ข้อใดคือ นามสกุล ของไฟล์โปรแกรม ulead video studio

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

      ในปัจจุบันงานวิดีโอได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้น ด้วยความสามารถของงานทางด้านมัลติมีเดีย ที่ทำให้การนำ
เสนองานของเราน่าสนใจแล้ว ราคากล้องวิดีโอก็ราคาถูกลงมามากและหาซื้อได้ไม่ยาก พร้อมกับโปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อ
วิดีโอก็มีให้เลือกใช้มากมายและก็ไม่ยากจนเกินไปที่จะเรียนรู้ สำหรับสื่อนี้จะขอนำเสนอการตัดต่อด้วยโปรแกรม

1. แนะนำองค์กรและหน่วยงาน การสร้างงานวิดีโอเพื่อแนะนำสถานที่ต่างๆ หรือในการนำเสนอข้อมูลภายในหน่วยงาน
และองค์กร เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ชมผู้ฟังและยังก่อให้เกิดความเข้าใจในตัวงานได้ง่ายขึ้น
2. บันทึกภาพความทรงจำ และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เช่น การเดินทางไปท่องเที่ยวในทฃสถานที่ต่างๆ งานวันเกิด
งานแต่งงาน งานรับปริญญางานเลี้ยงของหน่วยงานหรือองค์กร ซึ่งเดิมเราจะเก็บไว้ในรูปแบบภาพนิ่ง
3. การทำสื่อการเรียนการสอน คุณครูสามารถสร้างสื่อการสอนในรูปแบบวิดีโอไว้นำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น เป็นวิดีโอ
โดยตรง เป็นภาพวิดีโอประกอบในโปรแกรม POWER POINT เป็นภาพวิดีโอประกอบใน Homepage และอื่นๆ
4. การนำเสนอรายงาน วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยต่างๆ ซึ่งปรับเปลี่ยนการนำเสนองานจากรูปแบบเดิม ที่เป็นเอกสารภาพ
ประกอบ แผ่นชาร์จแผ่นใส ให้ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
5. วิดีโอสำหรับบุคคลพิเศษ บุคคลสำคัญในโอกาสพิเศษ อาจหมายถึง วิทยากรที่เชิญมาบรรยาย ผู้จะเกษียณอายุจากการ
ทำงาน เจ้าของวันเกิดคู่บ่าวสาว โอกาสของบุคคลที่ได้รับรางวัลต่างๆ
ที่กล่าวมานี้คือส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เรามอง เห็นความสำคัญของงานวิดีโอมากขึ้น และได้รู้ว่าการทำวิดีโอไม่ได้ลงทุนมากและยุ่งยากอย่างที่คิดจากประสบการณ์ ในการทำงานวิดีโอ สรุปได้ว่าวิดีโอที่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินลงทุนที่ใช้ แต่ขึ้นอยู่กับความปราณีต และความคิดสร้างสรรค์

แนวคิดในการสร้างวิดีโอ


ก่อนที่ลงมือสร้างผลงานวิดีโอสักเรื่อง จะต้องผ่านกระบวนการคิด วางแผนมาอย่างรอบครอบ ไม่ใช่ไปถ่ายวิดีโอแล้วก็นำมาตัดต่อเลย โดยไม่มีการคิดให้ดีก่อนที่จะถ่ายทำ เพราะปัญหาที่มักเกิดขึ้นเสมอก็คือการที่ไม่ได้ภาพตามที่ต้องการ เนื้อหาที่ถ่ายมาไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ ในที่นี้ขอแนะนำแนวคิดในการทำงานวิดีโออย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้อง
การ จะไม่ต้องมาเสียเวลาแก้ไข้ภายหลัง โดยมีลำดับแนวคิดของงานสร้างวิดีโอเบื้องต้น ดังนี้

1. เขียน Storyboard
สิ่งแรกที่เราควรเรียนรู้ก่อนสร้างงานวิดีโอ ก็คือ การเขียนStoryboard คือ การจินตนาการฉากต่างๆ ก่อนที่จะถ่ายทำจริง
ในการเขียน Storyboard อาจวิธีง่ายๆ ไม่ถึงขนาดวาดภาพปรกอบก็ได้ เพียงเขียนวัตถุประสงค์ของงานให้ชัดเจนว่าต้อง
การสื่ออะไรหรืองานประเภทไหน จากนั้นดูว่าเราต้องการภาพอะไรบ้าง เขียนออกมาเป็นฉาก เรียงลำดับ 1, 2, 3,.......

2. เตรียมองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้ 
ในการทำงานวิดีโอ เราจะต้องเตรียมองค์ประกอบต่างๆ ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นไฟล์วิดีโอ ไฟล์ภาพนิ่ง ไฟล์เสียง หรือ
ไฟลดนตรี

3. ตัดต่องานวิดีโอ
การตัดต่อคือการนำองค์ประกอบต่างๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็นงานวิดีโอ งานวิดีโอจะออกมาดีน่าสนใจเพียงใดขึ้นอยู่กับ
การตัดต่อเป็นสำคัญ ซึ่งเราจะต้องเรียนรู้การตัดต่อในบทต่อไปก่อน

4. ใส่เอ็ฟเฟ็กต์/ตัดต่อใส่เสียง
ในขั้นตอนการตัดต่อ เราจะต้องตกแด่งงานวิดีโอด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสี การใส่ข้อความ หรือเสียง
ดนตรี ซึ่งจะช่วยให้งานของเรามีสีสัน และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

5. แปลงวิดีโอ เพื่อนำไปใช้งานจริง
ขั้นตอนการแปลงวิดีโอเป็นขั้นตอนสุดท้าย ในการทำงานวิดีโอที่เราได้ทำเรียบร้อยแล้วนั้นไปใช้งาน โปรแกรม Ulead Video Studio 8สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ทำเป็น VCD, DVD หรือเป็นไฟล์ WMV สำหรับนำเสนอทางอินเทอร์เน็ต

อุปกรณ์ในการตัดต่อวิดีโอ

1เครื่องคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกาณ์ชิ้นแรกที่จำเป็นต้องมี ปัจจุบัน
เทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกล ทำให้เราสามารถมีเครื่อง
คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงในราคาประหยัด สำหรับ
เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการตัดต่อควรมีสเป็คเครื่อง
ขั้นต่ำ ดังนี้
ซีพียู แนะนำ Pentium 4 ความเร็ว 1 GHz ขึ้นไป
แรมหรือหน่วยความจำ ขนาด 512 MB ขึ้นไป
ฮาร์ดดิสก์ 80 GB ซึ่งปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์
มีความจุ ฮาร์ดดิสก์มากพออยู่แล้ว
ระบบปฏิบัติการ แนะนำให้ใช้ Windows XP/2000

2. กล้องถ่ายวิดีโอ
กล้องถ่ายวิดีโอ มีหลายประเภท หลายรูปแบบ แต่ในที่จะ
กล่าวถึงการใช้งานเฉพาะกล้องถ่ายวิดีโอแบบดิจิตอล หรือ
กล้องดิจิตอลแบบ MiniDV


3. Capture Card (การ์ดแคปเจอร์ หรือการ์ดจับภาพวิดีโอ)
เนื่องเราไม่สามารถนำภาพวิดีโอที่อยู่ ในกล้องวิดีโอมาใช้กับ
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ดังนั้นเราจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ ที่
เรียกว่าการ์ดแคปเจอร์ หรือการ์ดจับภาพวิดีโอ ช่วยเปลี่ยน
เสมือนเป็นสื่อกลางในการส่งถ่ายข้อมูล จากกล้องมายังเครื่อง
คอมพิวเตอร์นั้นเอง และแคปเจอร์ หรือการ์ดจับภาพวิดีโอ
ก็มีหลายรูปแบบเช่นกัน

4. ไดรว์สำหรับเขียนแผ่น CD หรือ DVD
อุปกรณ์นี้จำเป็นต้องมีหากเราต้องการสร้างงานให้อยู่ในรูปแบบ VCD หรือ DVD ซึ่งในปัจจุบันก็หาซื้อได้ไม่ยาก ราคาก็ไม่แพง

5. แผ่น CD สำหรับบันทึกข้อมูล
แผ่น CD-R (CD-ReWrite หรือ CD Record) ใช้สำหรับ
บันทึกข้อมูลทั่วไป เช่น ข้อมูลต่างๆ โปรแกรมเพลง รูปภาพ
และภาพยนตร์ สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียวจนกว่าจะเต็มแผ่น

แผ่น CD-RW (CD-Write) ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลทั่วไป
เช่นเดียวกับแผ่น CD-R แต่มีความพิเศษกว่าตรงที่สามารถที่จะ
เขียนหรือบันทึกซ้ำ และลบข้อมูลที่เขียนไปแล้วได้


6. ดีวีดีอาร์ดับบลิวไดรว์
ดีวดีดีอาร์ดับบลิวไดรว์ (DVD+-RW drive) ก็คล้ายกับ
ซีดีอาร์ดับบลิวไดรว์นั่นเอง คือสามารถอ่านและขียนแผ่นดีวีดี
แบบพิเศษ คือแผ่น DVD+-R และแผ่น DVD+-RW ได้

รูปแบบของแผ่นดีวีดี
แผ่นดีวีดีอาร์
ดีวีดีอาร์ (DVD+R : Digital Versatile Disc-Recordable)
เป็นแผ่นดีวีดีที่ผู้ใช้สามารถบันทึก หรือเขียนข้อมูลลงไปได้ครั้งเดียว จนกว่าจะเต็มแผ่น มีให้เลือกแบบด้านเดียว และด้าน
ในความจุด้านละ 4.7 GB แผ่น ประเภทนี้ยังแบ่งออกเป็น 2
มาตรฐาน (จาก ค่าย) คือ แผ่น DVD-R DVD+R

แผ่นดีวีดีอาร์ดับบลิว
ดีวีดีอาร์ดับบลิว (DVD+RW : Digital Versatile Disc-Re-recordable) เป็นแผ่นดีวีดีที่ใช้เขียน และลบข้อมูลได้
หลายครั้งมีความจุ 4.7 GB

ความหมาย

โปรแกรมUlead Video Studio 9

ชื่อซอฟต์แวร์

:  Ulead studio 9

ผู้คิดค้น  : Ulead

ประเภทของซอฟต์แวร์

Entertainment

Software

เวอร์ชัน

9

ระบบวินโดว์ที่รองรับการใช้งาน

Windows

2000/XP/Vista

ผู้คิดค้น Corel Corporation

Ulead Video Studio เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่มีการใช้งานไม่ยากจนเกินไป

แม้ผู้ที่เริ่มใช้งาน

ก็สามารถที่จะสร้างวีดีโอได้เหมือนกับผู้ที่มีประสบการณ์ตัดต่อวีดีโอมานาน

โปรแกรมนี้มีเครื่องมือต่างๆ สำหรับตัดต่อวีดีโออย่างครบถ้วน เริ่มตั้งแต่จับภาพจากกล้องเข้าคอมพิวเตอร์

ตัดต่อวีดีโอ ใส่เอ็ฟเฟ็กต์ต่างๆ แทรกดนตรีประกอบ แทรกคำบรรยาย

ไปจนถึงบันทึกวีดีโอที่ตัดต่อกลับลงเทป, VCD, DVD หรือแม้กระทั่งเผยแพร่ผลงานทางเว็บ

โปรแกรม Ulead มีการทำงานเป็นขั้นตอนที่ง่าย

ตั้งแต่จับภาพ ตัดต่อไปจนถึงเขียนลงแผ่น นอกจากนี้แล้ว

โปรแกรมยังมีเอ็ฟเฟ็กต์ต่างๆ อีกมากมาย ไตเติ้ลสำเร็จรูปแบบมืออาชีพ

รวมทั้งยังมีเครื่องมือที่ใช้สำหรับสร้างซาวนด์แทร็คอย่างง่ายๆ อีกด้วย

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับวิดีโอ  และการประยุกต์ใช้

การเลือกใช้งานวิดีโอ

ทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆ

เช่น สื่อเป็นที่ใช้ในการผลิต ข้อจำกัด และราคาของส่วนประกอบที่จะนำมาใช้งาน

จะต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องตามลิขสิทธิ์และกฎหมายที่คุ้มครอง

เข้าใจถึงพื้นฐานการทำงานของวิดีโอ

ชนิดของวิดีโอ

วิดีโออนาลอก (Analog Video) เป็นวิดีโอทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงให้อยู่ในรูปของสัญญาณอนาลอก

(ในรูปของคลื่น)

วิดีโอที่เป็นอนาลอก ได้แก่ VHS (Video Home System) ซึ่งเป็นม้วนเทปวิดีโอที่ใช้ดูกันตามบ้าน

เมื่อทำการตัดต่อข้อมูลของวิดีโอชนิดนี้ อาจจะทำให้คุณภาพลดน้อยลง

วิดีโอดิจิตอล (Digital Video) เป็นวิดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงที่ได้มาจากกล้องวิดีโอดิจิตอล

ให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1

การตัดต่อข้อมูลของภาพและเสียงที่ได้มาจากวิดีโอดิจิตอลนั้น

จะแตกต่างจากวิดีโออนาลอก

เพราะข้อมูลที่ได้จะยังคงคุณภาพความคมชัดเหมือนกับต้นฉบับ

การนำวิดีโอไปใช้งาน

ด้านบันเทิง (Video Entertainment) สามารถบันทึกมิวสิกวิดีโอ รายการโทรทัศน์ที่ชื่นชอบ บันทึกการแสดงสด

หรือคาราโอเกะ ในงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ เพื่อนำกลับมาชมได้อีกครั้ง

ด้านการนำเสนองาน (Video Presentation) สามารถใช้ทำ Video Presentation สำหรับแนะนำสินค้าของบริษัท

ตัวอย่างสินค้าวีดีทัศน์ ตัวอย่างการใช้งานสินค้า กิจกรรมด้านต่างๆ

ของบริษัทและพนักงาน เช่น งานสังสรรค์ งานวันเกิด

งานแต่งงานของเพื่อนหรือพนักงานในบริษัท

ด้านงานสะสมวิดีโอ (Video Album) สามารถผลิตวีดีทัศน์ที่ใช้เพื่อบันทึกภาพแห่งความทรงจำของเพื่อนๆ

ในห้อง รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่กระทำร่วมกันขณะที่ศึกษาอยู่

หรือเก็บภาพแห่งความภาคภูมิใจในวันสำเร็จการศึกษาเพื่อให้สามารถระลึกถึงความทรงจำเก่าๆ

อันมีค่าระหว่างการอยู่ร่วมกับเพื่อนๆ ได้

ด้านการศึกษา

(Education

Program) ผลิตสื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ในรูปแบบของวิดีโอเทป

ซีดีรอม หรือภาพนิ่ง เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ทั้งในชั้นเรียนและทางออนไลน์

(Online Training)

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการผลิตวิดีโอ

ชื่อโปรแกรม

-Macromedia Flash MX    โปรแกรมสำหรับสร้างงานอนิเมชั่น มัลติมีเดีย

งานอินเตอร์เอคทีฟ และรองรับงานออนไลน์ต่างๆ

-Adobe Photoshopโปรแกรมสำหรับตกแต่งรูปภาพ

-Windows Movie Maker   โปรแกรมสำหรับใช้ในการตัดต่อภาพ เป็นมัลติมีเดียสตรีมมิ่งทั้งภาพและเสียงที่ได้จากการตัดต่อวิดีโอ

และสามารถนำเข้าไฟล์ไม่ว่าจะเป็น *.AVI, *.AFS, *.MPEG, *.MPG, *.MPA เป็นต้น

-VirtualDubเป็นโปรแกรมที่ช่วยใส่ Feeling

ต่างๆ ให้แก่ภาพ

ช่วยในการลดเม็ดสีที่คล้ายเม็ดหิมะที่เกิดจากการตัดต่อภาพจาก TV หรือ TV จูนเนอร์ และสามารถทำการบีบอัดข้อมูลได้

-Tmpgenc(Tsunami Mpeg Encoderหรือ

ทีเอ็มเพ็ค 2 เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดัดแปลงไฟล์ VDO แบบ *.AVI

ให้เป็น *.MPEG ได้ สามารถใช้โปรแกรม Tmpgenc

ร่วมกับ VirtualDub ได้

การผสมผสานระหว่างคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์

พื้นฐานของวิดีโอบนโทรทัศน์เป็นเทคโนโลยีของสัญญาณอนาลอก

สำหรับเป็นมาตรฐานการแพร่สัญญาณภาพไปสู่ครัวเรือน แต่คอมพิวเตอร์วิดีโออยู่บนพื้นฐานของดิจิตอลเทคโนโลยี

ปัจจุบันทั้งสองเทคโนโลยีนี้จะพัฒนาไปสู่ระบบ DVD และ HDTV ร่วมกันในอนาคต

ระบบการซ้อนภาพวิดีโอ (Video Overlay System) เมื่อพัฒนาวิดีโอเทปและ VCD เพื่อแสดงผลบนโทรทัศน์ได้แล้ว

จึงได้มีการนำวิดีโอและคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกันเรียกว่า “Computer-Based

Training” (CBT) ซึ่งจะใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานของเครื่องเล่นวิดีโอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณควบคุมผ่านสายสัญญาณไปบังคับการทำงานของเครื่องเล่นวิดีโอ

แล้วแสดงผลบนจอภาพโทรทัศน์ของผู้ผลิตงาน การแสดงภาพวิดีโอบนเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอล

และจะต้องติดตั้งการ์ดแสดงผลหรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์สำหรับแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นดิจิตอลให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย

VIDEO CODECS ต่างๆ

MPEG-1                               Movies (MPEG)

MPEG-2                               Movie (MPEG)

MPEG-4                               Movies (MPEG)

H.264                                     Movies

(MPEG/ITU)

VC-1                                      Movies

(SMPTE)

AVI                                        Movies

(Windows)

WMV                                    Movies/Streaming

(Windows)

RM, RV                                 Movies/Streaming

(RealNetworks)

Indeo                                     Movies

(Intel)

Cinepak                                 Movies

(SuperMac Technologies)

Sorenson                               Movies

(Sorenson Media)

H.261                                     Videoconferencing

(ITU)

H.263                                     Videoconferencing

(ITU)

ข้อดีสำหรับผู้ที่ใช้โปรแกรม Ulead Video Studio 9

ทำให้มีการผลิตสื่อต่างๆออกมาได้อย่างสวยงาม

สามารถผลิตสื่อการสอนได้อีกทางหนึ่ง

3 ทำให้ตัดต่อ เพลง หนัง

ได้โดยวิธีง่ายๆ

ข้อเสียสำหรับผู้ที่ใช้โปรแกรม

Ulead

Video Studio 9

1 ในการตัดต่อ ระหว่าขบวนการทำต้องจัดเก็บข้อมูลไว้ในที่ใดที่หนึ่ง

มิฉะนั้นจะแก้ไขไม่ได้ เมื่อทำเสร็จ

2อาจมีการใช่ สื่อ ในทางที่ผิดๆ

การตัดต่อวีดีโอ ด้วยโปรแกรม Ulead VideoStudio (ดึงไฟล์วิดีโอผ่านการ์ด firewire)

การจับภาพ

เสียบสายเคเบิ้ลเข้ากับคอมพิวเตอร์และกล้องวีดีโอดิจิตอลให้เรียบร้อย

(ดึงไฟล์วิดีโอผ่านการ์ด firewire) แล้วเปิดกล้องในโหมด VCR เปิดโปรแกรม

Ulead โปรแกรมจะเปิดหน้าต่างในขั้นตอน Edit ให้คลิกที่ปุ่ม Capture เพื่อทำการจับภาพจากกล้องวีดีโอ หลังจากที่คลิกปุ่ม Capture แล้ว ให้คลิกที่ Capture Video

โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างจับภาพ ด้านซ้ายของหน้าต่างเรียกว่า Options

Panel ส่วนแสดงภาพเรียกว่าหน้าต่างพรีวิว ด้านขวาเรียกว่าไลบรารี่

ส่วนด้านล่างเแสดงข้อมูลต่างๆ ของวีดีโอ

1.Duration ตั้งระยะเวลาของการจับภาพ 

2.Source อุปกรณ์จับภาพวีดีโอและรายชื่ออุปกรณ์จับภาพอื่นๆ ที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์

3.Format รูปแบบไฟล์ของวีดีโอที่จะจับภาพและบันทึกในคอมพิวเตอร์

4.Split by scene บันทึกไฟล์วีดีโอที่จับภาพแยกไฟล์กัน

แยกตามการกดปุ่มบันทึกและหยุดบันทึก หากไม่กำหนด

โปรแกรมจะบันทึกไฟล์วีดีโอเป็นไฟล์เดียว

(คุณลักษณะนี้ใช้ได้เฉพาะการจับภาพจากกล้องวีดีโอดิจิตอลเท่านั้น)

5.Capture folder โฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์วีดีโอ

6.Options แสดงเมนูให้คุณได้ปรับแต่งค่าการจับภาพ

7.Capture Video จับภาพจากกล้องวีดีโอบันทึกลงในฮาร์ดดิสก์

ในการจับภาพวีดีโอนี้ คุณอาจจะทำการตั้งเวลาในการจับภาพได้ เช่น

ต้องการจับภาพเพียง 20 นาทีเท่านั้น ให้ป้อนเลขระยะเวลาของการจับภาพในช่อง

Duration เมื่อถึงเวลาที่กำหนดโปรแกรมจะหยุดจับภาพเองโดยอัตโนมัติ

ช่อง Source เมื่อคุณต่อสายเคเบิ้ลและเปิดกล้องวีดีโอ

ชื่อกล้องวีดีโอก็จะปรากฏในช่องนี้ หรือหากติดตั้งการ์ดจับภาพอยู่

ก็จะปรากฏรายชื่อในชอง Source นี้เหมือนกัน

ช่อง Format เลือกรูปแบบไฟล์วีดีโอที่คุณต้องการบันทึก

หากต้องการจับภาพบันทึกเป็นไฟล์ .avi ให้เลือกรายการ DV

หากต้องการบันทึกเป็นไฟล์ MPEG-1 เมื่อจับภาพเสร็จก็สามารถนำไปเขียนเป็น

VCD ได้ ให้เลือก VCD

ส่วนของ Information จะแสดงข้อมูลต่างๆ เกี่ยวับกการจับภาพ ไฟล์ที่จะบันทึกต่อไปเป็นไฟล์ชื่ออะไร ความละเอียด ชนิดอะไร ระบบไหน เป็นต้น

ในตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นการตั้งค่าการจับภาพเป็นแบบ DV

และเลือกให้มีการแยกไฟล์ตาม scene โดยการทำเครื่องหมายถูกหน้า Split by

scene การจับภาพแบบแยก scene นี้

ช่วยให้คุณสามารถที่จะจัดลำดับของคลิปวีดีโอเรียงตามเหตุการณ์

หรือลบทิ้งคลิปที่ไม่ต้องการได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น

รวมทั้งใส่เอ็ฟเฟ็กต์ทรานสิชั่นในระหว่างคลิปได้อย่างง่ายโดยที่ไม่ต้องมา

แยก scene ใหม่

จากข้อมูลใน Information จะสังเกตุเห็นว่า DV type จะเป็น Type-1 อยู่

แต่ต้องการจะเปลี่ยนเป็น Type-2 ให้คลิก Options แล้วเลือก Capture

Options เพื่อตั้งค่าตัวเลือกในการจับภาพ

ทำเครื่องหมายถูกหน้า Capture to Library (เป็นค่าเริ่มต้นของโปรแกรม)

การเลือกตัวเลือกนี้ เป็นการจับภาพแล้วให้นำภาพขนาดเล็ก (thumbnail)

ของวีดีโอที่จับ เก็บไว้ในไลบรารี่ด้วย

ประโยชน์ของการที่เก็บภาพไว้ในไลบรารี่ก็คือ

ทำให้คุณทราบว่าได้มีการจับภาพวีดีโออะไรมาบ้าง

และหากคุณต้องการนำคลิปวีดีโอนั้นมาตัดต่อ

ก็เพียงแต่คลิกลากไฟล์วีดีโอที่อยู่ในไลบรารี่มาใส่ใน Timeline เท่านั้น

คลิก Options แล้วเลือก DV Type… คลิกเลือก DV type-s คลิกปุ่ม OK

หลังจากที่เลือกชนิดวีดีโอเป็น type-2 แล้วข้อมูลในส่วน Information ก็จะเปลี่ยนตาม

เมื่อตั้งค่าต่างๆ เสร็จแล้ว คลิกที่รูปกล้องหน้า Capture Video เพื่อเริ่มขั้นตอนจับภาพจากกล้องบันทึกเป็นไฟล์ลงคอมพิวเตอร์

ภาพหน้าจอขณะที่โปรแกรมกำลังจับภาพ

ขณะที่กำลังจับภาพอยู่นั้น

หากต้องการปิดเสียงวีดีโอที่กำลังจับภาพอยู่ ให้คลิกที่ Disable Audio

Preview การปิดเสียงนี้ไม่มีผลต่อเสียงที่บันทึกลงไฟล์วีดีโอ

เมื่อต้องการหยุดการจับภาพ ให้คลิกรูปกล้องหน้า Stop Capture

หากมีการตั้งเวลาจับภาพ (กำหนดระยะเวลาจับภาพในช่อง Duration) เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนด โปรแกรมจะหยุดจับภาพโดยอัตโนมัติ

หลังจากที่หยุดจับภาพแล้ว ให้บันทึกโครงการนี้ไว้ เพื่อเปิดตัดต่อในภายหลัง โดยไม่ต้องเลือกไฟล์เพิ่มใน Timeline เพื่อตัดต่ออีก

เลือกเมนู File -> Save แล้วตั้งชื่อไฟล์โครงการ

ข้อใดคือ นามสกุล ของไฟล์โปรแกรม ulead video studio

ชื่อไฟล์โครงการที่ได้ตั้งไว้

การบันทึกโครงการนี้ หากคุณจับภาพเสร็จและปิดโปรแกรม ก็จะปรากฏกรอบโต้ตอบถามถึงการบันทึกโครงการเช่นกัน

หมายเหตุ : การจับภาพแบบ DV Type-1 หรือ DV Type-2

(จากกล้องวีดีโอดิจิตอล) หรือจับภาพแบบ MPEG

(จากกล้องดิจิตอลหรือจากอุปกรณ์อนาล็อก) จะมีข้อจำกัดเรื่องขนาดไฟล์ที่ 4

GB ใน Windows 98 SE และ Me ที่ใช้ระบบไฟล์เป็น FAT 32 ขณะที่จับภาพ

เมื่อขนาดไฟล์มีขนาดใหญ่กว่า 4 GB โปรแกรมจะสร้างไฟล์ใหม่ให้โดยอัตโนมัติ

ส่วนใน Windows 2000 และ Windows XP ที่ใช้ระบบไฟล์เป็น NTFS

ไม่มีขีดจำกัดเรื่องขนาดไฟล์ในการจับภาพ

การจับภาพแบบแบ่งไฟล์เมื่อมีขนาดเกินนี้ จะใช้ไม่ได้กับการจับภาพแบบ

VFW (Video For Windows) และโปรแกรม Ulead VideoStudio

นี้จะตรวจสอบระบบไฟล์และทำการจับภาพแบบแบ่งไฟล์เมื่อมีขนาดใหญ่เกินข้อจำกัด

โดยอัตโนมัติ และจะทำได้เฉพาะในไฟล์ระบบที่เป็น FAT 32 เท่านั้น