พระราชนิพนธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 มีเรื่องอะไรบ้าง

บทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีที่มาจากนิทานอิงพงศาวดารชวา  ซึ่งแพร่หลายเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ปรากฏเป็นบทนิพนธ์เรื่องอิเหนาเล็กของเจ้าฟ้ามงกุฏ และเรื่องอิเหนาใหญ่หรือดาหลังของเจ้าฟ้ากุณฑล  พระธิดาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ซึ่งเป็นยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงรวบรวมเรื่องอิเหนาเล็กสมัยอยุธยามาเรียบเรียงขึ้นใหม่เพื่อรักษาเป็นสมบัติของชาติ  ทรงนำอิเหนาเล็กมาพระราชนิพนธ์เป็นบทละคร

บทละครเรื่องอิเหนา  พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1  ฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 6 ตอน ดังนี้

1. ตอนตั้งวงศ์เทวา จนถึงอิเหนาไปอยู่เมืองหมันหยาครั้งแรก

2. ตอนเข้าห้องจินตะหรา  จนถึงอิเหนาตอบสารกุเรปันตัดอาลัยบุษบา

3. ตอนวิหยาสะกำเที่ยวป่า จนถึงท้าวหมันหยารับสารกุเรปัน

4. ตอนศึกกะหมังกุหนิง

5. ตอนเข้าเมืองมะละกา  จนถึงอุณากรรณขึ้นเขาประจาหงัน

6. ตอนย่าหรันตกไปเมืองมะงาดา  จนถึงระเด่นดะราหวันตามย่าหรันมาเมืองกาหลัง

พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระ. อิเหนา. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2516.

พระราชนิพนธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 มีเรื่องอะไรบ้าง

พระราชนิพนธ์ ร.๒

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงครองราชย์เป็นเวลา ๑๕ ปี ชั่วระยะเวลาที่พระองค์ครองราชย์อยู่นั้นนับว่าประเทศอยู่บนสถานภาพปกติสุข ว่างเว้นจากการสงคราม

พระราชนิพนธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 มีเรื่องอะไรบ้าง
พระองค์จะทรงทำนุบำรุงประเทศชาติในด้านศิลป วรรณคดี และสถาปัตยกรรมดังเป็นที่ปรากฏวรรณคดีในสมัยของพระองค์รุ่งเรืองถึง
พระราชนิพนธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 มีเรื่องอะไรบ้าง
ขีดสุด และถือเป็นแบบฉบับอันยอดเยี่ยมไม่ว่าจะเป็นคำกลอน ละครนอกละครใน เสภา นิราศ กาพย์ ฉันท์ ลิลิต โครงสี่สุภาพ หรือโครงด้น ในทางนาฏศิลป ทรงปรับปรุงการละครจนถึงขั้นมาตรฐานทั้งในคำร้องและทำนองรำ พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้หลายเรื่องคือ

  • เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอน ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างแล้วเข้าห้องนางแก้วกิริยากับตอนขุนแผนพานางวันทองหนี
  • บทละครเรื่องอิเหนา
  • บทละครเรื่องไชยเชษฐ์ สังข์ทอง คาววี ไกรทอง มณีพิชัย
  • กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน
  • บทพากย์โขน ตอน พรหมาพัตร์ นากบาส นางลอย และเอราวัณ

บทละครเรื่องอิเหนานับว่าเป็นประโยชน์ต่อวงการดนตรีไทยอย่างยิ่ง เพราะนักร้องและนักดนตรีไทยได้คัดเลือกเอาบทต่างๆ ในบทละครรำเรื่องนี้ไปใช้ในบทขับร้องเพลงกล่อมนารี เขมรฝีแก้วทางสักว่า เขมรราชบุรี แขกมอญ แขกอาหว้งครุ่นคิด ต้นบรเทศ ถอนสมอ ทยอยเขมร เทพไสยาสน์ เทพรัญจวน ธรณีร้องไห้ นางครวญ บังใบ บุหลันแปดบท ลมพัดชายเขา ล่องลม สาวน้อยเล่นน้ำ สี่บทและหกบท เป็นต้น ซึ่งแต่ละเพลงมีเนื้อร้องที่ไพเราะ เหมาะสมอย่างยิ่ง เช่น

บทร้องเพลงธรณีร้องไห้เถา

แล้วว่าอนิจจาความรัก  พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล
ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป  ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา
สตรีใดในพิภพจบแดน  ไม่มีใครได้แค้นเหมือนอกข้า
ด้วยใฝ่รักให้เกินพักตรา  จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์
โอ้ว่าเสียดายตัวข้านัก  เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงช้ำจิต
จะออกชื่อลือทั่วไปชั่วทิศ  เมื่อพลั้งคิดผิดแล้วจะโทษใคร

บทร้องเพลงใบบังเถา

น้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลา  แหวกว่ายปทุมมาอยู่ไหวไหว
นิลุมลพ้นน้ำอยู่ร่ำไร  ตูมตั้งบังใบอรชร
เหล่าขาวเหล่าแดงสลับสี  คลายคลี่คลายแย้มเกสร
บัวเผื่อนเกลื่อนกลาดในสาคร  บังอรเก็บเล่นกับนารี
นางทรงหักห้อยเป็นสร้อยบัว  สวมตัวกำนัลสาวศรี
ปลิดกลีบประมาณมากมี  นารีลอยเล่นเป็นนาวา

บทละครนอก คือละครที่ราษฎรเล่นกันในพื้นเมือง ตัวละครเป็นผู้ชายทั้งนั้น (ส่วนบทละครใน คือละครผู้หญิงของหลวงสำหรับเล่นกันในพระราชพิธี เล่นแต่เรื่องรามเกียรติ์ เรื่องอุณรุท เรื่องอิเหนา ๓ เรื่องเท่านั้น ) บางเรื่องเชื่อถือกันว่าเป็นเรื่องจริง ดังเช่นเรื่อง สังข์ทอง และเรื่องไกรทอง

พระราชนิพนธ์บทละครนอก ได้แก่ เรื่องสังข์ทอง, เรื่องไชยเชษฐุ์, เรื่องไกรทอง, เรื่องมณีพิชัย, เรื่องคาวี, เรื่องสังข์ศิลป์ชัย ซึ่งทั้ง ๖ เรื่องไม่ปรากฏว่า จะทรงพระราชนิพนธ์เรื่องไหนก่อนเรื่องไหนทีหลังเรื่องสังข์ทอง ทรงพระราชนิพนธ์เป็นหนังสือ ๖ เล่ม สมุดไทย

  • กำเนิดพระสังข์
  • ถ่วงพระสังข์
  • นางพันธุรัตเลี้ยงพระสังข์
  • พระสังข์หนีนางพันธุรัต
  • ท้าวสามนต์ให้นางทั้ง เจ็ดเลือกคู่
  • พระสังข์ได้นางรจนา
  • ท้าวสามนต์ให้ลูกเขยหาเนื้นหาปลา
  • พระสังข์ตีคลี
  • ท้าวยศวิมลตามพระสังข์

เรื่อง ไชยเชษฐุ์ ทรงพระราชนิพนธ์ชั้นเดิม ๔ เล่ม สมุดไทยแล้วทรงแก้ไขตัดทอนอีกครั้งหนึ่งคงเป็นหนังสือ ๓ เล่ม สมุดไทย ด้วยเหตุนี้พระราชนิพนธ์เรื่องไชยเชษฐุ์จึงมี ๒ ความ แต่ละครมักเล่นตามความฉบับ ๓ เล่ม สมุดไทยที่ทรงแก้ไขใหม่

  • นางสุวิญชาถูกขับไล่
  • พระไชยเชษฐุ์ตามนางสุวิญชา
  • พระไชยเชษฐุ์เข้าเฝ้าท้าวสิงหล
  • อภิเษกพระไชยเชษฐุ์

เรื่องไกรทอง ทรงพระราชนิพนธ์เป็นหนังสือ ๒ เล่ม สมุดไทย

  • นางวิมาลาตามไกรทองมาจากถ้ำ
  • ไกรทองตามนางวิมาลากลับไปถ้ำ

เรื่องมณีพิชัย ทรงพระราชนิพนธ์เป็นหนังสือ ๑ เล่ม สมุดไทย

  • พราหมณ์ยอพระกลิ่นขอมณีพิชัยไปเป็นทาส

เรื่องคาวี ทรงพระราชนิพนธ์เป็นหนังสือ ๔ เล่ม สมุดไทย

  • ท้าวสันนุราชหานางผมหอม
  • ท้าวสันนุราชชุบตัว
  • นางคันธมาลีขึ้นเฝ้า
  • พระคาวีรบกับไวยทัต

เรื่องสังข์ศิลป์ชัย กล่าวกันว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งถวายเมื่อยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นแต่ทรงพระราชนิพนธ์แก้ไข เป็นหนังสือ ๒ เล่ม สมุดไทย

  • สังข์ศิลป์ชัยตกเหว
  • ท้าวเสนากุฎเข้าเมือง

พระราชนิพนธ์บทละคร ต่างๆ ในรัชกาลที่ ๒

พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพิทักษ์ภาษาไทยไม่เสื่อมสูญ ทรงรวบรวมวรรณคดีมีเพิ่มพูน ให้จำรูญงามงดบทร้อยกรอง ทรงเสริมสร้างของเก่าเอามาไว้ แต่งเติมให้ดีไม่มีหมอง ทรงเกื้อกูลกวีไทยให้เรืองรอง เป็นยุคทองยิ่งกว่าที่เคยมีมา ทรงพระราชกำหนดกฎหมายใหม่ ให้คนไทยเลิกฝิ่นสิ้นปัญหา เพื่อขจัดโจรภัยให้สร่างซา ชาวประชาไม่หลงลงอบาย รัชกาลของพระองค์ทรงเดชเปี่ยม พม่าเยี่ยมเยือนสัมพันธ์มั่นมุ่งหมาย แม้นพระยาช้างเผือกหลายเชือกกราย มาถวายใต้เบื้องพระบาทา จึงทรงใช้ธงช้างอย่างธงชาติ สัญลักษ์ประกาศพิลาศหนา จีนอังกฤษเป็นไมตรีมีสัญญา บ้านเมืองจึงวัฒนาก้าวมาไกลฯ

จากหนังสือ ประชุมบทกวีนิพนธ์ สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์

พระราชนิพนธ์ บทละครเรื่องอิเหนา

“เมื่อนั้น  องค์ประไหมสุหรีเฉิดฉัน สถิตในพลับพลาอารัญ ครั้นรุ่งสุริยันตรัจไตร จึงมีมธุรสพจนา แก่เด่นบุษบาศรีใส ลูกรักของแม่ดังดวงใจ เจ้าจะไปเที่ยวเล่นก็ตามที จะได้ชมสถานศาลเทวา ลงสรงคงคาในสระศรี ประพาสพรรณบุหงาบรรดามี แล้วจึงจรลีกลับมา”

จากหนังสือ ภาษากวี โดย ประสิทธิ์ กาพย์กลอน

เรื่องสังข์ทอง ความบางตอน  กำเนิดพระสังข์

มาจะกล่าวบทไป สุราลัยในดาวดึงส์สวรรค์ เมื่อผลจะสิ้นพระชนม์นั้น อัศจรรย์ร้อนรนเป็นพ้นไป รัศมีศรีตนก็หม่นหมอง  สิ่งของของตัวก็มัวไหม้ เทวาตระหนกตกใจ แจ้งในพระทัยจะวายชนม์ แล้วจึงตรึกตรองส่องเนตร  แจ้งใจในเหตุเภทผล พระเจ้าท้าวยศวิมล เสสรวงบวงบนแก่เทวัญ เทวาจะมานิมนต์เรา ให้พรากจากดาวดึงส์สวรรค์ อย่าเลยจะจุติพลัน อย่าให้เทวัญทันนิมนต์ ลงไปเกิดในมนุสสา แสวงหาศิลทานการกุศล คิดแล้วกลั้นใจให้วายชนม์  ปฏิสนธิ์ยังครรภ์กัลยา

ฯ ๑๐ คำ ฯ คุกพาทย์

เรื่องไชยเชษฐุ์ ความบางตอน นางสุวิญชาถูกขับไล่

ครั้นถึงจึงเห็นนางสุวิญชา้  ยิ่งโกรธาหุนหันหมั่นไส กระทืบบาทกึกก้องทั้งห้องใน ชี้หน้าว่าไปกับนงลักษณ์ เสียแรงเราชุบเลี้ยงถึงเพียงนี้  ควรหรือมีลูกอ่อนเป็นท่อนสัก ให้อับอายขายหน้านักหนานัก สิ้นรักใคร่กันแล้ววันนี้ แม้นเลี้ยงไว้ในเมืองจะเลื่องลือ ขึ้นชื่อว่าเป็นเมียเสียศักดิ์ศรี ชองแต่สังหารผลาญชีวี  ภูมีฮึดฮัดขัดแค้นใจ

ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา

เรื่องไกรทอง ความบางตอน  นางวิมาลาตามไกรทองมาจากถ้ำ

คิดพลางทางเรียกวิมาลา เข้ามาแล้วแจ้งแถลงไข พี่รักนางพ่างเพียงจะกลืนไว้ หมายจะไม่จากกันคุ้งวันตาย แต่จนใจที่จะอยู่ในคูหา  เวทมนตร์เรียนมาจะเสื่อมหาย จำเป็นจำไปใจเสียดาย ไม่เคยขาดคลาดคลายสักเวลา ขอเชิญดวงใจไปด้วยพี่  เป็นที่สนิทเสน่หา พี่จะเลี้ยงเจ้าเป็นภรรยา แก้วตาอย่าละห้อยน้อยใจ

ฯ ๖ คำ ฯ

เรื่องคาวี ความบางตอน  ท้าวสันนุราชหานางผมหอม

โอ้ว่านวลน้องเจ้าของผม  ถ้าได้ชมจะถนอมเป็นจอมขวัญ เกศาหอมฟุ้งดังปรุงจันทน์  จะทรงโฉมโนมพรรณฉันใด ทรวดทรงสูงต่ำดำขาว ชันษาแก่สาวสักคราวไหน แม้รู้ว่าอยู่บุรีใด พี่จะไปติดตามเจ้าทรามชน ถึงจะเป็นกระไรก็ไม่ว่า แต่ให้ได้เห็นหน้าเจ้าของผม คิดละห้อยละเหี่ยเสียอารมณ์  ร้องไห้ร้องห่มไม่สมประดี

ฯ ๖ คำ ฯ โอด

เรื่องสังข์ศิลป์ชัย ความบางตอน สังข์ศิลป์ชัยตกเหว

ศรีสันท์จึงว่าไปทันที วันนี้สิงหราหาอยู่ไม่ ไปเที่ยวหาอาหารที่ในไพร  ทิ้งสังข์ศิลป์ชัยไว้พลับพลา เราจะยียวนชักชวนมัน ไปเก็บพรรณผลไม้บนภูผา ผลักให้ตกเหวมรณา  จึงกลับมาพาพระอาไป อันนางสุพรรณเทวี  จะพ้นมือพี่ไปที่ไหน ต่างเห็นชอบชวนกันดีใจ มาหาสังข์ศิลป์ชัยฉับพลัน

ฯ ๖ คำ ฯ เพลง

ข้อมูลจาก บทละครนอก พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สำนักพิมพ์ ศิลปาบรรณาคารพิมพ์จำหน่าย พุทธศักราช ๒๕๔๕

โพสต์ที่ผ่านมา

พระอัจฉริยภาพ

รัชกาลที่ 1 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ขึ้นในโอกาสใด

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้น นอกจากเพื่อใช้เป็นบทละครสําหรับเล่นละครในแล้ว บทละครเรื่องรามเกียรติ์ยังน่าจะเป็นสัญลักษณ์ทางการเมือง “เรื่องพระราม” ในรัชกาลของพระองค์ด้วยเช่นเดียวกัน ดังที่ สมบัติ จันทรวงศ์ ได้เคยวิเคราะห์ไว้ว่า “…

รัชกาลใดที่ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร 4 เรื่อง

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระรามเดินดง เป็นพระบรมราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 เพื่อเล่นละครใน ผู้เขียน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

วรรณกรรมใดเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒) ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ขึ้นเพื่อใช้ในพิธีสมโภชพระนครใหม่ คือ กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๒๘ - ๒๓๒๙ เนื้อเรื่องประกอบด้วยเรื่องราวน่ารู้ต่างๆ เริ่มด้วยหิรัญยักษ์ม้วนแผ่นดิน และกำเนิดตัว ละครสำคัญๆ ทั้งฝ่ายยักษ์ ลิง และ ...

รัชกาลที่ 1 ทรงใช้วรรณกรรมเรื่องใดในการปลุกใจเรื่องการศึกสงคราม

ราชาธิราชยุทธนา แปลจากราชาธิราชฉบับภาษาพม่าโดย วิรัช นิยมธรรม (พ.ศ. 2552)