อาชีพหลักของประเทศมาเลเซียคืออะไร

วันที่ 30 เมษายน 2557 นายสุเมธ มโหสถ รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากผลการศึกษาวิเคราะห์และแนวโน้มแรงงานในโครงการเตรียมการรองรับการเคลื่อนย้ายของแรงงานสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (AEC) พบว่า หากไทยมีความต้องการขยายผลการทางด้านแรงงานใน AEC นั้น อาชีพที่มีความเหมาะสมและมีความพร้อม มี 7 อาชีพที่คนไทยถนัดและได้รับการยอมรับในเรื่องฝีมือจากนานาประเทศ รวมทั้งโอกาสในการเคลื่อนย้ายแรงงานมีความต้องการในประเทศอาเซียน อาทิ ประเทศสิงคโปร์ บรูไน และมาเลเซีย

โดย 7 อาชีพ ที่มีความต้องการใน AEC ได้แก่

          1. ช่างเชื่อมแม็ก คือ การเชื่อมด้วยมือหรือระบบกึ่งอัตโนมัติ

          2. ช่างเชื่อมทิก การเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอนหรือสเตนเลส ด้วยมือหรือกึ่งอัตโนมัติ

          3. ช่างเชื่อมท่อโพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE)

          4. ช่างประกอบท่อ การประกอบ ติดตั้งท่อเหล็กกล้าภายใต้มาตรฐานที่กำหนด

          5. ช่างไม้ก่อสร้าง

          6. พนักงานนวดไทย

          7. ผู้ประกอบอาหารไทย 


          นายสุเมธ กล่าวว่า อาชีพผู้ประกอบการอาหาร พนักงานบริการในร้านอาหาร และการนวดแผนไทย แรงงานด้านนี้มีโอกาสเคลื่อนย้ายไปทำงานในประเทศมาเลเซีย โดยรัฐบาลและสมาคมกายภาพบำบัด (Malaysian Society of Complementary Therapist : MSCT) กำหนดอาชีพนวดแผนไทย ผู้ที่จะเข้าไปทำงานต้องผ่านการฝึกอบรม 772 ชั่วโมง และผ่านการทดสอบมาตรฐานของไทย ในระดับ 2 จากสถาบันหรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน หรือหน่วยงานของกระทรวงแรงงาน จึงเป็นโอกาสสำหรับแรงงานไทยอีกด้วย


อาชีพหลักของประเทศมาเลเซียคืออะไร
 เกาะติด ข่าวอาเซียน 10 ประเทศ ข้อมูลอาเซียน เลาะรั้วอาเซียน คลิกเลย



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
อาชีพหลักของประเทศมาเลเซียคืออะไร




ปี 2558 สำนักงานสถิติเเห่งชาติ ระบุว่า ครัวเรือนไทยรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 26,915 บาทต่อเดือน หากเทียบกับเพื่อนบ้านหลายๆ ประเทศเเล้ว ถือว่าใช้ได้เลยทีเดียว ยกเว้นที่เดียว คือ มาเลเซีย โดยผลสำรวจรายได้ของคนมาเลเซีย Hays Asia Salary Guide 2016 เปิดเผยว่า เงินเดือนโดยเฉลี่ยของคนมาเลเซีย คือ เดือนละ 7384 ริงกิต ตีเป็นเงินไทย 64,800 บาท ซึ่งนี่คือเงินเดือนที่มีการบันทึกเเละขึ้นทะเบียนอย่างถูกกิจลักษณะ ไม่นับกิจการเล็กๆ น้อยๆ หรือธุรกิจครอบครัวที่ไม่ได้ทำการสำรวจ

ยิ่งถ้าเรามาดูรายได้ขั้นต่ำ คือ 900 ริงกิต หรือ ราวๆ 7,800 บาท ถือว่าเยอะกว่าหลายๆ อาชีพในเมืองไทย ส่วนเกณฑ์ในการเลือกงานนั้น เงินกลายเป็นที่ตั้ง ตามมาด้วยความท้าทาย ความก้าวหน้าในอาชีพ เเละวัฒนธรรมองค์กร ในขณะที่ ความมั่นคงของหน้าที่การงาน เเละความพอดีที่ลงตัวระหว่างชีวิตการทำงานเเละชีวิตครอบครัวนั้น คนมาเลเซียต่างจากคนไทยพอสมควร  

เมื่ออิงจากการสำรวจนี้เเล้ว ถ้าสุ่มถามคนมาเลเซีย 100 คน ว่าเกณฑ์ในการเลือกงานคืออะไร 53 คนจะตอบทันทีว่า รายได้ต้องดีไว้ก่อน ขณะที่เเค่ 12 คน ที่จะบอกว่างานที่ทำนั้นจะต้องมีความสมดุลระหว่างการทำงานเเละการใช้ชีวิต  

ทั้งนี้เมื่อมีการสำรวจ top 10 ของอาชีพที่รายได้ดีที่สุดเเล้ว พบว่า ศัลยเเพทย์เป็นอาชีพที่เงินดีที่สุด คือ ราวๆ 70 000 ริงกิต หรือ กว่า 600,000 บาท ตามมาติดๆ ด้วย CFO หรือ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงินของบริษัท หัวหน้าการตลาดมาเป็นอันดับ 3 ส่วนอันดับ 4 คือ นักวิจัยด้านยาชีวภาพ อันดับ 5 คือ นักค้าที่ดิน ตามมาด้วยผู้บริหารความเสี่ยงธุรกิจประกันภัย นักวางกลยุทธฺ์มาเป็นอันดับ 7 ตามติดๆ ด้วยนักบินเป็นอันดับ 8 ส่วนที่ปรึกษาด้านกฏหมายเเละวิศวกรด้านไฟฟ้าหรือขุดเจาะน้ำมัน คือ อันดับ 9 เเละ 10 

เเม้รายได้เฉลี่ยจะถือว่าสูงกว่าคนไทยเเละอีกหลายๆ ประเทศในอาเซียน เเต่ในที่สุดความพอใจรายได้ของตัวเองก็อยู่ที่ 2.42 เต็ม 5 เเปลง่ายๆ ว่าคนมาเลเซียส่วนมากไม่ค่อยจะพอใจกับรายได้ของตัวเอง คำถามคือเเล้วต้องเเค่ไหนถึงจะพอใจ? หรือจริงๆ ความสุขที่ได้จากชีวิตการทำงานนั้น มีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องคำนึงถึง

กีฬาประจำชาติ

อาชีพหลักของประเทศมาเลเซียคืออะไร

          silat ศิลปะการป้องกันตัวของชนชาวมลายูคือ Silat โดยศิลปะการป้องกันตัวชนิดนี้มีมาเป็นเวลานานแล้ว Silat ได้กำเนินขึ้นมาเป็นเวลานับร้อยพันปีมาแล้ว ลักษณะของศิลปะการป้องกันตัวที่เรียกว่า Silat นั้นมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. Silat คือการเคลื่อนไหวของร่างกายในการป้องกันตัวจากการโจมตีของศัตรูหรือคู่ต่อสู้
2. Silap คือช่วงจังหวะลีลาที่จะใช้ในศิลปะการป้องกันตัว
3. Silau คือการตอบโต้ที่ใช้จากการป้องกันตัวที่ศัตรูหรือคู่ต่อสู้โจมตีตัวเรา
                 ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว Silat สามารถที่จะกล่าวได้ว่าเป็นการเคลื่อนไหว, ช่วงจังหวะและลีลา, การตอบโต้ที่ถูกมนุษย์สร้างขึ้นโดยเป็นระบบ เป็นระเบียบและละเอียดอ่อนในการป้องกันตัวจากการโจมตีของศัตรูและคู่ต่อสู้
ในการเรียนเกี่ยวกับศิลปะการป้องกันตัว Silat นั้น คนหนึ่งๆ มีการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับที่      แตกต่างกันตามความสามารถและประสิทธิภาพของแต่ละคน โดยปกติแล้วระดับ            

    ความสามารถของศิลปะการป้องกันตัว Silat มีอยู่ 5 ระดับ คือ
       1.ระดับ Mengetahvi Seni เป็นระดับที่รู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ช่วงลีลา ศิลปะการตอบโต้
       2.ระดับBudaya Seni เป็นระดับการเรียนรู้วิถีชีวิตและคำสั่งการ พร้อมการเผยแพร่  ศิลปะการป้องกันตัว Silat
       3.ระดับ Bangsa Seni เป็นระดับการศึกษาเชิงลึกของศิลปะการป้องกันตัว และภูมิหลังของศิลปะการป้องกันตัว Silat
       4.ระดับ Budi Pekerti Seni เป็นระดับการเรียนรู้ เข้าใจกฏระเบียบ และหลักเกณฑ์ของศิลปะการป้องกันตัว Silat
       5.ระดับ Jiwa Seni เป็นระดับสร้างจิตสำนึกในศิลปะการป้องกันตัว Silat และศึกษาความเร้นลับของศิลปะการป้องกันตัว Silat
       6.ระดับ Alam Seni เป็นระดับการเผยแพร่ศิลปะการป้องกันตัว Silat และสร้างหรือรักษากฏเกณฑ์ของศิลปะการป้องกันตัว Silat ให้อยู่ในจิตวิญญาณของนักศิลปะการป้องกันตัว Silat ทุกคน
       ศิลปะการป้องกันตัว Silat มีการเคลื่อนไหว ช่วงลีลาการก้าว ลูกไม้ การหลีก การตอบโต้ การต่อย การถีบ การโจมตี ที่แตกต่างกันตามที่ครูศิลปะการป้องกันตัวต่างๆเป็นผู้คิดลูกไม้ของศิลปะการป้องกันตัว ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว Silat จึงมีหลากหลายชื่อเช่น
1. Seni Silat Gayong
2. Silat Lincah เป็น 1 ใน 4 ของSilat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
3. Silat Cekak เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
4. Silat Lintau
5. Silat Kalimah
6. Silat kuntau Melayu
7. Silat Minangkabau
8. Silat Gayung Patani เกิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เติบโตในมาเลเซีย เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
9. Silat Sendeng
10. Silat Sunting
11. Silat Abjad
12. Silat Gayang Malaysia เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย