เมื่อร่างกายเล่นกีฬาอย่างหนัก

การบาดเจ็บควรได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง โดยการตรวจร่างกายและอาจมีการตรวจอื่น ๆ เช่น  X – Ray เป็นต้น  ในรายที่การรักษาเป็นแบบประคับประคอง (Conservative Treatment) อาจรักษาด้วยการใช้ยา เพื่อลดความปวด และการทำกายภาพบำบัดเพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น  ซ่อมแซม และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและข้อต่อ


รักษาอาการบาดเจ็บในการเล่นกีฬา

การรักษาอาการบาดเจ็บในการเล่นกีฬา ในช่วง 1 – 3 วันแรก  จะใช้หลักการที่เรียกว่า  RICE

Rest : พัก หยุดการเคลื่อนไหว ในส่วนที่ได้รับบาดเจ็บ หรือลดกิจกรรม และพยายามลดการลงน้ำหนักบริเวณที่บาดเจ็บ

Ice :  ประคบเย็นบริเวณที่บาดเจ็บ ครั้งละ 15 – 20 นาที ทุก 2 – 3 ชั่วโมง

Compression : พันกระชับส่วนที่บาดเจ็บด้วยม้วนผ้ายืด Elastic Bandage

Elevation : ยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูงเพื่อช่วยลดบวม


กลับไปเล่นกีฬาอีกครั้ง

ก่อนกลับไปเล่นกีฬาอีกครั้ง หัวใจสำคัญคือ ต้องปรับโครงสร้างของร่างกายให้มีความฟิตเพื่อพร้อมที่จะกลับไปเล่นกีฬาได้ในช่วงแรกหลังจากบาดเจ็บ ควรเน้นการ

  • เสริมสร้างความยืดหยุ่น (Flexibility) ทั้งความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนรอบข้อที่บาดเจ็บก่อน
  • ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle Strength)
  • ฝึกความทนทานของกล้ามเนื้อ (Muscle Endurance) การฝึกที่เหมาะสมจะช่วยให้กล้ามเนื้อและข้อต่อสามารถรองรับน้ำหนัก ช่วยให้เล่นกีฬาได้ดีและสามารถป้องกันการบาดเจ็บซ้ำบริเวณเดิมได้

นอกจากนี้เมื่อนักกีฬาเกิดการบาดเจ็บแล้วหยุดออกกำลังกาย ความสามารถ ความทนทานของหัวใจ / ปอด (Cardiovascular Fitness) จะลดลง ซึ่งในระหว่างพักฟื้นควรออกกำลังกายแบบแอโรบิก
เพื่อคงสภาพความทนทานระบบไหลเวียน / ปอด จะช่วยให้ไม่เหนื่อยง่ายเมื่อกลับไปเล่นกีฬาอีกครั้ง โดยออกกำลังกายในส่วนที่ไม่บาดเจ็บ หากบาดเจ็บที่ขา ควรออกกำลังแขนแทน เช่น ปั่นจักรยานมือเพื่อคงสภาพความทนทาน


เมื่ออาการบาดเจ็บดีขึ้นแล้วสามารถออกกำลังกายแบบประคองส่วนที่บาดเจ็บได้ โดยลดการรับน้ำหนักหรือแรงกระแทก โดยใช้อุปกรณ์ที่ช่วยรองรับแรงกระแทก เช่น ออกกำลังกายในน้ำ การออกกำลังกายด้วยเครื่องวิ่งลดแรงโน้มถ่วง (Alter – G) ซึ่งจะมีถุงลมช่วยรับแรงกระแทกให้น้อยลง เหมาะกับคนที่ยังไม่พร้อมรับน้ำหนักเต็ม ๆ เมื่อพร้อมแล้วค่อยกลับมาวิ่งหรือออกกำลังกายปกติ โดยการฝึกออกกำลังกายหรือวิ่งที่เพิ่มระดับอย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างมีระบบ (Progressive Exercise Program /Progressive Running Program) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถกลับไปออกกำลังกายหรือวิ่งได้เต็มรูปแบบเหมือนเดิม

 

ป้องกันอาการบาดเจ็บในการเล่นกีฬา

การป้องกันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ควรทำควบคู่กับการรักษาตั้งแต่เริ่มต้น โดยการหาสาเหตุของการบาดเจ็บ ซึ่งมาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก

แบ่งปันเกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพทั้งโรคภัยไข้เจ็บ วิธีออกกำลังกาย เคล็ดลับลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง อยู่กินของอร่อยไปได้อีกนาน ๆ

การออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ดี แต่จะให้โทษแก่ร่างกายเมื่อออกกำลังกายมากเกินไป มีวิธีสังเกตอย่างไร Sanook! Health มีคำตอบค่ะ

 

7 สัญญาณอันตราย เมื่อคุณออกกำลังกาย “มากเกินไป”

1. รู้สึกอ่อนเพลีย หมดแรง ไม่กระปรี้กระเปร่า

2. ภูมิคุ้มกันลดลง จากการใช้พลังงานในร่างกายมากเกินไป และพักผ่อนไม่เพียงพอ

3. อารมณ์ไม่แจ่มใส ไม่เบิกบาน เพราะมองว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่จำเป็น “ต้องทำ” และกดดันตัวเองให้ทำ มากกว่าจะมองว่าเป็นการผ่อนคลาย

4. นอนไม่หลับ มีเรื่องให้คิด หรือจิตใจไม่สงบ ร่างกายตื่นตัวตลอดเวลา

5. อารมณ์แปรปรวน ไม่มั่นคง หงุดหงิดงุ่นง่านมากขึ้น

6. ปวดเมื่อย ทรมานไปทั้งตัว หรือเฉพาะส่วนที่ออกกำลังกายอย่างหนัก และส่วนที่สึกหรอหรือบาดเจ็บ ไม่ได้รับการเยียวยารักษา หรือซ่อมแซม

7. กระหายน้ำมากผิดปกติ เหนื่อยมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจเป็นลมหมดสติ

 

 

โทษของการออกกำลังกายมากเกินไป

1. ร่างกายมีความผิดปกติ เจริญเติบโตไม่เต็มที่ หรือหยุดการเจริญเติบโต

2. รูปร่างภายนอกดูดี แต่ระบบร่างกายภายในกลับรวน เช่น ประจำเดือนขาด มาไม่สม่ำเสมอ อวัยวะภายในร่างกายทำงานมากผิดปกติ

3. ในกรณีที่ทานโปรตีน หรือเวย์โปรตีนควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย หากไม่ควบคุมสารอาหารให้มีความสมดุล อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร รับโปรตีนมากเกินไป ส่งผลให้ตับ และไตทำงานหนัก

4. กล้ามเนื้อบริเวณที่ออกกำลังกายอาจเกิดอาการบาดเจ็บ หากไม่หยุดทำการรักษา อาจถึงขั้นพิการ และใช้งานไม่ได้ตลอดชีวิต เช่น กล้ามเนื้อหัวไหล่ นิ้วมือ เข่า ข้อศอก ข้อเท้า เอ็นร้อยหวาย ฯลฯ

5.  หากไม่ได้ตรวจร่างกายก่อนออกกำลังกาย และเข้าใจว่าตัวเองไม่ได้มีความผิดปกติ หรือโรคภัยอะไรร้ายแรง แล้วหักโหมออกกำลังกายอย่างหนัก อาจเป็นการกระตุ้นให้โรคนั้นๆ กำเริบเร็วขึ้น เช่น โรคหัวใจ เป็นต้น

 

ดังนั้น เราควรออกกำลังกายแต่พอดี ในระดับที่เหมาะสมกับร่างกายของเรา วัยของเรา นอกจากนี้ยังต้องทานอาหารให้ครบหมู่ อย่าทานแต่อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นเวลานานๆ เพื่อให้ได้สารอาหารที่หลากหลาย

สุดท้าย พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อจะได้มีแรง และพลังงานมาใช้ในการออกกำลังกายต่อไป หากเกิดอาการผิดปกติเมื่อไร ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที เท่านี้คุณก็ออกกำลังกายอย่างมีความสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอย่างแท้จริงแล้วล่ะค่ะ

เคยเป็นกันไหม หักโหมออกกำลังกายเป็นเดือน แต่วันหนึ่งล้าไม่ไหวต้องพัก ออกกำลังกาย ลดน้ำหนักมาตั้งนาน แต่ไม่มีวี่แววที่น้ำหนักจะลงแถมเหนื่อยมากเกินไปอีก จนล้มเลิกความตั้งใจ ซึ่งในวันนี้เรามีเคล็ดลับดีๆ และตัวช่วยที่จะทำให้เป้าหมายการลดน้ำหนัก กระชับ หุ่นเฟิร์มเป็นไปได้ดังใจ จริงๆ แล้วสิ่งนี้คือเคล็ดลับที่มือใหม่หัด work out หรือจะมือโปรก็ควรนำไปใช้ เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนและเห็นผลลัพธ์ชัดเจน

 

วิธีพักร่างกายคุณเองสามารถทำได้ง่ายๆ แค่ 3 วิธี จะทำให้คุณออกกำลังกายได้ดีขึ้นแบบเห็นได้ชัด

1.Plan Fitness จัดตารางออกกำลังกาย
ซึ่งการวางแผนออกกำลังกายจะทำให้เรามีระเบียบวินัยและ เซทเป้าหมายได้ดีมากขึ้น และในนั้นคุณก็ควรวางแผนของตารางพักผ่อนอีกด้วย แนะนำหลักๆ คือ ทุกๆ 3-5 สัปดาห์ ควรมีช่วงที่เล่นเบาลงซัก 1 สัปดาห์ (Deload week) เป็นช่วงที่ลดน้ำหนักการเล่นลง เพิ่มจำนวนครั้งมากขึ้นกว่าปกติ และโฟกัสท่าเล่นให้ถูกต้อง เพื่อให้ร่างกายได้พักและรีเฟรชอย่างเต็มที่ หากคุณไม่วางแผนพัก และถ้าออกกำลังกายหนักๆ ติดต่อกันนานๆ อาจจะเกิดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นได้

2.การพักผ่อนให้เพียงพอ
ควรนอนให้ได้ 8 ชั่วโมงต่อวัน และเข้านอนเวลาเดิมทุก ๆ วัน เพื่อให้ร่างกายได้สร้างความคุ้นเคย และวินัยของระบบร่างกายในการทำงาน เท่านี้การนอนก็จะเป็นการนอนที่ยิ่งนอนยิ่งสวย ยิ่งนอนยิ่งมีประสิทธิภาพ

3.การนวดเป็นการผ่อนคลายพักผ่อนกล้ามเนื้อที่ดี
การนวดผ่อนคลาย คือการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่ดี ลดอาการหดตึงของกล้ามเนื้อหลัง จากออกกำลังกายได้ด้วยเช่นกัน เคล็ดลับ ลดอาการเมื่อย ตึง กล้ามเนื้อ นวดลงไปจนรู้สึกว่าความตึงของกล้ามเนื้อลดน้อยลง สามารถทำซ้ำได้ และแม้การนวดจะไม่ได้ช่วยเร่งกระบวนการฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้ไวขึ้น แต่มันก็ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายเนื้อตัวมากกว่าเดิม นอกจากการพักผ่อนแล้วต้องมีการบำรุงเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อด้วยเช่นกัน ซึ่งอาหารการกินหลังออกกำลังกายใช้แรงมีผลมากอย่างเห็นได้ชัด

เคล็ดลับดี ๆช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับร่างกาย

1.เติมความชุ่มชื้นให้ร่างกาย
การร่างกายขับเหงื่อ หรือของเหลวออกจากร่างกาย ก็คือการสูญเสียน้ำ ซึ่งต้องดื่มน้ำให้เท่ากับความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณออกกำลังกายอย่างหนักหรือมีเหงื่อออกมาก การเติมระดับของเหลวของคุณช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ สร้างความแข็งแรง และป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อที่จะตามมาหลังจากออกกำลังกายได้อีกด้วย
ตัวอย่าง เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เช่น น้ำมะพร้าว ชาเขียวหรือชาดำ และนมช็อกโกแลต หรือคุณสามารถเลือกเครื่องดื่มเกลือแร่ที่มีน้ำตาลต่ำได้ เครื่องดื่มเหล่านี้มีอิเล็กโทรไลต์ เช่น โพแทสเซียมและโซเดียม ซึ่งสามารถป้องกันและบรรเทาอาการตะคริวของกล้ามเนื้อได้
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล มีคาเฟอีน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ซึ่งอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำและเกิดผลกระทบกับร่างกายกลายเป็นไขมันสะสม

2.กินขนมของว่างเพื่อสุขภาพ
การที่คุณจะทานอะไรหลังจากออกกำลังกาย คุณควรวางแผนที่จะกินของว่างหรืออาหารเพื่อสุขภาพภายใน 45 นาทีหลังจากออกกำลังกายเสร็จ ซึ่งจะช่วยเติมเต็มแหล่งสะสมพลังงานของกล้ามเนื้อและเริ่มกระบวนการฟื้นฟู กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คาร์โบไฮเดรตช่วยฟื้นฟูระดับไกลโคเจนให้ร่างกายเพื่อที่คุณจะได้ชาร์จระดับพลังงานของคุณได้ โปรตีนช่วยในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อและให้กรดอะมิโนที่ช่วยซ่อมแซมและสร้างกล้ามเนื้อใหม่

3.ออกกำลังกายเบาๆ ในวันพักผ่อน
แม้ว่ากล้ามเนื้อของคุณต้องการเวลาพักฟื้นหลังจากออกกำลังกายอย่างหนัก คุณยังคงออกกำลังกายเบาๆ ในวันที่พักฟื้นได้ เช่น เดิน ว่ายน้ำ หรือเล่นโยคะ การมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูอาจช่วยป้องกันการสร้างกรดแลคติก ขจัดสารพิษ และเพิ่มการไหลเวียน
การออกกำลังกายที่หลากหลายสามารถช่วยกล้ามเนื้อของคุณได้ขยับในครบทุกส่วน การทำงานก็จะทั่วถึงและเพิ่มการเผาผลาญได้ทุกส่วน

4. อย่าลืมผ่อนร่างกายให้เย็นลง
สิ่งนี้จำเป็นอย่างมาก หลังจากออกกำลังกายเสร็จด้วยต้องมีคูลดาวน์เสมอ หรือการผ่อนแรงร่างกายลง ซึ่งจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจค่อยๆ กลับสู่อัตราปกติ นอกจากนี้ยังช่วยหยุดการรวมตัวของเลือดที่วิ่งไม่ทั่วร่างกาย ซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกมึนหัวหรือเวียนหัว
คูลดาวน์ที่เหมาะสมกับการออกกำลังกายในแต่ละวันนั้น ยังช่วยลดความเครียด ป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อ และป้องกันการบาดเจ็บได้อีกด้วย และการคูลดาวน์ ควรปิดท้ายหลังจากการ work out ใช้เวลาโดยรวมประมาณ 5 นาที ในแต่ละท่าคูลดาวน์ต้องยืดกล้ามเนื้อให้ถูกจุดและสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย
ต่อไปจะเป็นเคล็ดลับสร้างกล้าม เพราะการออกกำลังกายไม่ได้มีแค่คาร์ดิโอเท่านั้น ยังมีการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซึ่งเคล็ดลับต่อไปนี้ จะช่วยให้ร่างกายคุณได้ผ่อนคลายครบทุกรูปแบบจริงๆ

5. จัดลำดับความสำคัญของโปรตีน
ในการซ่อมแซมและสร้างกล้ามเนื้อใหม่ ให้เลือกอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตที่ดีต่อสุขภาพและโปรตีนคุณภาพสูง ตัวเลือกโปรตีนที่ช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ มีดังนี้ นม โยเกิร์ต ไข่ ชีส เนื้อไม่ติดมัน ปลา เวย์โปรตีน ถั่วและเมล็ด อาหารถั่วเหลือง บาร์โปรตีนน้ำตาลต่ำ หากพูดถึงเวย์โปรตีน การเลือกทานเวย์โปรตีนก็มีส่วนสำคัญ ไม่ใช่ถูกใจแพ็คเกจแล้วเลือกได้เลย เวย์โปรตีนก็แบ่งออกอีกหลายประเภท เพื่อตอบโจทย์ผู้ที่ออกกำลังกายทุกรูปแบบ เช่น

Whey Protein ที่ช่วยฟื้นฟู และเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

1. เวย์โปรตีน BAAM 100%
อุดมไปด้วยกรดอะมิโนกว่า 18 ชนิด มี BCAA 5 กรัม และ Glutamine 4 กรัมต่อช้อน เหมาะสำหรับใคร?

  • ผู้ที่ต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อแบบเน้นๆ
  • อยู่ในช่วงกำลังลดไขมัน ต้องการเพิ่มความกระชับ และคมชัดของกล้ามเนื้อ
  • ผู้ที่ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา เป็นประจำ
  • ไม่ว่าจะเล่น Weight Training, ฟุตบอล, บาส, ว่ายน้ำ, วิ่ง, ปั่นจักรยาน
  • ต้องการอาหารว่างที่ดีต่อสุขภาพ แทนการทานจุกจิก
  • คนที่ทานโปรตีนไม่พอในชีวิตประจำวัน
BAAM WHEY สามารถดูดซึมได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านการย่อยอีก จึงสามารถเข้าไปซ่อมแซม และป้องกันการสลายตัวของกล้ามเนื้อได้ทันที ทำให้อาการล้าหลังเล่นหายได้ไวขึ้น BCAA ยังช่วยเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีนของกล้ามเนื้อ และเป็นเหมือนกุญแจในการสร้างกล้ามเนื้อ เพื่อเปิดให้โปรตีนสามารถเข้าไปสร้างกล้ามเนื้อได้เต็มที่

2. กรดอะมิโน GLUTAMINE 6000
เป็นกรดอะมิโนที่ช่วยเร่งฟื้นฟู ส่วนที่สึกหรอและฟื้นฟูร่างกายหลังจากออกกำลังกาย ลดอาการเมื่อยล้าด้วยการนำสารอาหารเข้าเซลล์มากขึ้น และเร็วขึ้น หรือว่าง่ายๆเพิ่มการดูดซึมของสารอาหารอื่นๆ โดยจะช่วยลดระยะเวลาการปวดหลังจากการออกกำลัง และย่นระยะเวลาที่คุณต้องใช้ในการฟื้นตัว

3. การเลือกทานคาร์โบไฮเดรตแบบมืออาชีพ
หน้าที่ของคาร์โบไฮเดรตช่วยให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวในขณะที่โปรตีนสนับสนุนการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ คาร์โบไฮเดรตที่ควรรับประทานหลังออกกำลังกาย มีดังนี้ เพื่อให้การออกกำลังกายของคุณมีประสิทธิภาพที่รวดเร็วยิ่งขึ้น

  • มันฝรั่งหวาน
  • ผลไม้สด
  • นมช็อคโกแลต
  • ข้าวโอ๊ต
  • พาสต้าโฮลเกรน
  • ขนมปังโฮลวีต
  • คินัว
  • พืชตระกูลถั่ว

4. ลองอาหารเสริม เพราะมันช่วยคุณได้
บางครั้ง อาหารบางอย่างก็อาจจะให้สารอาหารไม่ครบ และบางสารอาหารหรือวิตามิน ก็ยากต่อการทานผักทั่วไปแล้วจะเข้าถึง ดังนั้นคุณเองสามารถเสริมสร้างอาหารของคุณด้วยโปรตีนเชคหรืออาหารเสริม อาหารเสริมที่สนับสนุนการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ หรือเพิ่มประโยชน์ให้กับร่างกายได้แก่ : ครีเอทีน อาหารเสริมโปรตีน เบต้าอะลานีน เบต้า-ไฮดรอกซี เบตา-เมทิลบิวทิเรต (HMB)
มาถึงส่วนของเคล็ดลับลดน้ำหนัก ที่อาจจะถูกใจสาวๆ ออฟฟิศสมัยนี้ เทรนด์การกลับมาดูแลตัวเองกำลังเป็นที่นิยม ซึ่งการที่เราหักโหมออกกำลังกาย ไม่ได้หมายความว่าน้ำหนักเราจะลด แต่มันอาจเพิ่มน้ำหนักได้ด้วย ถ้าคุณทำผิดวิธี

5. ทานอาหารปกติ
ควรทานให้ครบมื้อตามปกติ ไม่ควรงดหรืออด ซึ่งอาจขัดขวางประโยชน์ของการออกกำลังกายของคุณโดยทำให้กล้ามเนื้อสูญเสียสารอาหารที่จะมาใช้บำรุง การกินเพื่อสร้างกล้ามเนื้อในการมาช่วยเร่งการเผาผลาญ มีประโยชน์มากในการลดน้ำหนัก เพราะยิ่งกล้ามเนื้อเยอะร่างกายก็จะเผาผลาญพลังงานได้ดียิ่งขึ้น

6. เลือกงดอาหารบางประเภท
ในการเผาผลาญไขมัน ให้เลือกทานอาหารที่ส่งเสริมการลดน้ำหนัก ตัวเลือกโปรตีน ได้แก่ ปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล และทูน่า หรือเลือกใช้เนื้อไม่ติดมัน เช่น ไก่งวง เนื้อสันในหมู หรืออกไก่ เป็นกลุ่มไขมันดี ที่มีส่วนช่วยในการเผาผลาญ
ในส่วนของเคล็ดลับการลดอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ เพื่อให้คุณได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและเกิดผลลัพธ์สูงสุด

7. อย่าลืมยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำ
รวมกิจวัตรการยืดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายในขณะที่กล้ามเนื้อยังอุ่นอยู่ ช่วยยืดกล้ามเนื้อ คลายความตึงของกล้ามเนื้อและเพิ่มความยืดหยุ่น การยืดกล้ามเนื้อยังช่วยป้องกันการปวดกล้ามเนื้อ บรรเทาความตึงและเพิ่มระยะการเคลื่อนไหวของคุณ สิ่งนี้ช่วยเพิ่มความคล่องตัว ส่งเสริมท่าทางที่ดี และเพิ่มความผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ

8. อาบน้ำเย็นๆ
อาบน้ำเย็นหรือเย็นเพื่อกระตุ้นการรักษา ป้องกันการอักเสบ และคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ คุณยังสามารถลองแช่ตัวในอ่างน้ำแข็ง ซึ่งอาจบรรเทาอาการเจ็บกล้ามเนื้อและการอักเสบได้ อาจช่วยให้คุณได้สัมผัสกับค่ำคืนแห่งการนอนหลับอันเงียบสงบ

9. ลองใช้วิธีการรักษาที่บ้าน
ตัวเลือกอื่นๆ ในการบรรเทาหรือป้องกันอาการเจ็บกล้ามเนื้อ ได้แก่ การอาบน้ำด้วยเกลือ Epsom การนวด หรือการกลิ้งด้วยโฟม หากคุณรู้สึกเหนื่อย มีอาการปวด หรือได้รับบาดเจ็บใดๆ ให้พักผ่อนให้เต็มที่จนกว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้น

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
สร้างสมดุลด้วยการเลือกอาหารของคุณ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเติมพลังงานให้ร่างกายโดยไม่ให้แคลอรีมากเกินไป และไม่จำเป็นต้องพรากของโปรดที่ตัวเองชอบ แค่หลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์

ข้อแนะนำเพิ่มเติม การจำกัดลมหายใจหรือลืมหายใจระหว่างและหลังการออกกำลังกาย อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะหรือหน้ามืดได้ เกิดจากการขาดออกซิเจนในสมอง ฝึกหายใจลึกๆ ขณะพักก่อนที่จะรวมเข้ากับการออกกำลังกายของคุณ สิ่งนี้จะช่วยพัฒนารูปแบบการหายใจที่ดีต่อสุขภาพและการรับรู้ถึงลมหายใจ สุดท้ายการที่คุณวางแผน หรือมีวิธีแนวทางเสริมอาหารเสริม ย่อมเห็นผลอย่างรวดเร็วแน่นอน แต่ต้องมีระเบียบวินัย หรือถ้าคุณอยากได้ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเสริมประเภทเวย์โปรตีน สามารถศึกษาหรือปรึกษาได้ที่ข้อมูลช่องทางการติดต่อ