จุดแข็ง จุดอ่อน ของประเทศลาว

Page | 4 นอกจากนี้ ยังมีบริษัทหรือธุรกิจอื่นๆ อีกที่ไป ลงทุนใน สปป.ลาว เช่น บริษัทปูนซีเมนต์ไทย การปลูกยางพาราของบริษัทฮั้วยางพารา LAO AGRO TECH บริษัทพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์ม น้ามันครบวงจรใน สปป.ลาว บริษัท ลาว อุตสาหกรรม-กสิกรรม จากัด เป็นบริษัทร่วมทุน ระหว่าง บริษัท ลาปางฟู้ดส์โปรดักส์ จากัด ผลิต อาหารผักและผลไม้บรรจุกระป๋อง เช่น มะม่วงใน น้าเชื่อม หน่อไม้ในน้าเปล่า และข้าวโพดฝักอ่อน รวมถึงธุรกิจบริการ เช่น ธนาคารที่เปิดให้บริการใน สปป.ลาว เช่น ธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย ไทย พาณิชย์ กสิกรไทย กรุงศรีอยุธยา และกสิกรไทย เป็นต้น คอมมิวนิตี้มอลล์ "วิวมอลล์" และ ร้านอาหารของกลุ่มตนานุวัฒน์ และคลินิก ให้บริการเสริมความงามนิติพลคลินิก 5.2 จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของการลงทุนใน สปป.ลาว แม้ว่า สปป.ลาวมีเศรษฐกิจที่มีการขยายตัว ร้อยละ 7-8 ต่อปี และเป็นประเทศที่เป็นเป้าหมาย ของนักลงทุนทั้งการลงทุนด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และพลังงานไฟฟ้า รวมทั้งการมี นโยบายสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการควรพิจารณาถึง จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคของการ ลงทุนใน สปป.ลาวซึ่งสรุปได้ดังนี้ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคใน สปป.ลาว มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลาย อุดมสมบรูณ์ โดยเฉพาะป่าไม้ น้า และแร่ธาตุ สถานการณ์ทางการเมืองที่มั่นคงและมีเสถียรภาพ จุดแข็ง มีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลายทั้งแหล่งอารยธรรม แหล่งมรดกโลกและแหล่งท่องเที่ยวตาม ธรรมชาติ สปป.ลาวตั้งอยู่ระหว่างประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วและเป็นตลาดขนาดใหญ่ ได้แก่ จีน เวียดนาม ไทย และกัมพูชา จึงมีความได้เปรียบในฐานะที่เป็นประตูการค้า (Land Link) สู่กลุ่มประเทศดังกล่าว นอกจากนี้ ตามแนวชายแดนระหว่าง สปป.ลาว และ กลุ่มประเทศข้างต้นยังเป็นแหล่งการค้าที่สาคัญ สปป.ลาวอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด จึงทาให้ได้รับความช่วยเหลือจาก ต่างประเทศในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะประเด็นด้านสิทธิพิเศษทางการค้าต่างๆ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนของไทยกับลาว 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนของไทยกับลาว และ 3) นำเสนอยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนของไทยกับลาว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบกึ่งโครงสร้าง มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารระดับสูง ผู้ประกอบการ SME ในพื้นที่การค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME และประชาชนในพื้นที่  รวมทั้งสิ้น 20 คน และจัดกลุ่มสนทนา 10 คน วิเคราะห์แบบอุปนัย เป็นการตีความ สร้างข้อสรุปของข้อมูล ที่เป็นรูปธรรมและตรวจสอบข้อมูลโดยเทคนิคสามเส้า ด้านคน เวลา และสถานที่


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเทศไทยได้เปรียบดุลการค้าชายแดนและเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด น้ำมันดีเซลเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงที่สุด สำหรับสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า ประเทศไทยพึ่งพาลาวในด้านการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบ ในระบบการค้าผ่านแดนเพื่อป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม 2) จุดแข็ง คือ มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ชายแดนติดกับไทย 17 เขต จุดอ่อน คือ ปัญหาการขนส่งมีต้นทุนสูง ขาดแรงงาน โครงสร้างพื้นฐานไม่เอื้อต่อการค้า โอกาส คือ ลาวเป็นศูนย์กลางสินค้าไทยไปเวียดนาม จีน อุปสรรค คือ การขาดนักการตลาดเชิงรุกมืออาชีพ และสินค้าปลอมแปลง 3) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนของไทยกับลาว ใช้ยุทธศาสตร์ BETS ได้แก่ (1) การพัฒนาชายแดน (Border Development) (2) เศรษฐกิจ (Economy)  (3) การท่องเที่ยว (Tourism) และ (4) เงื่อนไขความสัมพันธ์ (Social Condition) ภายใต้ยุทธศาสตร์ BETS จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพความร่วมมือการค้าไทยและลาว บนพื้นฐานความสัมพันธ์ ด้านประเพณีและวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite

More Citation Formats

  • ACM
  • ACS
  • APA
  • ABNT
  • Chicago
  • Harvard
  • IEEE
  • MLA
  • Turabian
  • Vancouver

Download Citation

  • Endnote/Zotero/Mendeley (RIS)
  • BibTeX

ฉบับ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 (2022): พฤษภาคม

บท

บทความวิจัย

จุดแข็ง จุดอ่อน ของประเทศลาว

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร

        ในด้านปัญหาลอุปสรรค์ทางการค้า ผู้ส่งออกสินค้าของไทยไป สปป.ลาว ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าชายแดน ขาดความเป็นนักการตลาดเชิงรุกมืออาชีพ อีกทั้งราคาสินค้าไทยมีราคาสูงเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง คือจีนและเวียดนาม รวมถึงมีการลักลอบการค้าตามแนวชายแดน ทำให้สินค้าไทยเข้าไปแข่งขันกันเองในตลาด สปป.ลาว และสินค้าไทยถูกปลอมแปลง และลอกเลียนแบบจากประเทศคู่แข่งมากพอสมควร