นครศรีธรรมราชคืออาณาจักรใด

ในบรรดารัฐโบราณบนคาบสมุทรไทย เห็นจะไม่มีรัฐใดจะมีขนาดพื้นที่กว้างขวาง และมีบทบาทสำคัญทั้งการค้า การปกครอง และการศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์เท่าเทียม “รัฐตามพรลิงค์”

“ตามพรลิงค์” (Tambralinga)  เป็นชื่อรัฐโบราณที่สำคัญรัฐหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บนคาบสมุทรไทย เป็นที่รู้จักในหมู่นักเดินเรือและผู้เผยแผ่ศาสนามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 5 เป็นต้นมาในชื่อ “กมลี” บ้าง “ตามพรลิงค์”  บ้างและ “ตันหม่าหลิง” บ้าง พัฒนาจากสถานีทางการค้าทางทะเลจนเติบโตเป็นรัฐ ซึ่งมีระบบทางการเมืองการปกครองที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากอินเดีย จนกลายเป็น “รัฐ” ในราวพุทธศตวรรษที่ 17 และมีอำนาจเหนืออาณาบริเวณคาบสมุทรไทยทั้งหมด จนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ 20 จึงรวมอยู่ในราชอาณาจักรไทย

อาณาเขตของรัฐตามพรลิงค์ครอบคลุมพื้นที่ตอนบนของคาบสมุทรไทย ตั้งแต่บริเวณจังหวัดชุมพรลงไปจนถึงจังหวัดนครศรีธรรมราชของประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งในเอกสารโบราณของจีนเรียกว่า “เตี่ยนซุน”หรือ“ตุ้นซวิ่น” ดร.อมรา ศรีสุชาติ[1] อธิบายว่าน่าจะอยู่ตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง มาถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี  และตอนบนของจังหวัดนครศรีธรรมราช คือแถบอำเภอขนอม และอำเภอสิชล มีอ่าวเป็นส่วนโค้งเว้ายื่นไปในทะเล มีภูเขาโผล่ขึ้นมาจากทะเล ซึ่งตรงกับบริเวณเกาะสมุย  เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราชปัจจุบัน

มานิต  วัลลิโภดม[2] อธิบายว่าพัฒนาการของรัฐตามพรลิงค์หลักฐานชัดเจนในสมัยกึ่งประวัติศาสตร์จากเอกสารโบราณที่ชื่อ “คัมภีร์มหานิทเทศ” ซึ่งแต่งขึ้นเป็นภาษาบาลี  คัมภีร์ดังกล่าวมีชื่อ “กะมะลิง” ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 11 รัฐนี้มีความสัมพันธ์ทางด้านการเมือง  เศรษฐกิจและการค้ากับดินแดนอันมีหลักฐานปรากฏชัดเจนสองแห่ง คือชวาภาคกลาง  และอินเดียภาคใต้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์กับราชวงศ์โจฬะในอินเดียภาคใต้ ซึ่งสืบเนื่องต่อจนถึงพุทธศตวรรษที่ 16 ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 26 (จารึกเขาพระนารายณ์  จังหวัดพังงา)

ในพุทธศตวรรษที่ 15 เอกสารจีนเรียกรัฐนี้ว่า “ตันหม่าหลิง” บทบาทและความสำคัญของตามพรลิงค์ผูกพันกับสภาพการค้าในคาบสมุทรอยู่มาก  ไม่เพียงแต่เฉพาะทางฝั่งตะวันออกซึ่งอยู่ในเส้นทางผ่านของการค้าของจีนและอินเดียเท่านั้น  หากแต่ยังเป็นจุดที่มีความสำคัญในแง่ของการค้าอีกด้วย  เพราะสินค้าจากบริเวณ “ตามพรลิงค์” กลายเป็นที่ต้องการของประเทศที่ทำการค้าด้วย เช่น จีนซึ่งต้องการไม้เนื้อหอมจากดินแดนแถบนี้ รศ.ดร.ปรีชา นุ่นสุข[3] อธิบายว่าเป็นโอกาสสำคัญที่ “ตามพรลิงค์” ใช้ความได้เปรียบด้วยฐานะทางเศรษฐกิจการค้านี้ไปส่งเสริมอำนาจการควบคุมทางทะเลด้วย

ในราวพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นช่วงแห่งความขัดแย้งระหว่างอำนาจทางการเมืองที่สำคัญในภูมิภาคนี้  เมื่อพวกทมิฬมีอำนาจขึ้นทางฝั่งตะวันออกของอินเดีย   และอำนาจทางทะเลทางภาคตะวันตกของอินเดียก็เพิ่มมากขึ้น  เป็นเหตุให้สองฝ่ายต่างแข่งขันกัน  ประกอบกับราชวงศ์ซ้องหรือซุ่ง (Sung) สามารถรวมแคว้นต่างๆในจีนได้ จึงเปิดเส้นทางการค้าออกสู่ทะเลจีนใต้อีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม  ด้วยเหตุที่พวกโจฬะมีอำนาจในภูมิภาคแถบนี้ จึงสามารถควบคุมช่องแคบมะละกาได้เมื่อพุทธศตวรรษที่ 16 ผลทางตรงในการแข่งขันซึ่งกันและกันครั้งนั้น ทำให้รูปแบบของการเดินเรือค้าขายเปลี่ยนแปลง ภาคตะวันออกของคาบสมุทรไทยจึงความสำคัญต่อการค้ามากกว่าเดิม  เพราะเป็นแหล่งเอื้ออำนวยในการค้าขายกับจีน   ขณะเดียวกันดินแดนภาคตะวันออกที่อยู่ในเส้นทางข้ามคาบสมุทร ก็ยังคงมีความสำคัญอยู่

ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ขอมเริ่มให้ความสนใจต่อฝั่งตะวันออกของคาบสมุทร อันเป็นส่วนหนึ่งในการขยายอำนาจของตนทางตะวันตกของอาณาจักรในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 เห็นได้จากโบราณวัตถุซึ่งแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะขอมบนคาบสมุทรไทยตั้งแต่ช่วงเวลานี้มาก  เส้นทางการค้าที่พวกขอมใช้น่าจะเป็นเส้นทางเรือที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว  คือจากฝั่งจามตัดเข้าอ่าวไทยไปยังเกาะ สมุยในคาบสมุทร ถือได้ว่าความสำคัญของเส้นทางนี้มีต่อรูปแบบของการค้า  เป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับตามพรลิงค์โดยตรง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 เมื่อขอมเริ่มทวีความสนใจออกมาทำการค้า แต่ต่อมาก็เกิดภาวะชะงักงันในกลางพุทธศตวรรษที่ 16 เมื่อสิ้นสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1

ขณะเดียวกันในพุทธศตวรรษที่ 16  ตามพรลิงค์เริ่มมีอำนาจในบริเวณนี้เพิ่มขึ้น กล่าวคือเมื่อโจฬะเริ่มเสื่อมอำนาจ กษัตริย์วิชัยพาหุที่ 1 แห่งลังกาก็พยายามสร้างความสัมพันธ์กับอาณาจักรพุกามสมัยพระเจ้านรปติสิทธู  โดยนิมนต์ภิกษุจากพม่าไปชำระคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่ลังกา พุกามเองก็เคยแผ่อำนาจเข้าคอคอดกระ ทำให้พวกโจฬะต้องกวาดล้างอิทธิพลแถบนี้อีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ.1600   ในขณะที่ฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับจีนอยู่  ดังที่ได้ค้นพบเครื่องถ้วยจีนอายุตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง (Tang) ถึงราชวงศ์ซ้องและหยวน (Sung-Yuan) สภาพเช่นนี้จึงทำให้ตามพรลิงค์ขยายตัวทางเศรษฐกิจ และสามารถส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนได้เมื่อ พ.ศ. 1610

ล่วงมาประมาณ พ.ศ.1673-1719 ตามพรลิงค์ได้อยู่ในขอบเขตอิทธิพลของลังกาและพุกาม เมืองที่เป็นศูนย์กลางของตามพรลิงค์ระยะนี้คือ“กรุงศรีธรรมาโศก”ตามที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 35 (จารึกดงแม่นางเมือง) พ.ศ.1710 อันเป็นจารึกมคธและภาษาขอม กล่าวถึงราชาจากกรุงศรีธรรมาโศกกัลปนาถวายที่ดินอุทิศให้ผู้ซึ่งเป็นที่เคารพ คำว่า “ศรีธรรมาโศก” สัมพันธ์กับเรื่องราวของรัฐตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราชอยู่มาก จากศิลาจารึกหลักที่ 24 ดร.วินัย  พงศ์ศรีเพียร[4] ให้ความเห็นว่าสะท้อนให้เห็นภาพทางการเมืองของรัฐตามพรลิงค์ชัดเจน  พร้อมกับการเกิดขึ้นของพระเจ้าจันทรภาณุแห่ง  “ปัทมวงศ์” ตามพรลิงค์วิวัฒนาการเป็นรัฐที่มีอำนาจทางการเมืองสูง สามารถส่งกำลังไปตีลังกาสองครั้ง แม้จะพ่ายแพ้กลับมา แต่อำนาจของพระองค์เหนือรัฐดังกล่าวก็ยังปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์

เมืองท่าสำคัญที่ปรากฏขึ้นในรัฐตามพรลิงค์ในพุทธศตวรรษที่ 17-18 ดร.อมรา ศรีสุชาติ[5] ให้ความเห็นว่าน่าจะมีอยู่หลายแห่งทางฝั่งทะเลตะวันออก ได้แก่ แหล่งหัวมีนา ใกล้คลองท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช(อยู่ใกล้กับเมืองพระเวียง) ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นศูนย์กลางการปกครองหรือเมืองสำคัญของรัฐ “ตามพรลิงค์” และวัดหรัง อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนเมืองท่าฝั่งตะวันตกน่าจะอยู่ที่แหล่งกันตัง จังหวัดตรัง  ส่วนเมืองท่าฝั่งอันดามันไม่ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีในแหล่งใดแหล่งหนึ่ง  ที่ชัดเจนพอที่จะกล่าวได้ว่าเป็นแหล่งเมืองท่าที่อาหรับเรียก “กลาฮ์” แต่น่าจะเคลื่อนลงมาทางใต้แถบจังหวัดตรังถึงจังหวัดสตูล เพราะพบแหล่งท่าเรือโบราณอยู่หลายแห่ง

ในบรรดาเมืองท่าร่วมสมัยเดียวกันนี้ แหล่งเมืองท่าที่หัวมีนา  ดูจะเฟื่องฟูที่สุดในการเป็นสถานีการค้ากับจีน และยังคงมีบทบาทการเป็นพ่อค้าคนกลางที่ขายแก่เรือชาติอื่นๆ  แหล่งเมืองท่าของรัฐตามพรลิงค์ในช่วงนี้ ดร.อมรา ศรีสุชาติ[2]  ให้ความเห็นว่ามิได้มีบทบาทเป็นเมืองท่าค้าขายเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นแหล่งยุทธศาสตร์ที่พระเจ้าจันทรภาณุใช้ในการยกทัพเรือไปโจมตีศรีลังกาในพุทธศตวรรษที่ 18 อย่างไรก็ดี ในศตวรรษต่อมา เมืองท่าเหล่านี้ก็กลายมาเป็นแหล่งที่กองทัพเรือจากภายนอกยกมาขึ้นฝั่งเพื่อโจมตีเมืองต่างๆ บนคาบสมุทรบ้าง   เช่น กรณีกองทัพจากชวา หรือกองทัพของอุชงคตนะจากปลายเกาะสุมาตรายกมาโจมตีรัฐตามพรลิงค์ เป็นต้น

ในด้านศิลปวัฒนธรรม ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-14 ดินแดนคาบสมุทรไทยและคาบสมุทร  มลายูตอนเหนือ โดยเฉพาะตามพรลิงค์ได้รับอิทธิพลจากอินเดียอย่างมาก ส่งผลให้ศาสนาพราหมณ์ซึ่งฝังรากมั่นคง ดังเห็นได้จากการพบโบราณวัตถุสถานมากกว่าที่ใดในคาบสมุทรไทย รวมทั้งชื่อรัฐ “ตามพรลิงค์” ก็ได้สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าเป็นผลมาจากศาสนาพราหมณ์  มีการขยายตัวของชุมชนตามแหล่งที่เหมาะสมทางภูมิศาสตร์ ซึ่งต่อมาได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นเมืองท่าชายฝั่งตะวันตกและตะวันออกของคาบสมุทรไทยในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-14 ซึ่งเป็นผลประโยชน์จากการควบคุมดูแลทางการค้าทางทะเลอันเป็นเศรษฐกิจหลักของรัฐนี้

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 ตามพรลิงค์เริ่มมีฐานะเป็นศูนย์กลางทางการค้า การเมือง การปกครอง และศิลปวัฒนธรรมบนคาบสมุทรไทยทั้งฝ่ายตะวันตกและตะวันออกที่เกี่ยวพันกับรัฐตามพรลิงค์เสมอ  ต่างกันแต่เพียงมากบ้างน้อยบ้างเท่านั้น ครั้นพุทธศตวรรษที่ 18 สามารถปกครองแหลมมลายูตอนเหนือทั้งหมด   จัดเครือข่ายเป็น “เมือง 12 นักษัตร” ซึ่งแต่ละเมืองก็ให้ถือตราสัตว์ประจำเมืองกำกับไว้  ในช่วงศตวรรษดังกล่าวตามพรลิงค์ได้เปลี่ยนชื่อรัฐเป็น “นครศรีธรรมราช”มีความสัมพันธไมตรีกับรัฐไทยตอนบน คือสุโขทัย และมีสัมพันธ์ข้ามมหาสมุทรกับประเทศศรีลังกา เป็นการสัมพันธ์ทางเครือญาติและศาสนา  ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคตินิยมทางพระพุทธศาสนา  และเป็นผลให้ลัทธิเถรวาทจนเจริญรุ่งเรือง  และสามารถประดิษฐานมั่นคงแผ่กว้างไปทั่วดินแดนภาคใต้ตอนบน

“ตามพรลิงค์” ถือเป็นรัฐหรืออาณาจักรทางพุทธศาสนาและเศรษฐกิจของผู้คนในสังคมบนคาบสมุทรไทยที่โดดเด่นยิ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มิใช่เพียงเพราะมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์เป็นที่ต้องการของตลาดโลก หรือสามารถผลิตสินค้าได้ตามกระแสความต้องการของตลาดสากลเท่านั้น แต่ยังมีการบริหารจัดการในการสร้างระบบเมืองท่าเครือข่าย และระบบการจัดการธุรกิจแบบพ่อค้าคนกลางที่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังมีการพัฒนาการยุทธนาวีเพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างจริงจังโดยเฉพาะในช่วงที่พระเจ้าจันทรภาณุเป็นกษัตริย์ของอาณาจักรนี้

เหนืออื่นใด ตามพรลิงค์ยังถือเป็นผู้นำในการส่งเสริมวัฒนธรรมพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทให้ประดิษฐานอย่างมั่นคงและยั่งยืนยาวนานบนคาบสมุทรไทย รวมทั้งบนดินแดนภาคพื้นทวีป ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้หลักปรัชญาของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่บ่มเพาะงอกงามในดินแดนเอเชียใต้ มาเจริญรุ่งเรืองแพร่หลายอยู่ในประเทศไทยและดินแดนข้างเคียง  ความเจริญรุ่งเรืองนี้  นอกจากมีส่วนในการสร้างสรรค์วิถีชีวิต และแนวคิดในศาสนาแล้ว ยังเป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่ก่อให้เกิดการรังสรรค์ศิลปกรรมที่งดงามจนตกทอดเป็นมรดกภูมิปัญญาของประชาชาติที่มีอารยธรรมสูงไม่แพ้ที่ใดในโลก

อย่างไรก็ดี ก่อนสิ้นสุดพุทธศตวรรษที่ 19 รัฐบริเวณลุ่มเจ้าพระยารุ่งเรืองขึ้น มีศูนย์กลางอำนาจที่กรุงศรีอยุธยา   พระเจ้าอู่ทองยกทัพแผ่อำนาจลงมาทางใต้ และรวบรวมนครศรีธรรมราชไว้ในขอบขัณฑสีมา ดำรงสถานะเป็น “หัวเมืองเอก” ของราชอาณาจักรอยุธยา ประวัติศาสตร์อันรุ่งเรืองและมีอิสระในการปกครองตนเองของนครศรีธรรมราชยืนยาวไม่นานนัก เพราะในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาของการรวบรวมบ้านเมืองเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในท้องที่ภาคกลาง โดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นผู้นำตั้งแต่ก่อน พ.ศ.1893 อันเป็นปีสถาปนากรุงศรีอยุธยาอย่างเป็นทางการ

นครศรีธรรมราชคืออาณาจักรใด

วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาเถรวาทบนคาบสมุทรไทย

กล่าวโดยสรุป  หลักฐานประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดีที่ค้นพบบนคาบสมุทรไทย และในดินแดนประเทศข้างเคียง  จึงแบ่งยุคสมัยของรัฐตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราชได้เป็นสี่สมัยดังนี้

สมัยแรก  เป็นช่วงเวลาราวพุทธศตวรรษที่ 5-10 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มแรกที่ดินแดนบนคาบสมุทรไทยได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ทั้งด้านความเชื่อ ศาสนา ประเพณี กฎหมาย ภาษาและวรรณกรรม ดังปรากฏในเอกสารของอินเดีย ขณะเดียวกันก็มีเอกสารของจีนที่ระบุชื่อเมืองที่มาค้าขาย  เอกสารโบราณของจีนและอินเดียได้สะท้อนให้เห็นว่า ในช่วงเวลานั้นชุมชนหลายแห่งบนคาบสมุทรไทยได้พัฒนาขึ้นเป็นเมืองท่าหรือศูนย์กลางทางการค้าในระบบเครือข่ายการค้านานาชาติ โดยเฉพาะเมือง “กะมะลิง” หรือ     “ตะมะลิง” หรือ “ตามพรลิงค์”(Tambralinga) ซึ่งชื่อนี้ปรากฏในเอกสารโบราณของอินเดียตั้งแต่เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 7

สมัยที่สอง เป็นช่วงเวลาราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 ซึ่งเป็นช่วงที่พัฒนาการของรัฐนี้ผูกพันแนบแน่นกับการค้าและความรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย อันเป็นศาสนาที่มีบทบาทอย่างสำคัญต่อพัฒนาการของรัฐ แม้ว่าในสมัยนี้พระพุทธศาสนาจะมีบทบาทอยู่ควบคู่กับศาสนาพราหมณ์อยู่บ้าง  แต่ก็ไม่ได้มีบทบาทที่โดดเด่นเท่าศาสนาพราหมณ์  แม้แต่ในช่วงที่พระพุทธศาสนาลัทธิมหายานเจริญสูงสุดในรัฐ คือในระหว่างกลางพุทธศตวรรษที่ 14 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 15 ก็ตาม ร่องรอยความเจริญของศาสนาพราหมณ์ก็ยังปรากฏอยู่ในรัฐนี้  ตั้งแต่พื้นที่ตอนบนจนถึงลุ่มทะเลสาบสงขลาซึ่งเป็นพื้นที่ตอนกลางของรัฐ

สมัยที่สาม เป็นช่วงเวลาราวพุทธศตวรรษที่ 17-19 ซึ่งเป็นช่วงที่พัฒนาการของรัฐแห่งนี้ได้ผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศรีลังกา เรียกกันว่า“ลัทธิลังกาวงศ์”หรือ“นิกายลังกาวงศ์” ซึ่งเป็นศาสนาที่มีบทบาทสำคัญต่อรัฐตามพรลิงค์ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่พม่าไปจนถึงอินโดนีเชีย ให้การยอมรับและมุ่งมั่นที่จะเอาแนวทางของลัทธิลังกาวงศ์เป็นเครื่องนำทางและแรงบันดาลใจ ครั้นในพุทธศตวรรษที่ 17-18 อิทธิพลของพุทธศาสนาจากศรีลังกาจึงได้ตั้งมั่นในดินแดนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สองแห่งคือ รัฐพุกาม(Pagan) ของประเทศพม่า และรัฐตามพรลิงค์ (Tambralinga) ของประเทศไทย

สมัยที่สี่ เป็นช่วงเวลาราวพุทธศตวรรษที่ 20-ปัจจุบัน ซึ่งเป็นช่วงที่พัฒนาการของรัฐนี้ได้ผูกพันกับอำนาจรัฐไทย  ซึ่งมีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  พระเจ้าอู่ทองปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาได้เริ่มต้นขยายขอบวงของอำนาจลงมายังคาบสมุทรไทย  จนมีอำนาจเหนือนครศรีธรรมราชต่อเนื่องไปถึงคาบสมุทรมลายู  และเมื่อล่วงมาถึงรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกเมืองนครศรีธรรมราชเป็นหัวเมืองเอก ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาสืบมา  และเมื่อศูนย์อำนาจเปลี่ยนเป็นธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ นครศรีธรรมราชก็หลอมรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยสืบมาจนปัจจุบัน

“ตามพรลิงค์” หรือ “นครศรีธรรมราช” ในปัจจุบันแม้มิได้เป็นรัฐอิสระและปกครองตนเองอย่างอดีตก็จริง แต่จุดเด่นทางประวัติศาสตร์ของการเป็นที่ตั้งพระพุทธศาสนาเถรวาทลังกาวงศ์เป็นแห่งแรกก่อนที่แห่งใดบนผืนทวีป ยังได้รับการกล่าวถึงอยู่ตลอดมา ทั้งที่เห็นเป็นรูปแบบพระสถูปทรงลังกาขนาดใหญ่ และเข้าใจถึงความหมายและความสำคัญดังที่ปรากฏในตำนาน     พระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชโดยไม่สิ้นสูญ

เมือง 12 นักษัตรเกี่ยวกับอาณาจักรใด

ศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัย สมัยก่อนจึงมีหลายเมืองสำคัญพอๆ กัน ตามแต่การใช้ประโยชน์ คือ ปาเลมบัง ตามพรลิงค์ ไชยา ฯลฯ ต่อมาอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นอิสระ จึงมีเมืองขึ้นบริวารถึง 12 หัวเมือง ได้แก่ เมืองสิบสองนักษัตร ซึ่งปัจจุบันตราสิบสองนักษัตร ได้เป็นตราประจำประจำเมืองขึ้นนั้นๆ คือ

อาณาจักรตามพรลิงค์อยู่ในยุคใด

อาณาจักรตามพรลิงค์.

อาณาจักรตามพรลิงค์อยู่จังหวัดใด

แคว้นตามพรลิงค์ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น แคว้นนครศรีธรรมราช นั้น เป็นแคว้นโบราณที่มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธ ศตวรรษที่ ๗ ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรมลายู มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน มีอาณาเขตทางทิศ เหนือถึงบริเวณจังหวัดชุมพรในปัจจุบัน ทิศใต้คลอบคลุมถึงบางส่วนบริเวณตอนบนของประเทศมาเลเซีย และด้านทิศ ตะวันออก ...

นครศรีธรรมราชรับพระพุทธศาสนามาจากที่ใด

ได้ว่าก่อนที่ชุมชนโบราณในนครศรีธรรมราชจะได้รับพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์จาก อินเดียเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 9 นั้น ชุมชนในนครศรีธรรมราชน่าจะมีระบบความเชื่อเกี่ยว กับอิทธิพลของสิ่งเหนือธรรมชาติและผีสางเทวดา ในรูปของศาสนาโบราณ ทำนองเดียว กันกับชุมชนก่อนประวัติศาสตร์แห่งอื่น ๆ ในประเทศไทยที่ได้มีการขุดค้นทางโบราณคดีและ ตีความ ...