หลักฐานสำคัญที่แสดงว่าอาณาจักรโบราณในดินแดนภาคใต้นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานคือสิ่งใด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้เกี่ยวกับอาณาจักรโบราณทางภาคใต้ของประเทศไทย สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ศรีวิชัย (แก้ความกำกวม)

ศรีวิชัย

Kadatuan Sriwijaya
श्रीविजय

ราวปี พ.ศ. 1193–พ.ศ. 1818
หลักฐานสำคัญที่แสดงว่าอาณาจักรโบราณในดินแดนภาคใต้นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานคือสิ่งใด

แผนที่พัฒนาการของอาณาจักรศรีวิชัย เริ่มในปาเล็มบังในศตวรรษที่ 7 จากนั้นขยายไปยังส่วนใหญ่ของสุมาตรา แล้วขยายไปยังพื้นที่ของเกาะชวา, หมู่เกาะรีเยา, หมู่เกาะบังกาเบอลีตุง, สิงคโปร์, คาบสมุทรมลายู (เรียกอีกอย่างว่าคาบสมุทรกระ), ประเทศไทย, กัมพูชา, เวียดนามใต้, กาลีมันตัน จวบจนสิ้นเป็นอาณาจักรมลายูแห่งธรรมพระยาในจัมบี ในศตวรรษที่ 14

เมืองหลวง
  • ปาเล็มบัง[1][2]
  • ที่ราบเกอวู
  • ไชยา
  • จัมบี
ภาษาทั่วไปภาษามลายูโบราณและภาษาสันสกฤต
ศาสนา มหายาน, วัชรยาน, ศาสนาฮินดู และวิญญาณนิยม
การปกครองราชาธิปไตย
มหาราช 

• ราว พ.ศ. 1226

ศรีชยานาสแห่งศรีวิชัย

• ราว พ.ศ. 1318

ธรรมเสตุ

• ราว พ.ศ. 1335

สัมระตุงกา

• ราว พ.ศ. 1378

พลาปุตรา

• ราว พ.ศ. 1531

ศรีจุทามณี วรมะเทวะ
ประวัติศาสตร์ 

• ศรีชยานาสแห่งศรีวิชัยเสด็จพระราชดำเนินและขยายราชอาณาจักร (จารึกเกดูกันบูกิต)

ราวปี พ.ศ. 1193

• การรุกรานโจฬะของอาณาจักรศรีวิชัย

พ.ศ. 1568

• อาณาจักรสิงหะส่าหรีโจมตีมลายู

พ.ศ. 1818
สกุลเงินเหรียญทองและเงินพื้นเมือง
ก่อนหน้า ถัดไป
หลักฐานสำคัญที่แสดงว่าอาณาจักรโบราณในดินแดนภาคใต้นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานคือสิ่งใด
อาณาจักรกันโตลี
หลักฐานสำคัญที่แสดงว่าอาณาจักรโบราณในดินแดนภาคใต้นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานคือสิ่งใด
ราชวงศ์ไศเรนทร์
อาณาจักรมลายู
หลักฐานสำคัญที่แสดงว่าอาณาจักรโบราณในดินแดนภาคใต้นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานคือสิ่งใด
อาณาจักรธรรมะสรยา
หลักฐานสำคัญที่แสดงว่าอาณาจักรโบราณในดินแดนภาคใต้นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานคือสิ่งใด
อาณาจักรสิงคโปร์
หลักฐานสำคัญที่แสดงว่าอาณาจักรโบราณในดินแดนภาคใต้นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานคือสิ่งใด
อาณาจักรสุลต่านสมุเดราปาไซ
หลักฐานสำคัญที่แสดงว่าอาณาจักรโบราณในดินแดนภาคใต้นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานคือสิ่งใด
อาณาจักรมัชปาหิต
หลักฐานสำคัญที่แสดงว่าอาณาจักรโบราณในดินแดนภาคใต้นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานคือสิ่งใด
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซีย
สิงคโปร์
มาเลเซีย
ไทย

อาณาจักรศรีวิชัย หรือ อาณาจักรศรีโพธิ์ ก่อตั้งโดยราชวงศ์ไศเลนทร์ ในช่วงที่อาณาจักรฟูนันล่มสลาย มีอาณาเขตครอบคลุมมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีของประเทศไทยในปัจจุบัน พื้นที่อาณาจักรแบ่งได้สามส่วน คือส่วนคาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา และเกาะชวา โดยส่วนของชวาได้แยกตัวออกไปตั้งเป็นอาณาจักรมัชปาหิต ต่อมาเมื่ออาณาจักรศรีวิชัยอ่อนแอลง อาณาจักรมัชปาหิตได้ยกทัพเข้ามาตีศรีวิชัย ได้ดินแดนสุมาตราและบางส่วนของคาบสมุทรมลายูไป และทำให้ศรีวิชัยล่มสลายไปในที่สุด ส่วนพื้นที่คาบสมุทรที่เหลือ ต่อมาเชื้อพระวงศ์จากอาณาจักรเพชรบุรี ได้เสด็จมาฟื้นฟูและตั้งเป็นอาณาจักรนครศรีธรรมราช ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ได้ระบุว่า ศรีวิชัยสถาปนาในช่วงเวลาก่อนปี พ.ศ. 1225 เล็กน้อย[3] ขณะที่ เสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ เลขานุการคณะอนุกรรมการตรวจสอบหลักฐานอาณาจักรศรีโพธิ์ วุฒิสภา ระบุว่า อาณาจักรศรีโพธิ์ (ศรีวิชัย) สถาปนาขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 1202 [4] โดยใช้หลักการทางดาราศาสตร์ฟิสิกส์ ตรวจหาวันที่จากเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ ที่อ้างอิงถึงในตำนานท้องถิ่นเกี่ยวกับการสถาปนาอาณาจักรที่ว่า หลังเสร็จสิ้นสงครามแย่งช้าง ต่อมาได้เกิดสุริยคราสแหวนเพชร ขึ้นในท้องที่ดังกล่าว หลังจากนั้นอีก 7 วัน มหาราชทั้งสอง ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษกที่เขาสุวรรณบรรพต แล้วขึ้นครองราชสมบัติ สถาปนาอาณาจักรศรีโพธิ์ ส่วนที่ตั้งศูนย์กลางอาณาจักร มีการถกเถียงกันจนปัจจุบันก็ยังไม่ได้ข้อยุติ แต่มีสองแนวคิดที่เชื่อถือกันอยู่คือ คูเมืองไชยา (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) และที่เมืองปาเล็มบัง (สุมาตรา) ทั้งนี้เพราะมีหลักฐานเป็นจารึกชัดเจนว่า ปีพ.ศ. 1369 พระเจ้าศรีพลบุตร (ครองชวากลาง) พระนัดดาในพระเจ้าศรีสงครามธนัญชัย (ครองทั้งศรีวิชัยและชวากลาง) ยกทัพจากชวากลางมาตีศรีวิชัย จากพระใหญ่ (พระนัดดาอีกสายของพระเจ้าศรีสงครามฯ ที่ครองศรีวิชัย) แล้วชิงได้ราชสมบัติไป[5][4] แนวความคิดเรื่องชวากลาง (สถานที่ประดิษฐานเจดีย์บุโรพุทโธ) เป็นศูนย์กลางจึงตกไป มีการพบศิลาจารึกภาษามลายูโบราณเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยทั้งที่สุมาตรา และที่วัดเสมาเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช และพบศิลาจารึกภาษาสันสกฤต เมืองไชยา ระบุว่าศรีวิชัยเป็นเมืองท่าค้าพริก ดีปลีและพริกไทยเม็ด โดยมีต้นหมากและต้นมะพร้าวจำนวนมาก

หลวงจีนอี้จิง เคยเดินทางจากเมืองกวางตุ้ง ประเทศจีนโดยเรือของพวกอาหรับ ผ่านฟูนันมาพักที่อาณาจักรศรีวิชัยในเดือน 11 พ.ศ. 1214 เป็นเวลา 2 เดือน ก่อนที่จะเดินทางต่อผ่านเมืองไทรบุรี ผ่านหมู่เกาะคนเปลือยนิโคบาร์ ถึงเมืองท่า ตามพรลิงก์ที่อินเดีย เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา หลวงจีนอี้จิงบันทึกไว้ว่า พุทธศาสนาแบบมหายานเจริญรุ่งเรืองในอาณาจักรศรีวิชัย ประชาชนทางแหลมมลายูเดิมส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา แต่ก็ได้ติดต่อกับพ่อค้าอาหรับมุสลิมที่เดินทางผ่านเพื่อไปยังประเทศจีน ดังนั้นในเวลาต่อมาศาสนาอิสลามจึงได้เผยแพร่ไปยังมะละกา กลันตัน ตรังกานู ปาหัง และปัตตานี จนกลายเป็นรัฐอิสลามไป ต่อมาใน พ.ศ. 1568 อาณาจักรศรีวิชัยได้ตกอยู่ใต้อำนาจและกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมัชปาหิตของชวาใน พ.ศ. 1940 แต่มีหลักฐานจากตำนานเมืองเพชรบุรีว่า อาณาจักรศรีวิชัยได้ล่มสลายไปก่อนหน้านี้แล้ว เพราะตำนานฯ ระบุว่าก่อนพระพนมวังจะได้สถาปนาอาณาจักรนครศรีธรรมราชในปี พ.ศ. 1830 นครศรีธรรมราชมีสภาพเป็นเมืองร้างมาก่อน

อ้างอิง[แก้]

  1. "Indonesia - The Malay kingdom of Srivijaya-Palembang". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-05-23.
  2. Partogi, Sebastian (November 25, 2017). "Historical fragments of Sriwijaya in Palembang". The Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ 23 May 2019.
  3. ฐานข้อมูลบทความวิชาการ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล
  4. ↑ 4.0 4.1 เสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ. สยามประเทศ ไม่ได้เริ่มต้นที่สุโขทัย. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน, 2547. หน้า 60, 62. ISBN 974-90640-3-8
  5. เสนีย์อนุชิต, สยามประเทศฯ, อ้างแล้ว -- ตารางกษัตริย์ (บทนำ)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ศรีวิชัย เจ้าแห่งทะเลและศิลปะ ศูนย์รวมพุทธศาสนา