นโยบายการคลังมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

นโยบายการคลังมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

นโยบายการคลังมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

นโยบายการเงินคืออะไร นโยบายการคลังคืออะไร

คำว่านโยบายการเงินและการคลังเป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนอาจได้ยินอยู่บ่อยและพอจะเข้าใจว่าคืออะไร แต่หากจะอธิบายรายละเอียดปลีกย่อย และเปรียบเทียบหลักการใช้นโยบายทั้งสองรูปแบบแล้ว เราอาจจำเป็นต้องเรียนรู้ วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และรับมือกับการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาของนโยบายการเงินการคลังที่การตัดสินใจมาจากธนาคารกลางแห่งประเทศไทย

นโยบายการเงิน

คือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงิน ได้แก่ ปริมาณเงิน (Money supply) อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) และอัตราดอกเบี้ย (Interest rate) ทำโดยการปรับลดเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจที่จะมีผลต่อการกำหนดทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนให้แข็งค่าหรืออ่อนค่า และการปรับลด – เพิ่มของอัตราดอกเบี้ย ตอบสนองต่อภาวะเงินเฟ้อ หรือเงินฝืด ซึ่งเป็นหน้าที่ของธนาคารกลาง หรือธนาคารแห่งประเทศไทยในการกำหนดทิศทางของการดำเนินนโยบาย

ยกตัวอย่างเช่น
1. อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) กำหนดให้คงที่ หรือ อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว มีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าหรืออ่อนค่า เช่น กรณีค่าเงินบาทอ่อนค่า ก็จะทำให้สามารถส่งออกสินค้าได้มากขึ้น เนื่องจากเงินสกุลอื่นจะมีมูลค่ามากขึ้น สามารถซื้อของจากประเทศไทยได้มากขึ้น
2. อัตราดอกเบี้ย (Interest rate) กำหนดให้ปรับลด หรือเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เช่น กรณีเมื่อมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนักลงทุนก็จะกู้เงินมาลงทุนมากขึ้น เนื่องจากดอกเบี้ยต่ำ ตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์การลงทุนจะก่อให้เกิดการกระตุนเศรษฐกิจ ผ่านภาคการผลิตและการบริโภค เป็นต้น

นโยบายการคลัง

คือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการหารายได้ และรายจ่ายของรัฐบาล รายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลมาจากการเก็บภาษี (Tax) ประเภทต่าง ๆ เช่น ภาษีสรรพาสามิต ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการปรับสมดุลทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง หรือที่เรียกว่าการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เมื่อรัฐบาลตัดสินใจเพิ่มหรือลดภาษี ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น การขึ้นอัตราภาษีมีผลให้เงินสดที่อยู่ในมือเราลดลง เนื่องจากรายได้ส่วนหนึ่งต้องนำไปจ่ายภาษีมากขึ้น เงินที่เหลือจะใช้จ่ายก็จะลดลง ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว

นโยบายการคลังสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท เช่น เดียวกับนโยบายการคลัง ได้แก่
1. นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary fiscal policy) คือ การที่รัฐบาลใช้จ่ายมากกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ หรือที่เรียกว่า “งบประมาณขาดดุล” (deficit budget) กรณีนี้จะใช้เมื่อเศรษฐกิจถดถอย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เปรียบเสมือนการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ
2. นโยบายการคลังแบบหดตัว (contractionary fiscal policy) คือ การที่รัฐบาลจ่ายน้อยกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ หรือการเพิ่มภาษีเพื่อดูดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ อาจจะเรียกว่า งบประมาณเกินดุล (surplus budget) จะใช้ก็ต่อเมื่อยามที่เกิดปัญหาเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจ

ดังนั้น นโยบายการเงินการคลังที่ตัดสินใจโดยธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นสำคัญอย่างยิ่ง กระทบต่อค่าครองชีพ เสถียรภาพของเศรษฐกิจ คุณภาพความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศ เราในฐานะพลเมืองที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายเหล่านี้ไม่ว่าจะในเชิงบวกหรือลบ จำเป็นต้องคอยติดตามการตัดสินใจและดำเนินนโยบายเพื่อปรับตัวเข้ากับความเป็นไปได้ที่กำลังจะเกิดขึ้น หลังนโยบายนั้นถูกบังคับใช้

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

อ้างอิง
KNationBlog, ความแตกต่างของนโยบายการเงินและการคลัง, อ้างอิงจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/srcecon/2015/04/30/entry-1
Stock2morrow, นโยบายการเงินการคลังต่างกันอย่างไร, อ้างอิงจาก https://www.stock2morrow.com/discuss/index.php/room/1/topic/24322
BOT, นโยบายการเงิน, อ้างอิงจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Pages/default.aspx

อัพเดทล่าสุดเมื่อ : 30 เมษายน 2022

บทความที่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับผู้เขียน

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน

นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) 

นโยบายการคลัง คือ นโยบายเกี่ยวกับการใช้จ่ายและการหารายได้ของรัฐบาล นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือสำคัญเครื่องมือหนึ่งในการทำงานของรัฐบาลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่ได้กำหนดไว้

วัตถุประสงค์ของนโยบายการคลัง

  1. ส่งเสริมการจัดสรรทรัพยากรระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาลให้มีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดี จัดสรรทรัพยากรในสัดส่วนที่ทำให้สังคมได้รับสวัสดิการและมีประสิทธิภาพสูงสุด รัฐสามารถจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะ (Public goods and service) ในปริมาณและคุณภาพตรงกับความต้องการของประชาชน

  2. ส่งเสริมการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม แต่ละกลุ่มจะได้รับประโยชน์และภาระที่เป็นธรรม นโยบายการคลังจะนำไปสู่การปรับปรุงการกระจายรายได้เบื้องต้นของประชาชนให้ทัดเทียมกัน

  3. เสริมสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลสามารถใช้นโยบายการคลังเพิ่มการใช้จ่ายและขยายการลงทุนในภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การลงทุนและการผลิตของภาคเอกชน

  4. รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นโยบายการคลังสามารถใช้ในการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพในตลาดเงิน และความสมดุลในบัญชีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

เป้าหมายทางด้านเศรษฐกิจมหภาคของรัฐบาล เช่น

  • การเพิ่มระดับการจ้างงาน
  • รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ

นโยบายคลังมี 2 ประเภทคือ 

  1. นโยบายการคลังแบบขยายตัว (expansionary fiscal policy) คือการที่รัฐบาลมีการใช้จ่ายมากกว่ารายได้ของรัฐบาลหรือการตั้งงบประมาณแบบขาดดุลซึ่งรัฐบาลมีความต้องการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ การใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัวจะใช้เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือเกิดภาวะเงินฝืดและรัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เจริญเติบโต
  2. นโยบายการคลังแบบหดตัว (Contractionary Fiscal Policy)  คือการที่รัฐบาลมีการใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ของรัฐบาลคือการตั้งงบประมาณแบบเกินดุลรัฐบาลต้องการดึงเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ รัฐบาลจะใช้นโยบายนี้เมื่อเกิดปัญหาเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจและรัฐบาลต้องการชะลอการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

นโยบายการคลังประกอบด้วย 

  1. การเก็บภาษีอากร
  2. การใช้จ่ายของรัฐบาล
  3. การก่อหนี้สาธารณะ
  4. การบริหารเงินคงคลัง