ภาวะทุพโภชนาการมี 2 ประเภท ได้แก่

ผู้ที่มีสุภาพจิตผิดปกติ เช่น โรคคลั่งผอม และอาการทางจิตเภท ทำให้ความอยากอาหารลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกาย ขาดสารอาหาร

ปัญหาทางสังคมอาจส่งผลต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น มีฐานะยากจน ไม่มีเงินพอสำหรับการซื้ออาหาร เดินทางไม่สะดวกในการไปซื้ออาหาร การอาศัยอยู่คนเดียวซึ่งอาจส่งผลต่อแรงจูงใจในการรับประทานอาหาร

  • ความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร

โรคต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารภายในร่างกาย อาจทำให้ร่างกายเกิดการขาดสารอาหารได้ เช่น โรคเกี่ยวกับช่องท้อง โรคโครห์น (Crohn’s Disease)

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะทุพโภชนาการ

  • ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ต้องรับการรักษาเป็นเวลาระยะยาวในโรงพยาบาล
  • ผู้มีรายได้น้อย
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมสารอาหาร

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ในเบื้องต้น แพทย์อาจทำการสอบถามประวัติต่างๆ รวมถึงตรวจอื่นๆ เพิ่มเติมดังนี้

  • ตรวจเลือด เพื่อคัดกรองและนำไปตรวจสอบทั่วไปหาสาเหตุของโรค
  • ตรวจสอบสารอาหารที่เฉพาะเจาจง เช่น วิตามิน เหล็ก
  • การทดสอบระดับโปรตีนในเลือด (Prealbumin Test)
  • การตรวจอัลบูมิน (Albumin Test) ซึ่งอาจบ่งบอกถึงโรคตับ และโรคไต

การรักษาภาวะทุพโภชนาการ

วิธีการรักษาภาวะทุพโภชนาการ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการในแต่ละบุคคล โดยในเบื้องต้นอาจทำการสอบถามประวัติและติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง จัดทำตารางการรับประทานอาหาร รวมถึงการให้อาหารเสริม เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ทดแทนการขาดสารอาหาร

ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง คุณหมออาจจำเป็นต้องให้สารอาหาร เช่น โพแทสเซียมและแคลเซียมทางหลอดเลือดดำ เพื่อให้ร่างกายค่อย ๆ ได้รับสารอาหาร

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อรักษาและป้องกันการเกิดภาวะทุพโภชนาการ

คนทั่วไปอาจป้องกันภาวะทุพโภชนาการได้ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

สิ่งที่สำคัญที่สุด หากสังเกตพบว่าเริ่มมีสัญญาณหรืออาการใด ๆ ที่อาจบ่งชี้ถึงอาการของภาวะทุพโภชนาการ หรือการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ควรเข้ารับคำปรึกษาจากนักโภชนาการ หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาตามขั้นตอนอย่างเหมาะสมต่อไป

ภาวะทุพโภชนาการมี 2 ประเภท ได้แก่

โภชนาการกับสุขภาพ

        อาหารและโภชนาการ เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์  ถ้าเรามีภาวะโภชนาการที่ดี ก็จะช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ตรงกันข้ามหากเราได้รับสารอาหารที่มากหรือน้อยเกินไปย่อมก่อให้เกิดภาวะโภชนาการเกินหรือภาวะทุพโภชนาการขึ้นได้  การได้เรียนรู้ถึงหลักการบริโภคอาหารและโภชนาการตามหลักโภชนบัญญัติ  จะทำให้มนุษย์เราสามารถเลือกบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  โดยเฉพาะในวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การเลือกบริโภคอาหารอย่างเหมาะสมกับวัย จะมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการสร้างเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์ แข็งแรงสมวัย
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโภชนาการ
        คนเรามีสุขภาพที่ดีได้นั้น การรับประทานอาหารนับเป็นปัจจัยอันดับแรกๆ เราจึงจำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านโภชนาการและอาหาร เพื่อจะได้เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ได้สัดส่วนที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย อันเป็นการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ
ความหมายของโภชนาการ
        ก่อนที่เราจะรู้จักกับความหมายของโภชนาการ เราควรต้องรู้จักกับคำว่าอาหารเสียก่อน ซึ่งอาหารก็เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อโภชนาการ โดยอาหาร หมายถึง สิ่งที่รับประทานแล้วมีประโยชน์ ต่อร่างกาย อาจอยู่ในรูปของของเหลวหรือของแข็งก็ได้ดังนั้น หากสิ่งที่ใดที่ได้รับประทานเข้าไปแล้ว  ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ และอาจก่อให้เกิดโทษแก่ร่างกายได้นั้น เราจะไม่จัดว่าเป็นอาหาร   เช่น   เครื่องดื่มแอลกอฮอล์  สารปรุงแต่งอาหาร   หรือ  ผงชูรส เป็นต้น
        โภชนาการ  หมายถึง  เนื้อหาวิชาการที่เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ซึ่งเรียกว่าวิทยาศาสตร์กับอาหาร โดยเป็นความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการเจริญเติบโต  เช่น  การจัดแบ่งประเภท และประโยชน์ของสารอาหาร การเปลี่ยนแปลงของอาหารที่รับประทานเข้าไป เป็นต้น

ภาวะทุพโภชนาการมี 2 ประเภท ได้แก่

ภาวะโภชนาการ
        ภาวะโภชนาการ  หมายถึง สภาพหรือสะภาวะของร่างกาย   อันเนื่องมาจากการบริโภคอาหาร ซึ่งร่างกายนำอาหารที่ได้รับไปใช้เพื่อความเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย  ตลอดจนช่วยให้อวัยวะต่างๆของร่างกายทำงานได้ตามปกติ โดยมีปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ เช่น  ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา  สิ่งแวดล้อม  ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม รูปแบบการบริโภคอาหาร  ตลอดจนสภาพร่างกายและจิตใจ เป็นต้น  ซึ่งสรุปง่ายๆ ดังแผนภาพ

        ภาวะโภชนาการ แบ่งออกเป็น ภาวะโภชนาการที่ดีเมื่อได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งมีทั้งภาวะโภชนาการต่ำ และภาวะโภชนาการเกิน เนื่องจากได้รับอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอาจทำให้มีสุขภาพที่ไม่ดีได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

        คือ การที่ร่างกายได้บริโภคอาหารในปริมาณที่เพียงพอถูกสัดส่วน หลากหลาย เหมาะสมและครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย ทำให้สามารถนำสารอาหารที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับร่างกายและจิตใจ ส่งผลให้มีสมรรถภาพร่างกายที่ดี

ภาวะโภชนาการที่ไม่ดี หรือภาวะทุพโภชนาการ

        หมายถึง การที่ร่างกายบริโภคอาหารในลักษณะที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ทั้งในด้านปริมาณและสัดส่วน ทำให้ร่างกายเกิดภาวะโภชนาการที่ไม่ดีขึ้น  ซึ่งแบ่งออกเป็นภาวะโภชนาการต่ำ หรือภาวะขาดสารอาหาร หมายถึง ภาวะที่เกิดจากการบริโภคอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับสารอาหารไม่ครบตามความต้องการของร่างกายซึ่งมีผลทำให้สุขภาพไม่แข็งแรง อาจก่อให้เกิดโรค หรือมีความต้านทานต่อโรคต่างๆได้น้อย เจ็บป่วยได้ง่าย

ภาวะทุพโภชนาการมี 2 ประเภท ได้แก่

        หมายถึง ภาวะที่เกิดจากการบริโภคอาหารหรือสารอาหารที่เกินต่อความต้องการของร่างกายเช่นบริโภคอาหารที่ให้พลังงานเกินกว่าที่ร่างกายจะใช้ ร่างกายจึงเกิดการสะสมพลังงานเหล่านั้นไว้ในรูปของไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วน หรือหมายรวมถึงการได้รับวิตามินบางชนิดมากเกินไป ก็อาจสะสมจนก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน เช่นวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค 

ปัญหาการเกิดโรคจากภาวะทุพโภชนาการ 

        อาหารและโภชนาการเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก การเลือกบริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์และถูกต้อง ย่อมมีผลดีต่อร่างกายแต่ถ้าเลือกบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ย่อมก่อให้เกิดโรคต่างๆ และมีโทษร่างกายได้ ซึ่งโรคที่เกิดจากภาวะทุพโภชนาการ สามารถแบ่งออกได้เป็นโรคภาวะโภชนาการเกิน และโรคภาวะโภชนาการต่ำ ดังนี้

        เป็นโรคหนึ่งซึ่งเกิดจากภาวะโภชนาการเกินส่งผลให้เกิดโรคต่างๆตามมาเช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไขข้ออักเสบ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เป็นต้น

1)  รับประทานอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ รวมไปถึงการเลือกรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น การรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด รับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินความต้องการของร่างกาย หรือการรับประทานอาหารหวานจัด เช่น น้ำอัดลม ขนมเค้ก ขนมหวานต่างๆ

2)  ขาดการออกกำลังกาย เมื่อร่างกายไม่ได้มีการใช้พลังงาน สารอาหารต่างๆที่เรารับประทานเข้าไปจึงแปรเปลี่ยนเป็นไขมันไปสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกาย

3)  พันธุกรรม มีงานวิจัยพบว่า หากบิดามารดา คนใดคนหนึ่งหรือทั้ง 2 คนเป็นโรคอ้วน มีโอกาสที่จะทำให้บุตรมีโอกาสเป็นโรคอ้วนสูงกว่าเด็กปกติ

4)  ความผิดปกติของร่างกาย บางครั้งโรคอ้วนอาจจะเกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่อยู่ในร่างกาย โดยต่อมไทรอยด์นี้จะผลิตฮอร์โมน “ไทรอกซิน” ซึ่งถ้าต่อมไทรอยด์ผิดปกติ ฮอร์โมนนี้จะถูกผลิตออกมาน้อย จะทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ไม่ดี เกิดการสะสมไขมันไว้มาก เกิดโรคอ้วนได้

1)  ลดอาหารประเภท แป้ง น้ำตาล และไขมัน

2)  ลดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อลงแต่ยังต้องรับประทานให้ครบ 5 หมู่

4)  ไม่ดื่ม หรือรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม ขนมรสหวานจัด

5)  อาหารมื้อเย็นเป็นมื้อที่มักจะรับประทานเกินกว่าที่ร่างกายจะนำไปใช้ได้หมด ดังนั้น ควรลดปริมาณอาหารมื้อเย็นลง และงดรับ
     ประทานอาหารมื้อดึก

6) อาจรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น ทดแทนข้าว แป้ง ขนมหวาน โดยต้องเลือกผลไม้ที่รสไม่หวานจัด ( ผลไม้บางชนิดมีแป้งและ
    น้ำตาลสูง ควรงดรับประทาน เช่น สัปปะรด  ทุเรียน ขนุน กล้วยน้ำว้า )

7) ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเร่งการเผาผลาญไขมันส่วนเกินออกไป โดยออกกำลังกายให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ ต่อเนื่อง
    กันอย่างน้อย 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

ภาวะทุพโภชนาการมี 2 ประเภท ได้แก่

       เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการขาดสารอาหารที่ควรได้รับอย่างพอเพียงในภาวะหนึ่งๆ ซึ่งมีสาเหตุต่างกัน ดังนี้

1. ได้รับปริมาณน้อยเกินไปจากการขาดความรู้ที่จะเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าหรือ
     จากภาวะทางเศรษฐกิจ

2. ร่างกายมีความต้องการมากขึ้น เช่น ในภาวะเจ็บป่วย ฟื้นไข้

3. ความอยากอาหารน้อย การย่อยอาหารไม่ดี

4. มีการทำลายแหล่งสร้างอาหารในร่างกาย

5. ยาหรือสารบางชนิดที่มีผลต่อระบบย่อยอาหารของร่างกาย

สาเหตุของโรคขาดสารอาหาร   เกิดจากพฤติกรรมและนิสัยส่วนตัวในการกินอาหาร และด้วยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ(ฐานะยากจน) จึงทำให้เด็กต้องกินอาหารเท่าที่พ่อแม่จะหามาได้การดูแลเรื่องการกินอาหาร (โภชนาการ) ของเด็กในวัยเรียนเหล่านี้ จะเห็นว่าเด็กไม่ได้กินตามหลักโภชนาการแต่กินเพียงเพื่อให้อิ่มท้องและอยู่รอดเท่านั้น ส่วนมากคนที่มีความสำคัญที่ต้องคอยดูแลในเรื่อง โภชนาการของเด็กคือ พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู (ญาติ) ที่ไม่ค่อยมีเวลา หรือตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงทำให้เด็กเกิดโรคขาดสาร

อาหารโดยไม่รู้ตัวโรคขาดสารอาหารที่พบมาก ได้แก่ 1. โรคขาดโปรตีน  2. โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก  3. โรคเหน็บชา

4. โรคกระดูกอ่อน  5.โรคคอพอก  6. โรคตาฟาง  7. โรคลักปิดลักเปิด

โภชนบัญญัติ 9 ประการและธงโภชนาการ

        จากผลเสียของภาวะทุพโภชนาการข้างต้น  ทำให้หน่วยงานของรัฐกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เชิญนักวิชาการด้านโภชนาการจากสถาบันต่าง ๆ มาระดมความรู้ แสดงความคิดเห็น และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆนำมาสรุปเป็นข้อเสนอแนะในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย เรียกว่า  “ ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย หรือโภชนบัญญัติ 9 ประการ ” และยังได้หาสัญลักษณ์   “ธงโภชนาการ” เพื่อให้ประชาชนเข้าในในเรื่องโภชนาการได้ง่ายขึ้น

        โภชนบัญญัติ  เป็นข้อปฏิบัติการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย 9 ประการ มีรายละเอียดดังนี้

1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนัก

2. รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ

3. รับประทานพืชผักให้มากและรับประทานผลไม้เป็นประจำ

4. รับประทานปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และเมล็ดถั่วแห้งเป็นประจำ

5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย

6. รับประทานอาหารที่มีไขมันแต่พอควร

7. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด

8. รับประทานอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน  

9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 

ธงโภชนาการเป็นคำแนะนำกว้างๆว่า ในแต่ละวันเราควรจะรับประทานอะไรบ้าง และรับประทานในปริมาณเท่าใด  จึงจะไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป  เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีธงโภชนาการมีลักษณะเป็นธงสามเหลี่ยมถูกแขวนโดยการเอาปลายแหลมลง โดยแบ่งอาหารที่ควรรับประทานออกเป็น 6 กลุ่ม ไล่จากที่ควรรับประทานปริมาณมากไปน้อย ( หรือบนลงล่าง )โดยบอกสัดส่วนที่ควรรับประทานดังนี้

ภาวะโภชนาการ ขาด มี กี่ ประเภท

โรคขาดสารอาหาร (Under Nutrition or Nutritional Deficiency) KEY POINTS: โรคขาดโปรตีนและพลังงานแบ่งเป็น 2 ประเภท แบบแรกคือควาชิออร์กอร์ (Kwashiorkor) ทำให้ตับโต ผิวหนังหลุดร่วม ซึมเศร้า มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ส่วนอีกประเภทคือมาราสมัส (Merasmus) ทำให้ร่างกายซูบผอมหนังหุ้มกระดูก มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี

ภาวะทุพโภชนาการขาดคืออะไร

ภาวะโภชนาการต่ำ หรือ ภาวะขาดสารอาหาร เป็นผลมาจากการได้รับพลังงานจากโปรตีน หรือสารอาหารรองไม่เพียงพอ ทำให้ความแข็งแรงน้อยลง เกิดภาวะแคระแกร็น และน้ำหนักไม่เหมาะสมกับอายุ ผอมเกินไป

ภาวะทุพโภชนาการเกิดจากอะไร

ภาวะทุพโภชนาการ คือการที่ร่างกายมีภาวะโภชนาการไม่ถูกต้องเหมาะสม เช่น ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารชนิดหนึ่งชนิดใด หรือหลายชนิด หรือสารอาหารที่ให้พลังงานไม่เพียงพอ หรือมากเกินความต้องการของร่างกาย แล้วแสดงอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น หากร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอจะทำให้เกิดโรคควาชิออร์กอร์ (Kwashiorkor) ในเด็ก และหากขาด ...

ปัญหาทางด้านโภชนาการมีอะไรบ้าง

ปัญหาโภชนาการ.
โรคขาดโปรตีนและกำลังงาน (โรคขาดอาหาร) มักพบในเด็กแรกเกิดถึง 5 ขวบ ... .
โรคขาดไวตามิน เอ พบมากในเด็กตั้งแต่ 2-3 เดือน ถึง 5 ขวบ ... .
โรคโลหิตจาง พบมากในหญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร และหญิงวัยเจริญพันธุ์ ... .
โรคเหน็บชา ... .
5.คอพอก ... .
โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ... .
โรคปากนกกระจอก.