ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ คืออะไร

ถ้ากล่าวง่าย ๆ คือ ข้อมูลเป็นข้อมูลดิบ  แต่สารสนเทศ เป็นข้อมูลที่ทำการประมวลผลแล้ว เช่น คะแนนสอบเต็ม 100 คะแนน แต่นำมาตัดเกรดแล้ว เกรดนั้นคือ  สารสนเทศ หรือข้อมูลที่นำมาหาค่าเฉลี่ยหรือสรุปผลแล้ว ข้อมูลนั้นก็คือ สารสนเทศ

            เมื่อได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับคำว่า  "ข้อมูล" และ "สารสนเทศ" แล้ว ต่อไปนี้จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ (Information System) ซึ่งมีความหมายคือ กระบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการตัดสินใจของบุคคลระดับบริหาร กระบวนการที่ทำให้เกิดข่าวสารสนเทศนี้  เรียกว่า  การประมวลผลสารสนเทศ (Information Processing) และเรียกวิธี การประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ว่า เทคโนโลยีสารสรเทศ (Information  Technology : IT)

4.ระบบสารสนเทศ (Information System)

            ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์   ซอฟต์แวร์   ระบบเครือข่าย   ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ  ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศและส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม   การรวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร

            หรือในอีกมุมมองหนึ่ง ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผลจัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจและการควบคุมในองค์กร ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) การประมวลผล (Processing)และการนำเสนอผลลัพธ์ (Output) ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า  ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ (Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-Based Information System : CBIS ) (Laudon & Laudon, 2001) แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม

            สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ  เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่างหรือระบบสารสนเทศเป็นการนำข้อมูลมาจัดกระทำให้เป็นหมวดหมู่  มีระเบียบแบบแผน เพื่อสะดวกต่อการค้นคืนหรือการเรียกใช้ในการตัดสินใจและการดำเนินงานขององค์กร

5.ประเภทของระบบสารสนเทศ

            ปัจจุบันการทำงานของแต่ละองค์กรจะมีความเกี่ยวพันกับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น และเนื่องจากการบริหารงานแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป ระบบสารสนเทศสามารถจำแนกได้ตามลักษณะการดำเนินงานได้ ดังนี้

1.ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (TPS : Transactio Processing Systems)

            เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรม หรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์กร เช่น การซื้อขายสินค้า  การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง  เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ  ชื่อลูกค้า  ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า

2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS : Management Information System)

            คือ  ระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ  เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยจะรวมทั้งสารสนเทศภายในและภาพนอก  สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน นอกจากนี้  ระบบนี้จะต้องให้สารสนเทศในช่วงที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และ การปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง แม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับผลประโยชน์จากระบบนี้สูงสุดคือ  ผู้บริหารระดับกลาง  แต่โดยพื้นฐานของระบบนี้แล้วจะเป็นระบบที่สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือ ทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลางและผู้ริหารระดับสูงโดยระบบนี้จะให้รายงานที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากรากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท

3.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS : Decision Support System)

            เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจากระบบ MIS อีกระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าผู้ที่มีหน้าที่ในการตัดสินใจจะสามารถใช้ประสบการณ์หรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในระบบ MIS ของบริษัท สำหรับทำการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพในงานปกติแต่บ่อยครั้งที่ผู้ตัดสินใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารในระดับสูงและระดับกลางจะเผชิญกับการตัดสินใจที่ประกอบด้วยปัจจัยที่ซับซ้อนเกินกว่าความสามารถของมนุษย์ที่จะประมวลเข้าด้วยกันได้อย่างถูกต้อง จึงทำให้เกิดระบบนี้ขึ้น ซึ่งเป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการเฉพาะของผู้บริหารแต่ละคน (Made by Order)ในหลาย ๆ สถานการณ์ ระบบนี้มีหน้าที่ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปได้อย่างสะดวก

4.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (GDSS : Group Decision Support System)

            เป็นระบบย่อยหนึ่งระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

5.ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS : Geographic Information System)

            ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากกฎบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมายใช้งานได้ง่าย

6.ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (EIS : Excutive Information System)

            เป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ หรือ สามารถกล่าวได้ว่าระบบนี้คือส่วนหนึ่งของ DSS ที่แยกออกมา เพื่อเน้นการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อการบริการแก่ผู้บริหาร

7.ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence)

            ระบบที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญการในสาขาหนึ่ง คล้ายกับมนุษย์ ระบบผู้เชี่ยวชาญมีส่วนคล้ายคลึงกับระบบอื่น ๆ คือ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น  อย่างไรก็ดี ระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่นอยู่มาก เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ (Knowledge) มากกว่าสารสนเทศ และถูกออกแบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ โดนใช้หลักการทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

8.ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OAS : Office Automation System)

            เป็นระบบที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างเครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน QAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษ (Paperless System ) แต่จะทำการส่งข่าวสารถึงกันด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange ) แทน ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งาน 2 ลักษณะ คือ รูปแบบของระบบงานพิมพ์และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-Mail ) โทรสาร (FAX) หรือเสียงอิเล็กทรอนิกส์ (Voice Mail ) เป็นต้น

            รูปแบบการประชุมทางไกลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Eiectonic Meeting System )เป็นเทคนิคที่ทำให้กลุ่มคนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ คล้ายกับการพูดคุยกันโดยตรง เช่น การประชุมทางไกลแบบมีแต่เสียง (Audio Conferencing ) การประชุมทางไกลแบบมีทั้งภาพและเสียง (Video Conferencing ) หรือทั้งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรสารและเสียงอิเล็กทรอนิกส์รวมกัน

6.องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

            ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ ระบบจัดการข้อมูลจำนวนมากให้เหลือสารสนเทศจำนวนน้อย โดยระบบนี้จะช่วยจัดการข้อมูลที่ต้องการใช้ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขและข่าวสาร เพื่อช่วยในการดำเนินธุรกิจและการตัดสินใจ ซึ่งระบบสารสนเทศจะใช้หรือไม่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ มีองค์ประกอบสำคัญๆมี 6 อย่าง ดั้งนี้

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ เป็นเครื่องมือในการที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงานผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ

2. ซอฟต์แวร์ (Software) คือ ลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับขั้นตอน สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สรสนเทศที่ต้องการ

3.  บุคลากร (Personnel) คือ ผู้ที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบ

4.  ขั้นตอนการปฏิบัติ (Process) คือ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลามีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล การทำรายงาน การดำเนินการต่างๆ ต้องมีขั้นตอนหากขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ

5.    ข้อมูล (Data) คือ เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกันขึ้นอยู่กับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่างๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการทำให้เกิดสารสนเทศ

6.   เครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล(Network and Communication) คือ ระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดี คือ อินเทอร์เน็ต

7. ความหมายของระบบเครือข่าย

ระบบเครือข่าย (Network) หมายถึง  ระบบที่มีการคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่องมาเชื่อมต่อเข้าเป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันในระบบได้ และสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบร่วมกันได้

    เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือ การนำกลุ่มคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย ผ่านสื่อกลางส่งข้อมูล ที่อาจเป็นสานเคเบิลหรือคลื่นวิทยุเป็นเส้นทางการส่งข้อมูลให้สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานบนเครือข่ายสามารถใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์และข้อมูลร่วมกันได้ ในทำนองเดียวกับการสื่อสารกับบุคคลอื่น ๆ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

ปัจจุบันเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ถูกหล่อหลอมรวมเข้าด้วยกันกับเครือข่ายโทรศัพท์และเครือข่ายการสื่อสารที่สามารถส่งผ่านได้ทั้งข้อมูลและเสียง นอกจากนี้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็มีอยู่หลายขนาดด้วยกัน ตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็กที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานส่วนตัว จนถึงเครือข่ายขนาดใหญ่คือ ระบบอินเทอร์เน็ตที่มีการเชื่อมต่อเครือข่ายทั้งโลกเข้าด้วยกัน

8. ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

    เครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นจะมีหลายประเภทสามารถใช้หลักเกณฑ์ในการแบ่งได้หลายวิธี แต่ถ้าหากแบ่งประเภทของเครือข่ายตามขนาดและระยะทางที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์การสื่อสาร เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้

1. เครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN )

2. เครือข่ายระดับเมือง หรือเครือข่ายแมน (Metropolitan Area Network : MAN)

3. เครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN)

4. เครือข่ายไร้สาย (Wireless Local Area Network : WLAN )


1. เครือข่ายท้องถิ่น(LAN)

     เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN)  เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่ใช้ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ในบริเวณใกล้เคียงเข้าด้วยกัน ซึ่งระยะทางไกลสุดที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ แบบไม่ติดขัดประมาณ  100 เมตร มีการเชื่อมต่อแบบ Client-Server ระหว่างเครื่องลูกข่าย (Client) กับเครื่องบริการกลาง (Server) ที่ให้บริการกับผู้ใช้จำนวนไม่มาก ความสามารถในการทำงานของระบบเครือข่ายถูกกำหนดไว้ที่เครื่อง Server เพียงเครื่องเดียวที่ควบคุมด้วยซอฟต์แวร์ระบบเครือข่าย (Network Operating System : NOS) เช่น Novell Netware 



ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ คืออะไร



Microsoft Windows Server และ IBM’s OS/2 Warp Server ซึ่งทำหน้าที่กำหนดเส้นทางเดินข้อมูลในเครือข่าย และการจัดการการสื่อสารตลอดจนควบคุม ประสานการใช้ทรัพยากรทั้งหมด ตัวอย่างการใช้เครือข่าย เช่น เครือข่ายในสำนักงานขนาดเล็ก ที่มีการเชื่อมต่อระหว่าคอมพิวเตอร์ด้วยกัน และอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ทำให้สามารถแบ่งปันการใช้ทรัพยากรได้


2. เครือข่ายระดับเมือง (MAN)

เป็นเครือข่ายที่สื่อสารได้ระยะไกลกว่าเครือข่ายท้อถิ่น (LAN) และระยะไกลน้อยกว่าเครือข่ายระดับประเทศ (WAN) สามารถรับ ส่งข้อมูลได้ไม่เกิน 60 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเครือข่ายในเขตเมืองครอบคลุมพื้นที่ในอำเภอหรือในจังหวัดเดียวกันโดยอาจเป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ขององค์กรเข้าด้วยกัน เช่น การต่อคอมพิวเตอร์ของสาขาต่าง ๆ ในเขตเมือง เพื่อสื่อสารแบ่งปันข้อมูลระหว่างในองค์กร




3.เครือข่ายระดับประเทศ (WAN)

                เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับองค์กร ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ ซึ่งเครือข่ายระดับประเทศ (WAN) จะเชื่อมต่อระยะทางไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูงมากนักเครือข่ายระดับประเทศ (WAN) จะทำให้ทุกบริษัท ทุกองค์กร ทุกหน่วยงานเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของตนเองเข่าสู่เครือข่ายกลาง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน และทำงานร่วมกันในระบบที่ต้องติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เช่น ธนาคารที่มีสาขาทั่วประเทศ มีบริการรับฝากถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม เป็นต้น เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายระดับประเทศ (WAN) นั้นมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาดาวเทียมเส้นใยนำแสง คลื่นวิทยุ และสายเคเบิลทั้งที่วางไปตามถนนหรือวางใต้น้ำ


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ คืออะไร



4.ระบบเครือข่ายไร้สาย(Wireless LAN)

            เครือข่ายไร้สาย (WLAN) เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและวิธีการจัดการทางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรต่าง ๆ ทั้งองค์กรเดิมที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์อยู่แล้วและองค์กรที่เกิดขึ้นใหม่ที่กำลังวางแผนติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Wireless LAN (WLAN)ไม่ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มาทดแทนเครือข่ายแบบใช้สัญญาณ ( Wired Network) แต่เป็นเทคโนโลยีที่สามารถขยายเครือข่ายแบบใช้สัญญาณได้ นอกจากนั้น ยังถูกนำไปใช้ในบริเวณที่การติดตั้งสายสัญญาณมีอุปสรรคทางด้านภูมิศาสตร์หรือในบริเวณที่ต้องการความรวดเร็วในการติดตั้งเครือข่ายใหม่สำหรับการทำงานแบบชั่วคราว ซึ่ง