เศรษฐศาสตร์จบมาทำอะไรได้บ้าง

ปัญหาโลกแตก เรียนเศรษฐศาสตร์ จบไปแล้วทำงานอะไร?

    สวัสดีครับพี่ๆ ก่อนอื่นผมขอแนะนำตัวก่อน ผมชื่อค่อน หรือที่พี่ๆหลายๆคนรู้จักกันในชื่อ น้องค่อน นั่นเอง... ผมเป็นตัวแทนจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่จะมาช่วยไขข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับคณะเศรษฐศาสตร์ อีกทั้งยังมีสาระความรู้ที่น่าสนใจอีกมากมายที่จะค่อยมานำเสนอพี่ๆ เอาล่ะครับพี่ๆ... เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ต่อจากนี้ผมขอเรียกแทนตัวเองว่า น้องค่อนก็แล้วกันนะครับ สำหรับหัวข้อที่น้องค่อนอยากจะมานำเสนอพี่ๆในวันนี้เป็นหัวข้อที่ถือได้ว่าเป็นปัญหาระดับชาติทั้งจากพี่ๆมัธยมศึกษาตอนปลายและพี่ๆที่กำลังศึกษาในคณะเศรษฐศาสตร์ ว่าคณะเศรษฐศาสตร์เนี่ยจบไปแล้วทำงานอะไรได้บ้าง? โดยน้องค่อนปิ๊งไอเดียร์อยากจะเขียนกระทู้แบ่งปัญข้อมูลเกี่ยวกับ  6 อาชีพยอดฮิตคณะเศรษฐศาสตร์ ซึ่งแต่ละอาชีพเนี่ยน้องค่อนได้คัดสรรและค้นหาข้อมูลมาแล้วว่าฮอตฮิตติดเทรนเลยจริงๆเชียววว จะมีอาชีพอะไรบ้างนั้นเป็นอาชีพในฝันของพี่ๆคนไหนบ้างรึป่าว ไปดูกันเลยครับโผ๋มมมม~

อาชีพที่ 1.พนักงานธนาคาร

เศรษฐศาสตร์จบมาทำอะไรได้บ้าง
        

          ต้องบอกเลยว่าอาชีพพนักงานธนาคารเนี่ยถือเป็นอาชีพในฝันของใครหลายๆคนเนื่องจาเป็นอาชีพที่สวัสดิการดีมากและความก้าวหน้าทางอาชีพที่ดีอาชีพหนึ่งเลยก็ว่าได้ อีกทั้งสำหรับสายเศรษฐศาสตร์แบบเราๆแล้วเนี่ย อาชีพพนักงานธนาคารยังรองรับได้หลากหลายตำแหน่งมาก ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งพนักงานบริการเคาน์เตอร์ ,ตำแหน่งพนักงานสินเชื่อและตำแหน่งนักวิเคราะห์ นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งงานให้เลือกทั้งในภาครัฐ,เอกชนหรือแม้แต่รัฐวิสาหกิจ โดยอาชีพพนักงานธนาคารเนี่ยมีการเติบโตและรายได้ที่ค่อนข้างสูง รู้แบบนี้แล้วอาชีพพนักงานธนาคารถือเป็นอาชีพที่น่าสนใจอีกอาชีพหนึ่งเลยใช่มั้ยหละครับ

         แล้วพี่ๆทราบกันมั้ยครับว่า คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของเราเนี่ย มีหลักสูตรและบทเรียนที่ตอบโจทย์สำหรับสายงานในธนาคารมากๆ โดยทางคณะจะมีกลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน ในรายวิชา ดังนี้ Economics of the Financial System(เศรษฐศาสตร์ระบบการเงิน) , Preliminary Principles of Accounting(หลักการบัญชีขั้นต้น) ,Economics of Monetary Theory and Policy(เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยทฤษฎีและนโยบายการเงิน) ฯลฯ ซึ่งในรายวิชาที่น้องค่อนได้กล่าวมาทั้งสิ้นนี้ พี่ๆก็สามารถเลือกลงได้ตามสายการเรียนละชั้นปีตามที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกำหนดได้เลยครับ เป็นไงครับพี่ๆพอได้ทราบรายละเอียดเกี่ยวสายงานในธนาคารและรายวิชาที่ทางคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นของเราได้เปิดสอน มีพี่ๆคนไหนสนใจอยากจะทำงานในอาชีพพนักงานธนาคารกันบ้างมั้ยครับ

อัตราเงินเดือน

เริ่มต้นที่ประมาณ 12,000-40,000 บาท/เดือน

อาชีพที่ 2.นักวิเคราะห์ตลาด

         สำหรับอาชีพนักวิเคราะห์ตลาดน้องค่อนคิดว่าเป็นอาชีพที่ถือว่าใหม่สำหรับพี่หลายๆคนใช่มั้ยหละครับ เพราะเป็นอาชีพที่ถือว่าไม่ได้พบเห็นโดยทั่วไปมากนัก วันนี้น้องค่อนจะพาพี่ๆมาทำความรู้จักกับอาชีพนักวิเคราะห์ตลาดกันครับ ก่อนอื่นเรามาดูกันดีกว่าว่านักวิเคราะห์การตลาดเนี่ย..เค้ามีหน้าที่อะไรกันบ้าง หน้าที่ของนักวิเคราะห์การตลาดนั้นก็คือ การวิเคราะห์และคาดการณ์สถานการณ์สภาพแวดล้อม ความต้องการของตลาดและสถานการณ์ของสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด ความก้าวหน้าในการทำงานก็ถือว่าเป็นอาชีพที่มีความก้าวหน้าค่อนข้างสูงเนื่องจากการวางแผนการตลาดต้องใช้การออกตรวจตลาดทั่วโลก แต่อาชีพนักวิเคราะห์ตลาดถือเป็นอาชีพที่ใช้ความอดทนมากที่ต้องบริหารเวลาให้ดี เพื่อติดตามสถานการณ์ทางการตลาดอย่างสม่ำเสมอ อาจต้องทำงานในวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุด เพื่อความรวดเร็วและท่วงทันเวลาในการตรวจตลาด

          ในส่วนของรายวิชาที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เปิดสอนที่มีความสอดคล้องกับการทำงานในอาชีพนักวิเคราะห์ตลาดก็จะเป็นรายวิชาที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เศรษฐกิจ ซึ่งจะมีตัวอย่างรายวิชาดังนี้เลยครับ การพยากรณ์ทางเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ(Business and Economic) , เศรษฐศาสตร์มหภาค(Macroeconomics) ,เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics), สถิติสำหรับนัก เศรษฐศาสตร์ (Statistics for Economist) ฯลฯ นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของรายวิชาที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นของเรามีการเปิดสอนเท่านั้นนะครับ รายวิชาอื่นๆที่คณะของเรามีการเปิดสอนก็ล้วนแล้วแต่สามารถนำมาใช้วิเคราะห์ตลาด,คาดการณ์สถานการณ์ และอื่นๆที่ใช้สำหรับการทำงานในอาชีพนักวิเคราะห์ตลาดเป็นอย่างมาก

อัตราเงินเดือน

เริ่มต้นที่ประมาณ 18,000-40,000 บาท/เดือน 


อาชีพที่ 3.โบรกเกอร์วิเคราะห์หุ้น

        ก่อนอื่นน้องค่อนจะพาพี่ๆมาทำความรู้จักกับอาชีพโบรกเกอร์กันก่อนว่าอาชีพนี้มีความพิเศษและน่าสนใจอย่างไร โบรกเกอร์ คือ อาชีพที่คอยแนะนำการลงทุนหรือบริการต่างๆ เช่น ตลาดทุน อนุพันธ์ ประกันภัย ฯลฯ โดยจะมีหน้าที่ดูแลเรื่องการเงินและให้คำปรึกษา คำแนะนำ และแก้ไขปัญหาต่างๆให้กับลูกค้าทั้งลูกค้าบุคคลและองค์กรธุรกิจ ลักษณะงานของโบรกเกอร์โดยทั่วไปนั้นก็จะคอยดูแลเรื่องการลงทุนและบริการต่างๆ อีกทั้งต้องดำเนินการซื้อขาย ส่งมอบ แจ้งสิทธิที่ได้รับให้แก่ลูกค้าและต้องคอยสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าให้เป็นที่เชื่อใจอีกด้วย ในส่วนของความก้าวหน้าทางอาชีพของโบรกเกอร์นั้น โบรกเกอร์เป็นอาชีพอิสระ ไม่มีสำดับขั้นตอนเหมือนอาชีพอื่นๆ เพราะยิ่งมีประสบการณ์เยอะและสร้างผลงานที่น่าประทับใจให้เทรดเดอร์หรือลูกค้าได้มากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จและสร้างรายไดมากขึ้นเท่านั้น!!

       รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับทำงานอาชีพโบรกเกอร์วิเคราะห์หุ้นก็จะเป็นรายวิชาที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์การลงทุน,เศรษฐกิจและการลงทุน ทั้งนี้ทั้งนั้นเนี่ยนะครับรายวิชาต่างๆที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดสอนที่น้องค่อนจะยกตัวอย่างมีดังนี้ การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน (Cost-Benefit Analysis),เศรษฐศาสตร์การลงทุน (Economics of Investment) ฯลฯ ซึ่งในรายวิชาที่น้องค่อนได้ยกตัวอย่างนี้ เรียกได้ว่าได้ใช้ในการทำงานสำหรับอาชีพโบรกเกอร์วิเคราะห์หุ้นจริงๆแน่นอนครับ

อัตราเงินเดือน

เริ่มต้นที่ประมาณ 20,000-40,000 บาท/เดือน


อาชีพที่ 4.เจ้าหน้าที่บริหารกองทุน

       สำหรับอาชีพเจ้าหน้าที่บริหารกองทุนก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่คนส่วนมากไม่ค่อยคุ้นเคยกันสักเท่าไหร่ แต่แท้จริงแล้วอาชีพเจ้าหน้าที่บริหารกองทุนนั้นเป็นอาชีพที่หลายๆบริษัทหรือธนาคารต้องการเจ้าหน้าที่ตำแหน่งนี้อยู่เป็นจำนวนมาก โดยหน้าที่ของเจ้าหน้าที่บริหารกองทุนนั่น..ก็คือนำเงินของบริษัทหรือธนาคารไปลงทุนในสิ่งหรือกิจการต่างๆเพื่อให้เกิดผลกำไรงอกเงยสูงสุด ดังนั้นบอกเลยว่าตำแหน่งงานนี้ยิ่งเก่งยิ่งเก๋าผลตอบแทนในอาชีพยิ่งสูงแน่นอนครับ น้องค่อยฟันธง!!

           รายวิชาสำคัญที่สามารถนำมาใช้ในการทำงานอาชีพเจ้าหน้าที่บริหารกองทุนก็จะเป็นรายวิชาที่เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ,การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการลงทุน ฯลฯ ในส่วนของรายวิชาที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปิดสอนมีดังนี้ การพยากรณ์ทางเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ(Business and Economic) , เศรษฐศาสตร์มหภาค(Macroeconomics) ,เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics),เศรษฐศาสตร์การลงทุน (Economics of Investment) ฯลฯ ในรายวิชาเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับเจ้าหน้าที่บริหารกองทุนที่เรียกได้ว่าต้องรู้รอบด้านเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจเพื่อที่จะสามารถบริหารกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อัตราเงินเดือน

เริ่มต้นที่ประมาณ - บาท/เดือน


อาชีพที่ 5.ข้าราชการ

      อาชีพข้าราชการก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพในฝันของใครหลายๆคน เพราะเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงสูงอีกทั้งยังมีสวัสดิการที่ดีจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการรักษาพยาบาลของตนอีกทั้งยังครอบคลุมไปจนถึงครอบครัว สวัสดการบำเหน็จและบำนาญ เพราะเหตุผลเหล่านี้..อาชีพข้าราชการจึงเป็นอาชีพที่ผู้ปกครองส่วนมากในสังคมไทยส่งเสริมและต้องการให้บุตรหลายของตนได้รับข้าราชการนั่นเองครับ ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ความมั่นคงด้านอาชีพเป็นสิ่งสำคัญ อาชีพข้าราชการก็เป็นตัวเลือกที่ดีมากเลยที่เดียว โดยส่วนงานราชการในกรมสังกัดกระทรวงต่างๆที่รับวุฒิ เศรษฐศาสตร์บัณฑิต ที่น้องค่อนได้คัดเลือกมาว่าฮอตฮิตมีดังนี้ครับ

  1.สำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ สำนักงบประมาณ(นักวิชาการงบประมาณ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณ)

  2. กระทรวงการคลัง ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(เศรษฐกร เจ้าหน้าที่วิเคราะนโยบาย)

   3.  กระทรวงพาณิช ได้แก่ กรมกิจการพาณิชย์,กรมการค้าต่างประเทศ,กรมการค้าภายใน และสำนักวานปลัดกระทรวง(นักวิชาการพาณิชณ์)

4. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ กรมส่งเสริมสหกรณ์,กรมปศุสัตว์(เศรษฐกร) และกรมชลประทาน(เศรษฐกร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน)

   5. กระทรวงอุตหกรรม ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (เศรษฐกร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน)

   6. กระทรวงคมนาคม ได้แก่ กรมขนส่งทางบก(นักวิชาการขนส่ง),กรมไปรษณีย์โทรเลข(นักวิชาการสื่อสาร)และกรมทางหลวง(นักวิชาการฯ)

   7.กระทรวงมหาดไทย ได้แก่ กรมหารพัฒนาชุมชน,กรมผังเมือง,กรมที่ดิน

   8.กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้แก่ กรมการจัดหางาน(นักวิชาการแรงงาน)

   9. กระทรวงต่างประเทศ ได้แก่ กรมเศรษฐกิจ

   10.กระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ กรมอาชีวะศึกษา(อาจารย์ นักวิชาการศึกษา)

11.

กระทรวงมหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยต่างๆ(นักวิชาการศึกษา นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ)

        รายวิชาที่มีความสำคัญต่ออาชีพข้าราชการที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีการเปิดสอนก็จะเป็นรายวิชาที่เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล ยกตัวอย่างรายวิชา นโยบายการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ(International Trade Policy and Investment),ทฤษฎีนโยบายการคลังและการประยุกต์ใช้ (Theory of Fiscal Policy and Applications),นโยบายการเงินชุมชนและการพัฒนาชนบท (Microfinance Policies and Rural Development) ,นโยบายสาธารณะและการพัฒนาเศรษฐกิจ(Public Policy and Economic Development),เศรษฐศาสตร์การเมือง(Political Economy) ,เศรษฐศาสตร์ประชากร (Population Economics) ฯลฯ ซึ่งน้องค่อนขอบอกเลยนะครับว่า รายวิชาเหล่านี้เนี่ยนเป็นประโยชน์และสามารถใช้ในการทำงานอาชีพรายการได้หลากหลายหน่วยงานมากๆเลยหละครับพี่ๆ

อัตราเงินเดือน

เริ่มต้นที่ประมาณ 15,000 บาท/เดือน

อาชีพที่ 6.ธุรกิจส่วนตัว

           สำหรับอาชีพธุรกิจส่วนตัวก็คงจะเป็นอาชีพที่เหมาะสำหรับพี่ๆที่ไม่ชอบทำงานในองกรณ์หรือไม่ชอบนั่งทำงานจำเจในออฟฟิต แต่ก็ต้องบอกเลยว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่ผลตอบแทนการทำงานสูงและความเสี่ยงสูงมาก พี่ๆที่ต้องการจะทำธุรกิจส่วนตัวทั้งขนาดเล็กและใหญ่ หรือธรุกิจที่เริ่มต้นด้วยตนเองหรือสืบทอดกิจการจากครอบครัว ก็จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในธรุกิจนั้นเป็นอย่างมาก ต้องมีความสามรถในการบริหารธรุกิจและบริหารพนัก อีกทั้งยังต้องมีความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี

          ในส่วนของรายวิชาที่เป็นประโยชน์และสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาและต่อยอดธุรกิจ ก็จะเป็นรายวิชาที่เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจและระบบอุตหกรรม ดังนี้ ระบบธุรกิจอัจฉริยะ(Business Intelligence System) , เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial Economics),โซ่อุปทานและการดำเนินการ (Supply Chain and Operation) ฯลฯ รายวิชาเหล่านี้เป็นรายวิชาที่พี่ๆที่ต้องการประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจได้แน่นอนครับ ปังไม่ไหวว

อัตราเงินเดือน

เริ่มต้นที่ประมาณ - บาท/เดือน

       เป็นอย่างไรกันบ้างครับพี่ๆสำหรับอาชีพที่น้องค่อนได้มาแนะนำในวันนี้ มีอาชีพไหนถูกใจกันบ้างหรือเปล่าครับ ไม่น่าเชื่อเลยนะครับว่าอาชีพของสายเศรษฐศาสตร์ของเราจะสามารถทำงานได้หลากหลายขนาดนี้ แต่!นี่เป็นเพียง 6 อาชีพยอดฮิตเท่านั้น!!นะครับ เห็นมั้ยหละครับว่าสายงานของเศรษฐศาสตร์ที่พี่ๆสามารถทำได้นั้น มีหลากหลายและเป็นที่ต้องการในเกือบจะทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชนหรือภาครัฐ น้องค่อนแอบกระซิบว่าเรียนเศรษฐศาสตร์นี่ไม่ตกงานง่ายๆแน่ๆครับพี่ๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถและความชอบในสายงานนั้นๆของพี่ๆด้วยนะครับ ยังไงก็ตามน้องค่อนตัวแทนจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็ขอฝากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจด้วยนะครับ สำหรับพี่ๆที่กำลังลังเลว่าจะเรียนอะไร ให้คณะเศรษฐศาสตร์เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของพี่ๆนะครับ  

         หากเนื้อหาหรือข้อมูลในกระทู้นี้มีข้อผิดพลาดประการใด น้องค่อน ของอภัยมา ณ ที่นี้ พี่ๆที่มีข้อแนะนำหรือข้อเสนอแนะสามารถคอมเม้นต์ด้านล่างเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงต่อไปครับ ขอบคุณครับ

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก

  https://www.admissionpremium.com/adplanning/work?id=20150815170217E9r68VI

https://www.thai25.com/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%94/%E0%B8%97%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1.html
 

http://setthasnook.blogspot.com/2014/02/blog-post_6987.html
http://www.trueplookpanya.com/explorer/occupation-step3/57

        https://econ.kku.ac.th/app/webroot/cro/upload/course/เศรษฐศาสตรบัณฑิต(หลักสูตรปรับปรุง-พ.ศ.2560).pdf

ติดตามข่าวสารอื่นๆจากน้องค่อนได้ที่

Website :  http://econ.kku.ac.th

Twitter : https://twitter.com/econkkuofficial

Facebook : https://m.facebook.com/EconKKUofficial

คณะเศรษฐศาสตร์ เหมาะกับใคร

คนที่จบการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ สามารถทำงานได้ทั้งรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน เช่น ธนาคาร, บริษัทเงิน, ทุนหลักทรัพย์, ครู, อาจารย์ในมหาวิทยาลัย ทำงานในบริษัทประกันภัยและบริษัทธุรกิจอื่นๆ ที่ต้องการนักเศรษฐศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับสภาวะการตลาด และการวางแผนดำเนินธุรกิจต่างๆ ตลอดจนประกอบธุรกิจส่วนตัว และ ...

คณะเศรษฐศาสตร์ มีอะไรบ้าง

คณะ/สาขา เศรษฐศาสตร์ (Economics) เป็นอีกหนึ่งคณะที่เกี่ยวกับด้านธุรกิจและการบริหาร ในคณะนี้น้องๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับวิธีการจัดสรรทรัพยากร การผลิต การกระจายสินค้า การค้า และการแข่งขัน ที่ไม่ได้เน้นเฉพาะด้านเศรษฐกิจพื้นฐานเพียงอย่างเดียว แต่เน้นการเรียนรู้เรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ด้วย

ผู้สําเร็จการศึกษาเศรษฐศาสตร์สามารถประกอบอาชีพใดได้บ้าง

อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลักสำเร็จการศึกษา.
เศรษฐกร.
นักวิชาการและนักวิจัยทางเศรษฐศาสตร์.
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนในหน่วนงานภาครัฐ.
พนักงานธนาคารและสถาบันทางการเงินของภาครัฐและเอกชน.
ผู้ประกอบการธุรกิจ อาชีพอิสระ.

เศรษฐศาสตร์เรียนสาขาอะไรดี

เศรษฐศาสตร์สหกรณ์ สาขานี้จะเน้นการจัดการสหกรณ์ด้วยความรู้ทางเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก.
เศรษฐศาสตร์การพัฒนา ... .
เศรษฐศาสตร์สาธารณะ ... .
เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ... .
เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ / เศรษฐศาสตร์การจัดการ ... .
เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ... .
เศรษฐศาสตร์เกษตร ... .
เศรษฐศาสตร์การเงิน.