ผู้เยาว์ทำนิติกรรมใด ๆ จะมีผลอย่างไร

        ตามปกติแล้วผู้เยาว์จะทำนิติกรรมต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ถ้าไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมแล้ว จะทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะ แต่มีนิติกรรมบางประเภทที่ผู้เยาว์สามารถทำได้ตามลำพังตนเอง และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม นิติกรรมเหล่านี้มีดังนี้คือ
        1. นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือนิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง (มาตรา 22)
                1.1 นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง เช่น นาย ก. มอบเงินให้เด็กชาย ข. ผู้เยาว์ 20,000 บาท โดยไม่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน เด็กชาย ข. สามารถทำสัญญารับเงินจำนวนนี้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม เพราะสัญญาให้เงินนี้ผู้เยาว์เป็นผู้ได้รับประโยชน์ฝ่ายเดียว ผู้เยาว์ไม่เสียประโยชน์เลย แต่ถ้าสัญญานี้มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันแล้ว ผู้เยาว์ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน เช่น นาย ก. ให้เงินเด็กชาย ข. โดยมีเงื่อนไขว่า เมื่อนาย ก. แก่ชรา เด็กชาย ข. ต้องมาเลี้ยงดูนาย ก. เช่นนี้ถ้าเด็กชาย ข. ต้องการรับเงินนั้น จะต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน
                1.2 นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง เช่น เด็กชาย  ข. ผู้เยาว์เป็นหนี้นาย ก. อยู่ 10,000 บาท ต่อมานาย ก. ต้องการจะปลดหนี้รายนี้ให้เด็กชายข. ซึ่งจะทำให้หนี้รายนี้ระงับสิ้นไป สัญญาปลดหนี้รายนี้เด็กชาย ข.ไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม เพราะเป็นสัญญาที่ทำให้เด็กชาย ข. หลุดพ้นจากการที่จะต้องชำระหนี้ให้กับนาย ก.
        2. นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว (มาตรา 23) นิติกรรมเช่นนี้ผู้เยาว์ทำได้เองโดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม เช่น การรับรองบุตร
        ตัวอย่าง ผู้เยาว์อายุ 19 ปีมีบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 1 คน ผู้เยาว์จดทะเบียนรับรองบุตรคนนี้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม
        3. นิติกรรมซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูป และจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควรของผู้เยาว์
        ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร (มาตรา 24) เช่น ผู้เยาว์เป็นนักเรียนต้องซื้อเครื่องเขียนแบบเรียน ต้องซื้อเสื้อผ้า รองเท้าเพื่อใส่ไปโรงเรียน การซื้อเช่นนี้เป็นการสมแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์ และเป็นการจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร แต่ถ้าผู้เยาว์ต้องการซื้อรถยนต์เพื่อขับไปโรงเรียน ถ้าเป็นสิ่งที่เกินฐานะและเกินความ จำเป็นแล้ว ผู้เยาว์จะต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน
        4. ผู้เยาว์ทำพินัยกรรม
        ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม (มาตรา 25) ถ้าผู้เยาว์ทำพินัยกรรมโดยมีอายุไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ พินัยกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะ (มาตรา 1703)
        5. ผู้เยาว์ประกอบธรุกิจการค้าหรือทำสัญญาเป็นลูกจ้าง
        ในกรณีผู้เยาว์ประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทำสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานนั้นต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (มาตรา 27)

                - ������ӹҨ����ͧ ��� �Դ������ô� ����繼�����ӹҨ ����ͧ�����ѹ㹡óշ������������շ�駺Դ������ô� �����Ҩ���繺Դ�������ôҽ���㴽���˹�觡��� 㹡óշ��Դ�������ôҵ�� �����͹��ҺԴ�������ô��ժ��Ե���� �Դ�������ôҶ١����������繤�����������ö��������͹����������ö �Դ�������ôҵ�ͧ����ѡ�ҵ����ç��Һ�����ШԵ�����͹ ����������ӹҨ����ͧ����Ѻ�Դ�������ô�

หลักเกณฑ์ของบุคคลที่จะบรรลุนิติภาวะ


ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 19  บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 20  ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1448  การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้

คำอธิบาย


บุคคลที่สามารถทำนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายได้นั้น  บุคคลนั้นจะต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย  ซึ่งกฎหมายไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์ของการบรรลุนิติภาวะ  โดยใช้อายุของบุคคลนั้นๆ  เป็นเกณฑ์  กล่าวคือ  บุคคลใดมีอายุ  ๒๐  ปี  บริบูรณ์แล้ว  ย่อมบรรลุนิติภาวะโดยปริยาย (  มาตรา  ๑๙ )  ตัวอย่างเช่น  นาย  ก  เกิดเมื่อวันที่  ๒๐  มกราคม  ๒๕๔๒  นาย  ก  ย่อมบรรลุนิติภาวะในวันที่  ๒๑  มกราคม  ๒๕๖๒  เวลา  ๐๐.๐๑  น.  เป็นต้นไป  เป็นต้น
ตัวอย่างคำพิพากษา  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6522/2558   จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันสองฉบับ เพื่อค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ร. เจ้าหนี้เดิม เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2540 และ 19 กุมภาพันธ์ 2540 ตามลำดับ ในขณะที่จำเลยที่ 3 อายุยังไม่ครบยี่สิบปีบริบูรณ์ จึงยังไม่บรรลุนิติภาวะตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 เพราะจำเลยที่ 3 เกิดวันที่ 11 มีนาคม 2520 การทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นการประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่น (จำเลยที่ 1) หรือแทนบุคคลอื่น (จำเลยที่ 1) จึงเป็นการทำนิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ ซึ่งตามมาตรา 1574 (10) แห่ง ป.พ.พ. ได้บัญญัติว่า ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต เมื่อโจทก์ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานให้เห็นว่าในขณะที่จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกัน ผู้ใช้อำนาจปกครองของจำเลยที่ 3 ได้รับอนุญาตจากศาลให้จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันได้ การทำสัญญาค้ำประกัน จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว ตกเป็นโมฆะและไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
อีกกรณีหนึ่ง  บุคคลบรรลุนิติภาวะโดยไม่ได้ใช้หลักเกณฑ์เรื่องอายุเป็นเกณฑ์ในการบรรลุนิติภาวะได้มีอีกกรณีหนึ่ง  คือ  บุคคลที่มีอายุ  ๑๗  ปี  บริบูรณ์ทำการสมรสโดยความยินยอมของผู้ใช้อำนาจปกครองทำการสมรสกันโดยการจดทะเบียนสมรสต่อหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการรับจดทะเบียนสมรสแล้ว  บุคคลทั้งสองที่ได้ทำการสมรสกันนั้นย่อมบรรลุนิติภาระนับแต่วันจดทะเบียนสมรส  ข้อสังเกต  การสมรสโดยไม่มีการจดทะเบียนสมรส  แม้ได้สมรสกันตามประเพณี  ยังไม่ถือว่าเป็นการสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย  ไม่เป็นผลให้เป็นการบรรลุนิติภาวะได้ตามกฎหมาย  (  มาตรา  ๒๐  ประกอบ  มาตรา  ๑๕๕๘  )  ตัวอย่างเช่น  เมื่อวันที่  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๖๒  นาย  ก  อายุ  ๑๗  ปี  และนางสาว  ข  อายุ  ๑๘  ปี  ได้จดทะเบียนสมรสกันที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่  โดยได้รับความยินยอมจาก  นาย  ค  และนาง  ง  ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรของนาย  ก  และได้รับความยินยอมจาก  นาย  จ  และนาง  ฉ  ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรของนางสาว  ข  นาย  ก และนางสาว  ข  ย่อมบรรลุนิติภาวะนับแต่วันที่  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๖๒  เป็นต้นไป  เป็นต้น
ตัวอย่างคำพิพากษา  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2544   การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปอยู่กินฉันสามีภริยากับชายอื่น แต่มิได้ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้เสียหายจึงยังไม่บรรลุนิติภาวะและยังคงอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของมารดา เมื่อจำเลยที่ 3 พาผู้เสียหายไปพบจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพื่อพาผู้เสียหายไปค้าประเวณี การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการพรากผู้เสียหายไปเสียจากมารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร
ดังนั้น  บุคคลจะบรรลุนิติภาวะตามกฎหมายได้   จึงมีอยู่  ๒  กรณี  ตามที่ระบุไว้ใน  มาตรา  ๑๙  และ  มาตรา  ๒๐  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  กล่าวคือ  โดยการใช้หลักเกณฑ์ของอายุ  และ  โดยการสมรสโดยความยินยอมของผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร

    ต่อไปมี  ปัญหาที่ต้องพิจารณาต่อไปว่า  หากผู้เยาว์หรือบุคคลที่ไม่ได้บรรลุนิติภาวะทำนิติกรรม  จะมีผลเป็นอย่างไร
หลักเกณฑ์  ของการผู้เยาว์ทำนิติกรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น  มี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 21  ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 22  ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 23  ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 24  ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 25  ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 26  ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้ ผู้เยาว์จะจำหน่ายทรัพย์สินนั้นเป็นประการใดภายในขอบของการที่ระบุไว้นั้นก็ทำได้ตามใจสมัคร อนึ่ง ถ้าได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใด ผู้เยาว์ก็จำหน่ายได้ตามใจสมัคร
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 27  ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทำสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานได้ ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้
ในความเกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจหรือการจ้างแรงงานตามวรรคหนึ่งให้ผู้เยาว์มีฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว
ถ้าการประกอบธุรกิจหรือการทำงานที่ได้รับความยินยอมหรือที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ก่อให้เกิดความเสียหายถึงขนาดหรือเสื่อมเสียแก่ผู้เยาว์ ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจบอกเลิกความยินยอมที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์เสียได้ หรือในกรณีที่ศาลอนุญาต ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการอนุญาตที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์นั้นเสียได้
ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมบอกเลิกความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการบอกเลิกความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมได้
การบอกเลิกความยินยอมโดยผู้แทนโดยชอบธรรมหรือการเพิกถอนการอนุญาตโดยศาล ย่อมทำให้ฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วของผู้เยาว์สิ้นสุดลง แต่ไม่กระทบกระเทือนการใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้กระทำไปแล้วก่อนมีการบอกเลิกความยินยอมหรือเพิกถอนการอนุญาต