เสียภาษีที่ดินได้ถึงวันไหน

การขยายระยะเวลาดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว เพื่อช่วยบรรเทาภาระภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างของประชาชน ที่ได้รับผลกระทบและความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัย โดยผู้เสียภาษีจะมีระยะเวลาเตรียมการชำระภาษีและผ่อนชำระภาษีประจำปี พ.ศ. 2566 เพิ่มมากขึ้น และไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม หากได้ชำระภาษีภายในกำหนดระยะเวลา ที่ได้ให้ความเห็นชอบ

เวียนมาอีกรอบสำหรับ ภาษีดินปี 2564 ซึ่งแม้ว่าปีนี้จะมีมาตรการลดหย่อนให้ 90% เหมือนปีที่แล้ว แต่กำหนดจ่ายภาษี ก็เป็นเรื่องที่ลืมไม่ได้ โดยปีนี้ทางมหาดไทย ได้เลื่อนกำหนดจ่ายไปอีก 2 เดือน จาก เม.ย. 2564 เป็น *มิ.ย. 2564* และผ่อนจ่ายได้ถึง ส.ค. 2564

เสียภาษีที่ดินได้ถึงวันไหน

ผ่อนชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ยังไง?

อีกหนึ่งเรื่องที่หลายคนอาจยังไม่รู้ ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สามารถผ่อนชำระได้ด้วย โดยกำหนดระยะเวลาใหม่นั้น ยังคงการผ่อนชำระเป็น 3 งวด ได้แก่
– งวดที่ 1 ภายในเดือน มิ.ย. 2564
– งวดที่ 2 ภายในเดือน ก.ค. 2564
– งวดที่ 3 ภายในเดือน ส.ค. 2564

เสียภาษีที่ดินได้ถึงวันไหน

1) ที่ดินใช้ทำเกษตรกรรม เป็นการใช้ที่ดินเกษตรกรรม เพื่อการบริโภค จำหน่าย หรือใช้งานในฟาร์ม หากเป็นทำเกษตรกรรมไม่เต็มพื้นที่จะคิดการเสียภาษีตามสัดส่วนการใช้ประโยชน์ โดยสามารถจำแนกที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. ที่ดินที่ใช้ประโยชน์ในการปลูกพืช
  2. ที่ดินที่ใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์
  3. ที่ดินที่ใช้ประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือทำการประมง

หลายคนอาจสงสัยว่าการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรมีกฎเกณฑ์อะไรบ้าง โดยตามกฏหมายจะมีการระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า ต้องปลูกต้นอะไรเป็นจำนวนเท่าไหร่ ถึงจะถือว่าที่ดินนั้นๆ เป็นที่ดินที่ใช้ทำเกษตรกรรม เช่น ต้องปลูกกล้วยเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 200 ต้นต่อไร่ หรือปลูกมะนาวอย่างน้อย 50 ต้นต่อไร่ เป็นต้น ซึ่งหากไม่เป็นไปตามเกณฑ์ดังกล่าวจะถือว่าที่ดินนั้นเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าไม่ได้ทำประโยชน์ ซึ่งต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่ามาก สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่องหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม

เสียภาษีที่ดินได้ถึงวันไหน

2) บ้านพักอาศัย เป็นการใช้ที่ดินเพื่อให้บุคคลอยู่อาศัย เช่น บ้าน ตึกแถว ห้องชุด ยกเว้นที่ดินที่อยู่ระหว่างการพัฒนาหรือสร้างเสร็จตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินหรือกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด โรงแรม และที่พักชั่วคราวโดยมีค่าตอบแทน แต่ไม่รวมถึงที่ให้บริการเป็นรายเดือนขึ้นไปหรือโฮมสเตย์ไทย

อัตราภาษีสำหรับบ้านพักอาศัยจะแบ่งออกเป็นสองประเภท ซึ่งมีการคิดอัตราภาษีที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่

  • บ้านหลังหลัก หมายถึง บ้านที่เจ้าของบ้านและที่ดิน หรือเจ้าของเฉพาะตัวบ้าน (สร้างในที่ดินคนอื่น) มีชื่อในเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์และมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้านหรือเจ้าของคนใดคนหนึ่งมีชื่อในทะเบียนบ้าน) โดยเจ้าของบ้านจะสามารถใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีสำหรับบ้านหลังหลักได้คนละ 1 หลังเท่านั้น
  • บ้านหลังอื่นๆ หมายถึง บ้านที่เจ้าของบ้านมีชื่อในโฉนด/กรรมสิทธิ์ห้องชุด แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านหลังนั้น

เสียภาษีที่ดินได้ถึงวันไหน

3) ที่ดินใช้ประโยชน์อื่นๆ เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินนอกเหนือจากที่กำหนด เช่น พาณิชยกรรม, อุตสาหกรรม, อาคารสำนักงาน, โรงแรม, ร้านอาหาร ฯลฯ

เสียภาษีที่ดินได้ถึงวันไหน

4) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า เป็นที่ดินที่ไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ หรือทิ้งรกร้างว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์ในปีก่อนหน้าปีภาษี (ยกเว้นที่ดินซึ่งมีกฎหมายห้ามหรือให้ทิ้งไว้เพื่อการเกษตร หรือปล่อยไว้เพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการ) ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้ให้รกร้างติดต่อกันนาน 3 ปี อัตราภาษีจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีก 0.3% ในทุกๆ 3 ปี โดยมีอัตราเพดานภาษีรวมไม่เกิน 3%

จ่ายภาษีที่ไหน จ่ายได้ถึงเมื่อไหร่?

ล่าสุด ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงมหาดไทย สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ให้ขยายเวลาจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกไปอีก 3 เดือน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากภายในเดือนเมษายน เป็นภายในเดือนกรกฎาคม 2565 รวมทั้งขยายเวลาการผ่อนชำระภาษี

  • งวดที่ 1 – จากภายในเดือนเมษายน เป็น ภายในเดือนกรกฎาคม 2565
  • งวดที่ 2 – จากภายในเดือนพฤษภาคม เป็น ภายในเดือนสิงหาคม 2565
  • งวดที่ 3 – จากภายในเดือนมิถุนายน เป็น ภายในเดือนกันยายน 2565

สำหรับกรรมสิทธิ์ในเขตพื้นที่ กทม. สอบถามเพิ่มเติมที่ กองรายได้ สำนักการคลัง กทม. โทร. 02-224-8266 https://www.fdbma.net/ หรือสำนักงานเขตที่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่ ส่วนกรรมสิทธิ์ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดอื่นๆ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากเทศบาลหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่ตั้งอยู่

ถ้าไม่จ่าย จะโดนปรับอย่างไร?

เมื่อเลยกำหนดชำระไปแล้ว ผู้เสียภาษีจะต้องเสียเบี้ยปรับ 10-40% ของภาษีที่ต้องจ่าย โดยแบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่