ข้อใดคือวิธีการที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้

ข้อใดคือวิธีการที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้

เทคนิคการสืบค้นข้อมูล

การค้นหาในรูปแบบ Index Directory             

วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index นี้ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วย วิธีของ Search Engine โดยมันจะถูกคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆออก เป็นประเภท สำหรับวิธีใช้งาน คุณสามารถที่จะ Click เลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Browser จากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกเยอะแค่ไหนอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลใน Index ว่าในแต่ละประเภท จัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด เมื่อคุณเข้าไปถึงประเภทย่อยที่คุณสนใจแล้ว ที่เว็บเพจจะแสดงรายชื่อของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ประเภทของข้อมูลนั้นๆออกมา หากคุณคิดว่าเอกสารใดสนใจหรือต้องการอยากที่จะดู สามารถ Click ลงไปยัง Link เพื่อขอเชื่อต่อทางไซต์ก็จะนำเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที นอกเหนือไปจากนี้ ไซต์ที่แสดงออกมานั้นทางผู้ให้บริการยังได้เรียบเรียงโดยนำเอา Site ที่มีความเกี่ยว ข้องมากที่สุดเอามาไว้ตอนบนสุดของรายชื่อที่แสดง


การค้นหาในรูปแบบ Search Engine
วิธีการอีกอย่างที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลคือการใช้ Search Engine ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ หลักการทำงานของ Search Engine จะแตกต่างจากการใช้ Indexลักษณะของมันจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป บนInternet ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้นของความสำคัญ การใช้งานจะเหมือนการสืบค้นฐานข้อมูล อื่นๆคือ คุณจะต้องพิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป ค้นหานั้นๆเข้าไป จากนั้น Search Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Siteต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา
ประเภทของ Search Engine
1.  Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อยๆ ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจนั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึงอ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษา HTML ซึ่งอยู่ในรูปแบบของข้อความที่อยู่ในคำสั่ง alt ซึ่งเป็นคำสั่งภายใน TAG คำสั่งของรูปภาพ แต่จะไม่นำคำสั่งของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTMLและคำสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าคุณต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ผลดี
2. Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ล้วนๆ มาให้คุณ
3. Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากคุณจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย
หลักการค้นหาข้อมูลของ Search Enine
สำหรับหลักในการค้นหาข้อมูลของ Search Engine แต่ละตัวจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าทางศูนย์บริการต้องการจะเก็บข้อมูลแบบไหน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีกลไกใน การค้นหาที่ใกล้เคียงกัน หากจะแตกต่างก็คงจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพเสียมากกว่า ว่าจะมีข้อมูล เก็บรวบรวมไว้อยู่ในฐานข้อมูลมากน้อยขนาดไหน และพอจะนำเอาออกมาบริการให้กับผู้ใช้ ได้ตรงตามความต้องการหรือเปล่า ซึ่งลักษณะของปัจจัยที่ใช้ค้นหาโดยหลักๆจะมีดังนี้
1.  การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ 
2.  การค้นหาจากคำที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจอยู่ทางด้าน ซ้ายบนของหน้าต่างที่แสดง 
3.  การค้นหาจากคำสำคัญหรือคำสั่ง keyword (อยู่ใน tag คำสั่งใน html ที่มีชื่อว่า meta) 
4.  การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ site 
5.  ค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser    ซึ่งการค้นหาคำในหน้าเว็บเพจนั้นจะใช้สำหรับกรณีที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลที่เว็บ เพจใด เว็บเพจหนึ่ง แล้วภายในมีข้อความปรากฏอยู่เต็มไปหมด จะนั่งไล่ดูทีละบรรทัดคงไม่สะดวก ในลักษณะนี้เราใช้ใช้ browser ช่วยค้นหาให้ ขึ้นแรกให้คุณนำ mouse ไป click ที่ menu Edit แล้วเลือกบรรทัดคำสั่ง Find in Page หรือกดปุ่ม Ctrl + F ที่ keyboard ก็ได้ จากนั้นใส่คำที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วก็กดปุ่ม Find Next โปรแกรมก็จะวิ่งหาคำดังกล่าว หากพบมันก็จะกระโดดไปแสดงคำนั้นๆ ซึ่งคุณสามารถกดปุ่มFind Next เพื่อค้นหาต่อได้ อีกจนกว่าคุณจะพบข้อมูลที่ต้องการ

เทคนิค 11 ประการที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล            
ในการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่ผู้ใช้งานทั่วไปมักจะพบเห็น หรือประสบอยู่เสมอๆก็คงจะหนีไปไม่พ้นข้อมูลที่ค้นหาได้มีขนาดมากจนเกินไป ดังนั้นเพื่อ ความสะดวกในการใช้งานคุณจึงน่าที่จะเรียนรู้เทคนิคต่างๆเพื่อช่วยลดหรือ จำกัดคำที่ค้น หาให้แคบลงและตรงประเด็นกับเรามากที่สุด   ดังวิธีการต่อไปนี้
1. เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุด จะเลือกใช้วิธีไหนก็ตามแต่จะเห็นว่า เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการจะค้นหาข้อมูลที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ชี้ เฉพาะเจาะจง ก็ควรเลือกบริการสืบค้นข้อมูลแบบ Index อย่างของ yahoo เพราะ โอกาสที่จะเจอนั้น เปอร์เซ็นต์สูงกว่าจะมานั่งสุ่มหาโดยใช้วิธีแบบ Search Engine
2. ใช้คำมากกว่า 1 คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา เพราะจะได้ผลลัพธ์ที่มีขนาด แคบลงและชี้เฉพาะมากขึ้น (ย่อมจะดีกว่าหาคำเดียวโดดๆ)
3. ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เช่นการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของ ภาพยนตร์ก็น่าที่จะเลือกใช้ Search Engine ที่ให้บริการใกล้เคียงกับเรื่องพวกนี้ เพราะผลลัพธ์ที่ได้น่าจะเป็นที่น่าพอใจกว่า
4. ใส่เครื่องหมายคำพูดครอบคลุมกลุ่มคำที่ต้องการ เพื่อบอกกับ Search Engine ว่าเรา ต้องการผลการค้นหาที่มีคำในกลุ่มนั้นครบและตรงตามลำดับที่เราพิมพ์ทุกคำ เช่น "free shareware" เป็นต้น
5. การขึ้นต้นของตัวอักษรตัวเล็กเท่ากันหมด Search Engine จะเข้าใจว่าเราต้องการ ให้มันค้นหาคำดังกล่าวแบบไม่ต้องสนใจว่าตัวอักษรที่ได้จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นหากคุณต้องการอยากที่จะให้มันค้นหาคำตรงตามแบบที่เขียนไว้ก็ให้ใช้ ตัว อักษรใหญ่แทน
6. ใช้ตัวเชื่อมทาง Logic หรือตรรกศาสตร์เข้ามาช่วยค้นหา มีอยู่ 3 ตัวด้วยกันคือ - AND สั่งให้หาโดยจะต้องมีคำนั้นๆมาแสดงด้วยเท่านั้น! โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องติดกัน เช่น phonelink AND pager เป็นต้น - OR สั่งให้หาโดยจะต้องนำคำใดคำหนึ่งที่พิมพ์ลงไปมาแสดง -NOT สั่งไม่ให้เลือกคำนั้นๆมาแสดง เช่น food and cheese not butter หมายความว่า ให้ทำการหาเว็บที่เกี่ยวข้องกับ food และ cheese แต่ต้องไม่มี butter เป็นต้น
7. ใช้เครื่องหมายบวกลบคัดเลือกคำ + หน้าคำที่ต้องการจริงๆ - (ลบ)ใช้นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ () ช่วยแยกกลุ่มคำ เช่น(pentium+computer)cpu
8. ใช้เป็นตัวร่วม เช่น com* เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าส่วนด้านท้ายเป็น อะไรไม่
สนใจ *tor เป็นการให้หาคำที่ลงท้ายด้วย tor ด้านหน้าจะเป็นอะไรไม่สนใจ 
9.หลีก เลี่ยงการใช้ตัวเลข พยายามเลี่ยงการใช้คำค้นหาที่เป็นคำเดี่ยวๆ หรือเป็นคำที่มีตัวเลขปน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ คุณก็อย่าลืมใส่เครื่องหมายคำพูด (" ") ลงไปด้วย เช่น "windows 98"
10. หลีก เลี่ยงภาษาพูด หลีกเลี่ยงคำประเภท Natural Language หรือเรียกง่ายๆ ว่าคำหรือข้อความที่เป็นภาษาพูด หรือเป็นประโยค คุณควรสรุปเป็นเพียงกลุ่มคำหรือวลี ที่มีความหมายรวมทั้งหมดไว้ Advanced Search อย่าลืมที่จะใช้ Advanced Search เพราะจะมีส่วนช่วยคุณได้มาก ในการบีบประเด็นหัวข้อ ให้แคบลง ซึ่งจะทำให้คุณได้รายชื่อเว็บไซต์ ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากขึ้น
11. อย่าละเลย Help ซึ่งในแต่ละเว็บ จะมี ปุ่ม help หรือ Site map ไว้คอยช่วยเหลือคุณ แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม ซึ่ง help/site map จะมีประโยชน์มากในการอธิบาย option หรือการใช้งาน/แผนผังปลีกย่อยของแต่ละเว็บไซต์  

หลักการเขียนบรรณานุกรมและการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

1. บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย                 
แบบ ก                
ชื่อ / ชื่อสกุล. / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, /
/ / / / / / /ปีที่พิมพ์.  
แบบ ข 
ชื่อ / ชื่อสกุล. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์/ : / ผู้รับผิดชอบ  
/ / / / / / / ในการพิมพ์. 
ตัวอย่าง 
แบบ ก  
กิตติกร  มีทรัพย์. จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ : ธุรกิจการพิมพ์, 
2544. 
แบบ ข  
กิติกร  มีทรัพย์.  (2544).  จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ :  
ธุรกิจการพิมพ์. 

2. บรรณานุกรมหนังสือภาษาอังกฤษ 
แบบ ก 
ชื่อสกุล. / ชื่อต้น / ชื่อกลาง(ถ้ามี). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์./ /เมืองที่พิมพ์/:/ผู้รับผิดชอบ 
/ / / / / / /ในการพิมพ์./ / ปีที่พิมพ์. 
แบบ ข 
ชื่อสกุล./อักษรย่อชื่อต้น / อักษรย่อชื่อกลาง(ถ้ามี). / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. 
/ / / / / / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์. 
ตัวอย่าง 
แบบ ก  
Hartley, Eric Key.  Childhood and society.  2 nd ed. New York : Mc Graw - 
Hill, 1989.   
แบบ ข  
Hartley, E.K. (1989). Childhood and Society. 2 nd ed. New York : MC Graw -Hill. 

3.บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์ 
แบบ ก 
ชื่อผู้เขียน. / / ชื่อเรื่อง. / / ระดับวิทยานิพนธ์. / / ชื่อเมืองที่พิมพ์ / : / ชื่อมหาวิทยาลัย, /  
/ / / / / / / ปีที่พิมพ์. 
แบบ ข 
ชื่อผู้เขีัยน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ระัดับวิทยานิพนธ์, / ชื่อสาขา / คณะ /  
/ / / / / / / ชื่อมหาวิทยาลัย. 
ตัวอย่าง 
แบบ ก 
ภัคพร  กอบพึ่งตน.  การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้คลอดปกติในโรงพยาบาล 
นครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. 
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540             
แบบ ข  
ภัคพร  กอบพึ่งตน.  (2540).  การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้คลอดปกติในโรงพยาบาล
นครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต,  สาขาวิชาการบริหาร
การพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 

4. บรรณานุกรมบทความจากหนังสือ  
แบบ ก  
ชื่อผู้เขียน./ / "ชื่อตอนหรือบทความ" / ใน / ชื่อหนังสือ. / / หน้า / เลขหน้า. / / ชื่อบรรณาธิการ 
/ / / / / / / (ถ้ามี)./ / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, /ปีที่พิมพ์. 
แบบ ข  
ชื่อผู้เขีน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อบทความ. / / ใน / ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ)(ถ้ามี). / / 
/ / / / / / / ชื่อหนังสือ. / / (หน้า / เลขหน้า). / / เมือง / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์. 
ตัวอย่าง 
แบบ ก  
สมจิต   หนุเจริญกุล  และ  ประคอง  อินทรสมบัติ.  "การประเมินผลการพยาบาล"  ใน  
เอกสารการสอนชุดวิชามโนมติและกระบวนการพยาบาล หน่วยที่ 8-15.  หน้า 749 - 781. 
มยุรา  กาญจนางกูร, บรรณาธิการ.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2536. 
แบบ ข  
สมจิต  หนุเจริญกุล  และ  ประคอง  อินทรสมบัติ. (2536).  การประเมินผลการพยาบาลใน  
มยุรา  กาญจนางกูร (บรรณาธิการ).  เอกสารการสอนชุดวิชามโนมติและกระบวนการพยาบาล 
หน่วยที่ 8 - 15.  (หน้า 749- 781). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.


5. บรรณานุกรมบทความจากวารสาร 
แบบ ก  
ชื่อผู้เขียน. / / "ชื่อบทความ" / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่ (ฉบับที่) / : / เลขหน้า; / 
/ / / / / / / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี. 
แบบ ข  
ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, / วัน / เดือน). / / ชื่อบทความ. / / ชื่อวารสาร. ปีที่หรือเล่ม(ฉบับที่), /  
/ / / / / / /เลขหน้า. 
ตัวอย่าง 
แบบ ก  
วิทยาคม  ยาพิศาล.  "การพัฒนาคุณภาพระบบงานศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ตาม 
แนวทางการตรวจติดตามทางวิชาการและระบบคุณภาพ"  กรมวิทยาศาสตร์การ  
แพทย์.  46(3) : 142 - 153 : กรกฎาคม - กันยายน 2547. 
แบบ ข 
วิทยาคม  ยาพิศาล.  (2547,กรกฏาคม - กันยายน). การพัฒนาคุณภาพระบบงานศูนย์วิทยา- 
ศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ตามแนวทางการตรวจติดตามทางวิชาการและระบบคุณภาพ. 
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 46(3), 142 - 153. 
6.บรรณานุกรมคอลัมน์จากวารสาร 
แบบ ก  
ชื่อผู้เขียน. / /"ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์" / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่(ฉบับที่) / :   
/ / / / / / /เลขหน้า ; / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี. 
แบบ ข  
ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, วัน / เดือน). / / ชื่อคอลัมน์/ : /ชื่อเรื่องในคอลัมน์. / / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือ 
/ / / / / / /เล่มที่(ฉบับที่),/เลขหน้า. 
ตัวอย่าง  
แบบ ก  
วิทยา  นาควัชระ.  "คุยกันเรื่องของชีวิต : ประโยชน์ของการท่องเที่ยว" สกุลไทย.  40(2047) :  
191 - 192 ; 26 ตุลาคม 2544. 
แบบ ข  
วิทยา  นาควัชระ.  (2544, 26 ตุลาคม).  คุยกันเรื่องของชีวิต : ประโยชน์ของการท่องเที่ยว.  
สกุลไทย. 40(2047), 191 - 192. 


7.บรรณานุกรมคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์ 
แบบ ก  
ชื่อผู้เขียนบทความ. / / "ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์" /ชื่อหนังสือพิมพ์. / / วัน / เดือน/ 
/ / / / / / /ปี. / / หน้า / เลขหน้า. 
แบบ ข  
ชื่อผู้เขียนบทความ. / /(ปี, / วัน / เดือน). / /ชื่อคอลัมน์/ : /ชื่อเรื่องในคอลัมน์./ / ชื่อหนังสือ 
/ / / / / / / พิมพ์, / หน้า / เลขหน้า 
ตัวอย่าง 
แบบ ก  
นิติภูมิ  เนาวรัตน์.  "เปิดฟ้าส่องโลก : ตัวอย่างการอยู่ร่วมกัน : อียู" ไทยรัฐ.  5 มิถุนาน 2546. 
หน้า 2.  
แบบ ข  
นิติภูมิ  เนาวรัตน์.  (2546, 5 มิถุนายน). เปิดฟ้าส่องโลก : ตัวอย่างการอยู่ร่วมกัน : อียู. ไทยรัฐ, 
หน้า 2.  


8.บรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ 
แบบ ก  
ชื่อผู้จัดทำ,/ หน้าที่ที่รับผิดชอบ./ / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ]./ / ชื่อเมือง / : /
/ / / / / / / ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ, / ปีที่จัดทำ. 
แบบ ข  
ชื่อผู้จัดทำ,/ หน้าที่ที่รับผิดชอบ. / / (ปีที่จัดทำ). / / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ]./ /  
/ / / / / / / ชื่อเมือง / : / ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ. 
ตัวอย่าง 
แบบ ก  
สายหยุด  นิยมวิภาต, ผู้บรรยาย.  ประเด็นปัญหาการวิจัยทางการพยาบาลคลินิก.  
[เทปโทรทัศน์].   ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2537. 
แบบ ข  
สายหยุด  นิยมวิภาต, ผู้บรรยาย. (2537). ประเด็นปัญหาการวิจัยางการพยาบาลคลินิก. 
[เทปโทรทัศน์].  ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 


9.บรรณานุกรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
     9.1 ฐานข้อมูล ซีดี – รอม
แบบ ก  
ผู้แต่ง. / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสือ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). / /  
/ / / / / / / เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ. 
แบบ ข  
ผู้แต่ง./ / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต,/วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ]. / / 
/ / / / / / / รายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารสนเทศ. 
ตัวอย่าง 
แบบ ก  
นพรัตน์  เพชรพงษ์.  จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร.   
[ซีดี - รอม].  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.  เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย 
เชียงใหม่, 2545.  สาระสังเขปจาก : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย แผ่นที่ 3, 2547. 
แบบ ข  
นพรัตน์  เพชรพงษ์.  (2545).  จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร. 
[ซีดี - รอม].  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.  สาขาวิชาการบริหารการ 
พยาบาลบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  สาระสังเขปจาก : ฐานข้อมูล 
วิทยานิพนธ์ไทยแผ่นที่ 3, 2547. 
9.2 ฐานข้อมูลออนไลน์ 
แบบ ก  
ผู้แต่ง./ / ชื่อเรื่อง./ / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / /  
เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ. / / (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน / ปี). 
แบบ ข  
ผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต,/ วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียด 
ทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารสนเทศ. / / (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน /ปี). 
ตัวอย่าง 
แบบ ก  
พิมลพรรณ  พิทยานุกูล.  วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http :  
/ / www.lib.buu.ac.th .  (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2546). 
แบบ ข  
เรวัติ  ยศสุข.  "ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนอันตราย."  ฉลาดซื้อ.  [ออนไลน์]. 6(6) ;  
กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2546.  เข้าถึงได้จาก : http : / / www.kalathai.com/think/view_hot .?
article_id = 16. (วันที่ค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2547) 

การเขียนบรรณานุกรม หนังสือ เอกสาร และบทความที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต

การเขียนรายละเอียดทางบรรณานุกรมสำหรับแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต มีหลักการเช่นเดียวกับการเขียน รายละเอียดทางบรรณานุกรมของแหล่งข้อมูลประเภทอื่น ๆ คือ ต้องให้รายละเอียดที่ทำให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงแหล่ง ข้อมูลนั้น ๆ ได้ ในที่นี้จะขอกล่าวถึง การเขียนรายละเอียดทางบรรณานุกรมสำหรับแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต สามประเภทใหญ่ ได้แก่
1.หนังสือ
2.เอกสาร และบทความ
3.ข้อความที่ประกาศ (post) และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
โดยจะยกตัวอย่างการเขียนในรูปแบบเอพีเอ (APA) ของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน แบบเอ็มแอลเอ (MLA) ของสมาคมภาษา สมัยใหม่ และแบบชิคาโก (Chicago) ของมหาวิทยาลัยชิคาโก รูปแบบบรรณานุกรมทั้งสามนี้เป็นรูปแบบที่พบทั่วไปใน งานเขียนทางวิชาการทางสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์
การเขียนรายละเอียดทางบรรณานุกรมสำหรับ หนังสือ เอกสารและบทความที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตมีรูปแบบ และองค์ประกอบเช่นเดียวกับ บรรณานุกรมหนังสือ เอกสารและบทความที่เผยแพร่ทั่วไปในรูปสิ่งพิมพ์
รายละเอียดที่ ควรมี ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ปีที่ผลิต (เทียบได้กับปีที่พิมพ์) และแม้ว่าจะละรายละเอียดบางประการ เช่น เมืองที่พิมพ์ หรือสำนักพิมพ์ ซึ่งหาไม่ได้ก็ได้ แต่ต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสืบค้นเอกสารนั้น ๆ ระบุไว้ ได้แก่ วันที่และเดือนปีที่ สืบค้น และยูอาร์แอล (URL) ซึ่งควรให้เฉพาะเจาะจงจนถึงหน้าเอกสารที่อ้างถึงให้มากที่สุด และหากยูอาร์แอลมีความยาว ไม่ สามารถพิมพ์ให้จนจบได้ในบรรทัดเดียว ควรแบ่งข้อความโดยขึ้นบรรทัดใหม่ด้วยข้อความหลังเครื่อง หมายทับ (/) หรือก่อนเครื่องหมายมหัพภาค (.)
เหตุที่ต้องระบุวันที่และเดือนปีที่สืบค้น เป็นเพราะข้อมูลที่เผยแพร่บนเว็บอาจมีการเปลี่ยนแปลง และเคลื่อนย้าย ทางที่ดีผู้ค้นคว้าควรพิมพ์เอกสารที่อ้างอิงไว้เป็นหลักฐานด้วย
URL ย่อมาจาก Universal Resource Locator หมายถึง ตัวชี้แหล่งในอินเตอร์เน็ต

แบบเอพีเอ

Einstein, A. (2000). Relativity : The special and general theory (R.W. Lawson,

Trans. New York : Bartleby.com. (printing version was published by Henry Holt,

New York in 1920). Retrieved August 21, 2002, from http://www.Bartleby.com/173/ 

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง. (2542). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2545, จากhttp://www.Royin.go.th/roman-translate.html

แบบเอ็มแอลเอ

Einstein, Albert. Relativity : The Special and General Theory. Trans. Robert W.

Lawson. New York : Bartleby.com., (2000) Printing version was published by

.Henry Holt, New York in 1920. 21 August 2002 <http://www.Bartleby .com/173/>

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2542.

24 สิงหาคม 2545 <http://www.Royin.go.th/roman-translate.html>

แบบชิคาโก

Einstein, Albert. Relativity : The Special and General Theory. Translated by

Robert W. Lawson. New York : Bartleby.com., 2000 Printing version was published

by Henry Holt, New York in 1920. <http://www.Bartleby .com/173/> (21 August . 2002).

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน,

. 2542. <http://www.Royin.go.th/roman-translate.html> (24 สิงหาคม 2545).

รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมของมศว

หนังสือ

ชื่อ/ชื่อสกุล.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่องหนา.//ครั้งที่พิมพ์.//เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์.

วารสาร

ชื่อ/ชื่อสกุลผู้เขียนบทความ.//(ปี,/วัน/เดือน).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสารหนา.//ปีที่(ฉบับที่)/:/หน้าที่อ้าง.

ชื่อบทความ.//(ปี,/วัน/เดือน).//ชื่อวารสารหนา.//ปีที่(ฉบับที่)/:/หน้าที่อ้าง.

หนังสือพิมพ์

ชื่อผู้เขียน.//(ปี,/วัน/เดือน).//ชื่อบทความหรือชื่อคอลัมน์.//ชื่อนสพหนา.//หน้าที่ตีพิมพ์.

เว็บไซต์

ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์,/วันเดือนของวารสารหรือปีที่สืบค้น).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสารหนา.//(คำบอกแหล่งข้อมูลอิเลกทรอนิกส์). //ปีที่(ฉบับที่)/:/หน้า.//แหล่งที่มา:/ชื่อของแหล่งที่มา;/ชื่อแหล่งย่อย.//วันที่สืบค้น. หัวข้อย่อยในเว็บไซต์หนา. (ปีที่สืบค้น).//แหล่งที่มา:/ชื่อของแหล่งที่มา;/ชื่อแหล่งย่อย.//วันที่สืบค้น.

แหล่งอ้างอิง: 

http://5332011101.blogspot.com/2012/02/search-engine-search-engine-site-1.html. http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php http://www.lib.nu.ac.th/nulibnet/index.php?topic=178.0