มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสังกัดกระทรวงใด

 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เกิดจากการเรียกร้องการศึกษาของนักเรียนอาชีวศึกษาในสมัยย้อนไปเมื่อ 30ปีก่อน ซึ่งถูกสังคมมองว่าเป็นนักเรียนชั้นสองของสังคม จัดการศึกษาได้เพียงแค่ระดับ ปวส.และการก้าวสู่ระดับปริญญาตรีนั้นจะต้องผ่านการสอบแข่งขันกับนักเรียนสายสามัญ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2518 วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา จึงได้ถือกำเนิดขึ้นตามร่างพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2518 ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้เป็นต้นมาโดยมีวัตถุ ประสงค์ เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีให้การศึกษาทางด้านอาชีพทั้งระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และประกาศนียบัตรชั้นสูง ทำการวิจัยส่งเสริมการศึกษาทางด้านวิชาชีพและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา

ต่อมาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา เปลี่ยนชื่อจากวิทยาลัยมาเป็น วิทยาเขต ตามลำดับ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาได้พัฒนาระบบการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานการศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพ มีความพร้อมในหลายๆด้าน จนกระทั่งในปี 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งหมายความว่า สถาบันเทคโนโลยีอันเป็นมิ่งมงคลแห่งพระราชา ในวันที่ 15 กันยายน พุทธศักราช 2531 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีภารกิจหลักคือ จัดการศึกษา (ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรีและระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต) ทำการวิจัยสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ทำนุบำรุงศาสนาศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

สืบเนื่องจากแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การบริหารจัดการสู่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐดำเนินการโดยอิสระ และมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษา ดังนั้น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลจึงได้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับเดิมและยกร่างเป็นพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยมีการรวมวิทยาเขต จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์ให้ 9 มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สามารถจัดการศึกษาวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติทั้งในระดับปริญญาตรี โท และ เอก เพื่อรองรับการศึกษาต่อของผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอาชีวศึกษาเป็นหลัก รวมถึงให้โอกาสแก่ผู้เรียนจากวิทยาลัยชุมชน และการศึกษาขั้นพื้นฐานในการศึกษาต่อวิชาชีพระดับปริญญาตรี ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

การก้าวสู่มหาวิทยาลัยจากพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2548 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 พระราชบัญญัติดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 19 มกราคม 2548 มีผลให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2518 ปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลทั้งเก้าแห่ง คือ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ประวัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology) เป็นระบบมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปัจจุบันมีอยู่ 9 แห่งทั่วประเทศ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2518 ในชื่อ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และได้ยกสถานะเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่18 มกราคม พ.ศ. 2548 ในปี 2549 ได้มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดย สกอ. ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยดีเด่นในด้านการเรียนการสอน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับการจัดอันดับดีเด่นในด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ถือกำเนิดขึ้นจากการเรียกร้องของนักเรียนอาชีวศึกษา เมื่อปี พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2518 ซึ่งถูกสังคมมองว่าเป็นนักเรียนชั้นสองของสังคม จัดการศึกษาได้เพียงแค่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และการก้าวสู่ระดับปริญญาตรี จะต้องผ่านการสอบแข่งขันกับนักเรียนสายสามัญ ประกอบทั้ง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าทั้งสามแห่ง (ลาดกระบัง พระนครเหนือ และ ธนบุรี) ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เน้นการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ย้ายสังกัดจาก กระทรวงศึกษาธิการไปอยู่ทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งมุ่งเน้นรับเฉพาะนักเรียนสายสามัญ และการจัดการสอบแข่งขันที่ยากยิ่งขึ้น ทำให้นักเรียนอาชีวศึกษา อาทิ โรงเรียนเพาะช่าง ตั้งอยู่ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร โรงเรียนเพาะช่างก่อสร้างอุเทนถวาย ตั้งอยู่ที่ ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ วิทยาลัยพณิชยการพระนคร วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ วิทยาลัยเทคนิคช่างกลพระนครเหนือ ฯลฯ รวมตัวกันเรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการจัดการศึกษาให้ถึงระดับปริญญา

การจัดตั้ง “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล”

ในปี พ.ศ. 2531 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อนักเรียนอาชีวศึกษา เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อให้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีหมายความว่า สถาบันเทคโนโลยีอันเป็นมิ่งมงคลแห่งพระราชา เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยได้ถือเอาวันที่ 15 กันยายนของทุกปีเป็นวันราชมงคล สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จึงมีภารกิจหลักคือ จัดการศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี (ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลได้ทำการเรียนการสอนควบคู่กับทำการวิจัยสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เรื่อยมา อีกทั้งยังทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ให้จัดตั้งวิทยาเขต จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ จังหวัดนครพนมจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดปัตตานี แต่สุดท้ายก็ไม่ได้มีการดำเนินการแต่อย่างใด ในปี พ.ศ. 2542 มีการแบ่งส่วนราชการขึ้นใหม่ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ประกอบด้วย

การยกฐานะ 9 มหาวิทยาลัย

สืบเนื่องจากแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การบริหารจัดการสู่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐดำเนินการโดยบริหารจัดการได้โดยอิสระ และมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลของสภาการศึกษาแห่งชาติ ดังนั้นเพื่อให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการและยกระดับสถานะสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เน้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีกทั้งสามารถจัดการศึกษาได้ถึงระดับสูง ปริญญาโท เอก จึงได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่งขึ้น โดยมีการรวมวิทยาเขตที่อยู่ใกล้เคียงกันจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่ง จากพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ซึ่งได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 มีผลให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเดิม ตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2518 ปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้งเก้าแห่งดังต่อไปนี้

  1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

ความโดดเด่นของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ปัจจุบันมีจำนวน 9 แห่งทั่วประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศ ตั้งแต่เหนือจรดใต้ จึงนับได้ว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นอาณาจักรทางการศึกษาที่มีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของประเทศไทย ซึ่งมีศักยภาพในการผลิตบัณฑิตมากว่าหลายหมื่นคนต่อปี เป็นเครื่องบงชี้ได้ว่า กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดแรงงานอย่างแท้จริง โดยที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้ดำรงภารกิจในการผลิตบัณฑิตที่อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผลิตบัณทิตในสายวิชาชีพเพื่อออกมารับใช้ประเทศชาติ พัฒนาประเทศชาติมาเนิ่นนานกว่าสามทศวรรษแล้ว สมดังคำนิยามที่ให้ไว้กับบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ว่า “บัณฑิตนักปฏิบัติ” เครดิต : http://th.wikipedia.org

 

สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้จัดตั้งวิทยาเขตแห่งที่ 30 ขึ้นที่อำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้ชื่อว่า “วิทยาเขตวังไกลกังวล” ซึ่งเป็นชื่อที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบให้ใช้กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีประกาศจัดตั้งวิทยาเขตแห่งนี้เมื่อวันที่ 30  พฤษภาคม 2533  โดยระบุเหตุผลสำคัญของการจัดตั้งไว้ว่าเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี เนื่องในศุภดิถีทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา และเพื่อที่จะขยายการศึกษาวิชาชีพระดับสูงให้ประชาชนในส่วนภูมิภาคได้มีโอกาสพัฒนาความรู้  ความคิด ในการดำรงชีวิต ทั้งเป็นการผลิต และพัฒนากำลังคนสำหรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจในบริเวณพื้นที่ตามโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard) ของรัฐบาล

เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งของการจัดตั้งวิทยาเขต เนื่องมาจากการเกิดวาตภัยพายุใต้ฝุ่นเกย์ในบริเวณ 3 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร  ระนอง  ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี พ.ศ.2532 ทำให้ประชาชนบางส่วนในพื้นที่ ดังกล่าวได้รับความเดือดร้อน รัฐบาลจึงได้เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือ โดยให้ส่วนราชการร่วมแก้ไขปัญหา และให้ความช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วนภายใต้“แผนฟื้นฟูบูรณะและพัฒนาจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง” หน่วยงาน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้นำเสนอโครงการเข้าแผนเพื่อฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ดังกล่าว ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ  กรมต่างๆ ได้เสนอโครงการเข้าแผน เช่น โครงการจัดตั้งวิทยาลัยการประมงชุมพร ของกรมอาชีวศึกษา ในส่วนของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลนั้น กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอให้ จัดตั้งวิทยาเขตขึ้นที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานดังกล่าวด้วย

 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ตระหนักในบทบาทหน้าที่ ภารกิจ และความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมและประเทศชาติ จึงได้สนองนโยบายของรัฐบาลโดยเร่งดำเนินการจัดทำโครงการจัดตั้ง “วิทยาเขตวังไกลกังวล” จนสามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยเปิดรับสมัครนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รุ่นแรก จำนวน 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการโรงแรม สาขาวิชาละ 30 คน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2533 และได้เปิดเรียน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2533 ซึ่งตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และในปี 2533 เป็นปีครบรอบ 90 พรรษา ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ดังนั้น  จึงกล่าวได้ว่าการเริ่มต้นของวิทยาเขตวังไกลกังวล มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่สำคัญของชาติ

การจัดตั้งวิทยาเขตวังไกลกังวล เป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีความก้าวหน้าตามลำดับซึ่งมีเหตุการณ์ และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้นที่น่าบันทึกไว้ดังนี้

  • 17 เมษายน 2533  กระทรวงศึกษาธิการมีหนังสือด่วนที่สุด ที่ ศธ 0212/11868 ลงวันที่ 17 เมษายน 2533 แจ้งสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เกี่ยวกับผลการประชุมร่วมระหว่างสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อ 16 เมษายน 2533  เกี่ยวกับการพิจารณา “แผนงานฟื้นฟูบูรณะและพัฒนาจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง” และได้เชิญ  ผู้แทนของสถาบันฯ  ไปร่วมประชุมเมื่อ 18 เมษายน 2533
  • 20 เมษายน 2533 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้เสนอโครงการจัดตั้งวิทยาเขตวังไกลกังวลต่อกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี
  • 15 พฤษภาคม 2533 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการจัดตั้งวิทยาเขตวังไกลกังวล
  • 16 พฤษภาคม 2533 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีคำสั่งที่ 846/2533 แต่งตั้ง คณะกรรมการจัดตั้งวิทยาเขตวังไกลกังวล  โดยมี พ.ต.เพียร จรรย์สืบศรี  เป็นที่ปรึกษา นายนคร ศรีวิจารณ์ เป็นประธาน และนายมัย  สุขเอี่ยม  เป็นเลขานุการคณะกรรมการ  ได้มีการประชุมรวม 7 ครั้ง
  • 30 พฤษภาคม 2533  กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีประกาศจัดตั้งวิทยาเขตวังไกลกังวล
  • 15 มิถุนายน 2533 เริ่มจำหน่ายใบสมัครให้แก่นักศึกษารุ่นแรกใน 2 สาขาวิชา ได้แก่   สาขาวิชาการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการโรงแรม โดยใช้อาคารทหารมหาดเล็กของโรงเรียนวังไกลกังวล เป็นสถานที่จำหน่ายใบสมัคร
  • 27 มิถุนายน 2533  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชทานรางวัลแก่นักเรียนโรงเรียนวังไกลกังวล ประจำปี 2533 และโปรดเกล้าให้ผู้แทนของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ร่วมเข้าเฝ้า
  • 12 สิงหาคม 2533  เริ่มเปิดเรียนวันแรก โดยมีนักศึกษา จำนวน 58 คน จำแนกเป็นสาขาวิชาการท่องเที่ยว 29 คน และสาขาวิชาการโรงแรม 29 คน
  • ปี 2534 คณะบริหารธุรกิจ วิทยาเขตวังไกลกังวลจัดตั้งขึ้นโดยเริ่มแรกเปิดสอน 2 สาขาวิชา คือ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ และภาษาธุรกิจ สาขาวิชาละ 30 คน
  • ปี 2540  เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาการจัดการอุตสาหกรรม
  • ปี 2541  เปิด ระดับปริญญาตรี เปิดสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • ปี 2543  เปิด ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี
  • ปี 2544  เปิดสอนระดับปริญญาตรี 4 ปี สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • ปี 2445  เปิดสอนระดับปริญญาตรี 4 ปี สาขาวิชาการบัญชีและระบบสารสนเทศ

ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และได้มีการแบ่งส่วนราชการในระดับคณะ โดยที่คณะบริหารธุรกิจ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินั้น และคณะบริหารธุรกิจ  วิทยาเขตวังไกลกังวล ก็เป็น  1  ใน  3  คณะพื้นที่อยู่ในการดูแลของคณะบริหารธุรกิจ ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์