องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการศึกษามีอะไรบ้าง

สิ่งแวดล้อมในการเรียน

    สิ่งแวดล้อมในการเรียน หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ล้อมรอบตัวผู้เรียน ได้แก่ สภาพของ

ห้องเรียนที่มีการออกแบบและจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ สาหรับการเรียนรู้ และบรรยากาศของห้องเรียนที่เกิดขึ้นจากการอยู่ร่วมกันของสมาชิกที่ประกอบด้วยนักเรียนและครู เราสามารถแบ่งสิ่งแวดล้อมในการเรียน เป็น 2 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยาสิ่งแวดล้อมทั้งสองด้านนี้ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูมีหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบการสร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนที่เหมาะสมทั้งทางด้านกายภาพและด้านจิตวิทยาในห้องเรียน การพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งสองด้านมีรายละเอียด ดังนี้

 1. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพในโรงเรียนที่สาคัญ ได้แก่ อาคาร สถานที่ต่าง ๆ ในโรงเรียน เช่น ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด สนามกีฬา เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังรวมถึงองค์ประกอบทางกายภาพที่เกี่ยวกับการจัดห้องเรียน ได้แก่ การจัดวางสิ่งของต่าง ๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ตู้เก็บอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ การจัดบริเวณ หรือสถานที่ต่าง ๆ ให้มีความเป็นระเบียบ เรียบร้อย และสะดวกต่อการใช้ประโยชน์ และองค์ประกอบทางกายภาพที่มีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก ได้แก่ แสง เสียง อุณหภูมิ การถ่ายเทของอากาศในห้อง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของผู้เรียน สิ่งแวดล้อมทางภายภาพที่ดีควรทาให้ผู้เรียนมีความรู้สึกอิสระ ผ่อนคลายมีความสุขในการทางาน และกระตุ้นประสาทรับรู้ของผู้เรียน หน้าที่ความรับผิดชอบของครูผู้สอนที่สาคัญประการหนึ่งก็คือ การจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนให้มีความพร้อมและเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งจะกล่าวถึงในแต่ละด้านดังนี้

        1.1 การจัดห้องเรียน สภาพของห้องเรียนในแต่ละช่วงชั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันซึ่งควรจัดให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนและความต้องการของผู้เรียนในแต่ละช่วงวัย ดังนี้

            1.1.1 ห้องเรียนในระดับก่อนประถมศึกษา ควรจัดให้มีบริเวณที่ผู้เรียนสามารถทา

กิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นสัดส่วน ตามลักษณะของการเรียนรู้ในวัยนี้ที่จัดการเรียนรู้ในลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ผ่านการเล่น การมีประสบการณ์ตรงผ่านการทากิจกรรมที่ใช้วัสดุ อุปกรณ์ของเล่นต่าง ๆ เช่น เรียนรู้การอ่าน จากการฟังนิทาน การพัฒนาความพร้อมในการเขียนจากกิจกรรมศิลปะ เช่น การวาด การปั้น การปะ และการประดิษฐ์ เป็นต้น เรียนรู้สังคม จากกิจกรรมการเล่นเลียนแบบ เรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวจากการเล่นต่าง ๆ เช่น เล่นน้า เล่นทราย เล่นเครื่องเล่น และกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย การพัฒนาการคิดเชิงตรรกะ จากการเล่นบล็อก และเกมทางการศึกษาต่าง ๆ เป็นต้น 

    ห้องเรียนในระดับก่อนประถมศึกษาจึงต้องจัดพื้นที่สาหรับเด็กได้ทากิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ อย่างป็นสัดส่วน และจัดพื้นที่ว่างสาหรับการทากิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนไปใช้กิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ยังต้องมีตู้เก็บวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นสัดส่วนเพื่อสะดวกแก่การนามาใช้และการเก็บรักษา

            1.1.2 ห้องเรียนในระดับประถมศึกษา นักเรียนในวัยนี้เรียนรู้การอ่าน การเขียน การ

ทากิจกรรมการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ตามที่กาหนดในหลักสูตร สภาพของห้องเรียนมีการจัดวางโต๊ะเรียน เก้าอี้ประจาตัวนักเรียน ซึ่งเป็นห้องเรียนที่จัดอย่างเป็นทางการมากขึ้น อย่างไรก็ตามไม่ควรจัดรูปแบบของโต๊ะเรียนเป็นแบบถาวรตลอดภาคเรียน ควรมีการเปลี่ยนรูปแบบการจัดโต๊ะเรียนในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสหมุนเวียนทากิจกรรมร่วมกับเพื่อนร่วมชั้นอย่างทั่วถึง การจัดที่นั่งเรียงเป็นแถวกระดาน ซึ่งทุกคนหันหน้าไปทางครู อาจจะเหมาะสาหรับการเรียนแบบบรรยายซึ่งมีครูเป็นศูนย์กลาง มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความรู้แก่นักเรียนหรือสาธิตการทางาน หากเปลี่ยนที่เรียนเป็นรูปตัวยูหรือครึ่งวงกลมก็จะเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 

        การจัดที่เรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หันโต๊ะ ม้านั่ง เข้าหากันก็จะเหมาะสาหรับการทางานเป็นกลุ่มย่อยเพื่อปรึกษาหารือการทางานร่วมกัน ดังนั้นครูผู้สอนควรมีการวางแผนการจัดกิจกรรมล่วงหน้าเพื่อจัดที่นั่งให้เหมาะกับจุดประสงค์และกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งไม่ควรยึดรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเป็นการถาวร ห้องเรียนในระดับนี้ควรมีพื้นที่ว่างสาหรับนักเรียนได้ทากิจกรรมต่าง ๆ ตามความสนใจภายหลังเสร็จจากงานปกติที่ได้รับมอบหมายจากครู เช่น จัดให้มีมุมอ่านหนังสือ มุมเขียน มุมสืบค้น ซึ่งมีคอมพิวเตอร์สาหรับนักเรียนได้ใช้ในการสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ตามความต้องการ และควรจัดสภาพห้องเรียนให้มีความสวยงาม มีการจัดเก็บสื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระเบียบเพื่อสะดวกในการนามาใช้ในการทากิจกรรมต่าง ๆ

            1.1.3 ห้องเรียนในระดับมัธยมศึกษา การจัดห้องเรียนในระดับนี้โดยทั่วไปไม่ต่าง

จากการจัดห้องเรียนในระดับประถมศึกษา แต่พบว่ามีการจัดห้องเรียนเป็นห้องเรียนเฉพาะมากขึ้น และนักเรียนจะหมุนเวียนกันไปเรียนในห้องเรียนที่จัดขึ้นโดยเฉพาะ เช่น ห้องปฏิบัติการทางภาษาห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องดนตรี ห้องศิลปะ ห้องพลศึกษาเป็นต้น การจัดให้มีห้องเฉพาะต่าง ๆ มีข้อดีตรงที่เอื้ออานวยให้ครูสามารถจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนในเนื้อหาสาระวิชาเฉพาะได้อย่างเหมาะสม แต่ก็มีข้อเสียที่ต้องเสียเวลาในการเปลี่ยนห้องเรียน ดังนั้นจึงต้องวางแผนการใช้ห้องเรียนอย่างรอบคอบและให้เหมาะสมกับตารางเรียนของนักเรียนด้วยการจัดห้องเรียนให้มีเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นเพื่อส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนรู้ของผู้เรียน มีหลักการที่ควรคานึงถึงสรุปได้ดังนี้

                    1) การจัดห้องเรียนควรจัดให้เหมาะสมกับจุดประสงค์การเรียนรู้และกิจกรรมการ

เรียนรู้

                    2) ห้องเรียนควรมีพื้นที่พอเพียงในการปรับรูปแบบของการจัดโต๊ะเรียนในลักษณะ

ต่างๆ ให้เหมาะกับกิจกรรมการเรียนรู้ และการเคลื่อนไหวของนักเรียน กล่าวคือไม่ควรมีจานวนนักเรียนมากเกินไป

                    3) การจัดที่เรียนควรคานึงถึงนักเรียนให้สามารถเห็นครู กระดาน และการนาเสนอ

กิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างทั่วถึงทุกคน

                    4) วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรจัดให้เป็นระเบียบ หยิบใช้สะดวก นักเรียนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการนามาใช้และเก็บรักษา

                    5) การจัดห้องเรียนควรคานึงถึงสภาพแวดล้อมที่อานวยความสะดวก ความสบาย และความสุขในการทางานของนักเรียน

1.2 การจัดสิ่งแวดล้อมยทางกาภาพที่ส่งผลต่อการรับรู้และอารมณ์ความรู้สึกของ

ผู้เรียน สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ควรคานึงถึง มีดังต่อไปนี้ (กรมวิชาการ, 2539, หน้า 18-24)

        1.2.1 สี เป็นองค์ประกอบทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อสภาวะทางจิตใจและ

ความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ความรู้สึกร่าเริง ยินดี หรือในทางตรงข้าม เช่น ความรู้สึกเศร้าหมอง หดหู่ เราสามารถแบ่งสีที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก ได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มแรกคือสีอุ่น ได้แก่ สีเหลือง ส้ม แสด แดงและม่วงแดง สีในกลุ่มนี้ จะให้ความรู้สึกร่าเริง ตื่นเต้น มีชีวิตชีวา และกลุ่มที่สองคือสีเย็น ได้แก่ สีม่วง สีคราม สีน้าเงินแกมม่วง สีน้าเงินฟ้า สีเขียว สีในกลุ่มนี้จะให้ความรู้สึกสงบ มีสมาธิ จิตใจอ่อนโยนซึ่งสีในกลุ่มนี้จะช่วยให้นักเรียนมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจซึ่งมีผลต่อการพัฒนาทางด้านสติปัญญา ดังนั้นในการใช้สีกับห้องเรียนและอาคารเรียนต่าง ๆ จึงควรเลือกใช้สีให้เหมาะกับการกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

            1) ในระดับปฐมวัยและประถมศึกษาตอนต้น ควรใช้สีส้มพีช (peach) ซึ่งมี

ส่วนผสมของสีแดง สีเหลืองและสีขาวในปริมาณเท่า ๆ กัน สีส้มพีชจะให้ความรู้สึกอบอุ่น มีเมตตา และร่าเริง แจ่มใส จึงช่วยกระตุ้นพลังสมองและจินตนาการของผู้เรียน ในขณะเดียวกันก็ทาให้เด็กสงบและมั่นคง

            2) ในระดับประถมศึกษาตอนปลาย ควรใช้สีฟ้าคราม หรือน้าเงินฟ้าผสมสีขาว สีฟ้าครามเป็นสีแห่งธรรมชาติ ซึ่งให้ความรู้สึกสงบ ช่วยกระตุ้นจิตใจของมนุษย์ในการค้นหาคาตอบจึงเป็นสีที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ

            3) ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ควรใช้สีม่วงคราม หรือน้าเงินผสมแดงและ

ขาว เป็นสีที่กระตุ้นต่อมใต้สมองที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและการควบคุมด้านจิตใจ จึงเป็นสีที่กระตุ้นความตื่นตัวทั้งด้านร่างกาย ความคิด สติปัญญาและจิตใจซึ่งเหมาะกับผู้เรียนในวัยนี้ที่มีการเจริญเติบโตด้านร่างกายอย่างรวดเร็ว

            4) ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ควรใช้สีฟ้าคราม สีเหลือง และสีเขียว

สีเหลืองเป็นสีที่คล้ายแสงอาทิตย์ซึ่งให้พลังงาน จึงเป็นสีที่กระตุ้นพลังความคิดและจิตใจ ทาให้เกิดสมดุลภายใน และการมองโลกในด้านดี ส่วนสีเขียวให้ความรู้สึกชุ่มชื่น แจ่มใส กระปรี้กระเปร่า จึงเป็นสีที่ช่วยผ่อนคลายความเหนื่อยล้า ทาให้อารมณ์แจ่มใส เบิกบาน

        1.2.2 เสียง เสียงเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อจิตใจและการเรียนรู้โดยตรง เสียงที่

ดังเกินไปทาให้ขาดสมาธิในการเรียน เสียงบางเสียง เช่น เสียงดนตรีที่ไม่มีเนื้อร้อง และมีจังหวะไม่รุนแรง เช่น ดนตรีไทย ดนตรีคลาสสิค รวมทั้งเสียงในธรรมชาติ เช่น เสียงนก เสียงคลื่น จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจอยู่ในระดับผ่อนคลายและกระตุ้นการทางานของสมองทุกส่วน จึงอาจใช้เสียงเพลงในตอนเช้าและช่วงกลางวันซึ่งเป็นช่วงพักของนักเรียน และใช้เสียงเพลงในขณะที่เด็กทางานที่ต้องใช้จินตนาการ เช่น งานศิลปะ ดนตรี และกิจกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ เป็นต้น

        1.2.3 แสง แสงที่จ้าเกินไปทาให้เด็กขาดสมาธิในการเรียน แสงที่ไม่เพียงพอก็มี

ผลเสียต่อสายตา ในห้องเรียนจึงควรจัดสภาพให้มีแสงสว่างที่เพียงพอ ไม่จ้าจนเกินไป หากเป็นแสงธรรมชาติที่นุ่มนวลจะดีที่สุด เพราะจะช่วยในการเรียนรู้ของนักเรียน

        1.2.4 การถ่ายเทของอากาศ สภาพห้องเรียนที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่ร้อนอบอ้าวหรือเย็นจนเกินไป ไม่มีกลิ่นรบกวน จะทาให้นักเรียนมีสมาธิในการทางานจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้นจะเห็นว่าสิ่งแวดล้อมทางกายภาพมีผลทั้งต่อการทากิจกรรมการเรียนการสอนโดยตรง และด้านอารมณ์ ความรู้สึกที่มีผลต่อการเรียนรู้และประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของนักเรียน

 2. สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่าง

นักเรียนและครูที่อยู่ร่วมกันในห้องเรียน ครูมีหน้าที่ที่จะทาให้ผู้เรียนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียนและการเรียนรู้ ทาให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ มีความมั่นใจในตนเอง และมีทัศนคติที่ดีต่อครูและเพื่อน ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยาที่ส่งเสริมการเรียนรู้มีลักษณะที่สาคัญดังนี้ (Jacobsen, Eggen, & Kauchak, 1999, pp. 268-270)

        1) นักเรียนและครูมีความคุ้นเคยกัน ซึ่งสามารถทาให้เกิดขึ้นได้ด้วยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

ระหว่างครูและนักเรียน คือการติดต่อสื่อสาร ทาความรู้จักกันตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการจัดการเรียนการสอนครูสามารถสร้างความคุ้นเคยโดยการทาความรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล จากการให้นักเรียนเล่าเรื่องเกี่ยวกับตัวเอง การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคล การศึกษาจากรายงานหรือบันทึกของนักเรียนในด้านต่าง ๆ และการสอบถามจากบุคคลที่ใกล้ชิดนักเรียน เช่น เพื่อนนักเรียน ผู้ปกครอง ครูประจาชั้นและครูแนะแนว เป็นต้น

        2) นักเรียนมีความรู้สึกผ่อนคลายเป็นอิสระ เป็นสิ่งที่ทาให้เกิดขึ้นได้โดยเปิดโอกาสให้

นักเรียนมีอิสระในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ครูยอมรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน ครูใช้วาจาทางบวกกับนักเรียน ไม่ดุด่าว่ากล่าวโดยไร้เหตุผล ทาให้นักเรียนกล้าคิด กล้าแสดงออกและเกิดความมั่นใจในตนเอง

        3) นักเรียนมีความสนใจและพึงพอใจในการเรียนรู้ ครูสามารถทาให้ผู้เรียนมีความรู้สึก

สนใจและสนุกสนานกับการเรียนรู้ได้ โดยการวางแผนการเรียนการสอนเป็นอย่างดี เตรียมสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอนล่วงหน้าเพื่อให้เกิดความพร้อมในการนาไปใช้ จัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่กระตุ้นการเรียนรู้ ครูใช้คาถามกระตุ้นการคิดของนักเรียน ครูมีความใจเย็น อดทนรอคอยคาตอบและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกันของนักเรียน ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และช่วยเหลือให้นักเรียนทุกคนประสบความสาเร็จในการเรียนรู้

        4) นักเรียนได้รับความสาเร็จในการเรียน ครูสามารถทาให้เกิดขึ้นได้โดยการจัดให้นักเรียน

ร่วมมือช่วยเหลือกันในการเรียนรู้เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ส่งเสริมให้นักเรียนรู้วิธีการทางานเป็นกลุ่มและได้ฝึกทักษะการทางาน โดยครูไม่เร่งรัดเวลามากจนเกินไป ให้นักเรียนมีเวลาเพียงพอสาหรับปรึกษาหารือกันและช่วยกันทางานให้บรรลุเป้าหมาย

        5) นักเรียนได้รับการยอมรับและมีความรู้สึกทางบวก ซึ่งเป็นสิ่งที่ทาให้เกิดขึ้นได้จาก

บทบาทและทัศนคติของครูที่มีต่อผู้เรียนและการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ การสนับสนุนให้นักเรียนกาหนดความคาดหวังของตนเองให้สูงตามที่ควรจะเป็น ครูส่งเสริมวิธีการเรียนรู้ให้กับนักเรียนเพื่อให้นักเรียนประสบความสาเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ครูให้ความเชื่อมั่นและยอมรับความแตกต่างของผู้เรียน ครูให้ความยุติธรรมแก่นักเรียนโดยเท่าเทียมกัน ครูทาให้การเรียนเป็นสิ่งสนุกสนาน ท้าทาย และยอมรับความผิดพลาดของนักเรียน มีอารมณ์ขันและมองโลกในแง่ดี ครูรู้วิธีให้การเสริมแรงแก่ผู้เรียนอย่างเหมาะสมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมของผู้เรียน

        6) นักเรียนมีวินัยและเคารพกฎระเบียบ ซึ่งเป็นวินัยที่เกิดขึ้นในตนเอง ได้แก่ การรู้จัก

หน้าที่ ความรับผิดชอบและยึดถือกติกาที่นักเรียนช่วยกันกาหนดขึ้น เพื่อให้การดาเนินการในห้องเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยราบรื่น เช่น การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน การแต่งกาย การใช้วาจาสุภาพ มารยาทในการเข้า-ออกจากห้องเรียน มารยาทในการใช้ห้อง มารยาทในการถาม-ตอบ เป็นต้น

    จากลักษณะของสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยาในห้องเรียนที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าสามารถ

ทาให้เกิดขึ้นได้จากการจัดรูปแบบความสัมพันธ์ของผู้เรียนในการเรียนการสอน ซึ่งสามารถทาให้เกิดขึ้นได้ดังนี้ (Arends, 2001, pp. 90-91)

            1) รูปแบบการจัดห้องเรียนแบบแข่งขัน คือรูปแบบการจัดห้องเรียนที่เน้นความสาเร็จ

และความเป็นเลิศในการเรียนของเด็กแต่ละคน สิ่งแวดล้อมที่เน้นการแข่งขันช่วยกระตุ้นให้เด็กพัฒนาตัวเองเพื่อบรรลุผลที่ตนตั้งไว้ ห้องเรียนรูปแบบนี้เน้นการทางานคนเดียวหรือการทางานแบบกลุ่มเล็ก เด็กจะพยายามทางานที่มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของครูและเพื่อนร่วมห้อง ความสาเร็จในการทากิจกรรมหรือผลงานในห้องเรียนช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้เด็กและเป็นตัวผลักดันให้เด็กมีกาลังใจในการเรียน

            2) รูปแบบการจัดห้องเรียนแบบร่วมมือ คือห้องเรียนที่เน้นให้นักเรียนทางานร่วมกัน

เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เด็กทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในการทางานและกิจกรรมของกลุ่มให้สาเร็จตาม

เป้าหมายที่ตั้งไว้ ความสาเร็จของกลุ่มจึงขึ้นอยู่กับความร่วมมือของสมาชิกแต่ละคน ครูมีหน้าที่จัดกลุ่มรับฟังและวางแผนกิจกรรมกลุ่ม รูปแบบการจัดห้องเรียนแบบร่วมมือนั้นนอกจากจะทาให้มีอัตราความความสาเร็จเพิ่มขึ้นกว่าการทางานคนเดียว ยังช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ของเด็กที่มีพื้นฐานทางสังคม เพศและระดับความสามารถที่แตกต่างกันให้ดีขึ้นอีกด้วย (Slavin, 1995 cited in Jacobsen, Eggen, and Kauchak, 1999)

            3) รูปแบบการจัดห้องเรียนแบบปัจเจกบุคคล คือการเน้นให้เด็กทางานที่อยู่ในระดับ

ความสามารถของเด็กแต่ละคน รูปแบบการจัดห้องเรียนรูปแบบนี้เน้นการปฏิสัมพันธ์ของครูและ

นักเรียน เนื่องจากครูเป็นผู้จัดเด็กให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและติดตามความสาเร็จของเด็กอย่างใกล้ชิดโดยทาหน้าที่เป็นผู้ประเมิน ส่งเสริมและเป็นแหล่งข้อมูลให้เด็ก เด็กแต่ละคนจะได้รับมอบหมายงานที่แตกต่างกันออกไปตามความสามารถของตนเอง สิ่งแวดล้อมดังกล่าวช่วยพัฒนาเด็กแต่ละคนไปตามระดับที่เหมาะสม

        ครูสามารถใช้รูปแบบการจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนทั้งสามแบบนี้ร่วมกันได้ หรืออาจใช้รูปแบบที่แตกต่างตามโอกาสต่าง ๆ ไป รูปแบบต่าง ๆ ล้วนมีข้อดีและข้อเสีย เช่นรูปแบบการจัดห้องเรียนแบบร่วมมืออาจช่วยพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก แต่การจัดการในห้องเรียนอาจยากและใช้เวลานานกว่ารูปแบบการจัดห้องเรียนแบบปัจเจกบุคคล สิ่งสาคัญคือครูต้องจาไว้ว่ารูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนต้องสอดคล้องกับกิจกรรม เนื้อหาและเป้าหมายของบทเรียนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียน

การสอนที่มีประสิทธิภาพ

    การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ มีองค์ประกอบที่ควรคานึงถึง ดังนี้

    1. การบริหารจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะดังนี้

        1) การจัดเตรียมสถานที่ สื่อ อุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนให้มีสภาพที่พร้อมใช้

และเพียงพอสาหรับนักเรียนทุกคนในห้อง

        2) การใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนการสอนที่ดีขึ้นอยู่กับการใช้เวลา

ในการดาเนินกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ครูไม่ควรปล่อยให้มีเวลาว่างหรือเวลาที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์อันเนื่องจากความไม่พร้อมในด้านวัสดุอุปกรณ์และการดาเนินกิจกรรมที่ไม่ได้เตรียมการล่วงหน้า เพราะความไม่พร้อมจะทาให้เกิดความวุ่นวาย เสียเวลาในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากและทาให้การดาเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ครูต้องบริหารการใช้เวลาเพื่อให้นักเรียนได้ใช้เวลาเพื่อการเรียนรู้อย่างเต็มที่

    2. การจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ คือการดาเนินการเรียนการสอนให้เป็นไป

ตามลาดับขั้นตอนของรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยดาเนินการดังนี้

        1) เริ่มต้นบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจซึ่งทาได้หลายวิธี

วิธีที่กระตุ้นกระบวนการคิดและสติปัญญา ก็คือการสร้างความสงสัย ประหลาดใจให้กับผู้เรียน ทาให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น อยากค้นพบคาตอบ เช่น การนาเสนอข้อมูลหรือความคิดที่ขัดแย้ง ไม่สอดคล้องกับความรู้ ความเข้าใจเดิมของผู้เรียนทาให้ผู้เรียนเกิดข้อสงสัย กังขา การใช้คาถามที่ส่งเสริมกระบวนการคิดเป็นต้น

        2) ดาเนินการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นขั้นที่ครูจัดการเรียนการสอนโดย

เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ซึ่งทิศนา แขมมณี (2555, หน้า 120) ได้ให้ความหมายว่า เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นตัวตั้ง โดยคานึงถึงความเหมาะสมกับผู้เรียนและประโยชน์สูงสุดที่ผู้เรียนควรจะได้รับและมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทสาคัญในการเรียนรู้ ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างตื่นตัวและได้ใช้กระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ อันจะนาผู้เรียนไปสู่การเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง ดังนั้นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญจึงมีลักษณะที่สรุปได้ดังนี้

            (1) กิจกรรมที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัว ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทอย่างเต็มที่และ

รับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง

            (2) กิจกรรมที่ท้าทายให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในการค้นหาคาตอบ โดยครูนาเสนอ

ปัญหาและสถานการณ์ให้คิด ครูมีบทบาทช่วยชี้ช่อง แนะแนวให้นักเรียนเห็นลู่ทางในการแก้ปัญหา

            (3) กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคาตอบ

            (4) กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีการร่วมมือและการแลกเปลี่ยน

ความรู้ ความคิดเห็น ตลอดจนประสบการณ์ระหว่างผู้เรียนเพื่อปรับเติม เสริมแต่ง และต่อยอดความรู้

            (5) กิจกรรมที่สร้างความสะเทือนใจ ซาบซึ้ง ประทับใจ ทาให้ตื่นตัวในการเรียนรู้

            (6) กิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากผู้ทรงภูมิปัญญาในท้องถิ่น

            (7) กิจกรรมที่ผู้เรียนได้นาความรู้ไปทดลองใช้แก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์ชิ้นงาน

            (8) กิจกรรมที่ผู้เรียนใช้กระบวนการจัดกระทากับข้อมูลที่ได้รับรู้เพื่อให้เข้าใจและ

จดจาได้ง่ายและสามารถระลึกได้เมื่อต้องการนามาใช้

            (9) กิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ในบริบทจริง ทาให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง

บทบาทที่สาคัญของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ได้แก่ การ

เป็นผู้เตรียมการและอานวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ การทาหน้าที่เป็นผู้ให้คาแนะนา ปรึกษา เป็นผู้ช่วยเหลือ เป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับ บทบาทของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้ก็คือบทบาทที่ทาหน้าที่เหมือนโค้ชนักกีฬานั่นเอง

        3) สรุปบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ การสรุปบทเรียนเป็นขั้นตอนที่สาคัญเพราะเป็น

ขั้นตอนในการเชื่อมโยงและประมวลความรู้ระหว่างความรู้และประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับกับความรู้และประสบการณ์เดิมให้เป็นความคิดรวบยอดใหม่ที่มีความครอบคลุม ถูกต้องและชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทาให้ผู้เรียนสามารถบันทึกและจดจาได้ทนนาน เพราะเป็นการจดจาอย่างมีความหมาย การสรุปบทเรียนจึงมีความสาคัญและควรทาร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้สรุปด้วยความเข้าใจใหม่ของตนเอง ครูทาหน้าที่ให้แนวทางการสรุปข้อมูล เช่นการแนะนาการใช้แผนภาพความคิด (graphic organizer)แบบต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสมกับการสรุปและนาเสนอข้อมูล สารสนเทศที่ต้องการ และให้ข้อมูลย้อนกลับกับผลงานของนักเรียนเพื่อเป็นสารสนเทศสาหรับการปรับปรุงแก้ไขงานและการสร้างความคิดรวบยอดใหม่ให้มีความถูกต้อง ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

        4) ประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ การประเมินผลที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการ

เรียนรู้ของผู้เรียนคือการประเมินความก้าวหน้า ซึ่งเป็นกระบวนการที่สามารถทาพร้อมไปกับ

กระบวนการเรียนการสอน การประเมินครอบคลุมทั้งการประเมินผลการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน วิธีการประเมินใช้เครื่องมือหลากหลายประเภทให้เหมาะสม สอดคล้องกับสิ่งที่ประเมิน ผู้ทาหน้าที่ประเมินไม่จากัดอยู่ที่ครูเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องเป็นผลการประเมินที่ทุกฝ่าย ได้แก่ ครู นักเรียนและแม้แต่ผู้ปกครองหรือสังคม มีส่วนร่วมในการสะท้อนมุมมอง ความคิดเห็นต่าง ๆ อย่างรอบด้านเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อนามาใช้ในการประเมินการเรียนรู้ จุดมุ่งหมายสาคัญของการประเมินคือการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้ที่มีคุณภาพมากขึ้นนั่นเอง

คุณลักษณะของครู

    คอชัคและเอกเกน (Kauchak & Eggen, 2007, p. 127) กล่าวว่า ครูที่ดีควรมีลักษณะสาคัญ

3 ประการ คือ มีทัศนคติที่ดีในการสอน มีทักษะในสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และมีทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ลักษณะดังกล่าวส่งผลต่อประสิทธิภาพของการเรียนการสอน ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นแนะนาบทเรียน ช่วงตอนกลางของบทเรียน และช่วงปิดท้ายบทเรียน ดังนั้นคุณลักษณะของครูจึงมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในห้องเรียน

        1. ทัศนคติของครู เป็นสิ่งที่สาคัญที่สุดในการเป็นครูที่ดีเพราะทัศคติของครูมีอิทธิพลต่อ

การสอนและการถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก ทัศนคติของครูประกอบด้วย ประสิทธิภาพทางการสอนของครู การเป็นแบบอย่างและความกระตือรือร้นของครู และความคาดหวังของครู ทั้งสามสิ่ง นี้ส่งผลต่อทัศนคติในการสอนของครู (Brunning et al., 2004)

            1) ประสิทธิภาพทางการสอนของครู ครูที่มีประสิทธิภาพทางการสอนสูงจะส่งผลดีต่อ

การเรียนรู้ของผู้เรียน ทาให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและมีคุณภาพ ครูที่มีประสิทธิภาพทางการสอนสูงมักให้คาชมเด็กและให้กาลังใจมากกว่าการติหรือต่อว่าเมื่อเด็กทาผิด อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นในการใช้กลยุทธ์และอุปกรณ์การเรียนการสอนใหม่ ๆ อีกด้วย ตรงกันข้ามกับครูที่มีประสิทธิภาพทางการสอนต่าครูเหล่านั้นมักตินักเรียนเมื่อทาผิดและยึดติดกับรูปแบบการสอนเดิม ๆ โดยไม่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับเด็กหรือบรรยากาศการสอนใหม่ ๆ (Poole, Okeafor, & Sloan, 1989)

            2) การเป็นแบบอย่างและความกระตือรือร้นของครู ครูมีอิทธิพลอย่างมากต่อความคิด

และแนวทางการเรียนของเด็ก เด็กมักไม่เลียนแบบหรือปฏิบัติตามคาพูดของครู แต่เด็กจะเลียนแบบพฤติกรรมและการแสดงออกของครู เด็กจะรู้ว่าทัศนคติของครูเป็นอย่างไรโดยดูจากการแสดงออกทางการกระทา เช่น หากครูบอกให้นักเรียนแสดงความเห็นอย่างอิสระต่อประเด็นหนึ่ง ๆ แต่ครูกลับไม่ยอมรับความคิดเห็นนั้น เด็กจะเริ่มสังเกตว่าครูชอบความคิดแบบใดและพยายามแสดงความเห็นที่ตรงกับความต้องการของครู ความกระตือรือร้นของครูเป็นสิ่งที่สาคัญที่สุดในการเป็นแบบอย่างที่ดีของเด็กเพราะเด็กจะรู้สึกสนุกและอยากเรียนกับครูที่มีความกระตือรือร้นในการสอน ครูที่มีความกระตือรือร้นไม่จาเป็นต้องเล่าเรื่องตลกที่นอกเหนือจากบทเรียนแต่ครูจาเป็นต้องสื่อสารให้เด็กเข้าใจได้ว่าบทเรียนมีความน่าสนใจและจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างไร การใช้ภาษากายในการสื่อสารและใช้ภาษาพูดที่เข้าใจง่ายจะช่วยให้เด็กเกิดความสนใจในบทเรียนนั้น ๆ มากยิ่งขึ้น

            3) ความคาดหวังของครู ความคาดหวังของครูคือสิ่งที่เกี่ยวกับความสาเร็จทางวิชาการ

พฤติกรรมและทัศนคติของนักเรียนในอนาคต ครูที่ดีมักจะมีความคาดหวังเชิงบวกต่อการเรียนของนักเรียนและอธิบายให้นักเรียนเข้าใจถึงความสาคัญของบทเรียนต่างๆ ครูควรช่วยเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกันให้ประสบความสาเร็จในการเรียนและบรรลุเป้าหมายทางวิชาการที่ตนตั้งไว้ ความคาดหวังเชิงบวกของครูต่อนักเรียนส่งผลให้นักเรียนตั้งใจเรียนและทุ่มเทกับการเรียนมากขึ้น

        2. ทักษะในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การใช้ภาษาของครูมีผลต่อความสาเร็จในการ

เรียนของนักเรียนและความพึงพอใจในการเรียน การสื่อสารที่ชัดเจนมีองค์ประกอบ 5 อย่าง ได้แก่

            1) การใช้คาศัพท์ที่สื่อความหมายได้ใช้เจน โดยครูควรหลีกเลี่ยงการใช้คาที่คลุมเครือ

เวลาสื่อสารกับเด็กเนื่องจากคาเหล่านั้นทาให้ประสิทธิภาพทางการเรียนของเด็กลดลงและยังแสดงให้เห็นว่าครูเตรียมตัวมาไม่ดี

            2) การใช้คาเชื่อมประโยคที่เหมาะสม การสื่อสารที่ดีต้องมีคาเชื่อมที่นาไปสู่ใจความ

สาคัญของประโยค คาเชื่อมที่ถูกต้องจะทาให้ลาดับเหตุการณ์ของประโยคเชื่อมโยงกันอย่างสมเหตุสมผล

            3) การเชื่อมโยงความคิดในบทเรียน ครูต้องทาให้นักเรียนเข้าใจถึงความสัมพันธ์

ระหว่างความคิดที่หนึ่งและความคิดที่สองโดยการอธิบายความเชื่อมต่อนั้น

            4) การเน้นย้า ครูควรเน้นย้าหัวข้อหรือเนื้อหาที่มีความสาคัญหรือโดดเด่นกว่าเนื้อหา

อื่น ๆ เพื่อช่วยให้นักเรียนได้เห็นถึงระดับความสาคัญที่ต่างกันของเนื้อหาในบทเรียน

            5) ความสอดคล้องของภาษาพูดและภาษากาย การใช้ภาษากายประกอบการพูดควร

เป็นไปในแนวทางเดียวกับสิ่งที่ครูพูด ภาษากายมีความสาคัญเนื่องจากเด็กสามารถประเมินทัศนคติและความจริงใจของครูได้ผ่านทางการแสดงออกของครู ดังนั้นเมื่อครูต้องการจูงใจนักเรียน หรือบอกให้นักเรียนทาอะไร ครูต้องใช้ภาษาพูดและภาษากายที่สอดคล้องกัน

        3. ทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนที่ดีนั้นต้องเริ่มจาก

การตรงต่อเวลา ครูจาเป็นต้องแบ่งเวลาการทากิจกรรมอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบต่อกิจกรรมอื่น ๆการเตรียมอุปกรณ์การสอนล่วงหน้าก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องคานึงถึง นอกจากนี้ครูยังต้องสร้างกิจวัตรที่ดีให้กับนักเรียน เช่น เมื่อเด็กเข้ามาในห้องเรียน เด็กต้องรู้ว่าสิ่งแรกที่ควรทาคืออะไร และเมื่อเลิกเรียนต้องทาอะไร การจัดการห้องเรียนที่มีระบบจะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ในห้องเรียน เช่นการสอนไม่ทันและความไม่เป็นระเบียบในห้องเรียน

        โดยสรุป การเป็นครูที่ดีควรเริ่มจากการมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการสอน เพราะทัศนคติจะ

ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ของครู และปฏิสัมพันธ์ของครูต่อนักเรียน ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เพราะนักเรียนสามารถรับรู้ได้โดยอัตโนมัติว่า ครูคิดอย่างไรและต้องการอะไร เพื่อที่จะตอบสนองไปตามความต้องการของครู นอกจากนั้นนักเรียนยังยึดถือครูเป็นแบบอย่าง โดยการเลียนแบบการกระทา และคาพูดของครู การมีทัศนคติที่ดีจึงเป็นจุดเริ่มต้นสาคัญของคุณลักษณะอื่น ๆ

บทสรุป

    ห้องเรียนเป็นชุมชนการเรียนรู้ที่เป็นหน่วยย่อยที่สุด ประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

และสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยาที่ประกอบกันเป็นบรรยากาศการเรียนรู้ แนวคิดในการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ในห้องเรียน ได้แก่

    1. แนวคิดทางด้านจิตวิทยา คือแนวคิดในการอธิบายพฤติกรรมของผู้เรียนที่เกิดขึ้นในห้องเรียนได้แก่ 

        1) การจูงใจ แบ่งเป็นการจูงใจภายใน และการจูงใจภายนอก การจูงใจภายในมีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของผู้เรียนมากกว่าการจูงใจภายนอก

        2) ทฤษฎีความต้องการของมาสโล ทฤษฎีนี้อธิบายว่า ผู้เรียน

ที่ได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางกายภาพอย่างเพียงพอจะพัฒนาความต้องการภายใน คือ การพัฒนาตนเองในด้านอื่นต่อไป

         3) ทฤษฎีคุณลักษณะของผู้เรียนของไวเนอร์ ซึ่งอธิบายว่าผู้เรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันมีแนวคิดต่อความสาเร็จต่างกัน 

        4) ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงสังคมของแบนดูราซึ่งอธิบายว่า การให้คุณค่ากับความสาเร็จสูงเป็นปัจจัยที่ทาให้คนทุ่มเทเอาชนะอุปสรรคในการทางานแนวคิดที่กล่าวมาทาให้ครูเข้าใจผู้เรียนมากขึ้นและนาไปใช้ในการปรับพฤติกรรมของผู้เรียน

    2. แนวคิดทางสังคม ห้องเรียนแต่ละห้องมีลักษณะเฉพาะของตนเอง ครูควรใช้กระบวนการ

ของห้องเรียนในการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ ได้แก่ การสร้างความคาดหวังของผู้เรียนที่มีต่อตนเองความเป็นผู้นา สภาวะของการเคารพและยอมรับซึ่งกันและกัน การสร้างปทัสถานในห้องเรียน การสื่อสารและการสร้างความรู้สึกผูกพันกัน นอกจากนี้ควรจัดโครงสร้างของห้องเรียนซึ่งเป็นสภาพทางกายภาพเพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมตามเป้าหมายการเรียนรู้ และจัดให้มีการเรียนรู้แบบร่วมมือ

        การสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ประกอบด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้ คือ การจูงใจ

ผู้เรียน สิ่งแวดล้อมในการเรียน การสอนที่มีประสิทธิภาพ และคุณลักษณะของครู