วงดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 คือวงดนตรีใด

วงดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 คือวงดนตรีใด

             ยุคสมัยของดนตรีไทย ได้ดำเนินแนวทางพัฒนาการมากขึ้น เมื่อเข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์ นับตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1 ) ได้มีผู้คิดค้นเครื่องดนตรีเพิ่มเติมขึ้นมาอย่างหนึ่งคือ มีการเพิ่มกลองทัดอีก 1 ลูก ทำให้ในวงปี่พาทย์เครื่องห้ามีกลองทัดครบ 2 ลูก เมื่อการดนตรีไทยได้พัฒนาตัวเองเข้าสู่ยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ( รัชกาลที่ 2 ) จึงได้มีการปรับปรุงการบรรเลงปี่พาทย์ประกอบเสภา ที่เดิมทีเดียวนั้น การขับเสภา จะไม่มีปี่พาทย์รับไม่มีเครื่องดนตรีชนิดใดเข้ามาประกอบคงใช้แต่กรับเสภาอย่างเดียว เมื่อการขับเสภา มีปี่พาทย์รับเข้ามาทำให้การบรรเลงปี่พาทย์ประกอบการขับเสภาเป็นที่ชื่นชอบ เพราะการฟังดนตรีมีรสมีชาดมากขึ้นนั่นเอง
             ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์นี้ การดนตรีไทยได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เมื่อเดินทางมาได้จนถึงปัจจุบันนี้ ก็เชื่อได้ว่าดนตรีไทยจะต้องคงอยู่คู่ไปกับสังคมไทย คอยรับใช้สังคมทั้งในด้านพิธีกรรม ด้านประกอบการแสดง และหรือเพื่อการฟังอย่างชื่นชม ย่อมทำให้ดนตรีไทยนี้มีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวงจรชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ปัจจุบันนี้ ถือได้ว่า การดนตรีไทยได้มีการยกเครื่อง หรือ การ Re – Engineering เพื่อพัฒนาตนเองดังนี้

วงดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 คือวงดนตรีใด

             เป็นยุคที่ดนตรีไทยเจริญรุ่งเรืองอยู่ในราชสำนัก และในวังของเจ้านายต่างกรม เป็นยุคที่นักดนตรีไทย หรือครูดนตรีไทยที่มีฝีมือ ได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูอย่างมีศักดิ์ศรี มียศถาบรรดาศักดิ์และมีชีวิตที่อุดมสมบูรณ์ มีความเป็นอยู่อย่างสุขสบาย มีความพร้อมที่ครูเหล่านั้นสามารถคิดสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีไว้มากมาย ผลงานแต่ละชิ้นแต่ละเพลงที่ออกมามีความสละสลวยสวยงาม พบว่าเจ้านายชั้นสูงหลายพระองค์ทรงจัดตั้งวงปี่พาทย์ในพระองค์ขึ้น มีการบรรเลงอวดฝีมือ และสืบเสาะหานักดนตรีมีฝีมือเข้ามาร่วมวง เมื่อได้นักดนตรีที่มีความสามารถแล้วก็ให้การสนับสนุนเพื่อผลิตผลงาน และมีการพัฒนาฝีมือทางดนตรีกันอย่างเต็มที่
             ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ต่อเนื่องไปถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นั้นพบว่า การอุปถัมภ์ที่ได้กล่าวถึงนี้ปรากฏอยู่ตามวังของพระบรมวงศานุวงศ์เป็นหลัก เช่น วังหน้าในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีครูคนสำคัญประจำวงคือพระประดิษฐ์ไพเราะ ( มีดุริยางกูร หรือ ครูมีแขก ) ครูเพ็ง ดุริยางกูร ศิษย์ที่มีชื่อเสียงจากวังหน้านี้อาทิเช่น ครูสิน ศิลปบรรเลง ครูต้ม พาทยกุล ครูแดง พาทยกุล ครูทองดี ชูสัตย์ ครูถึก ดุริยางกูร เป็นต้น
             วงวังหลวงสมัยรัชกาลที่ 5 ในสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร มีครูคนสำคัญคือ ครูช้อย สุนทรวาทิน ครูแปลก ( พระยาประสานดุริยศัพท์ ) ครูหม่อมผิว มานิตยกุล ศิษย์คนสำคัญของวังนี้เช่น เจ้าเทพกัญญา บูรณพิมพ์ เจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่
             วงวังหลวงและสวนดุสิต ในพระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ มีครูคนสำคัญของวังนี้เช่น พระประดิษฐ์ไพเราะ ( ตาด ) หลวงเสนาะดุริยางค์ ( แช่ม ) ครูเฒ่าแก่จีบครูหม่อมส้มจีน บุนาค ศิษย์จากวังนี้เช่น เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับ ลดาวัลย์ คุณหญิงรามบัณฑิตสิทธิ์เศรณี ( นักร้อง ) ครูท้วม ประสิทธิกุล เป็นต้น วงวังบ้านหม้อ ในเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ มี พระประดิษฐ์ไพเราะ ( ตาด ) เป็นครูควบคุมวง ศิษย์คนสำคัญของวังนี้ได้แก่ หลวงบำรุงจิตเจริญ ( ธูป ศาสตรวิลัย )
             วงกรมมหรสพ ม.ร.ว. หลาน กุญชร ครูประจำวงนี้เช่น หลวงเสนาะดุริยางค์ ( ทองดี ) ครูเหลือ หม่อมเข็ม ครูสิน สินธุนาคร ส่วนศิษย์ของวงนี้อาทิเช่น หม่อมเจริญ พาทยโกศล หม่อมมาลัย กุญชรฯ หม่อมคร้าม กุญชรฯ ขุนสมานเสียงประจักร ( เถา สินธุนาคร ) ครู เฮ้า สินธุนาคร ครูศุข ดุริยประณีต ครูแป้น วัชโรบล เป็นต้น
             วงวังบูรพาภิรมย์ ในสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ครูคนสำคัญประจำวังนี้คือพระยาประสานดุริยศัพท์(แปลก ประสานศัพท์ )หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง ) ศิษย์ของวังนี้เช่น ครูเพชร จรรย์นาฎ ครูเผือก นักระนาด ครูลาภ ณ บรรเลง ครูจางวางผาด ครูสงัด ยมคุปต ครูร้อยเอกโองการกลีบชื่นเป็นต้น
             วงกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีครูสิน สินธุนาคร และครูเฮ้า สินธุนาครเป็นครูประจำวง
             วงวังท่าเตียน ในกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม มีครูแปลก หรือ พระยาประสานดุริยศัพท์ กับครูปั้น บัวทั่ง เป็นครูประจำวง
             วงวังสวนกุหลาบ ในเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา มีครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง ) ศิษย์คนสำคัญคือ ครูท้วม ประสิทธิกุล
             วงวังลดาวัลย์ และวังบางคอแหลม ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรี ราเมศวร์ ( วังแดง ) มีครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง ) เป็นครูประจำวง ศิษย์จากวังนี้ได้แก่ ครูรวม พรหมบุรี ครูรอด อักษรทับ ครูเผือด นักระนาด เป็นต้น
             วงวังเพชรบูรณ์ ในกรมหลวงเพชรบูรณ์อินทราชัย ครูของวงนี้ คือ หม่อมมาลัย กุญชรฯ ศิษย์ของวงนี้ได้แก่ ครูท้วม ประสิทธิกุล
             วงวังหลวงในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระยาประสานดุริยศัพท์ ( แปลก ประสานศัพท์ ) และ พระยาเสนาะดุริยางค์ ( แช่ม สุนทรวาทิน ) เป็นครูประจำวง
             วงวังสวนสุนันทา ในพระสุจริตสุดามีครูพระสรรเพลงสรวง เป็นครูประจำวง และศิษย์ของวงนี้อาทิเช่น ครูสุพัตรา สุจริตกุล ครูฉลวย จิยะจันทร์ ครูทองดี สุจริตกุล ครูนิภา อภัยวงศ์ เป็นต้น
             วงวังบางขุนพรหม ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตครูคนสำคัญของวงนี้คือจางวางทั่วพาทยโกศลครูเจริญ พาทยโกศล ครูทองดี ชูสัตย์ ครูสังวาลย์ กุลวัลกี ศิษย์จากวงนี้ได้แก่ ครูทรัพย์ เซ็นพานิช ครูอาจ สุนทร ครูช่อ สุนทรวาทิน ครูฉัตร สุนทรวาทิน ครูเตือน พาทยกุล ครูฉ่ำ เกิดใจตรง ครูแมว พาทยโกศล ครูย้อย ชูสัตย์ ร้อยเอกนพ ศรีเพชรดี ครูพังพอน แตงสืบพันธ์ ครูเอื้อน กรเกษม ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ เป็นต้น
             วงวังหลวง ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง ) เป็นครูประจำวง
             วงมโหรีหญิงหลวง มีพระยาเสนาะดุริยางค์(แช่ม สุนทรวาทิน ) เป็นครูประจำวง ศิษย์ของวงนี้มีอาทิ คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ครูเจริญใจ สุนทรวาทิน ครูแช่มช้อย ดุริยพันธ์ ครูเลื่อน ผลาสินธุ์ ครูสุดา เขียววิจิตร ครูศรีนาฎ เสริมศิริ เป็นต้น
             จนถึงปัจจุบันนี้ ยังคงมีอีกสถานที่หนึ่งคือวังคลองเตยในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ซึ่งวังนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ" บ้านปลายเนิน " นั่นเองก็ยังคงมีการเรียนการสอนดนตรีไทยอยู่อย่างสม่ำเสมอพร้อมทั้งส่งเสริม รักษาและ เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย ดนตรี และ นาฏศิลป์ไทยอยู่อย่างสม่ำเสมอ วงดนตรีที่วังนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ"วงดนตรีบ้านปลายเนิน " พระทายาทที่ดูแลสืบทอดปัจจุบันคือหม่อมเจ้าดวงจิตร์ จิตรพงศ์และหม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ เดิมทีนั้น ครูมนตรี ตราโมท รับหน้าที่เป็นครูผู้สอน แต่ในปัจจุบันนี้ ครู สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ เป็นผู้สอนตลอดมา นักดนตรีที่มาฝึกซ้อมเป็นประจำอาทิ เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ ม.ร.ว. เอมจิตร จิตรพงศ์ ม.ร.ว. จักรรถ จิตรพงศ์ ครูพูนทรัพย์ ตราโมท ครูศิลปี ตราโมท ครูบุญช่วย โสวัตรและครู ปิ๊ป คงลายทอง เป็นต้น
             ในยุคที่หนึ่งนี้ จะพบว่ามีนักดนตรีที่เข้าสู่ระบบอุปถัมภ์อยู่ 2 กลุ่มคือนักดนตรีในอุปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ กับในระบบอุปถัมภ์ของเจ้าต่างกรม ถือได้ว่าเป็นยุคที่" ดุริยกวี " เกิดขึ้นมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 นั้น ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ทรงครองราชย์ พระองค์ท่านได้ทำนุบำรุงและส่งเสริมการดนตรีไทยให้เจริญรุ่งเรืองสูงสุด ถือเป็นยุคทองของดนตรีไทยทีเดียว ในรัชสมัยของพระองค์นั้น มีนักร้องนักดนตรีได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ มีราชทินนามเกิดขึ้นมากมาย นักดนตรีไทยที่เรานับเป็นดุริยกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เป็นที่เคารพนับถือของนักดนตรีไทยในปัจจุบันได้แก่ พระยาประสานดุริยศัพท์ ( แปลก ประสานศัพท์ ) พระยาเสนาะดุริยางค์ ( แช่ม สุนทรวาทิน ) หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง ) พระยาภูมีเสวิน ( จิตร จิตตเสวี ) จางวางทั่ว พาทยโกศล ดุริยกวีในลำดับต่อมาก็คือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระโอรสองค์ที่ 74 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ผลงานสร้างสรรค์เพลงของพระองค์ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปก็คือ เพลงราตรีประดับดาว ( เถา ) ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์อันดับแรกของพระองค์ที่ได้รับการถวายคำแนะนำจาก หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง ) และ หลวงไพเราะเสียงซอ ( อุ่น ดูรยะชีวิน ) นอกจากนั้นก็มีเพลงเขมรลออองค์ ( เถา ) กับ เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง สามชั้น ซึ่งเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมอย่างสูงตลอดมา

วงดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 คือวงดนตรีใด

             เป็นยุคที่ดนตรีไทยออกจากวังเข้าสู่วัด และอยู่ตามบ้าน เป็นยุคที่นักดนตรีและครูดนตรีต้องช่วยเหลือตนเองเพื่อหารายได้เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และการที่ต้องดำรงฐานะยศถาบรรดาศักดิ์ รวมถึงเกียรติยศของตนเองให้ดำรงอยู่ รวมถึงบริวารและสานุศิษย์ทั้งหลายที่เข้ามาฝากตัวศึกษาวิชาการดนตรีพร้อมทั้งกินอยู่หลับนอนที่บ้านครู ถือกันว่ายุคนี้เป็นยุคที่นักดนตรีไทยต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอดในสังคมขณะนั้นเป็นอย่างมาก

วงดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 คือวงดนตรีใด

             ยุคที่สามถือเป็นยุคที่การดนตรีไทยเริ่มสดใสขึ้น เนื่องจากสถาบันการศึกษาต่างๆทั้งในระดับโรงเรียนมัธยมและในระดับอุดมศึกษา เริ่มตื่นตัวให้ความสนใจร่วมกลุ่มกันจัดตั้งชุมนุมดนตรีไทยบ้าง ชมรมดนตรีไทยบ้าง เช่นชุมนุมดนตรีไทยสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชมรมดนตรีไทยแห่งสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย สโมสรดนตรีไทยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น ในระดับโรงเรียนมัธยมศึกษา ก็มีการจัดการเรียนการสอนดนตรีไทยขึ้น ทำให้วงการดนตรีไทยในยุคนี้มีความเข็มแข็งขึ้นเป็นอันมาก นิสิตนักศึกษาก็เริ่มให้ความสนใจเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกชุมนุมกันเป็นจำนวนมากขึ้น วงการดนตรีไทยเริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายออกไปสู่ประชาชนทั่วไป ในระดับมหาวิทยาลัยนำโดย ชุมนุมดนตรีไทยสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชมรมดนตรีไทยแห่งสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และ สโมสรดนตรีไทยแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นแกนนำได้ริเริ่มจัดงานชุมนุมสังสรรค์ดนตรีไทยขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2509 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์บางเขน และการจัดงานนี้ก็ได้เติบโตมาอย่างต่อเนื่องเป็นงาน " ดนตรีไทยอุดมศึกษา " อย่างที่เรารู้จักกันนั่นเองจะพบว่าในยุคนี้ ระยะแรกๆที่ดนตรีไทยเข้าสู่สถาบันการศึกษานั้น ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากผู้บริหารระดับสูงในในมหาวิทยาลัยเท่าที่ควร การพัฒนาดนตรีไทยจึงเป็นเรื่องของแต่ละชุมนุมดนตรีฯ ที่เป็นองค์กรเล็กๆและมีผู้ที่สนใจจริงเท่านั้น นักศึกษาที่เรียนจบออกไปก็ไปประกอบอาชีพอย่างอื่นแล้วเล่นดนตรีไทยเป็นงานอดิเรก ในยุคนี้เองที่ดนตรีไทยเริ่มเป็นที่รู้จักขึ้นในต่างประเทศบ้างแล้ว เนื่องจากมหาวิทยาลัยในอเมริกาได้ให้ทุนกับ นายเดวิท มอร์ตัน นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนีย ให้เข้ามาศึกษาค้นคว้าทำวิจัยเรื่องดนตรีไทย เมื่อปี พุทธศักราช 2510 แล้วทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ตีพิมพ์เผยแพร่ออกไปสู่ต่างประเทศ ทำให้วิชาการดนตรีไทยเป็นที่รู้จักขึ้นมาและเกิดความตื่นตัวกันในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของเราอย่างจริงจัง

วงดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 คือวงดนตรีใด

             เป็นยุคที่เรียกว่า " ดนตรีไทยในโลกอินเตอร์เน็ต " นั่นเอง นับเป็นการยกเครื่องหรือ การ Re – Engineering อีกครั้งหนึ่งเรียกว่ายุค โลกาภิวัตน์ หรือ Globalizationเป็นยุคที่ทุกชีวิตในโลกสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรม และการสื่อสารซึ่งกันและกันได้เพียงปลายนิ้วกระดิก ( คลิก ) อาจเรียกได้ว่ายุคนี้เป็นยุคที่สังคมโลกใกล้กันเพียงลัดนิ้วมือโดยผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถส่งภาพ เสียง และข้อมูลต่างๆถึงกันได้ทันทีที่กระดิกนิ้วเท่านั้น เมื่อการดนตรีไทยได้เดินทางเข้าสู่ยุคอินเตอร์เน็ต มีเวปไซด์ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีไทยจริงๆขึ้นมาเป็นครั้งแรกคือ http://www.dontrithaitoday.com ขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2542 นับเป็นการปรับตัวตนของดนตรีไทย ให้เป็นดนตรีที่สามารถเข้าใจในสังคมได้มากยิ่งขึ้น การทำดนตรีไทยเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ทำให้วิชาการด้านดนตรีไทยเผยแพร่ไปได้ทั่วโลกโดยผ่านการสื่อสารที่เป็นสากลนี้ แต่อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีการสื่อสารสารสนเทศนี้แม้มีคุณอนันต์ หากนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้องก็จะมีโทษมหันต์ กลายเป็นการสื่อสารสารสนเทศที่แฝงและเต็มไปด้วยพิษภัยอย่างรุนแรงได้เช่นกัน

  ขอบคุณเว็บไซต์ http://dontrithaitoday.net/?page_id=210

วงดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 คือวงดนตรีใด