สมัยรัชกาลที่ 4 มีเหตุการณ์สําคัญเกิดขึ้นอย่างไร

สมัยรัชกาลที่ 4 มีเหตุการณ์สําคัญเกิดขึ้นอย่างไร

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า “เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทวาวงศ์พงษ์อิศรกษัตริย์” เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานในพระราชนิเวศน์เดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวราราม[1] เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 43 และเป็นลำดับที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชสมบัติในวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน ยังเป็นโทศก พ.ศ. 2394 รวมดำรงสิริราชสมบัติ 16 ปี 6 เดือน และมีพระราชโอรส – พระราชธิดารวมทั้งสิ้น 82 พระองค์ พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 รวมพระชนมพรรษา 64 พรรษา วัดประจำรัชกาล คือ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

เหตุการณ์สำคัญในสมัย

  • พ.ศ. 2394 โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาสำหรับพระราชวงศ์ เสนาบดี ทหารและพลเรือนทั้งหลายต่างดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาทั่วทุกคน พระองค์มิได้มีพระราชประสงค์ให้ข้าราชบริพารซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระองค์ฝ่ายเดียว แต่ทรงพระราชดำริว่าจะต้องทรงให้คำมั่นสัญญาต่อประชาชนของพระองค์ด้วยพระองค์จึงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่เสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
  • พ.ศ. 2395 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
    • โปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า
    • ร้อยเอกอิมเปญ์ เข้ามาฝึกทหารแบบยุโรป
    • คณะมิชชันนารี สอนภาษาอังกฤษ ในพระบรมมหาราชวัง
    • ร้อยเอกโทมัส ยอร์ช น็อกซ์ เข้ามาเป็นครูฝึกทหารวังหน้า
    • คณะมิชชันนารีอเมริกา เข้ามาสอนภาษา
    • กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงตุง
  • พ.ศ. 2396 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
    • โปรดเกล้าฯ ให้ใช้ “หมาย” แทนเงินตรา
    • ไทยรบพม่าที่เมืองเชียงตุง ( เป็นสงครามครั้งสุดท้ายระหว่าง ไทย – พม่า )
  • พ.ศ. 2398 เซอร์ จอห์น เบาริง ขอเข้ามาเจริญพระราชไมตรี ทำสนธิสัญญาใหม่กับอังกฤษ
  • พ.ศ. 2399 ทำสนธิสัญญาการทูตกับอเมริกาและฝรั่งเศส
  • พ.ศ. 2400 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
    • โปรดเกล้าฯ ให้ส่งทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษ
    • โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการเป็นบำเหน็จความดีความชอบ
    • เริ่มสร้างกำปั่นเรือกลไฟ
  • พ.ศ. 2401 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในวัง เรียกว่า “โรงราชกิจจานุเบกษา” เพื่อออกราชกิจจานุเบกษาเสนอข่าวราชการเป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2402 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์
  • พ.ศ. 2403 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกษาปณ์ขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติในพระบรมมหาราชวัง เพื่อผลิตเหรียญเงินราคาต่างๆ เพื่อใช้เป็นสิ่งแลกเปลี่ยนแทนเงินอย่างเก่าคือพดด้วง พระราชทานนามว่า “โรงกษาปณ์สิทธิการ” นับเป็นโรงกษาปณ์แห่งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2404 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
    • โปรดเกล้าฯ ให้ส่งทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส
    • แรกมีตำรวจพระนครบาล
    • โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนและขุดคลองให้เป็นทางสัญจรอย่างใหม่ สำหรับชาวไทยและชาวต่างประเทศเหมือนกับประเทศที่เจริญแล้วทางยุโรป เช่น การสร้างถนนเจริญกรุงเป็นสายแรก ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร และ ถนนสีลม ส่วนคลองได้แก่ คลองผดุงกรุงเกษม คลองภาษีเจริญ คลองหัวลำโพง คลองมหาสวัสดิ์ และคลองดำเนินสะดวก เป็นต้น
  • พ.ศ. 2405 นางแอนนา ลีโอโนเวนส์ เข้ามารับราชการเป็นครูสอนภาษาอังกฤษในพระราชสำนัก
  • พ.ศ. 2407 สร้างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
  • พ.ศ. 2408 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
  • พ.ศ. 2411 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
    • โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมเรือกลไฟ
    • ทรงคำนวณว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
    • เสด็จสวรรคต

ที่มา th.wikipedia.org

เหตุการณ์สำคัญในสมัย

พ.ศ. 2394 โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาสำหรับพระราชวงศ์ เสนาบดี ทหารและพลเรือนทั้งหลายต่างดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาทั่วทุกคน พระองค์มิได้มีพระราชประสงค์ให้ข้าราชบริพารซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระองค์ฝ่ายเดียว แต่ทรงพระราชดำริว่าจะต้องทรงให้คำมั่นสัญญาต่อประชาชนของพระองค์ด้วยพระองค์จึงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่เสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

พ.ศ. 2395 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้

โปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า

ร้อยเอกอิมเปญ์ เข้ามาฝึกทหารแบบยุโรป

คณะมิชชันนารี สอนภาษาอังกฤษ ในพระบรมมหาราชวัง

ร้อยเอกโทมัส ยอร์ช น็อกซ์ เข้ามาเป็นครูฝึกทหารวังหน้า

คณะมิชชันนารีอเมริกา เข้ามาสอนภาษา

กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงตุง

พ.ศ. 2396 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้

โปรดเกล้าฯ ให้ใช้ หมายแทนเงินตรา

ไทยรบพม่าที่เมืองเชียงตุง ( เป็นสงครามครั้งสุดท้ายระหว่าง ไทย - พม่า )

พ.ศ. 2398 เซอร์ จอห์น เบาริง ขอเข้ามาเจริญพระราชไมตรี ทำสนธิสัญญาใหม่กับอังกฤษ

พ.ศ. 2399 ทำสนธิสัญญาการทูตกับอเมริกาและฝรั่งเศส

พ.ศ. 2400 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้

โปรดเกล้าฯ ให้ส่งทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษ

โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการเป็นบำเหน็จความดีความชอบ

เริ่มสร้างกำปั่นเรือกลไฟ

พ.ศ. 2401 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในวัง เรียกว่า "โรงราชกิจจานุเบกษา" เพื่อออกราชกิจจานุเบกษาเสนอข่าวราชการเป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2402 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ และ พระราชวังนครคีรี

พ.ศ. 2403 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกษาปณ์ขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติในพระบรมมหาราชวัง เพื่อผลิตเหรียญเงินราคาต่างๆ เพื่อใช้เป็นสิ่งแลกเปลี่ยนแทนเงินอย่างเก่าคือพดด้วง พระราชทานนามว่า "โรงกษาปณ์สิทธิการ"[19] นับเป็นโรงกษาปณ์แห่งแรกในประเทศไทย

พ.ศ. 2404 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้

โปรดเกล้าฯ ให้ส่งทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส

แรกมีตำรวจพระนครบาล

โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนและขุดคลองให้เป็นทางสัญจรอย่างใหม่ สำหรับชาวไทยและชาวต่างประเทศเหมือนกับประเทศที่เจริญแล้วทางยุโรป เช่น การสร้างถนนเจริญกรุงเป็นสายแรก ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร และ ถนนสีลม ส่วนคลองได้แก่ คลองผดุงกรุงเกษม คลองภาษีเจริญ คลองหัวลำโพง คลองมหาสวัสดิ์ และคลองดำเนินสะดวก เป็นต้น

พ.ศ. 2405 นางแอนนา ลีโอโนเวนส์ เข้ามารับราชการเป็นครูสอนภาษาอังกฤษในพระราชสำนัก

พ.ศ. 2407 สร้างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

พ.ศ. 2408 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต

พ.ศ. 2411 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้

โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมเรือกลไฟ

ทรงคำนวณว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

เสด็จสวรรคต

เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นในรัชกาลที่4

โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมเรือกลไฟ ทรงคำนวณว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เสด็จสวรรคต

ผลงานของรัชกาลที่ 4 มีอะไรบ้าง

ศาสนา พระราชกรณียกิจที่สําคัญในการทํานุบํารุงพุทธศาสนา คือ ทรงให้กําเนิดธรรมยุติกนิกาย มีการสร้างพระอารามหลวง มี 5 พระอารามได้แก่ วัดบรมนิวาส วัดโสมนัสวิหาร วัดประทุมวนาราม วัดราชประดิษฐ์สถิตย์มหาสีมาราม วัดมกุฎกษัตริยาราม วรรณคดี และกวี

รัชกาลที่ 4 ได้รับการยกย่องว่าอะไร

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระมหากษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ พระผู้นำแห่งสยามประเทศด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะพระอัจฉริยภาพล้ำเลิศด้านดาราศาสตร์ พระองค์ได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย พระองค์ได้แสดงเกียรติภูมิของชาติไทยให้แผ่ไพศาลเป็นที่ยกย่องและชื่นชม ในบรรดา ...

หมาย ในสมัยรับกาลที่ 4 หมายถึงอะไร

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์เงินตราขาดแคลนในครั้งนี้ ด้วยการโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์ “เงินกระดาษ” นำออกใช้หมุนเวียนในระบบเงินตราของประเทศสยามเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2396 เรียกว่า “หมาย” หรือ “หมายแทนเงิน” โดยมีพระราชประสงค์ให้ราษฎรใช้หมายแทนการใช้เงินพดด้วง แต่กลับไม่เป็นที่นิยมใน ...