กศนใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองแบบใด

การศึกษานอกระบบโรงเรียน คือ กิจกรรมการศึกษา ที่มีกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ชัดเจน มีรูปแบบ หลักสูตร วิธีการจัดและระยะเวลาเรียน หรือฝึกอบรมที่ยืดหยุ่นและหลากหลายตามสภาพความต้องการและศักยภาพในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายนั้น และมีวิธีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเพื่อรับคุณวุฒิทางการศึกษาหรือเพื่อจัดระดับผลการเรียนรู้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551)

ลักษณะสำคัญ คือ มีการจัดที่ ยืดหยุ่น ในทุกขั้นตอน ทั้งการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา และความต้องการของแต่ละบุคคล

รูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน เช่น การเรียนด้วยตนเอง การเรียนจากสื่อการเรียนโดยกระบวนการกลุ่ม การเรียนในตอนเย็นหรือวันหยุด การเรียนที่บ้าน ศูนย์การเรียน หรือสถานที่ที่ผู้เรียนนัดหมายกัน การประเมินผลก็เป็นไปอย่างยืดหยุ่น เช่น ใช้การสอบ การปฏิบัติให้ดู การสัมภาษณ์โดยผู้มีความรู้ การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ เป็นต้น

การศึกษานอกระบบโรงเรียน เป็นการเรียนรู้ที่ควบคู่ไปกับการศึกษาตามอัธยาศัย โดยผู้สอนอาจจัดประสบการณ์เรียนรู้เพิ่มเติมหรือชี้แนะช่องทางการศึกษาเพิ่มเติมผ่านการศึกษาตามอัธยาศัยรูปแบบต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น การจัดแหล่งข่าวสารข้อมูลให้แก่บุคคลได้ค้นคว้า การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสารผ่านสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้บุคคลได้รับการศึกษาอย่างครอบคลุมและต่อเนื่อง

ตัวอย่าง การเรียนหลักสูตร กศน. ที่จัดขึ้นตามหลักความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา ประชาชนทุกคนควรมีโอกาสที่จะรับบริการการศึกษานอกระบบโรงเรียนอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะผู้ที่พลาดโอกาสทางการศึกษาในระบบโรงเรียน มีทั้งระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย มีการจัดรูปแบบการเรียนหลากหลาย ยึดความสะดวกและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนแต่ละคนเป็นหลัก กิจกรรมการศึกษาไม่ได้จำกัดเฉพาะการนั่งเรียนในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมไปถึงการเรียน กศน.ออนไลน์ ผ่านระบบของสำนักงาน กศน. ที่ชื่อว่า EDU Online ซึ่งการเรียน กศน. ออนไลน์นี้ถือเป็นรูปแบบการเรียนที่สะดวกกับผู้เรียน และสุดท้ายเราสามารถสมัครสอบ กศน. ได้ที่หน่วยงานที่เราเรียนอยู่ได้ ทั้งนี้เพื่อการรับรองความสามารถและคุณวุฒิเป็นสำคัญ

ผู้เรียน มีหน้าที่ลงมือที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ความรู้และประสบการณ์จากการใช้ชีวิตและการทำงาน ตามสภาพความเป็นจริง ด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย ตามสไตล์การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล

ผู้สอน มีหน้าที่อำนวยความสะดวกและกระตุ้นให้บุคคลอยากเรียนรู้ คอยเป็นกำลังใจ เป็นเพื่อนร่วมทางการเรียนรู้ เป็นเพื่อนคู่คิดคอยปรึกษาให้คำแนะนำ ชี้แนะแนวทางในการเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตของบุคคลนั้น นอกจากนี้ ผู้สอนยังส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยจากสื่อ ผู้รู้ แหล่งเรียนรู้ เพื่อให้ได้เรียนรู้จากของจริง สภาพจริง รวมถึงการใช้สื่อออนไลน์ ต่าง ๆ ทั้ง Facebook Twitter Line Application ผ่านเทคโนโลยีที่หลากหลายทั้งทางวิชาการ กึ่งวิชาการ เพื่อเป็นช่องทางการเรียนรู้ที่ตรงตามความสนใจ อุปนิสัย ความถนัด ความชอบในการเรียนรู้ของบุคคลแต่ละคน และเหมาะกับสภาพปัจจุบันที่มีข้อมูลใหม่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

การศึกษาตามอัธยาศัย คือ กิจกรรมการเรียนรู้ ในวิถีชีวิตประจําวันของบุคคลซึ่งบุคคลสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความสนใจ ความต้องการ โอกาส ความพร้อม และศักยภาพในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล (พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551)

การศึกษาตามอัธยาศัย เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาด้วยวิธีการที่หลากหลายที่นําไปสู่การเรียนรู้ อาจเกิดขึ้นโดยกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม กระบวนการสนทนา การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้โดยบังเอิญ การเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทํางาน จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ลักษณะสําคัญ คือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จํากัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน ไม่มีการสอน ไม่มีการรับประกาศนียบัตร อาจมีหรือไม่มีสถานที่แน่นอน เรียนที่ไหนก็ได้ ส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต

ตัวอย่าง เช่น การเรียนรู้เรื่องที่สนใจด้วยตนเอง ด้วยการค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต การเข้าห้องสมุด การเดินผ่านป้ายประกาศแล้วแวะอ่านสิ่งที่สนใจ การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตามความสมัครใจโดยมุ่งหวังจะได้ความรู้เป็นสำคัญ โดยไม่ปรารถนาจะรับการรับรองความสามารถและคุณวุฒิเป็นสำคัญ เป็นการเรียนรู้เพื่อตอบสนองความสนใจของตนเท่านั้น

การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นส่วนที่จะเข้ามาเติมเต็มการศึกษานอกระบบและการศึกษาในระบบ ที่นำไปสู่ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” ของแต่ละบุคคล ให้ได้รับความรู้และทักษะอย่างเพียงพอในแต่ละช่วงชีวิต เพื่อดำเนินชีวิต ประกอบอาชีพ และปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างเหมาะสม

กศนใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองแบบใด
Next Post
กศนใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองแบบใด

กศนใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองแบบใด
กศนใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองแบบใด
Previous Post

Related Blogs

กศนใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองแบบใด

Posted by editor | January 13, 2023January 13, 2023

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการต้นแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา

สงวนลิขสิทธิ์ / จัดทํา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านและดาวน์โหลด

Likes

กศนใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองแบบใด

Posted by editor | January 10, 2023January 10, 2023

เสียงสะท้อนจากพื้นที่ สู่การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายครูนอกระบบการศึกษา

สงวนลิขสิทธิ์/จัดทำ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ผู้เขียน วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน และหัวหน้าภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระวี จูฑศฤงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภัทรา วยาจุต อาจารย์ประจำภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลิขสิทธิ์ พุฒเขียว...