ข้อใดคือสมมติฐานแบบมีทิศทาง

สมมติฐานทางสถิติ คือ อสมมติฐานที่เป็นผลมาจากสมติฐานการวิจัยที่เราได้ตั้งไว้ โดยสมมติฐานมักจะมีไว้เพื่อความสัมพันธ์ของตัวแปร ตัวอย่างเช่น ถ้าหาว่าคุณลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีผลต่อความพร้อมในการเป็นนักลงทุนหรือไม่

สมมติฐานทางสถิติจะแบ่งเป็น 2 ตัว ที่ต้องมาพร้อมกันเสมอ ได้แก่

  1. สมมติฐานว่าง (Null Hypothesis)
  2. สมมติฐานทางเลือก (Alternative Hypothesis)

ซึ่งมักจะเห็นสมมติฐานทั้ง 2 แบบบ่อยๆ ในการตั้ง สมมติฐานการวิจัย


Null hypothesis (H0)

Null hypothesis หรือ H0 คือ สมมติฐานว่าง หรือ สมมติฐานเป็นกลาง หรือ สมมติฐานไร้นัยสำคัญ

โดย H0 จะเป็นสมมติฐานที่อธิบายว่า “ไม่แตกต่างกันหรือไม่มีความสัมพันธ์กัน” ระหว่างตัวแปร

H0 : ความสนใจของนักเรียนในห้องเรียนที่แตกต่างกันไม่มีผลกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Alternative hypothesis (H1)

Alternative hypothesis หรือ H1 คือ สมมติฐานทางเลือก หรือ สมมติฐานอื่น

เป็นสมมติฐานที่จะตั้งขึ้นตรงข้ามกับ Null Hypothesis หรือ H0 ที่ตั้งไว้ โดย H1 มักจะเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยเชื่อ

โดย H1 จะเป็นสมมติฐานที่อธิบายตัวแปรว่า “มีความแตกต่างกัน มีความสัมพันธ์กัน มากกว่า น้อยกว่า มีผลทางบวก มีผลทางลบ”

H1 : ความสนใจของนักเรียนในห้องเรียนที่แตกต่างกันมีผลกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

นอกจากนี้ สมมติฐานทางสถิติ จะมาพร้อมกับสัญลักษณ์เหล่านี้ เพื่ออธิบายถึงความสัมพันธ์กันของตัวแปรในสมมติฐานที่เราตั้งขึ้นมา โดยสัญลักษณ์ที่พบบ่อยใน การตั้งสมมติฐานทางสถิติ มีดังนี้

สมมติฐาน ( Hypothesis ) มี 2 ชนิด คือ สมมติฐานทางการวิจัย (Research hypothesis) กับสมมติฐานทางสถิติ (Statistical hypothesis) การวิจัยบางเรื่องอาจไม่มีสมมติฐานการวิจัยก็ได้ ส่วนที่ มีสมมติฐานมักเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เช่น ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความถนัดทางการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นต้น  หรือเป็นการวิจัยที่อยู่ในลักษณะที่เป็นการเปรียบเทียบ เช่น ความมีวินัยในตนเองระหว่างนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูด้วยวิธีต่างกัน

                กระบวนการทดสอบสมมติฐาน จะช่วยผู้วิจัยในการตัดสินใจสรุปผลว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปรจริงหรือไม่ หรือช่วยใจการตัดสินใจเพื่อสรุปผลว่าสิ่งที่นำมาเปรียบเทียบกันนั้นแตกต่างกันจริงหรือไม่  สำหรับหัวข้อสำคัญที่จะกล่าวถึงคือ ความหมายของสมมติฐาน ประเภทของสมมติฐาน ขั้นตอนการทดสอบสมมุติฐาน ชนิดของความคลาดเคลื่อน ระดับนัยสำคัญ และการทดสอบสมมุติฐานแบบมีทิศทางและแบบไม่มีทิศทาง

 ความหมายของสมมุติฐาน 

                สมมุติฐาน คือ คำตอบที่ผู้วิจัยคาดคะเนไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล หรือสมมุติฐานคือข้อความที่อยู่ในรูปของการคาดคะเนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว หรือมากกว่า 2 ตัวเพื่อใช้ตอบปัญหาที่ต้องการศึกษา สมมุติติฐานที่ดีมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 2 ประการคือ

1. เป็นข้อความที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

2.เป็นสมมุติฐานที่สามารถทดสอบได้โดยวิธีการทางสถิติ

ประเภทของสมมุติฐาน     สมมุติฐานมี 2 ประเภท คือ

1. สมมุติฐานทางการวิจัย (Research hypothesis) เป็นคำตอบที่ผู้วิจัยคาดคะเนไว้ล่วงหน้า และเป็นข้อความที่แสดงความเกี่ยวข้องระหว่างตัวแปร ตัวอย่างเช่น

ตัวอย่างที่ 1 นักเรียนในกรุงเทพฯจะมีทัศนะคติทางวิทยาศาสตร์ดีกว่านักเรียนในชนบท

ตัวอย่างที่ 2 ผลการเรียนรู้ก่อนเข้าค่ายของนักศึกษาน้อยกว่าผลการเรียนรู้หลังเข้าค่ายของนักศึกษา

ตัวอย่างที่ 3 นักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูด้วยวิธีการต่างกันจะมีวินัยในตนเองต่างกัน

ตัวอย่างที่ 4 ความถนัดทางการเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

สมมุติฐานดังกล่าวเป็นเพียงการคาดคะเน ยังไม่เป็นความรู้ที่เชื่อถือได้ จนกว่าจะ

ได้รับการทดสอบโดยใช้วิธีการทางสถิติ

ตัวอย่างที่ 1 มีตัวแปรที่เกี่ยวข้อง 2 ตัว คือ 1) ภูมิลำเนาของนักเรียน 2) ทัศนะคติทางวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างที่ 2 มีตัวแปรที่เกี่ยวข้อง 2 ตัวคือ 1) ผลการเรียนรู้ก่อนเข้าค่าย 2) ผลการเรียนรู้หลังเข้าค่าย

ตัวอย่างที่ 3 มีตัวแปรที่เกี่ยวข้อง 2 ตัว คือ 1) วิธีการอบรมเลี้ยงดู 2) วินัยในตนเอง

ตัวอย่างที่ 4 มีตัวแปรที่เกี่ยวข้อง 2 ตัว คือ 1) ความถนัดทางการเรียน และ  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

สมมุติฐานทางการวิจัย มี 2 ชนิดคือ

1. สมมุติฐานทางการวิจัยมีแบบมีทิศทาง (Directional hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่เขียนระบุอย่างชัดเจนถึงทิศทางของความแตกต่างถึงทิศทางของความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยมีคำว่า   “ ดีกว่า ” หรือ  “ สูงกว่า ” หรือ “ ต่ำกว่า ” หรือ “ น้อยกว่า” ในสมมุติฐานนั้นๆ ดังตัวอย่างที่ 1 และที่ 2 ข้างต้น หรือระบุทิศทางของความสัมพันธ์ โดยมีคำว่า “ ทางบวก ” หรือ “ทางลบ ” ดังตัวอย่างที่ 4 ข้างต้น ยกตัวอย่างเช่น

              - ผู้บริหารเพศชายมีประสิทธิภาพในการบริหารงานมากกว่าผู้บริหารเพศหญิง

              - ผู้บริหารชายมีการใช้อำนาจในตำแหน่งมากกว่าผู้บริหารหญิง

              - ครูอาจารย์เพศชายมีความวิตกกังวลในการทำงานน้อยกว่าครูอาจารย์เพศหญิง

               - เจตคติต่อวิชาวิจัยทางการศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิจัยทางการศึกษา

2. สมมุติฐานทางการวิจัยไม่มีแบบไม่มีทิศทาง (Non-directional hypothesis ) เป็นสมมุติฐานที่ไม่กำหนดทิศทางของความแตกต่างดังตัวอย่างที่ 3 หรือไม่กำหนดทิศทางของความสัมพันธ์  ดังตัวอย่าง

               - นักเรียนที่มีเพศต่างกันมีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์แตกต่างกัน

               - ผู้บริหารที่มีเพศต่างกันมีปัญหาในการบริหารงานวิชาการแตกต่างกัน

               - ภาวะผู้ของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับบรรยากาศองค์การ

2. สมมุติฐานทางสถิติ (Statistical hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้ทดสอบว่า สมมุติฐานทางการวิจัยที่ผู้วิจัยตั้งไว้เป็นจริงหรือไม่ เป็นสมมุติฐานที่เขียนอยู่ในรูปแบบของโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้อยู่ในรูปที่สามารถทดสอบได้ด้วยวิธีการทางสถิติ สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนในสมมุติฐานทางสถิติจะเป็นพารามิเตอร์เสมอ ที่พบบ่อยๆได้แก่

สมมติฐานแบบมีทิศทาง มีอะไรบ้าง

1.2 สมมติฐานมีทิศทาง (Directional Hypothesis) เป็นสมมติฐานที่บอกให้ทราบว่าตัวแปรทั้งสองแตกต่างกันในลักษณะมากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า ด้อยกว่า ต่ำกว่าฯลฯ นักกีฬาชายมีแรงจูงใจในการเป็นนักกีฬาทีมชาติมากกว่านักกีฬาหญิง ความถนัดกับแรงจูงใจในการเป็นนักกีฬาทีมชาติ มีความสัมพันธ์ทางบวก

ข้อใดเป็นสมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง

2. สมมุติฐานทางการวิจัยไม่มีแบบไม่มีทิศทาง (Non-directional hypothesis ) เป็นสมมุติฐานที่ไม่กำหนดทิศทางของความแตกต่างดังตัวอย่างที่ 3 หรือไม่กำหนดทิศทางของความสัมพันธ์ ดังตัวอย่าง - นักเรียนที่มีเพศต่างกันมีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์แตกต่างกัน - ผู้บริหารที่มีเพศต่างกันมีปัญหาในการบริหารงานวิชาการแตกต่างกัน

สมมติฐานมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

สมมติฐานแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ 1. สมมติฐานทางการวิจัย (Research hypothesis) สมมติฐานแบบมีทิศทาง (Directional hypothesis) เช่น กลุ่มหนึ่งมากกว่า หรือน้อยกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง (Non-directionalo hypothesis) เช่น แตกต่างกัน หรือสัมพันธ์กัน

สมมติฐานประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

1) สมมติฐานต้องเป็นข้อความที่บอกความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรต้น กับ ตัวแปรตาม 2) ในสถานการณ์หนึ่ง ๆ อาจตั้งหนึ่งสมมติฐานหรือหลายสมมติฐานก็ได้ สมมติฐานที่ตั้งขึ้นอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการทดลองเพื่อตรวจสอบว่า สมมติฐานที่ ตั้งขึ้นนั้นเป็นที่ยอมรับหรือไม่ซึ่งจะทราบภายหลังจากการทดลองหาคำตอบแล้ว