Dynamic Web เป็นเว็บไซต์ประเภทใด

Dynamic Web เป็นเว็บไซต์ประเภทใด

ทำเว็บไซต์ให้ผู้ใช้งานหลงรักไม่ใช่เรื่องยากแค่เราต้องปรับวิธีในการออกแบบเว็บไซต์สักหน่อย โดยปกติแล้วบริษัทรับทำเว็บไซต์ทั่วไปชอบที่จะออกแบบเว็บไซต์ให้โดดใจลูกค้า แต่การออกแบบเว็บไซต์ที่ดี จะต้องออกแบบเว็บไซต์ให้ลูกค้าของลูกค้าอีกทีหนึ่ง เว็บไซต์ที่ดีเป็นอย่างไรอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ทำเว็บไซต์ที่ดี เป็นอย่างไร ในมุมมอง Web Agency ที่เราเคยเขียนเอาไว้

อย่าลืมว่าผู้ใช้งานเว็บไซต์ของเราไม่ใช่พนักงานหรือผู้บริหารของบริษัท แต่เป็นลูกค้าของคุณ

เรามักจะเลือกการออกแบบโดยมองผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (User centric design) ฉะนั่นฟังก์ชั่นการใช้งานรวมไปถึงข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์ก็ควรจะออกแบบมาเพื่อผู้ใช้งานเว็บไซต์โดยเฉพาะ

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้ใช้งานต้องการอะไร ?

เราอยู่ในยุคที่ทุกคนชอบพูดคำว่า Big Data ที่มองว่าใครที่มีข้อมูลมากกว่าคือผู้ชนะ ในการทำเว็บไซต์ก็เช่นกัน ข้อมูลจะทำให้เรารู้ว่าผู้ใช้งานต้องการอะไร ส่วนวิธีในการหาข้อมูลของผู้ใช้งานก็มีหลากหลายวิธีเช่นการทำ

  • User research
  • Persona
  • User story

เพื่อให้รู้ว่าผู้ใช้งานเว็บไซต์ของเราคือใครและต้องการอะไร แต่วิธีที่กล่าวมาข้างต้นมักจะถูกทำขึ้นก่อนการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาใช้จริง สรุปง่ายๆ คือข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบเว็บไซต์นั่นเอง

Dynamic Web เป็นเว็บไซต์ประเภทใด

แต่เครื่องมือที่ช่วยให้เราวิเคราะห์ผู้ใช้งานหลักจากเปิดใช้งานเว็บไซต์ก็มีเครื่องมืออยู่หลายตัวเช่นการทำ Heatmap หรือแม้แต่การ Recording พฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ ที่จะบอกให้รู้ว่าโครงสร้างเว็บไซต์ที่เราวางขึ้นมาถูกใจผู้ใช้งานมากแค่ไหน

เราจะรู้ว่าผู้ใช้งานต้องการอะไร เราต้องเข้าใจผู้ใช้งานก่อน

เว็บไซต์ที่ Dynamic ข้อมูลได้เป็นอย่างไร ?

หลายครั้งที่การทำเว็บไซต์จบลงด้วยการขึ้นออนไลน์บนเซิร์ฟเวอร์ แต่แท้จริงแล้วมันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการทำเว็บไซต์เท่านั้น อย่าลืมว่าเว็บไซต​์ต้องเป็นตัวช่วยสื่อสารแทนตัวลูกค้า และเป็นตัวช่วยที่ทำให้ผู้ใช้งาน(ลูกค้าของลูกค้า) เจอข้อมูลที่ตนเองกำลังหาอยู่

จะเป็นอย่างไรถ้าข้อมูลอย่าง Heatmap บอกกับคุณว่าผู้ใช้งานไปเสียเวลากับจุดที่ไม่สำคัญ กำลังคลิกในจุดที่ไม่สามารถคลิกได้หรือมีตัวเลข Drop out ที่สูงเหลือเกิน เว็บไซต์ที่ Dynamic ได้จะช่วยให้คุณปรับแต่โครงสร้างในบางจุดหรือเปลี่ยนข้อมูล(Content) ในบางจุดให้ตรงตามที่ผู้ใช้งานต้องการได้

Dynamic Web เป็นเว็บไซต์ประเภทใด
ตัวอย่างเว็บไซต์ CP All แบบแรก

Dynamic Web เป็นเว็บไซต์ประเภทใด
ตัวอย่างเว็บไซต์ CP All ปัจจุบัน

ภาพด้านบนคือเว็บไซต์ บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด ที่ทางเราเป็นทีมสร้างขึ้นมา มีการวางข้อมูลในแต่ละรูปแบบที่ไม่เหมือนกันสังเกตว่าในรูปบนและล่างเป็นการทำเว็บไซต์เดียวกัน แต่เมื่อเราได้ข้อมูล (Data) ที่บอกว่าผู้ใช้งานชอบไปที่หน้าไหนหรือกำลังต้องการอะไรจากเว็บไซต์เราสามารถปรับเนื้อหาของเว็บไซต์ใหม่ให้โดนใจผู้ใช้งานมากขึ้น

แต่ระบบของเว็บไซต์บางรูปแบบอาจจะไม่ถูกทำมาเพื่อให้เว็บไซต์สามารถปรับแก้ไขเนื้อหาของเว็บไซต์ได้

ถ้าคุณจะปรับเนื้อหาบางจุดบนเว็บไซต์ของคุณ แล้วทำได้ยาก แสดงว่าระบบจัดการข้อมูลของเว็บไซต์คุณไม่สามารถปรับอะไรได้เลย

แล้วถ้าคุณต้องการจะปรับแก้ไขก็คงหนีไม่พ้นการติดต่อไปยังบริษัทที่ทำเว็บไซต์ให้เขาจัดการให้ซึ่งก็มักจะมีค่าบริการที่สูงตามมา เพราะต้องทำการรื้อระบบทั้งหน้าบ้าน(Frontend) และหลังบ้าน(Backend) ซึ่งต้องใช้โปรแกรมเมอร์ในการดำเนินการทั้งหมด

ทำเว็บไซต์แบบไหนที่ Dynamic ข้อมูลได้

Dynamic Web เป็นเว็บไซต์ประเภทใด

โดยทั่วไปแล้วการที่เราจะทำเว็บไซต์ให้ปรับแต่งข้อมูลได้จะต้องถูกวางโครงสร้างของระบบมาเป็นอย่างดี ซึ่งเราจะเลือกใช้ระบบหลังบ้านของ WordPress เป็นตัวช่วยให้เว็บไซต์ปรับแก้ไขเนื้อหาได้ ผ่านเครื่องมือที่เป็น Page Builder ที่เราติดตั้งไว้ จะมีข้อดีตรงที่คุณสามารถแก้ไขเนื้อหาบางจุดบนเว็บไซต์ได้โดยที่คุณเป็นเพียงผู้ดูแลระบบหรือผู้ใช้งานธรรมดาที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านโปรแกรมอะไรเลย

ทำไมเว็บไซต์ที่ Dynamic ข้อมูลได้ ผู้ใช้งานจึงหลงรัก

เคยหงุดหงิดไหมถ้าคุณหาของที่ต้องการไม่พบ ผู้ใช้งานเว็บไซต์ของคุณก็เช่นกัน การมีข้อมูลที่เครื่องมือ Heatmap และ Recording จับข้อมูลได้ทำให้คุณรู้ว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่ต้องการอะไร ชอบเนื้อหาจุดไหนเป็นพิเศษ และไม่สนใจเนื้อหาส่วนไหนเลย

ถ้าคุณเป็นร้านอาหารคุณต้องเสิร์ฟเมนูที่โดนใจผู้ทาน ถ้าคุณทำเว็บไซต์คุณต้องมอบข้อมูลที่ผู้ใช้งานต้องการ

สุดท้ายแล้วถ้าคุณอยากได้ทีมทำเว็บไซต์ที่ชอบทำเว็บไซต์ผู้ใช้งานหลงรักและยังมีระบบจัดการเนื้อหาที่คล่องตัวลองดูผลงานของเรา รับรองได้เลยว่าการมีเว็บไซต์ที่ดี ดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

หมายถึง เว็บไซต์ที่สร้างด้วยภาษา HTML ธรรมดา และบันทึกเป็นไฟล์นามสกุล .html    เนื้อหาข้อความ รูปภาพในหน้าเว็บเพจนั้นจะเป็นไปตามที่เราเขียนกำหนดไว้

เมื่อมีผู้เรียกดูหน้าเว็บเพจนั้น  Web Server ก็จะส่งไฟล์นั้นไปให้ยังเครื่องที่ร้องขอ และแสดงผลออกทางโปรแกรมเว็บเบราเซอร์บนเครื่องของผู้ชมนั้น

Static Website เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีขนาดไม่ใหญ่ จำนวนหน้าเว็บเพจไม่มาก ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบ่อยๆ  และไม่มีการติดต่อฐานข้อมูล

ถ้าเราจะสร้างเว็บรูปแบบนี้ สามารถทำได้ไม่ยาก โดยต้องศึกษาเรื่องการเขียนเว็บเพจด้วย HTML ก่อน

ข้อดีของเว็บรูปแบบนี้ คือ เราสามารถกำหนดรูปแบบการตกแต่ง และเนื้อหา ของแต่ละหน้าได้ตามต้องการ  แต่ก็ควรควบคุมสไตล์ของแต่ละหน้าให้เหมือนกันด้วย อย่าให้หน้าใดโดดจนคิดว่าเป็นคนละเว็บไซต์กัน

ส่วนข้อเสีย ก็คือ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงยุ่งยาก จะต้องแก้ไขกับไฟล์หน้าเว็บเพจนั้นๆ เมื่อแก้ไขแล้ว ก็ต้อง Upload ไฟล์นั้นขึ้นไป Web Server ใหม่ทุกครั้ง  และเว็บรูปแบบนี้จะไม่สามารถใช้งานฐานข้อมูลได้

.

2. Dynamic Website

หมายถึง เว็บไซต์ที่หน้าเว็บเพจสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเองได้ โดยไม่ต้องเขียนแต่ละหน้าเว็บเพจเอง  เช่น กระดานข่าว (Webboard), ระบบสืบค้นข้อมูล

สังเกตได้ว่า เมื่อมีผู้มาตั้งกระทู้ และตอบกระทู้ ก็จะเกิดหน้าเว็บเพจนั้นๆ ขึ้นได้เอง โดยที่เราไม่ได้เป็นคนสร้างหน้าเว็บเพจเหล่านั้นเอง

เว็บไซต์รูปแบบนี้จะถูกสร้างด้วยภาษา Script แบบ Server Side Script เช่น PHP, ASP, ASP.Net, JSP และอื่นๆ  ไฟล์เอกสารที่ไ้ด้จะมีนามสกุล .php, .asp เป็นต้น

และมักจะมีการติดต่อกับฐานข้อมูลเพื่อบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล หรือนำข้อมูลจากฐานข้อมูลขึ้นมาแสดงผลเป็นหน้าเว็บเพจ

ส่วนการทำงานของเว็บไซต์รูปแบบนี้ จะต่างจากแบบ Static Website   โดยเมื่อมีผู้ชมเรียกดูหน้าเว็บเพจ  ไฟล์หน้าเว็บเพจนั้นจะถูกแปลและ execute คำสั่งโดยตัว Interpreter ที่ฝั่ง Server ใ้ห้อยู่ในรูปแบบเอกสาร HTML ก่อน จึงส่งกลับให้ Web Server  เพื่อส่งต่อไปให้โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ของผู้ใช้งานต่อไป

การสร้างเว็บไซต์รูปแบบนี้ ต้องอาศัยความรู้ในการเขียนโปรแกรมมากกว่าแบบแรกมาก  นอกจากจะต้องมีความรู้พื้นฐาน HTML แล้ว ยังต้องเขียนภาษา Server Side Script เป็นอย่างน้อย 1 ภาษา ต้องรู้เรื่องการจัดการฐานข้อมูล ต้องเขียน SQL เืพื่อจัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูลได้  และถ้าอยากให้ระบบงานทำงานได้อย่างรวดเร็วไม่ต้อง Refresh หน้าจอบ่อยๆ ยังต้องรู้เรื่อง AJAX อีกด้วย

.

^ ถ้าอ่านข้อความข้างบนแล้วงง  ก็ไม่ต้องซีเรียสนะคะ …

สำหรับผู้อ่านที่ไม่ได้สนใจจะทำงานด้านนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้การเขียนภาษา Script เหล่านี้  เอาเวลาไปเตรียมเนื้อหา และโปรโมทเว็บไซต์ให้ออกดอกออกผลดีกว่า

.

เพราะในปัจจุบันมีระบบที่จะช่วยให้เราจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ได้อย่างสะดวก เรียกว่า Web CMS    เพียงแค่เรียนรู้วิธีการใช้งาน ก็สามารถสร้างเว็บไซต์แบบ Dynamic ได้โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมอะไรเลย

(แต่สำหรับเว็บไซต์ที่ทำงานเฉพาะเจาะจง ก็ยังจำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเพื่อสร้าง Web Application สำหรับใช้งานเองอยู่ ซึ่งเราก็ปล่อยให้เป็นเหน้าที่ของเหล่าโปรแกรมเมอร์ต่อไปค่ะ)

เราสามารถที่จะสร้างเว็บไซต์โดยให้บางหน้าเว็บเพจเป็นแบบ Static ที่ใช้ HTML ธรรมดา เขียน และให้บางหน้าสร้างเป็นแบบ Dynamic โดยใช้ภาษา Script ก็ได้ค่ะ  ตัวอย่างเช่น บทเรียนสอน HTML, CSS, XHTML ของ enjoyday จะใช้ HTML ธรรมดาๆ ส่วนหน้าอภิธานศัพท์ ผู้เขียนอยากจะเพิ่มหรือแก้ไขคำศัพท์ได้ง่ายๆ และให้มีระบบสืบค้นด้วย จึงใช้ PHP เขียน เป็นต้น

Dynamic Web เป็นเว็บแบบใด

Dynamic Website : เว็บไซต์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเองได้โดยไม่ต้องเขียนแต่ละหน้าเว็บเพจเอง ซึ่งอาจมีระบบหลังบ้านเพื่ออัปเดตข้อมูลส่วน Body.

Static web เป็นเว็บไซต์ประเภทใด

รูปแบบของเว็บไซต์ 1. Static Website. หมายถึง เว็บไซต์ที่สร้างด้วยภาษา HTML ธรรมดา และบันทึกเป็นไฟล์นามสกุล .html. เนื้อหาข้อความ รูปภาพในหน้าเว็บเพจนั้นจะเป็นไปตามที่เราเขียนกำหนดไว้

รูปแบบหลักๆของเว็บไซต์มีอะไรบ้าง

ประเภทของเว็บไซต์.
เว็บท่า (Portal Site) ... .
เว็บข่าว (News Site) ... .
เว็บข้อมูล (Information Site) ... .
เว็บธุรกิจหรือการตลาด (Business/Marketing Site) ... .
เว็บการศึกษา (Educational Site) ... .
เว็บบันเทิง (Entertainment Site) ... .
เว็บองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (Non-profit Organization Site) ... .
เว็บส่วนตัว (Personal Site).

ข้อใดคือนามสกุลไฟล์ของเว็บเพจประเภท Static

1. Static Website. หมายถึง เว็บไซต์ที่สร้างด้วยภาษา HTML ธรรมดา และบันทึกเป็นไฟล์นามสกุล .HTML เนื้อหาข้อความ รูปภาพในหน้าเว็บเพจนั้นจะเป็นไปตามที่เราเขียนกำหนดไว้เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีขนาดไม่ใหญ่ จำนวนหน้าเว็บเพจไม่มากไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบ่อยๆ และไม่มีการติดต่อฐานข้อมูล