ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 เรียกอีกอย่าง ตามข้อใด

กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127......ประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทยในสมัย ร.5

กฎหมายของไทยในสมัยอดีตในยุคก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ได้มีการใช้พระราชศาสตร์ มาเป็นแนวทางในการปกครองบ้านเมือง  ซึ่งเป็นกฎหมายที่พระเจ้าแผ่นดินสร้างขึ้นจากการพิจารณา และคำตัดสินในเหตุการณ์ต่าง ๆ
และก็ยังมีกฎหมายอื่น ๆ  ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินตราขึ้นใช้บังคับ
อย่าง กฎหมายลักษณะแพ่ง กฎหมายลักษณะอาญาหลวง  กฎหมายลักษณะผัวเมีย  ลักษณะโจร เป็นต้น

พอมาสมัยรัตนโกสินทร์ในตอนต้น ในช่วงรัชกาลที่ 1- 4
ประเทศไทยมีกฎหมายตราสามดวงบังคับใช้
ต่อมามีชาวต่างชาติเข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยเป็นจำนวนมาก  ทำให้ กฎหมายของไทยก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไป
โดยเริ่มมีการปรับปรุงกฎหมายให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนและสอดคล้องกับหลักความยุติธรรม

ต่อมาเมื่อ กรมหลวงราชบุรีทรงสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ
ก็ได้จัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้นที่กระทรวงยุติธรรม  โดยทรงสอนวิชากฎหมายด้วยพระองค์เอง
และได้เขียนตำรากฎหมายขึ้นตามที่เป็นอยู่ในแบบกฎหมายของประเทศอังกฤษ
โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาและการละเมิดนั้นได้เอาหลักเกณฑ์แห่งกฎหมายอังกฤษมาสอน
และผู้พิพากษาศาลไทยก็นำเอากฎหมายอังกฤษตามใช้ที่สอนในตำรามาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดี

การร่างกฎหมายใหม่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมายใหม่นี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2450  โดยมีนักกฎหมายชั้นนำของไทยและของต่างประเทศ  ได้เลือกร่างกฎหมายลักษณะอาญาก่อนกฎหมายฉบับอื่น
โดยร่างเป็นภาษาอังกฤษก่อนแล้วจึงค่อยแปลเป็นภาษาไทย เสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. 2450
จากนั้นก็พิมพ์เป็น  3  ภาษา  คือ  ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส
เมื่อเสร็จแล้วคณะกรรมการก็นำขึ้นทูลเกล้าถวาย
และได้ทรงประกาศใช้เป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกเมื่อวันที่  1  มิถุนายน  พ.ศ. 2451
และเรียกประมวลกฎหมายฉบับแรกนี้ว่า  “กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127”
ว่ากันว่าประมวลกฎหมายฉบับแรกนี้เป็นกฎหมายที่ทันสมัยมากในสมัยนั้น
เพราะได้นำเอาหลักกฎหมายอาญาอันเป็นที่นิยมกันในประเทศต่าง ๆ มาพิจารณาดัดแปลง
ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของสังคมไทยขณะนั้น   และเพื่อเป็นการยกระดับประเทศขึ้นสู่ระดับอารยประเทศ
กฎหมายฉบับนี้ถือว่าเป็นประมวลกฎหมายที่แท้จริงฉบับแรกของไทย มีทั้งสิ้นรวม  340  มาตรา
และได้ใช้บังคับมาจนถึง  พ.ศ. 2486  จึงได้มีการปรับปรุงใหม่  ฉบับใหม่เรียกว่า “กฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ. 2486”  และได้ใช้ต่อมาจนถึง พ.ศ. 2499  จึงได้มีการปรับปรุงใหม่อีกครั้งคือประมวลกฎหมายอาญา
ฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  1  มกราคม พ.ศ. 2500  เป็นต้นมา

พระราชบัญญัติ
ให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
พุทธศักราช 2481
-------------------

ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2480)
อาทิตย์ทิพอาภา
พล.อ.เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน
ตราไว้ ณ วันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2481
เป็นปีที่ 5 ในรัชกาลปัจจุบัน 


    โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรตราประมวลรัษฎากรเพื่อปรับปรุงการรัษฎากรตามหลักความเป็นธรรมแก่สังคม


    จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้


    มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พุทธศักราช 2481"


    มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2482
เป็นต้นไป


    มาตรา 3ให้ใช้ประมวลรัษฎากรตามที่ตราไว้ต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2482 เป็นต่อไป เว้นแต่บทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 6 ว่าด้วยอากรแสตมป์นั้น ให้ใช้เป็น กฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พุทธศักราช 2482 เป็นต้นไป


    มาตรา 4 นับแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้ ให้ยกเลิก
    (1) พระราชบัญญัติเงินรัชชูปการ พุทธศักราช 2468
    (2) พระราชบัญญัติลักษณะเก็บเงินค่านา ร.ศ.119
    (3) พระราชบัญญัติลักษณะการเก็บภาษีค่าที่ไร่อ้อย พุทธศักราช 2464
    (4) พระราชบัญญัติเปลี่ยนวิธีเก็บภาษียา ร.ศ.119

    (5) ประกาศพระราชทานยกเงินอากรสวนใหญ่ค้างเก่า และเดินสำรวจต้นผลไม้ใหม่ สำหรับเก็บเงินอากรสวนใหญ่ รัตนโกสินทร์ศก 130

    (6) พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475
    (7) พระราชบัญญัติภาษีการค้า พุทธศักราช 2475
    (8) พระราชบัญญัติภาษีการธนาคารและการประกันภัย พุทธศักราช 2476
    (9) บรรดาพิกัดอัตรา ข้อบังคับ กฎ ประกาศ และบทกฎหมายอื่น ซึ่งออกเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมหรือดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น


    และนับตั้งแต่วันใช้บทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากรว่าด้วยอากรแสตมป์ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติอากรแสตมป์ พุทธศักราช 2475 กับบรรดาพิกัดอัตรา ข้อบังคับ กฎ และบทกฎหมายอื่น ซึ่งออกเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมหรือดำเนินการตามพระราชบัญญัตินั้น

    มาตรา 5 บรรดาพระราชบัญญัติ ประกาศ พิกัดอัตรา ข้อบังคับ กฎ และบทกฎหมาย ที่ให้ยกเลิกตามความในมาตรา 4 วรรคแรกนั้น ยังคงให้ใช้บังคับได้ในการเก็บภาษีอากรจำนวนพุทธศักราชต่าง ๆ ก่อนใช้ประมวลรัษฎากร


    ส่วนพระราชบัญญัติ พิกัดอัตรา ข้อบังคับ กฎ และบทกฎหมาย ที่ให้ยกเลิกตามความในมาตรา 4 วรรคสุดท้าย ก็ยังคงให้ใช้บังคับได้ในการเก็บอากร ที่จะพึงเรียกเก็บได้ก่อนใช้บทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร ว่าด้วยอากรแสตมป์


    มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
   จอมพล ป. พิบูลสงคราม
       นายกรัฐมนตรี