุดของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประเภทต่างๆที่ทำงานร่วมกันเพื่อส่งมอบหลาย ๆ ด้านของการประมวลผลให้กับผู้ใช้ปลายทางในรูปแบบบริการออนไลน์

Cloud Computing คือการใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อส่งมอบบริการผ่านเครือข่าย (โดยทั่วไปคืออินเทอร์เน็ต) ด้วยการประมวลผลแบบคลาวด์ผู้ใช้สามารถเข้าถึงไฟล์และใช้แอพพลิเคชั่นจากอุปกรณ์ใดก็ได้ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

ตัวอย่างของผู้ให้บริการ Cloud Computing คือ Gmail ของ Google ผู้ใช้ Gmail สามารถเข้าถึงไฟล์และแอปพลิเคชันที่ Google โฮสต์ผ่านอินเทอร์เน็ตจากอุปกรณ์ใดก็ได้

การประมวลผลจากระบบคลาวด์แตกต่างจากการประมวลผลจากฮาร์ดไดรฟ์ของพีซีของฉันอย่างไร

ซึ่งแตกต่างจากการประมวลผลแบบเดิมที่ข้อมูลถูกจัดเก็บไว้ในฮาร์ดไดรฟ์ภายในเครื่องของพีซีข้อมูลในระบบคลาวด์จะถูกจัดเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์จริงและ / หรือเสมือนจำนวนมากที่โฮสต์โดยผู้ให้บริการบุคคลที่สาม ตัวอย่างของผู้ให้บริการจัดเก็บไฟล์ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งคือ Dropbox ไฟล์ Dropbox สามารถเข้าถึงได้จากอุปกรณ์ใดก็ได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต

คลาวด์สาธารณะและส่วนตัวคืออะไร?

Public Cloud เป็นไปตามกรอบการประมวลผลระบบคลาวด์มาตรฐานซึ่งประกอบด้วยไฟล์แอปพลิเคชันพื้นที่เก็บข้อมูลและบริการที่มีให้สำหรับสาธารณะผ่านทางอินเทอร์เน็ต Gmail เป็นตัวอย่างของ Public Cloud

Private Cloud ประกอบด้วยไฟล์แอพพลิเคชั่นพื้นที่เก็บข้อมูลและบริการที่ใช้งานและป้องกันภายในไฟร์วอลล์ขององค์กรภายใต้การควบคุมของแผนกไอทีขององค์กร ตัวอย่างของ Private Cloud จะเป็น บริษัท ที่ใช้ Microsoft Exchange เนื่องจาก Microsoft Exchange สามารถเข้าถึงได้โดยผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตผ่านการเชื่อมต่อ VPN ที่ปลอดภัยเท่านั้น

บริการคลาวด์ทั่วไปและ บริษัท ใดบ้าง

บริการทั่วไปบางอย่างที่โฮสต์ในระบบคลาวด์นั้นโฮสต์บนเดสก์ท็อปซึ่งจัดหาโดย บริษัท ต่างๆเช่น AT&T โฮสต์อีเมลเช่น Gmail ซึ่งจัดหาโดย บริษัท ต่างๆเช่น Google ที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ให้บริการโดย บริษัท ต่างๆเช่น Dropbox และสตรีมเพลงโดย บริษัท ต่างๆเช่น Spotify บริการแอพพลิเคชั่นและไฟล์เหล่านี้ถูกเก็บไว้ในระบบคลาวด์และผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ผ่านอุปกรณ์ใดก็ได้

มี บริษัท และกลุ่มธุรกิจมากมายที่ใช้คลาวด์คอมพิวติ้งเช่น Amazon และ Google บริษัท ภาครัฐและเอกชนขนาดเล็กกลางและขนาดใหญ่ต่างก็ใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อลดต้นทุนการได้มาซึ่งเทคโนโลยี

ฉันต้องการการประมวลผลแบบคลาวด์หรือไม่?

ตลาดคลาวด์คอมพิวติ้งยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปีเนื่องจาก บริษัท ต่างๆเริ่มตระหนักถึงประโยชน์ในการประหยัดต้นทุนของการนำระบบคลาวด์มาใช้มากขึ้น

ด้วยบริการฮาร์ดแวร์ บริษัท ต่างๆสามารถใช้อุปกรณ์ของผู้ให้บริการระบบคลาวด์ (ที่เก็บข้อมูลฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์และส่วนประกอบระบบเครือข่าย) แทนที่จะใช้เงินทุนจำนวนมากไปกับอุปกรณ์

ด้วยบริการซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันของ บริษัท ต่างๆจะโฮสต์โดยผู้ให้บริการระบบคลาวด์และให้บริการผ่านเครือข่ายซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการปรับใช้และบำรุงรักษา

ไฟล์ของฉันปลอดภัยในระบบคลาวด์หรือไม่

แม้ว่าจะไม่มีโซลูชันการจัดเก็บข้อมูลใดที่ปลอดภัย 100% แต่ผู้ให้บริการพื้นที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์สามารถเสนอสถานที่ที่ปลอดภัยและเข้าถึงได้มากขึ้นสำหรับ บริษัท ในการจัดเก็บข้อมูลมากกว่าวิธีการประมวลผลแบบเดิม

ขึ้นอยู่กับสัญญาบริการสำเนาข้อมูลของ บริษัท ที่ซ้ำกันสามารถจัดเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆและได้รับการปกป้องโดยแหล่งจ่ายไฟสำรองในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ

วันนี้หลาย บริษัท กำลังเปลี่ยนไปใช้รูปแบบ Hybrid Cloud Computing ด้วยรูปแบบนี้ บริษัท ต่างๆจะได้รับความยืดหยุ่นในการจัดเก็บข้อมูลที่ละเอียดอ่อนอย่างปลอดภัยในระบบคลาวด์ส่วนตัวในขณะที่จัดเก็บข้อมูลสาธารณะในระบบคลาวด์สาธารณะ โครงสร้างพื้นฐานทั้งสองจะถูกเก็บแยกเป็นเอนทิตีที่ไม่ซ้ำกัน

คลาวด์ไม่ใช่อะไร?

เมฆไม่ใช่มวลปุยสีขาวที่ประกอบด้วยหยดน้ำเล็ก ๆ ที่ลอยอยู่ในโลกไซเบอร์ เมฆไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเช่นความกดอากาศ

ระบบคลาวด์ไม่ใช่สถานที่ในตำแหน่งเดียว ในความเป็นจริงระบบคลาวด์สามารถอยู่ที่ไหนก็ได้ ระบบคลาวด์สามารถอยู่ในศูนย์ข้อมูลของ บริษัท ของคุณหรือโฮสต์ที่ศูนย์ข้อมูลของบุคคลที่สาม

การเติบโตของระบบคลาวด์ไม่ได้ถูกขับเคลื่อนโดย "ธุรกิจขนาดใหญ่" การเติบโตของระบบคลาวด์เกิดขึ้นจากการที่ผู้บริโภคซื้ออุปกรณ์ที่รองรับระบบคลาวด์ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับบริการคลาวด์คอมพิวติ้งได้ทั้งที่ทำงานที่บ้านและขณะเดินทาง

คลาวด์ไม่ใช่ "แฟชั่น" ปัจจุบันมีผู้ใช้ Facebook 1.2 พันล้านคนทั่วโลก ตัวเลขดังกล่าวคิดเป็น 11% ของประชากรโลก

เชื่อว่าในปัจจุบัน ทุกๆ คนต้องเคยได้ยินชื่อ Cloud ผ่านหูมาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งหลายๆ ท่าน ก็คงยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ว่ามัน คือ อะไร มีวิธีการทำงานยังไง, มีกี่ประเภท และประโยชน์อย่างไรบ้าง บทความนี้ ผมจะมาอธิบายในบทความนี้ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบความหมายและหลักการของคลาวด์โดยละเอียดครับ

สารบัญ

  • Cloud Computing คือ อะไร ทำงานยังไง
  • ประเภทของการเซอร์วิส
  • ชนิดของ Cloud
  • ประโยชน์ของคลาวด์ต่อกลุ่มลูกค้าธุรกิจ
  • ประโยชน์ของคลาวด์ต่อกลุ่มผู้ใช้รายบุคคล
  • สรุป

Cloud Computing คือ อะไร ทำงานยังไง

บางท่านอาจจะพอทราบอยู่แล้ว ว่า Cloud คือ อะไร มีการบริการเซอร์วิสอย่างไรบ้าง บทความนี้เราจะมาเจาะลึกกันครับ ว่ามันมีวิธีการทำงานอย่างไร และทำไมถึงเป็นที่นิยมและใช้งานกันอย่างแพร่หลายได้อย่างรวดเร็วขนาดนี้ โดยในชีวิตประจำวัน คุณก็อาจจะใช้งานคลาวด์อยู่ โดยที่ไม่รู้ตัวเลยก็เป็นได้

คำว่า “Cloud” หรือย่อมาจาก “Cloud Computing” มีความหมายเบื้องต้น คือ เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็น Host บริการผ่านอินเตอร์เนต ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถ จัดเก็บข้อมูล, ดำเนินการ และ จัดการข้อมูลต่างๆ ผ่านอินเตอร์เนตโดยแลกกับการเสียค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่ง ซึ่งระบบ Host ออนไลน์นี้มีตั้งแต่ Scale เล็ก ไปจนถึงใหญ่มากเลยทีเดียวครับ

อย่างแรกที่ทุกคนต้องทำความเข้าใจก่อน คือ Cloud นั้น ไม่ใช่สิ่งที่จับต้องไม่ได้ ขณะที่ไฟล์ข้อมูลของผู้ใช้ถูกบันทึกผ่านคลาวด์ โดยไม่กินเนื้อที่ในคอมพิวเตอร์ ชุดข้อมูลนั้นยังไงก็จำเป็นต้องถูกบันทึกอยู่ในอุปกรณ์ Hardware ชิ้นใดชิ้นหนึ่งบนโลก

นั่นหมายความว่า เมื่อคุณอัพโหลดข้อมูลไปยังคลาวด์ ผ่านเซอร์วิสต่างๆ (อาทิเช่น Dropbox) ไฟล์ของคุณจะถูกส่งผ่านอินเตอร์เน็ตไปยังเซอร์เวอร์ที่จับต้องได้ และมีอยู่จริง ซึ่งเครื่อง Server ของผู้ให้บริการ Cloud นั้น มีจำนวนมากมายเป็นหมื่นเป็นแสนเครื่องเลยทีเดียว เพื่อบริการเก็บข้อมูลทั้งโลก ซึ่งคนทั่วไปนิยมเรียกกันว่า Server Farms ครับ

ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing

ดังนั้น นิยามง่ายๆ ของคลาวด์ ก็คือกลุ่มเครื่องเซอร์เวอร์ และ ศูนย์ข้อมูลเพื่อให้บริการเก็บข้อมูลรอบโลก โดยพื้นฐาน มันคือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลดิจิตอล ที่คุณสามารถเก็บไฟล์งานต่างๆ ได้ ซึ่งข้อแตกต่างจาก Storage รูปแบบอื่นๆ (อาทิเช่น External Harddisk, Flashdrive และ อื่นๆ) คือคุณไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เชื่อมต่อกับเครื่อง เพียงแค่อุปกรณ์ของคุณสามารถเข้าถึง Internet ได้ คุณก็สามารถเข้าถึง Cloud ได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก

> เลือกซื้อ Server Computer กับเรา

Cloud นั้น ไม่ใช่อุปกรณ์ที่จับต้องได้ชิ้นใดชิ้นหนึ่ง แต่หมายถึงการส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต เมื่อคุณเก็บไฟล์ข้อมูลบางอย่างผ่านคลาวด์ นั่นหมายถึงการบันทึกงานแบบออนไลน์ โดยใครก็ตามที่มีอุปกรณ์ และทรัพยากรที่ครบถูกต้อง ก็สามารถเป็นเจ้าของ Cloud ของตนเองได้เช่นกัน แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำได้ เพราะค่าใช้จ่ายที่สูง และการดูแลรักษาที่ซับซ้อนครับ

ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing

เพื่อขยายความให้เข้าใจง่ายขึ้น อยากให้ทุกท่านนึกถึงระบบไฟฟ้าเป็นตัวอย่างครับ หากเราต้องมีเครื่องปั่นไฟฟ้าสำหรับใช้ส่วนตัว ต้องลงทุนค่าใช้จ่ายตัวเครื่องและค่าดูแลที่สูงมากๆ ดังนั้น เราจึงมีองค์การไฟฟ้าที่ทำหน้าที่จ่ายไฟฟ้าให้เราแทนผ่าน Generator ขนาดใหญ่ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และเราแค่ชำระเงินในเฉพาะปริมาณไฟฟ้าที่เราใช้ครับ

ในกรณี Cloud ก็ใช้คอนเซปเดียวกัน คือผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมี Hardware เพื่อใช้เก็บข้อมูลเอง เพียงแต่ใช้วิธีบันทึกผ่านคลาวด์และเสียค่าใช้จ่ายแค่พื้นที่ ที่ใช้งานเท่านั้นครับ

ประเภทของการเซอร์วิส

ในขณะที่ฟังก์ชั่นพื้นฐานของ คลาวด์ ที่ทุกคนทราบกันดี คือ การทำหน้าที่เก็บข้อมูลแบบดิจิตอลออนไลน์ แต่ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ ว่าจริงๆแล้ว ความสามารถที่แท้จริงของคลาวด์นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฟังก์ชั่นหลัก ประกอบด้วย

  1. Infrastructure as a Service (IaaS)
  2. Platform as a Service (PaaS)
  3. Software as a Service (SaaS)

Infrastructure as a Service (IaaS)

โดยมีหลักการ คือ ผู้จัดหาหรือเจ้าของ Cloud นำเสนอพื้นที่ว่างใน Server ของตนเองให้แก่ผู้ใช้งานเพื่อใช้ในจุดประสงค์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลหรือ Web Hosting ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ใช้งานยังคงสามารถดำเนินการ แก้ไข และจัดการข้อมูลของตนเองได้ ในขณะที่เจ้าของ Cloud ทำหน้าที่เสมือนผู้ให้เช่าเท่านั้น

การใช้ Dropbox ก็เป็นหนึ่งในรุปแบบ IaaS คุณสามารถเข้าถึงและแก้ไขข้อมูลได้ทุกเวลา โดย Dropbox ทำหน้าที่เป็นเพียง Servers เท่านั้น

ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing

อีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ Netflix นั่นเอง ซึ่งใช้หลักการ IaaS เพื่อจัดการและจัดเก็บข้อมูลภาพยนตร์จำนวนมหาศาล ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็ถูกเข้าถึงและใช้งานซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยที่ไม่ต้องดาวน์โหลดด้วยผู้ใช้งานทั่วโลก

Website เกือบทุกเว็บบนโลกนี้ ก็มีการ Host ผ่านโมเดล IaaS เช่นกัน

Platform as a Service (PaaS)

รูปแบบนี้ มีความคล้ายคึงกับ IaaS ต่างกันที่ข้อมูลเล็กน้อยบางส่วนจะถูกควบคุมโดยเจ้าของ Cloud ครับ ในอดีต การที่จะพัฒนาและทดสอบ Software นั้น มีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของระยะเวลา การลงทุน และ พื้นที่ ระบบ PaaS นี้สามารถจัดหา Platform เสมือนจริง สำหรับเพื่อพัฒนาและทดสอบซอฟต์แวร์โดยเฉพาะ ช่วยให้โปรแกรมเมอร์สามารถเข้ามาใช้งานผ่านระบบออนไลน์ได้โดยไม่ต้องลงทุนในการจัดหาอุปกรณ์และระบบต่างๆ ด้วยตนเอง

Software as a Service (SaaS)

คือ Software ต่างๆ ที่มีการทำงานผ่านระบบ Cloud ยกตัวอย่างเช่น Dropbox Paper ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าไปสร้าง, แก้ไข และ แชร์ ไฟล์ข้อความแบบออนไลน์ได้โดยที่ไม่ต้องทำการติดตั้งโปรแกรมเข้าสู่ตัวเครื่องให้เปลืองพื้นที่ สิ่งที่ต้องทำคือแค่เพียงกดใช้งาน Application จากอุปกรณ์ใดก็ได้

ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing

อีกหนึ่งตัวอย่างของ SaaS คือพวก Extension ที่ฝั่งลงใน Browser เพื่อใช้งานในหน้าที่ต่างๆ อาทิเช่น Grammarly เป็นต้น

หากสรุปอย่างง่ายๆ รูปแบบ IaaS จะมอบสิทธิในการควบคุมข้อมูลของผู้ใช้งานทั้งหมด ในขณะที่รูปแบบ PaaS จะมอบสิทธิที่ลดลงมาเล็กน้อย และ รูปแบบ SaaS จะมอบสิทธิในการควบคุมให้ผู้ใช้แบบจำกัดที่สุด

ชนิดของ Cloud

หากเจาะลึกเข้าไปอีกเกี่ยวกับ Cloud เราจะสามารถแบ่งประเภทของมันออกได้ทั้งหมด 4 ประเภท โดยหลักๆ ใช้วิธีแบ่งจากขอบเขตการเข้าถึงของผู้ใช้ ที่ผู้จัดหากำหนดให้เป็นหลัก คือ

  • Public Clouds
  • Private Clouds
  • Hybrid Clouds
  • Multi Clouds

ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing

Public Cloud

คือคลาวด์แบบสาธารณะ ตามชื่อเลยครับ โดย คือ คลาวด์ ที่ทำการเซอร์วิสที่รองรับการเข้าถึงได้โดยทุกๆ คน ยกตัวอย่างเช่น Dropbox เป็นต้น ทุกคนสามารถเช่าพื้นที่ส่วนหนึ่งของเซอร์เวอร์ เปรียบเสมือนตึกออฟฟิศขนาดใหญ่ ที่ทุกคนมีโต๊ะและล็อคเกอร์เป็นของตนเอง

Private Cloud

Private Cloud คือ คลาวด์แบบส่วนตัวที่โครงสร้างทั้งหมดของ Cloud จะถูกอุทิศให้ผู้ใช้งานเพียงหนึ่ง User เท่านั้น ผู้ใช้ยังคงจำเป็นต้องใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ต เพียงแต่ Server ที่เก็บข้อมูลของคุณจะทำหน้าที่และอุทิศการทำงานทั้งหมดเพื่อคุณคนเดียวเท่านั้น

ประโยชน์ของคลาวด์ประเภทนี้คือมีความปลอดภัยและการทำงานจะมีประสิทธิภาพสูง เพราะไม่ต้องไปแชร์การทำงานของเซอร์เวอร์กับผู้ใช้งานอื่นๆ โดยการทำงานทั้งหมดจะอุทิศเพื่อผู้ใช้งานคนเดียว

คลาวด์แบบส่วนตัวนี้ ยังมอบความสามารถในการควบคุม Server ทั้งหมดให้แก่ผู้ใช้งาน อาทิเช่น การปรับแต่ง, จัดการ, ตั้งค่า และ สำรองข้อมูล เป็นต้น

ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing

Hybrid Cloud

คือการใช้งานควบคู่กันทั้ง Server ส่วนตัว และเซอร์เวอร์สาธารณะ ผู้ใช้จึงสามารถได้ประโยชน์ทั้งในความเป็นส่วนตัว และความสะดวกสบาย เช่น เลือกเก็บข้อมูลสำคัญที่เป็นความลับใน Private Cloud แต่เก็บข้อมูลทั่วไปจำนวนมากใน Public Cloud

Multi Cloud

เกิดขึ้นเมื่อองค์กรเลือกใช้งานแต่คลาวด์ประเภท Public Cloud หลายๆ เจ้ารวมกัน ต่างจากแบบ Hybrid ที่มีการใช้งานผสมกันระหว่างแบบสาธารณะและส่วนตัว รูปแบบนี้เกิดขึ้นเพราะผู้ให้บริการ Public Cloud แต่ละเจ้า มีข้อดีและเซอร์วิสที่แตกต่างกัน ผู้ใช้จึงเลือกใช้บริการจากหลายๆ ที่ เพื่อครอบคลุมฟังก์ชั่นที่เป็นประโยชน์ทั้งหมด

ประโยชน์ของคลาวด์ต่อกลุ่มลูกค้าธุรกิจ

ในส่วนของผู้ใช้งานในระดับธุรกิจนั้น ประโยชน์ของ Cloud Computing นั้น ไม่ใช่เพียงแค่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นส่วนขับเคลื่อนสำคัญในองค์กร คือ การพัฒนาผลผลิต, ประสิทธิภาพ, การเติบโต และ ความทันสมัยขององค์กร โดยผมขอยกตัวอย่างประโยชน์หลักๆ มา 6 หัวข้อดังนี้

ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing

ลดต้นทุน

การลงทุนในอุปกรณ์ต่างๆ สามารถสร้างต้นทุนมหาศาลแก่ธุรกิจได้ การดูแลรักษาและปรับปรุงอุปกรณ์ไอทีนั้น เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับ คลาวด์ และการที่ต้องชำระเงินแค่ส่วนที่เช่าใช้เท่านั้น ช่วยให้ลดต้นทุนให้น้อยลง ไม่เพียงแต่ในส่วน Hardware เท่านั้น แต่ยังรวมถึงค่าแรงในการจ้างผู้เชี่ยวชาญ และค่าไฟอีกด้วย นอกจากนี้ อีกหนึ่งข้อได้เปรียบ คือ การประหยัดเวลาในการแก้ไขเมื่ออุปกรณ์มีปัญหาครับ

ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing

กู้คืนความเสียหาย

การบันทึกข้อมูลสำคัญใน Cloud นั้น มีความปลอดภัยที่ค่อนข้างสูง การที่เราเก็บข้อมูลไว้ในอุปกรณ์ Hardware เพียงชิ้นเดียวนั้น มีความเสี่ยงพอสมควรทีเดียวครับ เพราะหากเกิดปัญหากับตัวอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น ไฟไม่เข้า ไปจนถึงถูก Malware ทำลาย ก็มีสิทธิที่ข้อมูลของผู้ใช้จะหายไปตลอดการ ในขณะที่คลาวด์จะมีบริการ Backup ข้อมูลของผู้ใช้ด้วยเซอร์เวอร์จำนวนมากในหลายๆ พื้นที่ครับ

ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing

ระบบรักษาความปลอดภัย

หลายๆ คน อาจจะไม่เชื่อ ว่าจริงๆ แล้ว Cloud Computing นั้นมีระบบ Security ที่ยอดเยี่ยม ผู้ใช้งานอาจคิดว่าการเก็บข้อมูลสำคัญไว้กับอุปกรณ์ที่จับต้องและมองเห็นได้เองมีความปลอดภัยกว่า แต่อยากให้เห็นภาพว่า จริงๆแล้ว คลาวด์ ก็เปรียบเสมือนธนาคาร ผู้บริการ Cloud ส่วนใหญ่มักมีอุดมกาณ์ที่เน้นความปลอดภัยเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการให้บริการ ข้อมูลที่รับจะถูกเข้ารหัส ปกป้องเป็นอย่างดี โดยบางเจ้า ยังเปิดให้ผู้ใช้งานเข้าไปตั้งค่าระบบ Security ได้เองอีกด้วย

ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing

พื้นที่ใช้งานที่ยืดหยุ่น

Cloud นั้นมีความสามารถที่จะปรับขยายเพิ่มพื้นที่ได้ ช่วยให้บริษัทที่มีการเติบโต สามารถขยายพื้นที่เก็บข้อมูลได้ตลอดเวลา ในทางตรงการข้าม สำหรับองค์กรที่มีการลดขนาดการใช้งานพื้นที่เก็บข้อมูลลดลง ก็สามารถปรับพื้นที่ให้ลดลงได้ให้เช่าใช้ Cloud แต่แรก แต่หากมีการใช้อุปกรณ์ Hardware เป็นตัวเก็บข้อมูล ก็เป็นเรื่องยากที่จะขายพื้นที่ส่วนเกินออกไป

ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing

ทำงานได้ทุกสถานที่

เพราะข้อมูลทุกอย่างถูกบันทึกใน Cloud ทำให้เกิดข้อได้เปรียบที่สำคัญ คือ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ถ้ามีอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตามบนโลก ด้วยรูปแบบการทำงานในปัจจุบัน ที่เน้นความยืดหยุ่นในสถานที่ทำงานมากขึ้น ระบบคลาวด์จึงทำหน้าที่สำคัญในการเข้ามาช่วยสนับสนุนแนวคิดนี้ นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ผ่านอุปกรณ์อื่นนอกจากคอมพิวเตอร์ อาทิเช่น มือถือ แท็บเล็ต เป็นต้น

ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing

การทำงานร่วมกัน

ช่วยการพนักงานทุกคนในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น เพราะไฟล์ต่างๆ ที่จัดเก็บสามารถเข้าถึงได้ทุกคน (หรือเฉพาะคนที่ตั้งค่าอนุญาต) ด้วยระบบคลาวด์บริษัทสามารถสร้างทีมที่มีสมาชิกหลายสิบคน ทำงานในไฟล์เดียวกัน พร้อมกัน ในสถานที่ที่ต่างกันได้ ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการ บริหาร และ จัดการการทำงานแบบเป็นทีมได้ง่ายขึ้นครับ

ประโยชน์ของคลาวด์ต่อกลุ่มผู้ใช้รายบุคคล

นอกเหนือจากชีวิตการทำงาน คุณสามารถใช้ประโยชน์จาก คลาวด์ ได้อย่างมากมาย สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุด คือ การประหยัดเนื้อที่เก็บข้อมูลดิจิตอล

หากใครที่ไม่ได้ใช้คลาวด์ เมื่อต้องการเซฟไฟล์ จะต้องบันทึกข้อมูลต่างๆ ลงอุปกรณ์ Hardware ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์, โน๊ตบุ๊ค หรือ สมาร์ทโฟน เป็นต้น

ในวันใดวันหนึ่ง หากอุปกรณ์มีความจุที่เต็มแล้ว ผู้ใช้อาจจะแก้ไขได้ด้วยการซื้อ External Hard Drive มาใช้งาน ซึ่งถ้าเต็มอีก ก็ต้องซื้อเพิ่มอีกเรื่อยๆ สะสมไว้มากมาย จนในที่สุด ก็ยากต่อการจัดการข้อมูลเก่าๆ ที่เคยบันทึกสะสมมาไว้

ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing

การที่ข้อมูลทุกอย่างถูกจัดเก็บไว้ในที่ที่เดียว ซึ่งไม่กินเนื้อที่จริงๆ ในชีวิตประจำวัน ช่วยให้การจัดการทุกอย่าง ควบคุมได้ง่ายมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ้ออุปกรณ์ Hardware ด้วย นอกจากนี้ การที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่ถูกบันทึกข้อมูลให้แน่นจนเกินไป ก็จะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้นด้วย

ในขณะเดียวกัน ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานผ่าน คลาวด์ อาทิเช่น Dropbox Paper ยังช่วยให้ผู้ใช้งานประหยัดระยะเวลาในการดาวน์โหลดและติดตั้งสู่ตัวเครื่อง ซึ่ง Software ส่วนใหญ่ที่ใช้ระบบคลาวด์ จะมีข้อดี คือ สามารถเข้าถึงและใช้งานได้จากอุปกรณ์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Mobile Apps หรือ Web Base ก็ตามครับ

ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing

การแชร์สิ่งต่างๆ กับ เพื่อนฝูงหรือคนรัก ก็ทำได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การอัพโหลดรูปภาพในงานเลี้ยงขึ้น Cloud เพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนเข้าถึงได้

ประโยชน์ของ Cloud นั้น มีมากมายอย่างไร้ขีดจำกัด ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในรูปแบบใดก็ตาม คือ องค์กรขนาดใหญ่ SME, บริษัท SMB หรือบุคคล ถือเป็น Technology ที่ช่วยเพิ่มผลลัพธ์, พัฒนาองค์กร, สร้างเสริมการทำงานร่วมกัน และ ประหยัดค่าใช้จ่าย ในขณะที่ปกป้องข้อมูลของผู้ใช้ได้อย่างปลอดภัยครับ

คลิป What is Cloud Computing โดย Microsoft

Add In Business

จำหน่ายอุปกรณ์ไอทีราคาถูก

ภายใต้บริษัท แอด อิน บิซิเนส จำกัด ตัวแทนจำหน่าย
ได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากแบรนด์ชั้นนำ
ราคา พิเศษ ส่งฟรี

ดูสินค้าทั้งหมด

สนใจสั่งซื้อหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่หน้า Contact

หรือ

ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing
 
ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing
 
ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing
 
ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing
 
ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing

สรุป

หวังว่าบทความนี้ จะช่วยให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจการทำงาน องค์ประกอบ และ ประโยชน์ของ Cloud Computing ว่า คือ อะไร มีข้อดี ข้อเสียยังไงมากขึ้น หากท่านผู้อ่านมีความสนใจเพิ่มเติมในการสั่งซื้อสินค้าอุปกรณ์ไอที สอบถามข้อมูล หรือขอใบเสนอราคา ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของอุปกรณ์ใดๆก็ตาม สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่

Facebook Inbox : https://goo.gl/9wo8oL
Hotline : 063-819-7299
โทร : 02-713-2261
[email protected] : @addinonline
Email : [email protected]

ผู้เขียน

ข้อใดไม่ใช่การให้บริการแบบ cloud computing

Unnote

อดีตสถาปนิกและนักศึกษาจบปริญญาโทสาขาอสังหาริมทรัพย์ ผันตัวมาคลุกคลีในวงการไอที เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ