สาระที่ควรเรียนรู้ คืออะไร

        ห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยควรมีวัสดุอุปกรณ์ส่งเสริมการรู้หนังสือที่มีคุณภาพ เด็กที่ได้อยู่ในห้องเรียนที่มีวรรณกรรมสำหรับเด็กที่มีคุณภาพมีแนวโน้มที่จะรักการอ่าน และการอ่านวรรณกรรมที่ดีจะกลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตในอนาคตของเด็ก อีกทั้งยังเป็นส่วนที่กระตุ้นให้เด็กมีความต้องการอ่านบ่อยครั้ง ซึ่งส่งผลต่อการประสบความสำเร็จในการเรียนในระดับที่สูงขึ้น ทั้งนี้วัสดุอุปกรณ์ที่ควรมีในห้องเรียนได้แก่วรรณกรรมสำหรับเด็กที่มีความหลากหลายในด้านของผู้แต่ง และผู้วาดภาพประกอบ มีระดับความยากแตกต่างกัน มีวัสดุที่ใช้สำหรับการอ้างอิง ประกอบด้วยพจนานุกรม แผนที่ บัญชีคำศัพท์ และสารานุกรม นิตยสารสำหรับเด็ก นอกจากนี้ครูควรจัดให้มีสื่อสำหรับการเขียนทั้งกระดาษที่ไม่มีเส้น และมีเส้นหลายสี หลายแบบ หลายขนาด กระดาษบันทึกเล็กๆ ซองจดหมาย ดินสอ ปากกา สีชนิดต่างๆ เครื่องเหลาดินสอ ตรายางและแท่นประทับ นอกจากนี้ยังอาจจัดสื่อสำหรับการเย็บกระดาษ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องเย็บกระดาษ ที่เจาะกระดาษ เชือก กาว เทปใส กระดาษกาว คลิปหนีบกระดาษ กรรไกร เป็นต้น โดยควรจัดวางให้เด็กสามารถเลือกหยิบใช้และนำมาเก็บคืนได้ด้วยตนเองด้วย

10 กิจกรรม : ศึกษา เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนฯ


กิจกรรมฝึกปฏิบัติทั้ง 10 กิจกรรมนี้

ปรับจาก “หน่วยที่ การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้”  
(คำถามที่ 2-12) 
ที่มา: 
วรรณวิไล พันธุ์สีดา. (2549). ผลงานทางวิชาการ ก้าวสู่วิทยฐานะ.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯอี เค บุคส์.


กิจกรรมที่ 1:  กำหนดชื่อเรื่อง และวิเคราะห์สาระการเรียนรู้

- ศึกษาตัวอย่างหลักสูตรสถานศึกษา ตัวอย่างการตั้งชื่อหน่วย และศึกษาจากคู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ (สำหรับเด็กอายุ ๓ - ๕ ปี) ฝึกปฏิบัติ วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ 

(จำแนกเป็น สาระที่ควรเรียนรู้ ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก บุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก  

และ ประสบการณ์สำคัญ ได้แก่ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา) 

กิจกรรมที่ 2: กำหนดกิจกรรมประจำวันลงในตารางกิจกรรมประจำวัน 
#ฝึกเขียนแผนฯ โดยระบุวิธีสอน ตลอดจน ทักษะการสอน และ เทคนิคการสอน ไว้ในตารางกิจกรรมประจำวันด้วย 
อาจเขียนแบบผสมผสานลงในกิจกรรม หรือ แยกช่องตารางต่างหาก ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ออกแบบแผนฯ และผู้นำแผนฯ ไปใช้ มีความเข้าใจตรงกันว่ากิจกรรมประจำวันที่กำหนดไว้นั้น มีความเหมาะสมกับวิธีสอนอย่างไร ผู้ใช้จะได้นำไปปรับ/ประยุกต์ใช้ต่อไป

         - ศึกษาตัวอย่างการจัดตารางกิจกรรมประจำวันของโรงเรียนต่างๆ  เช่น
การจัดตารางกิจกรรมประจำวันของโรงเรียนที่ประยุกต์ใช้รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย

          - ควรทำเข้าใจนิยามศัพท์ เกี่ยวกับ ศาสตร์การสอน (ทฤษฎีการสอน หลักการสอน รูปแบบการสอน วิธีสอน เทคนิคและทักษะการสอนต่างๆ) แล้วนำไประบุไว้ในตารางกิจกรรมประจำวัน  
(อ่านทบทวน สรุปสั้นๆ จาก ppt "วิธีสอน เทคนิคการสอน สื่อการสอน" )

ควรเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ "การจัดประสบการณ์แบบต่างๆ" และ วิธีสอน เริ่มต้นจาก  เอกสาร “14วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ” และ ศึกษาเทคนิคการสอน โดยเน้นทักษะการใช้คำถามเพื่อเสริมต่อการเรียนรู้


กิจกรรมที่ 3: การวิเคราะห์สาระที่ควรเรียนรู้  การจัดทำผังมโนทัศน์

          - ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับ การใช้แผนที่ความคิด/ผังความคิด  ผังมโนทัศน์/ผังความคิดรวบยอด 



การเขียนสาระที่ควรเรียนรู้ มี ระดับ คือ

   1) สาระการเรียนรู้รายปี เป็นสาระที่ควรเรียนรู้ ซึ่งต้องวางแผนร่วมกันและปรากฏในหลักสูตรสถานศึกษา มีลักษณะที่สั้น กระชับ ส่วนประสบการณ์สำคัญนั้น นำประโยคที่อธิบายทักษะย่อยของพัฒนาการแต่ละด้านมาเขียน

   2) สาระการเรียนรู้ในแผนฯ รายวัน เป็นการเขียนสาระที่ควรเรียนรู้
(เนื้อหาที่ครูจะสอน) วิธีการเขียนจึงต้องมองเห็นกระบวนการจัดประสบการณ์อย่างชัดเจน ควรเขียนเต็มประโยค เพื่อให้ทราบชัดว่าเป็นบทบาทของผู้สอน หรือผู้เรียน ดังนั้น จึง ต้องระบุพฤติกรรมให้ชัดเจน” ซึ่งในระดับปฐมวัยนิยมใช้ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (หรือ เรียกว่า จุดประสงค์เฉพาะ) มากกว่าการเขียนจุดประสงค์ทั่วไป หรือ เรียกว่าจุดประสงค์ปลายทาง      

       - นิยมใช้แบบนำทางมากกว่าปลายทาง

     - ศึกษาเพิ่มเติม เอกสาร “คุณลักษณะตามวัยของผู้เรียน” “สาระการเรียนรู้” และ “ประสบการณ์สำคัญ” จาก คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย


กิจกรรมที่ 4:   การเขียนสาระสำคัญหรือความคิดรวบยอด 
(ถ้ายังเขียนในตอนต้นไม่ได้ ให้ทำในกิจกรรมที่ 9 และใช้แบบฝึกปฏิบัติคำถามที่ 11)

      - ศึกษาตัวอย่างการเขียนสาระสำคัญ หรือความคิดรวบยอด จากเอกสารการเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 


          สาระสำคัญ คือ ข้อสรุปหรือความคิดครั้งสุดท้ายที่เกิดแก่ผู้เรียน 
ควรเขียนในลักษณะที่สั้นที่สุด เป็นสาระหรือแก่นแท้ของเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับ/เรียนรู้  สาระสำคัญมี 3 ประเภท คือ  
1. นิยามความหมาย หรือความคิดรวบยอด  
2. หลักการ ทฤษฎี กฎ
3. สัจพจน์ คติพจน์ (สุภาษิตสอนใจ)


- มีความหมายคล้ายคำว่า ความคิดรวบยอด เนื้อหาโดยย่อ ใจความสำคัญ  ประเด็นสำคัญ หัวใจของเรื่อง หลักวิชา เคล็ดวิชา มโนทัศน์พื้นฐาน

- ควรเขียนในลักษณะที่สั้น-ง่าย-ใจความเดียว

- เขียนแบบ 3ค. คือ-ควร-คุณค่า

- เขียนสัมพันธ์กับจุดประสงค์และเนื้อหา



        การเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

        นอกจากการศึกษาเอกสารที่ให้ไปแล้ว นักศึกษาสามารถใช้แบบฝึกปฏิบัติเขียนแผนฯ ต่อไปนี้ (ตอบคำถาม 2 และ 3)

สาระที่ควรเรียนรู้ คืออะไร


สาระที่ควรเรียนรู้ คืออะไร



สาระที่ควรเรียนรู้ คืออะไร


สาระที่ควรเรียนรู้ คืออะไร


แม้จะเป็นการฝึกเขียนแผนฯ ระดับอื่นที่ไม่ใช่ปฐมวัย ก็ประยุกต์ใช้ได้ เนื่องจากมีจุดประสงค์ทางการศึกษาเช่นเดียวกัน คือ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ด้าน ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และ เจตคติ หรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์


กิจกรรมที่ 5:      การเขียนประสบการณ์สำคัญ

          เลือกรายการในตารางซึ่งเป็นรายละเอียดของประสบการณ์สำคัญทั้งหมดจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย แล้วนำมาเขียนลงในตารางสรุป ทั้งนี้ ต้องระบุกิจกรรมให้มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาของหน่วยที่สอนอย่างชัดเจน

- ศึกษาเอกสาร “สาระการเรียนรู้”  และ “ประสบการณ์สำคัญ” จาก คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย


กิจกรรมที่ 6:   การเขียนประสบการณ์เดิมของผู้เรียน

ตัวอย่างการระดมความคิดเกี่ยวกับหน่วย 


สาระที่ควรเรียนรู้ คืออะไร


- เมื่อเขียนแผนที่ความคิด (mind mapping) แล้ว (การระดมความคิดมักจะได้เป็นคำถามที่เด็กๆ อยากรู้) ควรปรับให้เป็น ผังความคิดรวบยอดหรือแผนผังความคิด (concept mapping) เพื่อให้สะดวกในการจัดทำแผนฯ  / ใช้วิธีการจัดกลุ่มเนื้อหา และกำหนดหัวข้อหรือประเด็นหลักของเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกัน ดังนี้ 

     - รูปร่าง/ลักษณะ (สี/น้ำหนัก/ผิวหนัง / อวัยวะต่างๆ เช่น ตา หู จมูก แขน  ขา ฯลฯ)
     - ความเป็นอยู่ / ที่อยู่อาศัย / อาหารการกิน
     - การสืบพันธุ์ / ขยายพันธุ์
     - คุณลักษณะ / ความสามารถ คุณประโยชน์
     - การดูแลรักษา / การอนุรักษ์ / สวัสดิภาพของคน สัตว์ สิ่งของ สภาพแวดล้อม / ความปลอดภัย / ความสะอาด (สุขลักษณะ / สุขศึกษา) ฯลฯ
     - อื่นๆ ที่เด็กควรรู้ เช่น คุณค่าในเชิงสัญลักษณ์ ค่านิยมที่ควรนำไปประพฤติปฏิบัติ 


ทั้งนี้ โดยคำนึงถึง “คุณลักษณะตามวัยของผู้เรียน” และ “มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์” (ศึกษาเพิ่มเติมจากคู่มือหลักสูตร)



กิจกรรมที่ 7:  การเลือกกิจกรรมและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (ต่อเนื่องจาก กิจกรรมที่ การระบุวิธีสอน และเทคนิคการสอน)

      ศึกษาเอกสาร : 
> การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
> การจัดสภาพแวดล้อม(ทางกายภาพและจิตภาพ) เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

                   

>> นักศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการสอน = กระบวนการจัดประสบการณ์ 

และ พิจารณาเลือกวิธีสอน



กิจกรรมที่ 8:   ก่อนเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ต้องเข้าใจส่วนประกอบของแผนฯ ว่ามีอะไรบ้าง แต่ละหัวข้อมีวิธีเขียนอย่างไร 

- ศึกษารายละเอียดจากเอกสาร และ power point 

สาระที่ควรเรียนรู้ คืออะไร

นอกจากการศึกษาเอกสารดังกล่าวแล้ว 

นักศึกษาสามารถใช้แบบฝึกปฏิบัติเขียนแผนฯ ต่อไปนี้
คำถามที่ 5 คำถามที่ 6 เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ วิธีเขียนกิจกรรมการสอน (กระบวนการจัดประสบการณ์)
คำถามที่ 7 - 9  คำถามที่ 7-8 เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การเก็บรวบรวมผลงานที่จะนำไปสู่การวัดและการประเมินผลพัฒนาการเด็กต่อไป (คำถามที่ 9) 
และ ควรศึกษาเพิ่มเติม จากคู่มือหลักสูตรฯ  

[ ทำแบบตรวจสอบเครื่องมือประเมินผลของหน่วยที่จะสอน ]
คำถามที่ 10 ศึกษาการบูรณาการเนื้อหา 
(อ่าน ตัวอย่าง แผนฯ เรื่อง ผลไม้ ของ รศ.ลัดดา นีละมณี ประกอบ)
คำถามที่ 12 การเขียนบันทึกหลังสอน (ในระดับปฐมวัย นิยมเขียนตามจุดประสงค์ทางการศึกษา 3 ด้าน / หรือ พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน)



กิจกรรมที่ 9:   เขียนสาระสำคัญ หรือความคิดรวบยอด

 - ศึกษารายละเอียดจากเอกสาร power point ที่แจกแล้ว

      นอกจากการศึกษาเอกสารดังกล่าวแล้ว นักศึกษาสามารถฝึกเขียนสาระสำคัญหรือความคิดรวบยอดจากแบบฝึกปฏิบัติเขียนแผนฯ ต่อไปนี้ 

          คำถามที่ 11 เพื่อศึกษาวิธีเขียนสาระสำคัญของผู้เรียนชั้นประถมศึกษา เปรียบเทียบกับระดับชั้นปฐมวัย ซึ่งจะมีผลให้การเชื่อมต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปอย่างราบรื่น

สาระการเรียนรู้ปฐมวัย มีอะไรบ้าง

4 สาระที่ควรเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.
เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก.
เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก.
ธรรมชาติรอบตัว.
สิ่งต่างๆ รอบตัว.

กิจกรรม 6 หลัก มีอะไรบ้าง

กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา ได้แก่ 1. กิจกรรมเคลื่อนไวและจังหวะ 2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 3. กิจกรรมสร้างสรรค์ 4. กิจกรรมเสรี 5. กิจกรรมกลางแจ้ง 6. กิจกรรมเกมการศึกษา

กิจกรรมเสริมประสบการณ์มีอะไรบ้าง

-การเล่านิทาน -การแสดงบทบาทสมมุติ -การเล่นเกม -การทดลอง/ปฎิบัติจริง จากสื่อของจริง -การสนทนา/การแสดงความคิดเห็น กิจกรรมสร้างสรรค์ -การระบายสีภาพ -การฉีกปะ -การปั้นดินน้ำมัน -การวาดภาพ -การประดิษฐ์จากเศษวัสดุ

ประสบการณ์สําคัญคืออะไร

ประสบการณ์สำคัญ จะช่วยอธิบายให้ผู้สอนเข้าใจว่าเด็กปฐมวัยต้องทำอะไร เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว อย่างไร และทุกประสบการณ์มีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก ช่วยแนะผู้สอนในการสังเกต สนับสนุน และวางแผนการจัดกิจกรรมให้เด็ก ประสบการณ์สำคัญที่กำหนดไว้ในหลักสูตรมีความสำคัญต่อการสร้างองค์ความรู้ของเด็ก ตัวอย่างเช่น เด็กเข้าใจความหมายของ ...