วิธีลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดา

สามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้ตั้งแต่ “วันนี้ – 10 เม.ย. 2566” ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือขยายวันยื่นแบบภาษี 


รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

วิธีลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดา

วิธีลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดา

หลังจากพ้นเทศกาลฉลองเข้าสู่ปีใหม่ ก็เข้าสู่เทศกาล ยื่นภาษี เงินได้ของทั้งปีที่แล้วหรือปี 2565 ซึ่งจะนำมายื่นแสดงรายได้แก่สรรพากรในปี 2566 โดยปีนี้มีความแตกต่างไปจากทุกปี เพราะว่าระบบ ยื่นภาษีออนไลน์ ด้วยตัวเองได้ปรับปรุงหน้าตา ขั้นตอนต่าง ๆ เป็นรูปแบบใหม่

จากที่พี่ทุยได้ลองใช้บอกได้เลยว่า หน้าตาเว็บไซต์ดูทันสมัยมากขึ้น ที่สำคัญระบบยังง่ายและสะดวกเหมือนเดิม ดังนั้น สำหรับใครที่ยังไม่เคยยื่นภาษีมาก่อน หรือเคยยื่นมาแล้ว แต่ด้วยระบบที่ปรับปรุงโฉมหน้าตาเว็บไซต์ใหม่ก็ไม่ต้องกังวลกันว่าจะทำไม่ได้ เพราะวันนี้ พี่ทุยมาสรุป วิธียื่นภาษีออนไลน์ ด้วยตนเองแบบใหม่ให้ทุกคนได้ฟังกัน ….   

วิธียื่นภาษียื่นภาษีบุคคลธรรมดา เงินได้ปี 2565 มีขั้นตอนอะไรบ้าง ? 

ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการ ยื่นภาษีออนไลน์ ต้องเริ่มจากเตรียมเอกสารสำหรับยื่นภาษีให้พร้อม ซึ่งหลัก ๆ คือ 

  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือใบ 50 ทวิ จากนายจ้าง โดยส่วนมากเป็นเอกสารที่ได้รับจากฝ่ายบุคคลช่วงต้นปี ซึ่งจะระบุว่า มีรายได้รวมเท่าไหร่ มีหักชำระเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือประกันสังคมรวมแล้วเท่าไรบ้าง 

หากใครทำงานเปลี่ยนที่ทำงานหลายที่ในปี 2565 ต้องได้รับใบ 50 ทวิจากนายจ้างทุกที่ที่ได้ทำงาน 

  • รายการลดหย่อนตัวเอง ได้แก่ ค่าเลี้ยงดูบิดามารดาที่อายุ 60 ปีขึ้นไปละมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งต้องเตรียม “เลขบัตรประชาชนของบิดามารดา” ให้พร้อม
  • เอกสาร หลักฐานการลดหย่อนภาษีต่าง ๆ เช่น ใบเสร็จเบี้ยประกันชีวิต/ ประกันสะสมทรัพย์/ ประกันสุขภาพทั้งของตนเองและพ่อแม่ หรือที่ซื้อกองทุน RMF SSF และเงินบริจาคต่าง ๆ ทั้งเพื่อการศึกษา กีฬา การพัฒนาสังคม โรงพยาบาลรัฐ รวมถึงบริจาคให้แก่พรรคการเมือง
  • สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ค่าลดหย่อนภาษีปี 2565 มีอะไรบ้าง

เมื่อเอกสารพร้อมแล้วก็เข้าสู่เว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th/rd-cms/ ได้เลย

วิธีลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดา

ขั้นตอนที่ 1 เริ่มการ ยื่นภาษีออนไลน์ 

คลิก “ยื่นแบบออนไลน์” แต่หากใครที่เพิ่งยื่นภาษีครั้งแรกต้องคลิก “สมัครสมาชิก” ก่อน โดยขั้นตอนการสมัครไม่ยากเลย แค่กรอกรายละเอียดตามบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์มือถือ และตั้งรหัสผ่าน 1 นาทีก็เรียบร้อยแล้ว 

วิธีลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดา

ขั้นตอนที่ 2 ลงทะเบียน ยื่นภาษีออนไลน์ ผ่านระบบ 

กรอก “เลขประจำตัวประชาชน” ที่ช่องเลขประตัวผู้เสียภาษีอากรหรือชื่อผู้ใช้งานและ “รหัสผ่าน” ที่เคยตั้งไว้จากนั้นคลิก “ปุ่มเข้าสู่ระบบ”

ส่วนถ้าใครลืมรหัสผ่านก็คลิกที่ลืมรหัสผ่านได้ ใช้เวลากู้รหัสแค่ 1 นาทีเท่านั้นไม่ต้องกังวล 

วิธีลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดา

ขั้นตอนที่ 3 เข้าสู่ระบบ 

ทางสรรพากรมีเพิ่มขั้นตอนการยื่นยันตัวตนด้วยระบบ OTP โดยรหัส OTP จะส่งมาทางหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่เคยลงทะเบียนไว้ 

แต่หากในปัจจุบันได้เปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์มือถือก็สามารถระบุหมายเลขโทรศัพท์มือถือใหม่ได้เองเลย ไม่ต้องทำเรื่องเปลี่ยนกับทางสรรพากร

จากนั้นก็คลิก “ขอรหัส OTP” และกรอกรหัส OTP ตามที่ได้รับลงในช่องที่ระบุไว้ จากนั้นคลิกยืนยัน OTP ขั้นตอนนี้ต้องระบุ OTP ภายใน 5 นาที ไม่เช่นนั้นต้องรอรหัสใหม่นะ 

วิธีลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดา

ขั้นตอนที่ 4 ยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดา

ระบบจะแสดงหน้าจอผู้มีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้คลิกที่ “ยื่นแบบ” ของช่อง ภ.ง.ด. 90/91 ซึ่งเป็นแบบภาษีเงินได้ประจำปี

วิธีลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดา

ขั้นตอนที่ 5 เข้าสู่ระบบ ยื่นภาษีออนไลน์

เข้าสู่ขั้นตอนการยื่นภาษีหรือชื่อเต็ม ๆ คือ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ด.ง. 90/91 จะมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน คือ 

1. กรอกข้อมูลผู้เสียภาษี

2. กรอกเงินได้

3. กรอกค่าลดหย่อน

4. ตรวจสอบข้อมูล

5. ยืนยันข้อมูล

วิธีลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดา

ขั้นตอนที่ 6 กรอกข้อมูลส่วนบุคคลผู้เสียภาษี

ระบบแสดงข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ทั้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขบัตรประชาชน), ชื่อ-นามสกุล, วันเดือนปีเกิด, สถานที่ติดต่อ (สถานที่ตามบัตรประชาชน), ร้านค้า/กิจการส่วนตัว (ถ้ามี) และให้ระบุสถานะในปัจจุบันด้วยคือโสด หม้าย และสมรส โดยกรณีสมรสจะมีให้เลือกว่าอยู่ร่วมกันตลอดปี ระหว่างปี หย่าหรือคู่สมรสเสียชีวิตระหว่างปี 2565 

หากกรณีที่ผู้มีเงินได้เสียชีวิตระหว่างปี 2565 และญาติเป็นคนยื่นแทนก็มีสถานะให้เลือกด้วย   

เมื่อเรียบร้อยก็คลิกถัดไป

วิธีลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดา

ขั้นที่ 7.1 ขั้นตอนกรอกเงินได้

ระบบแสดงหน้ารายได้จากแหล่งต่าง ๆ เช่น เงินเดือน, ฟรีแลนซ์-รับจ้างทั่วไป-วิชาชีพอิสระ, ทรัพย์สิน-การทำธุรกิจ, การลงทุน และมรดกหรือได้รับมา 

ส่วนนี้มีที่เป็นรายได้จากการลงทุน มีระบุว่า “…ประโยชน์ใด ๆ จากคริปโตเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล…” หรือที่เรียกสั้น ๆ ช่วงที่ผ่านมาว่า ภาษีคริปโต ด้วยนะ ซึ่งจะกรอกอย่างไรนั้น พี่ทุยแนะนำว่า รอข้อสรุปจาก ก.ล.ต. ก่อนก็ได้ 

วิธีลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดา

ขั้นที่ 7.2 ขั้นตอนกรอกเงินได้สำหรับมนุษย์เงินเดือน 

หากเป็นพนักงานประจำหรือมนุษย์เงินเดือน เลือกรายได้จากเงินเดือน >> คลิกที่ “ระบุข้อมูล” แล้วระบบจะพาเราไปอีกหน้าเพื่อกรอกรายละเอียดต่าง ๆ 

  • รายได้ทั้งหมด : ให้รวมรายได้จากทุกนายจ้าง (บริษัทที่เข้าทำงานตลอดปี 2565) กรอกเลขเดียวเลย 
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย : ให้รวมภาษีที่นายจ้างแต่ละที่หัก แล้วกรอกเลขเดียวเช่นกัน
  • เลขผู้จ่ายเงินได้ : เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของนายจ้าง หากรับเงินจากหลายนายจ้างให้กรอกเลขของนายจ้างที่จ่ายเราเยอะที่สุด 
  • เมื่อเรียบร้อยแล้วก็คลิกบันทึก 

หากมีรายได้อื่น ๆ อีกก็ค่อย ๆ กรอกไปทีละข้อ พี่ทุยแนะนำว่า ให้คำนวณเลขให้พร้อมก่อนเข้าระบบ “ยื่นภาษีออนไลน์” ไม่งั้นพี่ทุยบอกเลยว่า ปวดหัวมาก พี่ทุยผ่านมาแล้ว 

วิธีลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดา

ทุกครั้ง หลังเราบันทึกรายได้แต่ละข้อเสร็จระบบจะพากลับมาที่หน้ารายได้เหมือนเดิม ให้ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดอย่างละเอียด ว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ อีกครั้งว่าถูกต้องหรือไม่ 

เมื่อเรียบร้อยแล้วก็คลิกถัดไป 

ขั้นที่ 8 ขั้นตอนกรอกค่าลดหย่อน

ระบบแสดงรายการค่าลดหย่อนภาษีของปี 2565 โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 

กลุ่มที่ 1 ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว 

  • ลดหย่อนผู้มีเงินได้ ทุกคนจะได้รับการลดหย่อนส่วนตัวเป็นอัตราเหมาที่ 60,000 บาทโดยรัฐมองว่าใน 1 ปี คน 1 คนจะมีค่าใช้จ่ายส่วนตัวไม่น้อยกว่า 60,000 บาท จึงให้ใช้เลขนี้เป็นค่าลดหย่อนพื้นฐานสำหรับทุกคนที่มีรายได้

(พี่ทุยรู้สึกว่า เลข 60,000 บาทนี้ใช้มาหลายปีแล้ว น่าจะเพิ่มขึ้นตามเงินเฟ้อบ้าง แต่ 3 ปีก่อนจ่ายค่าข้าวมื้อละ 30-35 บาท ปัจจุบันแบงก์ 100 ใบหนึ่งยังไม่ค่อยพอเลย)  

  • ลดหย่อนบุตร
  • อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ภายใต้เงื่อนไขคือ อายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
  • อุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ

กลุ่มที่ 2 ค่าลดหย่อนกลุ่มออมเงินและลงทุน

  • เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • เงินสะสมกองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.)
  • เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
  • เงินค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน (กรณีนำมารวมคำนวณภาษี)
  • เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
  • เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
  • เบี้ยประกันชีวิต
  • เบี้ยประกันสุขภาพ
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
  • ค่าซื้อหน่วยลงทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
  • ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
  • เงินลงทุนในหุ้น หรือการเป็นหุ้นส่วนเพื่อจัดตั้ง หรือเพิ่มทุนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับจดทะเบียนวิสาหกิจเพื่อสังคม และได้จดแจ้งการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม

กลุ่มที่ 3 ค่าลดหย่อนกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาล

  • ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย
  • เงินบริจาคพรรคการเมือง
  • ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร

กลุ่มที่ 4 ค่าลดหย่อนบริจาค

  • เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา/ สถานพยาบาล/ สภากาชาดไทย และอื่นๆ
  • เงินบริจาค

วิธีลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดา

ใครมีค่าลดหย่อนภาษีอะไรบ้างก็กรอกให้ครบถ้วน เพื่อใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษี ส่วนพี่ทุยกรอกเป็นตัวอย่างคร่าว ๆ ให้ดูตัวอย่างของคนที่ไม่ได้มีลดหย่อนอะไรเยอะก็มักจะเป็นลดหย่อนจากสวัสดิการบริษัทอย่างค่าเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม และอาจมีซื้อประกันเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างประกันชีวิตและประกันสุขภาพ  

ขั้นที่ 9 ขั้นตอนตรวจสอบข้อมูล

ระบบจะสรุปข้อมูลเงินได้หักลบด้วยรายการลดหย่อนภาษีทั้งหมด “เพื่อคำนวณภาษีที่ต้องชำระ” โดยหากใครสงสัยว่าตัวเลขที่โชว์มานั้นเกิดจากอะไรบ้างคลิกที่ “ดูวิธีการคำนวณ” เพื่อตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งได้ด้วย 

วิธีลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดา

มาถึงตรงนี้อาจจะงงว่า “หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท” คืออะไร มาจากไหน พี่ทุยขอสรุปสั้น ๆ ให้ฟังว่า ผู้ที่มีเงินได้ประเภทที่ 1 ตามกฎหมาย (เงินเดือน / โบนัส) จะได้รับการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาสูงสุด 50% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท (เงินส่วนนี้ไม่ถูกนำมาคิดภาษี)

จากตัวอย่างของพี่ทุยลองกรอกรายได้ปี 2565 เป็นเงิน 300,000 บาท เมื่อหักลบกับค่าใช้จ่าย 100,000 บาท และลดหย่อนภาษีที่ 95,100 บาท จะเหลือรายได้เพียง 104,900 บาท หรือที่เรียกว่า “เงินได้สุทธิ” จะถูกนำไปคำนวณภาษี แต่ตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2565 เงินได้สุทธิ 1 – 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี !!!  เท่ากับว่า “ไม่เสียภาษี” นั่นเอง

แต่ก่อนหน้านี้ทางนายจ้างหักเงินเดือนพี่ทุยจ่ายภาษีไปแล้ว 1,500 บาท ระบบจึงระบุว่า “ยอดภาษีสุทธิ ชำระไว้เกิน” เราก็ขอคืนได้

ในอีกมุมหนึ่ง เกิดคำถามว่า “งั้นที่เราเงินได้สุทธิไม่ถึง 150,000 บาทแล้วไม่เสียภาษี ก็ไม่ต้องยื่นภาษีก็ได้หรือเปล่า หากก่อนหน้านี้นายจ้างไม่ได้หักเงินเราไปจ่ายภาษี ? 

คำตอบคือ ผิด !! ต่อให้มีเงินได้อยู่ใน “ช่วงได้รับการยกเว้นภาษี” พี่ทุยให้อ่านอีกรอบ ประโยคดังกล่าวไม่ได้พูดว่า ได้รับการยกเว้นยื่นภาษี แต่เป็น ยกเว้นภาษี แสดงว่า “ต้องยื่นภาษีเพื่อแสดงรายได้ให้สรรพากร” ถ้าไม่ยื่นแล้วสรรพากรมาตรวจพบที่หลังต้องจ่ายค่าปรับ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ บอกเลยว่า หนัก

ดังนั้น หากมีรายได้แม้แค่ 1 บาทก็ต้องยื่นภาษี เพราะตามอัตราภาษีเงินได้ระบุว่า 1 – 150,000 บาท 

พี่ทุยลองทำตัวอย่างใหม่ให้ดู หากพี่ทุยมีรายได้ปี 2565 เป็น 500,000 บาท แต่ส่วนลดหย่อนภาษีอื่น ๆ เท่าเดิม (คล้ายทำงานไปแล้วเงินเดือนเราเพิ่ม แต่เราไม่ได้หารายการลดหย่อนภาษีเพิ่ม) พี่ทุยต้องเสียภาษีถึง 7,990 บาท ดังนั้น รายได้เพิ่มก็อย่าลืมหารายการลดหย่อนภาษีด้วยนะ 

วิธีลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดา

หากใครที่ทำถึงขั้นนี้แล้ว ต้องเสียภาษีเพิ่มเติมหลายพันบาท อย่าเพิ่งเครียดหรือหนีไม่ยื่นภาษี (อย่าทำนะ โดนย้อนหลังหนักกว่า) เพราะว่าทางสรรพากรสามารถให้เราผ่อนจ่ายได้ 3 งวดในระยะเวลา 3 เดือน โดยไม่มีดอกเบี้ยหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หากยอดชำระภาษีเกิน 3,000 บาท โดยจะให้ชำระงวดแรก 10 เม.ย. 2566 (วันสุดท้ายที่กรมสรรพากรกำหนดให้ยื่นภาษีออนไลน์) ใครสนใจก็เลือกที่ “ต้องการ” แบ่งชำระภาษีเป็น 3 งวด 

นอกจากนี้ ใครต้องการอุดหนุนพรรการเมืองก็เลือกพรรคได้ตามใจเลย หรือหากไม่ต้องการก็เลือก “ไม่ต้องการ”

ขั้นที่ 10 ขั้นตอนยืนยันข้อมูลสำหรับการ ยื่นภาษีออนไลน์

เมื่อกรอกรายละเอียดยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91, ภ.ง.ด. 90 เรียบร้อยแล้ว สามารถเลือกพิมพ์แบบ บันทึกร่าง หรือกดยืนยันเพื่อส่งแบบยื่นภาษี 2565 ได้ทันที

วิธีลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดา

กรณี ชำระภาษีเกินและต้องการขอคืนภาษี ก็เลือกช่องทางโอนเข้าพร้อมเพย์ หรือตามวิธีในประกาศแต่ละปีของกรมสรรพากรได้

กรณี ชำระเพิ่มก็อย่าลืมจดรายละเอียดการชำระทั้งยอดเงิน กำหนดโอน และบัญชีของทางสรรพากรให้เรียบร้อย 

เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบยื่นภาษีออนไลน์แบบใหม่ด้วยตนเองแล้ว 

ยื่นภาษี 2566 หมดเขตเมื่อไหร่

จากข้อมูลหน้าเว็บไซต์ของสรรพาหร สามารถยื่นได้ตั้งแต่ “วันนี้ –  10 เม.ย. 2566” ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือขยายวันยื่นแบบภาษี ยังไงถ้ามีการเปลี่ยนแปลง พี่ทุยจะมาแจ้งอัปเดตอีกครั้ง