การศึกษาในอนาคตจะเป็นอย่างไร

หลายประเทศกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแรงงานอย่างหนัก ซึ่งปัญหานี้จะฉุดรั้งเศรษฐกิจของประเทศให้แย่ลง แล้วสิ่งนี้จะส่งผลต่อโลกการศึกษาอย่างไรต่อไปในอนาคต?

ในปี 2022 สถานการณ์ COVID-19 ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบในหลายๆ ด้าน รวมถึงการศึกษาที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคโควิดให้ได้ และสิ่งที่จะเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการกับความท้าทายที่เกิดขึ้นนี้ได้ก็คือ Career education หรือการศึกษาเพื่ออาชีพ ซึ่งอาจเข้ามาทำให้การเรียนปริญญา 4 ปีลดความสำคัญลงไป ต่อไปนี้คือการคาดการณ์อนาคตของโลกการศึกษาว่าจะเป็นอย่างไรต่อไปหลังจากนี้

การศึกษาในอนาคตจะเป็นอย่างไร

การเรียนปริญญา 4 ปีจะไม่ใช่ทางเลือกหลักของการศึกษาหลังจบมัธยมปลายอีกต่อไป

บริษัท ECMC ได้สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนมัธยมปลายในช่วงสองปีที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนจำนวนมากกำลังมองหาทางเลือกอื่นนอกจากการเรียนปริญญา 4 ปี และตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 ทำให้มีนักเรียนมัธยมปลายตัดสินใจเรียนต่อระดับปริญญาลดลง 23% และมีนักเรียนไม่ถึงครึ่งที่วางแผนจะเรียนปริญญาต่อ

การเรียนต่อระดับปริญญาเป็นเหมือนสิ่งที่สังคมกำหนดไว้ว่า เมื่อเรียนมัธยมปลายจบแล้ว จะต้องเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย แต่เมื่อเผชิญกับปัญหา Skill gap ทำให้คนรุ่นใหม่หลายคนตั้งคำถามกับการเรียนมหาวิทยาลัยว่าจำเป็นหรือไม่ และมองหาทางเลือกอื่นที่มีระยะเวลาการเรียนที่สั้นกว่า ถูกกว่า และเป็นตัวเลือกสายตรงสู่อาชีพได้มากกว่า

ดังนั้นจึงมีการคาดการณ์ว่าคนที่จะชนะในโลกของการศึกษาและทำงานในอนาคต จะเป็นคนที่สามารถปรับตัวเข้ากับทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ซึ่งรวมถึงองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรและนายจ้างอื่นๆ ที่สามารถปรับเปลี่ยนข้อกำหนดด้านการศึกษาในการรับเข้าทำงาน โดยเฉพาะในตำแหน่ง Entry-level 

Lifelong learning จะกลายเป็นมาตรฐานการศึกษา

เนื่องจากการเกิดขึ้นของเทคโนโลยี ทำให้สิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเห็นได้ตั้งแต่การเพิ่มขึ้นของ AI และ Automation ไปจนถึงอาชีพใหม่ๆ ที่ตลาดต้องการสูงในช่วง 5, 10 และ 15 ปีในอนาคต สิ่งนี้ทำให้การเรียนมหาวิทยาลัย 4 ปีไม่สามารถตามการเปลี่ยนแปลงของโลกทันได้ ส่งผลให้ในอนาคตการศึกษาและการอบรมจะต้องเป็นสิ่งที่มีความว่องไว สร้างสรรค์ และอยู่ได้ยาวนานยิ่งขึ้น 

คน Gen Z มากกว่าครึ่งคาดหวังว่าตนเองจะได้เรียนรู้ตลอดชีวิต และเกือบหนึ่งในสามกล่าวว่า ชอบการศึกษาระยะสั้นมากกว่า (หนึ่งปีหรือน้อยกว่านั้น) เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนี้ องค์ไม่แสวงหาผลกำไรและธุรกิจต่างๆ จะต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยประเมินความสนใจของพนักงานตั้งแต่กระบวนการจ้างงานไปจนถึงการพัฒนาทักษะในการทำงานให้กับพนักงาน อีกทั้งยังต้องส่งเสริมวัฒนาธรรมการเรียนรู้ให้กับทุกคน

องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรจะเข้ามาเป็นผู้นำในการจัดการ Skill gap

จากการสำรวจคน Gen Z พบว่า 87% กำหนดความสำเร็จสำหรับของตัวเองในอีก 5 ไว้คือ การได้ทำงานตามสิ่งที่ชอบ ในขณะที่ 30% กำหนดความสำเร็จคือ เงินที่สามารถหาได้จากการทำงาน นอกจากนี้ คน 60% ยังกล่าวว่าสถานที่ในการเรียนรู้ที่ดีที่สุดก็คือ ที่ทำงาน 

เมื่อคนรุ่นใหม่อาจไม่ได้มองว่าการเรียนปริญญาเป็นทางเลือกหลัก อีกทั้งยังต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอด ดังนั้นในอนาคตองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอาจใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้ โดยการเข้ามาเสนอโอกาสในการฝึกอบรมและพัฒนาอาชีพในด้านต่างๆ เช่น IT เพื่อพัฒนาองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

ที่มา - Forbes

การศึกษาในอนาคตจะเป็นอย่างไร

ตั้งแต่ทั่วทั้งโลกเผชิญวิกฤติโควิด-19 ทำให้ทุกวงการต้องชะงักงัน ไม่อาจดำเนินต่อไปในวิถีเดิมที่เคยเป็นมา วงการศึกษาก็หนีไม่พ้น ต้องปรับตัวเองขนานใหญ่ โดยนำเทคโนโลยีปัจจุบันที่พัฒนาไปไกลมาใช้ ให้สอดรับกับวิถีชีวิตแบบใหม่ ซึ่งจะอยู่กับชาวโลกไปอีกนาน แม้ว่าจะมีการผลิตวัคซีนแล้วก็ตาม

(อ่านเพิ่มเติม : 3 สิ่งควรและ 3 สิ่งไม่ควรทำ หากไม่อยากให้ลูกติดเกมช่วงโควิด)

การศึกษาในอนาคตจะเป็นอย่างไร
รูปแบบการศึกษาในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปอีก Photo: Unsplash

ดร.โทโมฮิโร โฮชิ Head of Stanford Online High School ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาออนไลน์อันทรงเกียรติที่สุดในโลก ติด 1 ใน 10 โรงเรียนที่ดีที่สุดในสหรัฐอเมริกา บอกเราว่า 

“เนื่องจากนักเรียนแต่ละคนไม่เหมือนกัน มีที่มาแตกต่างกัน มีความสนใจ เป้าหมาย และความต้องการไม่เหมือนกัน ชอบเรียนวิชาไหนก็ไม่เหมือนกัน การจะสอนให้ได้ผลดีที่สุดจึงต้องมีการจัดการเงื่อนไขการศึกษาที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการเรียน เพื่อให้เข้ากับความต้องการของนักเรียนแต่ละคน แทนที่จะสอนเด็กวิชาละเป็นกลุ่มใหญ่”  และเขายังเสริมอีกด้วยว่า เทรนด์การศึกษาในอนาคตจะไปในทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และจะเปลี่ยนวิธีการไปอย่างสิ้นเชิงอีกด้วย

10 เทรนด์การศึกษาของโลกอนาคต 

สอนแบบเฉพาะตัว ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ เพื่อให้ครูสามารถสอนเด็กที่ยังไม่เข้าใจให้เข้าใจมากขึ้น ครูสามารถทำได้โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสูงสุด  แทนที่จะสอนนักเรียนทุกคนเหมือนๆ กัน ก็ให้นักเรียนออกแบบการเรียนรู้ของตัวเอง การเรียนรู้จึงสนองตอบความต้องการของเขาโดยเฉพาะ

สอนแบบออนไลน์ ด้วยวิกฤติโควิด-19 ทำให้รูปแบบการเรียนแบบเดิมๆเปลี่ยนไป และเป็นการสอนที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนยุคโควิดตลาด EdTech ยังคงมีมูลค่าเพียง 160 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้นเอง ซึ่งคิดเป็น 2% ของตลาดการศึกษาของโลกที่มีมูลค่า 8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 10% ของตลาดภายในเวลา 15 ปี แต่พอโควิดระบาด กลับร่นระยะเวลาเหลือเพียง 6 ปี และกลายเป็นกระแสหลักของโลกไปแล้วในตอนนี้ เพราะฉะนั้นยิ่ง EdTech ยิ่งขยายสู่ประสบการณ์ในห้องเรียนของนักเรียนทั่วโลกมากขึ้นเมื่อไร แน่นอนว่าการสอนแบบออนไลน์จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ Science of Learning ต้องบอกว่าการที่นักเรียนและครูมารวมตัวกันในห้องเรียน กลายเป็นการเรียนการสอนแบบโบราณไปเสียแล้ว ทว่าจะต้องผสมผสานศาสตร์ทางด้านจิตวิทยาและประสาทวิทยา เข้าไปในกระบวนการการเรียนการสอนด้วย 

การศึกษาในอนาคตจะเป็นอย่างไร
การเรียนจะเรียนที่ไหนก็ได้ และเมื่อไรก็ได้ เพราะเป็นการเรียนออนไลน์ Photo : Unsplash

School Learning แม้ว่าการเรียนจะยืดหยุ่นขึ้น และเป็นการเรียนนอกห้องเรียนมากขึ้น แต่โรงเรียนก็ยังคงเป็นสถานที่ที่มอบประสบการณ์และการทดลองทางการเรียนการสอนแก่เด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ฯลฯ ไม่เพียงแต่วิชาการเท่านั้น แต่ยังเป็นเหมือนที่รวมประสบการณ์ขนาดใหญ่สำหรับนักเรียน

Flexible School ความเติบโตอย่างไม่อาจหยุดยั้งของ EdTech จะไม่มีแค่โรงเรียนออนไลน์ หรือโรงเรียนเฉพาะตัว แต่จะเป็น Hybrid ผสมผสานระหว่างการเรียนออนไลน์กับการเรียนแบบเฉพาะตัว การเรียนออนไลน์อาจกินเวลา 20% ส่วนที่เหลือเรียนแบบเฉพาะตัว ซึ่งตอนนี้มีโรงเรียนหลายแห่งเริ่มทำกัน และในอนาคตจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ 

Prospect of Teacher วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนทางวิชาการ ไม่ได้อยู่ที่ครูเพียงฝ่ายเดียว แต่ครูจะมีบทบาทในการสอนเด็กให้รู้จักการเข้าสังคม และจะมีบทบาททางด้านการสอน รวมทั้งวิธีการใช้ชีวิตเพิ่มมากขึ้นด้วย 

Learning Opportunity for Student โรงเรียนเปิดโอกาสให้นักเรียนออกแบบแผนการเรียนให้ตัวเอง โดยจะเรียนเมื่อไรก็ได้ ที่ไหนก็ได้ และสามารถโต้ตอบกันได้  ช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ได้ดีขึ้น จดจำได้แม่นยำขึ้น และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ดีขึ้นด้วย ครูไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญเรื่อง IT แต่สามารถใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในการเรียนการสอนได้

การศึกษาในอนาคตจะเป็นอย่างไร
การศึกษาในห้องเรียนจะกลายเป็นการศึกษาแบบโบราณ Photo: Unsplash

Video-Assisted Learning การอัดวิดีโอการสอนของครูจะกลายเป็นตัวช่วยที่แพร่หลายมากชึ้นเรื่อยๆ และอาจเป็นในรูปแบบแอนิเมชันก็ได้ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจสิ่งที่ครูสอนมากขึ้น

Blockchain Technology การใช้ Distributed Ledger Technology (DLT) จากบล็อกเชนช่วยได้ ทุกครั้งที่มีการเพิ่มข้อมูลใหม่ๆ ก็สามารถเพิ่มบล็อกเข้าไปในระบบซึ่งมีพื้นที่ไม่จำกัด อีกทั้งยังสามารถแชร์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้เลย นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในตลาดนัดวิชา Massive Open Online Courses (MOOCs) ได้อีกด้วย

การศึกษาในอนาคตจะเป็นอย่างไร
เทรนด์การศึกษาในอนาคตจะต้องอาศัยเทคโนโลยี Photo: Unsplash

AI จะมา นอกจาก AI จะช่วยแบ่งเบาภาระของครูในการตรวจข้อสอบและให้คะแนนนักเรียนแล้ว ยังสามารถใช้ AI ในการจับตาดูความก้าวหน้าของนักเรียน และเตือนครูเมื่อนักเรียนเรียนอ่อนลง

Virtual Reality (VR) และ Augmented Reality (AR) สามารถนำมาใช้ในการจำลองสถานการณ์จริง อย่างเช่นการทดลองผ่าตัดที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถฝึกฝนการผ่าตัดแบบเสมือนจริงได้   

ที่มา : Crimson Education , www.flearningstudio.com