โปรแกรมดรีมวีฟเวอร์ใช้สำหรับอะไร

  • การสร้างเว็บไซต์เบื้องต้น
รู้จักโปรแกรม Dreamweaver

โดย

จีระพงษ์ โพพันธุ์

-

29 สิงหาคม 2019

2298

โปรแกรมดรีมวีฟเวอร์ใช้สำหรับอะไร

ประวัติความเป็นมาของโปรแกรม Dreamweaver

โปรแกรมดรีมวีฟเวอร์ใช้สำหรับอะไร

Adobe Macromedia Dreamweaver

ผู้พัฒนา อะโดบีซิสเต็มส์ (เริ่มพัฒนาโดย แมโครมีเดีย)
โอเอส Windows Mac OSX
ชนิด โปรแกรมแก้ไข HTML
               ลิขสิทธิ์ Closed source
               เว็บไซต์ http://www.adobe.com/

          อะโดบี ดรีมวีฟเวอร์ (Adobe Dreamweaver) หรือชื่อเดิมคือ แมโครมีเดีย ดรีมวีฟเวอร์ (Macromedia Dreamweaver) เป็นโปรแกรมแก้ไข HTML พัฒนาโดยบริษัทแมโครมีเดีย (ปัจจุบันควบกิจการรวมกับบริษัท อะโดบีซิสเต็มส์) สำหรับการออกแบบเว็บไซต์ในรูปแบบ WYSIWYG กับการควบคุมของส่วนแก้ไขรหัส HTML ในการพัฒนาโปรแกรมที่มีการรวมทั้งสองแบบเข้าด้วยกันแบบนี้ ทำให้ ดรีมวีฟเวอร์เป็นโปรแกรมที่แตกต่างจากโปรแกรมอื่นๆ ในประเภทเดียวกัน ในช่วงปลายปีทศวรรษ 2533 จนถึงปีพ.ศ. 2544 ดรีมวีฟเวอร์มีสัดส่วนตลาดโปรแกรมแก้ไข HTML อยู่มากกว่า 70% ดรีมวีฟเวอร์มีทั้งในระบบปฏิบัติการแมคอินทอช และไมโครซอฟท์วินโดวส์ ดรีมวีฟเวอร์ยังสามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ ผ่านโปรแกรมจำลองอย่าง WINEได้ รุ่นล่าสุดคือ ดรีมวีฟเวอร์ CS4



การทำงานกับภาษาต่างๆ

ดรีมวีฟเวอร์ สามารถทำงานกับภาษาคอมพิวเตอร์ในการเขียนเว็บไซต์แบบไดนามิค ซึ่งมีการใช้ HTML เป็นตัวแสดงผลของเอกสาร เช่น ASP, ASP.NET, PHP, JSP และ ColdFusion รวมถึงการจัดการฐานข้อมูลต่างๆ อีกด้วย และในเวอร์ชันล่าสุด (เวอร์ชัน CS4) ยังสามารถทำงานร่วมกับ XML และ CSS ได้อย่างง่ายดาย



รุ่นต่างๆ

Dreamweaver 1.0 (ธันวาคม ค.ศ. 1997)
Dreamweaver 1.2 (มีนาคม ค.ศ. 1998)
Dreamweaver 2.0 (ธันวาคม ค.ศ. 1998)
Dreamweaver 3.0 (ธันวาคม ค.ศ. 1999)
Dreamweaver UltraDev 1.0 (มิถุนายน ค.ศ. 2000)
Dreamweaver 4.0 (ธันวาคม ค.ศ. 2000)
Dreamweaver UltraDev 4.0 (ธันวาคม ค.ศ. 2000)
Dreamweaver MX (พฤษภาคม ค.ศ. 2002)
Dreamweaver MX 2004 (10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003)
Dreamweaver 8 (13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005)
Dreamweaver CS3
Dreamweaver CS4

Dreamweaver CS5

Dreamweaver CS6

Dreamweaver CC




ความสามารถของโปรแกรม Dreamweaver
โปรแกรมดรีมวีฟเวอร์ใช้สำหรับอะไร

          ในการเขียนเว็บเพจ จะมีลักษณะคล้ายกับการพิมพ์งานในโปรแกรม Text Editor ทั่วไป คือว่ามันจะเรียงชิดซ้ายบนตลอดเวลา ไม่สามารถย้าย หรือ นำไปวางตำแหน่งที่ต้องการได้ทันที่เหมือนโปรแกรมกราฟิก เพราะฉะนั้นหากเราต้องการจัดวางรูปแบบตามที่เราต้องการ ก็ใช้ตาราง Table เข้ามาช่วยจัดตำแหน่ง ซึ่งเมื่อมีการจัดวางรูปแบบที่ซับซ้อนมากขึ้น การเขียนภาษา HTML ก็ซับซ้อนยิ่งขึ้นเช่นกัน โปรแกรม Dreamweaver อาจจะไม่สามารถเขียนเว็บได้ตามที่เราต้องการทั้งหมด วิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดคือ ควรจะเรียนรู้หลักการของภาษา HTML ไปด้วย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพ Webmaster แบบจริงจัง อาจจะไม่ต้องถึงกับท่องจำ Tag ต่าง ๆ ได้ทั้งหมด แต่ขอให้รู้ เข้าใจหลักการก็พอแล้ว เพราะหลาย ๆ ครั้งที่เราจะเขียนเว็บใน Dreamweaver แล้วกลับได้ผลผิดเพี้ยนไป ไม่ตรงตามที่ต้องการ ก็ต้องมาแก้ไข Code HTML เอง และความสามารถของ Dreamweaver สรุปได้ดังนี้

1. สนับสนุนการทำงานแบบ WYSIWYG (What You See Is What You Get) หมายความว่า เว็บที่เราเขียนหน้าจอ Dreamweaver ก็จะแสดงแบบเดียวกับเว็บเพจจริงๆ ช่วยให้เราเขียนเว็บเพจง่ายขึ้น ไม่ต้องเขียน Code HTML เอง

2. มีเครื่องมือในการช่วยสร้างเว็บเพจ ที่มีความยืดหยุ่นสูง

3. สนับสนุนภาษาสคริปต์ต่างๆ ทั้งฝั่ง Client และ Server เช่น Java, ASP, PHP, CGI, VBScript

4. มีเครื่องมือในการ Upload หน้าเว็บเพจไปที่เครื่อง Server เพื่อทำการเผยแพร่งานที่เราสร้างในอินเทอร์เน็ต โดยการส่งผ่าน FTP หรือ โดยการใช้โปรแกรม FTP ภายนอกช่วย เช่น WS FTP

5. รองรับมัลติมีเดีย เช่น การใส่เสียง, การแทรกไฟล์วิดีโอ, การใช้งานร่วมกับโปรแกรม Flash, Fireworks



สิ่งที่ควรทราบก่อนการใช้งานโปรแกรม Dreamweaver

1. ภาษา HTML เป็นภาษาที่ออกแบบสำหรับการแสดงผลเท่านั้น! ไม่สามารถประมวลผล หรือ ใช้เขียนเว็บแอพพลิเคชั่นได้

2. หากต้องการเพิ่มลูกเล่น หรือ เทคนิคพิเศษ เช่น Effect ต่าง ๆ ต้องนำภาษา JavaScript มาเสริม HTML อีกที

3. การจัดรูปแบบใน Code เช่นการขึ้นบรรทัดใหม่ การเว้นวรรค ไม่มีผลต่อการแสดงผลทาง Web Browser

4. การขึ้นบรรทัดใหม่ ต้องใช้ Tag <BR> หรือ กดปุ่ม Shift+Enter

5. การขึ้นย่อหน้าใหม่ ต้องใช้ Tag <P> หรือ กดปุ่ม Enter

6. การเว้นวรรค ต้องใช้ Tag พิเศษ คือ &nbsp; หรือ กดปุ่ม Ctrl+ Shift + Spacebar

7. หลักการอ่าน Tag ของภาษา HTML จะอ่านค่าจาก Tag ที่อยู่ด้านในก่อน

8. ไฟล์ HTML และ Script ต่างๆ สามารถเปิดแก้ไขในโปรแกรม Text Editor ทั่ว ๆ ไป ไม่จำเป็นต้องแก้ไขใน Dreamweaver เพียงอย่างเดียว

9. การแทรกข้อความ และ การปรับแต่งค่าต่าง ๆ ให้คลิกตำแหน่งที่ต้องการ แล้วพิมพ์ข้อความตามต้องการ หรือให้เลือกข้อความเมื่อต้องการกำหนดค่าต่าง ๆ เพิ่มเติม





อ้างอิง : ICT CENTER . “เทคนิคการสร้าง และออกแบบ Web site ด้วย Adobe Dreamweaver CS3”. aster.spu.ac.th/ .