การประยุกต์ใช้ ai ด้าน ทางการ ทหาร

1. การจัดตารางการบิน ของสายการบิน (Air traffic control system)

2. การกระจายสัญญาณจราจร เพื่อเสนอทางเลือกให้ผู้ใช้ยวดยาน (Intelligent highway)

3. การควบคุมลิฟต์  และระบบรักษาความปลอดภัยให้กับลูกค้า (Supervisory system)

4. การตรวจหาวัตถุระเบิด ในกระเป๋าผู้โดยสารที่ขึ้นเครื่องบิน

5. ด้านการแพทย์ มีการนำแขนกลเข้าไปช่วยการผ่าตัดซึ่งสามารถทำงาน
ได้ละเอียดกว่ามนุษย์มาก และข้อดีอีกประการคือการไม่มีความวิตกกังวล เกิดขึ้นในขณะทำงาน อย่างเช่นในมนุษย์ที่อาจจะก่อให้เกิดความผิดพลาด ในการทำงานได้

6. ด้านอุตสาหกรรม  เป็นการช่วยลดภาระทางต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก  ทั้งในงานบางประเภทที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือมีความเสี่ยงสูงจน
ไม่ค่อยมีใครอยากทำก็สามารถใช้หุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์มาทำงาน
แทนได้

7. ด้านการบันเทิง มีการสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถตอบโต้กับมนุษย์ได้
เป็นสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนเล่น

8. ทางการทหาร  นำมาประยุกต์ใช้เป็น เครื่องบินไร้คนขับ  รถถังไร้คนขับ โดยมีจุดประสงค์หลักในทางด้านความมั่นคง

เว็บไซต์ scmp.com (South China Morning Post) รายงานเมื่อ ๒๓ ส.ค. ๖๓ ว่าจีนได้กลายเป็นคู่แข่งที่แข็งแกร่งที่สุดของสหรัฐฯ ในด้านเทคโนโลยีทางทหารที่ล้ำสมัย อาทิ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีด้านควอนตัมคอมพิวเตอร์ แต่ผู้เชี่ยวชาญยังเห็นว่าความแข็งแกร่งของกองทัพจีนจะอ่อนด้อยลงในชัยภูมิที่ห่างไกลจากชายฝั่งของจีน โดยจากรายงานซึ่งเผยแพร่เมื่อต้น ส.ค. ๖๓ เรื่อง “Emerging Military Technologies: Background and Issues for Congress” ของหน่วยงานวิจัยของรัฐสภาสหรัฐระบุว่า สหรัฐเคยเป็นผู้นำในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง แต่จีนและรัสเซียเองก็กำลังพัฒนาในด้านนี้อย่างมากเช่นกัน  โดยเฉพาะความสำเร็จในด้าน AI ของจีน ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการต่อต้านการจารกรรมและการกำหนดเป้าหมายทางทหาร นอกจากนี้จีนยังพัฒนาขีปนาวุธข้ามทวีปติดหัวรบนิวเคลียร์ความเร็วเหนือเสียงรุ่น DF-41 ได้สำเร็จ และจีนได้กลายเป็นผู้นำระดับโลกด้านควอนตัมคอมพิวเตอร์ โดยรัฐบาลท้องถิ่นของจีนได้เพิ่มงบประมาณด้านวิจัยและพัฒนาขึ้นร้อยละ ๓ ซึ่งสวนทางกับรัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ที่ปรับลดงบประมาณด้านนี้ลง ส่งผลให้เมื่อปี ๒๕๖๒ นวัตกรรมและเทคโนโลยีมีส่วนถึงร้อยละ ๖๐ ในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจจีน

ด้านนาย Timothy Heath นักวิเคราะห์อาวุโสด้านการป้องกันระหว่างประเทศของสถาบันคลังสมองของ the Rand Corporation ของสหรัฐฯ ระบุว่า หากจีนมีความเท่าเทียมด้านเทคโนโลยีกับสหรัฐจะถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ต่อกองทัพสหรัฐฯ แต่ในกรณีทะเลจีนใต้และหมู่เกาะสแปรตลี กำลังทางอากาศและทางเรือของสหรัฐฯ ยังมีความได้เปรียบหากสหรัฐฯ มีฐานปฏิบัติการจากกองเรือบรรทุกเครื่องบินหรือจากฟิลิปปินส์ ด้านนาย Malcolm Davis นักวิเคราะห์อาวุโสของสถาบันนโยบายยุทธศาสตร์ของออสเตรเลียกล่าวว่ายุคสมัยที่เทคโนโลยีทางทหารของจีนล้าหลังกว่าสหรัฐฯ ได้สิ้นสุดลงแล้ว และไม่มีสิ่งใดรับประกันได้ว่าสหรัฐฯ และพันธมิตรจะเอาชนะในข้อขัดแย้งกับจีนได้ ขณะที่นาย Zhou Chenming ผู้เชี่ยวชาญทางทหารของจีนระบุว่า ความก้าวหน้าด้าน AI และควอนตัมคอมพิวเตอร์นั้นไม่จำเป็นต้องใช้ในด้านการทหารเท่านั้น โดยเทคโนโลยี AI สามารถช่วยในการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้ และควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัยสูง

สองสัปดาห์หลังจากที่รัสเซียบุกยูเครนในเดือนกุมภาพันธ์ Alexander Karp ซีอีโอของบริษัทวิเคราะห์ข้อมูล Palantir ได้นำเสนอต่อผู้นำยุโรป เมื่อสงครามใกล้เข้ามา ชาวยุโรปควรปรับปรุงคลังอาวุธของตนให้ทันสมัยด้วยความช่วยเหลือ จาก Silicon Valley

จดหมายเปิดผนึกเพื่อให้ยุโรปยังคงแข็งแกร่งพอที่จะเอาชนะภัยคุกคามจากการยึดครองของต่างชาติ Karp กล่าวว่า ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องยอมรับความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับรัฐ โดยเฉพาะด้านการทหาร

ยุโรปตอบสนองต่อเรื่องดังกล่าวทันที NATO ประกาศเมื่อวันที่ 30 มิถุนายนว่ากำลังสร้างกองทุนนวัตกรรมมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งจะลงทุนในสตาร์ทอัพระยะเริ่มต้นและกองทุนร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสำคัญ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ การประมวลผลบิ๊กดาต้า และระบบอัตโนมัติ

Alexander Karp ซีอีโอของบริษัทวิเคราะห์ข้อมูล Palantir (CR:LA Times)

นับตั้งแต่สงครามเริ่มต้น สหราชอาณาจักรได้เปิดตัวกลยุทธ์ AI แบบใหม่สำหรับการป้องกันประเทศโดยเฉพาะ และชาวเยอรมันได้ทุ่มงบประมาณให้กับการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในวงเงิน 100,000 ล้านดอลลาร์แก่กองทัพของพวกเขา

“สงครามเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง” Kenneth Payne ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัยการศึกษาด้านการป้องกันประเทศที่คิงส์คอลเลจลอนดอน และเป็นผู้เขียนหนังสือ I, Warbot: The Dawn of Artificially Intelligent Conflict กล่าว

สงครามในยูเครนได้เพิ่มความเร่งด่วนในการผลักดันเครื่องมือ AI ให้มากขึ้นในสนามรบ ผู้ที่ทำกำไรได้มากที่สุดคือสตาร์ทอัพอย่าง Palantir ซึ่งหวังว่าจะได้เงินจากการที่กองทัพแข่งขันกันเพื่อปรับปรุงคลังแสงของตนด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด

แต่ความกังวลด้านจริยธรรมที่มีมายาวนานเกี่ยวกับการใช้ AI ในการทำสงครามได้กลายเป็นเรื่องเร่งด่วนมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ความคาดหวังของข้อจำกัดและข้อบังคับในการควบคุมการใช้งานนั้นดูห่างไกลออกไปเรื่อย ๆ

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับการทหารนั้นไม่เป็นมิตรเสมอไป ในปี 2018 หลังจากการประท้วงและความไม่พอใจของพนักงาน Google ที่ทำให้ต้องถอนตัวจาก Project Maven ของเพนตากอน

การประท้วงและความไม่พอใจของพนักงาน Google (CR:GettyImage)

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดการถกเถียงกันอย่างดุเดือดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและศีลธรรมในการพัฒนา AI สำหรับเรื่องอาวุธที่จะมาทำลายล้างมนุษย์

นอกจากนี้ยังมีการนำนักวิจัย AI ที่มีชื่อเสียงเช่น Yoshua Bengio ผู้ชนะรางวัล Turing Prize และ Demis Hassabis, Shane Legg และ Mustafa Suleyman ผู้ก่อตั้ง DeepMind ห้องปฏิบัติการ AI ชั้นนำ ที่ได้ให้สัญญาว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวเกี่ยวกับ AI ที่สร้างความรุนแรง

แต่สี่ปีต่อมา ซิลิคอนแวลลีย์ใกล้ชิดกับกองทัพบกมากกว่าที่เคย Yll Bajraktari ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเป็นกรรมการบริหารของคณะกรรมการความมั่นคงแห่งชาติด้าน AI (NSCAI) ของสหรัฐฯ กล่าว

ในทุกวันนี้ไม่ใช่แค่บริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น บริษัทสตาร์ทอัพขนาดเล็กกำลังเริ่มเข้ามาในวงการนี้มากยิ่งขึ้น

Yll Bajraktari ซึ่งตอนนี้ได้กลายเป็นกลุ่มที่ล็อบบี้สำหรับการนำ AI มาใช้มากขึ้นทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา

——————————————–

ทำไมต้อง AI

——————————————–

บริษัทที่ขายเทคโนโลยี AI ทางการทหารต่างโฆษณาโอ้อวดในสิ่งที่เทคโนโลยีสามารถทำได้ พวกเขาบอกว่าสามารถช่วยได้ทุกอย่างตั้งแต่เรื่องธรรมดาไปจนถึงเรื่องที่ร้ายแรงมาก ๆ

ไล่มาตั้งแต่การคัดกรองประวัติไปจนถึงการประมวลผลข้อมูลจากดาวเทียม หรือการจดจำรูปแบบในข้อมูล เพื่อช่วยให้ทหารตัดสินใจได้เร็วขึ้นในสนามรบ

ซอฟต์แวร์จดจำภาพสามารถช่วยระบุเป้าหมายได้ โดรนไร้คนขับสามารถใช้สำหรับการเฝ้าระวังหรือโจมตีบนบก ทางอากาศ หรือในน้ำ หรือเพื่อช่วยให้ทหารส่งมอบเสบียงได้อย่างปลอดภัยมากกว่าเดิม

เทคโนโลยีเหล่านี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นในสนามรบ และกองทัพกำลังอยู่ในช่วงของการทดลอง Payne กล่าว ซึ่งบางครั้งก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก มีตัวอย่างมากมายเกี่ยวกับแนวโน้มของบริษัท AI ที่โฆษณาเว่อร์เกินจริง

และที่สำคัญเขตการต่อสู้อาจเป็นพื้นที่ที่ท้าทายทางเทคนิคมากที่สุดในการปรับใช้ AI เนื่องจากมีข้อมูลการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งอาจทำให้ระบบอัตโนมัติที่คุ้ยโม้โอ้อวดไว้นั้นเกิดความล้มเหลวได้ เพราะพื้นที่เหล่านี้นี้มีลักษณะที่ซับซ้อนและคาดเดาไม่ได้

ตามรายงาน ของ Georgetown Center for Security and Emerging Technologies รายงานว่ากองทัพจีนใช้จ่ายเงินอย่างน้อย 1.6 พันล้านดอลลาร์ต่อปีและในสหรัฐฯ มีการผลักดันอย่างมีนัยสำคัญเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในเรื่องงบประมาณดังกล่าว

กองทัพจีนใช้จ่ายเงินอย่างน้อย 1.6 พันล้านดอลลาร์ต่อปีในด้านเทคโนโลยี AI ด้านการทหาร (CR:EurAsian Times)

Lauren Kahn นักวิจัยคนหนึ่งกล่าวที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้ร้องของบประมาณ 874 ล้านดอลลาร์สำหรับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในปี 2022 แม้ว่าตัวเลขดังกล่าวไม่ได้สะท้อนถึงยอดรวมที่แท้จริงของการลงทุนด้าน AI ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ

ไม่ใช่แค่กองทัพสหรัฐฯ เท่านั้นที่เชื่อมั่นในความต้องการด้านนี้ Heiko Borchert ผู้อำนวยการร่วมของ Defense AI Observatory ที่มหาวิทยาลัย Helmut Schmidt ในเมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี กล่าวว่า ประเทศต่างๆ ในยุโรปซึ่งมีแนวโน้มจะระมัดระวังในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มากขึ้น ก็กำลังใช้จ่ายเงินไปกับ AI มากขึ้นเช่นกัน

ฝรั่งเศสและอังกฤษระบุว่า AI เป็นเทคโนโลยีการป้องกันที่สำคัญ และคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป ได้จัดสรรเงิน 1 พันล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการป้องกันประเทศใหม่

——————————————–

บทสรุป

——————————————–

ในที่สุด ยุคใหม่ของ AI ทางการทหารทำให้เกิดคำถามทางจริยธรรมซึ่งเรายังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนนักหากเกิดสงครามขึ้นมาจริง ๆ ในแต่ละประเทศที่มีเทคโนโลยีเหล่านี้จะคำนึงถึงเรื่องจริยธรรมมากน้อยขนาดไหน หนึ่งในคำถามเหล่านั้นคือเราต้องการให้กองกำลังติดอาวุธเป็นระบบอัตโนมัติจริง ๆ หรือไม่

ในอีกด้านหนึ่ง ระบบ AI อาจลดจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยการทำให้สงครามมีเป้าหมายมากขึ้น ไม่กวาดล้างแบบมั่วซั่วเหมือนในอดีตที่คร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปเป็นจำนวนมาก

แต่ในอีกทางหนึ่ง พวกเรากำลังสร้างกองกำลังหุ่นยนต์รับจ้างอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อต่อสู้ในนามของเรา มันทำให้สังคมของพวกเราห่างไกลจากผลของความรุนแรงได้จริง ๆ หรือไม่ สงครามใหญ่ที่เกิดขึ้นในครั้งหน้าจะให้คำตอบเราได้นั่นเองครับผม

References :

https://www.nato.int/cps/en/natohq/news_197494.htm

https://www.technologyreview.com/2022/07/07/1055526/why-business-is-booming-for-military-ai-startups/