บันทึกของวันวลิตเป็นหลักฐานประเภทใด

  3. หากมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาประเทศไทย แล้วไปเขียนหนังสือบรรยายว่าประเทศไทยล้าหลัง ด้อยพัฒนา เพราะยังมีการกินอาหารด้วยมือหรือไม่สวมเสื้อผ้า นักเรียนคิดว่าข้อความนี้จะใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในอนาคตได้หรือไม่

พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวัน วลิต พ.ศ. ๒๑๘๒ แปลและเรียบเรียงจาก The Story History of the King of Siam ของ ดร.เลียวนาร์ด แอนดายา (Dr.Leonard Andaya) ที่ได้แปลจากต้นฉบับเดิมภาษาฮอลันดาของ เยรามีส ฟาน ฟลีต งานชิ้นนี้ของ ฟาน ฟลีตได้เริ่มเขียนขึ้นในปี พ.ศ. ๒๑๘๒ ในขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพ่อค้าของบริษัท อิสต์อินเดียของฮอลันดาประจำกรุงศรีอยุธยา เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของราชวงศ์อยุธยาตั่งแต่พระเจ้าอู่ทองจนถึงพระเจ้าปราสาททองอย่างกระชับ ความละเอียดมากน้อยแต่แล้วแต่ความสำคัญของเหตุการณ์ตามแต่ละราชกาล ขาดก็แต่เพียงพระศรีเสาวภาคย์ที่ต่อจากสมเด็จพระเอกาทศรถเท่านั้น ซึ่งต่างกับ “พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ” ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ที่ค้นพบในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะกล่าวเรื่องราวต่าง ๆ เพียงสั้น ๆ เอาแต่ใจความสำคัญและมี วัน เดือน ปีกำกับทุกเหตุการณ์ ซึ่งมีความน่าเชื่อถือมากกว่าเมื่อเทียบกับพงศาวดารฉบับวัน วลิตและพงศาวดารฉบับอื่น ๆ ของไทย แต่เมื่อเทียบศักราชกันแล้ว นับว่าพงศาวดารฉบับนี้มีความเก่าแก่กว่าพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐถึง ๔๐ ปี นับว่าเป็นพงศาวดารฉบับกรุงศรีอยุธยาที่เก่าแก่ที่สุดในปัจจุบัน

เยรามีส ฟาน ฟลีต (Jeremias van Vliet) เป็นชาวเมือง ซีดัม (Shiedam) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ฟาน ฟลีตเริ่มเข้าทำงานอยู่ในบริษัทอิสต์อินเดียของฮอลันดาเมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๕ อีก ๓๑ ปีต่อมาได้ย้ายมาประจำอยู่ในกรุงศรีอยุธยาซึ่งตรงกับแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททองในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการของ โยน เซาตัน ในปี พ.ศ. ๒๑๗๙ จึงได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นมาเป็นผู้จัดการศูนย์การค้าแทนโยน เซาตันที่หมดวาระหน้าที่ไป

ฟาน ฟลีตยังได้เขียนหนังสือสำคัญเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาอีกสองเล่มคือ พรรณนาเรื่องอาณาจักรสยาม (พ.ศ. ๒๑๗๙) ว่าด้วยอาณาจักรสยาม ที่ตั้ง สภาพการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคมในสมัยนั้น อีกหนึ่งเล่มคือ จดหมายเหตุฟาน ฟรีต (พ.ศ. ๒๑๘๓) กล่าวถึงความเป็นไปตอนปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม การจลาจลวุ่นวายและการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าปราสาททอง ทั้งสองฉบับนับว่ามีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาอย่างยิ่งไม่แพ้กัน

จุดประสงค์ของการเขียนพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวัน วลิต พ.ศ. ๒๑๘๒ นอกเหนือจากเป็นการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับอาณาจักรสยามให้กับ อันโตนิโย แวน ไดเมน ผู้สำเร็จราชการรัฐของประเทศเนเธอร์แลนด์ประจำปัตตาเวียในอินเดียแล้ว ฟาน ฟลีตยังได้เขียนถึงจุดประสงค์ของการเขียนไว้อย่างชัดเจนในช่วงต้น ดังนี้ :

“เนื่องจากตำนานเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดินสยาม การสืบราชสมบัติ และพระนามพร้อมทั้งคุณลักษณะของพระองศ์ (เท่าที่รู้) ยังไม่เคยมีพวกเราผู้ใดนำมาเปิดเผย”

ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีชาวต่างชาติเข้ามาอยู่อาศัยหรือค้าขายเป็นจำนวนมาก หลายคนได้จดบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ในอยุธยาทั้งเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง วัฒนธรรม วิถีชีวิต ฯลฯ หนึ่งในนั้นคือเยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremais van Vliet) จนนำมาสู่การแปลเป็นภาษาไทยในชื่อ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวัน วลิต

แม้จะเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่มีความน่าเชื่อถือสูงระดับหนึ่ง แต่ก็ใช่ว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์จะต้องปักใจเชื่อโดยไม่ค้นคว้า วิเคราะห์ หรือหาหลักฐานอื่นมาประกอบ และในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวัน วลิต ก็มีข้อมูลบางประการที่ “น่าสงสัย” อยู่ตอนหนึ่ง เกี่ยวกับพระวิสุทธิกษัตรีย์กับพระมหาธรรมราชา ที่ทะเลาะวิวาทกันจนเลือดตกยางออก ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวัน วลิต พิมพ์ที่โรงพิมพ์แสงรุ้งการพิมพ์ เมื่อ พ.ศ. 2523 จัดพิมพ์โดยภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระบุความว่า

“พระเทียนราชาได้พระราชทานพระธิดาให้อภิเษกกับออกญาพิษณุโลก (Oya Poucelouck) แต่เนื่องจากบุคคลทั้งสองมีความแตกต่างกันมาก ชีวิตสมรสจึงมีแต่การทะเลาะเบาะแว้งไม่ลงรอยกัน ในการทะเลาะครั้งหนึ่งออกญาพิษณุโลกได้ตีพระเศียรพระธิดาแตก พระราชธิดาจึงใช้ผ้าซับพระพักตร์เช็ดพระโลหิตใส่ถ้วยทอง ส่งไปถวายพระราชบิดาที่กรุงศรีอยุธยา พร้อมทั้งมีพระราชสาส์นทูลฟ้องว่าถูกพระสวามีทารุณเพียงใด ด้วยเหตุนี้พระเจ้าแผ่นดินสยามจึงพิโรธพระราชบุตรเขยเป็นอย่างมาก มีรับสั่งให้ทหารยกกำลังไปฆ่าออกญาพิษณุโลก…” 

อย่างไรก็ตาม เรื่องเช่นนี้เคยมีปรากฏในหลักฐานประวัติศาสตร์พม่าเช่นเดียวกัน โดยหม่อมหลวง มานิจ ชุมสาย ให้ข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ แปลความได้ว่า เจ้าหญิงจากอังวะ (Ava) พระนามว่า Minkyi-Zwa ได้สมรสกับพระเจ้าหลานเธอแห่งกรุงหงสาวดี ภายหลังเมื่อผลัดแผ่นดินแล้ว พระเจ้าหลานเธอพระองค์นั้นได้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช และได้เสกสมรสกับพระภรรยาพระองค์ใหม่ ทำให้เกิดเรื่องทะเลาะวิวาทกับพระนาง Minkyi-Zwa จนถือขั้นต่อสู้ (Fight) จนพระโลหิตไหล

พระนางจึงนำผ้าเช็ดหน้า (Handkerchief) ซับพระโลหิตแล้วนำถวายพระราชบิดา กษัตริย์แห่งกรุงอังวะ เมื่อความทราบถึงกษัตริย์กรุงอังวะ พระองค์ก็ทรงพิโรธ (Angry) และคิดก่อกบฏ (Revolted) โดยส่งพระราชสาสน์ถึงเจ้าแห่ง Shan State, Toungoo, Prome และ Cheingmai แต่เจ้าเมืองเหล่านี้ส่งจดหมายไปให้กษัตริย์แห่งหงสาวดีคือ Nandabayin

ทั้งนี้ ยังปรากฏหลักฐานอีกแหล่งหนึ่ง คือหนังสือ Popular History of Thailand By M.L. Manich Jumsai ให้ข้อมูลในเรื่องนี้ว่า ครั้น พ.ศ. 2126 ภาวการณ์ที่กำลังรออยู่ได้เกิดขึ้น เรื่องมีว่า ก่อนที่มังกยอชวา (พระโอรสของพระเจ้านันทบุเรง) จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพระมหาอุปราชนั้น ได้สมรสกับเจ้าหญิงของพระเจ้าอังวะ (ผู้เป็นน้องเขยของพระเจ้าบุเรงนอง) ซึ่งถ้าจะนับไปก็เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน

ตอนแรกก็อยู่ด้วยกันด้วยปกติสุข แต่พอมังกยอชวาได้รับตำแหน่งเป็นพระมหาอุปราชแล้ว ไปได้พระชายาใหม่อีกองค์หนึ่ง จึงเกิดหึงหวงถึงทะเลาะวิวาทกันขึ้นเนือง ๆ ระหว่างพระมหาอุปราชกับพระชายาองค์แรก ครั้งหนึ่งถึบกับทุบตีกัน นลาฏของพระชายาไปกระทบมุมพระเท่นเข้าถึงกับโลหิตไหล นางถือเป็นเรื่องใหญ่ เอาผ้าชุบโลหิตส่งไปทูลพระบิดาว่า ถูกพระสวามีกดขี่ข่มเหงอย่างแสนสาหัสถึงกับเลือดตกยางออก ทั้งพระเจ้านันทบุเรงก็ทรงเข้าด้วยกับพระมหาอุปราช ทำให้นางได้รับความอัปยศอดสูยิ่งนัก

เมื่อรูปการณ์เป็นเช่นนี้ พระเจ้าอังวะที่เคยเป็นอริกับพระเจ้านันทบุเรงอยู่แล้ว จึงคิดเอาใจออกห่างทันที เมื่อเกลี้ยกล่อมพวกข้าราชการเก่าแก่ในกรุงหงสาวดีและพวกไทยใหญ่เข้าเป็นพรรคพวกได้แล้วก็แข็งเมือง ไม่ยอมอ่อนน้อมต่อกรุงหงสาวดีอีกต่อไป ทั้งยังได้แต่งทูตไปชักชวนพระเจ้าแปร พระเจ้าตองอู และพระเจ้าเชียงใหม่ให้ร่วมด้วย แต่ผู้ครองแคว้นทั้งสามนี้ไม่ยอมทำตาม กลับจับทูตส่งไปถวายพระเจ้าหงสาวดี

เมื่อพระเจ้าหงสาวดีทราบว่ามีข้าราชการเก่าแก่ในกรุงหงสาวดีเข้ากับพระเจ้าอังวะ ก็ตรัสสั่งให้จับข้าราชการที่สงสัยพร้อมด้วยบุตรภรรยาไปเผาทั้งเป็นเสียอันมาก และให้เตรียมกองทัพเพื่อจะเสด็จไปตีเมืองอังวะ พร้อมกันนั้นได้ให้พระเจ้าแปร พระเจ้าตองอู พระเจ้าเชียงใหม่ พระเจ้าล้านช้าง พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา จัดกองทัพไปสมทบทัพหลวงที่กรุงหงสาวดีด้วย ทั้งนี้เพราะประสงค์จะพิสูจน์ว่า เจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว จะยังสวามิภักดิ์อยู่อย่างแต่ก่อนหรือไม่ไปด้วยในตัว

ชลอ ช่วยบำรุง ผู้เขียนบทความเรื่อง “พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวัน วลิต ตอนนุ่งโสร่ง” เผยแพร่ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกันยายน 2542 แสดงความเห็นว่า ตามที่ วัน วลิต ได้บันทึกนั้นน่าจะเป็นความคาดเคลื่อนจากการรับฟังคำบอกเล่าจากผู้อื่นมาโดยไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลหรือหาหลักฐานประกอบอย่างที่นักประวัติศาสตร์ทำกันในปัจจุบัน และหากพิจารณาจากมารยาทของสตรีไทยในสมัยก่อน ๆ จะเห็นว่าไม่ใคร่มีนิสัยทะเลาะกับสามี และเป็นไปไม่ได้ที่พระมหาจักรพรรดิจะยกเรื่องเล็กน้อยเช่นนี้ เป็นเหตุยกทัพไปรบราฆ่าฟันลูกเขยของพระองค์ได้ ชลอระบุว่า “…จะขัดกับธรรมเนียมไทย ๆ เรา หรือวัฒนธรรมไทยอย่างไรชอบกลอยู่”

ดังนั้น หลักฐานทางประวัติศาสตร์ใด ๆ จำต้องพิเคราะห์อย่างรอบคอบ และหาหลักฐานอื่นมาประกอบ เรื่องพระมหาธรรมราชาทะเลาะวิวาทพระวิสุทธิกษัตรีย์ถึงขั้นพระโลหิตไหลนี้ จึงเป็นข้อสังเกตว่าไม่น่าจะเป็นเรื่องจริงในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา 


อ้างอิง :

ชลอ ช่วยบำรุง. (2542, กันยายน). พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวัน วลิต ตอนนุ่งโสร่ง. ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 20 (ฉบับที่ 11) : หน้า 152-153.

วัน วลิต เป็นหลักฐานประเภทอะไร

หนังสือพระราชทานพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันวลิตนั้น เขียนเสด็จเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2183 เป็นเอกสารรายงานสำคัญจาก หัวหน้าสถานีการค้าฮอลันดาประจำประเทศสยามถึงผู้สำเร็จราชการรัฐแห่งเนเธอรแลนด์ในอินเดียตะวันออก นับเป็นเอกสารพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับเก่าที่สุดเท่าที่ค้นพบ

เยเรเมียส ฟาน ฟลิต ได้จดบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนไทยว่าอะไร

จดหมายเหตุวันวลิต เป็นจดหมายเหตุที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่งขึ้นด้วยภาษาฮอลันดาโดยนายเยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremais van Vliet) ชาวฮอลันดา เมื่อปี พ.ศ. 2183 โดยใช้ชื่อหนังสือว่า "The historical account of the war of Succession following the death of King Pra Interajasia, 22nd King of Ayuthian Dynasty" ...

จดหมายเหตุวันวลิตอยู่ในสมัยใด

จดหมายเหตุวันวลิต เขียนโดยชาววิลันดา ชื่อ วันวลิต เมื่อปี ค.ศ. ๑๖๔๗ (พ.ศ. ๒๑๙๐) กล่าวถึงประวัติศาสตร์ไทยปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมและการเกิดจลาจลในอาณาจักรสยาม จนถึงปลายสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

จดหมายเหตุฟานฟลีตเกี่ยวกับเรื่องอะไร

จดหมายเหตุของ ฟาน ฟลีต เป็นเรื่องเล่าทาง ประวัติศาสตร์ นอกจากมิติของเวลาตามล าดับอย่างพงศาวดาร แล้ว สิ่งส าคัญของงานเขียนนี้คือการเน้นเหตุการณ์และ บุคคล เหตุการณ์ส าคัญคือความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ภาพรวมของเหตุการณ์สะท้อนปรากฏการณ์ทางสังคม สองฝ่าย ส่วนในแง่บุคคล จดหมายเหตุฉบับนี้ได้น าเสนอ ให้เห็นบุคคลสองลักษณะคือ ...