ตัวอย่างเค้าโครงโครงงานประดิษฐ์

1. ชื่อโครงงาน  ชะลอความเหี่ยวของดอกกุหลาบด้วยยาพาราเซตามอน

2. สาขาวิชา / ประเภทโครงงาน เป็นโครงงานประเภทการทดลอง

3. ระดับชั้น ........................................................................................

4. คณะผู้จัดทำ

1. ……………………...................................………………… ( หัวหน้ากลุ่ม )

2. ……………………...................................…………………

3. ……………………...................................…………………

4. ……………………………...................................…………

5.  อาจารย์ที่ปรึกษา.............................................................................

6. บทคัดย่อ ( เรื่องที่จะดำเนินการทำ  )

เพื่อศึกษาระดับความเข้มข้นของสารละลายยาพาราเซตามอนที่มีผลต่อความสดของดอกกุหลาบ

7. จุดมุ่งหมายของการศึกษา

ความเข้มข้นของสารละลายยาพาราเซตามอนระดับใด  ที่สามารถทำให้ดอกกุหลาบที่ปักในแจกันมีความสดอยู่นาน

8. สมมุติฐาน

สารละลายยาพาราเซตามอนน่าจะชะลอการเหี่ยวเของดอกกุหลาบที่ปักในแจกันได้

9.  แนวคิด ที่มา และความสำคัญ

การยืดอายุการเหี่ยวของดอกกุหลาบด้วยการใช้ยาพาราเซตามอน  เพื่อการเก็บรักษาดอกไม้ให้สวยงาม สดทนต้องลองทดลอง หรือทดสอบก่อน โดยการใช้สารละลายยาพาราเซตามอน  ในปริมาณความเข้มข้นที่ต่างกัน เพื่อทดสอบดูว่าสารละลายยาพาราเซตามอน  ในระดับใดที่จะช่วยชะลอการเหี่ยวของดอกกุหลาบได้ดีที่สุด 

10. หลักการและทฤษฎี หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ชื่อหนังสือเอกสารอ้างอิง

1. ความรู้เกี่ยวกับยาพาราเซตามอน

2. ความรู้เกี่ยวกับดอกกุหลาบ

3. ผลการทดลองของคนอื่นๆ ที่คล้ายๆ กับการทดลองนี้ (ใช้สารอะไรชะลอการเหี่ยว ชะลอได้กี่วัน)

11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของโครงงานนี้

1. รู้ข้อมูลเกี่ยวกับการยืดอายุการเหี่ยวของดอกกุหลาบด้วยการใช้ยาพาราเซตามอน

2. ประหยัดการซื้อดอกกุหลาบมาปักแจกัน

12. อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

1. ยาพาราเซตามอน                              2. เครื่องชั่งสาร

3. น้ำกลั่น                                             4. กระบอกตวงปริมาตร

5. หลอดทดลอง ( ใช้แทนแจกัน )           6. ดอกกุหลาบ

13.  งบประมาณที่ใช้ในการทดลอง

ประมาณ ………........................……….. บาท

14.  การกำหนดตัวแปรที่จะศึกษา

ตัวแปรต้น ได้แก่ ระดับความเข้มข้นของยาพาราเซตามอน เช่น 0, 0.5 , 1.0 , 1.5 , 2.0 เปอร์เซ็นต์

ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสดของดอกกุหลาบในแจกันที่แช่ในสารละลายยาพาราเซตามอน

ตัวแปรควบคุม ได้แก่ ชนิดของยาพาราเซตามอน  ชนิดและจำนวนดอกกุหลาบ น้ำกลั่นอย่างเดียว (ความ เข้มข้น 0 เปอร์เซ็นต์)

15. วิธีการดำเนินการทดลอง และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

1. นำดอกกุหลาบทีมีจำนวนเท่าๆ กันและเป็นชนิดเดียวกันมาปักใน แจกัน

2. นำสารละลายพาราเซตามอลที่มีความเข้มข้นต่างกันมาทำการทดลอง

3. สังเกตและบันทึกผล

ความเข้มข้นยาพาราเซตามอน (%)

วันที่เหี่ยว

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

ครั้งที่ 4

0

0.5

1.0

1.5

16. การวางแผนระยะเวลาทดลอง

ใช้เวลา ประมาณ 3 - 6 วัน