มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราช มงคล บริษัท ใน เครือ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราช มงคล บริษัท ใน เครือ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

96 หมู่ 3 ถนน พุทธมณฑล สาย 5 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170            โทรศัพท์ 02-4416000 ต่อ 2001, โทรสาร 02-8894588
อีเมล  [email protected]


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราช มงคล บริษัท ใน เครือ

Copyright © 2019 Rajamangala University of Technology Rattanakosin.

การศึกษา

30 พ.ค. 2565 เวลา 15:45 น.598

เครือข่าย “9 ราชมงคล” ลงนามความร่วมมือ ลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัย และ การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านระบบธนาคารหน่วยกิตดิจิทัล ขับเคลื่อนการปฏิรูปอุดมศึกษาครั้งใหญ่ ดันการศึกษาไทยไร้ขอบเขต สร้างทางเลือกนักศึกษาประกอบร่างหลักสูตรที่สนใจได้ด้วยตัวเอง

เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 65 ณ ศูนย์นวัตกรรมและความรู้ มทร.ธัญบุรี อาคารบางซื่อจังชั่น กทม. เครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่งทั่วประเทศ พร้อมด้วย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประชุมหารือข้อราชการ และร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง คือ

  • มทร.ธัญบุรี
  • มทร.กรุงเทพ
  • มทร.ตะวันออก
  • มทร.พระนคร
  • มทร.รัตนโกสินทร์
  • มทร.ล้านนา
  • มทร.ศรีวิชัย
  • มทร.สุวรรณภูมิ 
  • มทร.อีสาน

เพื่อพัฒนากลุ่มราชมงคล รับฟังแนวนโยบายต่างๆ เพื่อให้เกิดแนวทางการพัฒนาที่สอดรับกับบริบทในปัจจุบัน และเป็นไปตามแนวทางของกระทรวง อว. โดยเริ่มในปีการศึกษานี้

เรียนรู้ อย่างไร้ขอบเขต

“รศ.ดร.สมหมาย ผิวสะอาด” อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ในฐานะประธานคณะกรรมการอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.) เปิดเผยว่า การร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการศึกษาครั้งใหญ่ของประเทศ การเรียนรู้ของคนในปัจจุบัน มีความก้าวหน้า ก้าวไกล ไร้ขอบเขต ไม่จำกัดการเรียนรู้แค่ในห้องเรียนหรือสถานศึกษาใดสถานศึกษาหนึ่ง บุคคลสามารถเรียนรู้ได้ตามศักยภาพ ความถนัด และเวลา ด้วยรูปแบบ และค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสม

คณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.) เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และปรับตัวการเปลี่ยนแปลง โดยได้มีมติเห็นชอบในการดำเนินการจัดการศึกษาในลักษณะ "ลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัย"และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ระบบ "ธนาคารหน่วยกิต"และ ธนาคารหน่วยกิตดิจิทัลร่วมกันเพื่อเชื่อมการเรียนรู้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราช มงคล บริษัท ใน เครือ

การลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัยของนักศึกษาในเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ระบบธนาคารหน่วยกิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เนื้อหาความร่วมมือบันทึกข้อตกลงทั้งสองฉบับ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูล ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และดำเนินการส่งเสริมการการเรียนรู้ข้ามมหาวิทยาลัยของนักศึกษาในเครือข่าย "ราชมงคล" และการร่วมจัดการเรียนรู้ธนาคารหน่วยกิต และใช้ธนาคารหน่วยกิตดิจิทัลเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลร่วมกัน

"การดำเนินงานในครั้งนี้แสดงถึงเอกภาพ ความเข้มแข็งและความมุ่งมั่นในการศึกษา และการพัฒนากำลังคนของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม"

หลักสูตรสอดคล้อง เรียนได้ทุกรายวิชา

สำหรับการลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัย “รศ.ดร.สมหมาย” อธิบายว่า หากเป็นหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกัน สามารถเรียนได้ในทุกรายวิชา หากเรียนที่หนึ่ง สะสมหน่วยกิต และสำเร็จการศึกษาอีกที่หนึ่งก็ได้ เราเริ่มต้นทำหลักสูตรให้มีลักษณะที่สอดคล้องกัน แต่อาจจะมีวิชาเลือก หรือวิชาเฉพาะที่เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละที่ แต่การเรียนสามารถเรียนด้วยกันได้ทั้ง 9 แห่ง

“ในส่วนของการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา อาจจะไม่เจาะจงอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เช่น นักศึกษาเรียนที่ภาคเหนือ เกิดย้ายที่ทำงานมาอยู่ที่ห่างไกลจากมหาวิทยาลัยก็ไม่จำเป็นต้องเรียนที่เดิม สามารถลงทะเบียนเรียนในหลักสูตร รายวิชา ในหลักสูตรของตนเองในราชมงคลแห่งอื่นได้เช่นกัน เกรดที่ได้ ใช้ได้เหมือนกัน”

อย่างไรก็ตาม การลงทะเบียนเรียนแต่ละครั้ง ต้องประสานงาน ดูความเหมาะสม และดูศักยภาพในการรองรับของแต่ละแห่ง หากผู้เรียนล้นก็อาจต้องไปเรียนในเทอมถัดไป หรืออาจจะเป็นราชมงคลแห่งอื่นทั้ง 9 แห่ง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราช มงคล บริษัท ใน เครือ

ธนาคารหน่วยกิต เรียนรู้ตลอดชีวิต

ขณะเดียวกัน ในส่วนของ "ธนาคารหน่วยกิต" ก็มีความสอดคล้องกัน บุคลากรที่อยู่นอกเหนือจากวัยเรียน เช่น สถานประกอบการ วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ สามารถลงทะเบียนเรียน สะสมหน่วยกิต ทั้งนี้ การสะสมหน่วยกิต หากเป็นหลักสูตรเดียวกันจะสะสมที่ไหนก็ได้ หากเริ่มเรียนที่ มทร.อีสาน เกิดที่ทำงานย้ายไปที่ภาคใต้ สามารถไปสะสมหน่วยกิตต่อที่ มทร. ศรีวิชัย และสำเร็จการศึกษาที่ มทร.ศรีวิชัยได้ สามารถสะสมหน่วยกิตได้ทั้ง 9 แห่ง

สำหรับธนาคารหน่วยกิต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากการจัดการเรียนรู้ระบบธนาคารหน่วยกิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ปี 2562 ตามประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง แนวทางการดำเนินงานระบบคลังหน่วยกิตระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 โดยมีความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง 36 วิทยาเขต และหน่วยงานภายนอก ตั้งแต่ระดับนโยบาย คือ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาที่ดำเนินโครงการพัฒนาระบบคลังหน่วยกิตดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ร่วมกันในปี 2563 ทำให้เกิดระบบธนาคารหน่วยกิตต้นแบบที่สามารถใช้ร่วมกันได้ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

ต่อมาในปี 2564 ได้ร่วมมือกับเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี รับนักเรียน ม.ปลายเข้าร่วมโครงการ และยังได้มีการประชาสัมพันธ์ไปยังภาครัฐและเอกชน ภาคแรงงาน สถานประกอบการ จนเริ่มเป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น

ธนาคารหน่วยกิตดิจิทัล

และในปีเดียวกัน (2564) ได้ร่วมมือกับ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ในการพัฒนาระบบธนาคารหน่วยกิตดิจิทัล (Digital Credit Bank System) เพื่อรองรับการเชื่อมโยงคุณวุฒิวิชาชีพสู่คุณวุฒิการศึกษา เพื่อเป็นการเทียบระดับคุณวุฒิการศึกษาและคุณวุฒิวิชาชีพ ตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualifications Framework หรือ NQF) ในการเชื่อมโยงคุณวุฒิการศึกษากับมาตรฐานอาชีพไว้ด้วยกัน

โดยสามารถนำประสบการณ์จากการทำงานมาเข้ารับการทดสอบ เพื่อรับรองสมรรถนะบุคคล ทำให้การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถเข้าถึงได้สำหรับคนทุกคน ทุกช่วงอายุ ทุกระดับการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มความเสมอภาคทางการศึกษาได้อย่างแท้จริง

ผู้สนใจสามารถเข้าดูรายละเอียดได้ที่ เว็บไซต์ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนของแต่ละแห่ง หรือสามารถปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นการเฉพาะรายได้อีกด้วย ซึ่งการเรียนอาจเป็นได้ทั้งในรูปแบบออนไซต์และออนไลน์ ซึ่งจะเริ่มต้นในภาคการศึกษาที่ 1 ประมาณเดือนกรกฎาคมนี้

ปลดล็อกข้อจำกัด ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี

รศ.ดร.สมหมาย กล่าวต่อไปว่า ด้วยความร่วมมือของเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งที่แข็งแกร่ง ความถนัดและความเชี่ยวชาญของแต่ละ มทร. จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าถึงระบบการเรียนการสอนที่ง่ายขึ้นกว่าเดิม ปลดล็อกข้อจำกัดเดิม ๆ นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาส่งเสริมให้ระบบได้รับการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญยังส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียน หรือ Lifelong Learning อีกทั้งพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ ในด้าน Re skill , Up skill , New skill ที่สอดรับตามแนวทางของกระทรวง อว. อีกด้วย

ปฏิรูปอุดมศึกษา สอดรับอุตสาหกรรม

“ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล” ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในการประชุมสำคัญโดยระบุว่า เราอยู่ในการปฏิรูปอุดมศึกษาครั้งใหญ่ เป็นการเปลี่ยนแปลงอุดมศึกษาระลอกที่สอง จากกว่าร้อยปีที่ผ่านมา การขับเคลื่อนทั้ง 2 เรื่องที่ราชมงคลดำเนินการ เป็นการนำหน้าการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะระบบธนาคารหน่วยกิต ซึ่ง มทร.ธัญบุรี ดำเนินการมาหลายปี เมื่อมีสัญญานจากรัฐบาลเพิ่มขึ้น ราชมงคลได้ขับเคลื่อนเต็มที่และนำมาสู่ การลงนามความร่วมมือในวันนี้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราช มงคล บริษัท ใน เครือ

สาระสำคัญ คือ เมื่อนักศึกษาเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งใดแห่งหนึ่งแล้ว หากมีความประสงค์ที่จะเรียนบางรายวิชาในมหาวิทยาลัยราชมงคลแห่งอื่นก็สามารถเรียนได้ เมื่อเรียนแล้วนำผลการเรียนมาบรรจุไว้ และมหาวิทยาลัยที่รับสอนก็บันทึกว่ามีการสอนเกิดขึ้น มหาวิทยาลัยต้นทางก็รับทราบว่าเรียนวิชานี้เรียบร้อยแล้ว สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ เป็นหลักฐานในการจบการศึกษาได้ ทำให้มหาวิทยาลัยที่แข็งแกร่งในเรื่องใดก็สามารถพัฒนาความแข็งแกร่งในเรื่องนั้นได้อย่างเต็มที่ นักศึกษามีทางเลือกมากขึ้น และเกิดการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างสถาบัน แลกเปลี่ยนอาจารย์ระหว่างสถาบันอีกด้วย

“การลงทะเบียนเรียนข้ามสถาบันได้ ทำให้ระบบการอุดมศึกษาของไทยเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการจัดการศึกษาในภูมิภาคและในโลก ขณะเดียวกัน ผลที่เกิดขึ้น จะเกิดผลนานัปการกับคนไทย สอดคล้องกับหลักการเปลี่ยนแปลงโลก สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนไป อีกทั้ง สอดคล้องกับความคิดเยาวชนคนรุ่นใหม่”

ผลักดันสู่มหาลัยทั่วประเทศ

ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ กระทรวง อว. ได้มอบนโยบายให้มหาวิทยาลัยทุกแห่ง จัดให้มีระบบลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัยได้ จะเกิดขึ้นกับระบบที่มีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน หลักการมาตรฐานอย่างเดียวกัน ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ในส่วนของบัณฑิตศึกษา 25 มหาวิทยาลัย และในวันนี้ มทร. เป็นส่วนของระดับปริญญาตรี ในเครือข่ายราชมงคล 9 แห่ง รวมถึงจะมีการขยายต่อไป ในที่สุดแล้วเราจะเห็นระบบการศึกษาทั่วประเทศ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม สามารถลงทะเบียนข้ามซึ่งกันและกันได้

ข้อดีทั้งหมด คือ ประหยัดทรัพยากร ใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างเหมาะสม และนักศึกษาได้สิ่งที่ดีที่สุด หากนักศึกษามีรายวิชาที่ต้องการเรียนในสถานที่อื่น ที่มหาวิทยาลัยของตัวเองยังไม่สอน สามารถไปเรียนได้ เราจะเกิดการแลกเปลี่ยนตลอดเวลา นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนภาคเหนือ อาจจะมีบางรายวิชาอยากจะไปอยู่ภาคใต้ก็สามารถทำได้ เกิดการหมุนเวียน การหลากหลายของประสบการณ์สอดคล้องกับการศึกษาตลอดชีวิต สามารถเรียนในสิ่งที่ตนเองสนใจได้ และสามารถประกอบร่างหลักสูตรตามที่ตนเองสนใจได้ ขณะนี้ดำเนินการทั้งรัฐและเอกชนและในกำกับของรัฐด้วย